หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
วิธีการเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ สำหรับวัยรุ่นยุคใหม่ อ่านซะ
 ปัจจุบันการไปเรียนต่อต่างประเทศยังคงเป็นความฝันของใครหลายๆคน เพราะการที่ได้ไปเรียนต่อในต่างแดนนั้น นอกจากจะได้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สามเพิ่มแล้ว ยังได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างจากประเทศไทยอีกด้วย แต่การไปเรียนต่างประเทศจะว่าเป็นเรื่องง่ายก็ไม่ง่าย หรือจะว่ายากมันก็ไม่ยากขนาดนั้น ทาง Sanook! Campus เลยจะมาแชร์ “วิธีการเตรียมตัวไปเรียนต่อจากประเทศ” ให้นักเรียน นักศึกษาทุกคนได้เรียนรู้กันค่ะ istockphoto 1. เลือกเป้าหมายที่จะไปให้ชัดเจน อันดับแรกต้องเลือกเป้าหมายที่เราจะไปศึกษาต่อซะก่อน อาจจะเริ่มต้นด้วยประเทศที่เราชอบเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือ นิวซีแลนด์ เป็นต้น หลังจากนั้นให้ลองศึกษาดูว่ามีมหาวิทยาลัยไหนที่น่าสนใจบ้าง ดูสาขาที่ต้องการจะเรียนต่อด้วยว่ามีสาขาที่เราต้องการเรียนหรือใกล้เคียงกับที่เราเรียนมาไหม นอกจากนี้อย่าลืมดูคุณสมบัติของผู้สมัครด้วย แต่ถ้าหากใครต้องการ “ทุนการศึกษา” ก็ต้องดูว่ามีการจัดสอบที่ประเทศไทยไหมหรือเกณฑ์ในการพิจารณาทุนมีอะไรบ้าง 2. คำนวณค่าใช้จ่าย ปัจจัยหลักในการไปศึกษาต่อต่างประเทศคือ “เงิน” เมื่อได้มหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้าเรียนแล้ว ให้คำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าเดินทางต่างๆ ค่าเทอม หากได้ทุนการศึกษาก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนตัวไปด้วยนะ เพราะการที่เราต้องไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศโดยห่างจากครอบครัวปัจจัยทางการเงินเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยละ 3. เตรียมตัวสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ การที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศได้นั้น ภาษาอังกฤษ ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยส่วนมากเอกสารที่ต้องยื่นต่อทางมหาลัยมักจะมีใบรับรองในการสอบวัดภาษภาษาอังกฤษอีกด้วย ดังนั้นเราควรที่จะเตรียมตัวในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษและดูว่าเขาต้องการใบรับรองของอะไร คะแนนเท่าไหร่ ซึ่งการสอบวัดภาษาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยส่วนมากจะใช้หลักๆมีดังนี้ 3.1 TOEFL (Test of English as a Foreign Language) หรือที่เราเรียกกันว่า “โทเฟล” ส่วนใหญ่จะ ใช้สำหรับการศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศส่วนใหญ่ ก็ยอมรับผลสอบ TOEFL ในการรับสมัครแล้ว ซึ่งการทดสอบจะมีทั้ง 4 ทักษะคือฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยแต่ละส่วนจะมีคะแนนให้ 30 คะแนน รวมทั้งหมดเป็น 120 คะแนน 3.2 IELTS (International English Language Testing System) หรือ “ไอเอลส์” เป็นการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไป และผู้ที่สนใจไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งการทดสอบจะมีทั้ง 4 ทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ส่วนคะแนนของ IELTS จะแตกต่างออกไปโดยจะเปรียบเทียบผลเป็น 9 ระดับ ระดับ 1 เป็นระดับที่ต่ำที่สุด และระดับ 9 ระดับที่สูงที่สุดซึ่งหมายถึงสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ยอดเยี่ยมนั่นเอง ส่วนมาก IELTS จะใช้สำหรับศึกษาต่อในประเทศฝั่งยุโรปมากกว่า โดยคะแนนที่ต้องการส่วนมากจะเป็น 5.5 ขึ้นไป 4. เตรียมเอกสารให้เรียบร้อย เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมากสำหรับการเตรียมเอกสารต่างๆ ในทีนี้รวมไปถึงเอกสารในการขอ “วีซ่า” อีกด้วย ต้องเช็คให้ดีๆว่าต้องใช้วีซ่าประเภทไหน มีเอกสารอะไรที่ต้องเตรียมบ้าง และอย่าลืมใบที่ต้องขอจากทางโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยอย่าง ใบรับรองผลการเรียน(Transcript) และ ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ด้วยนะคะ นอกจากนี้เอกสารไหนที่ต้องทำเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องทำให้เรียบร้อยด้วยนะ สำหรับการตรวจสอบว่าต้องใช้อะไรบ้างสามารถดูได้จากเว็บไซด์ของมหาลัยได้เลยค่ะ 5. เตรียมสภาพร่างกายและเตรียมใจ เมื่อทุกอย่างผ่านเรียบร้อยรอวันติดปีกบินแล้ว อย่าลืมที่จะดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้ดีๆนะคะ จัดกระเป๋าเสื้อผ้าและยาที่จำเป็นด้วย นอกจากนี้ก็ต้องเตรียมใจของเราให้พร้อมด้วย เพราะเราจำเป็นต้องห่างจากครอบครัวไปเป็นระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นใช้เวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่านะคะ และนี่คือวิธีที่เรานำมาบอกต่อทุกคน อ่อ! อย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นที่จำเป็นด้วยนะคะ เช่น เส้นทางรถไฟ หรือ แอปตัวช่วยภาษาอังกฤษต่างๆ เพราะมีเทคโนโลยีแล้วเราก็ต้องใช้ให้คุ้มเนอะ! ขอขอบคุณ ภาพ : istockphoto เนื้อหาจากเว็บ Sanook.com
เรียนต่อต่างประเทศดีไหม
 1. Making Friends ข้อดีอันดับแรกของการมาเรียนต่อที่ต่างประเทศนั้นคือการได้เพื่อนใหม่ๆที่มาจากต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนที่มาจากต่างประเทศทั่วโลกนั้นเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆสำหรับนักเรียนเพราะเป็นส่วนที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน ไม่เขิลอายเวลาที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษกับเพื่อนๆต่างชาติและเป็นการบังคับนักเรียนให้ พูดภาษาอังกฤษ ตลอดเวลาที่สนทนากับเพื่อนๆชาวต่างชาติไปในตัวอีกด้วย เรียนต่อต่างประเทศดีไหม Kaplan 2. Gaining Confidence การที่มาเรียนต่อต่างประเทศของเด็กไทยนั้นเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ครั้งนึงของเด็กไทยเพราะเราจะต้องมาอยู่ไกลบ้าน ดูแลตัวเอง แก้ปัญหาด้วยตัวเองและจะทำให้นักเรียนเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น รับรองว่าเรียนจบกลับบ้านไปพ่อแม่และเพื่อนๆของเราจะต้องเซอร์ไพร์ถึงความเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีของเราอย่างแน่นอน 3. Food แน่นอนว่าที่ตางประเทศแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างด้านอาหารมากมาย เช่น  fish and chips ประเทศอังกฤษ, hot dogs ประเทศอเมริกา, barbeque ประเทศออสเตรเลีย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ตามเมืองใหญ่ๆในต่างประเทศนั้นมักจะมีอาหารต่างชาติที่หลากหลายที่มาจากทั่วโลกที่เพื่อนๆสามารถหาทานได้ไม่ยากแม้กระทั้งอาหารไทย 4. Make People Jealous ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเพื่อนๆนักเรียนเรียนจบจากต่างประเทศแล้วกลับบ้านที่ประเทศไทย เพื่อนๆของเราจะตื่นเต้นกับการกลับมาของเรามาก หรือแม้แต่เวลาที่เราโพสรูปภาพสวยๆ น่ารักๆ ลง Facebook Instagram หรือ Twitter ด้วยบรรยากาศต่างๆที่ต่างประเทศ รับรองว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ของเราจะแห่กันเข้ามากด LIKE ที่รูปของเพื่อนๆอย่างมากมายแน่นอน ซึ่งเป็นการสร้างความภาคภูมิใจแก่เราและครอบครัวอีกด้วย เรียนต่อต่างประเทศดีไหม Kaplan 5.Improve Your C.V. แน่นอนครับว่าการที่เราได้มีโอกาสมาเรียนต่อที่ตางประเทศนั้น นักเรียนทุกคนที่เรียนจบคอร์สจะได้รับใบประกาศณียบัตรที่รับรองผลการศึกษาและระดับความรู้ภาษาอังกฤษของเรา และเมื่อเวลาที่นักเรียนจะไปสมัครงานตามที่ต่างๆนักเรียนสามารถนำเอาโอกาสนี้ไปใส่ในจดหมายสมัครงานของนักเรียนได้ ไม่เพียงแต่ทางบริษัทจะมองเห็นถึงความโดดเด่นทางด้านภาษาของนักเรียนแล้ว ส่วนใหญ่ทางบรืษัทจะให้ความสนใจเป็นพิเศากับเด็กที่เคยมาเรียนที่ต่างประเทศจะมีความรับผิดชอบสูง เป็นตัวของตัวเอง มองโลกกว้างและมีประสบการณ์จากโลกภายนอก ซึ่งจะได้เปรียบมากๆในการสมัครงานครับ เรียนต่อต่างประเทศดีไหม Kaplan 6. Experience New Cultures เมื่อเราไปยังต่างแดนสิ่งนึงที่เราสามารถจะซึบซับได้ก็คือ วัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ซึ่งแต่ละประทศก็จะมีความน่าสนใจของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในประเทศอังกฤษเวลาที่อยู่บนบันไดเลื่อนเค้าจะนิยมยืนชิดขวาเพื่อให้คนอื่นที่รีบกว่าเดินผ่านได้ทางด้านซ้าย โดยเฉพาะในรถไฟใต้ดิน ส่วนที่เห็นอีกอย่างจาก ประเทศอังกฤษ และ ออสเตรเลีย เวลาที่ใช้รถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะรถบัส ผู้โดยสารมักจะกล่าวคำขอบคุณพนักงานขับรถก่อนลงจากรถ เป็นต้น 7. Record Your Experience การที่นักเรียนจะได้มีโอกาสมาเรียนที่ต่างประเทศ นักเรียนก็จะได้ประสบการณ์ต่างๆ เก็บไว้ในความทรงจำของตัวเองว่าในชีวิตครั้งของนักเรียนนั้น นักเรียนได้มีโอกาสมาเรียนที่ต่างประเทศ ได้รู้จัก ได้เห็นสิ่งๆต่างๆมากมายที่เราไม่เคยเห็นหรือไม่เคยได้ทำ ลองผิด ลองถูก ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เราไม่สามารถหาซื้อที่ไหนได้นอกจากลองมาเผชิญด้วยตัวเอง 8. Higher Education อย่างที่ทราบๆกันดีว่า ที่ประเทศไทยของเรา โรงเรียนส่วนใหญ่มีนักเรียน 45-50 คนต่อห้อง ซึ่งเป็นการยากต่อครูผู้สอนที่จะดูแลเอาใจใส่นักเรียนให้ครบทุกคน ทั้งการให้คำปรึกษา การเรียนการสอนและอื่นๆ อีกทั้งยังรวมถึงเทคโนโลยีการเรียนการสอน รวมทั้งระบบการเรียนการสอนที่แตกต่างจากต่างประเทศ ที่โรงเรียนภาษาส่วนใหญ่ในต่างประเทศมีนักเรียนในห้องไม่เกิน 15 คน มีเทคโนโลยีการเรียนการสอนทีทันสมับ เช่น กระดานอิเล็กทรอนิกส์ แอพพลิเคชั่นจากมือถือ ห้องสมุดแบบอินเตอร์เน็ต และอื่นๆ ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียนต่อต่างประเทศดีไหม Kaplan 9. Learn Languages แน่นอนครับว่านักเรียนที่มาเรียนต่างประเทศจุดประสงค์หลักคือ อยากได้ภาษา ซึ่งภาษาที่นักเรียนได้นั้นไม่เพียงแต่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น นักเรียนจำนวนไม่น้อยที่มาเรียนต่อต่างประเทศนั้นได้เรียนรู้ภาษาอื่นๆจากเพื่อนักเรียนที่มาจากทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งถือเป็นของแถมที่คุ้มค่ามากเลยทีเดียวที่นักเรียนนอกจากจะได้ภาษาอังกฤษแล้วยังได้ภาษาอื่นๆเพิ่มมาอีกด้วย ที่จริงแล้วข้อดีข้อการเรียนต่อต่างประเทศนั้นมีมากมายรอให้เพื่อนๆได้ลองมาประสบพบเจอด้วยตัวเองแบบจริงๆเลยดีกว่าว่า เรียนต่อต่างประเทศดีไหม แล้วเพื่อนๆจะทราบว่าครั้งหนึ่งเราก็ได้มีโอกาสมาใช้ชีวตเป็นนักเรียนที่ต่างประเทศ   ข้อมูลจาก : Kaplan International English
วอชิงตัน ดี.ซี. เมืองที่ดีที่สุดในอเมริกาไหม
 มีเพื่อนหลายคนสงสัยและสอบถามกันมามากมายว่าเมืองไหนดีที่สุดในประเทศอเมริกา วอชิงตัน ดี.ซี. เมืองที่ดีที่สุดในอเมริกาหรือเปล่า? แต่ละคนก็มีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนชอบเมืองที่สงบ เงียบๆ บางคนชอบเมืองที่มีสีสัน วุ่นวาย บางคนชอบเมืองที่มีทะเล ชายหาด และอื่นๆ วันนี้มาดูเหตุผผลว่า วอชิงตัน ดี.ซี. เมืองที่ดีที่สุดในอเมริกา? จริงหรือไม่ จากหลายๆความคิดเห็นขอคนที่ชื่นชอบเมือง วอชิงตัน ดี.ซี .ว่าทำไม วอชิงตัน ดี.ซี. ถึงสมควรเป็นเมืองที่ดีที่สุดในประเทศอเมริกา 1: Country’s Capital หลายคนทราบว่าทำไมวอชิงตัน ดี.ซี.เป็นเมืองหลวงของประเทศอเมริกา หัวใจของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. คือบริเวณรอบ ๆ และที่ใกล้เคียง The Mall ที่เป็นสนามหญ้ากว้าง เขียวสุดๆรอบไปถึง อนุสาวรีย์ลินคอล์นกับอาคารรัฐสภา แหล่งท่องเที่ยวในวอชิงตัน ดี.ซี.นี้แบ่งได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ พิพิธภัณฑ์ ที่ทำการของรัฐบาล อนุสาวรีย์ และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เรื่องความปลอดภัยนี่สุดๆไปเลย 2: International Community วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองที่รวบรวมสถานฑูตไว้ถึง 176 ประเทศ นั่นหมายถึงความหลายหลายของชนชาติต่างๆทั่วโลกที่มารวมอยู่ในเมืองแห่งนี้ ที่ทุกๆคนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่น่าสนใจจากทุกๆคนที่มาจากทั่วโลก ส่วนเรื่องอาหารแน่นอนว่าครบทุกชาติ อยากลองทานอาหารแปลกอะไรหาทานได้หมด เรียกได้ว่ามาที่เดียวเหมือนได้ไปทั่วโลก 3: Fascinating Museums เพื่อนๆที่มาเที่ยวหรือมาเรียนที่วอชิงตัน ดี.ซี. นั่นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พิพิธภัณฑ์ ในวอชิงตัน ดี.ซี.  นั่นชนะเลิศ ทั้งด้านความรู้ที่ได้รับในการเข้าชม ทั้งด้านความหลากหลายมากมายของพิพิธภัณฑ์ ในวอชิงตัน ดี.ซี. ที่เรียกได้ว่ามีให้เลือกมากมาย และที่สำคัญทุกอย่างฟรีหมด Top 5 พิพิธภัณฑ์ ในวอชิงตัน ดี.ซี. : Smithsonian National Museum of Natural History Smithsonian National Air and Space Museum National Gallery of Art International Spy Museum US Holocaust Memorial Museum 4: Historic Landmarks  วอชิงตัน ดี.ซี. บอกเลยว่ามีแลนด์มาร์ก มากมาย ที่ที่ใครๆเห็นจากรูปแล้วต้องพูดเลยว่าที่นั่นคือ วอชิงตัน ดี.ซี. เพราะความเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม และโดดเด่นของด้านศิลปะการตกแต่ง แบบโรมันและอื่นๆที่เข้ากันได้อย่างสวยงาม 5 landmarks ที่ไม่ควรพลาด: White House Washington Monument Vietnam Veterans Memorial National Archives Lincoln Memorial 5: Public Transportation เนื่องจากที่วอชิงตัน ดี.ซี. มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย และการเดินทางนั่นเรียนกได้ว่าดีที่สุด ซึ่งการขนส่งโดยสารของ วอชิงตัน ดี.ซี. นั่นเป็นการโดยสารที่มีระบบดีที่สุดในประเทศอเมริกา (Washington Metro is one of the best subway systems in the US) และเป็นที่สองรองจากนิวยอร์คในด้านจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการโดยสารต่อวันมากที่สุดในประเทศอเมริกา ถึงแม้ว่าวอชิงตัน ดี.ซี. จะมีจำนวนประชากรน้อยกว่านิวยอร์คถึง 3 เท่า   ข้อมูลจาก : Kaplan International English       
คำศัพท์ภาษาอังกฤษ: Classroom
การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน นักเรียนบางคนเน้นท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องใช้ความพยายามในการจดจำคำศัพท์เป็นอย่างมาก เพราะคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้นมีมากมาย วันนี้ทางโรงเรียนของเรา Kaplan International English มีไอเดียดีๆเกี่ยวกับการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพมากฝากเพื่อนๆนักเรียนกัน การจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้นจะได้ผลดีมากยิ่งขึ้นถ้านักเรียนได้เห็นภาพประกอบเกี่ยวกับคำภาษาอังกฤษนั้นๆด้วย อีกทั้งนำคำศัพท์เหล่านั้นลองมาใช้งานทันทีเพราะให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจดจำและจะจดจำได้ง่าย รวดเร็วยิ่งขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษ: Classroom วันนี้เพื่อนจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับห้องเรียน อีกทั้งจะได้ฝึกทำแบบทดสอบง่ายๆว่าเพื่อนๆรู้จัก คำศัพท์ภาษาอังกฤษ: Classroom มากน้อยเท่าไหร่ซึ่งจะมีการวัดผลคะแนนได้ทันที   ถ้าพร้อมแล้วก็ลองมาทำแบบทดสอบ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ: Classroom จากลิงค์ด้านล่างกันได้เลย http://kaplan.do/thaiclassroom   เสร็จแล้วอย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆของนักเรียนด้วยว่าพวกเค้าทำกันได้มากน้อยแค่ไหน   แล้วกลับมาพบกันครั้งหน้ากับการฝึก คำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมแบบทดสอบสนุกๆเหมือนเดิม  ข้อมูลจาก : Kaplan International English     
คำถามสุดฮิตจากด่านตรวจคนเข้าเมือง
 ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ทุกคนต้องพบเจอเวลาเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะไปเรียนหรือท่องเที่ยวหรือทำงานจะตัองผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง วันนี้CP Interเอาคำถามยอดฮิตที่ทุกคนต้องถูกถามตรงขั้นตอนมาให้ทราบกันค่ะ มาทำอะไร - แน่นอนเราต้องถูกถามและตอบเป็นภาษาอังกฤษ ข้อนี้เค้าถามถึงจุดประสงค์ที่เราจะเข้าประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเรียน ท่องเที่ยว หรือ ทำงานก็ตาม ตอบไปเลยค่ะ อย่างมั่นใจ อยู่นานเท่าไร - ข้อนี้เราก็ตอบไปเลยค่ะ ระยะเวลาที่เราจะอยู่ประเทศนั้นๆตามเอกสารในหนังสือเดินทางเราเลยค่ะ จะพักหรืออยู่อาศัยที่ไหน - ใครไปเที่ยว ก็ตอบโรงแรมที่เราจะไปพักได้เลยค่ะ ใครไปเรียนต่อ ก็แจ้งสถาบันหรือถ้าเรารู้ที่พัก หอพัก หรือHost family ก็ตอบตามนั้นเลยค่ะ จริงๆแล้วทุกคำถามเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองต้องการตรวจสอบว่าคำตอบของเราตรงกับเอกสารเข้าเมืองหรือvisaหรือเปล่า ใครตอบมึนๆ ไม่รู้ว่าตัวเองมาทำอะไร ระวังโดนกักตัวเพื่อตรวจสอบยาวเลยนะจ๊ะ   ขอบคุณข้อมูลจาก cpinter  
ข้อมูลที่ต้องรู้ในการเข้าประเทศอเมริกา
 การเดินทางเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา - การนำของสด พืช ผัก ผลไม้ เครื่องแกง เครื่องปรุง อาหารสด แห้งของไทยเข้าสหรัฐฯ (รวมทั้งยารักษาโรค) จะมีวิธียุ่งยากมาก และอาจเสี่ยงต่อการที่ศุลกากรจะนำสิ่งของดังกล่าวไปทิ้งหรือทำลาย - ห้ามนำสารหรือวัตถุไวไฟเข้าประเทศ เช่น น้ำมันไฟแช็ก หรือแก๊สสำหรับไฟแช็ก หรือสารอันตรายอื่น ๆ ใส่กระเป๋าสัมภาระ - การสอบใบขับขี่ของสหรัฐฯ อาจใช้ใบขับขี่ของไทยมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรืออาจใช้ใบขับขี่สากลไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอทำใบขับขี่ ของแต่ละรัฐได้ - การจัดเตรียมเสื้อผ้าให้เหมาะกับอากาศ ก่อนเดินทางควรตรวจสอบสภาพอากาศของแต่ละเมืองที่คุณจะเดินทางไป เพราะประเทศอเมริกาใหญ่โตมาก อากาศในแต่ละโซนแตกต่างกันไป - กระเป๋าเดินทางไม่ควรปิดล็อค เนื่องด้วยด่านตรวจคนเข้าเมืองและทางรัฐบาลมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดกับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศ สัมภาระของคุณอาจถุกตรวจสอบ ดังนั้นกุญแจที่ล็อคควรเป็นกุญแจแบบสากลที่เจ้าหน้าที่สามารถเปิดดูได้ ในกรณีที่มีการล็อคกระเป๋าด้วยกุญแจส่วนตัว อาจทำให้น่าสงสัยและอาจเกิดการเสียหายของกระเป๋าได้ - ไม่ควรรับฝากสิ่งของจากบุคคลแปลกหน้าและหากเป็นคนรู้จัก ก็ควรจะเปิดดูสิ่งของที่ฝากส่งมาว่าไม่ใช่สิ่งเสพติดและสิ่งของผิดกฎหมาย หากมี คนไม่รู้จักท่านมาก่อนหรือรู้จักโดยบังเอิญ ขอให้พาหรือดูแลคนไทยหรือคนต่างชาติเดินทางเข้าสหรัฐฯ ขอให้ปฏิเสธ เนื่องจากผู้นั้นอาจถือเอกสารเดินทางปลอม และท่านจะต้องปฏิเสธกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ ว่าไม่รู้จักแม้จะเป็นการพบกันโดยบังเอิญ หรือพูดคุยกันบนเครื่องบิน ทั้งนี้ มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้จับคนไทยหรือเนรเทศกลับไทย โดยคิดว่าท่านอาจเป็นกลุ่มเดียวกับบุคคลลักลอบนำคนต่างชาติเข้าสหรัฐฯ - การจะมาศึกษาต่อควรมีเอกสารการศึกษาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ และอาจรับรองเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศแล้ว (แต่ทั้งนี้แล้วแต่ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยว่า จะต้องรับรองเอกสารดังกล่าวหรือไม่) ที่สำคัญห้ามลืมเอกสารการเรียน การรับรองจากทางสถาบันหรือมหาวิทยาลัยด้วย - ตรวจสอบข้อมูลของวีซ่าให้ถูกต้องและหนังสือเดินทางต้องมีอายุเหลือไม่ต่ำกว่า 6 เดือน - การเดินทางและอยู่ในสหรัฐอเมริกา ควรเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะในแต่ละรัฐกฏหมายแตกต่างกันไป   ขอบคุณข้อมูลจาก cpinter  
ชีวิตเด็กนอกบทเรียนที่1
ชีวิตเด็กนอกบทเรียนที่1 สวัสดีครับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และผู้ปกครองทุกท่าน ก่อนอื่นคงต้องขอขอบคุณที่ให้ความกรุณาเข้ามาเยี่ยมชมเวปไซด์ของเรา วันนี้ทีมงานของเรามีไอเดียดีๆเกี่ยวกับ ชีวิตเด็กนอก โดยใช้จากประสบการณ์ตรงของทีมงานที่เรียนและทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ USA, AUS และ UK โดยเราจะแบ่งออกเป็นบทเรียน(ชีวิต)เป็นบทๆ โดยทางทีมงานของเราจะพยายามอัฟเดททุกๆสัปดาห์ วันนี้เริ่มที่ ชีวิตเด็กนอกบทเรียนที่1 สภาพอากาศในเมืองต่างๆ สภาพอากาศที่ต่างประเทศนั้น ค่อนข้างมีความแแตกต่างจากประเทศไทยของเรา แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่เราไปอาศัยอยู่ จากประสบการณ์ตรงของเรา   สามารถยกตัวอย่างประเทศหลักๆที่เคยไปอาศัยอยู่ได้ดังนี้ ชีวิตเด็กนอกบทเรียนที่1       อเมริกา – Dayton Daytona Beach, Florida เป็นเมืองที่เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการสภาพอากาศที่ร้อนเหมือนบ้านเราแต่ไม่อบอ้าว มีลมเย็นพัดผ่าน หน้าหนาวแอบเย็นถึงขั้นต้องใส่เสื้อกันหนาวหนาๆเลยที่เดียว บรรยากาศโดยรวมดีมากถึงมากที่สุด ขนาดทีมงานของเราเป็นคนที่ไม่ชอบอากาศร้อนแดดแรงๆ (เหมือนกันคนไทยคนอื่นๆ) แต่ก็แอบหลงรักเมืองนี้เลยทีเดียว เพราะความสะอาดและบริสุทธิ์ของอากาศซึ่งเรามาสารถสูดลมหายใจที่สดชื่นๆได้เต็มปอดแล้วบ้านเมืองเค้ายังสะอาดมากอีกด้วย       ออสเตรเลีย – Sydney เป็นเมืองที่ไม่ต่างจากฟลอริด้ามากนักแต่อากาศจะไม่หนาวเท่า บางครั้งอาจจะร้อนมากกว่าเลยทีเดียว เนื่องจากเมืองซิดนี่ย์เป็นเมืองชายทะเล ดังนั้นแน่นอนครับว่า ลมแรงมากแต่ก็สะดวกเพราะเราสามารถเดินทางจากในเมืองไปเล่นทะเลได้หลายจุดภายในไม่กี่นาทีเท่านั้น หน้าหนาวก็หนาวพอประมาณแบบเสื้อกันหนาวหนาๆสักตัวก็เอาอยู่ หน้าร้อนก็ชิวล์ๆ แบบกางเกงขาสั้น เสื้อกล้ามก็ได้ครับ บรรยากาศโดยรวมก็เหมือนที่ฟลอริด้าครับ ดีถึงดีมากที่สุด       อังกฤษ – London (ที่อยู่ปัจจุบัน) เป็นเมืองที่สามารถมี 4 ฤดูภายใน 1 วัน ทั้งฝนตก แดดออก หิมะลง หรือ อากาศเย็นสบาย แต่ไม่แปลกครับ เพราะประเทศอังกฤษเป็นเกาะ ใครมาเรียนที่นี่ก็ต้องทำใจครับแต่ทางทีมงานเราก็อยู่จนชินไปซะแล้ว แต่ถ้าถามว่าอ้าวถ้าอย่างนั้นเราก็ไม่ควรมาเรียนที่นี่ซิ ผิดมหันต์ครับ ทุกอย่างมีสองด้านเสมอทั้งดีและไม่ดี (ไม่งั้นทีมงานเราไม่อยู่มา 5 ปี หรอก ^^) บรรยากาศโดยรวมนั้นดีครับ เพราะอากาศบริสุทธิ์และสดชื่นเย็นสบายและมีหลายฤดูใน 1 วัน (ตื่นเต้นดี) โดยรวมแล้วอากาศที่ต่างประเทศที่ทีมงานของเราได้ยกตัวอย่างมานั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากครับ เพราะขนาดทีมงานของเราเป็นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ตอนที่อยู่เมืองไทย แต่ตั้งแต่เริ่มมาอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศแล้วอากาศภูมิแพ้ก็หายเป็นปกติ เคยถามหมอที่ไทยครับ ท่านก็ให้เหตุผลว่า อากาศที่ต่างประเทศนั้นสะอาดและบริสุทธิ์กว่าประเทศไทย ไม่แปลกที่อากาศโรคภูมิแพ้ของเราจะดีขึ้น ยิ่งตอนนี้อาศัยอยู่ที่ลอนดอนที่มี 4 ฤดูใน 1 วันด้วยแล้ว ร่างกายของเราจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันจากสภาพอากาศที่บริสุทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นครับ 4 ฤดูก็เหอะ ชิวล์ๆ เป็นยังไงกันมั่งครับหลังจากที่อ่านเรื่องราว ชีวิตเด็กนอก-บทเรียนที่1 ที่เกี่ยวกับสภาพอากาศที่ต่างประเทศ โดยเล่าผ่านจากประสบการณ์ตรงของทีมงานของเรา หวังว่าคงจะพอสามารถให้เพื่อนๆนึกภาพออกได้บ้างไม่มากก็น้อย ยังไงถ้าใครมีคำถามอะไรก็สามารถ แสดงความคิดเห็นได้จากด้านล่างของเราได้เลยครับ ทางเรายินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ทุกท่านครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าแล้วมารอดูว่าทีมงานของเราจะมีบทเรียนชีวิตเด็กนอก อะไรที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังอีก   ข้อมูลจาก : Kaplan International English                
ศัพท์แสลง เรียนต่อต่างประเทศ
 วันนี้มีไอเดียดีๆเกี่ยวกับ ศัพท์แสลง ที่มีคนใช้เป็นจำนวนมากและบ่อยครั้งทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทางทีมงาน Kaplan ของเราได้แยกให้ดูแต่ละชาติที่พูดภาษาอังกฤษนั้นใช้ ศัพท์แสลง คำไหนกันบ้างและยังมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย มาลองอ่านดูกันว่ามีคำไหนมั้งที่เพื่อนๆทราบ และไม่ทราบมาก่อน   ศัพท์แสลง แล้วเพื่อนๆอย่าลืมลองนำไปใช้นะครับ รับรองว่าเพื่อนชาวต่างๆชาติจะต้องอึ้งถึงความทันสมัยและควาสามารถภาษาอังกฤษขอเราแน่ๆ เพราะคำเหล่านี้เป็นคำที่ถูกใช้เป็นประจำทุกวันที่ต่างประเทศ ข้อมูลจาก : Kaplan International English 
10 อันดับสุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวในแคนาดา
1. เที่ยวน้ำตกไนแอการ่า (Niagara Falls) ในมณฑลออนตาริโอ 2. ไปสกีที่วิสท์เลอร์ (Whistler) ในมณฑลบริติช โคลัมเบีย 3. เที่ยวงานคาร์นิวัลหน้าหนาวที่เมืองควีเบ็คซิตี้ (Quebec City) ในมณฑลควีเบ็ค 4. ดูการขี่ม้าพยศในเทศกาลที่เมืองคัลการี่ (Calgary) ในมณฑลอัลเบอร์ต้า 5. เที่ยวอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในแคนาดา รวมทั้งที่เจสเปอร์ (Jasper) และทะเลสาบหลุยส์ (Lake Louise) ในมณฑลอัลเบอร์ต้า 6. แวะเวสต์เอ็ดมันตัน มอลล์ (West Edmonton Mall) เพลิดเพลินมากกว่า 800 ร้าน และเป็นมอลล์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก 7. ในฤดูหนาว เล่นสเก็ตน้ำแข็งบนคลองริโด (Rideau Canal) ที่เมืองหลวงออตตาวา (Ottawa) ในมณฑลออนตาริโอ 8. ดูสีแสง “Northern Lights” ในฤดูหนาวในภาคเหนือของแคนาดา 9. กินกุ้งล๊อบสเตอร์ ในหมู่บ้านริมมหาสมุทรแอตแลนติก 10. ดูฝูงปลาวาฬว่ายน้ำในอ่าวฟันดี้ (Bay of Fundy) ในมณฑลนิวบรันสวิด     ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ieocanada.com/    
เปรียบเทียบ IELST TOEFL สอบอันไหนดี รู้ให้แม่นก่อนเลือกเรียน
  เปรียบเทียบ IELST TOEFL สอบอันไหนดี รู้ให้แม่นก่อนเลือกเรียน TOEFL และ IELTS คือการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษนานาชาติที่เป็นมาตรฐานของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก การสอบทั้งสองแบบนี้มีจุดที่เหมือนกันหลายประการ แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่เราควรใส่ใจก่อนเลือกสอบด้วย ระบบคะแนน ระดับคะแนนของ IELTS จะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 9 ในทุกทักษะ​(ฟัง พูด อ่าน เขียน) โดยระดับ 1 คือระดับต่ำสุดและระดับ 9 คือระดับสูงสุด หมายความว่าใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดีมาก ในขณะเดียวกันคะแนน TOEFL จะแบ่งตามทักษะ และนำคะแนนรวมของทุกทักษะมาใช้เป็นคะแนนสุดท้าย ยกตัวอย่างเช่น TOEFL iBT 120 คะแนน จะแบ่งเป็นทักษะละ 30 คะแนน คะแนนรวมของทุกทักษะจะบอกถึงความถนัดทางภาษาของเราว่าได้กี่คะแนน ดูการเปรียบเทียบระบบคะแนนด้านล่าง รูปแบบการสอบ 1. การอ่าน IELTS มีหัวข้อให้อ่าน 3-4 หัวข้อบทความ โดยแต่ละส่วนจะมีเวลาให้ตอบคำถาม 20 นาที แต่ละหัวข้อเป็นแนววิชาการและคำถามจะมีหลายรูปแบบมากกว่า (เติมคำในช่องว่าง, เลือกถูกผิด, multiple choice เป็นต้น) TOEFL ต้องอ่านบทความที่ยาวประมาณ 3-5 ย่อหน้าสั้นๆ และตอบคำถามแบบ multiple choice ภายใน 20 นาที โดยหัวข้อจะเป็นแนววิชาการ เปรียบเทียบพาร์ท Reading      1.เวลา VS จำนวนคำถาม อันนี้เวลารวม 60 นาที เท่ากันทั้ง TOFEL และ IELTS จำนวนจะแบ่งเป็น 3  (ถ้ายาว)– 5 (สั้นๆ) หัวข้อบทความ แต่ส่วนมากคือ 3 และแต่ละบทความจะมี  13-14 ข้อ สำหรับแง่นี้ก็เสมอกันไป      2.ประเภทแนวบทความ บทความไอเอล จะหลากหลายกว่า มีทั้งวารสาร งานวิจัย สรุปข่าวสถานการณ์ หนังสือพิมพ์ ซึ่งออกแนวกว้างคือนอกห้องเรียนด้วย แล้วก็รอบตัวกว่า ถ้าเราค่อนข้างรู้รอบๆ ไอเอลก็น่าจะเข้าทางกว่า บทความโทเฟล เน้นด้านวิชาการกว่าคือจะเอาบทความที่ตัดมาจากหนังสือเรียน (textbook) ซึ่งเป็นสาระที่ค่อนข้างลึกและเขียนบรรยายเชิงวิชาการ ซึ่งข้อดีก็คือ ถ้าเป็นFiled ที่เรามีความรู้อยู่บ้างก็จะโชคดีไป ข้อเสียคือ บางทีบทความอาจจะตัดมาจาก Textbook เกี่ยวกับชีววิทยา เด็กสายศิลป์ก็หงายไปตามๆกัน แต่เค้าก็พยายามจะเลือกเนื้อหาของบทความให้คละๆเรื่องไป      3. วิธีคำถามและการเฟ้นหาคำตอบ แนวคำถามโทเฟล เน้นที่ comprehension คือ การตีความและความเข้าใจใน paragraph นั้นๆ เช่นย่อหน้านี้ สรุปว่าอย่างไร ( in the first paragraph xxx imply that xxxxคือ หน้าที่เราคืออ่านบทความ และตีความ ใน เนื้อหาตรงนั้น และเอามาตอบคำถาม หรือโจทย์จะถามความหมายคำศัพท์ก็เป็นคำถามแบบเป๊ะๆ คือ ถ้าคุณรู้ความหมาย คุณก็ทำข้อสอบได้เลย แต่ถ้าไม่รู้ก็อาศัยอ่านประโยคบริบท แล้วก็ประมวลคำตอบได้ ซึ่งทักษะตรงนี้จะได้ใช้มากในระหว่างเรียน เพราะเราต้องอ่านหนังสือเองเยอะมาก ทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน ถ้าเรามีทักษะการสรุปที่ดีก็จะทำให้อ่านหนังสือเร็ว และเข้าใจประเด็น ลองคิดดูว่าหนังสือหนาเท่าเต้าหู้ 5 ก้อน เค้าไม่ได้ต้องการให้เราจำให้หมด แต่ต้องการให้เรารู้ทฤษฎีวิธีคิดเพื่อเอาไปถกว่าดีหรือไม่ดี มันเหมาะกับอะไร และจะเอาไปใช้จริงได้ยังไง ตรงนี้ที่นักเรียนไทยตกม้าตายกันมาหเพราะระบบการเรียนของเมืองนอกต่างจากบ้านเรายิ่งนัก คือ เถียงอาจารย์ได้เลยแต่ต้องมาพร้อมเหตุผล     ในขณะที่แนวคำถามไอเอล จะเน้นการตีความมากกว่าทั้งคำถามและคำตอบ คำถามต้อง อ่านดีๆว่าเค้าถามอะไร เช่นบางทีไม่ถามตรงๆถามความรู้สึกของผู้เขียน ส่วนการหาคำตอบก็ต้องอ่านวนๆ หลายๆรอบว่า Keyword หรือเรื่องที่ถามอยู่ตรงบรรทัดไหน จะใช้เวลาในการขบคำตอบนานกว่า เพราะเรามีเวลาที่จำกัด อันนี้ถ้าเรามี Sense เรื่องการเชื่อมโยงหน่อยเหมือนการเล่น puzzle ที่บางทีคำตอบไขว้ไปมาไม่ได้มองเห็นตรงๆก็อาจจะรู้สึกว่าง่ายกว่า   2. การฟัง TOEFL มีเวลาให้ฟัง 40-60 นาที โดยอาจเป็นบทสนทนาหรือการบรรยาย ซึ่งเราจะต้องตอบคำถาม multiple choice ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ IELTS การฟังของ IELTS จะต้องตอบคำถามหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะต้องฟังและตอบคำถามไปพร้อมๆ กัน ส่วนความยาวของการสอบจะไม่แน่นอน เปลี่ยนไปตามบทสนทนา เปรียบเทียบพาร์ท listening   โทเฟล เน้นฟังโดยไม่มีคำถามหรือตัวข้อสอบให้เห็นก่อน ซึ่งความท้าทายก็คือการจับใจความ และ โดยหัวข้อจะเป็นเรื่องทั่วไปเช่นชีวิตประจำวันบ้าง บทสนทนาในชีวิตประจำวัน มาตอบโจทย์ซึ่ง ใช้ทักษะการสรุปเนื้อหาเป็นหลัก อันนี้ต้องอาศัยฝึกฟังเยอะๆ แต่ไอเอลจะได้เห็นโจทย์ก่อน ซึ่งเป็นข้อดีเพราะจะทำให้เราเตรียมหูได้ถูกว่าเรื่องจะเกี่ยวกับอะไร และคำถามที่ต้องตอบคืออะไร แต่ก็อย่าไปยึดติดมากเพราะบางทีก็ยังมีเรื่องของการตีความเข้ามาเกี่ยวด้วย จะมีคำถามที่ถามเกี่ยวกับคำศัพท์ว่าแปลว่าอะไรอยู่หลายข้อ ถ้าหากเรารู้ Vocabulary เยอะก็จะช่วยได้มาก สิ่งที่ควรระวัง อย่าตกหลุมพรางยึดติดกับคำถามมากเกินไปจนทำให้เสียสมาธิในการฟัง ให้อ่านโจทย์ให้เข้าใจก็พอ เรายังต้องเน้นจับประเด็นในการฟังอยู่ดี หากสอบไอเอล แนะนำให้เพิ่มเติมเรื่อง Vocabulary ซึ่งเด็กไทยมักจะมีปัญหาเรื่องการยึดติดกับคำแปล ทำให้เน้นท่องจำ หากไม่รู้จริงๆ วิธีที่ได้ผลและอาจารย์หลายท่านแนะนำคือ การดูบริบทแล้วพยายามตีความกว้างๆความหมายในทางที่ดี หรือไม่ดี แปลว่าน้อยหรือมาก ถึงเวลาเรียนจริงไม่มีใครรู้คำศัพท์ทุกคำหรอกค่ะ และไม่จำเป็นด้วย จากประสบการณ์การฝึกฟังเป็นส่วนที่ จะเพิ่มคะแนนได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะไอเอล เพราะคำถามไม่ได้ยาก แค่เติมคำลงในช่องว่างจากที่ฟัง การอ่านและฟังจากสื่ออื่นๆที่ไม่ใช้หนังสือเรียนช่วยได้มาก และพัฒนาได้เร็วกว่า Skill อื่นๆ เพราะ หัวข้อเรื่องเรื่องไม่ได้ซับซ้อน ยังไงก็เป็นเรื่องทั่วๆไป แต่ต้องขอบอกตรงนี้มั่วไม่ได้ ฟังได้คือได้ ฟังไม่ได้วืดไปเลยจ้า ถ้าใครที่คิดว่าหูไปไม่ไหวจริงๆ ก็แนะนำโทเฟลเพราะจะเป็นช้อยส์ทั้งหมดก็ใช้วิธีตัดช้อยเอา คราวหน้ามาต่อ พาร์ทที่เหลือกันค่ะ   3. การเขียน TOEFL การเขียนทั้งหมดจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ Lesson1 จะระบุให้เราเขียนเรียงความประมาณ 5 ย่อหน้า ยาว 300 - 350 คำ ในส่วนที่สองเราจะต้องอ่านบทความและฟังการบรรยายในหัวข้อที่กำหนด จากนั้นค่อยเขียนเรียงความยาว 150 - 225 คำ ตามโจทย์ที่กำหนด IELTS การเขียน Part 1 จะให้เราเขียนอธิบายข้อมูลที่เห็น ซึ่งอาจเป็นตาราง กราฟ หรือแผนภาพต่างๆ โดยในส่วนนี้จะให้เขียน 200 - 250 คำ ในส่วนที่ 2 จะต้องเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นต่อหัวขอที่เป็นที่ถกเถียงกัน ยาวประมาณ 300 คำขึ้นไป  >>> IELTS Writing task 2 มีคำถามแนวไหน และต้องตอบอย่างไร <<< 4. การพูด TOEFL เราจะต้องตอบคำถามกับคอมพิวเตอร์โดยมีเวลาประมาณ 45 - 60 วินาที ซึ่งจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับบทสนทนาหรือคำบรรยายสั้นๆ 6 คำถาม ใช้เวลา 20 นาที IELTS การพูดของ IELTS จะใช้เวลาประมาณ 12 - 14 นาที โดยเราจะต้องพูดกับกรรมการที่เป็นชาวต่างชาติโดยตรง การพูดจะเริ่มด้วยการแนะนำตัว ตอบคำถามจากภาพหรือหัวข้อที่ทางกรรมการกำหนดและจบลงด้วยการอภิปรายหัวข้อที่เป็นที่ถกเถียงกัน >>> เตรียมพร้อมสำหรับการสอบ Speaking Test ของ IELTS <<<  เทียบคะแนน IELTS และ​ TOEFL (เป็นเพียงการอ้างอิงเท่านั้น) IELTS          TOEFL (paper-based)       TOEFL (internet-based) 4.5               477                                 53 5.0               500                                61 5.5               527                                71 6.0               553                                82 6.5               580                                92 7.0               617                                105 ความนิยมของการสอบ IELTS และ TOEFL  ตามปรกติแล้วการสอบ IELTS จะเป็นที่นิยมมากกว่าในสหราชอาณาจักรและยุโรป ส่วน TOEFL จะเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เริ่มยอมรับผลการสอบทั้งสองแบบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร ดังนั้นเราจะเลือกสอบอะไรก็ได้ เวลาในการสอบ การสอบ TOEFL จะกินเวลาประมาณ 4.5 ชั่วโมง โดยระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เวลามีความแน่นอน ส่วนการสอบ IELTS จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 45 นาที รวมถึงเวลาที่สอบพูดกับกรรมการด้วย  เราสามารถฝึกทำข้อสอบให้เคยชินได้ที่เว็บไซต์ทางการของ IELTS และ TOEFL ก่อนไปสอบจริง จะสอบอะไรดีล่ะ? IELTS หรือ TOEFL? เราแนะนำให้น้องๆ เลือกสอบตามความถนัดของตัวเองดีกว่าค่ะ โดยอาจจะคำนึงถึงหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้  การออกเสียงแบบ British หรือ American: ถ้าเราคุ้นเคยกับสำเนียง American อาจจะรู้สึกว่าสำเนียงอังกฤษในการสอบ IELTS ฟังยากกว่านิดหน่อย ถึงจะแตกต่างกันไม่มากแต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อคะแนนการฟังของเราได้  รูปแบบการสอบและการเขียนเรียงความ: สำหรับคำถามแบบ multiple choice ของ TOEFL เราอาจต้องมีการให้เหตุผลและความสามารถในการจินตนาการซักหน่อย ส่วนการสอบ IELTS จะเน้นให้ตอบคำถามแนวเรียงความ เช่นการฟังและเติมคำในช่องว่าง หรือหาคำตอบจากการอ่าน/บทสนทนา ซึ่งเน้นความจำที่ดีและการจดโน้ตในสิ่งที่สำคัญ การถามคำถาม: ในการสอบ TOEFL จะมีเพียงคำตอบที่ถูกหรือผิด ในขณะที่การสอบ IELTS มีตัวเลือกเช่น “ไม่ได้พูดถึงข้อมูลดังกล่าว” (information was not mentioned) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหากถูกถามให้อภิปรายหัวข้อในการสอบ รายละเอียด: ในการสอบ TOEFL หลายๆ คนบอกว่าถึงแม้จะใช้แกรมม่าผิดไปบ้าง แต่ถ้าบทความได้รับการพูดถึงอย่างละเอียดและมีคำศัพท์ที่ถูกต้องก็ยังได้คะแนน แต่ถ้า IELTS จะต้องเป๊ะทุกรายละเอียดทั้งรูปแบบการเขียนและคำศัพท์ด้วย   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.hotcourses.in.th/    
การเขียน CV สำหรับสมัครเรียนและขอทุนการศึกษา
 การเขียน CV สำหรับสมัครเรียนและขอทุนการศึกษา การเขียน CV วิธีคว้าทุนแบบ 100% match สมัครทุนการศึกษาอย่างไรไม่ให้ผิดหวัง นอกเหนือจาก Transcripts, จดหมายรับรอง หรือ personal statement อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการสมัครเรียนหรือสมัครทุนก็คือ CV (Curriculum Vitae) เพราะ CV ของเราจะเป็นตัวบอกถึงกิจกรรม ความสำเร็จ หรือความสามารถที่เรามี ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัววัดว่าเราจะผ่านการคัดเลือกหรือเปล่า และสิ่งสำคัญคือ เราจะทำให้ตัวเราโดดเด่นกว่าคนอื่น และโน้มน้าวใจมหาวิทยาลัยให้เลือกเราได้อย่างไร แต่ละมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษามีการมอบทุนการศึกษา ที่มีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไป และบางครั้งเราต้องส่ง CV หรือกรอกฟอร์ม CV ผ่านทางมหาวิทยาลัย ซึ่งถ้าเราเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าก็จะไม่เสียเวลา เราอาจจะเตรียม CV ไว้ 2 แบบ คือแบบจัดเต็ม (2-3 หน้า A4) เอาไว้ส่งให้ทางมหาวิทยาลัยที่เราสมัคร กับแบบสั้นๆ (ไม่เกิน 1 หน้า) เผื่อไว้เวลาขอจดหมายรับรองจากอาจารย์หรือหัวหน้า เพื่อช่วยให้อาจารย์หรือหัวหน้าเข้าใจความสามารถของเรามากขึ้นและสามารถเขียนใบรับรองได้เจาะจงเหมาะกับตัวเรา เรื่องพื้นฐานที่ต้องจำ ทุกคนมีวิธีพรีเซนต์ตัวเองที่แตกต่างกัน ดังนั้นอย่าลอก CV ตัวอย่างของคนอื่นหรือ Copy วิธีการเขียนแบบของใคร ตัวเราเองเท่านั้นที่รู้จักตัวเองดีที่สุด ดังนั้นเราควรสร้างสรรค์ CV ที่บ่งบอกความสามารถและความเป็นเราให้มากที่สุดจะดีกว่า CV ควรมีความชัดเจน สั้น และกระชับ นอกจากนี้ยังต้องแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ การสะกดคำ แกรมม่า แบบอักษร ต้องตรวจสอบให้เรียบร้อย และทุกอย่างต้องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ลองปรึกษาอาจารย์หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์ หรือจะให้เอเจนซี่คนกลางในการเรียนต่อช่วยจัดการให้ก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่า CV ของเราตอบโจทย์วัตถุประสงค์ที่เราต้องการ เนื้อหาที่ต้องมีใน CV ข้อมูลส่วนตัว (Personal information) : ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อและอีเมล์ hotcourses ขอแนะนำว่าให้ใช้อีเมล์ที่เป็นชื่อและนามสกุลของตัวเองดีกว่า เพราะดูเป็นทางการและทางเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยจะได้จัดเก็บข้อมูลของเราได้ง่ายๆ ประวัติการศึกษา (Education) : แนะนำสถาบันที่เราเคยเรียน หลักสูตร ระยะเวลา และผลการเรียนของเรา ประสบการณ์ทำงาน (Work experience) : แนะนำว่าเราเคยทำงานอะไรบ้าง มีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรที่เราดูแลระหว่างทำงาน  ประสบการณ์การทำวิจัย (Research experience) : เราเคยทำวิจัยเรื่องไหนบ้างและได้ผลลัพธ์อะไร ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้จะจำเป็นเมื่อเราสนใจจะสมัครทุน กิจกรรมนอกหลักสูตร (Extracurricular activities) : แนะนำว่าเราทำกิจกรรมนอกหลักสูตรอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชมรม หรือการช่วยเหลือชุมชนต่างๆ รางวัล (Awards) : รางวัลที่เราเคยได้รับ ใบประกาศนียบัตรจากหลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ทักษะ (Skills) : ลองนึกดูว่าเรามีความสามารถด้านไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทำงานเป็นทีม ในส่วนนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสมัครมากยกเว้นทุนหรือมหาวิทยาลัยต้องการคนที่เคยทำงานวิจัยในห้องแลปหรืออื่นๆ จดหมายรับรอง (References) : ส่วนใหญ่คนที่จะเขียนจดหมายรับรองหรือเป็นผู้รับรองให้เราได้มักจะเป็นอาจารย์หรือเจ้านายของเรา ซึ่งสามารถดูข้อมูลโดยละเอียดได้ที่นี่ จดหมายรับรอง : สิ่งที่ไม่ควรลืม  ส่วนใหญ่ CV ของทุกๆ คน จะถูกแบ่งเป็นเนื้อหาตามที่กล่าวมา แต่เราสามารถสร้างความแตกต่างให้กับ CV ของเราได้ด้วยการแสดงออกถึงความสามารถและความเป็นตัวเราให้มากที่สุด ลองคิดว่าอะไรเป็นจุดแข็งที่เราควรจะแสดงให้ทางกรรมการเห็น แต่อย่าโกหกเป็นอันขาดเพราะถ้ามีการสัมภาษณ์ทางกรรมการอาจจะจับผิดได้! ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.hotcourses.in.th/  
อยากเรียนมหาวิทยาลัย TOP 10 ของโลกต้องจ่ายค่าเทอมเท่าไหร่ อยากรู้มาดูกัน
 สุดยอดมหาวิทยาลัยระดับโลกส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพค่อนข้างสูงทีเดียว และแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการศึกษาก็สูงมิใช่น้อยเช่นกัน แต่หากมีโอกาสไปเรียนต่อประเทศเหล่านี้ ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะนอกจากวิชาความรู้แล้ว ผู้เรียนยังจะได้รับประสบการณ์อีกมากมายที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ใครกำลังวางแผนเรียนต่อเมืองนอก วันนี้ Hotcourses มีค่าเทอมของมหาวิทยาลัยระดับ Top 10 ของโลกมาฝากกันค่ะ บางแห่งก็คิดนักศึกษาท้องถิ่นกับนักศึกษาต่างชาติคนละราคากัน ในทีนี้จะขอนำเสนออัตราค่าเทอมต่อปีสำหรับนักศึกษาต่างชาติเป็นหลักนะคะ (คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์ = 32 บาท ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2557) สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่งในสหรัฐอเมริกาที่เลือกมานำเสนอนี้ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำที่คิดค่าเทอมนักศึกษาต่างชาติในอัตราเดียวกับนักศึกษาอเมริกัน ต่างจากมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งที่มักคิดค่าเทอมนักศึกษาต่างชาติแพงกว่า Massachusetts Institute of Technology (MIT) ปริญญาตรี: 1,440,512 บาท ปริญญาโท: 1,296,300 บาท แต่ละปีที่นี่มีเงินสนับสนุนด้านทุนการศึกษาสำหรับระดับปริญญาตรีราว 87 ล้านดอล่าร์สหรัฐ จึงสามารถช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง โดยมีผู้ได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินมากถึง 90% แต่จะได้รับการสนับสนุนมากน้อยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนทางการเงิน Harvard University ปริญญาตรี: 1,318,140 บาท ปริญญาโท: 1,400,768 บาท สำหรับปีแรกและปีที่สอง 336,56 บาท สำหรับปีที่สามและสี่ ส่วนนักศึกษาระดับปริญญาเอก จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินอย่างครบครัน ตั้งแต่ค่าเทอม ค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันประมาณ 88,500 บาท Stanford University ปริญญาตรี: ค่าเทอมปกติ 1,413,888  บาท / ซัมเมอร์ 253,984 บาท ปริญญาโท: สาขาวิศวกรรมศาสตร์ 1,506,336 บาท / สาขาวิชาอื่น 1,413,888 บาท / ซัมเมอร์ 296,000 บาท ที่นี่มีทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาต่างชาติด้วย สามารถติดตามรายละเอียดและสมัครออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย California Institute of Technology (Caltech) ปริญญาตรี: 1,337,280 บาท + ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม 50,272 บาท ปริญญาโท: 1,337,280 บาท + ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม 46,080 บาท Caltech เป็นสถาบันการศึกษาขนาดเล็ก ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษในกลุ่มวิชา STEM ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) Princeton University ปริญญาตรี: 1,338,240 บาท ปริญญาโท: 1,399,040 บาท สำหรับผู้ที่มีความเดือดร้อนด้านการเงิน มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีบริการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และจัดหางานพิเศษให้ในบางกรณี แต่ไม่ค่อยมีทุนการศึกษาสนับสนุนสักเท่าไรนัก หากต้องการทุนการศึกษาต้องหาจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งสามารถขอคำแนะนำเรื่องแหล่งเงินทุนจากมหาวิทยาลัยได้ Yale University ปริญญาตรี: 1,433,600 บาท ปริญญาโท: 1,433,600 บาท Yale มีงบประมาณสำหรับให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่นักศึกษาราว 119 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งสามารถสนับสนุนนักศึกษาได้ประมาณ 64% โดยจัดสรรให้มากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน สหราชอาณาจักร ในสหราชอาณาจักรค่าเทอมสำหรับนักศึกษาท้องถิ่นและนักศึกษายุโรป จะอยู่ที่ประมาณ 9,000 ปอนด์ หรือ 500,000 บาท ส่วนค่าเทอมสำหรับนักศึกษาต่างชาติ จะอยู่ที่ประมาณ 800,000 - 1,500,000 บาท ซึ่งถือว่าแตกต่างกันมากทีเดียว แต่การไปเรียนต่อสหราชอาณาจักรก็ได้รับความนิยมจากนักศึกษาไทยไม่น้อย โดยเฉพาะในระดับปริญญาโท เพราะส่วนใหญ่จะใช้เวลาเรียนเพียง 1 ปี แม้ค่าเทอมจะแพงแต่ก็จบเร็ว ประหยัดค่าที่พักและค่ากินอยู่ไปได้เยอะ University of Cambridge ปริญญาตรี: สายวิทย์ 1,219,456 / สายสังคม 794,048 บาท ปริญญาโท: สายวิทย์ 1,423,328 / สายสังคม 1,030,048 บาท ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในสหราชอาณาจักรค่อนข้างสูงทีเดียว แต่ Cambridge ก็มีทุนการศึกษารองรับมากมาย และยังมีทุนจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยที่พร้อมสนับสนุนนักศึกษาที่มีศักยภาพด้วย แต่ต้องกลับมาทำงานชดใช้ทุนตามเงื่อนไข Imperial College London ปริญญาตรี: 1,351,808 บาท ปริญญาโท: 1,406,080 บาท (อาจแตกต่างกันในแต่ละสาขาวิชา) Imperial เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ทั้งในสาขาวิชากลุ่มการแพทย์ STEM (Science, Technology, Engineering และ Mathematics) และ FAME (Finance, Accounting, Management และ Economics) ที่นี่จึงมีทุนการศึกษาหลากหลาย ซึ่งบางทุนจะพิจารณาจากหัวข้อวิจัยที่นักศึกษาเลือกทำเป็นหลักด้วย University of Oxford ปริญญาตรี: วิชาสายวิทย์ 1,118,880 บาท / วิชาสายสังคม 760,544 บาท ปริญญาโท: 932,544 บาท (อาจแตกต่างกันในแต่ละสาขาวิชา) นอกจากจะมีความโดดเด่นทางด้านวิชาการแล้ว Oxford ยังตั้งอยู่ในเมืองน่ารักที่แวดล้อมไปด้วยแม่น้ำ ทุ่งกว้าง ทิวเขา และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน จึงถือว่าเป็นอีกเมืองที่น่าอยู่มาก University College London ปริญญาตรี: สายวิทย์ 1,066,688 บาท / สายสังคม 802,816 บาท ปริญญาโท: สายวิทย์ 1,151,392 บาท / สายสังคม 884,544 บาท UCL เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีนักศึกษาจากนานาชาติมากถึง 40% บรรยากาศจึงมีความเป็นอินเตอร์มาก และมีคุณภาพการศึกษาดีเยี่ยม ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.hotcourses.in.th/
8 เว็บไซต์สำหรับเรียนออนไลน์หลักสูตรเมืองนอกฟรี
 ทุกวันนี้เราใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรบ้าง? เล่นเกม ส่องเฟซบุ๊คเพื่อน ตั้งสเตตัส อัพรูปลงอินสตาแกรม ติดตามดราม่าในพันทิป ฯลฯ บางทีกว่าจะรู้ตัวก็หมดวันเสียแล้ว ยังไม่ทันได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์เลยด้วยซ้ำ ถ้าอยากใช้อินเทอร์เน็ตให้มีสาระมากขึ้น ลองลงทะเบียนเรียนคอร์สเจ๋งๆ กับเว็บไซต์ที่เปิดสอนหลักสูตรออนไลน์เหล่านี้ดีไหมคะ เรียนฟรีด้วยนะจะบอกให้! Coursera เว็บสุดเจ๋งที่รวบรวมคอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกไว้เพียบ ปัจจุบันมีหลักสูตรให้เลือกถึง 764 คอร์ส และมีผู้ลงทะเบียนใช้บริการกว่า 9 ล้าน 5 แสนคน ในวิดีโอสอนจะมีซับไตเติ้ลเป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย คนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษมากนัก ก็สามารถลงเรียนเพื่อฝึกภาษาไปในตัวได้ แต่ละสัปดาห์จะมีการบ้านให้ผู้เรียนได้ทบทวนบทเรียน และเมื่อจบหลักสูตรจะมีใบรับรอง (Certificate) มอบให้ด้วยค่ะ Duolingo เว็บนี้เป็นเว็บเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ขณะนี้ Duolingo เปิดสอน 14 ภาษาด้วยกัน ได้แก่ สเปนนิช ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน โปรตุเกส ดัตช์ ไอริช เดนิช ฮังกาเรียน สวีดิช เตอร์กิช รัสเซียน โปลิช และโรมัน ตัวเว็บออกแบบสวยงามน่าใช้มาก ในอนาคต Duolingo กำลังจะมีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใช้ชาวไทยด้วย อดใจรอกันอีกนิดนะคะ Khan Academy Salman Khan ผู้ก่อตั้งเว็บนี้บอกกับผู้คนเสมอว่า You Can Learn Anything เว็บของเขาจึงมีจุดเด่นคือนำเนื้อหายากๆ มาอธิบายให้เข้าใจง่าย โดยมีทั้งเนื้อหาในรูปแบบตำราออนไลน์และวิดีโอ บางโรงเรียนในอเมริกาครูให้การบ้านนักเรียนเป็นการดูวิดีโอของ Khan เพื่อเพิ่มความเข้าใจในบทเรียนด้วยค่ะ เรียกได้ว่าได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจริงๆ iTunes U หลายคนที่เป็นสาวกของ apple และมีสินค้าตระกูล i ไว้ในครอบครองหลายชิ้น เคยรู้กันไหมว่า apple มีแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาดีๆ อย่าง iTunes U ด้วยค่ะ แอพนี้รวมวิชาความรู้ที่เป็นประโยชน์จากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงสถาบันชั้นนำอย่าง รวมถึง Stanford, Yale, MIT, Oxford และ UC Berkeley ด้วย MIT OpenCourseWare นี่คือเว็บของสถาบันชั้นนำอย่าง Massachusetts Institute of Technology ซึ่งนำบทเรียนและแบบฝึกหัดต่างๆ ที่ใช้สอนจริงใน MIT มาแบ่งปันให้ผู้สนใจจากทั่วโลก ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ศึกษาเรียนรู้ ปัจจุบันมีมากถึง 2,150 คอร์ส และมียอดผู้เข้าชมกว่า 125 ล้านครั้ง อ้อ ถึงแม้สถาบันแห่งนี้จะโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากเป็นพิเศษ แต่เนื้อหาออนไลน์ที่เปิดให้เรียนฟรีนั้น มีทั้งวิชาสายวิทย์และวิชาสายสังคมนะคะ edX E-Learning ที่เกิดขึ้นจากการจับมือกันของมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง Harvard และ MIT นอกจากนี้ก็ยังมีพันธมิตรเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังอีกหลายแห่งค่ะ แต่ละวิชาจะเรียนประมาณ 10 กว่าสัปดาห์ สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีการทำแบบฝึกหัดด้วยค่ะ รูปแบบคล้ายๆ กับ Coursera ที่แนะนำไปเป็นเว็บแรก แต่จุดเด่นของ edX คือจะโดดเด่นในคอร์สวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมมากเป็นพิเศษ Codecademy เว็บนี้ค่อนข้างเฉพาะทางนิดนึงค่ะ เพราะเน้นสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ผู้เรียนจะได้เรียนรู้โค้ดที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ตั้งแต่ HTML, CSS, JavaScript, jQuery, Python, Ruby, ไปจนถึง PHP โดยสอนทีละขั้นสอน เข้าใจง่าย และผู้เรียนสามารถทำตามไปพร้อมๆ กับที่บทเรียนสอนได้เลยค่ะ อีกทั้งยังมีการเก็บคะแนนด้วย Livemocha อีกหนึ่งเว็บเพื่อการเรียนภาษาที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะนอกจากจะมีบทเรียนและแบบฝึกหัดฟัง พูด อ่าน เขียน แบบเว็บสอนภาษาทั่วไปแล้ว Livemocha ยังช่วยจับคู่ผู้เรียนกับเจ้าของภาษานั้นๆ เพื่อให้ได้ฝึกภาษากันแบบตัวต่อตัวอีกด้วย ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการฝึกพูดภาษาต่างประเทศ นอกจากทั้ง 8 เว็บไซต์ที่ Hotcourses เลือกมาแนะนำแล้ว ในโลกออนไลน์ก็ยังมีคลังความรู้อีกมากมายมหาศาลค่ะ ใครอยากพัฒนาตัวเองให้เก่งยิ่งขึ้น อย่าลืมแบ่งเวลาจากการแชทๆ ชิลล์ๆ มาหาความรู้เพิ่มเติมกันนะคะ   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.hotcourses.in.th/    
วิธีเตรียมตัวไปเรียนต่อนอกภายใน 1 ปี
  หากมีสักแว๊บที่คิดว่า  “นะ..อยากจะไปเรียนต่อเมืองนอกใช้ชีวิตในต่างประเทศ” ขอแนะนำว่าควรลองหาทางดู ไม่ว่าคุณจะมีพื้นฐานแบบไหนมาก็ตาม ในประเทศไทยเองขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเกือบ 140 แห่งให้ แต่มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์อยู่แค่ 10 กว่าแห่งเท่านั้น และแน่นอนว่าในสายตาของบริษัทยักษ์ใหญ่ CV สมัครงานของเราจะดูน่าสนใจขึ้นอีกมากเพราะ การจบมาจากเมืองนอก แสดงถึงความสำเร็จในการเรียนเป็นภาษาอังกฤษและประสบการ์ณการจัดการเรื่องต่างๆในต่างประเทศ เตรียมตัวอย่างไรให้ไม่พลาด ระยะเวลาเตรียมตัวที่เหมาะสมที่สุดจะใช้เวลาประมาณ 12 – 16 เดือน ก่อนวันเปิดเทอม ส่วนเรื่องการรับเข้าของมากวิทยาลัย แต่ละประเทศมีเงื่อนไขการรับนักเรียนต่างกันควรตรวจเช็คให้ดี การวัดระดับที่ใช้มากที่สุดได้แก่   GRE, GMAT, TOEFL, และ IELTS ❤ เปรียบเทียบข้อดีข้อต่างโทเฟล-ไอเอล ควรสมัครเข้าเรียนเทอมไหน หาคุณกำลังเริ่มต้นสมัครเรียน คุณควรดูช่วงเวลาเปิดเทอมของมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้เริ่มต้นแพลนได้ถูก ในต่างประเทศแบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 3 ภาค The Fall Term – ภาคฤดูใบไม้ร่วง เริ่ม กรกฎาคม – ตุลาคม July to October.  Spring Term - ภาคฤดูใบไม้ผลิ เริ่ม ธันวาคม – เมษายน December and April.  Summer Term – ภาคฤดูร้อน เริ่ม พฤษภาคม – สิงหาคม May and August.        วิธีเตรียมตัวไปเรียนต่อนอกภายใน 1 ปี - An infographic โดย Hotcourses Thailand    
10 คำถามที่ควรถามตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก
 ไปเรียนต่อเมืองนอกดีไหม? เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ หากเลือกเรียนต่อคุณจะต้องจากครอบครัวและเพื่อนๆ ไปแสนไกล เพื่อไปเริ่มต้นใช้ชีวิตในดินแดนใหม่ที่ยากจะคาดเดาว่ามีอะไรรออยู่ข้างหน้าบ้าง อีกทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และสภาพอากาศที่ไม่คุ้นเคย ทำให้ต้องเตรียมตัวและปรับตัวกันยกใหญ่เลยทีเดียว เพื่อให้คุณพร้อมและมั่นใจยิ่งขึ้น เราจึงขอแนะนำให้ตรวจสอบตัวเองด้วยคำถาม 10 ข้อต่อไปนี้ก่อนตัดสินใจ 1. ต้องการไปเรียนต่อเมืองนอกจริงๆ ใช่ไหม? ก่อนตัดสินใจเรียนต่อลองเช็คตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า คุณต้องการที่จะได้รับใบปริญญาในสาขาวิชานั้นจริงๆ ไหม ถ้าไปเรียนต่อเพราะรู้สึกเบื่องานที่ทำอยู่ เบื่อชีวิตเดิมๆ หรืออยากเปิดโลกทัศน์ แค่ลองไปเที่ยวระยะเวลาสั้นๆ น่าจะเหมาะกว่า ไม่งั้นการเรียนต่ออาจกลายเป็นเรื่องผูกมัดในชีวิตไปซะงั้น 2. พร้อมจะเริ่มเตรียมตัวเมื่อไหร่? สำหรับบางคนที่ทำงานประจำและเตรียมตัวเรียนต่อไปด้วย คงต้องทำใจไว้เลยว่าจะต้องเหนื่อยและเครียดหนักเป็นสองเท่าแน่นอน ถ้าอยากให้การเตรียมตัวราบรื่นมากขึ้น คงต้องลองชั่งใจดูว่า ถ้าลาออกจากงานเพื่อมาเตรียมตัวเรียนต่อจะเป็นไปได้ไหม 3. เรียนสาขาวิชาอะไรดี? การเลือกสาขาวิชานั้นควรคิดล่วงหน้าไปก่อนเลยว่า เมื่อเรียนจบแล้วคิดจะประกอบอาชีพอะไร ถ้าต้องการเปลี่ยนสายงาน การเรียนต่อสาขาวิชาใหม่ไปเลยก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ หรือถ้ายังคิดจะทำงานในสายเดิม และอยากได้ความรู้ลงลึกมากขึ้น ก็ควรเรียนสาขาวิชาที่ต่อยอดจากความรู้พื้นฐานใกล้เคียงของเดิม หรือเรียนสาขาวิชาที่สนับสนุนสาขาวิชาเดิมที่เคยเรียนมา 4. รับมือกับค่าใช้จ่ายยังไงดี? เมื่อมีประเทศเป้าหมายที่จะไปเรียนต่อแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคำนวณค่าใช้จ่ายออกมาอย่างละเอียดว่า ค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (ค่ารถ ค่าอาหาร ฯลฯ) ตลอดจนจบการศึกษาจะมีมูลค่าประมาณเท่าไหร่ และเราจะรวบรวมเงินได้จากแหล่งใดบ้าง 5. สมัครเรียนเมื่อไหร่? มหาวิทยาลัยในต่างประเทศส่วนใหญ่ จะเปิดรับนักศึกษา 2 ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และ ฤดูหนาวหรือฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะเริ่มเปิดรับใบสมัครทางออนไลน์ ประมาณ 4-5 เดือนก่อนเปิดเทอม โดยมากนักเรียนไทยจะไปเรียนต่อประมาณเดือนกันยายน แต่ก็ต้องเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม เพื่อเตรียมความพร้อม จัดหาที่พัก และบางคนอาจต้องเรียนคอร์สภาษาหรือคอร์สปรับพื้นฐานเพิ่มเติมก่อน 6. มีการทดสอบอะไรที่ต้องสอบหรือไม่? ถ้าไปเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มหาวิทยาลัยมักต้องการให้ผู้สมัครยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษประกอบการพิจารณาด้วย โดยผลคะแนนที่นิยมใช้กันแพร่หลายก็ได้แก่ TOEFL และ IELTS หรือบางคอร์สอาจต้องยื่นคะแนนอื่นๆ เช่น GRE หรือ GMAT ประกอบด้วย อย่าลืมทำการบ้านล่วงหน้าว่ามหาวิทยาลัยที่สมัครต้องการคะแนนอะไรบ้าง จะได้เตรียมตัวสอบไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบางกรณีอาจต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมเพื่อคะแนนที่ดีขึ้น 7. สามารถขอทุนการศึกษาได้ไหม? ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ เช่น อเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ จะมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่มีผลการเรียนดี หรือ กิจกรรมโดดเด่นด้วย หากได้รับทุนก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดหรือสอบถามทางมหาวิทยาลัยเอาไว้ล่วงหน้า เพราะหากต้องการขอทุน มักจะต้องยื่นเอกสารหรือเขียนเรียงความเพิ่มเติมเพื่อการขอทุนโดยเฉพาะ 8. พักอาศัยที่ไหนดี? มหาวิทยาลัยหลายแห่งจัดสรรหอพักไว้ให้นักศึกษาต่างชาติในปีแรกของการศึกษา แต่อาจจะต้องมีการจองหรือชำระเงินล่วงหน้า หรือถ้าอยากเช่าห้องพักข้างนอก เพื่อให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ ที่จะมาเยี่ยมสามารถพักด้วยได้อย่างสะดวกสบาย ก็ลองหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ แหล่งดู 9. สามารถทำงานพิเศษได้ไหม? หากไม่ได้มีเงินสนับสนุนจากครอบครัวมากนัก การทำงานพิเศษก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีว่า วีซ่านักเรียนนอกแต่ละประเทศทำงาน PART-TIME ได้กี่ชั่วโมงบ้างและไม่ควรทำงานเยอะเกินไปหรือละเมิดกฎโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากตัวเองจะเสี่ยงแล้ว ก็ยังอาจส่งผลเสียต่อรุ่นน้องนักเรียนไทยที่จะมาเรียนต่อในรุ่นหลังๆ ด้วย 10. จะเอาตัวรอดได้อย่างไร? การไปอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน คุณจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ มากมาย และยังต้องรับผิดชอบตัวเองในทุกๆ ด้านอีกด้วย ฉะนั้นถ้ายังขาดทักษะอะไรที่จำเป็น ก่อนถึงวันเดินทางก็ควรฝึกฝน หาข้อมูล และเตรียมตัวไปก่อนล่วงหน้า เช่น ฝึกทำอาหาร หรือ ดาวน์โหลดแอพแผนที่ของเมืองนั้นๆ ที่สำคัญคือคุณไม่ควรพลาด ‘การปฐมนิเทศ’ นักศึกษาใหม่นะ เพราะในวันนั้นมหาวิทยาลัยมักแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายต่อการใช้ชีวิตนักเรียนนอก   ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.hotcourses.in.th/
เคล็ดลับฝึกฟังภาษาอังกฤษยังไงให้เข้าหู
 คุณเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่อนุบาล คุณมีแม่นยำเรื่องแกรมม่าและจำคำศัพท์ได้มากมาย สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี แต่มักจะตกม้าตายทุกทีเวลาต้องฟังคนอื่นพูดภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ละก็ อย่าเพิ่งท้อใจนะคะ ขอให้รู้ไว้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของการเรียนภาษา ไม่ว่าจะภาษาใดๆ บนโลกใบนี้ เพราะเมื่อภาษาแปลงร่างจากการเขียนเป็นการพูด จะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงของผู้พูดแต่ละคนที่มีเป็นร้อยเป็นพันแบบ การรวบคำให้กระชับ ประโยคแสลง และอีกสารพัดปัจจัยที่ทำให้การฟังยุ่งยาก แต่เรื่องแบบนี้สามารถฝึกฝนกันได้ด้วยเคล็ดลับดีๆ ต่อไปนี้ค่า ก่อนอื่นขอให้จำไว้เลยว่าต้อง 'ฝึกฟังจากเรื่องง่ายไปหายาก' ช่วงแรกของการฝึกถ้าเราไปฟังข่าวยากๆ ยาวๆ ที่มีศัพท์แปลกๆ ไม่คุ้นหูอยู่เพียบ แล้วเกิดฟังไม่เข้าใจขึ้นมา อาจทำให้เกิดอารมณ์สิ้นหวังได้ค่ะ ดังนั้นเราจึงควรเริ่มจากฟังอะไรสั้นๆ ง่ายๆ ที่เขาพูดช้าๆ ให้เข้าใจเสียก่อน เน้นฟังสำเนียงที่ถูกต้อง ฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปนะคะ เว็บไซต์แนะนำ: BBC Learning English (ฝึกฟังสำเนียงอังกฤษ) ESLPod (ฝึกฟังสำเนียงอเมริกัน) ขั้นตอนในการฝึกฝน 1. ฟังรอบแรกรวดเดียวจบ โดยไม่ดูบทความที่แนบมากับคลิปเสียง สูดหายใจลึกๆ หามุมที่นั่งสบายๆ ผ่อนคลาย ไม่ต้องกังวลว่าจะฟังไม่รู้เรื่อง 2. ฟังซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม 3. ฟังและหยุดคลิปทุกๆ 5 วินาที ขณะที่หยุดนั้นให้เขียนคำหรือวลีอะไรก็ได้ที่คุณได้ยินออกมาให้ได้มากที่สุด เมื่อฟังจบทั้งคลิปแล้ว ลองอ่านโน้ตย่อๆ ของเราดูว่า เราพอจะจับคอนเซ็ปต์ได้หรือไม่ว่าในคลิปกำลังพูดถึงเรื่องอะไร การฝึกในเบื้องต้นเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคำพูดค่ะ แค่พอเข้าใจคร่าวๆ ก็ถือว่าโอเคแล้ว 4. ทำซ้ำแบบเดิมกับข้อ 3. แต่พยายามเติมคำศัพท์ลงไปให้มากขึ้น และแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ จากการเขียนครั้งแรก 5. เขียนเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นประโยค ลองใช้ความรู้ด้านไวยากรณ์ปะติดปะต่อคำและวลีต่างๆ เข้าด้วยกัน 6. เก็บโน้ตย่อชิ้นแรกออกไป เริ่มฟังคลิปอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้หยุดคลิปทุกๆ 10 วินาที แล้วเขียนสิ่งที่ได้ยินออกมาเหมือนเดิม จากนั้นลองนำมาเปรียบกับโน้ตย่อชิ้นเก่าดูค่ะ 7. ฟังคลิปเสียงอีกครั้ง โดยอ่านโน้ตย่อของตัวเองตามไปด้วย 8. เปรียบเทียบโน้ตย่อกับบทความจริงที่ถูกต้อง ถ้าพบว่ามีคำผิดเยอะ ต้องลองวิเคราะห์ดูค่ะว่าปัญหาในการฟังของคุณเกิดจากอะไร บางคนอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักคำศัพท์ หรือมีปัญหากับเสียงหนัก เสียงเบา การเชื่อมคำ การรวบประโยค ก็ต้องลองแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ไป 9. ฟังคลิปอีกครั้งไปพร้อมๆ กับการอ่านบทความที่ถูกต้อง เพื่อเช็คว่าตรงส่วนไหนบ้างที่คุณพลาดไป จากนั้นลองกลับฟังรอบสุดท้ายแบบไม่อ่านโน้ตและบทความเลย ซึ่งพอถึงขั้นตอนนี้คุณควรจะเข้าใจเรื่องราวในนั้นมากยิ่งขึ้นแล้วนะคะ ส่วนในการเลือกคลิปเสียง ถ้าเป็นเรื่องที่เราสนใจจะยิ่งกระตุ้นให้เราอยากฝึกฝนมากยิ่งขึ้นค่ะ ทักษะการฟังไม่สามารถพัฒนาขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ฟังครั้งนึงไม่กี่นาทีแต่เน้นฝึกบ่อยๆ จะได้ผลดีกว่าการฟังครั้งนึงเป็นชั่วโมงแต่ฝึกแค่สัปดาห์ละครั้งนะคะ ถ้าใครรู้สึกว่าสกิลเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว ระหว่างฟังจะฝึกพูดไปด้วยก็ได้ค่ะ การพูดตามจะทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่ฟังมากขึ้น และเป็นการรีเช็คให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย ระยะเวลาในการอัพเลเวลของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะใช้เวลาเป็นเดือน หรือบางคนอาจต้องใช้เวลาเป็นปี ขึ้นอยู่กับความสามารถและความมุ่งมั่น การเรียนภาษาไม่มีทางลัดค่ะ ฝึกฝนเท่านั้นที่จะทำให้เราเก่งขึ้นได้ ยิ่งใครอยากไปเป็นนักเรียนนอกก็ยิ่งต้องฟิตให้มากขึ้น เชื่อเถอะค่ะว่าผลจากความพยายามอย่างสุดความสามารถ จะตอบแทนเราอย่างคุ้มค่าแน่นอน   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.hotcourses.in.th/
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ในออสเตรเลีย
ค่าใช้จ่ายของการศึกษาในออสเตรเลียจะขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษาและระดับการศึกษาที่คุณเลือกในฐานะที่เป็นนักศึกษาต่างชาติ คุณจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนก่อนเข้าศึกษา คุณสามารถใช้ระบบค้นหาหลักสูตรในเว็บไซต์นี้เพื่อหาหลักสูตรและดูรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ค่าเล่าเรียนที่ต้องจ่าย นอกจากนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหลักสูตรที่คุณเลือก รวมถึงอุปกรณ์การเรียนและการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของสถาบัน ตารางด้านล่างจะให้อัตราค่าใช้จ่ายโดยประมาณในหลักสูตรสำหรับวุฒิการศึกษาแต่ละประเภท โรงเรียน - $7,800 - $30,000 เรียนภาษาอังกฤษ - ราว $300 ต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของหลักสูตร ระดับการฝึกอบรมวิชาชีพ (ประกาศนียบัตรระดับ I-IV, ประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) - $4,000 - $22,000 ระดับปริญญาเอก - $14,000 - $37,000 * ระดับปริญญาโท - $20,000 - $37,000 * ระดับปริญญาตรี - $15,000 - $33,000 * * หมายเหตุ: ราคานี้ไม่รวมถึงหลักสูตรที่มีค่าเล่าเรียนสูง เช่น แพทย์และสัตวแพทย์ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นราคาต่อปีในสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย หากต้องการแปลงเป็นสกุลเงินของคุณโปรดเข้าไปที่ http://www.xe.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.studyinaustralia.gov.au
เรียนภาษาอังกฤษ กินเจ
  เรียนภาษาอังกฤษ: กินเจ การกินอาหารเจ (Vegetarian foods) นอกจากจะเป็นการถือศีลรักษาประเพณีและละเว้นชีวิตแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง วันนี้เรามาดูกัน เรียนภาษาอังกฤษ: กินเจ จากภาพการ์ตูนน่ารักๆ         ข้อมูลจาก : Kaplan International English   
1 2 3 4 5 6 7 8 9 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา