หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
เอาอยู่ค้าาา ทำงานไม่เป็นค้าาา ไม่ได้โง่นะค้า
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ไม่ว่าจะมีการแก้ข่าว ทั้งผ่านผลโพลจากค่ายเอแบคหรือผ่านสื่อที่เชียร์อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู แต่ความและข้อเท็จจริงก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะ ณ วันนี้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ก็ยังคงเป็น “ศูนย์ประจานภูมิปัญญาปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยขวัญใจคนเสื้อแดงวันยังค่ำ                เพราะการทำงานของ ศปภ.และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ในการบริหารจัดการมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษของประเทศไทยที่มีคนไทยได้รับความเดือดร้อนหลายล้านคนและทำให้เศรษฐกิจของประเทศพินาศหลายแสนล้านบาท ยังคงสะเปะสะปะและคงไว้ซึ่ง “ความห่วยแตก” อย่างเสมอต้นเสมอปลาย                กระทั่งเอแบคโพลเจ้าเดิมที่เคยเชลียร์โดยไม่ลืมหูลืมตาด้วยการให้คะแนนปู-ยิ่งลักษณ์ 9 เต็ม 10 ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมต้องรีบแจ้นออกมาเปิดเผยผลโพลฉบับใหม่ภายในระยะเวลา 2 วัน ด้วยการให้คะแนน ศปภ. 3.36 เต็ม 10 คะแนน ยิ่งเมื่อเห็นอากัปกิริยาระรื่นและระรี้ระริกเกินงามในขณะที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปรับมอบไฟฉายและเสื้อชูชีพจากหลานสาว-น.ส.พินทองทา ชินวัตรและว่าที่หลายเขย-นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ด้วยแล้ว ยิ่งบาดลึกเข้าไปในหัวใจของผู้ประสบภัยยิ่งนัก                นี่ไม่นับรวมถึงภาพที่โพสต์กันว่อนสังคมออนไลน์ที่นายกรัฐมนตรีคนสวยสวมใส่รองเท้าบูตลายสก็อตสุดไฮโซยี่ห้อ "เบอร์เบอร์รี่(Burberry)" จากอังกฤษคู่ละแค่หมื่นเศษๆ กรีดกรายราวกับเดินอยู่บนแคตวอล์กขณะลงตรวจพื้นที่น้ำท่วมที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ยิ่งอเนจอนาถที่ประเทศไทยต้องทนอยู่กับผู้นำประเทศเยี่ยงนี้ไปอย่างไม่มีความหวัง                ประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ประชาชนต้องทนทุกข์กันค่อนประเทศ แต่นายกรัฐมนตรีของไทยไม่เพียงคำนึงเสื้อผ้าหน้าผมเท่านั้น หากยังมีแก่ใจงัดรองเท้าคู่สวยมาใส่ให้ช้ำใจประชาชีอีกต่างหาก                คำนิยามที่ชัดเจนที่สุดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็คือ ข้อความที่“หนูดี-วนิษา เรซ” ที่โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ @nudi_vanessa ว่า “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”                ** ทำงานไม่เป็นค่ะ ไขปริศนาต้นเหตุวิกฤตน้ำท่วม                ความไม่เอาอ่าวของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารจัดการน้ำท่วมได้สะท้อนออกมาให้ประชาชนเห็นเป็นระยะๆ โดยนายกรัฐมนตรีทำตัวลอยไปลอยมาเหมือนเดินอยู่บนแคตวอล์ก โดยไม่ได้อนาทรร้อนใจกับปัญหา วันๆ ดีแต่ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์น้ำท่วม โดยที่ไม่รู้ขึ้นไปทำพระแสงของ้าวอะไร หรือเกิดประโยชน์อะไรกับชาติบ้านเมืองบ้าง                สิ่งที่คนไทยได้ยินจากปากนายกฯ ปูจนคุ้นหูทุกเมื่อเชื่อวันก็อย่างเช่น “เอาอยู่ค่ะ” จากนั้นก็ตามต่อด้วย “เสียใจค่ะ” และเมื่อถูกจี้ถามหนักเข้าถึงความไม่น่าเชื่อถือของ ศปภ. นายกฯ ปูก็ทำได้เพียงแค่ “ขอความเห็นใจค่ะ” และ “ขอความกรุณา” กระทั่งทำให้ประชาชนหมดความเชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรีไปเรียบร้อยแล้ว                ทั้งนี้ กาลเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์สอบตกชนิดที่ไม่มีโอกาสแก้ตัวได้เลย เพราะสถานการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า นายกฯยิ่งลักษณ์และคณะรัฐมนตรีไม่รู้จักน้ำ ไม่มีข้อมูลเรื่องน้ำ และประเมินข้อมูลน้ำผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว น้ำท่วมประเทศไทยมานานร่วม 3 เดือน                “ขอความกรุณาดิฉัน อาจไม่สามารถให้ข้อมูลสื่อมวลชนได้ครบ เพราะเกรงว่า การสื่อสารในมุมที่มองจากความรู้สึกส่วนตัว หรือจากการสัมผัสจะทำให้ประชาชน ขาดความมั่นใจและไขว้เขว อันนี้ขอความกรุณา ดิฉันคงไม่สามารถให้ข้อมูลตรงนี้ได้ จะขอให้ข้อมูลที่เป็นทางการเท่านั้น”                นั่นคือคำตอบจากปากของนายกรัฐมนตรี                แถมเมื่อตรวจสอบความทุ่มเทในการทำงานก็ยิ่งปวดจี๊ดเข้ามาในหัวสมองทันทีเพราะนับตั้งแต่จัดตั้ง ศปภ.นายกรัฐมนตรีจะเข้ามาทำงานที่ ศปภ.ในเวลาประมาณ 09.00 น. หากไม่มีกำหนดการข้างนอกก็จะอยู่ที่ ศปภ.ทั้งวัน ส่วนขากลับนายกรัฐมนตรีจะออกจาก ศปภ.ในเวลา 19.00 น. โดยเวลาดึกที่สุดที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางกลับคือ 21.30 น. ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น                ส่วนรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลแต่ละองค์ก็ดูเหมือนจะเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เพราะนอกจากหน้าใหม่ ทำงานไม่เป็น แล้วยังขาดภาวะผู้นำอีกต่างหาก รายที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจที่ควบทั้งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ชื่อ “นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง” เพราะนอกจากจะแสดงความอ่อนแอและความอ่อนปวกเปียกด้วยการร้องไห้พร้อมโอบกอดนักลงทุนญี่ปุ่นเมื่อคราวทราบข่าวนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้าหรือไฮเทคจมน้ำแล้ว ล่าสุดนายกิตติรัตน์ยังออกอาการ “แต๋วแตกแหกชิมิ” เมื่อทราบข่าวนิคมอุตสาหกรรมนวนครแตกอีกต่างหาก                กล่าวคือ ขณะที่เดอะโต้งกำลังประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เพื่อหามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมอยู่นั้น เมื่อมีรายงานด่วนเข้ามาในที่ประชุมว่า น้ำได้ทะลักเข้านวนครแล้ว นายกิตติรัตน์ถึงกับออกอาการหน้าเสีย ตกใจ พร้อมสั่งยุติการประชุมทันที และตบท้ายระหว่างประชุมคณะรัฐมนตรี เดอะโต้งก็คว้ารางวัลออสการ์มาครองด้วยน้ำตาที่คลออยู่ในดวงตาเมื่อรับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น                และที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ นายปลอดประสพเจ้าเก่าที่เกิดไอเดียพิสดารด้วยการสั่งให้ “ป๋าเอี้ยง” นายดำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มือขวาของ “ยุทธ ตู้เย็น” ตัดไม้ไผ่จากป่ามาต่อเป็นแพจำนวน 10,000 แพเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ใช้สัญจรแทนเรือไฟเบอร์ที่ขาดตลาด หลังจากประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าน้ำในหลายพื้นที่อาจท่วมขังโดยเฉพาะบริเวณทุ่งนา นานนับเดือนหลังจากนี้                คนที่เป็นเสนาบดีของประเทศไทยคิดได้แค่นี้เองหรือ                ขณะที่เสนาบดีกระทรวงที่ควบคุมน้ำอย่าง “นายธีระ วงศ์สมุทร” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ก็ตกอยู่ในภาวะน้ำท่วมปาก เนื่องเพราะถูกผู้มีบารมีตัวจริงอย่าง “นายบรรหาร ศิลปอาชา” ควบคุมอำนาจในการบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเพื่อปกป้องฐานเสียงของตัวเองให้รอดพ้นจากภาวะน้ำท่วม                ถามว่า การผันน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีนในขณะนี้เป็นไปได้กี่มากน้อย ก็ไม่มีใครตอบได้ เพราะน้ำต้องผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี                ซ้ำร้ายยังมีรายงานยืนยันด้วยว่า ความไม่ไว้วางใจมังกรสุพรรณกำลังทวีความรุนแรงขึ้น เพราะได้มีการสั่งการในทางลับให้ติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบการระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน หลังจากที่ตรวจพบว่า การระบายน้ำลงท่าจีนไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้                ถามว่า ทำไมกรมชลประทานถึงไม่ผันน้ำลงสู่ “แม่น้ำแม่กลอง” เพื่อให้ออกอ่าวไทย                คำตอบก็ยังคงเป็นคำตอบเดิมคือ เพราะน้ำต้องผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี                ขณะที่การบริหารจัดการน้ำฝั่งตะวันออก รัฐบาลก็บอดใบ้เช่นกัน เนื่องเพราะกริ่งเกรงอิทธิพลของ ส.ส.และนักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นหัวคะแนนของตนเองและอาวุธปืนในมือของเหล่านักการเมืองท้องถิ่นที่บีบบังคับไม่ให้เจ้าหน้าที่ทำงาน จนไม่สามารถระบายน้ำได้ ดังเช่นที่ “วีระ วงศ์แสงนาค” ที่ปรึกษากรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกมายืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว นายกฯ ยิ่งลักษณ์ถึงกล้าตัดสินใจสั่ง “นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปเคลียร์ การให้เปิดประตูระบายน้ำจึงเกิดขึ้นได้                “ความสามารถจริงของคลองแถบตะวันออกนั้น สามารถระบายน้ำได้มากถึงวัน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เอาเข้าจริงแล้วด้วยการปิดประตูระบายน้ำแบบเห็นแก่ตัว ทำให้ทุกวันนี้ระบายน้ำได้อย่างมากที่สุดก็ 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวันเท่านั้น”อุเทน ชาติภิญโญ ในฐานะประธานคณะกรรมการผันน้ำออกสู่ทะเลด้านตะวันออกให้ข้อมูล                และนั่นคือต้นเหตุของการบริหารจัดการน้ำอันผิดพลาดที่ทำให้มวลน้ำก้อนใหญ่ยังคงวนเวียนโดยที่ไม่ได้ผันออกสู่ทะเลเสียที                **โปรดฟังอีกครั้ง ศปภ.=ศูนย์ประจานภูมิปัญญาปู                ยิ่งในศูนย์ประจานภูมิปัญญาปูคือ ศปภ.ที่ด้วยแล้วยิ่งเต็มไปด้วยความอ่อนด้อยประสิทธิภาพในการทำงาน                ต่างคนต่างก็แย่งชิงการนำ ต่างคนต่างก็ออกมาให้ข้อมูลประชาชนอย่างสะเปะสะปะและสร้างความโกลาหลให้กับประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า                ดังนั้น จงอย่าแปลกใจว่าภายหลังจะมีคนคิดชื่อใหม่ให้กับ ศปภ. นอกจากศูนย์ประจานภูมิปัญญาปูแล้วก็มีอย่างเช่น ศูนย์ปั่นป่วนประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เป็นต้น                ไม่ใช่แค่เพียง “นายปลอดประสพ สุรัสวดี” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผู้คนก่นด่าทั้งบ้านทั้งเมือง ความเฟอะฟะยังลามไปถึงผู้อำนวยการศูนย์และโฆษกศูนย์ ศปภ.ที่ไปคนละทิศละทาง แถมยังกลับไปกลับมาจนประชาชนเกิดความสับสน                หากยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ศปภ.แถลงข่าวอย่างมั่นใจว่า นิคมอุตสาหกรรมนวนคร รอดจากภัยพิบัติอย่างแน่นอนเนื่องจากได้ผันน้ำลงเจ้าพระยาเรียบร้อยแล้ว และในช่วงสายของวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีก็ออกมาตอกย้ำสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า แผนการรับมือน้ำท่วมสามารถปกป้องนิคมนวนครได้                แต่อย่างไรก็ดี เพียงชั่วข้ามคืนข้อมูลที่นายกฯ และ ศปภ.กล่าวมาก่อนหน้านี้ ได้ถูกหักล้างอย่างสิ้นเชิง เมื่อ นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกฯ ศปภ. อ้างว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการ ศปภ.ได้ออกประกาศขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี และพื้นที่โดยรอบอพยพออกจากพื้นที่เป็นการด่วน เนื่องจากขณะนี้น้ำได้เริ่มไหลเข้าท่วมและเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง        แต่หลังจากคำประกาศอพยพของทีมโฆษก ศปภ.ไม่นานนัก เมื่อพล.ต.อ.ประชา เดินทางกลับจากตรวจนิคมฯนวนคร ก็ให้สัมภาษณ์ไปคนละเรื่อง แถมยังยืนยันด้วยว่า สามารถรับสถานการณ์ได้แต่ให้ประชาชนเตรียมการขนของขึ้นที่สูง                จากนั้น เมื่อเกิดความสับสนในข้อมูลแพร่ออกไป และพล.ต.อ.ประชาตัดสินใจที่จะแถลงข่าว  แต่ปรากฏว่านายวิมได้ดึงตัว พล.ต.อ.ประชาไปคุยเพื่อทำความเข้าใจกับข้อมูลที่แถลงออกไป สุดท้าย พล.ต.อ.ประชาปฏิเสธที่จะแถลงข่าว โดยบอกเพียงว่ามอบให้เป็นหน้าที่ของโฆษก ศปภ. จากนั้นได้เดินเข้าสู่ห้องประชุมด้านในทันที                ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ทำได้แค่แสดงความเสียใจต่อความพินาศของนวนครเท่านั้น                              อีกทั้งในวันที่ 16 ต.ค. “นายธีระ วงศ์สมุทร” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกมาแถลงการณ์อย่างเป็นทางการและเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรก โดยประกาศเสียงดังฟังชัดว่า “มวลน้ำปริมาณใหญ่ที่สุดนั้นได้ผ่าน กทม.ออกทะเลไปแล้ว ประชาชนจึงสบายใจได้ เพราะระดับน้ำสูงสุดที่สะพานพุทธเมื่อเช้าวันที่ 15 ต.ค.อยู่ที่ 2.29 เมตร ซึ่งต่ำกว่าที่กรมชลประทานคาดไว้หนึ่งเซนติเมตร” แต่อยู่ดีๆ กลับมาขอเรืออีก 75,000 ลำ ให้ช่วยกันผลักดันน้ำลงสู่ทะเล นอกจากนี้ยังปรับแผนจากการเข้าแก้ไขและช่วยเหลือชาวบ้าน เป็นวางระบบให้ประชาชนอยู่กับน้ำได้                ตดยังไม่ทันหายเหม็น นวนครก็พินาศไปกับสายน้ำ        แหล่งข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กล่าวว่า หลังจากเปิดศูนย์ฯ ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พบว่า มีการส่งข้อมูลเพื่อแจ้งสถานการณ์ เข้ามาจำนวนมาก แต่เมื่อมาถึงที่ศูนย์ฯ กลับไม่ได้การจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้บางครั้งเกิดความสับสน ในการนำเสนอข้อมูล                ทั้งนี้ ยังมีบางข้อมูลที่เป็นการแจ้งเตือนจากคนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยเข้ามา แต่กลับไม่ได้รับการตรวจสอบ เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก และ ศปภ.ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง อีกทั้งบางคนยังมองว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง จึงไม่ใส่ใจ ซึ่งตรงนี้ มองว่ายังเป็นปัญหาที่ ศปภ. ต้องจัดการแก้ไขโดยเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาลุกลามได้                        “ที่ผ่านมา ข้อมูลไม่มี ไม่ใช่ปัญหาของ ศปภ.เพราะมีข้อมูลจากแต่ละแหล่งเข้ามาเยอะมาก นับหมื่นๆ ข้อมูล แต่ภายในไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ บางเรื่องมีคนแจ้งเข้ามา มีข้อมูลอยู่ตรงหน้า แต่ก็ถูกวางไว้เฉยๆ ไม่เอามาใช้ เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง” แหล่งข่าวกล่าว                ข้อมูลสำคัญที่ประชาชนคนไทยผู้เสียภาษีต้องทราบก็คือ ณ บัดนี้ ศปภ.ใช้งบประมาณไปแล้ว 1,700 ล้านบาทในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จากงบประมาณที่ครม.อนุมัติให้ 2,000 ล้านบาท โดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกับประเทศชาติและประชาชนไทยเลยแม้แต่น้อย                ซ้ำร้ายเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ครม.ยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติงบเพิ่มเติมให้ ศปภ.อีก 1,500 ล้านบาท                ที่เด็ดไปกว่านั้นคือ ภายในศูนย์ประจานภูมิปัญญาปูก็เต็มไปด้วย “แกนนำคนเสื้อแดง” ที่เข้าไปชี้นิ้วสั่งการกันอย่างเอิกเกริกจนกลายเป็น “ศูนย์รวมสารพัดแดง” โดยที่มิได้มีความรู้ความสามารถในเรื่องการบริหารจัดการน้ำแต่อย่างใด(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน .ศปภ. "ศูนย์รวมเสื้อแดง” “เอาปัญญาชนไปขนกระสอบทราย เอา......ไปวางแผน”)                “ข้ออ่อนด้อยสำคัญในขณะนี้ก็คือ ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่จัดการเรื่องน้ำถึง 8 หน่วยงาน แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นประเด็นเฉพาะสำหรับประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นประเด็นในแทบทุกประเทศในภูมิภาคนี้ที่ได้เผชิญกับน้ำท่วม นั่นคือขาดกรอบการทำงานที่กว้างขวางที่จะจัดการน้ำ”โนลีน เฮเยอร์ เลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกของสหประชาชาติ กล่าวแสดงความคิดเห็น                เฉกเช่นเดียวกับ “นายเจน นำชัยศิริ” รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ที่ออกมาเปิดเผยหลังการหารือร่วมกับนางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการบีโอไอ นายเซ็ทซึโอะ อิอุจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น และนายเคียวอิจิ ทานาดะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย(เจซีซีว่า) ภาคเอกชนเห็นว่า สถานการณ์ขณะนี้มีความจำเป็นที่รัฐบาลควรจะมีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้ว เพราะขณะนี้การประสานงาน รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารของ ศปภ.นั้น ไม่เป็นระบบที่ชัดเจน                ทหารอากาศก็สั่งให้ขนย้ายเครื่องบินหนีแล้ว                ทหารบกก็เตรียมการย้ายกองบัญชาการไปที่สโมสรกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิตแล้ว                ประชาชนตาดำ ๆ คงจะคาดเดาสถานการณ์ออกว่า หนักหนาสาหัสเพียงใดจากมวลน้ำก้อนมหาศาลอีกกว่า 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรที่กำลังจะแปรสภาพเป็น “สึนามิน้ำจืด” ถล่มเมืองหลวงของประเทศไทย                หมดเวลาสำหรับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในการดำรงนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว เพราะขืนให้อยู่แก้ปัญหาประเทศไทยหลังน้ำลด ซึ่งถือว่าหนักหนาสาหัสไม่น้อยกว่า ก็คงจะทำให้ประเทศชาติถอยหลังลงคลองหนักเข้าไปอีก http://www.manager.co.th
การเมืองห่วย-ปิดบัง-สร้างภาพ-ฝืนธรรมชาติ ทำวิกฤติดำดิ่ง
นาทีนี้แม้ว่าป่วยการที่จะมากล่าวโทษรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่นำโดย นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่า บริหารจัดการบรรเทาปัญหา ความเสียหายจากวิกฤติน้ำท่วมได้ล้มเหลวห่วยแตกอย่างที่ไม่เคยเห็นแบบนี้ มาก่อน เพราะเสียเวลาเปล่า   แต่ขณะเดียวกันมันก็ช่วยไม่ได้ที่จะต้องชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของความล้มเหลว และความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นว่าเพราะอะไร ไม่เช่นนั้นชาวบ้านก็จะไม่ได้รับรู้ความจริง และจะตกเป็นเหยื่อแบบนี้เรื่อยไป                หากให้ลำดับเหตุการณ์แบบกว้างเข้าใจง่ายก็คือ ปริมาณน้ำฝนอันเกิดจากพายุที่พัดผ่านมาประเทศไทยทาง ตอนเหนือทำให้เกิดฝนตกหนักมาตั้งแต่สอง สามเดือนก่อน มีปริมาณน้ำสะสมอยู่ในเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่รัฐบาลก็ยัง “ดูเบา” ไม่ให้ความสำคัญกับการระบายน้ำ เพราะกำลังจะเดินเครื่องนโยบาย ประชานิยมล็อต ใหญ่คือ“โครงการรับจำนำข้าว” เพื่อหวังจะเป็นทีเด็ดในการเพิ่มความนิยมให้กับรัฐบาล และในเฉพาะหน้าก็ต้องการ ยื้อเวลาให้มีการเก็บ เกี่ยวข้าวให้มากที่สุดเสียก่อน ขณะเดียวกันปริมาณน้ำและฝน ก็ยังตกสะสมอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งในเดือนถัดมาระดับน้ำในเขื่อนใหญ่ก็ถึงจุดวิกฤติ                ในที่สุดเมื่ออั้นต่อไปไม่ไหวก็จำเป็นต้องให้เขื่อนระบายน้ำออกมาแบบฉุกเฉินเต็มพิกัดทำให้ ปริมาณน้ำที่มีล้นอยู่แล้วทางด้านล่าง เมื่อน้ำจากเขื่อนมาสมทบมันก็เหมือนสองแรงบวกกลายเป็นวิกฤติ ครั้งร้ายแรงที่สุดอย่างไรก็ดีหากยังจำกันได้ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลโดย นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้หัน มาเหลียวแลเรื่องน้ำท่วมอย่างจริงจัง อาจเป็นเพราะยังไม่มีคนรายงาน หรือรับรายงานแล้วแต่ให้ “รอ”ไว้ก่อน เพราะในช่วงนั้นกำลังมั่วอยู่กับเรื่องการเยือนเขมรเจรจาธุรกิจพลังงาน มีกิจกรรมเตะฟุตบอลกับ ฮุนเซน ในพนมเปญ การหาทางคืนพาสปอร์ตแดง หรือถัดมาก็มีการตั้งศูนย์แก้ปัญหาที่มีชื่อยาวเหยียด มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็น แม่งานใหญ่ ขณะที่ตัวเองก็เดินทาง ไปตรวจพื้นที่แล้วก็มีคำพูดโก้เก๋ตามมาคือ “บางระกำโมเดล” ถัดมาก็คือ “อุดรฯโมเดล” เป็นต้น                ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสาเหตุใหญ่ที่สุดมาจากรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ เพราะเนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลลงมา นั้นสามารถมีการประเมินล่วงหน้าได้นานนับเดือน หากสามารถบริหารจัดการ น้ำที่เหมาะสม ค่อยๆทยอยระบายออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ในช่วงที่ระดับน้ำใน เขื่อนยังไม่สูงมากนัก แต่การปล่อยน้ำใน ช่วงที่มีปริมาณสูงสุดมันก็ย่อมหายนะอย่างที่เห็น                ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤติขึ้นมาแล้วก็ยังมีความสับสนและยังปิดบังข้อมูล ยังใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้การตลาด-การเมือง แบบฉาบฉวยนำหน้าปัญหา มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ขึ้นมาใหม่บรรยากาศก็เต็มไปด้วย ความสับสน ใครอยากจะพูดอยากจะให้ข้อมูลกับชาวบ้าน กับสื่อก็สามารถทำได้ตามสะดวก จะพูด“พล่อยๆ” อย่างไรก็ไม่มีปัญหา จนไม่รู้ว่าใครกันแน่ที่มีอำนาจเด็ดขาด เพราะไม่สามารถสั่งการใครได้                อีกทั้งอีกด้านหนึ่งก็ใช้สื่อของรัฐ อย่างช่อง 11 มาปู้ยี่ปู้ยำ กลายเป็นช่องสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อ เปิดโอกาสให้พวก ส.ส.สมาชิกพรรคเพื่อไทย พวกบ้านเลขที่ 111 ได้โชว์ลีลาหาเสียงแต่อีกด้านหนึ่งก็ไม่ลืมที่จะต้อง “เลียหน้าแข้ง” นายก รัฐมนตรีกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งสวนทางกับความจริงและความ รู้สึกของชาวบ้านส่วนใหญ่ที่กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ทำให้ความน่าเชื่อถือหมดสิ้น                เมื่อมาถึงวิธีการรับมือบริหารจัดการน้ำในภาวะเฉพาะหน้า แทนที่จะเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้โดยสะดวก เพื่อให้ระบายลงสู่ทะเลโดยเร็วที่สุดตามธรรมชาติ ที่ต้องไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ก็คือกำลังพยายามฝืน ธรรมชาติโดยการไปปิดกั้นขวางทางเอาไว้ พร้อมทั้งยืนยันหลอกต้มชาวบ้านว่า “เอาอยู่” แล้วเป็นไงพินาศย่อยยับเป็นรายทาง                นอกเหนือจากนี้เมื่อเข้าสู่ภาวะวิกฤติแทนที่จะประกาศใช้กฎหมายพิเศษ เช่นประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อให้อำนาจ ฝ่ายกองทัพเข้ามาบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ก็ไม่ยอมกลัวว่าทหารจะได้หน้าได้ตา เพราะที่ผ่านมาทั้ง ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นเจ้า ของรัฐบาล และ “หัวโจก”คนเสื้อแดงก็รับลูกโจมตีกองทัพ และกำลังจะแก้กฎหมายเพื่อเข้าไปล้วงลูกโยกย้าย                ล่าสุดเมื่อทุกอย่าง “เอาไม่อยู่” ก็เริ่มหันมาใช้วิธีการใหม่ นั่นคือเมื่อตนเองแก้ปัญหาไม่ได้กลัวถูกชี้หน้าด่า และบางทีอาจรับ ไม่ได้กับ คำถามที่ว่า “ก็ไหนเป็นมืออาชีพ” ทำให้ต้อง“โยนขี้” กล่าวโทษคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นกองทัพและหน่วยราชการบางหน่วย กล่าวหาว่า “วางยา” ซึ่งก็ไม่ต่างจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่นำโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่กำลังประสบอยู่ในเวลานี้                ดังนั้นถ้าให้สรุปเชื่อว่าหากไร่เรียงมาตั้งแต่ต้นก็ต้องบอกว่ามันเป็นเพราะการเมืองห่วย-ปิดบัง-สร้างภาพ- ฝืนธรรมชาติ ในการแก้ปัญหาทำให้วิกฤติลุกลามในวงกว้าง ออกไปไม่สิ้นสุด และวิกฤติดังกล่าวนี้จะยืดเยื้อ ต่อไปหลังจากน้ำลดแล้ว ซึ่งตอนนั้นจะหนักกว่าหลายเท่า !! http://www.manager.co.th
สุขุมพันธุ์ ยากที่จะรับมือน้ำเหนือ เหตุมีมากเกิน
  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวภายหลังเดินทางตรวจการระบายน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ว่า น้ำที่ไหลมาจากคลองมหาสวัสดิ์, อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี จะถูกระบายออกสู่ทะเลผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน คลองภาษีเจริญ คลองชักพระ คลองดาวคนอง และคลองบางกอกใหญ่ โดยในวันนี้ (21 ต.ค.) ประตูน้ำเปิดที่ระดับ 1.20 เมตร สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ 3-4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน อย่างไรก็ดียืนยันว่า จะไม่มีการเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม เพราะจะทำให้น้ำเข้าท่วมชุมชนที่อยู่ท้ายประตูน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรเสียหายได้ นอกจากนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยอมรับว่าปริมาณน้ำเหนือที่เริ่มเข้ามาในกรุงเทพฯ ในขณะนี้นั้นรับมือได้ยากมาก เห็นได้จากน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลอง 2ที่มีปริมาณนอกประตูสูงขึ้นจาก 2.09 เมตร เป็น 2.13 เมตรแล้ว ส่วนสาเหตุที่น้ำจากคลองประปาเพิ่มสูงขึ้น และทำให้น้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตดอนเมืองนั้น ก็เป็นเพราะศปภ. ไม่ได้ทำตามข้อเสนอของกรุงเทพมหานครในการลดระดับน้ำคลองประปา สำหรับน้ำที่ได้เอ่อล้นคันกั้นน้ำชั่วคราวคลองรังสิตประยูรศักดิ์ แล้วไหลเข้าท่วมบริเวณถนนพหลโยธินตัดคลองรังสิตประยูรศักดิ์อยู่ในขณะนี้ ทางกทม. ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปซ่อมแซมและประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ให้เข้ามาดูแล เพราะหากไม่มีการป้องกันจะทำให้น้ำเข้าท่วมถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านมายังอนุสรณ์สถานแห่งชาติ และเข้ามายังเขตดอนเมืองได้  Mthai News
คันกั้นน้ำมธ.รังสิตแตกท่วมหอพักอพยพนศ.ไปยิมฯ
ฟังคลิปเสียงข่าว เขื่อนดินหลังสถาบัน เอไอที - พนังกั้นน้ำ สวทช. มธ.รังสิต แตก น้ำไหลเข้าท่วมภายในมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องขนย้ายขวดน้ำบริจาคเข้ามาไว้ภายใน เพื่อป้องกันน้ำที่อาจทะลักเข้ามา ขณะอาสา เร่งนำกระสอบทรายซ่อมแซม เมื่อเวลา 00.30 น. หลังจากเขื่อนดินกั้นน้ำ ด้านหลังสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้พังลง พนังกั้นน้ำด้าน สวทช. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แตกความกว้าง 40-50 เมตร ส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าท่วมภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ทำให้นักศึกษาต้องขนย้ายขวดน้ำบริจาคเข้ามาไว้ภายใน เพื่อป้องกันน้ำที่อาจทะลักเข้ามา ส่วนรอยแตกของเขื่อนดินกั้นน้ำนั้น มีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครเข้าไปเร่งซ่อมแซม มีการตัดไฟฟ้าช่วงถนนทางเข้าระดมนักศึกษา ขนกระสอบทรายมาอุดน้ำที่ซึมเข้ามาจากทางด้านรั่ว ขณะนี้ทาง มธ.รังสิต ต้องการอาสาสมัครช่วยขนกระสอบทรายอุดรอยรั่ว ด้าน สวทช. และต้องการอุปกรณ์ส่องสว่าง เพราะหยุดจ่ายไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย Link : http://www.innnews.co.th/คันกั้นน้ำมธ-รังสิตแตกท่วมหอพักอพยพนศ--316190_03.html
ศปภ.ยึดอำนาจกทม.ขึ้นตรงนายกฯ
ศปภ.ยึดอำนาจกทม.ขึ้นตรงนายกฯ 'ศปภ.' ออกคำสั่งตัดตอนกทม. หวังยึดอำนาจดูแลกรุงเทพฯ เองทั้งหมด 'ยิ่งลักษณ์' ปรับทัพใหม่ ดึงอำนาจทั้งหมด จาก 'ประชา-สุขุมพันธุ์' รวมไว้ที่นายกฯ ตั้ง 'วีระ วงศ์แสงนาค' นั่งหัวโต๊ะคณะทำงานบริหารจัดการน้ำ จี้ทุกหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกฯ        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมร่วมชุดที่มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ , เสนาธิการทหารบก , ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และทีมงานในช่วงบ่ายวันที่ 21 ต.ค.54 ได้สรุปผลการจัดโครงสร้างการดำเนินการ เพื่อรองรับการใช้อำนาจสั่งการของนายกรัฐมนตรี กรณีสถานการณ์สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้           1. แนวคิดจากจัดทำโครงสร้างการดำเนินเพื่อรองรับการใช้อำนาจสั่งการของนายกฯกรณีสถานการณ์สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่งมีความต้องการที่จะนำโครงสร้างของศอส.และศปภ.บรรจุไว้ในโครงสร้างศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯตามที่กำหนดไว้ในแผนป้องกันฯ           2. การใช้อำนาจของนายกฯจะใช้ผ่านศปภ.ทั้งนี้จะให้มีศปภ.ส่วนหน้าโดยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับประสานการสั่งการของนายกฯร่วมกับผู้ว่าฯกทม. โดยศปภ.จะเป็นผู้สนับสนุน และเสนอแนะการทำงานของกทม.ทั้งนี้การประสานสั่งการใดๆต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยจะมีเฉพาะคำสั่งจากศปภ.เท่านั้น           3. ให้มีศปภ.ส่วนหน้าในการดูแลฝั่งตะวันออกด้วย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ดูแล โดยใช้ระบบสื่อสารวิทยุเครือข่ายหรือโทรศัพท์แล้วแต่กรณี           4. มอบให้กระทรวงคมนาคมขนย้ายของมีค่าหรือของโบราณ เช่น รถไฟไปไว้ยังพื้นที่ปลอดภัยก่อนเกิดอุทกภัยร้ายแรงในกทม.           5. ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบให้อธิบดีในสังกัดไปปฏิบัติงานที่ศปภ.ส่วนหน้า ที่ศาลากทม.ในวันที่ 23 ต.ค.เวลา 08.30 น.           6. ให้อธิบดีในสังกัดระทรวงมหาดไทยศึกษาแผนป้องกันภัยของกทม. พ.ศ. 2553 - 57 ด้วย           7. ให้กรมการปกครองจัดอาสาสมัครมาปฏิบัติหน้าที่นี้ด้วย           8. จังหวัดใดที่น้ำไม่ท่วมและไม่ได้รับมอบภารกิจในจังหวัดพี่และจังหวัดน้องในการช่วยเหลืออุทกภัย และให้สำนักปลัดกระทรวงจัดทำคำสั่งนี้ให้มาช่วยงานในครั้งนี้           9. ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทวรงมหาดไทยที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในกทม.ดูแลปกป้องสถานที่ราชการของตัวเองเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย           10. แจ้งกำชับในเรื่องรักษาความปลอดภัยทั่วไป           11. ให้เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวกับจ.นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ที่จะต้องประสบปัญหาอุทกภัยด้วย           12. ในการปฏิบัติราชการที่กทม.ในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ให้อธิบดีและผู้ว่าการของรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หรือรองอธิบดีที่มีอำนาจตัดสินใจไปร่วมปรึกษาหารือโดยเฉพาะการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวงนั้น ให้ผู้ว่าการรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งนี้ไปด้วยตัวเอง           13. ให้หน่วยงานระดับกรมและรัฐวิสาหกิจคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูง ที่อยู่ในภูมิภาคให้มาช่าวยงานเพื่อการนี้ด้วย           14. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำที่ศอส. โดยให้อธิบดีฯไปบ้างเป็นบ้างครั้ง หากมีการนำเสนอที่สำคัญ           ทั้งนี้ ให้นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าฯฉะเชิงเทรา รักษาการรองอธิบดีกรมการป้องกันฯ ไปประจำที่ศาลากทม.ในวันที่ 22 ต.ค.54   “ยิ่งลักษณ์”ปรับทัพ"ศปภ."ใหม่ ดึงอำนาจจาก "ประชา-สุขุมพันธุ์"              แหล่งข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 31 ของ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550 ได้มีการเตรียมปรับโครงสร้างของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ใหม่ โดยเพิ่มคณะทำงานเข้ามาร่วมทำงานมากขึ้น เพื่อสอดรอบกับส่วนราชการที่จะต้องเข้ามาทำหน้าที่ตามมาตรา 31 รวมไปถึงส่วนราชการของกรุงเทพมหานครด้วย อทั้งนี้ สิ่งสำคัญของการประกาศ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ นั้น คือการปรับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ จากเดิมการบริหารสถานการณ์ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ของพรบ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะผู้คุมอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหาร ซึ่งในส่วนของการบริหารสถานการณ์นายกฯได้ใช้อำนาจผ่าน พล.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมในฐานะผอ.ศปภ.           อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่า ที่ผ่านมาการทำงานเกิดติดขัด ในเรื่องของการประสานงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับกทม. จากกรณีที่ทางศปภ.ขอให้กทม.เปิดประตูระบายน้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักการระบายน้ำกทม. ดังนั้น การปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ เพื่อเป็นการดึงอำนจการตัดสินใจมาไว้ที่นายกฯเพียงคนเดียว โดยไม่ต้องใช้อำนาจผ่านพล.ต.อ.ประชา ในระหว่างเกิดวิกฤติน้ำท่วม   ตั้ง "วีระ วงศ์แสงนาค" นั่งหัวโต๊ะคณะทำงานบริหารจัดการน้ำ             ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังมีคำสั่งจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ คำสั่งที่ 17/2554 ว่าด้วยเรื่อง กำหนดมาตราการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง อาศัยอำนาจตามมาตรา 31 แห่งพรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เพื่อให้แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องกันนั้น           นายกรัฐมนตรียังได้มีคำสั่ง ที่ 18/2554 ว่าด้วยเรื่องคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง อาศัยอำนาจตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550            โดยสั่งให้มีคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย นายวีระ วงศ์แสงนาค ประธานคณะทำงาน นายกิจจา ผลภาษี ที่ปรึกษาคณะทำงาน นายรอยล จิตรดอน ที่ปรึกษาคณะทำงาน นายสมบัติ อยู่เมือง คณะทำงาน นายสุทัศน์ วีสกุล คณะทำงาน นาวาเอกสมัย ใจอินทร์ คณะทำงาน นาวาเอกสุรพล นะวะมวัตน์ คณะทำงาน นายจรูญ พจน์สุนทร คณะทำงาน และนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณะทำงานและเลขานุการ           คำสั่งดังกล่าว ให้คณะทำงานมีอำนาจ ดังนี้           1.เสนอความคิดเห็น ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรี ในการสั่งการหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการบริหารจัดการระบายน้ำ ในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง           2.ให้คณะทำงานติดตามการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการระบายน้ำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) และศูนย์สนับสนุนอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินโคนถล่ม (ศอส.)           3.กำหนดแนวทางมาตรการเกี่ยวกับการระบายน้ำในเขตพื้นที่ที่ประสบสาธารณภัยร้ายแรง โดยให้จัดทำข้อเสนอเป็นรายงานทุกวัน ต่อนายกรัฐมนตรี และ 4. ปฏิบัติการตามนายกรัฐมนตรีมอบหมาย           อย่างไรก็ตามให้หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบายน้ำตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ศปภ. หรือ ศอส. ให้สนับสนุนความร่วมมือในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และรายละเอียดต่างๆที่ได้ดำเนินการให้แก่คณะทำงานดังกล่าว เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนังสือคำสั่งดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มีการลงนามคำสั่งตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา   มั่วทวิตเตอร์ "ศปภ." ชาวบ้านขอความช่วยเหลือไม่ได้             ผู้สื่ข่าวรายงานว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ตั้งข้อสงสัย พร้อมกับแสดงความไม่พอใจที่เมื่อขอความช่วยเหลือทางทวิตเตอร์ กลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ  โดยมีความเข้าใจกันว่า ทวิตเตอร์ @GCC_1111 เป็นของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม            ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า การแจ้งเรื่องร้องเรียน ของ ศปภ. มีหลายช่องทาง ประกอบด้วย การโทรศัพท์แจ้งผ่านมาทาง Call Center 1111 กด 5   และ กดหมายเลข  025043248  - 51  ที่โทรได้ทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์มือถือ  หรือกด  *1111 ในกรณีที่โทรจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ซึ่งหากคู่สายไม่ว่างก็จะโอนสายให้คอลล์เซ็นเตอร์ของค่ายมือถือต่างๆ  ซึ่งจะบันทึกข้อมูลและแจ้งกลับมาที่ ศปภ.             นอกจากนี้ยังสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ทาง SMS โดยกดหมายเลข 4567892 โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย             นอกจากนี้ ยังสามารถแจ้งผ่านทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ ศปภ. www.floodthai.net  ซึ่งจะมีหน้ารับเรื่องร้องเรียน รวมถึงสามารถแจ้งผ่านทาง อีเมล์ iocprd@gmail.com            สำหรับโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น ศปภ. มีเพียงหน้าเพจของ เฟซบุ๊คในชื่อ "ศปภ." ซึ่งก็สามารถร้องเรียนขอความช่วยเหลือ           ทั้งนี้ ทุกช่องทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบและบันทึกข้อมูลเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป อย่างไรก็ตาม หากไม่สะดวก ก็ยังสามารถมาแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่ 2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศท่าอากาศยานดอนเมือง            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบไม่พบว่า ศปภ. เปิดทวิตเตอร์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนแต่อย่างใด โดยผู้ที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ           ส่วน twitter@GCC_1111  ที่มีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมากนั้นในหน้าโพรไฟล์ ระบุว่า เป็นของ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน  (Government contact call center)           ด้านนายถิรชัย วุฒิธรรม  เลขานุการ ศปภ. ยืนยันว่า ศปภ.ไม่เคยเปิดทวิตเตอร์ ให้แจ้งเตือนภัยแต่จะเร่งตรวจสอบ หากพบว่า มีบุคคลอื่นเข้ามาแอบอ้างเปิดในนาม ศปภ. และจะประสานไอซีทีให้ปิดทันที เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนสับสนในเรื่องการแจ้งเตือน           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับทวิตเตอร์ดังกล่าว เมื่อตรวจสอบไปพบว่า เป็นของศูนย์บริการภาครัฐ ของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่   แต่เมื่อตรวจสอบต่อไปก็พบว่า  ทวิตเตอร์ดังกล่าวมีผู้ดูแลอยู่คนเพียงคนเดียว และมีผู้ช่วยดูแล 3 คน โดยเป็นส่วนหนึ่งของคอลล์เซ็นเตอร์ 1111 ที่ร่วมือระหว่างทำเนียบรัฐบาล กระทรวงไอซีที และ ทีโอที โดยผู้ดูแลเป็นคนของ ทีโอที อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ประสานกับ ศปภ. เพื่อให้ดึงข้อมูล ไปใช้แต่อย่างใด http://www.komchadluek.net/
ผวา! น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วม กทม.ฉับพลัน
 (22 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. ที่ผ่านมา หลายพื้นที่ในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งในกรุงเทพมหานครและนนทบุรี ต้องประสบเหตุน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อสูงขึ้น จนล้นเข้าท่วมพื้นที่หลายจุด โดยตามรายงานระบุว่า บริเวณท่าน้ำนนท์ฯ ฝั่งบางศรีเมือง น้ำเอ่อล้นจนแนวกั้นกระสอบทรายรั่ว ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วม ขณะที่บริเวณสะพานพระราม 7 หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และชุมชนวัดสร้อยทอง น้ำได้เอ่อเข้าท่วมเช่นเดียวกัน ส่วนในเขตกรุงเทพฯ บริเวณ ถนนสามเสน บางขุนพรหม ศรีย่าน บางกะบือ ถนนพระอาทิตย์ ป้อมพระสุเมรุ ท่าพระอาทิตย์ จนถึงท่าพระจันทร์ มีน้ำเอ่อเข้าท่วมตลอดทาง โดยเฉพาะบริเวณท่าน้ำศิริราช ซึ่งมีรายงานว่าน้ำเข้าท่วมสูงกว่า 2 เมตร เจ้าหน้าที่ต้องรีบนำกระสอบทรายกั้นทางน้ำกันอย่างอลหม่าน ขณะที่ด้าน ถนนจรัญสนิทวงศ์ มีรายงานว่าน้ำเริ่มผุดขึ้นจากท่อระบายในหลายจุด โดยเฉพาะหน้าโรงแรมรอยัลริเวอร์ ซึ่งในขณะีนี้เจ้าหน้าที่ได้แก้ไขอย่างเร่งด่วนในทุกจุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ด้านผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เปิดเผยว่า ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นในช่วงบ่ายวันนี้นั้น ไม่ได้มีสัญญาณใดๆ บ่งบอกก่อนจะเกิดขึ้น คาดว่าอาจจะเป็นน้ำเหนือที่ไหลลงมาสมทบอย่างฉับพลัีน อีกพร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 13 เขต 27 ชุมชนนอกคันกั้นน้ำ ได้เตรียมพร้อมและอพยพออกจากพื้นที่ หากสถานการณ์เลวร้ายลง   พื้นที่เสี่ยงภัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา 13 เขต 27 ชุมชนนอกคันกั้นน้ำ 1. เขตบางซื่อ มี 2 ชุมชน คือ ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหม่ 2. เขตดุสิต มี 5 ชุมชน คือ ชุมชนเขียวไข่กา (ถ.เขียวไข่กาช่วงปลาย) 20 ครัวเรือน ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ(เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 19 ช่วงปลาย) ชุมชนปลายซอยมิตรคาม(ซอยสามเสน 13 ช่วงปลาย)และชุมชนวัดเทวราชกุญชรฯ (ถ.ศรีอยุธยาช่วงปลาย) 3. เขตพระนคร มี 3 ชุมชน คือ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน 4. เขตสัมพันธวงศ์ มี 2 ชุมชน คือ ชุมชนวัดปทุมคงคา(ท่าน้ำสวัสดี) และชุมชนตลาดน้อย 5. เขตบางคอแหลม มี 4 ชุมชน คือ ชุมชนวัดบางโคล่นอก ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ และชุมชนหลังร.พ.เจริญกรุงประชารักษ์ 6. เขตยานนาวา มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนโรงสี (ถ.พระราม 3) 7. เขตคลองเตย มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง 8. เขตบางพลัด มี 1 ชุมชน คือชุมชนวัดฉัตรแก้ว 9. เขตบางกอกน้อย 4 ชุมชน คือ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนตรอกวังหลังและชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่ 10. เขตธนบุรี 1 ชุมชน คือ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่ 11. เขตคลองสาน 1 ชุมชน คือ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2 12. เขตราษฎร์บูรณะ มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนดาวคะนอง 13. เขตทวีวัฒนา มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนวัดปรุณาวาส ขอบคุณภาพประกอบจาก เฟชบุ๊คและโชเชียลเน็ตเวิร์ก  
ชูวิทย์ อัดรัฐแก้ปัญหาน้ำเละ
  'ชูวิทย์'อัดรัฐแก้ปัญหาน้ำเละ 'ชูวิทย์' เหน็บรัฐ 'เอาปัญญาชนกรอกถุงทราย เอาปัญญาควายบริหาร' แก้ปัญหาน้ำท่วมเละ ฉะยับ จับ ปชช. เป็นตัวประกัน ชูภาพทางการเมือง             นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ประธานสภาฯสั่งงดการประชุมสภาฯ  เขาได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัด อาทิ นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ส่วน จ.สิงห์บุรี เข้าไปไม่ได้ เพราะน้ำท่วมสูงไม่มีเรือเข้า ทั้งนี้ พบว่า ที่จ.สุพรรณบุรี น้ำท่วมน้อยที่สุดสภาพน้ำเป็นปกติทุกอย่าง คือ ท่วมแค่บางอำเภอที่เป็นรอยต่อกับจังหวัดอื่นๆ          “ประชาชนต่างมองได้สองมุม มุมหนึ่งผู้คนชื่นชมว่า คนที่ดูแล จ.สุพรรณบุรีดูแลการจัดการบริหารน้ำได้เป็นอย่างดี อีกมุมหนึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนจังหวัดข้างเคียง ที่ต่างก็ฝากค่อนขอด สะท้อนมาว่า คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่ให้ความร่วมมือกับจังหวัดข้างๆ น้ำท่วมเหมือนกันแต่เดือดร้อนไม่เท่ากัน วันนี้ ต้องยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วมถูกโยงไปกับการเมืองเรียบร้อยแล้ว ในสายตาชาวบ้าน เพราะแค่ จ.สุพรรณฯ และ จ.ชัยนาทที่ติดต่อกัน สุพรรณไม่ท่วมแต่ข้ามไปเขตชัยนาทไม่ถึงกิโลเมตรท่วมทันที"           นายชูวิทย์ กล่าวว่าระดับน้ำเป็นเมตร ทางขาด ที่ชัยนาท ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.54 จนถึงวันนี้ เป็นเวลาหนึ่งเดือน ยังไม่มีการซ่อมแซมปรับปรุง ทั้งที่เป็นถนนสายหลัก พื้นที่จังหวัดน้ำท่วม กลับไม่ตั้งศูนย์ประสานงานประจำอำเภอ ตำบล เป็นศูนย์กลางบริหารงาน-แบ่งพื้นที่ดูแล ของเหล่าอาสาสมัคร แต่กลับปล่อยให้อยู่ด้วยตัวเอง ทุกอย่างเละตุ้มเป๊ะ ต่างคนต่างทำ สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ การทำงานเอาหน้าผ่านสื่อ           หัวหน้าพรรครักประเทศไทย  กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่พบเจอหลังนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายในจังหวัดภาคกลาง พบว่า จังหวัดต่าง ๆ ไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ ให้ชาวบ้านหรือผู้นำชุมชนจัดการกันเอง ในลักษณะต่างคนต่างเอาตัวรอด คนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ก็หนีมาอยู่บนริมถนน คนใจบุญเอาของไปแจกก็ได้แต่ในเขตเมืองและคนที่อยู่ริมถนน  แต่คนที่อยู่รอบนอกถูกตัดขาด ไม่มีเรือออกไปยังมีตกค้างอีกเป็นจำนวนเรือนหมื่นเรือนพัน           “ที่สำคัญเหล่าอาสาสมัคร องค์กรการกุศลต่างๆที่เสียสละด้วยจิตอาสาไปช่วยเหลือพี่น้องประสบภัยที่เดือดร้อน ก็ไม่มีหน่วยงานราชการในจังหวัดในอำเภอนั้นๆมาดูแล ต้องอาศัยกินอยู่หลับนอนริมถนนเหมือนชาวบ้าน แทนที่จะมีการตั้งศูนย์ประสานงานของทางราชการประจำอำเภอ ตำบล เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางบริหารงานและแบ่งพื้นที่ดูแลของเหล่าอาสาสมัครแต่กลับปล่อยให้อยู่ด้วยตัวเอง ทุกอย่างจึงเละตุ้มเป๊ะ ต่างคนต่างทำ"           เขาบอกว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ การทำงานเอาหน้าผ่านสื่อ ไล่ไปตั้งแต่นักการเมือง ดาราจนถึงบริษัทเอกชน นักการเมืองเอาคนที่ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์มาทำงานมารับผิดชอบหน้าที่ ดาราขอให้แค่ได้ไปโผล่หน้าจอเพื่อเป็นข่าว ขณะที่บริษัทเอกชนต่าง ๆ ไปขึ้นป้ายแบนเนอร์ตามเสาไฟฟ้าจังหวัดต่างๆว่า ไปบริจาคที่นั้นที่นี้ ทุกอย่างล้วนเป็นการฉวยโอกาสทำงานเอาหน้าทั้งสิ้น จึงน่าสงสารประเทศไทย           หัวหน้าพรรครักประเทศ กล่าวต่อว่า ที่แย่ที่สุด คือ การบริหารงานของศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่วันนี้ พี่น้องประชาชนไม่ให้ความเชื่อถือ เพราะบอกว่า น้ำไม่ท่วมแต่ก็ท่วมทุกที่ ข่าวสารที่ออกมาของทางการประชาชนไม่เชื่อถือเลย ต้องบอกดัง ๆ ว่า น้ำไม่ใช่ควัน ไม่ใช่ก๊าซที่จะสลายไปในอากาศ แต่กลับไม่มีการแจ้งเตือน เช่น ที่ย่านบางบัวทอง จ.นนทบุรี           ทั้งนี้ หากจัดการบริหารน้ำอย่างจริงจัง จะสามารถป้องกันความเสียหายได้มากกว่านี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของความล้มเหลวในการบริหารจัดการของศูนย์ดังกล่าว คือ การปล่อยให้น้ำไหลลงคลองประปา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่ไว้ใช้อุปโภค บริโภค ในกทม.และปริมณฑล และการจอดรถตามสะพานข้ามแยก และทางด่วนต่างๆ ก็สะท้อนความล้มเหลวในการจัดการบริหารของรัฐ ที่รับแผนงานมาปฏิบัติ ซึ่งเขาไปที่ไหน ก็มีคนถามว่า กรุงเทพฯท่วมหรือไม่ แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่า ท่วมแน่ ๆ           "วันนี้ชาวบ้านว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง สังคมจึงอยู่กันเอาแบบตัวรอด เพราะรัฐบาลล้มเหลวในการแก้ไปหา ทั้งแผนเผชิญเหตุ แผนรับรอง แผนอพยพ แผนช่วยเหลือเอาคนออกนอกพื้นที่ หรือแผนดูแลรักษาความปลอดภัยที่จะให้ความมั่นใจต่อชาวบ้านในการถอนตัวออกจากบ้านเรือน"           นายชูวิทย์ กล่าวต่อว่า  กทม.วันนี้ ก็มีการเล่นการเมืองผ่านสื่อ โดยเอาคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เข้ามานั่งประชุม และออกภาพผ่านสื่อเพียงแค่หวังผล ในคะแนนนิยมจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น จึงอยากจะเตือนว่า นักการเมืองที่ดีต้องอย่าเอาชาวบ้านเป็นตัวประกันเพื่อเล่นการเมือง เอาคนไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีประสบการณ์มาทำงานผ่านสื่อเพื่อสร้างภาพ สร้างฐานเสียงทางการเมืองให้ตัวเอง           "เวลานี้ มีคำพูดสะท้อนผ่านสื่อในโซเชียลมีเดียว่า “เอาปัญญาชนมากรอกถุงทราย เอาปัญญาควายมาบริหารจัดการ สั่งการแต่ละอย่างเหมือนสั่งน้ำมูก”  แผนเยียวยาต่าง ๆ ไม่มี มีแต่แผนตั้งรับ วัน ๆ จะเห็นแต่ภาพการดูงาน ดูเขื่อน ดูประตูระบายน้ำ นั่งดูแผนที่ ก็ไม่รู้ว่า จะดูไปทำไม ดูแล้วน้ำ มันจะลดลงหรือ จนเห็นภาพชาวบ้านลอยคอ เกาะกะละมัง แบกกระเป๋าหนีน้ำในน้ำเน่าจนชินตา"           นายชูวิทย์ กล่าวว่า ในช่วงแรกๆ เขาไม่อยากพูดมาก เพราะเห็นว่า เป็นเหตุวิกฤต แต่นี่ผ่านมาสองเดือนแล้ว รัฐบาลควรจะมีแผนจัดการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่านี้ แต่นี่กลับปล่อยให้ต่างคนต่างพูด แม้ ศปภ.เองคนทั้งประเทศยังไม่เชื่อถือ บอกว่าไม่ท่วม แต่ก็ท่วมจนชาวบ้านเอือมระอา กรณีบางบัวทองและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถือว่า ชัดเจนที่สุด หากบอกว่า ป้องกันไม่ได้ก็ควรจะพูดความจริง และแจ้งเตือนเพื่อให้ประชาชนและผู้คนได้รู้ตัว ไม่ใช่ปล่อยให้หนีตายเอาตัวรอดแบบตัวใครตัวมัน   สอนมวย 'เพรียวพันธ์'  อย่ามัวแต่ 'จัดโผ-ล้างบาง' แนะ จัด ฉก. จับ “โจรน้ำท่วม”             นายชูวิทย์ ยังเรียกร้องให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์  ผบ.ตร.คนใหม่ ที่เพิ่งได้รับตำแหน่งว่า อย่ามัวแต่ไปจัดโผเอาเด็กของตัวเอง ไปล้างบางขั้วอำนาจเก่า  แต่เป็นเวลาที่ต้องจัดแผนเชิงรุก โดยสั่งการตั้งชุดเฉพาะกิจในแต่ละจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จัดเรือตรวจการของตำรวจอออกไปตรวจตาป้องกันการขโมยทรัพย์สิน ดูและทรัพย์สินของประชาชนเพื่อให้เขามีความเชื่อมั่น เขาจะได้อพยพออกมาในที่ปลอดภัย และจะได้ลดอัตราการสูญเสียของพี่น้องคนไทยได้อีก           "วันนี้ ผมลงไปดูพื้นที่ในหลายจังหวัดสรุปได้ว้า ทุกอย่างยังเละ ขาดการประสานงาน ถุงยังชีพไปกองที่อบต.ไม่ถึงมือชาวบ้าน ผู้นำแจกจ่ายแต่พวกตัวเอง หากไม่เร่งดำเนินการที่สุดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคม ความไม่พอใจในรัฐบาลจะตามมาเป็นเงาตามตัวหลังน้ำลดแน่นอน" นายชูวิทย์ ระบุ http://www.komchadluek.net
น้ำจ่อกรุงฯหน้าเซียร์รังสิตสูง40ซ.ม.แล้ว
ย่านรังสิตวิกฤติหนัก จ่อทะลักเข้ากรุงเทพฯ เต็มตัว หน้าเซียร์ เริ่มปิดการจราจร รถเล็กผ่านไม่ได้ ระดับน้ำสูง 30-40 ซ.ม. ขณะที่ ตลาดรังสิตน้ำสูง 1 ม. (22 ต.ค.) สถานการณ์น้ำย่านรังสิตวิกฤติหนัก จ่อทะลักเข้ากรุงเทพฯ เต็มตัว หน้าเซียร์ เริ่มปิดการจราจร รถเล็กผ่านไม่ได้ ระดับน้ำสูง 30-40 ซ.ม. ขณะที่ ตลาดรังสิตน้ำสูง 1 ม. สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด บริเวณย่านรังสิตใน ขณะนี้ทางด้านเซียร์รังสิต ได้มีการปิดถนนเส้นที่จะมุ่งหน้าสู่ถนนพหลโยธินสายเหนือ - อีสาน โดยห้ามรถเล็กวิ่งผ่าน ซึ่งระดับน้ำสูงประมาณ 30 - 40 ซ.ม. ประชาชนเร่งสร้างคันกระสอบทรายรวมถึงเจ้าหน้าที่มาอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและควบคุมการจาราจร โดยการจรจรในขณะนี้ ได้เปิดเส้นทางให้รถวิ่งสวนกันบนถนนวิภาวดี - รังสิต ขาออกเลี่ยงเส้นทาง ที่ปริมาณน้ำท่วมสูงมาก ส่วนทางด้านบริเวณหมู่บ้านเมืองเอก จนถึงสะพานข้างแยกรังสิตถนนวิภาวดี - รังสิต ขาออกไปปทุมธานี - นวนคร ปริมาณน้ำสูงขึ้นอีกประมาณ 50 ซ.ม. ส่วนทางด้านตลาดรังสิต โรงพยาบาลปทุมเวชและหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ประชาชนต้องนำเรือออกมาใช้เดินทาง เนื่องจากระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ทั้งนี้ ห้างสรรพสินค้าย่านนี้ เมเจอร์รังสิต ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต และโลตัสรังสิต ปิดให้บริหารทั้งหมด รวมถึงท่ารถต่างจังหวัดในขณะนี้ ไม่มีรถให้บริการแล้ว http://news.sanook.com/1065504/น้ำจ่อกรุงฯหน้าเซียร์รังสิตสูง40ซ.ม.แล้ว1/  
ยิ่งลักษณ์ รับน้ำจ่อท่วมกรุง เตือนเก็บของขึ้นสูง1เมตร
 นายกรัฐมนตรี รับน้ำจ่อท่วมกรุง ยันรัฐบาลจะป้องเต็มที่ ให้ ปชช. เก็บของขึ้นที่สูง 1 เมตร มีแผนรับมือน้ำทะเลหนุนสูง 28-31 ต.ค. นี้ (22 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" กล่าวถึง สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ว่า วันนี้น้ำต่างๆเริ่มเข้ามาใกล้กรุงเทพมหานครเต็มที่ ซึ่งทางภาครัฐจะพยายามทุกวิถีทางในการป้องกันพื้นที่ โดยจะเร่งระบายน้ำสู่ทะเลออกทาง กทม. ตะวันออก และได้มีการเตือนให้ประชาชนไม่ประมาท ควรเก็บของขึ้นที่สูงอย่างน้อย 1 เมตร ในช่วงที่รัฐบาลพยายามระบายน้ำลงสู่ทะเล แต่ยืนยันจะพยายามบริหารพื้นที่ ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนมากนัก รวมถึงจะป้องกันไม่ให้ระบบสาธารณูปโภคเสียหาย พร้อมกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง ในระหว่างวันที่ 28-31 ต.ค. นี้ รัฐบาลและกรมชลประทาน มีแผนรับมือไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะให้กรมชลฯ ลดการระบายน้ำในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบกับพี่น้องประชาชน http://news.sanook.com/1065522/ยิ่งลักษณ์-รับน้ำจ่อท่วมกรุง-เตือนเก็บของขึ้นสูง1เมตร/
น้ำท่วมทำ กฟผ. ป่วน! ต้องปรับแผนจ่ายไฟ
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ประเมินว่าจะมีสถานีไฟฟ้าแรงสูง 4 แห่ง คือสถานีไฟฟ้าแรงสูงรังสิต สถานีไฟฟ้าแรงสูงไทยน้อย สถานีไฟฟ้าแรงสูงหนองจอก และสถานีไฟฟ้าแรงสูงอ่อนนุชน จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายไฟได้   จึงได้เตรียมการป้องกันพื้นที่บริเวณโดยรอบ คือ เสริมแนวป้องกันและยกระดับอุปกรณ์ที่สำคัญให้สูงขึ้นประมาณ 90 เซ็นติเมตรเพื่อให้สามารถรับจ่ายไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง แต่หากระดับน้ำสูงมากได้เตรียมแผนรองรับโดยย้ายการรับ-จ่ายไฟฟ้าไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงอื่นแทน  โดยเฉพาะสถานีไฟฟ้าแรงสูงรังสิตที่เกิดน้ำท่วมหลังจากนิคมอุตสาหกรรมนวนครถูกน้ำท่วม  จึงปรับการจ่ายไฟฟ้าบางส่วนไปที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงแจ้งวัฒนะ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงลาดพร้าวแทน  ทำให้ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนสถานีไฟฟ้าแรงสูงไทรน้อย ซึ่งมีความเสี่ยงได้ประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคย้ายไปรับไฟที่สถานีใกล้เคียงแทนและน้ำที่ท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครลดลงถึง 440 เมกะวัตต์สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพลนั้น  นายสุทัศน์  ยืนยันว่า ยังมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าปริมาณวันละ 60 ล้านลูกบาศ์กเมตร เพราะปริมาณความจุของเขื่อนสามารถรับน้ำได้อีกเพียงร้อยละ 0.09 เท่านั้น http://www.springnewstv.tv/news/local/9943.html
จับตาระดับน้ำคลองทวีวัฒนา
ระดับน้ำในคลองกรุงเทพมหานคร วันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นคลองทวีวัฒนาที่ระดับน้ำค่อนข้างสูงขณะที่การระบายน้ำจากคลองประปาลงสู่คลองสามเสนนั้น ยังอยู่ในอัตราต่ำกว่าที่คาด สถานการณ์ภาพรวมระดับน้ำในคลอง ของกรุงเทพมหานครทั้ง 40 คลอง ส่วนใหญ่ยังถือว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้ กทม ได้เริ่มระบายน้ำผ่านคลองหลัก 3  คลอง ได้แก่ พระโขนง ประเวศ และแสนแสบ โดยสถานการณ์น้ำด้านตะวันออกของ กรุงเทพฯ ที่อยู่ในสถานการณ์เฝ้าระวัง คือ ประตูระบายน้ำคลองแสนแสบมีนบุรี ระดับน้ำอยู่ที่ 1 เมตร 24 เซนติเมตร สูงกว่าระดับควบคุม 6 เซนติเมตร ส่วนประตูระบายน้ำประเวศบุรีรมย์ ลาดกระบังด้านนอก ระดับน้ำ 71 เซนติเมตร สูงกว่าระดับควบคุม 8 เซนติเมตร  ส่วนสถานการณ์น้ำด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ฝั่งนนทบุรี ระดับน้ำอยู่ที่ 1 เมตร 89 เซติเมตร สูงกว่าระดับควบคุม 59 เซนติเมตร  ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  นอกจากนี้ ระดับน้ำที่คลองสามเสนช่วง เชื่อมต่อคลองประปา ระดับต่ำกว่าสันเขื่อน 1 เมตร 81 เซนติเมตร และน้ำในคลองประปาไหลลงสู่คลองสามเสนในอัตราต่ำกว่าที่คาด สำหรับระบบการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครที่ใช้กับคลองประปานั้น กรุงเทพมหานครได้ใช้เครื่องสูบน้ำ ระบายน้ำ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ สูบน้ำไปลงบึงมักกะสันในปริมาณ 45 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที และลงสถานีสูบน้ำสามเสนในปริมาณ 45 ลูกบาก์ศเมตรต่อวินาที จึงต้องเฝ้าระวังต่อไป    http://www.springnewstv.tv/
ย้อนอดีต น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 บทเรียนของปัจจุบัน
ขออนุญาต นำเอาผลงายวิดีทัศน์ ของ"แท้ ประกาศวุฒิสาร" ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ปี 2542 เกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485...   http://www.springnewstv.tv/
ไทยฟลัด ถอนตัว อ้างรับไม่ได้ ศปภ.เซ็นเซอร์ข้อมูลน้ำท่วม
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยฟลัดชิ่งจาก ศปภ. แฉรัฐบาลขอตรวจข้อมูลก่อนแถลง ลั่นไม่มีระโยชน์ที่จะอยู่ต่อ อัดยับ ศปภ.บริหารจัดการที่ไม่เป็นเอกภาพ!เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายปรเมศวร์ มินศิริ ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยฟลัดดอทคอม (Thaiflood.com)  และกรรมการผู้จัดการบริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ (Kapook.com) ที่มา ช่วยงานภาครัฐกับ ศปภ. ที่กองอำนวยการร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเปิดให้ผู้มีจิตอาสามาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ และรับเรื่องราวต่างๆ ในการที่จะบริจาคนั้น ได้เกิดความขัดแย้งกันในการจัดการกับ ศปภ. ภาคประชาชน ทำให้นายปรเมศวร์ ผู้ที่ดูแลและมีหน้าที่ในส่วนของการให้ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์น้ำท่วมไม่พอใจการทำงานของ ศปภ. ในการห้ามนำเสนอในข้อมูลดังกล่าว และมีการปิดบังข้อมูลในเรื่องความไม่พอใจในการทำงานของกองอำนวยการ จึงขอแยกกองหน่วยงานข้อมูลข่าวสารน้ำท่วมและผู้ประสบภัยไปตั้งที่อื่น   ปรเมศวร์ มินศิริ นายปรเมศวร์ ยอมรับว่าถอนตัวจากศูนย์ ศปภ.จริง พร้อมให้เหตุผลว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อ เพราะถูกกีดกั้นด้านข้อมูล ไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ถึงขนาดมีการโทรศัพท์มาขอเซ็นเซอร์ และตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะแถลงข่าว รวมทั้งการบริหารจัดการที่ไม่เป็นเอกภาพ ไม่มีการแจ้งข้อมูลต่อประชาชนอย่างเป็นระบบเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้กลุ่ม “ไทยฟลัด” ต้องขอแยกตัวไปที่สำนักงาน “ไซเบอร์เวิลด์” ที่รัชดาฯ พร้อมเตือนว่า ภัยธรรมชาติเมื่อบวกกับการบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ ก็จะกลายเป็นภัยพิบัติ นายปรเมศวร์ กล่าวต่อว่า ไทยฟลัดได้มาตั้งศูนย์อยู่ที่ดอนเมือง ตามคำเชิญชวนของรัฐบาลตั้งแต่ต้น ช่วงสัปดาห์แรกยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการให้การสนับสนุนข้อมูล เพื่อเตือนภัยแก่ประชาชนเป็นอย่างดี แต่พอสถานการณ์น้ำท่วมหนักขึ้น ได้ขอเสนอตัวเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่จะเข้าไปร่วมให้ข้อมูลแก้ปัญหากับภาครัฐ กลับได้รับการปฏิเสธ แค่ให้ทำหน้าที่ "พีอาร์" (ประชาสัมพันธ์) ข้อมูลที่ ศปภ. จัดมาแถลงเท่านั้น "ทางไทยฟลัดเห็นว่า ข้อมูลช่วงหลังจากภาครัฐเริ่มไม่พอที่จะนำมาวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่มีการคิดและทำ จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่ไทยฟลัดจะต้องแบ่งกำลังมาอยู่ตรงนี้ รวมทั้งดอนเมืองเองก็มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมสูง และถึงย้ายไปผมก็ยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐ พอที่จะขอประสานข้อมูลกันได้ เรามาอยู่ที่นี่คือต้องการช่วยผู้ประสบภัยอย่างเดียว ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นขั้วการเมืองขั้วใด มีความพยายามจะขอเซ็นเซอร์ข้อมูลของไทยฟลัด ทั้งที่เราพยายามเตือนประชาชนด้วยข้อเท็จจริง ไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการให้ข้อมูลจริงที่นำไปสู่การตัดสินใจได้" ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยฟลัด กล่าว     นายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า มีเหตุการณ์ที่รับไม่ได้คือ ล่าสุดที่ไทยฟลัดออกแถลงการเตือนสถานการณ์น้ำท่วม กทม.ออกไป กลับมีการโทรศัพท์จากภาครัฐเข้ามาแสดงความไม่พอใจ อยากให้ปรับเปลี่ยนท่าทีในการออกแถลงการณ์ เช่น ข้อมูลบางอันก็ขอให้ส่งผ่าน ศปภ. ก่อนที่จะมีการนำเสนอ ซึ่งตนบอกว่าทำไม่ได้ เพราะยามวิกฤติประชาชนกำลังรอข้อมูลเพื่อความอยู่รอด แต่กลับจะเอาข้อมูลไปกรองก่อน ที่สำคัญมันยังอาจทำให้ข้อมูลถูกบิดเบือนได้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ทำงานเป็น ศปภ. มีข้อมูลอะไรที่ประชาชนควรรับรู้ แต่ ศปภ.ไม่เคยให้นั้น นายปรเมศวร์ กล่าวว่า สิ่งที่ไม่เคยได้รับคือ มาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการรองรับปัญหา เช่น มีการประกาศแผนอพยพ แต่ไร้แผนรองรับ ทั้งที่ควรจะบอกชัดเจนก่อนว่าให้อพยพไปไหน ไม่ใช่อยู่ๆ น้ำเข้ามาแล้ว ผู้คนแตกตื่น แต่ไม่รู้ว่าจะต้องอพยพไปไหน เมื่อวานนี้ (21 ต.ค.) นายกฯ แถลงว่าจะปล่อยน้ำให้ระบายผ่าน กทม. เราก็อยากฟังแผนการระบายน้ำ เพื่อจะได้ช่วยคิดช่วยทำ แต่ ศปภ.กลับแถลงแค่ขอเครื่องสูบน้ำจากภาคเอกชน ตนเคยเสนอแผนการระบายน้ำอย่างเป็นระบบที่คลองเปรมมาแล้ว ก็เห็นว่าที่ประชุม ศปภ.เอาไปพิจารณาและเอาไปทำ ก็อยากจะเห็นแผนในลักษณะเดียวกันออกมาจากรัฐบาล ไม่อยากเห็นเพียงว่าพอแก้ปัญหาไม่ได้เพราะไม่เป็นระบบ สุดท้ายก็มาพูดแค่ว่า เราได้ทำเต็มความสามารถแล้วเท่านั้น รายงานข่าวจาก ศปภ. แจ้งว่า หลังจากกลุ่มไทยฟลัดนำบุคลากรออกไปตั้งที่ทำการใหม่ที่ใช้ในการให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ทางมูลนิธิกระจกเงาที่อยู่ด้วยกันภายใน ศปภ. ก็ได้เข้าไปใช้พื้นที่แทนทันที พร้อมติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว. ขอขอบคุณ : ไทยรัฐ    
คำพูดฮิตๆ ที่มากับคนฮ็อตๆ
 ภาษาเกิดใหม่ได้ตลอดเวลา คำพูดบางคำที่เคยฮิต ณ ปัจจุบันนี้ ผ่านไปอีกสัก1-2 ปี ก็กลับไม่มีใครพูดถึงเพราะถ้่าพูดก็เชยไปซะแล้ว ภาษาพูดลักษณะนี้บางทีเกิดขึ้นแล้วก็จางหายไปตามยุคสมัย วันนี้ทีมงาน Sanook! Campus มีคำพูดที่ฮิตมากๆในปัจจุบัน และคำพูดเคยฮอตฮิตเมื่อครั้งอดีต โดยคนดังเหล่านี้เป็นคนคิดประดิษฐ์คำเหล่านั้นขึ้นมา คนดังคนไหนมาพร้อมกับคำพูดเด็ดๆอะไรไปติดตามกันเลย.... ตลกน่ารัก และพิธีกรมากความสามารถ โก๊ะตี๋ อารามบอย   มากับคำพูด ฮ็อตฮิต ติดลมบนที่ว่า "น่ารัก...อ่ะ"     พิธีกร นักร้อง ผู้บริหาร เสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค    เจ้าของคำฮิตข้ามปี "รักนะเด็กโง่"     นักร้องลูกทุ่งหญิง อารมณ์ดี ฮาย อาภาพร นครสวรรค์   มากับคำเท่ห์ๆที่ว่า "ไม่สวยแต่ไม่ว่าง"     ดีเจ คนเก่งแห่งคลื่น94 EFM ปุ๊กโกะ ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล   มากับคำพูดที่ฮิตไปทุกพื้นที่ "แซ่บเวอร์"     ดีเจอารมณ์ขัน พกความมันส์มาเต็มพิกัด เชาเชา เชาวลิต ศรีมั่นคงธรรม   มากับวลีเด็ดๆที่ว่า "ไม่ไหวที่จะเคลียร์"     ดีเจหน้าเก่าแต่มาแรงที่สุดแห่งยุค เจ๊แหม่ม วินัย สุขแสวง   มากับคำพูดแปลกใหม่ ความหมายดี "อย่าได้แคร์"       สาวน้อยมหัศจรรย์ อมิตา ทาทา ยัง มากับคำเท่ห์ๆ ติดปากที่ว่า "เจิด"       ดีเจ ฝีปากกล้า นุ้ย-ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร มากับคำพูดเก๋ๆที่ว่า "แสนเก๋"   ขอขอบคุณ Sanook.com
เตรียมตัวได้ก่อนใคร ด้วยสุดยอดคู่มือการรับตรง
เป็นปัญหา ที่น่าเครียดจริงๆ  ต้องแข่งกับคนอื่นอีกเป็นแสนคน  ตัดสินชะตาชีวิตตัวเองในครั้งเดียว....อย่างนี้แล้ว น้องจะรออยู่ที่แค่ Admissions ทำไมคะ  หนทางสอบติดยังมีอยู่อีกมากมายนักค่ะ มาเดินสายสอบตรงกันเถอะเด็กๆ ^__^  อยากเข้าที่ไหน คณะอะไร มหา’ลัยไหน ก็ไปสมัคร ไปสอบที่นั่นโดยตรงเลยค่ะ  แต่....แล้วคณะ/มหา’ลัยที่จะอยากเข้า รับเมื่อไหร่ รับยังไงนะ??? ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ เพราะวันนี้พี่มีหนังสือเด่น หนังสือดี สำหรับน้องๆม.ปลายมาฝากกันค่ะ  นั่นคือ   “คัมภีร์รับตรง”   คัมภีร์เล่มนี้  จะเป็นแนวทางให้น้องๆรู้ก่อนใคร ว่ามหาวิทยาลัยหรือคณะในฝันของน้องๆ เปิดรับนักศึกษาใหม่ผ่านการรับตรง ด้วยโครงการใดบ้าง?  รายละเอียดและเงื่อนไขของโครงการต่างๆนั้นเป็นอย่างไร?  และเปิดรับสมัครช่วงเวลาไหน?  เพื่อที่น้องๆจะได้เตรียมตัวก่อนใครเลยค่ะ...ขอบอกว่า น้องม.4 ม.5 ต้องมีไว้ในครอบครองเลยนะคะ  แล้วชีวิตการสอบของน้องจะง่ายขึ้นเยอะ ^ ^ คัมภีร์รับตรง  มี 2 เล่มนะคะ คือ เล่ม 1 รวมโครงการรับตรงมหาวิทยาลัยภาคกลาง  ได้แก่ จุฬาฯ , ธรรมศาสตร์ , เกษตรศาสตร์ , มหิดล , ศิลปากร , มศว., ลาดกระบัง ,พระจอมเกล้าธนบุรี ฯลฯ เล่ม 2  รวมโครงการรับตรงมหาวิทยาลัยภูมิภาค ได้แก่ มช. , แม่ฟ้าหลวง, มข. , กสพท. , ม.นเรศวร , ม.สงขลานครินทร์ , วิทยาลัยพยาบาล , สถาบันการบินพลเรือน ฯลฯ น้องคนไหนสนใจ  คลิกดูได้ที่นี่เลยจ้า          คัมภีร์รับตรง  อีกหนึ่งทางลัด ที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยในฝันของคุณ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม http://www.enn.co.th
อาจารย์ม.รังสิตแฉศปภ.ปิดข้อมูลน้ำ
อาจารย์ ม.รังสิต” สุดทน แฉศปภ.ปิดข้อมูลน้ำ เชื่อ "ดอนเมือง" ใกล้เป็นเกาะ วอนรัฐฟังความเห็นคนอื่น 'ยิ่งลักษณ์" ยันน้ำไม่ล้นบางกระบือแน่ ห่วงดอนเมือง-หลักสี่น้ำสูง ตอบไม่ได้คนกรุงเจอน้ำท่วมนานแค่ไหน   23 ต.ค.2554  ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นายอัฏฐพร ชัยรัตน์ลี้ตระกูล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้าร้องเรียนต่อสื่อมวลชนต่อกรณีที่ ศปภ.และรัฐบาลไม่นำเสนอข้อเท็จจริงการป้องกันปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่เขตดอนเมือง ซึ่งนายอัฏฐพรได้นำคลิปวีดิโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดบริเวณช่องระบายน้ำประตูดำ เขตดอนเมือง อยู่ตรงข้ามกับวัดรังสิต เมื่อเวลา 13.00 น.ของวันที่  23 ต.ค. ที่มีสภาพน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง โดยที่ประตูน้ำอยู่ในสภาพชำรุด เพราะไม่สามารถรับปริมาณน้ำได้ นายอัฏฐพร กล่าวว่า น้ำที่ไหลมาบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำที่เอ่อล้นมาจากคลองรังสิต บริเวณประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ที่ไม่สามารถรับน้ำได้แล้ว ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) หลักหก จ.ปทุมธานี ได้พยายามส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปซ่อมแซมช่องประตูดำ ตั้งแต่ 17.00 น.ของวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถกู้สถานการณ์ได้ เนื่องจากปริมาณน้ำค่อนข้างมากและไหลแรง แต่กลับมีทีวีช่องหนึ่งรายงานข่าว ตั้งแต่เมื่อเวลา 03.00 น.ของวันที่ 23 ต.ค.ว่า บริเวณดังกล่าวเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ตอนนี้ชาวบ้านบริเวณนั้นเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และน้ำได้ท่วมบริเวณถนนโลคัลโรด และถนนสรงประภา จนรถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ มีเพียงรถบรรทุกกับรถเมล์ผ่านได้เท่านั้น ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ก็จะกระทบกับปริมาณน้ำในคลองเปรมประชากร และทำให้เขตดอนเมืองกลายเป็นเกาะกลางน้ำในที่สุด เพราะล่าสุดตลาดวัฒนานนท์ หรือตลาดฝั่งโขง ซึ่งเป็นตัวช่วยของเขตดอนเมืองก็ใกล้จะได้รับผลกระทบแล้ว                    “อยากร้องเรียนให้รัฐบาลรับฟังความเห็นของฝ่ายอื่นบ้าง โดยเฉพาะคนในพื้นที่เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหา ไม่ใช่ฟังแต่ข้อมูลของคนรอบข้างที่ไม่เป็นความจริง แล้วมานำเสนอแบบผิด ๆ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และผมพยายามนำเสนอข้อมูลผ่านเฟซบุ๊คก็มีคนมาขู่ว่าผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ไปดูหมิ่นหยามเกียรติคนอื่นมีโทษจำคุก 20 ปีอีกด้วย” นายอัฏฐพร กล่าว                     นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาในภาพรวมอยากเสนอให้รัฐบาลรับฟังหรือเปิดเวทีดีเบตกับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยเฉพาะการปรับถนนให้เป็นคลอง เนื่องจากขณะนี้ ถ.วิภาวดี-รังสิต ก็ถูกน้ำท่วมอยู่แล้ว หากทำให้เป็นคลองเพื่อระบายน้ำให้ไปถึงบริเวณดินแดง และลงสู่อุโมงค์ยักษ์เพื่อผันน้ำลงทะเลโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน                'ยิ่งลักษณ์'ยันน้ำล้นบางกระบือแน่                             น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า น้ำที่เข้าท่วมในพื้นที่บางกระบือเจ้าหน้าที่เร่งระบายน้ำออก อย่างไรก็ตามเป็นห่วงพื้นที่ดอนเมืองและหลักสี่ เนื่องจากเป็นพื้นที่หน้าด่าน ที่จะต้องรับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี โดยให้เจ้าหน้าที่เร่งให้ระบายน้ำออกสู่คลองระพีพัฒน์ ส่วนประตูน้ำพระอินทร์ราชา ยอมรับว่า ยังไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากกระแสน้ำมีความแรง รวมถึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบคลองแสนแสบ ที่น้ำยังเดินทางไปไม่ถึงว่า มีปัญหาการระบายน้ำหรือไม่                     "ส่วนปัญหาน้ำท่วมบริเวณคลองประปาคาดว่า จะแก้ไขให้เสร็จภายในเย็นวันนี้ พร้อมยืนยันว่า ไม่มีวิกฤติปัญหาน้ำดื่มอย่างแน่นนอน แต่ขณะเดียวกัน ก็ตอบไม่ได้ว่าประชาชนกรุงเทพมหานคร จะอยู่กับปัญหาน้ำท่วมอีกนานเท่าใด เนื่องจากมีหลายตัวแปร" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวและว่า                        ยังได้ยืนยันว่า ได้ดูแลประชาชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และ ปทุมธานี ได้ครอบคลุมแล้ว ส่วนกรณีการร้องเรียนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ส่วนใหญ่มาจากผู้ที่ยังไม่ยอมอพยพออกจากบ้าน ซึ่งรัฐบาลจะเร่งช่วยเหลืออีกทั้งให้ศปภ. ประเมินสถานการณ์และแจ้งเตือนเป็นระยะ                   สั่งกรมชลคุมปิดเปิดประตูน้ำพระอินทร์                              น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาศัยอำนาจตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยมีหนังสือคำสั่งด่วนที่สุด ถึงอธิบดีกรมชลประทาน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับทราบ ซึ่งในหนังสือมีคำสั่งให้ นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นผู้ถือกุญแจควบคุมประตูระบายน้ำ และกำกับการเปิดหรือปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา บริเวณคลอง 1 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งทุกหน่วยจะต้องรับฟังคำสั่งจากรองอธิบดีกรมชลประทาน แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น                        พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าทำการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของรองอธิบดีกรมชลประธาน พร้อมป้องกันไม่ให้ประชาชนขวางการเปิดหรือปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา    นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้ นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ควบคุมการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย http://www.norsorpor.com  
1 2 3 4 5 6 7 8 9 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา