หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
11เทคนิคเตรียมตัวก่อนวันสอบ กับอีก3ข้อคิดหลังสอบ
1.หลังจากที่ใช้เวลาทบทวนเนื้อหากันมามากแล้ว ก่อนวันสอบหนึ่งวันต้องทดทวนอัดแน่นจนเต็มที่ มั่นใจว่าเข้าใจหลักเนื้อแต่ละวิชา 2.หลังจากอ่านมาทั้งวันแล้ว ก็ไปวิ่งให้สมองกระตุ้นการหลั่งสารเอนโดรฟินให้หายเครียด 3.นั่งพักฟังเพลงสบายๆ 4.หลังจากหายเหนื่อยแล้วอาบน้ำกินข้าว 5.เชคเฟสนิดๆ ุ6.พอช่วงสามทุ่มกะว่าผ่อนคลายเต็มที่แล้วนอนอิอิ เพื่อจะได้ไปสอบให้ทันและวันสอบจะได้มีความสดชื่นแจ่มใส 7.ตื่นแต่เช้าจะวิ่งอีกก้อได้ถ้ามีเวลา และอาบน้ำเตรียมตัวไปสอบ 8.เตรียมปากกา ดินสอ ยางลบ บัตรเข้าห้องสอบ เชคห้องสอบ ที่นั่งสอบ เครื่องแต่งกาย 9.การเข้าห้องสอบถ้าจะให้ดีต้องไป ก่อนเวลาสอบประมาณ 30 นาที เพราะถ้าไปช้ามากจะทำให้เกิดความกังวล สมองจะสูญเสียสมาธิในการสอบไปแล้ว 5-15% และตรวจสอบความถูกต้องของชื่อ-สกุลและอื่น  ที่หน้าห้องสอบให้ละเอียด 10.ทำข้อสอบแบบสบายๆด้วยความรอบคอบ 11.ผลสอบออกมาได้เท่าไหร่ไม่ต้องไปครียด เพราะอย่าน้อยเราก็พยามเต็มที่แล้วสู้้ ข้อคิดหลังสอบ 1.เราพยายามทำสุดยอดแล้ว 2.อย่าเอาความรู้ไว้เพียงแค่เอาไว้สอบเก็บไปใช้ติดตัวบ้างอารัยบ้างก็ดีนะอิอิ 3.อย่าเอาเวลาว่างหลังเลิกเรียนไปเล่นเฟสอีกอิอิ credit:http://www.facebook.com/jojoemis
วิธีทำให้ตัวเองมีอารมณ์อยากอ่านหนังสือสอบ
  เชื่อว่าสัปดาห์ที่กำลังจะถึงนี้ หรือสัปดาห์ที่ไกลจะถึงนี้ เป็นสัปดาห์สอบปลายภาคของนักศึกษาหลายๆ คน รวมทั้งเราด้วย .. เป็นเหมือนกันหรือเปล่า กับปัญหาในการอ่านหนังสือ เหมือนกับว่าถึงวิชาจะน้อย แต่เนื้อหาก็เย๊อเยอะ แต่เด็กอักษรฯ ปีหนึ่งที่มีวิชาบังคับเนี่ยสิ โหดกว่าเยอะ! อ่านล้วนๆ จำเน้นๆ เจ็ดวิชา .. จะตายห่า .. น วันแรก, เราเอากองหนังสือมาตั้งกองๆ ไว้ว่าต้องอ่านอะไรบ้าง แต่หลังจากที่กองๆ ไว้เสร็จ ก็เกิดความล้าขึ้นมาทันที เลยยังไม่ได้อ่าน ลองไปอาบน้ำ บิลท์อารมณ์สารพัดเพื่อให้มีกระจิตหยิบหนังสือขึ้นมา แต่พอมองกองหนังสือนานๆ เข้า กระใจก็เริ่มร้องบอกว่า "ขี้เกียจ" (จินตนาการเสียงสะท้อนดังก้องขึ้นทั่วหัวใจ) เราทำตัวขี้เกียจแบบสุดขีดไปหลายอย่างมาก ทั้งเอาแต่เล่นคอมฯ อ่านหนังสือ (นอกเวลา) ดูทีวี เพื่อที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าขี้เกียจอย่างเต็มที่แล้ว ก็จะได้มีแรงผลักดันให้ตัวเองหันมาอ่านหนังสือ แต่ก็ไม่ ..   เริ่มมีความรู้สึกอยากอ่านหนังสือบ้างแล้ว แต่ที่ทำได้ก็แค่มองกองหนังสือ แล้วรู้สึกหน่าย     จนกระทั่ง, ล้มตัวลงบนเตียง เพื่อนอนทำใจ (อะไรมันจะยากขนาดนั้น)   นอนคิดไปคิดมา, ถ้าเราอยากอ่านหนังสือ เมื่อไรเราจะได้อ่านละ กองหนังสือเรียนอยู่บนโต๊ะ ส่วนกองหนังสืออ่านนอกเวลาจัดอยู่อย่างดีในตู้ นึกย้อนไปถึงเวลาที่จะเข้าส้วม เราต้องเลือกสักเรื่องเข้าไปอ่านในนั้น เราก็หยิบมาโดยไม่ต้องคิดว่าจะอ่านเรื่องไหน เพราะทุกเรื่องก็เป็นเรื่องที่เราชอบทั้งสิ้น ไม่งั้นก็คงไม่ซื้อมา   เลยเอาข้อนี้มาใช้กับหนังสือเรียน คือไม่ต้องคิดว่าอยากอ่าน แต่หยิบมาอ่านเลย ไม่ว่าวิชาไหนก็ต้องอ่านอยู่ดี ดังนั้น หยิบๆ ไปเถอะ อ่านๆ ไปเถอะ   ไม่ต้องคิด ไม่ต้องเครียด รฦกถึงพยัญชนะภาษาอังกฤษตัวนั้นไว้ให้จงหนักก็พอแล้ว F .. ไง   จนตอนนี้, เวลามองกองหนังสือเรียนอีกครั้งก็ไม่ได้คิดอะไรแล้ว ฉวยจากกองหนังสือมาสักเล่ม มานอนอ่าน .. อาจจะดูไม่ค่อยรู้เรื่องนัก ก็ลองเปลี่ยนโลเกชั่นไปนั่งที่โต๊ะ หาสมุดเปล่ามาสักเล่ม แล้วก็สรุปย่อไป ไม่ต้องสรุปด้วยลายมืองดงามราวกับคัดไทยละ เขียนแบบธรรมดาๆ ให้พออ่านออกก็หรูแล้ว เชื่อว่าบางคนอาจไม่เป็นเหมือนเราหรอก แต่บางคนที่เบื่อๆ เหมือนกัน หรือเป็นพวกอารมณ์ศิลปินจัด คือ อารมณ์ไม่คงที่ หรือเวลาจะทำอะไรก็แล้วแต่อารมณ์นำพา น่าจะเอาวิธีนี้ไปใช้ได้   อยากอ่านหนังสือ ไม่ต้องคิด .. คว้ามันมา .. แล้วอ่านเลย!     Credit   http://millhz.exteen.com/20090920/entry
8 วิธี หนทางสู่การเรียนเก่ง
 1 นาทีแนะวิธีเรียนเก่ง     ในการเรียนให้เก่งนั้น ต้องอาศัยทักษะต่างๆ และหมั่นฝึกฝน อดทนและขยันอยู่เสมอ ซึ่งขั้นตอนในการปฎิบัติและวางแผนในการเรียนให้เราเรียนเก่งๆนั้น มีขั้นตอนดังนี้   1. การเตรียมตัวก่อนไปโรงเรียน ข้อคิดนี้สำคัญ และมองข้ามไม่ได้ค่ะ เราต้องรู้จักประมาณตนในการเข้านอนค่ะ โดยปกติแล้วคนที่หลังจากเลิกเรียนแล้ว เรียนพิเศษโดยเฉลี่ยประมาณชั่วโมงครึ่ง กลับบ้านมากินข้าว อาบน้ำ ทำการบ้าน และอ่านหนังสือทบทวน ไม่น่าจะเข้านอนเกิน 5 ทุ่มนะคะ สาเหตุที่เราเข้านอนเกินเวลา - เลิกเรียนแล้วเที่ยวเตร่ไม่รีบกลับบ้าน - มัวแต่เล่นเกมส์ หรืออ่านหนังสือการ์ตูน ซึ่งถ้าทำเพื่อคลายเครียดก็ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง และไม่ควรทำทุกวัน เพราะจะทำให้เราติดเป็นนิสัย - เล่น msn เพื่อแชตในเรื่องไร้สาระ จะทำให้เราไม่ดูเวลา ติดเป็นนิสัย - ดูละครไป ทำการบ้านไป - การบ้านค้างไว้นานๆ แล้วมารีบทำเมื่อถึงวันที่จะส่งแล้ว เมื่อเราหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ขอให้เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวันจะได้เกิดความเคยชิน และเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า ห้ามหลับต่อ และอย่าลืมรับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนนะคะ   2. จุดประกายในห้องเรียน - พยายามเลือกที่นั่งด้านหน้า ใกล้ครูให้มากที่สุด - ถ้าเลือกที่นั่งไม่ได้ จำเป็นต้องนั่งข้างหลัง ก็ห้ามปรามเพื่อนรอบข้าง อย่าให้เขาชวนคุย เพราะจะรบกวนสมาธิ - ถ้านั่งริมหน้าต่าง ริมประตู อย่าไปสนใจสิ่งรอบข้าง - ไม่ต้องกลัวเวลาอาจารย์ถาม ถ้าเราตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาดี จะทำให้เรามีความมั่นใจเวลาอาจารย์ถามคำถาม - เมื่อมีข้อสงสัยให้รีบยกมือถามอาจารย์ทันที ไม่ต้องกลัวอายเพื่อน อย่าลืมค่ะ "ด้านได้อายอด"ค่ะ    3. หูฟัง ตามอง มือเขียน - มีสมาธิในการฟัง - มองสิ่งที่อาจารย์เขียนให้ดูบนกระดาน แล้วรีบจดลงไปในสมุด - ไม่ควรฟังไป เขียนไป จะทำให้เราพลาดเนื้อหาที่สำคัญๆ เราควรฟังให้เข้าใจก่อนแล้วค่อยบันทึก    4. ชั่วโมงต่อไป ทำไงดี - อย่าเพิ่งรีบเก็บสมุดบันทึกก่อนค่ะ ให้จดหัวข้อว่าวันนี้เรียนอะไรในสมุดอีกเล่ม เพื่อจะได้กลับไปทบทวนที่บ้าน - จดโน้ตคำถามสั้นๆไว้ในส่วนที่เรายังไม่เข้าใจ คาบต่อไปจะได้ไม่ลืมถามอาจารย์ - ลืมความเครียด ความกังวลในคาบก่อนหน้านั้นให้หมดสิ้น   5. จุดประสงค์การเรียนรู้ หลักสูตร หรือโครงสร้างเนื้อหา มีความสำคัญ ถ้าเรารู้จุดประสงค์การเรียนรู้ของวิชานั้นๆ จะทำให้เรามีทิศทางในการเรียน เปรียบเสมือนแผนที่ที่คอยบอกว่า เราควรเดินไปในทิศทางไหนค่ะ และมีส่วนสำคัญให้เราเลือกซื้อหนังสือไว้อ่านเพิ่มเติมด้วย        6. จับประเด็น - ฟังอาจารย์ให้ดีๆ ตรงไหนอาจารย์เน้นคำ โดยใช้คำพูดที่หนักแน่นขึ้น - ตรงไหนอาจารย์พูดซ้ำ 2 รอบ - หัวข้อที่อาจารย์พูดถึงว่า ออกสอบบ่อยๆ - แนวแบบฝึกหัดที่อาจารย์ให้มาก็บอกใบ้แนวข้อสอบค่ะ   7. สังเกตสไตล์การสอน - ถ้าอาจารย์ชอบให้ซักถาม ก็เตรียมคำถามไว้ถามล่วงหน้า - ถ้าอาจารย์ชอบสอนไปเรื่อยๆ ไม่สนใจว่านักเรียนตามทันหรือไม่ ก็ไม่ควรขัดจังหวะ โดยการถามคำถามอาจารย์ก่อน ให้จับประเด็นที่อาจารย์เน้นเอาเอง และค่อยถามอาจารย์นอกเวลา - ถ้าอาจารย์บรรยายน่าเบื่อ ฟังแล้วง่วงนอน ให้ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า เป็นการฝึกให้นักเรียนเป็นนักจับประเด็น และเป็นการฝึกความอดทนไปในตัว พยายามท้าทายตัวเองว่า ต้องเป็นคนช่างสังเกตให้ได้ เหมือนกำลังเล่นเกมนักสืบ - อย่ามีอคติกับผู้สอน เพราะจะทำให้การเรียนน่าเบื่อ ซึ่งมีผลต่อคะแนน ความตั้งใจ และความเข้าใจตลอดเทอม     8. เรียนอย่างเข้าใจ หาใช่เพื่อสอบผ่าน ฟังดูอาจเป็นผลดีที่ขยันเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ความเป็นจริงแล้ว เมื่อสอบผ่านวิชานั้น ก็เป็นอันว่าหน้าที่นั้นสิ้นสุดลงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหานั้นอีกต่อไป ถ้าต้องเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ค่อยไปรื้อฟื้อความเข้าใจเพื่อการสอบออกมาใหม่ นี่เป็นความคิดที่ผิดค่ะ ความเข้าใจอย่างแตกฉาน จะมีประโยชน์ต่ออนาคต ต่อการดำรงชีพ ถ้าคิดแบบนี้ จะทำให้สามารถอธิบายวิเคราะห์ สรุปเนื้อหาได้อย่างแม่นยำ เพราะฉะนั้น การเรียนไม่ใช่การท่องจำเพื่อการสอบอย่างเดียว http://www.unigang.com/
เคล็ดลับในการฝ่าด่านความขี้เกียจ
  แม้เราจะมีความขี้เกียจฝังอยู่ในสายเลือด แต่โชคดีที่การเอาชนะความขี้เกียจขึ้นอยู่กับตัวเราเองเป็นสำคัญ ขอแนะนำเคล็ดลับในการเอาชนะความขี้เกียจดังต่อไปนี้ TIP 1 เตรียมกายให้พร้อม ถ้าคุณรู้สึกว่านอนเท่าไรก็ไม่อิ่ม เหงื่อออกตอนกลางคืน อาหารไม่ย่อย หรือความคิดไม่แล่น ฯลฯ รู้ไว้เถิดว่า เหล่านี้คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงความอ่อนเพลียของคุณ จิลล์ โทมัส ( Jill Thomas ) นักธรรมชาติบำบัด ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Revive: How to Overcome Fatigue Naturally แนะนำวิธีง่ายๆ เพื่อสลัดความอ่อนเพลียและฟิตร่างกายให้พร้อมรับมือกับการทำกิจกรรมต่างๆ ไว้ดังนี้ 1. ออกกำลังกายตอนเช้า การเดินเร็วๆ เพียง 20-40 นาทีในตอนเช้าจะช่วยป้องกันความอ่อนเพลียได้อย่างมหัศจรรย์ 2. เติมพลังด้วยอาหารเช้า ควรรับประทานอาหารเช้าที่มีเส้นใยสูง โปรตีนต่ำ และไม่หวาน เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ มิฉะนั้นร่างกายจะอ่อนเพลียและรู้สึกหิวเร็วขึ้น 3. กินผักมากกว่าเนื้อ รับประทานผักผลไม้และธัญพืชให้ได้วันละ 3-5 ขีด เพื่อรักษาค่าความเป็นกรดในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างสมดุล ไม่เพลียง่ายๆ 4. ดื่มน้ำสะอาด การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานดีขึ้น คนเราควรดื่มน้ำเปล่าวันละ 1.5-2 ลิตร และควรดื่มน้ำเปล่าสองแก้วตามหลังชาหรือกาแฟหนึ่งถ้วยเสมอ 5. กินไขมันดี กรดไขมันที่จำเป็น ( EFAs ) เช่น โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ฯลฯ มีความสำคัญมากต่อเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลในสมอง และการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็น   TIP 2 บันได 8 ขั้นสู่การเอาชนะใจตนเอง 1. ทำด้วยใจรัก จงเป็นตัวของตัวเองและทำสิ่งที่คุณชอบ จำไว้ว่า การทำสิ่งที่ชอบจะนำมาซึ่งพลังงาน ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด 2. ลงมือทำตามกฎ 15 นาที "การลงมือทำทันที "(Do It Now) คือยาพิชิตความขี้เกียจที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเบื่อหน่ายแค่ไหน ขอให้คุณลงมือทำสัก 15 นาที จำไว้ว่า ผลงานในช่วง 15 นาทีแรกอาจจะใช้ไม่ได้เลย แต่นี่จะเป็นรากฐานของความสำเร็จ 3. เปิดรับความท้าทาย ลบความคิดที่ว่า "ฉันทำไม่ได้ " ทิ้งไป เพราะความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุดของมนุษย์ 4. มองภาพเล็กไว้ก่อน การมองภาพใหญ่หรือการคาดหวังเป้าหมายในระยะยาวอาจทำให้เกิดความย่อท้อได้ง่ายๆ ควรที่จะวางแผนเป็นลำดับขั้นหรือแบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ตนเองจะดีกว่า 5. ติดตามความคืบหน้า การเขียนความก้าวหน้าของคุณลงในสมุดทุกวัน ช่วยให้คุณจดจ่อกับเป้าหมาย และมองเห็นวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ชัดขึ้น 6. ให้คำมั่นสัญญา บอกให้เพื่อนฝูงหรือคนใกล้ตัวรับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ เพราะการให้คำมั่นสัญญาจะเป็นการผูกมัดตัวเอง อีกทั้งยังทำให้คุณรู้สึกฮึกเหิมและมีกำลังใจมากขึ้นด้วย 7. เป็นผู้ "รอ " ที่ดี เลิกหวังผลแบบทันทีทันใด แล้วหันมาอดทนเพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าในอนาคต 8. ให้รางวัลตัวเอง ยอมให้ตัวเองได้หยุดพักเมื่อทำงานเล็กๆ สำเร็จ เพื่อสะสมกำลังไว้ต่อสู้ในระยะยาว TIP 3 เพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานด้วยหลักอิทธิบาท 4 อิทธิบาท 4 คือธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ เราสามารถนำหลักธรรมแต่ละข้อมาปรับใช้ให้เข้ากับนิสัยของตัวเอง เพื่อช่วยรวบรวมสมาธิและขจัดความขี้เกียจได้ 1.ฉันทะ หมายถึง ความรักในงาน รักในจุดมุ่งหมายของงาน มีความพอใจในสิ่งที่มีที่ทำ 2.วิริยะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ไม่ล้มเลิกก่อนทำสำเร็จ 3.จิตตะ หมายถึง ความมีใจจดจ่อ เอาใจใส่กับการทำงานเสมอ 4.วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลและเกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สอนไว้ว่า การทำกิจอันใดให้สำเร็จไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มจากฉันทะหรือความพึงพอใจในงานนั้นก่อนเสมอไป ตัวอย่างเช่น การสร้างสมาธิ เพราะไม่ว่าสมาธิจะเกิดจากหลักธรรมข้อไหน แต่เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว หลักธรรมข้ออื่นๆ จะเกิดขึ้นหนุนเนื่องตามกันมา ฉันใดก็ดี ในกรณีที่คนสองคนทำงานอย่างเดียวกัน คนคนหนึ่งทำงานเก่งกว่า ได้รับความสุขจากการทำงานมากกว่า ในขณะที่อีกคนหนึ่งไม่เก่งเท่า แต่มีความขยันหมั่นขวนขวายอยู่เสมอ วันหนึ่งเขาก็จะเก่ง จะรู้สึกมั่นใจและเกิดความรักความผูกพันกับงานไม่แพ้เพื่อนคนแรก คนที่รักงานที่ทำจะสนใจเรื่องปลีกย่อยต่างๆ เช่น เงิน หรือของรางวัล ฯลฯ น้อยลง ตรงกันข้าม ถ้าคนไม่รักในงาน แต่หวังผลสำเร็จของงาน ก็จะหาหนทางหลบเลี่ยงเพื่อให้ตัวเองออกแรงน้อยลง หรือทุจริตเพื่อหวังเงิน วัตถุ ตำแหน่ง ฯลฯ ซึ่งตัณหาเหล่านี้คืออีกตัวการที่ทำให้คนเรา ขี้เกียจนั่นเอง ที่มา : http://www.pattanakit.net
นอนอย่างไรทำสมองใสยามเช้า
  เผย 5 เคล็ดลับหลับสบาย ตื่นยามเช้าทำสมองใส จิตใจสมดุล พร้อมสู่การเรียนรู้ หนุ่ม-สาววัยใสที่มักมีอาการสมองตื้อ ระหว่างวันความคิดแล่นช้า ขณะเดียวกัน ยังมีอารมณ์ขุ่นมัวร่วมด้วย ลองรีสตาร์ท (Restart) ระบบร่างกายตั้งแต่ก่อนนอน ด้วย “5 เคล็ดลับ” ต่อไปนี้ เริ่มจาก อาบน้ำอุ่นก่อนนอน จะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ระหว่างนั้น อาจหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ปริมาณเล็กน้อยลงอ่างน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติระงับประสาทให้รู้สึกสงบ และผ่อนคลาย ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ทั้งยังช่วยคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ด้วย เลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้หลับไม่ลง อย่าง คาเฟอีน นิโคติน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารรสหวาน จากกาแฟ, ชา, โคล่า, โกโก้, ช็อคโกแลต สูบบุหรี่ รวมทั้งไม่รับประทานมื้อหนักก่อนนอนอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง หากหิวควรทานนมอุ่น ๆ ดีกว่า 4 ชั่วโมงก่อนนอนไม่ควรออกกำลัง เพราะมีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อ โดยร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้หลับยาก ทั้งนี้ การออกกำลังกายช่วงเช้า หรือเย็น ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินสารเคมีที่สร้างจากสมอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ จากรายงานของหน่วยงานที่ศึกษาด้านการนอนหลับ ของสหรัฐฯ พบว่า การสัมผัสกับแสงไฟนีออนยามนอน ส่งผลต่อคุณภาพการหลับลดลง โดยแสงดังกล่าว จะไปกดการทำงานของเมลาโทนินฮอร์โมนตามธรรมชาติ ซึ่งควบคุมการนอนหลับ ดังนั้น ไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืน เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ใช้เวลา 5 นาทีออกไปรับลม และแสงนอกระเบียง หรือหน้าต่าง จะกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น อารมณ์แจ่มใส สมองตื่นตัว เพียงเท่านี้ก็บอกลาอาการง่วงซึมระหว่างวันได้แล้ว แนะนำวัยเรียนลองไปพิสูจน์กันดู.   ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
15 วิธีลับสมองให้ความจำดีขึ้น
  นี่คือคำแนะนำเพื่อความจำที่ดีขึ้น  1. หาเวลาที่เหมาะที่สุดกับการใช้ความคิดของเราในแต่ละช่วงวัน แต่ละคนแต่ละวัยจะมีช่วงทองให้กับการคิดไม่เหมือนกัน ว่ากันว่าคนมีอายุแล้วสมองจะเคลียร์ที่สุดก็เป็นช่วงเช้า พวกหนุ่มๆสามวๆนั้นกว่าจะมีสมาธิในการคิดได้ก็จะเป็นช่วงบ่าย ดูตัวเองว่าความคิดดีดีของเรานั้นมักจะมาในช่วงไหน แล้วเก็บช่วงนั้นไว้สำหรับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์  2. หาความรู้อยู่เรื่อยๆ...รู้แบบกว้างๆ ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกไปซะทุกอย่าง แต่ความรู้ที่สะสมมาจากทุกเรื่องจะช่วยต่อยอดกับข้อมูลใหม่ๆให้เข้าใจได้ง่ายๆขึ้น  3. "จดไว้ให้จำ" เครื่องช่วยจำที่ดีที่สุดก็คือจดทุกอย่างลงในกระดาษ เขียนไว้กันลืม สุภาษิตจีนบอกไว้ว่า ถึงแม้ว่าหยดหมึกที่จางที่สุดก็จะอยู่ได้นานกว่าความจำที่ว่าแม่นที่สุด  4. เพิ่มพลังกับกาแฟ..แต่แค่ถ้วยเดียวพอนะ ที่จะช่วยให้มีสมาธิดีขึ้นมาบ้าง แต่ถ้าเวลาเครียดๆละก็ห้ามเด็ดขาดเพราะจะทำให้ฟุ้งซ่านมากกว่าเดิม  5. โยงเรื่องใหม่กับความจำเดิม ให้คิดซะว่าความคิดหรือความจำที่มีอยู่เดิมนั้นเหมือนกับตุ๊กตาที่ถูกแขวนไว้กลางอากาศ กำลังรอข้อมูลใหม่ๆเข้าไปปะติดปะต่อ อย่าปล่อยเรื่องใหม่ๆเข้าไปอย่างไม่มีจุดเชื่อมโยง เช่น ถ้าจะจำชื่อคน ก็ลองโยงความหมายหรือเสียงของชื่อนั้นเข้ากับสิ่งต่างๆที่เราคุ้นเคย  6. ฝึก..ฝึก..ฝึกจำอยู่บ่อยๆ ถึงอายุอ่อนกว่าแค่ไหน แต่ถ้าไม่เคยฝึกท่องจำเลย ความจำก็อาจจะสู้คนแก่ไม่ได้ ถ้าไม่เชื่อลองนึกดูสิว่าไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนทำไมเราถึงไม่ลืมสูตรคูณ ที่เราท่องตั้งแต่ยังเด็กล่ะ 7. ควรให้เวลาสมองได้รับเรื่องตลกๆหรือได้คิดอะไรที่ไร้สาระบ้าง เป็นการให้ความคิดของเราได้พักผ่อน  8. รู้จักดัดแปลงความคิดสร้างสรรค์ มันมักจะเกิดขึ้นมาได้จากบางอย่างที่เราคุ้นเคยนั่นล่ะ จะเชื่อมั้ยล่ะ ถ้าบอกว่าวิธีเปิดฝากระป๋องแบบดึงขึ้นนั้นน่ะ ต้นตอมาจากการปลอกเปลือกกล้วยนั่นเอง  9. คบเพื่อนที่ฉลาด มีความคิดกว้างๆ..แล้วคำโบราณที่บอกว่าคบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผลนั่นน่ะมันเป็นความจริง การที่เราได้อยู่ใกล้กับคนที่มีความรู้ เป็นคนฉลาดที่เปิดรับความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอนั้นจะช่วยให้เราได้คิดตาม และฝึกสมองอยู่บ่อยๆ  10. เลียนแบบลีโอนาโด..หมายถึง ลีโอนาโอ ดา วินซี มีวิธีมากมายที่ดาวินซีใช้สร้างสรรค์งานของเขาง่ายๆก็คือ ลองเขียนภาพจากมือที่ไม่ได้ถนัด  11. เอาใจใส่ เคยมั้ยที่เวลาได้เจอใครๆกลับจำไม่ได้ว่าเขาชื่ออะไร ที่เป็นปัญหาอาจจะไม่ใช่เรื่องของความจำแต่เป็นเรื่องของการใส่ใจ ถ้าเราใส่ใจกับคนๆนั้น หรือสิ่งนั้น เราจะจำได้มากกว่าที่เป็น  12. ฟังเพลงโมสาร์ท ก่อนนอนเปิดงานของโมสาร์ทฟังซักหนึ่งรอบ จะช่วยเรื่องความจำดีขึ้นได้  13. ออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนที่ไม่ใช่แค่ให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แต่หมายถึงสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้นด้วย  14. ลองทำสิ่งใหม่ๆจะได้มีแนวความคิดที่แปลกใหม่อยู่เสมอ  15. ตัดเครื่องรบกวนสมาธิทั้งหมด ขึ้นป้าย Don't Disturb! ติดไว้ข้างตัว เวลาที่งานนั้นต้องใช้ความตั้งใจและมีสมาธิอย่างสูง และทางที่ดีดึงสายโทรศัพท์ออกไปไม่รับสายเข้าเลยดีกว่า Credit   http://ivan-bliznak.deviantart.com/gallery   c   dsf    และhttp://webboard.yenta4.com/topic/491271
10 วิธี เพิ่มความจำแบบฮาร์วาร์ด
  วารสารชีพจรสุขภาพ(เฮลธ์บีท)ออนไลน์จากสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเพิ่มความจำดีๆ 10 วิธี มาฝาก (1). เชื่อมั่น: การศึกษาทำในคนวัยกลางคนและสูงอายุพบว่า ความจำของคนเราแปรตามความเชื่อมั่น คนเราจะจำอะไรๆ ได้ดีถ้าเชื่อมั่นว่า "เราทำได้" คนที่มองโลกในแง่ดีและเชื่อว่า ความจำของคนเราไม่ลดน้อยถอยลงไปตามอายุจะมีความจำดีกว่าคนที่คิดว่า "โอ... เราแก่แล้ว จำสู้เด็กๆ ไม่ได้" (2). ประหยัด: ทุกวันนี้หน่วยงานดีๆ จะมีกิจกรรม "5ส" เพื่อให้หน่วยงานเป็นระเบียบ ข่าวดีคือ การจัดเรื่องต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ช่วยป้องกันการลืม เครื่องมือป้องกันการลืมที่สำคัญได้แก่ ปฏิทิน แผนที่ สมุดวางแผน แผ่นจดรายการของต้องซื้อก่อนไปชอปปิ้ง สมุดจดที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์     (3). แบ่งเป็นชุดเล็กๆ: สมองคนเราจำเรื่องเล็กๆ ได้ดีกว่าเรื่องใหญ่ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะจำตัวเลข 8 หลัก "27984689″ ควรแบ่งเป็น 2 ชุดแบบที่เราใช้จำเบอร์โทรศัพท์ "2798-4789″ เวลาจะจำอะไรก็ควรฝึกจำทีละชุดเล็ก เช่น อ่านหนังสือวันละน้อย ฯลฯ ดีกว่าฝึกจำชุดใหญ่ เช่น อ่านหนังสือรวดเดียวก่อนสอบ ฯลฯ (4). ใช้ประสาททั้งห้า: ใช้ประสาททั้งตา หู จมูก ลิ้น และกายที่ประทับใจมากที่สุด เพื่อจดจำเรื่องราว ประทับใจอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องขอ"เชื่อมโยง" กับประสบการณ์ในอดีตด้วยว่า สัมผัสหรือเรื่องนั้นคล้ายกับอะไรด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าอยากจำรายละเอียดในร้านอาหารให้ ลองสูดหายใจเข้าแรงๆ ได้กลิ่นอะไรให้รีบจำกลิ่น และเชื่อมโยงว่า กลิ่นนี้คล้ายกลิ่นอะไร เช่น คล้ายกลิ่นขนมที่คุณยายทำให้ตอนอายุ 2 ขวบ ฯลฯ   (5). ขยายขอบเขต: การท่องออกเสียงดังๆ วาดภาพประกอบ บันทึก หรือทำภาพไดอะแกรมเชื่อมโยงกระบวนการเข้าด้วยกัน เช่น แผนภูมิก้างปลา ฯลฯ ช่วยให้จำได้ง่ายกว่าการอ่านในใจเพียงอย่างเดียว (6). เรียกชื่อ: คนเราจะจำชื่อคนได้ดีขึ้นถ้าเรียกชื่อคนที่เราเห็นทุกครั้ง หรือถ้านึกถึงใครในใจก็ให้รีบทบทวนชื่อคนนั้นทันที   (7). เว้นช่วง: คนเราจะจำเรื่องราวต่างๆ ได้ดีถ้าทบทวนซ้ำ (repeat) ในช่วงที่ห่างกัน เช่น 2-3 วัน ฯลฯ หลายๆ ครั้งได้ดีกว่าการท่องรวดเดียว (8). คำย่อ: คำย่อมีส่วนช่วยให้จำอะไรได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างที่อาจารย์ท่านยกมาเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ถ้าจะจำตัวอักษรตัวแรกของคำต่างๆ 5 คำ(E, G, B, D, F) ให้ลองนำอักษรตัวแรกมาแต่งเป็นประโยค เช่น Every good boys does fine. ฯลฯ (9). ท้าทาย: สมองคนเราเป็นเรื่องที่ต้อง "ท้า(ทาย)" หรือฝึกบ่อยๆ จึงจะใช้การได้ดี การฝึกสมอง เช่น การเล่นคำต่อ (crossword) หมากรุก การฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำงาน ฯลฯ มีส่วนช่วยฝึกสมองให้ตื่นตัว และใช้การได้ดีขึ้นในระยะยาว (10). นอนให้พอ: คนที่พักผ่อนนอนหลับเพียงพอมักจะจดจำอะไรๆ ได้ดีกว่าคนที่อดนอน ถ้าจะถนอมสมองให้ใช้ได้ดีไปนานๆ ก็ควรนอนให้พอ และอาจเสริมด้วยกิจกรรมฝึกสมาธิ เช่น ไทเกก-ไทชิ(ชี่กง) สมาธิกำหนดลมหายใจ ฯลฯ และออกกำลังเป็นประจำ ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://www.joinstick.net/
เคล็ดลับการทำข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์
  ทันตแพทย์สม สุจีรา  www.Tutorsom.com บทความก่อนหน้านี้  วิเคราะห์คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์  http://www.unigang.com/Article/8411 แนวข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์ http://www.unigang.com/Article/8083 เรียนแพทย์ดีอย่างไรตอนที่ 2 http://unigang.com/Article/7807 เรียนแพทย์ดีอย่างไรตอนที่ 1 http://www.unigang.com/Article/7771           มีข่าวออกมาว่า ข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์ในปีนี้จะมีการเปลี่ยนแนวไปจากเดิม  ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า ข้อสอบจะเป็นอย่างไร เพราะถูกเก็บไว้เป็นความลับสุดยอด          จากสถิติปีก่อนๆ คะแนนสอบเข้าแพทย์เฉือนกันที่ทศนิยม  หลายๆคนแพ้เพียงนิดเดียว ก็สอบไม่ติดแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก เพราะหมายถึงวิถีชีวิตทั้งชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล คะแนนของวิชาเฉพาะแพทย์จึงสำคัญ เพราะมีค่าน้ำหนักถึง 30ใน 100คะแนนของการสอบเข้า  ดังนั้นไม่ว่าออกสอบจะออกอย่างไร  น้องควรมีเทคนิคการทำข้อสอบวิชานี้ไว้ให้อุ่นใจ         คำว่า DOCTOR  สื่อให้เห็นคุณสมบัติของแพทย์ 6ประการตามตัวอักษรคือ  D=Decision การตัดสินใจ                 O=Optimism มองโลกในแง่ดี  C=Care ดูแล เสียสละ   T=Teacher สอนเป็น    O=Observation ช่างสังเกต                    R=Responsibility มีความรับผิดชอบ   ไม่ว่าข้อสอบจะเป็นแบบใด  จะต้องมีการทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ของนักเรียน        คำตอบในวิชาเฉพาะแพทย์ ไม่เฉพาะเจาะจงเหมือนคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์  ฟิสิกส์ หรือ เคมี  แต่จะมีเพียงตัวเลือกเดียวที่คะแนนสูงที่สุด  น้องต้องเลือกตัวเลือกนั้น โดยวิเคราะห์ตามคุณสมบัติ 6ประการ  เช่น คำถามที่ว่า “ท่านคิดอย่างไรกับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค”  ก.เป็นผลงานรัฐบาลเก่า ไม่ควรสนับสนุน  ข.เป็นโครงการที่หมอทำงานหนักขึ้น    ค. เป็นโครงการที่หลักการดี    ง.ไม่ควรทำเพราะซ้ำซ้อนกับระบบประกันสังคม  จ.เป็นโครงการที่ทำให้หมอลาออกจำนวนมาก   โจทย์ข้อนี้ต้องการวัด Optimismดังนั้นถ้านักเรียนตอบข้อ ก. ข. หรือ จ. แสดงให้เห็นถึงการมองโลกในแง่ร้าย จะไม่ได้คะแนน         อีกตัวอย่าง  นางกุ้งกลับจากสัมมนาพร้อมนางก้อย  ปรากฏว่าระหว่างทางนางก้อยขับรถชนคนแก่ โดยที่ไม่มีใครเห็น แล้วจะหนี  ถ้าคุณเป็นนางกุ้งจะทำอย่างไร  ก. แจ้งความแล้วบอกว่าเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด   ข. บอกให้ก้อยมอบตัว   ค.โทรบอกแม่ก้อย แล้วให้แม่ตัดสินใจ         ง. ขอลงจากรถไปช่วยคนแก่ก่อน   จ.เก็บไว้เป็นความลับ รู้กันแค่สองคน ข้อนี้ต้องตอบข้อ ง.  เป็นการวัดคุณสมบัติ CARE           ส่วนคำถามที่วัดความรับผิดชอบ ต้องระวังอยู่อย่างหนึ่ง คือ ความรับผิดชอบของแพทย์ไม่ได้ครอบจักรวาล  ดังนั้นใครที่คิดว่าตอบแบบพระเวสสันดร จะได้คะแนนสูง เป็นความเข้าใจที่ผิด  เช่น โจทย์ถามว่า เมื่อมีวัยรุ่นท้องนอกสมรสมาขอทำแท้งกับท่าน  ท่านควรทำเช่นไร    ก.นัดพ่อแม่ของเด็กมาคุยเพื่อช่วยกันวิเคราะห์หาทางออก   ข.เรียกแฟนของวัยรุ่นคนนั้นมาแล้วโน้มน้าวให้แสดงความรับผิดชอบ   ค.บอกเด็กว่าอย่าทำแท้ง หมอจะช่วยดูแลและหาสถานรับเลี้ยงเด็กให้   ง.ไม่ทำแท้งให้ และส่งให้ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ดูแลต่อ   จ. แนะนำให้ไปสถานที่คุมกำเนิดของเอกชนแทน   คำตอบ ข้อ ก. ข. และ ค. อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของหมอ ดังนั้น ข้อที่เหมาะสมที่สุดคือ ข้อ ง.  ซึ่งหลายคนอาจตอบข้อ ก. ข. หรือ ค.  แต่ความจริงแล้วข้อเหล่านั้นคะแนนไม่สูง  ( วิธีการให้คะแนนของวิชาเฉพาะแพทย์ก็ถูกเก็บเป็นความลับเช่นกัน แต่เข้าใจว่า ตอบได้เพียงข้อละตัวเลือก แต่ละตัวเลือกจะมีคะแนนต่างๆกันไป รวมทั้งมีคะแนนติดลบด้วย)            ข้อสอบปีที่ผ่านมา ออกแบบวัด Decision และ Observation  โดยให้กรณีตัวอย่างมายาวมากประมาณเกือบหนึ่งหน้ากระดาษ แล้วให้วิเคราะห์สถานการณ์นั้น   ส่วนคุณสมบัติด้าน  Teacher  มักจะออกในรูปของการวิเคราะห์ทัก๋ษะทำงานกลุ่ม  การเป็นผู้นำกลุ่ม  เพราะแพทย์ต้องทำงานเป็นทีม และต้องสอนบุคลากรที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา            คำถามที่วัด การมองโลกในแง่ดี  จะรวมไปถึงการควบคุมอารมณ์ด้วย   แพทย์ที่มองโลกในแง่ดีจะไม่มีอารมณ์ ดังนั้น คำตอบที่แสดงออกถึงความมีอารมณ์จะไม่ใช่คำตอบที่ถูก เช่น   ประโยคใดน่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้ฟังมากที่สุด  ก.มัวโอ้เอ้ เดี๋ยวก็ตกรถกันหมดหรอก    ข.เร็วๆหน่อยสิทำอะไรช้าจัง    ค.ใครๆเขารออยู่ รู้ไหม   ง.ช้านัก เดี๋ยวปล่อยให้อยู่ที่นี่ซะเลย  จ. เร็วเข้าเถอะ เดี๋ยวไม่ทันรถออก   คำตอบที่ไม่มีอารมณ์คือข้อ จ.              มีคุณสมบัติของแพทย์อีกมากมาย ที่สามารถนำมาออกเป็นข้อสอบได้ ไม่ใช่เฉพาะตัวย่อจาก DOCTOR  ซึ่งถ้าน้องๆมีคุณสมบัติตรงตามที่ กสพท.ต้องการ  ก็จะได้คะแนน  ข้อสอบวิชานี้ถูกจัดทำขึ้นตามหลักจิตวิทยาชั้นสูงโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  ดังนั้น อย่าคิดว่าจะหลอกข้อสอบได้  ในทางกลับกันต้องระวังถูกข้อสอบหลอกถาม  แต่อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นโชคดีของนักเรียนรุ่นปัจจุบัน ที่มีวิชาเฉพาะแพทย์  เพราะทำให้นักเรียนที่เรียนเก่งไม่มาก สามารถสอบเข้าแพทย์ได้ง่ายขึ้น นั่นเพราะความเป็นคนดีสำคัญกว่าความเป็นคนเก่ง  แพทย์ที่ดีแต่ไม่เก่ง จะสามารถพัฒนาตนเองจนกลายเป็นคนเก่งได้ในอนาคต  แต่แพทย์ที่เป็นคนเก่งแต่ไม่ดี  โอกาสที่จะพัฒนาจิตใจให้กลายเป็นคนดี จะยากกว่ามาก   
สื่อจีนแก้ข่าวหนูน้อยถูกรถทับยังไม่เสียชีวิต
เอเยนซี - สื่อจีนแก้ข่าว หนูน้อยถูกรถทับยังไม่เสียชีวิต ขณะที่คนขับรถถูกจับแล้ว โดยอ้างคำกล่าวของมารดา และคำยืนยันจากแพทย์ ว่าหนูน้อย ยังคงมีโอกาสรอดชีวิตแต่เสียงที่จะเป็นเจ้าหญิงนิทรา ด้านผู้เชี่ยวชาญฯ วิเคราะห์ผลสะท้อนปัญหาความยุ่งยากที่เกิดกับพลเมืองดีเมื่อยื่นมือเข้าช่วยเหลือ                 หลังจากที่สื่อจีนหลายสำนักได้รายงานข่าว หนูน้อยถูกรถทับ ไร้คนสนใจช่วยเหลือ และเสียชีวิตไปแล้วนั้น ล่าสุด (18 ต.ค.) สื่อจีนฯ ได้ออกมาแก้ข่าวว่า เด็กหญิงเย่ว์เย่ว์ยังคงมีชีวิตอยู่ โดยอ้างคำกล่าวของมารดาของ เย่ว์เย่ว์ ด้วยตนเองในเว็บไซต์ Sina Weibo ว่า อาการของเย่ว์เย่ว์ยังคงทรงอยู่ แต่ไม่สามารถหายใจด้วยตนเอง และแพทย์กล่าวว่า เย่ว์เย่ว์ยังคงมีความหวังในการประคองชีวิตและลมหายใจจากเครื่องช่วยฯ แต่เสี่ยงที่กลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา                สื่อจีนได้รายงานแก้ข่าวการเสียชีวิตของหนูน้อยเย่ว์เย่ว์นี้ เมื่อเช้าวันที่ 18 ต.ค. อีกทั้งรายงานคำพูดของบิดาของเย่ว์เย่ว์ ว่า "ตอนนี้ ผมไม่คิดถึงเรื่องอะไรแล้ว แค่หวังให้ลูกลืมตาขึ้นมาได้อีกครั้งก็พอ เย่ว์เย่ว์ เป็นเด็กน่ารัก เวลาเธอดื้อจนแม่ร้องไห้ เธอก็จะเข้ามาปลอบแม่บอกแม่อย่าร้อง เธอมักทำให้เรามีความสุขตลอดเวลา"                ด้านชายคนขับรถคันแรกที่ชน เย่ว์เย่ว์นั้น ได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไว้แล้ว สื่อจีนรายงานอ้างคำกล่าวของคนขับรถว่า ในตอนแรกนั้นเขาไม่ทันเห็นเด็กหญิงเพราะกำลังโทรศัพท์ทะเลาะกับแฟนสาวของตน โดยเขาได้ขอชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง                "ผมโทรศัพท์อยู่ และไม่ทันเห็นเด็ก ผมไม่ได้ตั้งใจ" เขากล่าว "ตอนที่ชนผมยังคิดจะลงไปดู แต่พอเห็นเลือดออกมากเลยกลัวความผิดจึงขับหนี และวางแผนว่าจะหลบไปที่ซินเจียง" ชายคนขับรถคันแรก กล่าวภายหลังการเปลี่ยนใจยอมเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ฯ                "ในตอนนั้น ความคิดผมคือถ้าเด็กเสียชีวิต ผมอาจจะเสียเงินชดเชยเพียง 20,000 หยวน แต่ถ้าเธอบาดเจ็บ ผมอาจต้องชดใช้เงินมากหลายแสนหยวน" เขากล่าว                ทั้งนี้ ประชาชนจีนจำนวนมากยังคงติดตามข่าวฯ และภาวนาให้อาการของเย่ว์เย่ว์ ฟื้นดีขึ้น อีกทั้งส่งกำลังใจให้กับครอบครัวของเย่ว์เย่ว์ตลอดเวลา                ไชน่าเดลี่ รายงานว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับ หนูน้อยเย่ว์เย่ว์ นี้ เป็นข่าวใหญ่ที่สาธารณชนสลดใจมาก โดยชาวเน็ตฯ ต่างประณามความอำมหิต ขณะที่หลายคน ให้ความเห็นเกี่ยวกับความไร้หัวใจของมนุษย์ผู้ที่เดินผ่านไปมา ทำไม่รู้ไม่เห็นครั้งนี้ โดยอ้างกรณีของนายสู่ ยุ่นเหอ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือหญิงชราผู้หนึ่ง แต่กลับถูกศาลสั่งให้ชดใช้เงินมากกว่า 100,000 หยวน                นอกจากนี้ เมื่อเดือนกันยายน กระทรวงสาธารณสุขจีน ยังได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในที่สาธารณะว่า "พึงพิจารณาให้รอบคอบ ระมัดระวัง หากเข้าไปช่วยเหลือผู้สูงอายุเมื่อหกล้มลง และต้องทำด้วยความระมัดระวัง"                รายงานข่าวกล่าวว่า เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีคนขับรถบัสในเฉิงตู ได้ขับรถไปส่งหญิงชราคนหนึ่งที่โดยสารมาในรถ ซึ่งหมดสติไปเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก โดยต้องขับไปส่งพร้อมกับพยานบนรถที่เป็นผู้โดยสารอีก 4 คน เพื่อยืนยันว่าจะไม่ถูกฟ้องร้องจนเขาต้องเดือดร้อนในอนาคต                ถัน ฟาง ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย เซาท์ไชน่า ในกวางโจว กล่าวว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้ก่อตั้งมูลนิธิให้ความช่วยเหลือพลเมืองดีที่ถูกฟ้องร้องฯ จากการเข้าไปช่วยเหลือผู้สูงอายุฯ   http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132587
พนังดินกั้นน้ำคลองรพีพัฒน์พังยาว 7 เมตร
(แฟ้มภาพข่าว) ล่าสุดรายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.10 น. คันกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์ บริเวณคลอง 5 ได้พังลงมาอีก แนวยาวกว่า 40 เมตร ขณะนี้เร่งอพยพประชาชนที่อยู่ในชุมชน หมู่ 16 ต.คลอง5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ออกจากพื้นที่ก่อน ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ประมาณ 700 กว่าคน ทั้งนี้ มีรายงานว่า หมู่บ้านเคหะระพีพัฒน์ 1 น้ำเริ่มท่วมแล้ว เส้นทางน้ำดังกล่าวจะไปสมทบกับน้ำบริเวณคลอง 4 ที่คันดินพังก่อนหน้านี้ ทำให้ขณะนี้มีมวลน้ำจากทั้งคลอง3 คลอง4 และ คลอง5 ไหลรวมกันไปยังคลองรังสิตประยูรศักดิ์ สถานการณ์น้ำท่วม (18 ต.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อประมาณ 14.45 น. พนังดินกั้นน้ำบริเวณคลองรพีพัฒน์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้พังลงเป็นแนวยาวกว่า 7 เมตร เป็นเหตุให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมเคหะชุมชนรพีพัฒน์ 1 และบ้านเรือนที่อยู่ระหว่างคลอง 3 และคลอง 4 ตอนนี้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ออกมาช่วยกันสกัดกั้นน้ำและขอให้เ้จ้าหน้าเข้ามาช่วยเหลือด่วน  เพราะปริมาณน้ำได้เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีความแีรง  ล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ชาวบ้านเตรียมพร้อมในการอพยพออกจากบ้านที่แล้ว   http://news.sanook.com/1064346/แนวคันดินคลองรพีพัฒน์พังยาว-7-เมตร/  คลิปวิดีโอพนังดินกั้นน้ำบริเวณคลองรพีพัฒน์แตก 
ด่วน อ.ปากเกร็ดประกาศให้ 3ตำบล อพยพหนีน้ำ
  (แฟ้มภาพข่าว) (18 ต.ค.) นายวิสิทธิ์ พวงเพชร นายอำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดนนทบุรีว่า ได้ประกาศให้ชาวบ้านในอำเภอปากเกร็ด 3 ตำบล คือ ตำบลคลองพระอุดม ตำบลบางตะไนย์ และตำบลคลองข่อย ขนย้ายทรัพย์สินอพยพออกจากบ้านเรือนเป็นการด่วน หลังระดับน้ำที่ท่วมอยู่มีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีน้ำจากจ.ปทุมธานี ไหลอ้อมผ่านมาทางพื้นที่อ.บางบัวทอง และเข้าสู่เขตอ.ปากเกร็ด ทำให้แนวคันดินกั้นน้ำที่ทางอำเภอนำไปสร้างกั้นน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ พังทลายหลายจุด ทำให้เกิดน้ำท่วมสูงตามถนน และบ้านเรือนของประชาชนทั้ง 3 ตำบล ทั้งนี้ ทางอำเภอปากเกร็ด ต้องขอกำลังเจ้าหน้าที่ทหารนำเรือ และอุปกรณ์เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูง และต้องการอพยพออกจากที่อยู่อาศัยตลอดทั้งวัน ซึ่งระดับน้ำในวันนี้มีความสูงถึง 3 .8 เมตร ทางอำเภอจึงต้องประกาศให้ชาวบ้านอพยพหนีน้ำออกมาเพื่อความปลอดภัยทันที โดยได้เตรียมสถานรองรับให้กับประชาชนที่อพยพไว้แล้วด้วยกัน 2 จุด คือที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี และที่โรงเรียนปากเกร็ด ขณะเดียวกันทาง อบต.บางพลับ ก็กำลังเร่งเสริมแนวกันน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับน้ำที่กำลังสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้เหลือเพียงตำบลบางพลับเพียงตำบลเดียวที่ยังสามารถกันน้ำเอาไว้ได้ http://news.sanook.com/
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ
 ความเป็นมา              เราเคยหัดทำเว็บแบบง่ายๆเพื่อเขียนบทความภาษาอังกฤษให้คนอ่านเล่น แต่ทำๆไปแล้วต้องลบทิ้งหมดเนื่องจากเราทำงานแปลเอกสารซึ่งรับเงินค่าแปลตามจำนวนหน้าที่ทำได้ ถ้ามัวแต่ไปทำเว็บและเขียนบทความคงทำให้รายได้จากการแปลลดลงไปมาก               แต่พอมาถึงวันนี้ อะไรๆก็เปลี่ยนไปมาก จากการที่เราต้องนั่งจมอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันเพื่อแปลงานยากๆเรากลับแปลมันได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า (เนื่องจากประสบการณ์ที่สะสมมา) และเหลือเวลาว่างพอที่จะเขียนบทความได้ใหม่ แล้วอีกอย่างหนึ่งเราคิดว่าอยากทบทวนภาษาอังกฤษของตัวเองด้วย คือถึงจะทำงานแปลอยู่ทุกวันแต่บางทีเรื่องหลักการใช้ภาษาบางอย่างเราก็ยังลืมๆไปบ้าง ถ้าใครอยากเรียนรู้หรือทบทวนภาษาอังกฤษใหม่จะเข้ามาเรียนพร้อมกับเราในที่นี้ก็ได้…. หมายเหตุ: ต้องขอออกตัวก่อนนะว่า เราเขียนบทความพวกนี้ในฐานะผู้เรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเองนะ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา … ถ้าใครถามเรื่องอะไรแล้วเราตอบได้ก็จะตอบให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ยากๆมากๆเราอาจตอบไม่ได้ก็ได้ ถ้าเจอแบบนี้เราจะไปนิมนต์บรรดาสมรรคพรรคพวกมาช่วยตอบให้…..55555…… บทความ1: การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษวันละหลายๆคำไม่ได้ช่วยให้ท่านใช้หรือเข้าใจภาษาอังกฤษได้ถูกต้องเสมอไป            นี่คือตัวอย่างการใช้คำว่า account เพื่อเป็นการสาธิตว่า แท้จริงแล้วในการเรียนรู้ศัพท์แต่ละตัวนั้น ท่านจะต้องเรียนรู้ด้วยว่าจะนำศัพท์ตัวนั้นไปสร้างประโยคได้อย่างไร มิฉะนั้นแล้วท่านอาจนำคำศัพท์นั้นไปใช้อย่างผิดๆ เมื่อพูดถึงคำว่า account หลายๆคนคงร้องอ๋อว่า “หมู” สุดๆเลย มันแปลว่า “บัญชี” แต่แท้จริงแล้วคำว่า account เมื่อรวมกับคำอื่น เป็น phrase แล้วคงได้ประมาณ 50-60 phrases หรือมากกว่านั้น และมีความหมายแตกต่างกันไปเรื่อย ๆ ถ้าพลิกแพลงรูปแบบประโยคไปมาก ๆ อาจได้หลายร้อยหลายพันรูปแบบ… ซึ่งตัวเราเองก็จำไม่หวัดไม่ไหว….แฮ่ ๆๆๆ ลองเอาเท่าที่นึกออกตอนนี้นะ He put/turned his hacking skills to good account by becoming a system security manager = เขานำทักษะในการเจาะทะลวงระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ได้ โดยการทำงานเป็นผู้จัดการด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ Can you account for the error? = คุณอธิบายได้ไหมในเรื่องความผิดพลาด? The terrorists accounted for 5 planes. = ผู้ก่อการร้ายทำลายเครื่องบินไป 5 ลำ US market accounts for 25% of our company’s export. = ตลาดสหรัฐนับเป็นจำนวน 25 % ของปริมาณการส่งออกของบริษัทของเรา His wife wants him to account for every penny he spends. ภรรยาของเขาต้องการให้เขาแสดงหลักฐานว่าใช้เงินไปอย่างไรทุกบาททุกสตางค์ คำแนะนำ: ควรสรรหา dictionaries ชนิดแปลอังกฤษเป็นอังกฤษ ที่มีตัวอย่างประโยคให้ (เช่น Oxford Advanced Learner’s Dictionary หรือ Longman Dictionary of Contemporaty English) เพื่อจะได้เรียนรู้การใช้งานคำศัพท์ได้อย่างถูกต้อง ……          พอพูดอย่างนี้แล้ว คงมีคนชูมือขึ้น (ชูกันสลอนแน่ๆ…555….) แล้วบอกว่า “ไปซื้อมาแล้วจ้า แต่พอเปิดหาศัพท์เจอแล้วอ่านคำอธิบายไม่รู้เรื่องจนมึนหัวตึ๊บเลยล่ะ จะทำไงดีอ่ะ….!!!” …..          อ้าปัญหาทุกอย่างมันต้องมีวิธีแก้……เอาไว้คราวหน้าจะบอกให้ว่าจะแก้อย่างไร ตอนนี้ทิ้งไว้เป็นการบ้านให้คุณลองนั่งบริกรรมดูว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร บทความ2: Written Skills (ทักษะในการเขียน)              นักศึกษาหลายๆคนคงโดนอาจารย์ให้เขียน thesis หรือ dissertation เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเกิดอาการมืดแปดด้าน (อาจจะ 64 ด้านด้วยซ้ำไป) คือเขียนออกมาได้แต่มันไม่เป็นภาษาคน อาจารย์ก็บอกว่าเอากลับไปแก้ไข บอกได้แต่ว่าต้องแก้ไขเนื้อหาอย่างไร แต่บอกไม่ได้ ว่าต้องแก้ไขข้อผิดพลาดทางด้านการใช้ภาษาอย่างไร …..!!!!??????………..เพราะถ้าบอกเรื่องหลังนี้นะ (ยิ่งบอกทุกจุดด้วย) กว่าจะบอกได้หมดทุกจุดที่เป็นข้อผิดพลาดนะ ก็สิ้นสุดปีสุดท้ายของหลักสูตรที่เรียนแล้ว ….555…..งานนี้คนเรียนก้อบ้าตายสิ…..             ลองนั่งบริกรรมดูสิว่าจะแก้ไขอย่างไร…..??? ที่พูดเนี่ยหมายถึงลองวางแผนสิว่าจะเรียนอย่างไร เพราะที่เคยเรียนมา “มันไม่ได้ผล” แทนที่จะได้แต่ดั้นด้นเสาะหาสถานที่เรียนภาษาอังกฤษใหม่ไปเรื่อยโดยไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือไม่ได้ผล …….ลองคิดดูเป็นการบ้านนะ แล้วคราวหน้าจะมาบอกเคล็ดลับให้……… บทความ3:ทักษะในการฟัง             หลายคนเรียนภาษาอังกฤษจนอ่านหนังสือได้เข้าใจในระดับหนึ่ง แต่พอพูดกับฝรั่งเจ้าของภาษา ฟังเขาพูดไม่รู้เรื่องเพราะฝรั่งพูดเร็วเหลือเกิน ….เลยมีคนช่างคิดบอกว่า สงสัยเป็นเพราะเคยแต่เรียนกับครูไทย ก้อเลยไม่ชินสำเนียงที่ถูกต้อง ต้องจ้างฝรั่งมาสอนจึงจะได้ผล…..              ถามว่าจ้างฝรั่งมาสอนแล้วจะฟังรู้เรื่องหมดหรือไม่….??? คำตอบก็คือ เราจะบอกใบ้ให้ว่ามีคำตอบทั้ง yes กับ no……. โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ปัจจัยหลายๆอย่างเหล่านั้นคืออะไร …??? …..ลองเอาไปบริกรรมดูเป็นการบ้าน……             อ้าวแล้วกัน เขียนบทความสั้นๆมา 3 เรื่องแล้ว มีแต่หยิบยกปัญหาขึ้นมา แต่ไม่เห็นเฉลยเลย…..เอมันยังไงกันนิหว่า….??? …..ใจเย็นๆเรื่องพวกนี้มันต้องค่อยๆเฉลยที่ละนิดทีละนิด….ไม่ใช่อมภูมิหรือทำให้คนอ่านกระวนกระวายใจเล่นนะ แต่เป็นเพราะปัญหาบางอย่างมันค่อนข้างซับซ้อน แต่ถ้าอยู่ดีๆเขียนอะไรออกมาเป็นตุเป็นตะเรื่องหลักการหรือวิธีปฏิบัติโดยไม่ให้คนอ่านนั่งคิดดูบ้างก่อนลงมืออ่านหรือปฏิบัติต่อไป…. คนอ่านก็อาจจะหลับคาเครื่องคอมพิวเตอร์ครอกๆไปซะก่อนก้อได้…….555….             ตกลงในบทความ 3 เรื่องนี้ ได้หยิบยกปัญหาขึ้นมาแล้ว 3 อย่างนะ และจะค่อยๆแวะมาเขียนบอกให้นะว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ….เพราะบางปัญหามันไม่ใช่ที่จะแก้ได้ง่ายๆ …….ยกตัวอย่างเช่นเรื่องการเขียน พอพวกเราคนไทยหลังจากเรียนภาษาอังกฤษได้หลายปี ขนาดบางคนเรียนจบมหาลัยจากต่างประเทศด้วย พอเขียนภาษาอังกฤษไปฝรั่งอ่านดูแล้วจับผิดแก้มาได้ตั้งหลายแห่ง พอคนไทยถามกันเองว่า ทำไงจึงจะเขียนให้ดีขึ้น ก็มีคนอุตส่าห์คิดตอบมาได้แบบกำปั้นทุบดินว่า “ต้องอ่านเยอะๆสิ เพราะจะได้จำสิ่งที่อ่านเจอไปเขียน” ……              แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงมันก็มีคนที่อ่านหนังสือหลายประเภทมา 10 กว่าปี อ่านรู้เรื่องดีแต่พอจะเขียนเองกลับเขียนไม่ได้ แต่คนบางคนอ่านหนังสือหลายประเภทมาแค่ 4-5 ปีกลับเขียนได้ดีกว่า …..ตกลงแล้วเป็นเพราะอะไร…..????              เอาไว้จะแวะเข้ามาตอบเป็นเรื่องๆ (ถามเองตอบเองแปลกดีแฮะ…???) แล้วก็จะมาถามปัญหาเรื่องอื่นๆให้คิดกันเล่นๆ….เนื่องจากเวลาตัวเองเรียนภาษาอังกฤษเองก็เคยเจอปัญหาร้อยแปดพันประเภทที่นั่งกุมขมับอยู่นาน ก็เลยจะค่อยๆเล่าประสบการณ์ตนเองให้คนอื่นฟังบ้าง ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย จากที่ทิ้งท้ายไว้ให้คิดในแต่ละตอน บทความ1: การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษวันละหลายๆคำไม่ได้ช่วยให้ท่านใช้หรือเข้าใจภาษาอังกฤษได้ถูกต้องเสมอไป             คือสาธิตไปแล้วว่าคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำนั้น มีรูปแบบการใช้งานเฉพาะตัวของมัน นั่นก็คือพอใช้รวมกับกลุ่มคำหนึ่งก็มีความหมายหนึ่ง พอใช้รวมกับกลุ่มคำอื่นก็เปลี่ยนความหมายไป การรวมกลุ่มกันแล้วแปลได้ใจความตามธรรมชาติของภาษาอังกฤษ เราเรียกว่า collocation ยกตัวอย่าง collocations ของคำว่า raise raise your hand ยกมือคุณขึ้น raise crops ปลูกพืช raise pigs เลี้ยงหมู raise an issue หยิบยกประเด็นขึ้นมา pay raise การเขึ้นเงินค่าจ้าง…. นี่เป็นภาษามะกัน ภาษาอังกฤษเขาใช้ pay rise          ตกลงการที่คุณจะใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาตินั้น คุณจะต้องจำ collcations เหล่านี้          แต่ในขณะที่เขียนบทความนี้ (ปี 2004) เท่าที่รู้ ยังไม่มี dictionary อังกฤษเป็นไทยเล่มไหนที่ให้ตัวอย่างการใช้คำศัพท์ในประโยคได้ดีพอ และยังไม่มีตัวอย่าง collocations ให้          นั่นก็หมายความว่าผู้เรียนจะต้องหาตัวอย่างประโยคโดยการพึ่งพา dictionaries แปลอังกฤษเป็นอังกฤษ ที่มีตัวอย่างประโยคให้ดังเช่นที่ยกตัวอย่างให้ไปแล้ว  ….แต่ที่นี้ปัญหาที่ตามมาก็คือ ผู้เรียนบางท่านยังไม่เก่งภาษาอังกฤษพอที่จะอ่านและทำความเข้าใจคำอธิบายใน dictionaries ฝรั่งได้….ดังนั้นทางแก้…the hard way หรือวิธีการที่ยากๆ ก็คือเปิดดิกอังกฤษเป็นไทยเพื่อทำความเข้าใจความหมายพื้นฐานของศัพท์ตัวนั้นก่อนแล้วจึงออกแรงหารูปแบบการใช้งานใน dictionaries แปลอังกฤษเป็นอังกฤษอีกรอบหนึ่ง….โหฟังแล้วใจแป้วเลยใช่มะล่ะ …???…..แล้วอีกกี่ชาติล่ะจึงจะใช้ดิกแปลอังกฤษเป็นอังกฤษได้คล่องล่ะ …….เอื๊อกกลืนน้ำลายลุ้นหลายรอบแล้วนะ…….????!!!….เอาล่ะน่าใจเย็นๆถึงเปิดดิกทั้งอังกฤษเป็นไทย และเปิดดิกอังกฤษเป็นอังกฤษ ถ้าเล่นดิกที่เป็น software นะ คงออกแรงน้อยกว่าดิกที่เป็นหนังสือเล่มโตๆน่ะ …..เพราะแค่ key เข้าไป หรือ (ดิกบางเล่มที่เก่งๆนะ) แค่เอา mouse ชี้มันก้อบอกความหมายของคำแล้วน่ะ ….อย่าเพิ่งท้อใจนะ …..          เอาหละถามเองตอบเอง ที่นี้เลยเข้าเรื่องประเด็นที่จะสรุปบทความ1แล้วนะ ……….คำตอบที่ตรงประเด็นที่สุด ที่จะช่วย “กำหนดเป้าหมาย” ในการเรียนรู้คำศัพท์ของคุณเพื่อนำไปสร้างประโยคในการพูดและการเขียนในระดับพื้นฐานได้นั้น ….แท้จริงแล้วไม่ต้องเหนื่อยแรงถึงขนาดต้องรออีก 10 ชาติเกิดข้างหน้ายามบ่ายๆหรือตะวันรอนๆหรอก…..แต่คำศัพท์เหล่านั้นมีแค่เฉียดๆ 2,000 คำเอง …….คำศัพท์เหล่านี้ lexicographer (คนเขียนดิกชันนารี) เรียกมันว่า defining vocabulary (คำศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายความหมาย)…..ตกลงถ้าคุณอยากเห็นโฉมหน้า defining vocabulary นะก็ให้ดูที่ท้ายเล่มของ Oxford Advanced Learner’s Dictionary เอาไว้ว่างๆจะเอาไอ้คำศัพท์เฉียดๆ 2,000 คำที่ว่านี้มาแปะไว้บนเว็บเราให้พวกคุณได้ยลโฉมมัน แต่ตอนนี้ถ้าใครใจร้อนก้อไปซื้อ Oxford Advanced Learner’s Dictionary มาเปิดดูไปพลางๆก่อน …..หรือถ้าอยากเสียเงินน้อยหน่อยก็ซื้อหนังสือพิมพ์ Student Weekly มาลองบริกรรมดูจะเห็นได้ว่าเขาใช้ศัพท์ไม่เกิน 2,000 คำที่ว่านี้ หรือไปซื้อข้อสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาลัยมาดู เขาก้อใช้ศัพท์ไม่เกิน 2,000 คำที่ว่านี้ ………..          เอาเป็นว่าถ้าใครได้จดจำ defining vocabulary 2,000 คำที่ว่านี้ได้ในสมองแล้วละก้อ ….(มันเป็นภาษาอังกฤษแค่ระดับ ม.6ของไทยเอง) คนผู้นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ดิกแปลอังกฤษเป็นไทยอีกต่อไปในการทำความเข้าใจภาษาอังกฤษยากๆที่กำลังอ่านอยู่……เพียงแค่ติดตั้ง dictionary อังกฤษเป็นอังกฤษที่เป็น software ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน เวลาอ่านหนังสืออะไรก้ออ่านหน้าคอมพิวเตอร์แล้วติดศัพท์ก้อ key เข้าไปหรือในกรณีที่อ่านข้อความที่เป็น text หรือบนเว็บ (software บางตัว) แค่เอา mouse ชี้นะคุณก็เห็นคำอธิบายศัพท์แล้วนะ ……..         คำถามถัดไปก็คือว่า …..แล้วการเรียน defining vocabulary ทั้ง 2,000 คำเนี่ย ต้องใช้เวลาเรียนเท่าไหร่….??? คำตอบก็คือ ถ้าคุณมีพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษในระดับ ม.6 นะ แล้วเป็น ม.6 โรงเรียนฝรั่งนะ ถ้าอาจารย์สอนเก่งๆนะ ติวเข้มดีๆ 3 เดือนก้อคงได้หมด (ติวไม่เป็นนักเรียนนั่งหาวหลับหมดนะ….555….แล้วถ้าติวไม่เป็นนะ 5 ปีก้อสอนได้ไม่หมด….!!!) แต่ถ้าเป็น ม.6 โรงเรียนไทยทั่วๆไปใน กทม นะ ถ้าอาจารย์เก่งๆคงสอนได้หมดไม่เกินหนึ่งปี ถ้าใครขยันจะเรียนเองโดยการซื้อ Student Weekly มาอ่านพร้อมกับเปิดดิกอังกฤษเป็นไทยกับดิกอังกฤษเป็นอังกฤษควบคู่กันไปแบบที่ว่านี้นะ ก็น่าจะเรียนได้ภายในเวลาหนึ่งปีนะ ….ถ้าไม่หลับคาหนังสือเสียก่อน …..??? …..แต่ถ้าเป็นความรู้ระดับ ม.6 จากโรงเรียนในต่างจังหวัดที่ห่างไกลความเจริญนะ ….อันนี้คำนวณเวลาได้ยากแฮะ….????        ไอ้ที่ว่าถ้าอาจารย์คนไหนสอนไม่เป็นนะ สอนเด็ก ม. 6 ห้าปีก้อสอนไม่หมด ไอ้ definging vocabulary 2,000 คำเนี่ย ….จาบอกให้…….เลยจะจบบทความ 1 เอาไว้แค่นี้ ……..แต่จะกลับมาเขียนเรื่องวิธีการเรียนการสอนไอ้ defining vocabulary 2,000 คำเนี่ย จะทำไงโดยใช้เวลาน้อยที่สุด ……คือวิธีแรกที่ตัวเองใช้ก็คือ ทำหน้าให้มันตลกเอาไว้ก่อน พอนักเรียนเห็นหน้าเราเข้า พวกเขาก้อขำกลิ้งไปแล้ว (ช่วยให้ไม่หลับคาโต๊ะเรียน) หลังจากนั้นก็ถ่ายทอด “เคล็ดลับให้” …..เอาไว้สักพักหนึ่งจะกลับมาถ่ายทอดเคล็ดลับในการจดจำ defining vocabulary 2,000 คำเนี่ย ในเวลาอันสั้นที่สุด……เอาเป็นว่าคราวหน้าจะกระโดดข้ามไปเขียนเรื่องวิธีการเรียนฟังฝรั่งพูดเร็วๆให้ทันหรือวิธีวางแผนการเรียนรู้ทักษะในการเขียน…….โหหัวข้อเรื่องหนักๆทั้งน้านเลย……แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวจะค่อยๆดั้นด้นหาทางร่ายออกมาทีละท่าเพลงให้เหมือนกระแสน้ำ…..แต่ต้องใช้สมาธิมากหน่อย…..        อ้าวฝอยมาซะยืดยาวลืมอธิบายให้ละเอียดว่า defining vocabulary (คำศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายความหมาย) จริงๆแล้วคืออะไร….        จริงๆแล้วมันคือคำศัพท์ที่ดิกฝรั่งแปลอังกฤษเป็นอังกฤษส่วนใหญ่ใช้ในการเขียนคำอธิบายศัพท์ทุกตัวที่มีอยู่ในดิกแต่ละเล่ม….ซึ่งเขาจะใช้คำศัพท์ง่ายๆอธิบาย มิเช่นนั้นแล้วยิ่งอธิบายไปคนเปิดดิกก็ยิ่งมึนหัวตึ๊บเลย…        คือสรุปแล้วหลักสูตรไทยน่ะ เขาก้อวางโครงสร้างไว้ดีแล้วนะ คือนักเรียน ม.6 น่ะควรเรียนรู้ defining vocabulary ไปให้ครบ 2,000 คำแล้วก่อนที่จะกระโดนข้ามรุ่นไปชกรุ่นใหญ่ๆ……… ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย จากที่ทิ้งท้ายไว้ให้คิดในแต่ละตอน บทความ 2: เรื่องการเรียนการสอนทักษะการฟัง        คนไทยพูดกันบ่อยว่า จะเรียนภาษาอังกฤษให้พูดฟังได้ดีต้องเรียนกับฝรั่งเจ้าของภาษา จริงหรือไม่…??? คำตอบก็คือมีทั้ง yes กับ no….อ้าวทำไมตอบแบบนั้นล่ะ….???        คำตอบนี้ได้จากการวิเคราะห์การเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ …….สิ่งที่ผู้เรียนชาวไทยมักจะประสบก็คือตอนเรียนใน classroom น่ะพูดกับอาจารย์รู้เรื่อง แต่พอออกไปสู่โลกภายนอก มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือฟังฝรั่งคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง        ลองให้นักเรียนสมมุติว่าตัวเองเป็นอาจารย์ฝรั่งสิ…..เหมือนๆกับการพิสูจน์ทฤษฏีเรขาคณิตน่ะ นั่นก็คือจะพิสูจน์ว่าอะไรเป็นจริงก็ลองสมมุติว่ามันเป็นจริงก่อนแล้วจะมีข้อเท็จจริงอะไรตามมาบ้าง ……สมมุติว่าตอนนี้พวกเราเป็นอาจารย์ฝรั่งนะ เดินเข้ามาใน classroom แล้ว say hello กับนักเรียนแล้วพูดคุยเรื่องอื่นๆ สิ่งแรกที่เจอแน่ๆก็คือ นักเรียนฟังไม่ทันแล้วนักเรียนพูดว่า ‘Pardon?’ หรือ ‘Can you speak slowly, please?’ อาจารย์ก็ต้องเกาหัวแกร๊กๆทุกครั้งที่ได้ยินคำเหล่านี้จากศานุศิษย์…ก็ต้องพูดให้ช้าลง เพื่อให้อาจารย์ happy และนักเรียน happy ด้วย….แต่ในชีวิตจริงแล้วเวลาฝรั่งกับฝรั่งคุยกันใน pub หรือไปบรรยายเรื่องอะไรน่ะ ไม่มีฝรั่งที่ไหนพูดกันเองช้าๆหรอก……เลยตกลงก็เป็นอันว่าการเรียนการสอนแบบพูดช้าๆกันนี้นะ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังที่ “ต่ำกว่ามาตรฐาน”…….แล้วจะแก้ยังไงล่ะ……แล้วจะให้พูดเร็วแค่ไหนล่ะ…..???         การที่จะตอบคำถามนั้นได้ เราต้องวิเคราะห์ให้ลึกว่า เวลาพูดเร็วกับพูดช้าน่ะ มันต่างกันอย่างไร ……ลองยกตัวอย่างภาษาไทยซิ หากใครพูดว่า “เร็วซิ” แล้วอยู่ดีๆเกิดอาการ “ขี้เกียจ” คือไม่อยากออกเสียงชัดถ้อยชัดคำขึ้นมา เขาเลยพูดว่า “เร็ววิ่” ทีนี้ละได้เรื่องเลย …..พูดกับเพื่อนน่ะไม่เป็นไรนะ แต่ไปพูดออกทีวี เดี๋ยวมีแล้วพวกอ้างตัวเป็นนักอนุรักษ์ภาษาไทยมาถล่มเอา …หาว่าออกเสียงไม่ชัดถ้อยชัดคำบ้าง ทำลายภาษาไทยบ้าง ……เรื่องนี้มันก็แปลก ….ทำลายหรือไม่ทำลายภาษาไทย ไม่ขอแสดงความคิดเห็น ทีนี้เรามาดูภาษาอังกฤษบ้าง เอาคำง่ายๆ เช่น ‘do it’ พูดช้าๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า strong form) ก็เป็น ‘ดู อิท’ แต่พอพูดเร็วๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า weak form) ก็กลายเป็น ‘ดูหวิท’ ’see it’ พูดช้าๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า strong form) ก็เป็น ‘ซี อิท’ แต่พอพูดเร็วๆ (ในวิชา Phonetics เขาเรียกว่า weak form) ก็กลายเป็น ‘ซีหยิท’        อ้าคุณพอจะมองเห็นได้ลางๆหรือยังว่าฉันเจาะลึกมาในแนวไหน……ลองคิดดูสิว่าถ้าฝรั่งพูดประโยคยาวๆมีคำสิบกว่าคำหรือมากกว่านั้นนะ ไม่ link กันนัวเนียหรือ….???        บางทีนะ link ของอังกฤษกับอเมริกันก็ไม่เหมือนกันด้วย อย่างเช่น        paper bag คนอังกฤษไม่ออกเสียงตัว r ที่อยู่ท้ายคำ ไม่ให้มัน link กับคำว่า bag (เพราะ bag ขึ้นต้นด้วย b ที่เป็นพยัญชนะ) ก็จะออกเสียงเป็น ‘เพเพอะแบก’ ไปเลย ในขณะที่คนเอมริกันต้องใส่เสียตัว r ยาวแน่ๆเลย คงเป็น ‘เพเพอรรรรรรรรแบก’ เขียนเทียบเสียง (transliteration) แบบนี้น่ะ ฉันไม่เก่งหรอก ต้องไปอ่านที่คุณบ๊อบ บุญหด (เดลินิวส์) เขาเขียน รู้สึกเขาสรรหาวิธีเขียนจนเขียนเสียงสูงเสียงต่ำ (intonation) ของฝรั่งด้วยอักษรไทยได้เก่งนะ ฉันเขียนที่ไรหลุดทุกที (แต่พูดได้) ……        กรณีของ paper bag ให้สังเกตที่ตรงอักษรแรกของคำที่ตามมา (คำว่า bag) มันเป็นพยัญชนะ ….ดังนั้นคนอังกฤษจะไม่ออกเสียงตัว r ที่อยู่ท้ายคำแรก …..แต่สำหรับพวกมะกันแล้ว ไม่ต้องพูดถึงหรอก พวกเขาไปที่ไหนก็จะออกเสียงตัว r ทุกแห่งอย่างชัดถ้อยชัดคำ ‘จนสั่นรัวไปหมด’….เลยบางทีนะ แค่คุณเรียนวิธีออกเสียงตัว r ให้ชัดๆนะ คุณก็พูดเป็นสำเนียงอเมริกันไปเกือบครึ่งหนึ่งซะแล้ว…..คล้ายๆกับที่คนอังกฤษล้อคนเอมริกันว่า ได้ยินเสียงตัว r ก้องกังวาลมาแต่ไกล…เลยรู้ว่าเป็นอเมริกันน่ะ ….!!!       ทีนี้ลองมาดู paper industry กันบ้าง ให้สังเกตดูว่า อักษรแรกของตัวที่ตามมาเป็นสระ คนอังกฤษจะใส่ link ทันทีเวลาพูด …..มันก็จะกลายเป็น ‘เพเพอะรินเดิสตริ’ ….แล้วพี่มะกันหรือ….??? ไม่ต้องพูดถึงหรอกในเมื่อพี่แกออกเสียงตัว r อยู่แล้วเขาต้องใส่ link แน่ๆเลย link จนตัว r รัวกล้ำกับสระ i นัวเนียไปเลย …..       แล้วอันนี้นะ …เหตุเกิดขึ้นจริงๆใน classroom ตอนเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนฝรั่งกับฝรั่งนะ….เราเรียนเรียงความกัน เด็กฝรั่งคนหนึ่งเขียนเรียงความมาว่า ‘I could of done it.’ ครูก็บอกว่า ‘ไม่มีนะ ภาษาอังกฤษแบบเนี้ย….!!!’ ……..ไอ้เด็กมันก้อเถียงว่า ‘ไม่มีได้ไงกัน ก้อพูดกันอยู่ทุกวันนี่’……เด็กอื่นเขาเลยฮากันครึนทั้งห้อง…. ในที่สุดพวกเรา (ทั้งชั้นเรียน) ก้อต้องช่วยกันชี้ทางสว่างให้หมอนั่น โดยบอกว่า ที่แท้จริงแล้วชาวบ้านเขาพูดกันว่า ‘I could have done it.’ แต่พูดเร็วๆ (weak form) เลย could + have = “คูเดิฟ”..หรือ “คูดัฟ”….อะไรทำนองเนี้ย ……แล้ว you จำมาผิดเอง …….หมอนั่นก้อเลยหัวเราะขำตัวเองซะ กลิ้งเลย….แล้วหมอก้อพูดติดตลกบอกว่า ‘โหไม่บอกก็ไม่รู้นะเนี่ย….กว่าจะรู้นะอายุตั้ง 17-18 เข้าไปแล้ว…ฮาๆๆๆๆ…..!!!’       ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างสุดท้ายนะ (จริงๆแล้ว…ตัวอย่างดีๆมีเพียบเลย…แต่จะรวบรัดให้บทความสั้นลง) … there is not any แดร์ อีส นอท (ถ้าอเมริกันพูด ‘นอท’ ก็เป็น ‘นาท’) เอนิ (strong form) there isn’t any แดริสซึ่นเทนิ (weak form) ……..ถ้าใครพูดไม่ดีลิ้นพันกันนะ ….555…หรือถ้าอเมริกันพูดแบบขี้เกียจบางทีกลายเป็น ‘แดเร้นเอนิ’ …ไปซะเลย ยิ่งมันกับมึนไปกันใหญ่….!!!        ในความเป็นจริงแล้วความน่าจะเป็นไปได้ (probability) ในเชิงคณิตศาสตร์ ของการผสมผสานเสียงของพยางค์ที่ link กันแล้วเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นน่ะ มีมากมายพอที่จะทำให้ learners มึนหัวได้ดีพอสมควรเลยหละ…!!! ตกลงไอ้จุดเล็กๆน้อยเหล่านี้น่ะแหละ มันทำให้เราฟังฝรั่งพูดเร็วๆไม่รู้เรื่อง และในเมื่ออาจารย์ฝรั่งก็ขี้เกียจปวดหัว มาพูดซ้ำๆกับนักเรียน เขาก็พูดช้าๆ (strong form) ไปซะเลย จะได้ไม่ต้องเสียประสาททั้งคนสอนและคนเรียน……ผลก็คือนักเรียนไม่สามารถฝึกทักษะการฟังในระดับมาตรฐานได้…..       ตกลงเรามาครึ่งทางแล้วนะเรื่องทักษะการฟังน่ะ …. คือไม่ใช่เพราะอยากจะพล่ามมากแต่มันจำเป็นต้องพูดเรื่อง strong form กับ weak form ให้เข้าใจก่อน จึงจะคุยเรื่องวิธีการแก้ไขปัญหาการฟังไม่รู้เรื่องได้สำเร็จ…เอาเป็นอันว่าคราวหน้าจะบอกวิธีแก้ไขปัญหานี้ในเชิงการเรียนการสอนภาคปฏิบัติให้ ….ว่าจะต้องทำอย่างไร ………       สรุปแล้ว … (ไม่รู้เท็จจริงอย่างไร ไม่กล้าวิจารณ์) ดูเหมือนว่า คนไทยน่ะเขาจะห้ามคนไทยด้วยกัน พูดภาษาไทยด้วย weak form แม้ว่าจะพูดเร็วๆก็ตาม …??? เช่นคุยกันเล่นๆบนเว็บคุณบอก ‘ชอบอ่ะ’ (weak form) คงไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าคุณไปพูดแบบนั้นออกทีวี เดี๋ยวโดนคนไทยด้วยกัน ‘ถล่ม’ แน่ๆ…แต่ในวิชาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชา Phonetics เวลาพูดเร็วๆหลักภาษาอังกฤษเขา ‘บังคับว่า คุณต้องใช้ weak form’ มิฉนั้นแล้วคำพูดจะออกมา ‘ผิดธรรมชาติของภาษา’……อ้าวไปกันคนละโลกเลย….!!!!??? (ต่อ)       ตกลงเป็นอันว่าเราจะมาดูกันว่าจริงๆแล้วการแก้ไขปัญหาผู้เรียนฟังไม่รู้เรื่องควรทำอย่างไร ……..ในตอนที่แล้วเราพูดถึงการออกเสียงภาษาอังกฤษแบบ strong form และ แบบ weak form…นั่นก็เพราะว่ามันคือปัญหาหลัก แต่โดยความเป็นจริงแล้วก็ยังมีปัญหาอื่นๆปลีกย่อยเช่น stress (การเน้นเสียงหนักเบาในแต่ละพยางค์) เช่นเอาอย่างคำง่ายเช่น competition นะ stress ที่ถูกก็น่าจะเป็น “คอมเพอะทิเชิ่น” แต่ถ้าคนไม่รู้อ่านเสียงราบไปเลย อาจกลายเป็น “คอมเพ็ททิชั่น” หรือชื่อผู้หญิง Patricia “เพอะทริเช่อ” ถ้าใส่ stress ผิดจะกลายเป็น “แพ๊ททริเซีย” ไปเลย ….       แต่จริงๆแล้วประเด็นปลีกย่อยเรื่อง stress มีปัญหาน้อยกว่า linking ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในการสอน Listening Comprehension นั้น ผู้สอนควรหาเทปหรือสื่ออย่างอื่นที่มีสำเนียงที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนฟัง แต่เคล็ดลับสุดยอดในการสอนก็คือว่า “ต้องไม่ให้นักเรียนฟังอย่างเดียวโดยไม่มองดูตัวหนังสือของคำที่เทปพูด” ผู้สอนควรหยุดเทปเป็นช่วงๆ และเว้นระยะให้ผู้เรียนพูดตาม (เท่าที่ผู้เรียนฟังทัน) ทำแบบนี้หลายๆรอบ วิธีการเช่นนี้ เราเรียกว่า ‘drill’ ไม่ได้แปลว่า ‘เจาะ’ นะแต่แปลว่า ‘ฝึก’ พอเปิดเทปแล้วหยุดให้นักเรียนพูดตามหลายๆครั้งโดยไม่เห็นตัวหนังสือที่เขียนในบทเรียนนะ      ถ้านักเรียนฟังไม่ทันหรือพูดตามไม่ทันเอามากๆผู้สอนก็ควรเขียนบน white board ประโยคที่นักเรียนฟังไม่ทัน และลากเส้นโค้งเพื่อเชื่อมโยงพยางค์ท้ายของคำแต่ละคำที่ link (เชื่อม) กับพยางค์แรกของคำที่ตามมา โดยแสดงให้ดู links หลายๆชุดในแต่ละประโยค และถ้าทำได้ก็ต้องบอกว่า stress ของคำไหนอยู่ตรงไหนด้วย …ในช่วงนี้ไม่ต้องไปสนใจว่านักเรียนจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจความหมายของคำหรือประโยคใดๆ….แต่เป้าหมายที่สำคัญคือให้นักเรียนฟังทันและพูดตามได้ ถัดจากนั้นผู้สอนก็พูดช้าๆแบบ strong form ให้นักเรียนพูดตาม ในการ drill นี้ ผู้สอนจะต้องค่อยๆเพิ่มความเร็วในการพูดและให้นักเรียนเพิ่มความเร็วในการพูดด้วยเช่นกัน จนในที่สุดผลของการ drill ออกมาเป็นอันว่านักเรียนทุกคนพูดทุกประโยคได้รวดเร็วแบบ weak form เร็วเหมือนกับฝรั่งพูดกับฝรั่งเองใน pub หรือใน presentation ทั้งหลาย…       และเมื่อไปถึงจุดนี้แล้ว แน่นอน…ต้องเอา passage ที่เป็นตัวหนังสือให้นักเรียนอ่าน แล้วผู้สอนก็ต้องเริ่มสอนศัพท์และวิธีการนำคำศัพท์ต่างๆเหล่านั้นไปใช้ในการสร้างประโยคตามวิธีการที่ให้ไว้ใน Article 1 นั่นเอง …….เลยตกลงเป็นอันว่าวิธีการต่างๆเมื่อใช้ผสมผสานกัน มันก็จะกลายเป็นระบบที่ดีทั้งระบบได้ ……..และคุณจะเชื่อหรือไม่ว่า ในขณะที่ drill นั้น จากการที่นักเรียนเงี่ยหูฟังประโยคภาษาอังกฤษและพยายามพูดตามให้ได้นั้น นักเรียนเหล่านั้นได้เรียน grammar ไปแล้วเป็นจำนวนมาก “ด้วยวิธีการธรรมชาติ” ……..       เมื่อเขียนถึงจุดนี้อยากให้ผู้อ่านหลายๆท่านหยุดคิดและตระหนักว่า แท้จริงแล้ว grammar ในภาษาอังกฤษ บางทีเหมือนกับเป็น sense (สัมผัส) ที่ 6, 7, 8, etc. …….มันไม่ใช่เรียนได้โดยการท่องเป็นกฎ แต่บ่อยครั้งกฎหลายๆกฎผู้เรียนรู้เองโดยการที่เคยได้ยินมาต่างหากล่ะ ……แต่ที่พูดมานี้ไม่ใช่ผู้เขียนไม่สนับสนุนให้เรียน grammmar ….เพียงแต่อยากจะบอกว่าส่วนใหญ่ของ grammar ได้จาก “การฟังรู้เรื่อง” เป็นลำดับแรก…..แน่นอนที่ผู้เรียนชาวไทยต้องอ่านหนังสือ grammar บ้างเพื่อรู้กฎเกณฑ์พื้นฐานบางประการ แต่ผู้ที่ฟังแล้วพูดตามได้มาก มักจะได้เปรียบคือลดความจำเป็นในการที่จะต้องอ่านหนังสือ grammar นั่นเอง ……แต่เมื่อเรียนไปในระดับสูงๆ หนังสือ grammar มีไว้ใช้อ้างอิงหรือค้นคว้าบางจุดที่ไม่แน่ใจ (สำหรับคนธรรมดาทั่วๆไป) …….เว้นเสียแต่ว่าใครอยากจะเรียนเพื่อเป็นนักภาษาศาสตร์ก็ค่อยมาเรียน grammar แบบโหดๆ……ซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป…     ไอ้วิธีการสอน Listening Comprehension ที่ว่ามาเนี้ย คนไทยบางคนเรียนภาษาอังกฤษมา 20 กว่าปีแล้วยังไม่เคยเจอใครสอนเลย ก้อสงสัยว่ามาจากไหนกัน….คำตอบก็คือว่าผู้เขียนค้นคว้าทดลองมาเองจากคัมภีร์เอ้ยตำราหลายเล่ม …แต่ถ้าอยู่ดีๆมีคนเอาวิธีนี้ไปสอนแล้วแล้วเขาอ้างว่าเขาใช้วิธีนี้มาก่อนแล้ว นั่นมันก็เรื่องของเขา แต่ถ้าคุณยังไปเดินเสาะหาทั่วประเทศไทยแล้วยังไม่เจอใครสอนวิธีนี้ ฉันก็ไม่อยากบอกว่าถ้างั้นฉันจะสอนคุณเอง เพราะว่าเดี๋ยวจะเป็นการโฆษณาขาย course ภาษาอังกฤษไป ฮาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ สำหรับบทที่ 3 ทักษะในการฟัง เดี๋ยวเราค่อยมาลงเพิ่มให้นะคะ ตอนนี้เรายังหาที่คนเขียนลงไว้ไม่เจ http://blog.charming-land.com/how-to-learn-eng1/
TOEFL Test of English as a Foreign Language
จุดมุ่งหมายของ TOEFL TOEFL เป็นข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ของผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ ในช่วงปี 2001-2002 มีผู้ที่สมัครสอบ TOEFL แบบ CBT จำนวนกว่า 625,000 คนทั่วโลก กล่าวได้ว่า TOEFL เป็นการสอบแบบมาตรฐาน ที่วัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อกับสถาบันการศึกษาในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางของการเรียนการสอน โครงสร้างของข้อสอบ การสอบ TOEFL ในปัจจุบันในประเทศไทย อยู่ในรูปแบบ computer-based test ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ Listening (computer-adaptive format), Structure (computer-adaptive format), Reading และ Writing  ใน 2 ส่วนแรกคือ Listening และ Structure จะเป็นแบบ computer-adaptive ซึ่งหมายถึงผู้สอบจะได้รับคำถาม ตามระดับความสามารถในการทำข้อสอบ สำหรับข้อสอบใน 2 ส่วนนี้ คำถามแรกจะมีระดับความยากง่ายในระดับกลาง ส่วนคำถามต่อไป จะเป็นคำถามที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้สอบและการออกแบบของข้อสอบ การสอบใน 2 ส่วนนี้ ผู้สอบสามารถเปลี่ยน หรือสลับคำตอบได้มากเท่าที่ต้องการ จนเมื่อตัดสินใจและยืนยันในคำตอบแล้ว จึงเลื่อนไปยังคำถามข้อต่อไปได้ แต่เมื่อเลื่อนไปยังคำถามใหม่แล้ว ผู้สอบจะไม่สามารถย้อนกลับมายังคำถามที่ผ่านมาแล้วได้อีก คำตอบสำหรับแต่ละคำถามที่ปรากฏอยู่บนจอ จะช่วยให้บ่งบอกได้ถึงระดับความยากของข้อสอบข้อต่อไปที่ผู้สอบจะได้รับ ผู้สอบต้องตอบคำถามอย่างน้อย 1 ข้อในแต่ละส่วน และต้องทำข้อสอบในส่วน Writing ด้วย จึงจะได้รับผลสอบอย่างเป็นทางการ หากไม่ทำในส่วน Writing จะถือว่าทำข้อสอบไม่สมบูรณ์ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อสอบทั้งหมดไม่ได้รับการให้คะแนน Listening เป็นการวัดความสามารถในการเข้าใจภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ใน North America ผู้สอบจะได้รับหูฟัง (headphones) สำหรับการฟังบทสนทนาและการพูดคุย ในขณะที่กำลังฟังอยู่ รูปภาพของผู้พูดหรือรูปภาพของรายละเอียดอื่นๆ จะปรากฏขึ้นอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ของผู้สอบ ข้อสอบการฟังจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีคำสั่งที่แตกต่างกันไป Structure เป็นการวัดความสามารถในการรับรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่เหมาะสม สำหรับการเขียนภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน และ   การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือ incomplete sentences โดยที่ด้านใต้ของแต่ละ sentence จะมีคำหรือประโยคให้เลือก 4 ข้อ ซึ่งผู้สอบจะต้องเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุด รูปแบบที่ 2 คือคำถามที่มีคำหรือประโยคที่ขีดเส้นใต้ 4 ข้อ ผู้สอบต้องเลือกข้อที่ขีดเส้นใต้ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้ประโยคถูกต้อง Reading เป็นการวัดความสามารถในการอ่าน และการทำความเข้าใจบทความสั้นๆ คำถามในส่วนนี้ ประกอบด้วยบทความให้อ่าน และคำถามเกี่ยวกับบทความนั้นๆ การสอบในส่วนนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลการทำข้อสอบที่ได้ทำผ่านมาแล้ว ดังนั้นผู้สอบจึงสามารถย้อนกลับไปคำถามเดิมที่ผ่านมาแล้วได้ Writing เป็นการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ภายใต้หัวข้อที่กำหนดให้ ผู้สอบจะได้มีโอกาสในการแสดงความสามารถด้านการเขียน ซึ่งรวมถึงการสร้างและรวบรวมความคิด และการอ้างอิงถึงตัวอย่างหรือหลักฐาน และการเรียบเรียงเป็นบทความที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน ในการเขียนบทความ และก่อนที่ผู้สอบจะได้รับทราบเกี่ยวกับหัวข้อของการเขียน จะต้องเลือกก่อนว่าต้องการเขียนบทความบนกระดาษ หรือต้องการพิมพ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ จากนั้น หัวข้อของบทความที่ต้องเขียนก็จะปรากฏขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์ ตารางแสดงจำนวนคำถามและเวลาในการสอบ Test Section จำนวนคำถาม เวลาในการทำข้อสอบ Listening Structure  Reading  Writing 30 – 49 คำถาม 20 – 25 คำถาม  44 – 55 คำถาม  1 หัวข้อ ตามที่โจทย์กำหนด  (เลือกไม่ได้) สนทนาและตอบคำถาม ไม่มีการจับเวลาในช่วงฟังบทสนทนา แต่จะมีการกำหนดเวลาตอนตอบคำถาม  ใช้เวลารวมทั้งหมด 60 นาที  ใช้เวลารวมทั้งหมด 15 – 20 นาที ในการตอบคำถาม  ใช้เวลารวมทั้งหมด 70 – 90 นาที ในการอ่านข้อเขียนและตอบคำถาม  ใช้เวลารวมทั้งหมด 30 นาที ในการเขียนเรียงความ   การสมัครสอบ TOEFL ในประเทศไทย ปัจจุบันการสมัคร TOEFL เพื่อสอบในประเทศไทย สามารถกระทำได้ดังนี้ 1. การสมัครโดบตรงที่ประเทศมาเลเซีย โดยแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ การใช้บัตรเครดิตและโทรสมัคร  สำหรับผู้ที่ต้องการสอบที่ศูนย์สอบภายในประเทศไทย ต้องโทรไปที่ Regional Registration Center – RRC ซึ่งประจำอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย อย่างน้อย 3 วันก่อนวันที่ต้องการจะสอบ นอกจากนี้ ผู้สมัครต้องมีข้อมูลของบัตรเครดิตที่ถูกต้อง ของบัตร VISA, MasterCard หรือ American Express จากนั้นผู้สมัคร จะได้รับหมายเลขยืนยันการสมัคร หรือ Appointment Confirmation Number ซึ่งผู้สมัครควรเตรียมจดบันทึกไว้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้สมัครยังต้องตอบคำถามทั่วไป ซึ่งสามารถดูตัวอย่างคำถามได้จากแบบฟอร์มการสมัครสอบนานาชาติ หรือ International Test Scheduling Form การกรอกแบบฟอร์มการสมัครสอบนานาชาติ (หรือ International Test Scheduling Form)  สำหรับผู้ที่ต้องการสอบในประเทศไทย แต่ไม่ต้องการโทรสมัคร สามารถใช้วิธีการกรอกแบบฟอร์มได้ พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต หรือเอกสารการชำระเงินค่าสอบ แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์หรือส่งโทรสารไปยัง RRC ได้ โดยที่ RRC ต้องได้รับเอกสารครบถ้วนและถูกต้องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนวันที่ต้องการสอบวันแรก แต่ถ้าต้องการส่งโทรสารพร้อมรายละเอียดของบัตรเครดิต ต้องส่งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน การกรอกแบบฟอร์มการสมัครสอบนี้ ผู้สมัครสามารถเลือกวันสอบที่ต้องการได้ 5 วัน และเลือกศูนย์สอบสำรองได้อีก 1 แห่ง อย่างไรก็ดี การพิจารณาจัดวันสอบให้กับผู้สมัคร จะให้ความสำคัญกับศูนย์สอบหลักก่อน และพิจารณาจากวันสอบที่เลือกไว้จากอันดับที่ 1 ถึง 5 ตามลำดับ ในกรณีที่ไม่สามารถสำรองที่ให้กับการสอบในวันใดวันหนึ่ง สำหรับศูนย์สอบหลักได้ จึงจะพิจารณาจากศูนย์สอบสำรองที่ได้เลือกได้ โดยพิจารณาจากวันสอบที่เลือกไว้จากอันดับ 1 ถึง 5 ตามลำดับเช่นกัน เมื่อสามารถสำรองวันสอบและศูนย์สอบให้กับผู้สมัครได้แล้ว ทาง RRC จะจัดส่งหมายเลขยืนยันการสมัคร วันสอบ เวลารายงานตัว ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์สอบและเอกสารส่วนตัวที่ต้องนำติดตัวไปในวันสอบไปให้ยังผู้สมัครทางโทรสาร ไปรษณีย์หรือ e-mail ในกรณีที่ผู้สมัครยังไม่ได้รับหมายเลขยืนยันการสมัคร สามารถโทรไปตรวจสอบกับ RRC ได้ โดยต้องโทรติดต่ออย่างน้อย 3 วันก่อนวันที่ต้องการสอบวันแรก สำหรับประเทศไทย ผู้ที่ต้องการสอบต้องสมัครล่วงหน้าตามกำหนดเวลา ไม่สามารถเดินเข้าไปสมัครสอบ และเข้าสอบในวันนั้นๆ ได้เหมือนในประเทศสหรัฐอเมริกา  การสอบ TOEFL ในประเทศไทยจะต้องสมัครผ่านสำนักงาน RRC สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีศูนย์ประจำอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย   โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Regional Registration Center – RRC  (Region 6) Thomson Prometric PO Box 12964  50794 Kuala Lumpur Malaysia    Courier Address (ที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร)  Prometric, B.V. Branch Office  (Co.No 993721-U) Suite 21A-15-1, Faber Imperial Court,  Jalan Suitan Ismail 50250 Kuala Lumpur, Malaysia  Registration Phone: 60-3-7628-3333  E-mail: searrc@thomson.com  Fax: 60-3-7628-3366 2.  การสมัครสอบผ่านศูนย์ศึกษาต่อ/ศูนย์ภาษา  หากผู้สมัครสอบไม่สะดวกที่จะติดต่อสำนักงาน RRC ด้วยตนเอง  สามารถสมัครผ่านศูนย์ศึกษาต่อ AES (Thailand) และศูนย์ภาษา  ดังนี้   2.1 ศูนย์เมืองทองธานี ที่บริษัท Abroad Education Services (Thailand)                                      โทร. 0 2574 5669, 0 2574 4079  2.2 ศูนย์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริษัท WTC Center                                      โทร. 0 2644 5560 – 1  หมายเหตุ    ค่าสมัครสอบ 140 ดอลลาร์สหรัฐ                    ค่าบริการ 30 ดอลลาร์สหรัฐ การเข้าสอบ  ศูนย์สอบ TOEFL แบบ computer-based test ในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่เพียงที่เดียวคือที่  Institute of International Education - Southeast Asia (IIE) 6th Floor, Maneeya Center North 518/3 Ploenchit Road Pathumwan, Bangkok 10330  Tel: 0-2652-0653-4  โดยมีการจัดสอบตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ ในแต่ละสัปดาห์     หลักฐานที่จะต้องนำไปในวันสอบ  เมื่อผู้สอบเดินทางไปถึงศูนย์สอบ สำหรับการสอบ TOEFL แบบ computer-based test จะต้องแสดงเอกสารต่างๆ ดังนี้  บัตรประจำตัวอย่างเป็นทางการ ที่มีรูปถ่ายของผู้สอบ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบขับขี่   เบอร์ยืนยันการสมัคร ที่ได้รับเมื่อมีการนัดเวลาสอบ  ชื่อสถาบันการศึกษาและคณะที่ต้องการจัดส่งรายงานผลการสอบไปให้ โดยที่ทางศูนย์สอบ จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ code lists ให้เลือก (ถ้ามี)  CBT Voucher (ถ้ามี)  ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ TOEFL สามารถดูได้จาก www.toefl.org  หากต้องการ Information and Registration Bulletin for Computer-based Testing 2005-06  สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.ets.org/toefl หรือจาก ที่นี้  หรือโทรไปสอบถามที่ 02-652-0602-3
IELTS International English Language Testing System
 IELTS คืออะไร IELTS (International English Language Testing System) คือ การวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้สนใจ ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไป ศึกษาต่อ หรือรับการฝึกอบรมใน ต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายถิ่นฐาน ไปยังประเทศออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์   IELTS ทดสอบอะไร IELTS เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน ผู้สอบจะได้รับใบรายงานผลการสอบโดยแยกเป็น แต่ละส่วนทั้ง 4 ทักษะ ลักษณะของคะแนนในการสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ระดับ โดยเริ่มต้นที่ตั้งแต่ระดับที่หนึ่งไปจนถึงระดับที่เก้า ซึ่งสามารถวัดระดับความรู้ความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สอบได้อย่างถูกต้อง เช่น  ระดับที่ 1 ผู้เข้ารับการทดสอบที่ได้คะแนนในระดับนี้จะหมายถึงผู้ที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เลย  ระดับที่ 9 ผู้เข้ารับการทดสอบที่ได้คะแนนในระดับนี้จะหมายถึงผู้ที่่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ  รูปแบบของการทดสอบแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ ในการสอบ IELTS ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ สำหรับผู้ที่ต้องการจะสอบเพื่อนำผลไปสมัครเรียนต่อ และ สำหรับการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสองแบบจะได้รับข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบการฟังและ การพูดฉบับเดียวกัน ส่วนการทดสอบการเขียนและการอ่านจะใช้ข้อสอบคนละแบบ ซึ่งแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ  1. เพื่อการศึกษาต่อ (ACADEMIC modules) เพื่อเป็นการทดสอบความพร้อมในการศึกษาต่อในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี และปริญญาโท  2. เพื่อการฝึกอบรม (GENERAL TRAINING modules) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวัดความพร้อมเพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยม การฝึกอบรมหรือ ทำงานในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อสอบจะใช้วัดความรู้ภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐาน และจะไม่ซับซ้อนเหมือนกับผู้ที่ต้องการวัดระดับความรู้เพื่อศึกษาต่อ และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศนิวซีแลนด์ หรือ ออสเตรเลีย IELTS จัดสอบที่ไหน และ เมื่อไหร่่ กรุงเทพ:  บริติซ เคานซิล กรุงเทพ โทรศัพท์: 66-2652-5480-9 ไอ ดี พี เอดยูเคชั่น ออสเตรเลีย ลิมิเต็ด (ประเทศไทย) โทรศัพท์: 66-2638-3111 สำหรับที่กรุงเทพ IELTS จะดำเนินการจัดสอบที่โรงแรมปทุมวันปรินเซส ชั้นเอ็ม ทั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่าย โดยจะจัดสอบในวันเสาร์ของทุกเดือน ๆ ละ 3 ครั้ง เชียงใหม่:  บริษัท ศูนย์ออสเตรเลีย (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์: 66-5381-0552-3 บริติซ เคานซิล โทรศัพท์: 66-5324-2103 หลักฐานการสมัคร กรอก ใบสมัครการสอบ IELTS ด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letter) รูปถ่ายปัจจุบัน 2 รูป (ขนาด 2 นิ้ว) สำเนาเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้: บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หมายเหตุ สำหรับผู้สมัครที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี              สามารถใช้สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียนแทนสำเนาเอกสารข้างต้นได้ ชำระค่าสมัครสอบที่แผนกลูกค้าสัมพันธ์ หมายเหตุ ผู้สมัครสอบต้องเตรียมเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วนในวันที่ทำการสมัครสอบ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้สมัครสอบ  ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  กรุงเทพ 254 จุฬาลงกรณ์ ซอย 64 สยามสแควร์ ถ. พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ +662 652-5480-9 ต่อ 501 หรือ 502 โทรสาร +662 253-5312 ตั้งแต่เวลา 09:00 – 16:00 ระหว่างวันจันทร์ - วันศุกร์  เชียงใหม่ 198 ถนนบำรุงราษฎร์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ +665 324 2103  โทรสาร +665 324 4781
TOEIC Test of English for International Communication
 TOEIC คืออะไร ?  TOEIC เป็นแบบทดสอบภาษาอังกฤษสมิทธิภาพ (English Proficiency Test) ที่ใช้ทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในการนำความรู้ภาษาอังกฤษมาใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน    English Proficiency Test คืออะไร ?   เป็นแบบทดสอบภาษาอังกฤษสมิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดทักษะความสามารถที่ผู้สอบมีอยู่ และ สามารถนำเอาไปใช้ได้ในขณะนั้น ซึ่งจะแตกต่างจากข้อสอบที่ใช้เมื่อตอนเป็นนักเรียน-นักศึกษา ซึ่งมักจะมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบผู้เรียนว่า ได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด แบบทดสอบลักษณะนี้เรียกว่า Achievement Test ใครเป็นผู้รับรองแบบทดสอบ TOEIC  TOEIC จัดทำขึ้นโดยสถาบัน Educational Testing Service (ETS) ที่เมืองพริ้นส์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่า เป็นองค์กรชั้นนำในด้านกรพัฒนาแบบทดสอบต่าง ๆ เช่น TOEFL, GMAT, GRE, SAT เป็นต้น ใครควรสอบ TOEIC ?  กลุ่มเป้าหมายของ TOEIC ได้แก่ ผู้ที่พ้นวันเรียนหรือกำลังที่จะพ้นวันเรียนและกำลังเตรียมตัวเข้าทำงาน  ทำคะแนน TOEIC เท่าไรถึงจะผ่าน  คะแนนของ TOEIC ไม่มีคะแนนได้ คะแนนตก และคะแนนติดลบ คะแนนแต่ละคะแนนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบ มีเทคนิคในการเตรียมตัวสอบ TOEIC อย่างไร ?  คุณสามารถพัฒนาภาษาอังกฤษโดยการดูโทรทัศน์ หรือ วิดิโอ, อ่านหนังสือ หรือ บทความ ฟังวิทยุ (ทุกอย่างต้องเป็นภาษาอังกฤษ) อย่างสม่ำเสมอ วันละ 10-20 นาที แล้ว เพิ่มเวลาขึ้นเรื่อย ๆ  ฝึกพูดคุยกับเพื่อน ๆ หรือบุคคลที่มีความชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษ ตรงจุดนี้ทำให้คุณคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น  ผู้สอบจะต้องรู้ว่า ต้องพัฒนาทักษะใดเป็นพิเศษ และต้องฝึกฝนพร้อมตั้งวัตถุประสงค์ในการสอบ  What is the difference between TOEIC and TOEFL ?  TOEIC & TOEFL ต่างก็เป็นแบบทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสถาบัน Educational Testing Service (ETS) แบบทดสอบ TOEIC ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของวงการธุรกิจนานาชาติ เพื่อวัดทักษะความสามารถในติดต่อสื่อสารด้านธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก แบบทดสอบ TOEIC เป็นแบบทดสอบมาตรฐานสากล เมื่อปี ค.ศ. 1996 ที่ผ่านมา มีผู้สอบ TOEIC จำนวนกว่า 1 ล้านคน ใน 37 ประเทศทั่วโลก ส่วน TOEFL ถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการของมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา เพื่อทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อ แบบทดสอบ TOEIC และ TOEFL ต่างก็เป็นแบบทดสอบสมิทธิภาพ (Proficiency Test) ที่ใช้ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับรูปแบบลักษณะข้อสอบก็แตกต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้งานและกลุ่มเป้าหมายของข้อสอบแต่ละชุด แบบทดสอบ TOEIC ประกอบด้วยบทความหลากหลายตามที่ได้อาจพบตามโทรสาร, จดหมาย, รายงาน, คำประกาศต่าง ๆ จึงทำให้การพัฒนาแบบทดสอบ TOEIC ในหมวดกาอ่าน (Reading Section) เป็นข้อสอบที่สั้น และรัดกุมในใจความและเนื้อหา Why isn't there correlation between TOEIC and TOEFL scores?  ETS ได้กำหนดขอบเขตแบบทดสอบ หรือ test specifications ของ TOEIC และ TOEFL แตกต่าง เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของแบบทดสอบ นอกจากนี้ ETS ได้ทำการยืนยันความถูกต้องทางสถิติ (Validate) ตามลักษณะและคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายของข้อสอบ TOEIC และ TOEFL จึงทำให้ขอบเขตคะแนนของข้อสอบทั้งสองชุดต่างกัน  TOEIC TOEFL  กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไป ผู้ที่จะสมัครเข้ามหาวิทยาลัย  กำหนดสอบ เมื่อผู้สอบพร้อม ตามตารางที่กำหนด  เหตุผลในการสอบ วัดทักษะ ศึกษาต่อที่ ระดับตรี-โท-เอก  ทักษะที่วัด Listening & Reading Structure - Written Expression & Reading & Listening Comprehension & Writing  คำศัพท์ ในชีวิตประจำวัน ด้านวิชาการ  เนื้อหาบทความ ตามจดหมาย, ประกาศ ด้านวิชาการ  Thailand  Center for Professional Assessment - TOEIC Services Suite 1905-8, Bangkok Business Building (BB Building) 54 Asoke Road, Sukhumvit 21 Bangkok 10110 Thailand Phone: 66/2-2607061, or 260-7189 Fax: 66/2-2607061 Email: toeic@email.ksc.net WWW: http://www.toeic.co.th
CU-TEP
 CU-TEP : แบบทดสอบมาตรฐานของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  3  ทักษะ  คือ ทักษะการฟัง  การอ่าน  และการเขียน  จัดทำขึ้นโดยเทียบเคียงกับข้อสอบ  TOEFL  ซึ่งเป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ  ข้อสอบ  CU-TEP ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ชุดย่อย คือ            Listening ทดสอบทักษะการฟังโดยให้ผู้เข้าสอบฟังเทปที่ใช้เสียงของเจ้าของภาษาและตอบ คำถามวัดความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที            Reading ทดสอบทักษะการอ่านโดยให้ผู้เข้าสอบอ่านเรื่องที่กำหนดให้และตอบคำถามเพื่อวัดความเข้าใจจำนวน 60 ข้อ เวลาสอบ 70 นาที            Writing ทดสอบความรู้ของผู้เข้าสอบโดยให้ผู้เข้าสอบหาจุดบกพร่องของประโยคที่กำหนดให้จำนวน 30 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที   วิธีการสมัคร  การสมัครสอบ CU-TEP สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้              1. สามารถสมัครสอบได้โดยตรงที่ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันและเวลาราชการ                     2. สามารถสมัคร online ผ่านทาง www.atc.chula.ac.th  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  :             ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น  3            อาคารจามจุรี  8 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330            โทร. 0-2218-3704-6             โทรสาร 0-2218-3700 E-mail: cuatc@chula.ac.th : http://www.atc.chula.ac.th
TU-GET
  TU-GET เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้ที่ประสงค์จะทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของผู้สอบ วิธีการสมัคร  (รับสมัครทางไปรษณีย์และด้วยตนเอง)  การซื้อใบสมัคร ทำได้ 3 วิธี ดังนี้            1. ซื้อใบสมัครสอบพร้อมคู่มือสอบด้วยตนเอง ที่สำนักงานเลขานุการสถาบันภาษา ชั้น 1ตึกศูนย์ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)           2. สั่งซื้อใบสมัครทางไปรษณีย์ (ก่อนวันปิดรับสมัครประมาณ 1 สัปดาห์)            3. Download ใบสมัครและบัตรเลขที่นั่งสอบ ซึ่งผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลให้ ครบถ้วน เซ็นชื่อ และติดรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว (ซึ่งถ่ายในครั้งเดียวกัน และไม่เกิน 6 เดือน) ติดลงในใบสมัครและบัตรเลขที่นั่งสอบ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยธนาณัติ 2 ฉบับ ดังนี้                                       ฉบับที่ 1 ฉบับละ 30 บาท เป็นค่าธรรมเนียมใบสมัคร สั่งจ่าย “ไปรษณีย์หน้าพระลาน                     10202” ในนาม “ผศ.ดร. เก็จวลี ปอแก้ว”                    ฉบับที่ 2 ฉบับละ 500 บาท เป็นค่าสมัครสอบ สั่งจ่าย “ไปรษณีย์หน้าพระลาน 10202” ในนาม “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ดูรายละเอียดคู่มือได้ ที่นี่  และส่งเอกสารทั้งหมด (ใบสมัคร, บัตรเลขที่นั่งสอบ, พร้อมธนาณัติ 2 ฉบับ) มาที่                     สถาบันภาษา                     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                     เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์                     แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร                     กรุงเทพฯ 10200 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่  สำนักงานเลขานุการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  โทร. (สายตรง) 0 2613 3103-3 หรือ 0 2221 6111-20 ต่อ 3101 - 4
ผู้ว่าฯ กทม.ประกาศเตือนครั้งแรกพื้นที่ 7 เขต
สถานการณ์น้ำท่วม วันนี้ (19 ต.ค.)  รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 10.45 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ล่าสุด ผู้ว่าฯ กทม. ได้ประกาศเตือนครั้งแรกในพื้นที่ 7เขตเสี่ยงได้แก่ ลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี คลองสามวา คันนายาว สายไหม บางเขน  ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่คันดินกั้นน้ำได้พังที่คลองระพีพัฒน์ เป็นสาเหตุทำให้น้ำลงมามากขึ้นและอาจสูงเกินกว่าคันกั้นน้ำที่มี  อนึ่ง ผู้ว่าฯ กทม. บอกว่า การเตือนครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องอพยพในทันทีเพราะน้ำไม่ได้จะทะลักมาในทีเดียว จะค่อย ๆ มา โดยมีเวลา 24 ชม.ก่อนน้ำจะสูงเกินการป้องกัน  ซึ่ง ทางกทม.จะทำการแจ้งเตือนทุก ๆ 3 ชม.ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ http://news.sanook.com/1064594/ูผู้ว่าฯ-กทม.ประกาศเตือนครั้งแรกพื้นที่-7-เขต/
1 2 3 4 5 6 7 8 9 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา