หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
ค่าเล่าเรียนสูงๆของ 28 มหาลัยอังกฤษ อาจลดลง
สำนักข่าว BBC News ของอังกฤษรายงานว่า มีการพิจารณาที่จะลดค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยในปีการศึกษาหน้าลงเป็นจำนวน 28 มหาวิทยาลัย โดยในตอนนี้มีจำนวนนักเรียนหลายพันคนกำลังเตรียมตัวเพื่อสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยทั้งหลาย โดยในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้มหาวิทยาลัยยังคงมีการตั้งค่าธรรมเนียมการศึกษาไว้ก่อนและในเดือนกรกฎาคมรัฐบาลจะทำการประกาศเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมในภายหลัง  โดยค่าเล่าเรียนของนักเรียนจะมีมูลค่าถึง £9,000 ต่อปี ในปีหน้า แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะทำให้มหาวิทยาลัยบางแห่งต้องปรับค่าธรรมเนียมทางการศึกษาตรงนี้ลดลง ในประเทศอังกฤษค่าเล่าเรียนจะมีอัตราสูงสุดถึง £9,000 ต่อปี ส่วนในเวลส์และสกอตแลนด์จะมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งยังมีไม่ขีดจำกัดสำหรับนักเรียนที่มาจากส่วนอื่นๆของสหราชอาณาจักร โดยมหาวิทยาลัยในสกอตแลนด์นักเรียนชาวสกอตแลนด์เองไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียม ส่วนนักเรียนจากเวลส์จะได้รับการอุดหนุนตามความเหมาะสมสำหรับการเรียนในสกอตแลนด์และในสหราชอาณาจักร                                     สำนักงานยุติธรรมของอังกฤษ หรือ The Office for Fair Access (Offa) ได้ออกมากล่าวว่า มีมหาวิทยาลัยจำนวน 28 แห่ง จากสถาบันการศึกษา 130 แห่ง ที่ตัดสินใจในการลดค่าธรรมเนียมทางการเรียนลงเหลือ £7,500 หรือน้อยกว่าจำนวนเงินดังกล่าว โดยมี 8 ขั้นตอนในการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่หวังจะสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยในปีหน้า โดยที่เขายังคงไม่ได้รับความพอใจจากการเรียกเก็บเงินในอัตราที่ค่อนข้างสูงดังกล่าว นักศึกษาส่วนใหญ่จะสมัครเข้าเรียนในช่วงกลางเดือนมกราคมปีหน้าและจะนำไปใช้กับ Oxford และ Cambridge ซึ่งบางส่วนเช่น โรงเรียนแพทยศาสตร์และสัตวแพทยศาสตร์ ได้มีการนำการปรับฐานค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาใช้แล้ว ในเบื้องต้นสำนักงานยุติธรรมมีการส่งหนังสือสำคัญเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆระบุถึงช่วงเวลาที่พวกเขาจะทำการปรับค่าธรรมเนียมทางการศึกษาของพวกเขาโดยมหาวิทยาลัยต่างๆจะมีเวลาถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน เพื่อปรับปรุงค่าธรรมเนียมดังกล่าวเพื่อยืนยันในสิ้นเดือนพฤศจิกายน                                                       การปรับปรุงนโยบายเรื่องค่าธรรมเนียมทางการศึกษานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในอังกฤษเสนอที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางการศึกษาจำนวน £6,000 สำหรับนักเรียนยากไร้และด้อยโอกาส และในเดือนเมษายนปีหน้าจะมีการการเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายและค่าเล่าเรียนเพิ่มเติม แต่ในเดือนกรกฎาคมปีหน้ารัฐบาลจะทำการส่งหนังสือสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาขั้นสูงที่มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายแก่มหาวิทยาลัยต่างๆต่อไป ซึ่งหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลนั้นเป็นเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของนักเรียนกว่า 20,000 สถาบันต่อการปรับระบบของมหาวิทยาลัยในปีหน้า โดยรัฐบาลกล่าวว่าจะมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมทางการศึกษา เป็นเงินที่น้อยกว่า £7,500 และสามารถเสนอจำนวนค่าธรรมเนียมดังกล่าวต่อสถาบันการศึกษาต่อไปได้ รัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยลดค่าธรรมเนียมทางการศึกษาของพวกเขา โดยมันขึ้นอยู่กับการคำนวณเงินทุนในอนาคตของอุดมศึกษา จากแนวคิดที่ว่ามหาวิทยาลัยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้สูงสุดในกรณีพิเศษที่ £7,500 เท่าันั้น รวมทั้งการยกเว้นค่าเล่าเรียนให้กับนักเรียนที่ยากจน ซึ่งมีอัตราที่ถูกกว่า £8,000 และก็มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าวเป็นจำนวนเงินสูงสุด                                                         Toni Pearce Toni Pearce รองประธานสหภาพแห่งชาติของนักเรียน (National Union of Students) กล่าวว่า "รัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต่อเนื่อง เช่นยังมีเงินทุนการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อตอบสนองนักเรียนที่ขาดแคลน และรัฐมนตรียังมีความล้มเหลวในการประเมินผลอย่างถูกต้อง เพราะมีนักเรียนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนที่มีความวิตกกังวลและความเครียดเรื่องการเรียนต่ออยู่แล้ว"  "โดยนักศึกษากำลังมองหาเงินสนับสนุนซึ่งมีความไม่แน่นอนของพวกเขาในสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีนักศึกษาจำนวนมากที่พบว่าพวกเขาได้ถูกยกเว้นค่าเล่าเรียน"
โรงเรียนเมืองผู้ดี อาจเสี่ยงต่อการลดมาตรฐานทางวิชาการ
สำนักข่าว BBC News ของอังกฤษรายงานถึงสภาพการขาดดุลทางการเงินของโรงเรียนมัธยมในประเทศอังกฤษจากรายงานการตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบแห่งชาติ (National Audit Office) โดย Margaret Hodge ประธานหญิงของคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีสาธารณะ (Commons Public Accounts Committee) มีความกังวลว่า มีโรงเรียนมัธยมมากกว่า 1 ใน 5 ที่ตกอยู่ในสภาวะการขาดดุล รายงานยังพบว่า 40 % ของหน่วยงานท้องถิ่น ขาดทรัพยากรในการจัดการและการตรวจสอบทางการเงินของโรงเรียน และกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่าอัตราการขาดดุลทางการเงินมีเพิ่มขึ้นซึ่งมีผลต่อการลงทุนในบางเรื่องที่เร่งด่วนหรือในเรื่องที่มีความสำคัญ                                                        Margaret Hodge รายงานจากสำนักงานตรวจสอบแห่งชาติ ( the National Audit Office (NAO)) ยังเตือนถึงการขาดการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพจากความพยายามที่จะประหยัดงบประมาณของโรงเรียน ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้มาตรฐานทางวิชาการลดลงได้ โดยรายงานได้เผยว่า ปัญหาทางการเงินอาจมีผลกระทบต่อการประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาจากการหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายของโรงเรียน ซึ่งการลดต้นทุนบางอย่างที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบในคุณภาพของการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้                       หลายโรงเรียนมีการคาดการว่าจะลดค่าใช้จ่ายทางการเงินลงในปีค.ศ. 2014-2015 ซึ่งมีงบประมาณถึง £1bn (หนึ่งล้านปอนด์) ภายในงบประมาณโดยรวมที่จะเพิ่มขึ้นเพียง 0.1 % แต่การตรวจสอบและจ้องจับผิดทางการเงินดังกล่าวส่งผลที่ดีต่อการตรวจสอบทางการเงินของโรงเรียนอันจะทำให้โรงเรียนระมัดระวังค่าใช้จ่ายทางการเงินและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ Amyas Morse ผู้อำนวยการของสำนักงานตรวจสอบแห่งชาติ กล่าวว่า แรงกดดันทางการเงินส่งผลต่อผู้ดูแลโรงเรียนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และมีความจำเป็นที่จะต้องลดค่าใช้จ่ายมากขึ้น และขณะเดียวกันหน่วยงานในท้องถิ่นก็มีขีดจำกัดในการตรวจสอบและการสนับสนุนการจัดการทางการเงินในโรงเรียนภายใต้ความกดดันดังกล่าว                                                               Amyas Morse สื่อมวลชนมองว่า "การจัดการทางการเงินที่อ่อนแอและผลการศึกษาของเด็กที่ตกต่ำมักจะมีความสัมพันธ์กัน" ประธาน Hodge กล่าวว่า "เรามีความกังวลว่าการพิจารณาทางการเงินของโรงเรียนจะมีเบื้องหลังที่ซับซ้อน" แต่โฆษกของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การลงทุนที่สำคัญของโรงเรียน จะมีเพิ่มมากขึ้นถึง £3.6bn (3.6 ล้านปอนด์) ใน 4 ปีข้างหน้า และหน่วยงานท้องถิ่นก็มีความรับผิดชอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแลการจัดการการเงินของโรงเรียน "พวกเขาควรแน่ใจในทรัพยากรที่เพียงพอในโรงเรียน ซึ่งส่งผลต่อความรับผิดชอบของโรงเรียนอย่างถูกต้อง"  
นักเรียนอังกฤษ โดดเรียน มากกว่าพันคน
สำนักข่าว BBC News ของอังกฤษรายงานว่ารัฐบาลของประเทศเปิดเผยรายชื่อจำนวนของนักเรียนมากกว่า 450,000 คน หรือประมาณ 7 % ที่หายไปจากชั้นเรียนของโรงเรียนในรอบปีจากฤดูใบไม้ร่วงปี 2010 ถึง ฤดูใบไม้ผลิในปี 2011  สัญญาณดังกล่าวส่งผลต่อการละเลยต่อหน้าที่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการหายไปจากคาบเรียนถาวรได้ ซึ่งมีตัวเลขถึง 15 % ของสถิตินักเรียนหายไปจากชั้นเรียน และไม่ถึง 20 % ที่ได้คาดการไว้ล่วงหน้า Nick Gibb รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ รายงานถึงตัวเลขที่น่ากังวลของนักเรียนที่หายไปว่ามีค่าเท่ากับการเรียนถึงหนึ่งเดือนของการเรียนในระยะเวลาหนึ่งปี โดยมีตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่หายไปในชั้นเรียนถาวรมีถึง 450,330 คน ในหนึ่งภาคเรียน คิดเป็น 56 % ของการขาดเรียนที่ไม่ได้รับอนุญาตทั้งหมด                                                                                       Nick Gibb โดยสถิติของกระทรวงศึกษาธิการยังได้แสดงให้เห็นถึงจำนวนของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวนมากกว่า 1,025,385 คน หรือประมาณ 16 % ของประชากรนักเรียนทั้งหมดของประเทศ พลาดการเรียนในชั้นเรียนมากกว่าครึ่งหนึ่งของวันที่ทำการเรียนการสอนต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 10 % ของชั้นเรียนที่ต้องเรียน โดยเหตุผลที่ธรรมดามากที่สุดของการหายไปจากชั้นเรียนของนักเรียนคือ การเจ็บป่วย ซึ่งมีตัวเลข 61 % การนัดพบแพทย์และทำทันตกรรม 5.5 % การตกลงวันหยุดพักผ่อนของครอบครัว 6% ของการหยุดที่ไม่ได้รับการอนุมัติซึ่งมีมากกว่า 2.5 % รัฐมนตรียังกล่าวต่อว่า ตัวเลขที่เปิดเผยมานี้มีความกังวลต่อโรงเรียนในอังกฤษ ซึ่งไม่สามารถยอมรับได้ว่ามีตัวเลขนักเรียนถึง 450,000 คน ที่หายไปจากชั้นเรียนเทียบเท่าการเรียนหนึ่งเดือนต่อการเรียนในหนึ่งปี โดยเด็กๆที่ขาดเรียนจะตกอยู่ในความลำบากที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของพวกเขา โดยการวางแผนแก้ไขนั้นอาจจะมีการลดกฏระเบียบและเกณฑ์บางอย่างในการปราบปรามลงก่อนที่จะมีปัญหาทางการศึกษา                                               Charlie Taylor                   Charlie Taylor ที่ปรึกษาทางการศึกษาของรัฐบาล กล่าวว่า มีนักเรียนที่ขาดเรียนในชั้นเรียนมากเกินไป "ฉันรู้ว่าประสบการณ์ในการเคยเป็นครูใหญ่ของฉันเป็นอย่างไรต่อความสนใจในเรื่องดังกล่าว โดยมันอาจกลายเป็นปัญหาถาวรที่เกิดขึ้นในโรงเรียน และนี่คือเหตุผลที่โรงเรียนประถมศึกษาที่มีคุณภาพ ควรใช้ความอดทนให้มากสำหรับการเริ่มต้นชีวิตในโรงเรียนของนักเรียน"   
101 เคล็ด วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านโดยไม่ต้องใช้กระสอบทราย สำหรับชาวกรุงเทพฯ
ช่วงนี้ข่าวน้ำท่วมเป็นที่กังวลของคนกรุงเทพฯ ว่าเราจะกันน้ำท่วมกรุงเทพฯได้ไหม แล้วถ้าท่วมจริงๆ จะท่วมมากไหม น้ำจะสูงกี่เมตร แล้วจะน้ำท่วมนานเท่าไร  หลายคนก็ออกไปซื้ออาหาร น้ำ มาตุนไว้ แต่หลายคนก็ยังไม่อยากเชื่อว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ความไม่ประมาท เป็นหนทางของความอยู่รอด วันนี้ยังไม่สายที่เราจะตื่นตัวและหาทางเตรียมพร้อมและป้องกันภัยจากน้ำท่วม ว่ากันว่า กันไว้ดีกว่าแก้ งานนี้น้ำใจเลยขอนำบทความที่คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ เขียนไว้ให้สำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่เตรียมตัวช้าไปสักนิด ทำให้หากระสอบทรายยากสักหน่อย ถึงแนวทางอื่นที่สามารถใช้กันน้ำเข้าบ้านแทนกระสอบทรายได้ วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน สำหรับชาวกรุงเทพฯ 1. การกันน้ำเข้าบ้าน สำหรับกำแพงโปร่งบางส่วน โดยต้องปิดจากด้านนอกบ้าน ใช้ฟิวเจอร์บอร์ด ตอกด้วยตะปู หรือปิดด้วยเทปกาวหนัง หรือซิลิโคน จากนั้นใช้ถุงดำปิดทับ แต่ต้องปิดเหลื่อมกันประมาณ 20 เซนติเมตร ปิดด้วยเทปกาวหนังอีกครั้ง ด้านล่างต้องปล่อยให้ชายถุงดำ ลาดกองกับพื้นดิน แล้วหาของหนักกดทับ เพราะเมื่อน้ำมาจะเกิดแรงกด ให้ถุงดำแนบกับพื้นและผนัง 2. การกันน้ำเข้าบ้าน สำหรับประตูเข้าออก เริ่มจากใช้ฟิวเจอร์บอร์ด ปิดจากด้านนอกบ้านทับหน้าเสา ด้านหลังถ้ามีช่องว่าง ต้องหาแผ่นหรือกล่องกระดาษห่อด้วยถุงดำ มาเสริมไม่ให้ฟิวเจอร์บอร์ดแอ่น จากนั้นใช้ถุงดำปิดทับฟิวเจอร์บอร์ด ปูชายถุงดำลาดบนพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร ปิดด้วยเทปกาวหนังโดยรอบแล้วหาของหนักกดทับ เมื่อน้ำมาจะเกิดแรงกด ทำให้ถุงดำรีดติดพื้นและเสา 3. การกันน้ำเข้าบ้าน สำหรับประตูใหญ่ ต้องปิดกั้นจากด้านนอกบ้าน ใช้แผ่นเรียบ หนา 6 มิลลิเมตร กว้าง 2.4 เมตร ยาว 1.2 เมตร ประมาณ 2-3แผ่นขึ้นกับความกว้างของประตู จากนั้นวางตั้งพิงประตูหรือหน้าเสาแล้วแต่กรณี หาของหนักมาพิงทับไม่ให้ล้มหรือหาทางมัดติดกับประตู ถ้าไม่มีแผ่นเรียบก็ใช้ฟิวเจอร์บอร์ดแทนได้ แต่อาจจะไม่แข็งแรงเพียงพอ ต่อไปใช้ถุงดำปิดด้านหน้าแผ่นเรียบแล้วใช้ชายลาดกองกับพื้น ประมาณ 30 เซนติเมตร หาวัสดุหนักกดทับไว้ ในกรณีที่ถุงดำขาดแคลนก็ใช้ผ้าใบก่อสร้างแทน แต่ควรรอง2ชั้น 4. การกันน้ำมุดเข้าทางท่อระบายน้ำ เริ่มจาก เตรียมถุงดำสำหรับอุดรูน้ำ ประมาณ 4-5 ถุง จากนั้นนำทราย หรือถ้าไม่มีให้หาดินปนกับหิน หรือของหนักใส่ถุงดำ 3 ชั้น แล้วเติมน้ำเข้าไปเล็กน้อย เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่น มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น แล้วต้องทำหางเชือกฟางให้ยาวเผื่อเวลาดึงขึ้นจากท่อ  ขั้นต่อไปให้เปิดฝาแล้วหย่อนถุงลงไปประมาณ 2 ถุง ตามด้วยหนังสือพิมพ์ตามความเหมาะสม เพื่อให้ยุ่ยปิดการรั่วซึม แล้วหย่อนถุงเพิ่มเข้าไปเพื่อกดทับให้หนัก ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากบล็อก thaiflood.com
ทิปเด็ดเรียนดี
  ทิปเด็ดเรียนดี 1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ. เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกันให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ.เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยมและจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ.ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ. 2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ ครับ เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 – 2 ชม.ก็เกินพอครับ.แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ. 3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ. อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยกครับ. ครั้งละ 25 – 30 นาที และพัก 5- 10 นาที 4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ. สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร 5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ. ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ดีให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ. Credit >>> me-annaza.blogspot.com/
จับตาน้ำมวลใหญ่จ่อกรุงพรุ่งนี้-ครม.จ่อถกวันหยุดยาว
สถานการณ์สายหลักในกรุงเทพฯ ยังมีน้ำท่วมขัง "วิภาวดีรังสิต-พหลโยธิน" น้ำยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ "ถ.สิรินธร-ถ.จรัญสนิทวงศ์" ยังมีน้ำท่วมขัง จับตาพรุ่งนี้ น้ำระลอก 2 จากอยุธยา 4 พันล้านลบ.ม.จ่อเข้าคลองทวีวัฒนา-บางกอกน้อย พร้อมติดตามการประชุมครม.วันนี้เสนอ 28-31 ต.ค.นี้เป็นวันหยุดราชการ                วันนี้(25 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำจากคลองรังสิตที่ไหลทะลักเข้าท่วมถนน 2 สายหลัก ทางหนึ่งท่วม ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า ถึงหน้าท่าอากาศยานดอนเมือง น้ำยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง อีกทางหนึ่งไหลเข้า ถ.พหลโยธิน ถึง ซ.พหลโยธิน 54 น้ำเต็มผิวจราจรทั้งสองฝั่ง และระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ                นอกจากนี้ยังมีอีก 3 จุดสำคัญของกรุงเทพมหานครที่เพิ่งประสบปัญหาเมื่อค่ำวานนี้ คือ เขตบางพลัด มีน้ำท่วมบริเวณ ถ.สิรินธร ขาเข้าและออก ซึ่งรับน้ำมาจาก อ.บางกรวย จ.นนทบุรี รวมถึง ถ.จรัญสนิทวงศ์ ซอย 74 ถึงซอย 80 ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร รวมทั้งพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ น้ำทะลักท่วม ถ.เจริญกรุง ถ.ทรงวาด ส่วนที่เขตทวีวัฒนา โดยเฉพาะคลองทวีวัฒนา ระดับปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะ                ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือน้ำระลอก 2 จาก จ.พระนครศรีอยุธยา โดยในวันพรุ่งนี้ (26 ต.ค.) น้ำปริมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จะเข้ามาทาง จ.นครปฐม นนทบุรี เข้าสู่คลองทวีวัฒนา คลองบางกอกน้อย และคลองบางพลัด                อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ต้องติดตามการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวาระสำคัญคือการประเมินภาพรวมสถานการณ์น้ำท่วมทั้งประเทศ และการกำหนดสินค้าขาดแคลนที่ต้องอยู่ในความควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ การกำหนดแนวทาง แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ                นอกจากนี้ จะมีการเสนอให้วันที่ 28-31 ตุลาคมนี้ เป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากคาดการณ์ว่าสถานการณ์น้ำอาจวิกฤตมากขึ้น รวมทั้งน้ำทะเลหนุนสูง และมวลน้ำจากภาคเหนือจะเข้าสู่กรุงเทพฯ http://www.manager.co.th
สื่อนอกเผยนักลงทุนต่างชาติเริ่มเหลืออดแผนจัดการน้ำท่วมรบ.ไทย
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกโจมตีอย่างหนักจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะเหล่านักธุรกิจต่อแผนรับมืออุทกภัยครั้งเลวร้ายของไทย        ซีเอ็นบีซี - สื่อนอกเผยนักลงทุนต่างชาติในไทยเริ่มอยู่ในอารมณ์ที่เดือดดาลมากขึ้นเรื่อยๆต่อแนวทางจัดการปัญหาอุทกภัยของรัฐบาลไทย หลังน้ำไหลบ่าท่วมเขตอุตสาหกรรมไปแล้วหลายแห่งและก่อความเสียหายอย่างมหาศาล                "พวกเขาพร่ำบอกอยู่นั่นแหละว่าไม่เป็นไร" ฮิโรชิ มินามิ ประธานบริษัท โรห์ม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นซึ่งมีโรงงานอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมนวนครกล่าว หลังจากต้องระงับการผลิตมาเกือบ 1 สัปดาห์และพื้นที่ชั้น 1 ของโรงงานเต็มไปด้วยน้ำ "เราได้นำอุปกรณ์สำคัญๆขึ้นไปไว้ชั้น 3 และคิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่ตอนนี้พวกมันก็เสี่ยงที่จะถูกน้ำซัด เรากำลังดูว่าจะสามารถใช้เฮลิคอปเตอร์ยกมันออกมาได้หรือไม่ หากว่าบางส่วนยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่"                โคเฮอิ ทาคาฮาชิ นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีพีมอร์แกนมองว่าในกรณีที่ดีที่สุดของฮอนด้า คงต้องระงับการผลิตนานถึง 3 เดือนและส่งผลกระทบต่อกำไรจากการดำเนินงานถึง 1.5 หมื่นล้านเยน (ราว 6,000 ล้านบาท) และดูเหมือนว่าปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจะส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคอาเซียน ขณะที่ โตโยต้า อีซูซุ นิสสันและมิตซูบิชิ ก็ล้วนแต่เจอปัญหาไม่ต่างกัน                รัฐบาลซึ่งก้าวสู่อำนาจในเดือนสิงหาคม ล้มเหลวในความพยายามหยุดยั้งกระแสน้ำที่ถาโถมเข้าใส่กรุงเทพฯ และคลองระบายน้ำหลายแห่งเริ่มเอ่อล้น อาสาสมัครตั้งแนวกระสอบทรายไปตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะที่ชาวบ้านทางเหนือของเมืองหลวงแห่งนี้เดินลุยน้ำขนข้าวของไปพื้นที่สูง ส่วนทางด่วนก็ถูกเปลี่ยนเป็นที่จอดรถหนีน้ำ                เขตอุตสาหกรรม 7 แห่งต้องอพยพ ก่อความยุ่งเหยิงแก่ห่วงโซ่อุปทานในอุตสากรรมต่างๆทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้หลายบริษัทบอกว่าแม้กระทั่งกลับเข้าไปยังโรงงานก็ยังทำไม่ได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะประมาณการณ์ความเสียหายและค่าบริหารจัดการต่างๆ                นายเซยะ สุเกกาวะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) บอกว่า "ญี่ปุ่นคือนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของไทย พวกเขาคือกลุ่มนายจ้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ พวกเขามีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและจะมีผลกระทบใหญ่หลวงหากพวกเขารู้สึกว่าประเทศไทยไม่เหมาะทำธุรกิจอีกต่อไป หากรัฐบาลไม่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ เหล่าเอสเอ็มอีจำนวนมากอาจต้องพังทลาย"                "พวกเราใช้การอะไรไม่ได้มาสักพักหนึ่งแล้ว แค่จะเข้าไปตรวจโรงงาน เรายังทำไม่ได้เลย" ยาสุนาริ คูวาโน ผู้จัดการทั่วไทยของบริษัทมินีแบไทย ผู้ผลิตบอลแบร์ริงรายใหญ่ ป้อนบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้และโทรศัพท์มือถือหลายแห่งกล่าว ขณะที่เหล่าผู้บริหารบอกว่าในทุกวันที่ต้องระงับการผลิตนั่นหมายถึงโอกาสสูญเสียลูกค้าให้แก่คู่แข่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรงอย่างเช่นพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า http://www.manager.co.th
ศปภ.งัดไม้เด็ด สั่งระเบิดทางรถไฟ ชะลอน้ำทะลักเข้า กทม
น้ำทะลักกรุง ศปภ.หวั่นกระแสน้ำทำประตูน้ำจุฬาลงกรณ์พัง ตัดสินใจระเบิดใต้ทางรถไฟ เพื่อชะลอน้ำ พร้อมกับเปิดทางน้ำคลองหกวา และเร่งเสริมกำแพงเพิ่มให้สูง 6 เมตร รวมถึงเปิดทางรอบตอหม้อรถไฟ เพื่อผันนำออก 7 คลองตะวันตกเจ้าพระยา                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ล่าสุดหลังจากที่น้ำได้เข้าสู่พื้นที่ กทม. ทำให้บางเขตได้รับผลกระทบ จนกระทั่ง กทม.ได้มีการเตือนประชาชนให้อพยพ 6 เขต กทม.ซึ่งถือเป็นพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด เมื่อคืนวันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า คืนวันที่ 23 ต.ค.ทาง ศปภ.ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำที่มาจากนวนคร จังหวัดปทุมธานี ซึ่งพบว่า กระแสน้ำมีความแรงมาก โดยเกรงว่าจะส่งผลให้ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์พัง จึงได้มีการะดมเจ้าหน้าที่ทำการระเบิดทางใต้รางรถไฟเพื่อลดความแรงของน้ำดังกล่าว รวมทั้งเป็นการชะลอที่จะทะลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ                นอกจากนี้ยังได้มีการระเบิดทางรถไฟฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณคลองหกวา และเพื่อเป็นการป้องกันน้ำที่จะไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยให้เจ้าหน้าที่เสริมแนวคันกันน้ำตามพระราชดำริตลอดแนวจากเดิมที่สูง 4 เมตรเป็น 6 เมตร ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 วันจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ยังจำเป็นที่จะต้องซ่อมพนังกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์ในทุกจุดที่ชำรุด โดยชะลอการไหลของน้ำ                นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวที่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้มีการเปิดทางรอบตอม่อของทางรถไฟสายใต้ เพื่อเป็นการขยายเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกขึ้น ซึ่งเดิมที มีการเสนอให้มีการระเบิดตอม่อ ขณะที่วิศวกรเห็นว่าไม่จำเป็น ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้น้ำไหลผ่านออกทั้ง 7 คลองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้ายา เช่น คลองมหาสวัสดิ์ ทวีวัฒนา ภาษีเจริญ สนามชัย และมหาชัยได้ง่าย ซึ่งบริเวณดังกล่าวพบว่า ตอม่อขวางทางน้ำและยังมีผักตบเป็นจำนวนมากกีดขวางทางน้ำ http://www.manager.co.th
บัญชีดำสินค้ายังชีพ 9 รายการ ปู ไฟเขียวนำเข้าสินค้าเร่งด่วน
“พาณิชย์” เสนอสินค้ายังชีพ 9 รายการ เรือ-ทราย-ชูชีพ-บู๊ท-อาหารกระป๋อง-น้ำดื่ม เข้าบัญชีสินค้าควบคุม หวังใช้มาตรการ กม. ปราบกลุ่มฉวยโอกาสขึ้นราคา “ปู” ไฟเขียวเปิดช่องทางพิเศษนำเข้าสินค้าด่วน เพื่อป้อนตลาดภายใน 7 วัน                นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมนำสินค้าจำเป็นต่อการยังชีพในช่วงอุทกภัยเข้าสู่บัญชีสินค้าควบคุม โดยกระทรวงพาณิชย์จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 ตุลาคม 2554 (วันนี้) ได้แก่ เรือ อาหารกระป๋อง น้ำดื่ม ทรายบรรจุถุง ถุงบรรจุทราย ยาแก้โรคน้ำ กัดเท้า เสื้อชูชีพ และร้องเท้าบู๊ท เป็นต้น การขึ้นบัญชีสินค้าควบคุมดังกล่าวจะทำให้ผู้ค้าหมดโอกาสกักตุนและโก่งราคา หากพบผู้กระทำผิดจะสามารถดำเนินคดีขั้นสูงสุดได้ทันที                “ส่วนอาหารสดจำพวกโปรตีน พบว่ามีปัญหาฟาร์มไก่เนื้อและไก่ไข่ถูกน้ำท่วมเป็นจำนวนมากทำให้ไข่ไก่หายไปจากระบบเฉลี่ยวันละ 1 ล้านฟอง ขณะที่การบริโภคปกติอยู่ที่เฉลี่ยวันละ 25-26 ล้านฟอง ซึ่งจะแก้ปัญหาโดยการเปิดนำเข้าแม่พันธุ์ไก่เสรีโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อเร่งการผลิตให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว สำหรับเนื้อหมูไม่มีปัญหาขาดแคลน เนื่องจากผู้เลี้ยงเร่งเชือดเร็วขึ้น เพื่อหนีน้ำท่วมทำให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค”                นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยขณะนี้ทำให้มีปัญหาสินค้าขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมผง ปลากระป๋อง และผ้าอนามัย                ดังนั้น รัฐบาลจึงตัดสินใจเปิดช่องทางพิเศษสำหรับนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจจะเป็นมาเลเซีย ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมผง ปลากระป๋อง และผ้าอนามัย โดยการประชุมร่วมกับภาคเอกชน เมื่อวานนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพในการบูรณาการลดขั้นตอนนำเข้า กระทรวงพาณิชย์จะเป็นศูนย์กลางเปิดช่องทางพิเศษ (Fast track) เพื่อให้สามารถนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายภายในประเทศได้ภายใน 1 สัปดาห์                ส่วนปริมาณการนำเข้าทางภาคเอกชนผู้ค้าส่งและค้าปลีกจะเป็นผู้พิจารณาตามความต้องการของผู้บริโภค ขณะนี้ทุกฝ่ายยังรอการประเมินจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่าสินค้าหายไปจากระบบปริมาณเท่าใด                “การประชุมร่วมกับผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการคลัง ประชุมร่วมกันวันนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการนำเข้าสินค้าแบบเร่งด่วน (Fast track) ที่ไม่สามารถผลิตได้ขณะนี้ หรือผลิตได้น้อยลงและไม่เพียงพอกับความต้องการ พร้อมหาข้อสรุปผู้ที่จะนำเข้าสินค้า”                โดยกำหนดลดขั้นตอนการขออนุญาตคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และการกำหนดอัตราภาษีที่เหมาะสม ส่วนวิธีการนำเข้าจะหารือในที่ประชุมอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายการและจำนวนสินค้าที่จะนำเข้า ต้องให้ห้างโมเดิร์นเทรดเป็นผู้กำหนด เพราะประชาชนส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากช่องทางนี้ซึ่งห้างกำลังประสบปัญหาไม่มีสินค้ารายการจำเป็น จำหน่ายหลังจากที่โรงงานหยุดการผลิต จากปัญหาน้ำท่วม                รายงานเพิ่มเติมระบุว่า แหล่งที่จะนำเข้าสินค้าหลักคาดจะเป็นประเทศมาเลเซีย เนื่องจากมีอัตราภาษีสินค้าเกือบทุกรายการเป็น 0% แล้วตามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ทำให้ไม่เป็นปัญหาในเรื่องของอัตราภาษี แต่กระทรวงการคลังอาจต้องลดขั้นตอนเอกสารการนำเข้า เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว โดยสินค้าที่คาดว่าจะขอนำเข้าได้แก่ อาหาร กระป๋อง ผ้าอนามัย โดยขั้นตอนนำเข้าจะใช้เวลาภายใน 1 สัปดาห์ แต่ขอให้การพิจารณาของ 3 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีผลในทางปฏิบัติ ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเสนอขออนุมัติอีก                ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังจะเร่งเปิดคลังสินค้าพิเศษชั่วคราวเพิ่มในทุกภาค เช่น ที่ขอนแก่น นครราชสีมา และพิษณุโลก ในลักษณะเดียวกับที่เปิดคลังสินค้าพิเศษที่ดอนเมือง เพื่อจะกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขอร้องประชาชนไม่ให้กักตุนสินค้า เพราะจะยิ่งทำให้มีปัญหาหนักขึ้น และจะไม่สามารถคลี่คลายได้ http://www.manager.co.th/
สำนักระบายน้ำ กทม.เปิดเว็บเช็กสดๆ ระดับน้ำในคลอง-ถนนทั่วกรุง
       สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับบริษัท AMR Asia เปิดเว็บไซต์ให้ประชาชนทั่วไปตรวจสอบระดับน้ำในคลอง และระดับน้ำบนถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร แบบสดๆ ทันสถานการณ์ โดย “ระดับน้ำในคลอง” ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/Canal 'ระดับน้ำบนถนน' ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/Floodmon  
ศปภ.โง่-อวดดียิ่งอยู่ยิ่งเน่า ปล่อยเหลือบสูบของบริจาค
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ทำงานมาได้สองสัปดาห์กว่า คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความเชื่อมั่นและมองว่าทำงานไม่เอาอ่าว                ศึกรับมืออุทกภัยก็หนักหนาสาหัสแล้ว ตอนนี้ ศปภ.ยังมาเจอกับข่าวเชิงลบอย่างต่อเนื่อง                น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ยกระดับการทำงานแก้ปัญหาอุทกภัยของรัฐบาลให้มีอำนาจเต็มมือผ่านการใช้มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถ้ามองข้ามปัญหาการทำงานของ ศปภ.ที่เละเทะเลอะเทอะสุดๆ เชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างแน่นอน และทุกข์ก็จะตกอยู่กับประชาชนคนไทยทั้งหมด                กลุ่มองค์กรภายนอกจากภาคประชาสังคม ที่เข้าไปช่วยรัฐบาลรับมือปัญหาน้ำท่วมที่ศูนย์ ศปภ.ดอนเมือง หลายกลุ่มออกมาเปิดเผยแล้วว่า มี “การเมือง” อยู่ใน ศปภ.อย่างที่ไม่สมควรเกิดขึ้นในภาวะเช่นนี้                กรณีนักวิชาการ รศ.ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ออกมาเปิดเผยว่าทางศูนย์เดิมจะส่งคนไปช่วยงานที่ ศปภ.แต่ได้รับแจ้งว่า ให้ใส่เสื้อสีแดงเข้ามา จึงต้องเรียกเด็กในศูนย์วิชาการกลับ เพราะรับไม่ได้ที่มีการแบ่งฝ่ายกันในช่วงที่ประเทศกำลังมีวิกฤต                ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น หากเรื่องนี้ไม่จริง ศปภ.ก็ต้องปฏิเสธออกมา                การทำงานของ ศปภ.เริ่มมีปัญหาออกมาให้เห็นเรื่อยๆ อย่างกรณีกลุ่ม thaiflood ที่เป็นกลุ่มองค์กรประชาชนซึ่งไปตั้งทีมเป็นอาสาสมัคร และส่งคนไปช่วยรัฐบาลอยู่ที่ ศปภ.ดอนเมืองตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการเปิดศูนย์                กลุ่มนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญไม่น้อยในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนในเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมแบบเรียลไทม์ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับภัยน้ำท่วมผ่านโลกไซเบอร์ ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่างๆ จากผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ                ปรเมศ มินศิริ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.thaiflood.com ออกมาบอกถึงสาเหตุที่ถอนตัวจากการทำงานร่วมกับศูนย์ ศปภ.ที่ดอนเมือง มีสาเหตุมาจากถูกกีดกั้นด้านข้อมูล และ ศปภ.ไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ถึงขนาดโทรศัพท์มาขอเซ็นเซอร์ข้อมูลก่อนที่จะแถลงข่าว                “ปรเมศ” พูดตรงกับสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นก็คือ ศปภ.มีปัญหาสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการที่ไม่เป็นเอกภาพ ไม่มีการแจ้งข้อมูลต่อประชาขนอย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้กลุ่ม Thaiflood ต้องขอแยกตัวจาก ศปภ.                ที่น่าตกใจก็คือ กรณีที่กลุ่มนี้เปิดเผยออกมาว่า ของบริจาคที่คนส่วนใหญ่บริจาคเมื่อถูกลำเลียงออกไปแจกจ่ายประชาชน พบว่ามีการร้องเรียนมาจากประชาชนว่ามีการเลือกปฏิบัติ เช่นหากหมู่บ้านหรือชุมชนไหนมีการติดธงแดงหรือสัญลักษณ์สีแดงก็จะได้รับการแจกสิ่งของ แต่ชุมนุมไหนไม่ใช่เสื้อแดงก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ และการนำสิ่งของออกไปจากดอนเมืองจะต้องผ่านนักการเมืองในศปภ.ก่อน                ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริง ถือเป็นเรื่องไม่สมควรจะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง มัน “สองมาตรฐาน” หรือเปล่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนักการเมืองเสื้อแดงในศปภ.ต้องตอบด้วย                อีกรายหนึ่ง เมื่อ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา อัฏฐพร ชัยรัตน์ลี้ตระกูล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิต เข้าร้องเรียนต่อสื่อมวลชนที่ปักหลักทำข่าวที่ ศปภ.ดอนเมืองว่า ศปภ.และรัฐบาลไม่นำเสนอข้อเท็จจริงในการป้องกันปัญหาน้ำท่วม พูดไม่พูดเปล่านำคลิปวิดีโอที่บริเวณช่องระบายน้ำประตูดำ เขตดอนเมือง เมื่อเวลา 13.00 น.ของวันที่ 23 ตุลาคมมาแสดงให้สื่อดูเพื่อให้เห็นว่ามีน้ำไหลบ่าจากคลองรังสิตอย่างรุนแรงโดยที่ประตูระบายน้ำเขตดอนเมืองอยู่ในสภาพชำรุดแต่ ศปภ.ไม่แจ้งเตือนเรื่องนี้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวรวมถึงคนกรุงเทพมหานครเตรียมรับมือ                สิ่งที่เกิดขึ้นกับนักวิชาการจากค่ายจุฬาฯ การออกมาเปิดเผยข้อมูลอีกด้านจากอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต และการออกมาบอกความจริงให้สังคมรู้ของกลุ่ม thaiflood บางคนอาจคิดไปว่า มีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า เป็นเรื่องการเมืองกันภายใน ศปภ.หรือเปล่า ฟังความข้างเดียวหรือไม่? ก็เป็นสิทธิจะคิดได้                แต่สิ่งที่ดีที่สุด ทาง ศปภ.ก็ควรทำเรื่องนี้ให้เคลียร์สักหน่อย หรือคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย คนไม่สนใจ เอาเวลาไปทุ่มกับการลุ้นไม่ให้กรุงเทพมหานครน้ำท่วมดีกว่า ถ้าคิดแบบนี้คงไม่เป็นผลดีต่อ ศปภ.แน่นอน                เพราะมันกระทบกับภาพลักษณ์ของ ศปภ.ที่เป็นเสมือนกองบัญชาการสูงสุดของรัฐบาลในการสู้กับอุทกภัยครั้งนี้                อย่าลืมว่าสองสัปดาห์กว่า ข่าวเชิงบวกแทบไม่เคยมีสำหรับ ศปภ. แค่ 2-3 กรณีที่ยกมาข้างต้นยังไม่พอ ยังมีเรื่องฟังแล้วทุเรศยิ่งกว่าที่ว่ามา คือ                ความกร่างไม่เข้าที่เข้าทางของพวกแก๊งแดง                เสื้อแดงหลายคนไปทำกร่างถึงในศูนย์ ศปภ. คงนึกว่าที่นี่เป็นสี่แยกราชประสงค์-สะพานผ่านฟ้าหรือโรงพยาบาลจุฬาฯที่เคยบุกไปค้นโรงพยาบาลยามวิกาล เข้าใจว่าคงเสพติดอำนาจขนานหนัก                กรณีของ แดงกร่างคับดอนเมือง ที่ผู้คนคงเห็นข่าวกันมาแล้ว แต่ขอตอกย้ำสั้นๆ กับเรื่องที่“เจ๋ง ดอกจิก” หรือ ยศวริศ ชูกล่อม ที่มีตำแหน่งทางการ คือ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ฐานิสร์ เทียนทอง-มท.3) ซึ่งก็มาปักหลักอยู่ที่ ศปภ.ดอนเมืองเกือบทุกวัน เดินไปเดินมาทั้งภายในศูนย์ และจุดที่คนเสื้อแดงปักหลักรับบริจาคสิ่งของอยู่                “ไอ้เจ๋ง” ทำตัวไม่ธรรมดา เดินจากห้องนั้นไปห้องนี้ จากข้างบนไปข้างล่าง ต้องมีคนติดตาม เสริมบารมีตลอดอย่างน้อยก็สองคนประกบซ้ายขวา ไม่รู้ว่ากลัวจะไม่เป็นจุดสนใจหรือกลัวใครจะมาดักตีหัวถึงดอนเมือง เลยต้องมีคนคุ้มกันหนาแน่นแบบนี้                เรื่องที่เกิดก็เพราะ “ไอ้เจ๋ง” ไปแสดงท่าทีจะเอาของบริจาคคือ เรือพาย ที่มีบริษัทเอกชนนำมาบริจาคให้ ศปภ. ซึ่งต้องถือว่าเป็นของส่วนกลาง ขั้นตอนโดยทั่วไปเมื่อมีคนมาบริจาคแล้ว ทาง ศปภ.และหน่วยงานระดับปฏิบัติการใน ศปภ.ก็จะต้องดูว่าจะเอาไปทำอะไรหรือให้หน่วยงานไหนรับผิดชอบและจะให้ใครเป็นคนเอาของบริจาคไปแจกและจะแจกที่ไหน                แต่ “ไอ้เจ๋ง” กำลังจะพา ศปภ.เจ๊ง                กับความกร่างไม่เข้าเรื่องที่คิดจะเอาของบริจาคที่คนบริจาคเขาบริจาคให้ศปภ.ไม่ได้บอกว่าจะให้เจ๋ง ดอกจิกหรือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลย แต่ “ไอ้เจ๋ง” กลับคิดว่านักการเมืองทำอะไรก็ได้ เลยจะเอาของบริจาคไปทำเลย ไม่ให้ส่วนกลางพิจารณาก่อน                แถมอวดดีพูดเสีย วิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยฐานิสร์ ลูกพี่ของเจ๋ง ดอกจิก คงสะดุ้งโหยง ที่อดีตตลกจำอวดตามคาเฟ่และผู้ต้องหาเผาบ้านเผาเมืองมาบอกว่า เลขาฯ มท.3 อย่างเจ๋ง ดอกจิก                กูใหญ่กว่าอธิบดีโว้ย!                เป็นคราวซวยของรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย-ศปภ. และลูกพี่ ฐานิสร์ จริงๆ ที่ได้ลูกน้องอย่างตลกลืมตีน มาช่วยงาน                คนโดนน้ำท่วมกำลังจะตาย แต่ศปภ.ทำงานไม่ได้เรื่อง ยิ่งทำคนยิ่งเห็น ปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริงที่ประชาชนควรต้องรู้แต่เนิ่นๆ เพื่อเตรียมตัวเตรียมใจรับสภาพ แถมใน ศปภ.เองก็มีปัญหาภายใน ทำงานขัดแข้งขัดขากันหนัก อีกทั้งยังไม่ให้คนภายนอกเข้าไปช่วยงานเพื่อจะได้ฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน และแบ่งเบาภาระภาครัฐ                ยิ่งมาเจอกรณี “ไอ้เจ๋ง ดอกจิก” ใหญ่กว่าอธิบดี จบกันเลย ศปภ. http://www.manager.co.th/
น้ำเอ่อท่วมหน้าบิ๊กซีสะพานใหม่-จราจรพหลโยธินติดขัด
สถานการณ์น้ำล่าสุด บริเวณถนนพหลโยธิน ช่วงตลาดยิ่งเจริญ หรือตลาดสะพานใหม่ น้ำจากท่อระบายน้ำและคลองต่างๆ ได้เริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมขังในแยกหน่วยย่อยต่างๆ ที่มีระดับต่ำ อาทิ ซอยตลาดไทยณรงค์ รวมไปถึงบริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสะพานใหม่ ทั้งนี้ จากการสังเกตพบว่า อาคารพาณิชย์ ร้านค้า บ้านเรือนประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ในบริเวณนี้ ต่างพากันก่ออิฐบล็อก และวางคันกั้นกระสอบทรายอย่างแน่นหนา เพื่อเตรียมกับสถานการณ์น้ำที่เริ่มเข้ามาในพื้นที่แล้ว ขณะที่เช้าวันนี้ บรรยากาศภายในตลาดสะพานใหม่ ดูเงียบเหงา มีประชาชนออกมาจับจ่ายสินค้าค่อนข้างบางตา         อย่างไรก็ตาม การจราจรบนถนนพหลโยธิน จากสะพานใหม่มุ่งหน้าแยกลำลูกกา ค่อนข้างติดขัด รถเคลื่อนตัวได้ช้า เนื่องจากเมื่อลงสะพาน ถนนด้านฐานทัพอากาศ น้ำได้เข้าท่วมพื้นผิวการจราจรทั้ง 6 ทาง ทำให้รถเล็กสามารถใช้ได้เพียง 2 ช่องทางด้านขวาเท่านั้น http://www.manager.co.th
นายกฯ พิจารณาวันหยุดราชการ-ไม่ย้าย ศปภ.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของกรุงเทพมหานครที่ให้ประกาศวันหยุดราชการ ในวันพรุ่งนี้ (26 ต.ค.) ว่าจะขอหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งแนวโน้มน่าจะเป็นวันหยุดยาว พร้อมยืนยันว่า ยังไม่ย้ายที่ทำการ ศปภ. เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง หากสถานการณ์ฉุกเฉินจะอพยพประชาชนเพื่อความปลอดภัย แต่จะเป็นที่ใดจะศึกษาอีกครั้ง โดยดูจากเส้นทางคมนาคมเป็นสำคัญ ซึ่งขอประเมินสถานการณ์น้ำก่อน เนื่องจากน้ำอาจเปลี่ยนเส้นทาง ดังนั้นการจะย้ายไปที่ใดต้องได้รับความปลอดภัย ส่วนปัญหาประชาชนพังคันกั้นน้ำบริเวณคลองรังสิต 4 และ 5 นั้น ตนเองขอตรวจสอบข้อมูลเพื่อความชัดเจน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีปฏิเสธตอบคำถามกรณี กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งโยกย้ายผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี ไปเป็นผู้ตรวจราชการ ระบุเพียงว่า ขอดูรายละเอียดก่อน   http://www.manager.co.th
ปราโมทย์ ไม้กลัด แก้วิกฤตน้ำท่วมไม่น่าวิตกเลย จะสู้ไม่ได้เพราะปอดแหกกัน
"พระเจ้าอยู่หัวท่านสร้างหลักว่าจะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึง ปัญหาคือตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆ แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด"                หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สัมภาษณ์ “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตอธิบดีกรมชลประทาน บุคคลอีกผู้หนึ่งที่เฝ้าติดตามวิกฤตปัญหาน้ำท่วมมาอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะเกษียณอายุมาเป็นเวลานานถึง 12 ปีแล้ว แต่ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำมาตลอดชีวิต จนถึงทุกวันนี้ หากไม่ติดตามปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ก็มักจะเดินทางเข้ามาสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าเขื่อนกรมชลประทานแทบทุกวัน ก่อนให้ข้อมูลด้วยความมั่นใจว่า ประชาชนในกทม.ไม่ควรตื่นตระหนกกับสถานการณ์ในขณะนี้เกินเหตุ                00 อยากให้อาจารย์ประเมินสถานการณ์น้ำในกทม.จะรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตกหรือไม่                ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกรมชลประทาน ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้าขณะนี้เป็นกรณีเหมือนที่เคยเกิดในอดีต เป็นปกติไม่ได้มากมายชนิดที่จะต้องหวาดวิตก หากดูปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางไทรซึ่งเป็นต้นทางที่จะเข้า จ.ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะแปรผันอย่างวิปริต แล้วน้ำที่ไหลจากเจ้าพระยาที่จะเข้ากรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ไหลพรวดพราด เหมือนน้ำที่ นครสวรรค์ และอยุธยา ระดับจะค่อยๆ เปลี่ยนไป ปริมาณจะค่อยๆ เปลี่ยนไป                เวลานี้เราต้องดูระดับน้ำที่ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ต้องตรวจวัดกันทุกวัน ในช่วงที่จะขึ้นสูงสุดทุกวัน ซึ่งระดับน้ำตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงทุกวัน หากมีน้ำทะเลหนุนสูงก็จะมีช่วง 14-15 ต.ค. ซึ่งน้ำทะเล จะหนุนสูงที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าที่สันดอน ที่ช่วงนี้จะหนุนสูงกว่าปกติประมาณ 20 เซนติเมตร ระดับความสูงจะค่อยๆ เรียงลงมา ระดับอาจจะขึ้นสูงสุดในวันที่ 15 ต.ค. (ณ วันที่ 18 ต.ค. 2554 กทม.ระบุว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงอีกครั้งช่วง 28-30 ต.ค. 2554)                00 แสดงว่าปริมาณน้ำในขณะนี้ไม่น่าวิตกและไม่จำเป็นต้องประกาศแผนฉุกเฉิน                วิเคราะห์ตัวเลขแล้วไม่เห็นจะน่าวิตกเลย และตัวเลขแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะเมื่อก่อนยิ่งกว่านี้อีก การประกาศภาวะฉุกเฉินต้องหมายความว่ากทม.ล้มระเนระนาด เอาไม่อยู่ ผมก็สงสัยว่าเอาไม่อยู่คืออะไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกทม.ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า คันกั้นน้ำของเขาระดับที่กทม.ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสูง 2.50 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แล้วขึ้นเรื่อยไปที่ปทุมธานีและนนทบุรี แล้วยังไงต่อ จะบอกไม่แน่ใจไม่ได้ เพราะการจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องของปีนี้ปีเดียว                00 พายุบันยังที่กำลังจะมาทำให้คาดเดาปริมาณฝนเพิ่มขึ้นหรือไม่                ยังไม่มาหรอก พายุจะเข้าหรือไม่ยังไม่ทราบ มันอยู่ไกลตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะมินดาเนา และเวียดนามอาจต้องรับเคราะห์ก่อนเรา ทิศทางของพายุเราจะโดนแค่หางๆ อาจจะผ่านภาคกลางหรือกทม.ฝนตกตรงๆ คงจะไม่เข้าไปที่ภาคเหนือแน่นอน เพราะร่องความกดอากาศมันเปลี่ยน ทิศทางเกิดในละติจูด 5 องศา ใกล้กับแนวศูนย์สูตรแล้ว แต่ตรงนี้จะทำให้เกิดฝนตก น้ำขัง ล้อมรอบสนามบินหนองงูเห่า ซึ่งขังก็ต้องสูบออกในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกคันกั้นน้ำจะเกิดน้ำขัง ตั้งแต่เขต มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง บึงกุ่ม พื้นที่พวกนี้จะเกิดน้ำขัง                 ซึ่งต้องเข้าใจว่า น้ำฝนขังมันคนละน้ำกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย เพราะฝนตกแผ่กระจายลงไปในทุ่ง ตกในกทม.ก็จะไม่ออกแม่น้ำ เพราะน้ำเยอะ ก็ต้องเกิดน้ำท่วมขัง กทม.ก็ต้องสูบออก มันแยกน้ำกันอยู่ในตัวแล้ว                น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาจะมาจากอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ฝนตกในภาคกลางจะตกอยู่ในพื้นที่รวมกอง ทำให้มีน้ำขัง ออกเจ้าพระยาไม่ได้ เพราะเจ้าพระยาสูง และเหตุการณ์ที่จะเกิดไม่ใช่ 2-3 วันนี้ แต่อีก 7 วันข้างแน่นอน แต่ถ้าพายุมาเวียดนามจะต้องรับเคราะห์ก่อนไทย ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมีสติแยกน้ำให้ออก ผมไม่กลัวหรอกหากฝนตกตรงๆ ในพื้นที่ขัง มันสูบออกได้ น้ำที่ผ่านกทม.เป็นน้ำข้างบนจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน อย่างเดียว ซึ่งยังไม่เคลื่อนลงมาเต็มๆ มันยังไม่รวมตัวเป็นจุดใหญ่ทีเดียวที่นครสวรรค์ ที่ต้องจับตาคือ แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นสายน้ำที่แปรผัน เนื่องจากฝนตกที่ จ.กำแพงเพชร จ.ตาก                เวลานี้มวลน้ำแม่น้ำปิงกำลังเคลื่อนย้ายมานครสวรรค์ ผมก็ตรวจสอบปริมาณน้ำที่นครสวรรค์ทุกชั่วโมง มันไม่มีขยับยังคงที่ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำปิงมวลใหญ่มาก็ต้องขยับ แต่ตรงนี้อย่างนำไปโยงกับเขื่อนคันกั้นน้ำที่นครสวรรค์แตก เราต้องดูตัวมวลน้ำว่ามันขยับขึ้นหรือไม่ เป็น 4,600 -4,700 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที ก็ลงมาที่เขื่อนชัยนาท ซึ่งคงที่มาหลายวันที่ระดับ 3,640 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นี่คือมวลน้ำที่จะเข้ามาต่อเนื่องที่กทม.และมวลนี้จะมาสมทบกับแม่น้ำป่าสักตอนล่าง แม่น้ำป่าสักถ้าพายุไม่เข้าปริมาณน้ำก็ลงลงทุกวัน น้ำมวลนี้ไปไหนไม่ได้ ก่อนที่มากรุงเทพ ถึงเขื่อนเจ้าพระยา เขาก็แจกมาข้างๆ ลง ท่าจีน บางปะกง ก็เหลือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับคงที่                00 ถ้าระดับน้ำไม่น่าวิตกเหตุใดประชาชนจึงแตกตื่นมาก                ปัญหาหลักเกิดจากพื้นที่ 3 จุดใหญ่ๆ นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ระเบิดเอาไม่อยู่ คันกั้นน้ำพัง ก็เลยมาวาดภาพว่ากทม.คงจะเหมือนกัน ผมก็บอกหลายครั้งแล้วว่าไม่เหมือนมันคนละพฤติกรรมน้ำและคนละพฤติกรรมพื้นที่ บ้านหมี่ ท่าวุ้ง ลพบุรี พื้นที่เป็นท้องกะทะใหญ่ มีคันกั้นน้ำสู้ แต่ประตูระบายน้ำคันมันขาด ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว                00 ทำไมรัฐบาลจึงไม่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจเหมือนอย่างที่อาจารย์กำลังอธิบาย                ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ากรมชลประทานไปไหนหมด ทำไมไม่พูด ธรรมดาเวลาเกิดเหตุการณ์วิกฤติอย่างนี้ต้องมีแม่ทัพน้ำ คอยบัญชาเหตุการณ์วิกฤติทั้งเรื่องน้ำและที่กั้นน้ำ จะมาบอกที่โน่นที่นี่พังของประชาชนพังก็ต้องบอกว่าที่พังของประชาชน กทม.ต้องตรวจสอบระบบคันกั้นน้ำของตัวเองว่าอยู่ดีหรือไม่ ก็ไม่พูด ผู้ว่าฯกทม.บอกว่า แข็งแรงๆ ก็ต้องกล้าฟันธง และต้องเชื่อมโยงไปที่นนทบุรี ปทุมธานีด้วยว่าสภาพคันน้ำน้ำยังดีอยู่หรือไม่ แข็งแรงหรือไม่ ตอนนี้ใครเป็นแม่ทัพน้ำ                ในยุคก่อน ผู้หลักผู้ใหญ่ของกรมชลประทานจะมาบัญชาการเอง เพราะรู้เรื่องน้ำดีที่สุด แต่เวลานี้ไม่รู้อะไร และทำอะไรไม่ได้ นอกจากสู้ ก็ต้องถามว่าจะสู้หรือไม่ สู้ก็ต้องถามว่าสู้อย่างไร ทำไมไม่เอาเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มาวางแนวทางกั้นน้ำฝนกทม.ที่เชื่อมกับปริมณฑล ต้องรู้ว่า น้ำท้ายคลองรังสิต เป็นอย่างไร ระบบวางไว้ให้แล้ว การป้องกันอยู่ที่ไหน ตรงไหนจำเป็นต้องเสริม ต้องซ่อมแซม ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้                 00 ขณะนี้ดูเหมือนว่าระบบการบริหารจัดการและการป้องกันน้ำของแต่ละจังหวัดล้มเป็นโดมิโน                มันต้องล้มครับ เพราะทุกแห่งสู้น้ำหมด ผมก็บอกว่าสู้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำไม่สามารถไปอยู่ที่ที่เคยอยู่หรือที่ที่เคยรวมกองได้ มันก็สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นระดับน้ำสูงพลังมันก็เยอะ คันทำไว้ไม่ดีก็ล้มระเนระนาดจนดูเหมือนน้ำเยอะ ทั้งๆ ที่มวลน้ำมันก็เท่าเดิม แต่ความสูงมันเยอะ แต่ทีนี้พอมาถึงกทม.มวลน้ำก็มวลเดิม แต่ความสูงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันแผ่กระจายลงมา สถานการณ์น้ำเป็นเรื่องที่ต้องเกาะติดเพื่อจะบอกเหตุการณ์ ว่าอะไรสำคัญที่สุด แต่ละจังหวัดที่เหตุการณ์เกิดขึ้น 10 กว่าปีไม่ใครสนใจจะแก้ปัญหาเลย ไม่มีจริง เมื่อปีกลายก็มีปัญหา ให้รวมตัวสร้างหลักคิด หลักทำ                พระเจ้าอยู่หัวท่านก็สร้างหลักว่า จะทำอะไรต้องเข้าใจและเข้าถึงนะ ปัญหาคือ ตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าปัญหามันมาจากอะไร เพราะอะไร ธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน สภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แต่ละพื้นที่แต่ละลุ่มน้ำแตกต่างกัน และพฤติกรรมของน้ำในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน งานนี้ยังไงก็ต้องมีแม่ทัพ หากไม่มีผู้บัญชาการอย่างคนที่รู้จริงๆแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เวลานี้แก้ปัญหาเลอะเทอะสะเปะสะปะกันไปหมด                00 รัฐบาลยังพอมีเวลาที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่                ตอนนี้ทำอย่างนี้ถูกแล้ว คือ เผชิญภัย ด้วยการช่วยเหลือผู้ประชาชนไปก่อน โดยให้มหาดไทยเป็นแกน เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายรัฐบาลต้องตั้งสติว่า ในอนาคตข้างหน้าจะทำอย่างไร ไม่ใช่คิดแบบเดิม อยากจะทำอะไรต้องตั้งงบประมาณ เสนอครม.มาทำยังนี้ไม่สำเร็จ เพราะถ้าคิดโดยไม่รู้ ก็ทำอะไรไม่สำเร็จ ผมบอกได้เลยว่า สตางค์ แก้ปัญหาไม่ได้หรอก ตอนนี้หากเขื่อนหยุดพร่องน้ำลงมาก็อาจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น                00 การตั้งศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่                ดูองค์ประกอบแล้วไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการช่วยเหลือประชาชนก็พอไปได้ แต่ควรให้มหาดไทยเป็นผู้ดูแล เพราะตอนนี้งานหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยส่วนกรมชลฯควรจะถอยออกมาก่อน ส่วนกรมชลจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า สถานการณ์เป็นอย่างไร ประเมินให้เขาให้ถูก และต้องมีกระบวนการตั้งรับที่ชัดเจน คันกั้นน้ำ ที่ไหนมีจุดอ่อน ต้องสำรวจ เฝ้าระวัง วิธีการที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ปกป้องไม่ให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปในเขตเศรษฐกิจ                00 การพบปะระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์จะทำให้เหมือนมีการร่วมมือแก้ปัญหาหรือไม่                แก้ปัญหาต้องดูว่าแก้ปัญหาอะไร แก้ปัญหาแบบนักการเมือง มันต้องมาแก้ปัญหาด้านเทคนิคการสู้น้ำกันก่อน ต้องเข้าใจระบบการแก้ไขปัญหาและการป้องกันของกทม. สมัยก่อนอุปกรณ์ไม่พร้อม เราก็สู้ได้ แต่ทีนี้จะสู้ไม่ได้ก็เพราะปอดแหกกัน ออกข่าวมา ระดับน้ำทะเลหนุนสูง มวลน้ำป่าสักมามากจะเกิดปัญหา พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา พูดทิ้งไว้อย่างนี้ประชาชนก็กังวล                00 แสดงว่าการแก้ไขปัญหาในอนาคตเราก็ต้องมาบริหารจัดการใหม่ โดยเฉพาะเรื่องชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม                เราต้องเอาของจริงมาคิด ว่าตัวน้ำแต่ละปีเป็นยังไง ต้องเข้าภูมิประเทศแห่งนั้น ๆ เข้าภูมิประเทศของกทม. ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก กทม.เชื่อมกับสมุทรปราการ ออกปากอ่าว จะปกป้องกทม.ยังไงไม่ให้กระทบกับที่อื่น จะทำคันกั้นน้ำอย่างไรให้ไม่ให้กระทบถ้า อ่างทองทำคันกั้นน้ำ สิงห์บุรีทำคันกั้นน้ำ มันก็จะกระทบตลอดมาด้านล่าง กทม.เป็นพื้นที่แบนราบ ก็ต้องแยกเป็น 2 ส่วนว่า ด้านตะวันออกเป็นเขตเศรษฐกิจหรือเปล่า                00 นักการเมืองไม่ควรเข้ามายุ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือไม่                ถ้าเป็นเรื่องเทคนิคคงต้องปล่อยให้ผู้มีความรู้เรื่องน้ำเป็นผู้ตัดสินใจ แต่นักการเมืองต้องมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเหลือประชาชน อนุมัติงบประมาณ พิจารณาหลักการในการแก้ไขปัญหาในครม. โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากนักเทคนิค แต่ขณะนี้ปัญหากลายเป็นว่าแม่ทัพน้ำในระบบราชการถูกนักการเมืองครอบงำหมดแล้ว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทั้งที่การแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ นักน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำ จะต้องเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์หลัก                ในหลวงเคยตรัส เมื่อปี 2533 ว่า ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจภัยธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็นครูที่จะสอนเรา ซึ่งผู้ปฏิบัติหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงต้องนำไปแปลว่าจะทำอย่างไรการแก้ไขเรื่องน้ำ จะเดาส่งแบบหมอดูไม่ได้ กรมชลประทานในฐานะนักเทคนิค จะต้องมีบทบาทในการให้ความรู้ความเข้าใจกับนักการเมืองไม่ให้ถูกครอบงำได้ โดยนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายอำนวยการมีบทบาทในการประสานเพื่อให้อำนวยความสะดวกให้คล่องตัว                (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2554) http://www.manager.co.th
มาร์ค ป้อง กทม.ระบายน้ำเต็มที่-เปิดรับมากกว่านี้มีแต่จะท่วมขังทั้งเมือง
“อภิสิทธิ์” ตรวจสถานีสูบน้ำพระโขนง ปะหน้า “ปู” เดินตรวจจุดเดียวกัน ทักทายพอเป็นพิธี ก่อนรุดตรวจคลองประเวศน์ พบเปิดเครื่องสูบน้ำแค่ 4 เครื่องจาก 20 เหตุชาวบ้านต่อต้าน วอนรัฐหยุดโยนบาปใส่ กทม.การันตีระบายน้ำเต็มที่แล้ว แต่ทำได้แค่นี้ เหมือนหลอดดูดในสระน้ำ ชี้ ถึงผันน้ำเข้ากรุงมากขึ้นก็ไม่ช่วยให้ไหลลงทะเลเร็วกว่าเดิม มีแต่จะท่วมขังทั้งเมือง ติงข้อเสนอใช้ ถ.วิภาวดี ผ่านน้ำ คิดได้ ทำยาก อาจกลายเป็นจุดขังน้ำแทน                 วันที่ 24 ต.ค.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจสถานการณ์น้ำบริเวณสถานีสูบน้ำพระโขนง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีความเข้าใจว่า กทม.ยังไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำในบางจุดอย่างเต็มทึ่ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยเจ้าหน้าที่ได้อธิบายถึงศักยภาพในการระบายน้ำของสถานีนี้ว่า หากจะใช้เพื่อระบายน้ำทั้งหมด ก็เท่ากับการเอาหลอดกาแฟไปดูดสระน้ำ ซึ่งไม่มีทางทำได้ เพราะเกินศักยภาพของ กทม.เนื่องจากระบบท่อของ กทม.ออกแบบมารองรับการระบายน้ำฝนในกรุงเทพฯ ซึ่งทุกปีที่ผ่านมา กทม.ก็ระบายน้ำตามระบบที่วางไว้โดยไม่มีปัญหา แต่ปีนี้น้ำมีมาก ทำให้ทะลักไปในบริเวณอื่น นอกจากคลองตามปกติที่ไหลเข้าท่อ กทม.เพื่อสูบออกทะเลลงอ่าวไทย ดังนั้น หากมีการผันน้ำเข้า กทม.เพิ่มอีก ก็ไม่มีประโยชน์ในการระบายน้ำลงทะเลให้เร็วขึ้นเหมือนอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังใน กทม.เป็นบริเวณกว้างแทน ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาแต่อย่างใด                ส่วนที่มีการมองว่า ระดับน้ำในคลองแสนแสบยังมีปริมาณต่ำนั้น ก็เป็นเพราะว่าระบบของ กทม.ใช้คลองแสนแสบเป็นจุดสูบน้ำ จึงต้องทำให้ระดับน้ำต่ำ เพื่อให้น้ำไหลมาสู่สถานีสูบน้ำออกสู่ทะเล เพราะหากให้คลองแสนแสบมีระดับสูง ก็จะยิ่งทำให้ระบายน้ำไม่ได้ เนื่องจากน้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ ทั้งนี้ กทม.จะใช้วิธีการหลอกด้วยการปล่อยให้ระดับน้ำในคลองแสนแสบสูงขึ้นก็ได้ แต่ กทม.ไม่คิดทำ เพราะทำแล้วไม่มีประโยชน์อะไรในการแก้ปัญหา จึงอยากให้ประชาชนเข้าใจด้วย นอกจากนี้ น้ำบางส่วนก็ยังไหลมาไม่ถึง เพราะติดในเรื่องของกายภาพบางพื้นที่ ซึ่งเป็นแอ่งกระทะทำให้น้ำขังไม่ไหลเข้าสู่ระบบการระบายน้ำของ กทม.                นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการระบายน้ำที่ควรผันน้ำไปแม่น้ำบางปะกงเพิ่มขึ้น แต่ก็เกิดปัญหาว่า กรมชลประทานยังไม่มีการระบายน้ำไปในบริเวณดังกล่าวเท่าที่ควร                “ศักยภาพในการระบายน้ำของสถานีนี้ สามารถระบายน้ำได้วันละ 5.6 ล้านลูกบาศก์เมตร ลองคิดดูว่า หากน้ำมาเป็นหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ กทม.มีศักยภาพเท่านี้อะไรจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ดังนั้น แนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง คือ กรมชลประทานซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการน้ำทั้งประเทศ ต้องทำให้ระบบการระบายน้ำสัมพันธ์กันให้ได้มากที่สุด แต่ตอนนี้หลายพื้นที่กรมชลประทานไม่สามารถดำเนินการระบายน้ำได้ เพราะติดปัญหาประชาชนต่อต้าน”                 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ และคณะ กำลังฟังการชี้แจงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ได้รับรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.กำลังจะเดินทางมายังจุดนี้เช่นเดียวกัน โดยในช่วงที่ นายอภิสิทธิ์กำลังจะเดินทางกลับได้พบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ซึ่งมารอรับนายกรัฐมนตรี โดย นายอภิสิทธิ์ ได้สอบถามถึงการระบายน้ำไปยังคลองไชยานุชิต จาก ผบ.ทบ.ได้รับคำยืนยันว่า มีการระบายน้ำไปยังจุดดังกล่าวแล้วตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา                 ขณะเดียวกัน ขบวนของนายกรัฐมนตรีก็เดินทางมาถึง ทำให้นายอภิสิทธิ์เข้าไปทักทายนายกรัฐมนตรี แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีสีหน้าเคร่งเครียดไม่ให้ความสนใจเท่าใดนัก โดยเพียงแค่ยกมือไหว้ตามมารยาทและเดินเลี่ยงนายอภิสิทธิ์ ไปดูจุดสูบน้ำทันที                จากนั้นขบวนของ นายอภิสิทธิ์ ได้เดินทางต่อไปยังสถานีประตูน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งเป็นจุดสูบน้ำไปยังคลองด่าน และแม่น้ำบางปะกง แต่พบว่า มีการเปิดเครื่องสูบน้ำเพียง 4 เครื่อง จากทั้งหมด 20 เครื่อง โดยเจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่ดูแลจุดดังกล่าว อธิบายเหตุผลว่า ไม่สามารถเปิดเครื่องสูบน้ำอย่างเต็มที่ เพราะชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงต่อต้าน เนื่องจากเกรงว่า น้ำจะเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านตัวเอง อีกทั้งการระบายน้ำลงทะเลก็ยังติดปัญหาช่วงทางผ่านของน้ำที่จะไหลลงสู่ทะเลเป็นคลองขนาดเล็กเหมือนคอขวด ทำให้น้ำไหลช้า                นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังการตรวจสถานีระบายน้ำทั้ง 2 จุดว่า อยากให้ กทม.และรัฐบาลประสานในเรื่องการนำน้ำลงสู่ทะเล ซึ่งที่ผ่านมา กทม.เปิดประตูระบายน้ำอย่างเต็มที่แล้ว เพียงแต่น้ำที่จะผ่านไปยังคลองต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯชั้นใน ทำได้เพียงเท่านี้ ส่วนที่ประชาชนสงสัยว่า ทำไมระดับน้ำในเมืองยังอยู่ที่ต่ำอยู่นั้น ก็เป็นเพราะ กทม.มีเจตนาที่จะให้น้ำไหลลงไปสู่สถานีสูบน้ำเพื่อระบายน้ำ ซึ่งการระบายน้ำในส่วนตะวันออกก็ยังมีการเปิดประตูน้ำอยู่แต่ทำได้แค่สี่บานจาก 20 บาน ก็เป็นปัญหาว่าจะทำให้น้ำไหลลงทะเลได้มากแค่ไหน เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกันทั้งระหว่าง กทม.และรัฐบาลและไม่ให้เกิดความยัดแย้งระหว่างประชาชนใน กทม.และปริมณฑลด้วย                 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กทม.ได้เปิดประตูเพื่อระบายน้ำอย่างเต็มที่แล้วเหมือนที่เจ้าหน้าที่อธิบายว่าความสามารถของ กทม.เหมือนหลอดดูดในสระน้ำ ก็ทำได้เพียงเท่านี้ ซึ่งหวังว่าเมื่อ ผู้ว่า กทม.ได้พานายกรัฐมนตรีมาดูในพื้นที่ก็คงจะมีความเข้าใจที่ชัดเจนเพื่อกำหนดแนวทางแก้ปัญหาต่อไป และควรเลิกใช้วิธีโทษกันไปมา ว่า กทม.ไม่ยอมระบายน้ำเป็นสาเหตุให้น้ำท่วม แต่ควรปรับเข้าหากันเพราะทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องเร่งระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด                ส่วนที่มีนักวิชาการเสนอให้ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นทางผ่านในการระบายน้ำนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะต้องศึกษาธรรมชาติของพื้นที่ เพราะบางทีอาจเข้าใจผิดคิดว่าสามารถควบคุมทิศทางการไหลของน้ำได้แต่ความจริงน้ำจะไหลจากที่สูงไปที่ต่ำและที่บอกว่าจะเปิดเข้ามาก็ไม่ทราบว่าเปิดเข้ามาอย่างไร ที่สำคัญ ไม่ได้หมายความว่าน้ำจะระบายออกมาตามทางดังกล่าว ซึ่งอาจกลายเป็นทำให้น้ำท่วมขังได้ ดังนั้น จึงต้องดูเส้นทางที่จะลงทะเลให้เร็วที่สุดมากกว่า                 นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาประชาชนต่อต้านการเปิดปิดประตูน้ำ ทำให้ระบายน้ำได้เต็มที่รัฐบาลก็ต้องหาแนวทางแก้ไข ซึ่งเคยเสนอหลายครั้งเกี่ยวกับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่เมื่อรัฐบาลไม่ทำก็ต้องบริหารจัดการให้ได้ เมื่อรัฐบาลใช้มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายมากขึ้น ซึ่งตนเคยบอกหลายครั้งแล้วว่า ควรพิจารณาตามความจำเป็นไม่ควรคำนึงในเรื่องภาพลักษณ์มากเกินไป อย่างเช่น สถานีคลองประเวศน์ ที่ชาวบ้านต่อต้านทำให้เปิดเครื่องสูบน้ำได้เพียง 4 เครื่อง ทั้งที่เป็นจุดระบายน้ำลงสู่ทะเล ก็ต้องศึกษาว่าจะมีทางเบี่ยงไม่ให้น้ำไปท่วมจนประชาชนได้รับผลกระทบอย่างไร เพราะขณะนี้รัฐบาลใช้วิธีตามแก้เป็นจุดๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ยังไม่มีความมั่นใจในการเข้าไปดูดเรื่องมวลชน แม้มีการประกาศคำสั่งออกมาก็ยังมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้                “ผมคิดว่านอกจากปัญหาน้ำท่วมรัฐบาลต้องเร่งดูแลระบบการกระจายสินค้าและการผลิตสินค้าบางตัว เพราะประชาชนไม่มั่นใจและเกิดความตื่นตระหนก จึงต้องเร่งคุยกับภาคเอกชนให้ประชาชนกิดความมั่นใจวามสินค้าจำเป็นจะไม่ขาดแคลน ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาให้ประชาชนในส่วนหนึ่ง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว http://www.manager.co.th
ค้นหาข้อมูลและคอร์สเรียนในต่างประเทศ
พบกับข้อมูลมากมายและคอร์สการเรียนต่อในต่างประเทศที่ทุกคนสนใจ สามารถคลิ๊กดูข้อมูลด้านล่างได้เลยนะคะ รับรองมีแต่ course ที่อยากเรียน     ค้นหาข้อมูลและคอร์สเรียนในต่างประเทศ hcwidget = new AddCustomisedWidget( 'hcwidget' ); hcwidget.siteUrl = 'http://www.hotcourses.in.th'; hcwidget.affId='200309'; hcwidget.widgetId='42'; hcwidget.subView ='true'; hcwidget.keyView ='false'; hcwidget.modView ='false'; hcwidget.locView ='true'; hcwidget.qualView ='true'; hcwidget.width ='550'; hcwidget.height ='300'; hcwidget.bgColor ='rgb(217, 240, 149)'; hcwidget.linkView ='true'; hcwidget.custwidget ='true'; hcwidget.newSearch ='true'; hcwidget.css = 'inline'; #w_row{min-height:0px !important;}#wdres select{margin-bottom:4px!important;} Powered by Hotcourses Thailand
ครม.ให้พื้นที่น้ำท่วมหยุดราชการ 27-31 ต.ค.
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศให้ 27-31 ต.ค. เป็นวันหยุดราชการแล้ว  เฉพาะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม     พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ผอ.ศปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ประกาศวันหยุดราชการในวันที่ 27-28 และ 31 ต.ค.54 ในพื้นที่ 21 จังหวัด รวมกทม. เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณน้ำที่จะเข้าสู่หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ โดยมีการคาดการณ์ว่า น้ำทะเลจะหนุนสูงในวันที่ 26 ต.ค. และไปสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. แต่ในส่วนของเจ้าหน้าที่ศปภ. ยังคงปฎิบัติงานทุกวัน     Source : news center/infoquest/VoiceTV(Image by VoiceNews
ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่ฝรั่งไม่รู้จักแต่ฮิตติดปากคนไทย
ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่ฝรั่งไม่รู้จักแต่ฮิตติดปากคนไทย น้องๆคนไหนที่กำลังเตรียมตัวไปศึกษาต่อ ไปเที่ยว หรือเตรียมความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อไปใช้ชีวิตหรือเรียนต่างประเทศ พลาดไม่ได้กับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่คนไทยมักใช้ผิด ทำให้เวลาเราพูดกับฝรั่งแล้วเจ้าของภาษาเองถึงกับงง !!! วันนี้เราลองมาเพิ่มความรู้และเตรียมตัวให้พร้อมกับการเดินทางไปหาประสพการณ์ใหม่ในต่างแดนกันเลยดีกว่า...  1) นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า “freshy” เมื่อเราไปเรียนที่ต่างประเทศเวลาเจอเพื่อนใหม่เราอาจจะแนะนำคนคนว่าเรามาเรียนที่นี่ เป็นนักศึกษาปี 1 ซึ่งคนไทยมักเรียกว่า “freshy” แต่ความเป็นจริงฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกเพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า “fresher” หรือ “freshman” เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้ว คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior  ไปเรียนต่างแดนใหม่ๆอาจมีเรื่องผิดพลาดกันได้ยังพอให้อภัยนะคะ 2) Xerox กับ Copy เมื่อน้องๆต้องไปเรียนที่ต่างประเทศ การใช้ห้องสมุดในการค้นคว้าหาข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ  และถ้าเวลาที่เราเจอข้อมูลดีดีแล้วอยากถ่ายเอกสารเก็บไว้  เราสามารถนำหนังสือเล่มนั้นไปให้เจ้าหน้าที่ถ่ายเอกสารให้ก็ได้ แต่ที่คนไทยส่วนใหญ่มักปล่อยไก่ตัวใหญ่ๆ เพราะความเคยชินที่มักจะพูดว่า Xerox ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้อง งง !! เป็นไก่ตาแตกแน่ๆ เพราะถ้าเราต้องการถ่ายเอกสารเราควรใช้คำว่า copy หรือ photocopy ถึงจะถูก สำหรับเครื่องถ่านเอกสารเราเรียกว่า photophotocopier 3) ความแตกต่างระหว่าง teacher, lecturer และ professor น้องๆ หลายคนอาจจะคงว่า 3 คำนี้มันต่างกันตรงไหนหว่า!!! เพราะคนไทยส่วนใหญ่เราเรียกผู้ที่สอนหนังสือเราว่า . “คุณครู” ซึ่งในภาษาอังกฤษ เรียกว่า teacher ซึ่งหมายถึงคุณครูผู้สอนวิชาความรู้ให้เรา  แต่ถ้าน้องๆเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นอย่างเช่นในมหาวิทยาลัยเราอาจจะเรียกผู้บรรยายว่า lecturer และเรียกอาจารย์ผู้สอนว่า professor ซึ่งหมายถึงผู้เชียวชาญเฉพาะด้าน, อาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์  ส่วนคำว่า Tutor ถ้าเป็นคำนามหมายถึง ครูพิเศษ ที่ดูแลหรือสอนเราในเรื่องนั้นๆเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นกิริยา จะหมายถึง การสอนพิเศษ 4) อินเทรนด์ (in trend) เรื่อง อินๆ เอ๊าท์ๆ ที่วันรุ่นอย่างเรามักจะไม่พลาด ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น สาวๆคนไหนที่อยากอินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาที่น้องๆต้องการพูดว่า “มันทันสมัย” เราอาจจะติดปากว่า “It is in trend.” คำว่า “ทันสมัย” ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า “in trend” อย่างคนไทย เค้าจะใช้คำว่า “trendy” หรือ “fashionable” ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้ 5) อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่งการเน้นหนักของพยางค์นั้นๆๆ กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ “เร็ค-คอร์ด” เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้องเน้นหนักพยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า “รี-คอร์ด” เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า “recorder” อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์ 6) ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันก็ตาม) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า “Let’s go Dutch.” หรือ “Go Dutch (with somebody).” อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า “You pay for yourself.” คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะจ๊ะ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า “It’s my treat this time.” หรือ “My treat.” หรือ “It’s on me.” หรือ “All is on me.” หรือ “I’ll pay for you this time.” ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า “It’s your treat next time.” 7) ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า “แจม” น่าจะหมายถึง “ร่วมด้วย” เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า “Do you want to join us?”, “Do you want to come with us?” หรือ “Do you want to come along?” จะดีกว่าค่ะ 8) รถมือสอง used car VS second hand ของมือสอง สำหรับของมือสองถ้าจะให้ถูกเวลาใช้ ฝรั่งจะเติม used เข้าไป เช่นรถมือสองเราเรียกว่า used car ซึ่งหมายถึงรถที่ใช้แล้วซึ่งอาจจะเปลี่ยนเจ้าของมาแล้ว 2 หรือ 3 คนก็ได้  ในกรณีนี้เราไม่ใช้ second hand 9) ฉันเรียนภาษากับชาวต่างชาติ I learn the language with a foreigner. คำว่า “foreigner” หมายถึง ชาวต่างชาติโดยทั่วๆ ไป แต่จริงๆ คุณต้องการจะสื่อว่าเรียนภาษากับเจ้าของภาษา ซึ่งควรจะใช้คำว่า “a native speaker” จะเหมาะกว่านะค่ะ เช่น “I learn the language with a native speaker.” ฉันเรียนภาษากับเจ้าของภาษา ส่วนคนที่พูดได้ 2 ภาษาดีเท่าๆ กันเราจะใช้คำคุณศัพท์ว่า “bilingual” เช่น เด็กลูกครึ่งที่พูดได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ “Their kids are bilingual.” ลูกของเขาพูดได้ 2 ภาษาดีพอๆ กัน 10) football VS soccer สองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันนะคะ โดยเฉพาะน้องคนไหนที่ไปเรียนที่อเมริกา เพราะถ้าในอเมริกาคำว่า football จะหมายถึง กีฬาอเมริกันฟุตบอล และถ้าจะพูดถึงกีฬาฟุตบอลในความหมายที่ใช้กันในบ้านเรา จะเรียกว่า soccer แทน ยิ่งตอนี้กระแสบอลโลก 2010 กำลังมาแรง ควรแยกความแตกต่างให้ถูกนะคะเวลาคุยกับเพื่อนชาวอเมริกันจะเข้าใจเหมือนๆกัน 11)  ความหมายของ café เป็นคำที่คุ้นหูเรามากๆเลยนะคะแต่ความหมายของมันจริงๆแล้ว ในยุโรป café จะเอาไว้เรียกร้านกาแฟเล็ก แต่สำหรับบ้านเรา café มีหลายแบบมาก เช่น internet café, café and Restaurant และอีกคำที่เรามักจะชินหู พระราม 9 ค่าเฟ่ ถ้าเราแนะนำเพื่อชาวต่างชาติไปพระราม 9 คาเฟ่ พอเค้าเห็นร้านแล้วต้องแปลกใจแน่ๆเลยว่าทำไม café เมืองไทยมันถึงได้ใหญ่ขนาดนี้ ดังนั้นเวลาเราจะแยกแยะว่าอันที่ที่จัดว่าเป็น café ในความหมายของชาวยุโรปเราควรดูรายละเอียดของร้านนั้นว่า ทำเกี่ยวกับอะไร ขนาดร้านเท่าไหร่ ต่อไปถ้าเราได้ไปเรียนทางแถบยุโรปจะได้แยกประเภทได้ถูกนะคะ 12)   หนัง soundtrack เวลาที่เราจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า “I want to watch a soundtrack film.”  แต่ควรจะใช้ว่า “I want to watch an English film.” เพราะความหมายของคำว่า “soundtrack” คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากนะคะ (เออ...มีใครบ้างหว่าที่สนใจแต่ดนตรีไม่สนพระเอก-นางเอก เสื้อผ้า หน้า ผม หรือเนื่อหาของหนัง!!!) ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า “I want to watch an English film that is dubbed into Thai.” เพราะคำกิริยาว่า “dub” คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือพากย์รายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า “a subtitled film” ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า “subtitles” (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะจ๊ะ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า “closed-captioned films/videos/television programs” หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า “CC” เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ 13)   เขามีแบ็ค (back) ดี “He has a good back.” ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่เรากำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ “a backup” ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้ เช่น “He has a good backup.” เขามีคนคอยหนุนที่ดี 14)   ฉันไปตัดผมมาเมื่อวานนี้ I cut my hair yesterday. ถ้าพูดอย่างนี้หมายถึงเราตัดผมด้วยตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ตัดผมด้วยตัวเอง แต่ให้ช่างตัดผมตัดให้ เราควรจะบอกว่า “I had/got my hair cut yesterday.” ซึ่งรูปประโยคคือ “To have/get + กรรม (สิ่งที่ถูกกระทำ) + กิริยาช่องสาม” ดังนั้นถ้าจะบอกว่า ฉันจะเอารถไปซ่อมวันพรุ่งนี้ ก็ต้องบอกว่า “I will have/get the car repaired tomorrow.” 15)   เว่อร์ (over) เธอนี่ทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ เวลาเราไปเม้าท์ให้ฝรั่งฟังก็คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า “exaggerate” เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น 'He said you walked 30 miles.' เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์ 'No - he's exaggerating. It was only about 15.' ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์นะ ก็บอกว่า You’re exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ นะ อาจใช้ว่า Don’t exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า “overact” เช่น You’re overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง) รู้อย่างนี้แล้วงั้นเวลาเอาไปใช้เราก็ควรใช้ให้ถูกด้วยนะคะ อีกอย่างเพื่อพัฒนาการทางด้านภาษาที่รวดเร็วขึ้นน้องๆควรพยายามฝึกพูดและเพิ่มความมั่นใจให้มากขึ้นนะคะ  http://www.uplusstudy.com/ยูพลัสเรียนต่อต่างประเทศ-Guides/เรียนต่อต่างประเทศ/ตัวอย่าง-ภาษาอังกฤษ-ที่ฝรั่งไม่รู้จักแต่ฮิตติดปากคนไทย.html
<< 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา