หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
เปิด scenario ศปภ. ดีสุดท่วมชั้นในไม่เกิน 50 ซม. แย่สุด 1 เมตร นาน 1 เดือน
คณะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ได้เผยแพร่ผลการศึกษาฉากทัศน์ (scenario) 3 กรณี การรับมืออุทกภัยของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ไม่ว่าในกรณีไหน แบบจำลองน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกมีแนวโน้มเดียวกันทั้งสามฉากทัศน์ ยกเว้นกรุงเทพฯ ชั้นในที่จะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามฉากทัศน์ที่เปลี่ยนไป ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ฉากทัศน์ที่ 1 (กรณีดีที่สุด) กรณีที่มาตรการในการกั้นน้ำของรัฐบาลสำเร็จลุล่วงและเป็นไปตามที่วางไว้ และ มวลน้ำในเขตพระนครศรีอยุธยา (วังน้อย บางปะอิน) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (13 เขตฝั่งธนบุรี) - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.5-1.0 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 30 วัน - สำหรับเขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร ผลกระทบเขตกรุงเทพฯ ชั้นในแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.0-0.5 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 15 วัน - สำหรับเขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.5-1.0 เมตร ผลกระทบเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก นอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ (4 เขต) - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 30-45 วัน - สำหรับเขตที่ติแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตร ฉากทัศน์ที่ 2 (กรณีดีรองลงมา) กรณีคันกั้นน้ำตอนเหนือแตก (ได้แก่คันกั้นน้ำบริเวณเทศบาลหลัก 6, คลองหกวาตอนล่าง, คลองรังสิตคลองที่ 1 ถึงคลองที่ 6, และบริเวณหลัก 6 คูคด) ผลกระทบกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (13 เขตฝั่งธนบุรี) - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.5-1.0 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 30 วัน - สำหรับเขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร ผลกระทบเขตกรุงเทพฯ ชั้นในแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.5-1.0 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 15-30 วัน - สำหรับเขตที่ติแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร ผลกระทบเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก นอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ (4 เขต) - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 30-45 วัน - สำหรับเขตที่ติแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตร ฉากทัศน์ที่ 3 (กรณีแย่ที่สุด) กรณีคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาแตก ผลกระทบกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก (13 เขตฝั่งธนบุรี) - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.5-1.0 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 30 วัน - สำหรับเขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร ผลกระทบเขตกรุงเทพฯ ชั้นในแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ - เขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.5-2.5 เมตร - เขตอื่นๆในกทม.ชั้นในระดับน้ำอาจสูงประมาณ 0.5-1.0 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 15-30 วัน ผลกระทบเขตกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก นอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ (4 เขต) - ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร - ระยะเวลาท่วมประมาณ 30-45 วัน - สำหรับเขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำอาจสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตร http://www.siamintelligence.com
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจการเมืองโลกหลังวิกฤตน้ำท่วมประเทศไทย
ปี 2011 ถือเป็นปีแห่งภัยพิบัติโดยแท้จริง โดยหลังจากที่ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤตนิวเคลียร์หลังแผ่นดินไหวรุนแรงและสึนามิเข้าซัดฝั่งตะวันออก ไทยก็เกิดน้ำท่วมใหญ่กินพื้นที่ไปทั่วทั้งภาคกลาง และมีโอกาสสูงที่กรุงเทพฯ อาจมีน้ำท่วมสูงเป็นประวัติการณ์ไปทั่ว หากว่าภาครัฐนำโดย ศปภ. และกรุงเทพมหานครไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที โดยใช้วิธีที่เหมาะสมกับธรรมชาติของน้ำและชัยภูมิของพื้นที่ ทั้งนี้หากน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในและสถานที่สำคัญต่างๆ ก็ย่อมทำให้ระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรวนหนักและชะงักงันครั้งใหญ่ได้ ความเสียหายจากภัยน้ำท่วม ข้อมูลล่าสุดระบุว่า มีประชาชนมากกว่า 2 ล้านคนเดือดร้อน โรงงานกว่า 14,000 แห่งโดยเฉพาะ 6 นิคมที่จมไปกับสายน้ำไล่ตั้งแต่สหรัตนนคร โรจนะ บ้างหว้า (ไฮเทค) บางปะอิน นวนคร และบางกระดี รวมมูลค่าเงินลงทุนมากกว่า 200,000 ล้านบาท แรงงานได้รับผลกระทบทันทีไม่ต่ำกว่า 400,000 คน เรือกสวนไร่นากว่า 10 ล้านไร่ที่เสียหายในภาคกลาง นอกจากนี้ยังมีปัญหาน้ำท่วมที่เริ่มก่อตัวขึ้นในภาคอีสาน ซึ่งมีแนวโน้มว่าความเสียหายในภาคเกษตรจะยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกหลายพื้นที่ แต่สิ่งที่น่าคิดวิเคราะห์คือ เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติไม่น้อย เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยเองมีประวัติของการที่เป็นจุดเล็กๆ ในแผนที่โลกแต่กลับเป็นจุดปะทุชนวนไปสู่เหตุการณ์ใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกเช่น วิกฤตการเงินปี 1997 หรือ เหตุการณ์รัฐประหารปี 2006 ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย ถ้าเราวิเคราะห์ให้ดีจะพบว่า การที่สื่อระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Wall Street Journal, Bloomberg หรือ Reuters ให้ความสำคัญกับข่าวอุทกภัยในประเทศไทยมากเป็นพิเศษ ทั้งที่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกัมพูชาหรือประเทศในแถบอเมริกากลางต่างก็ประสบปัญหาอุทกภัยแต่กลับไม่มีข่าวมากเท่า ก็เนื่องมาจากว่าในทางปฏิบัติแล้ว ประเทศไทยมีความสำคัญไม่น้อยใน “ระบบระหว่างประเทศ” (International System) น้ำท่วมโรงงานผลิตกล้อง Nikon ที่อยุธยา ส่งผลต่อการเปิดตัวกล้องรุ่นใหม่ของบริษัท (ภาพจาก @noppatjak) สถานะของประเทศไทยในระบบเศรษฐกิจโลก ภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ถึงแม้ศูนย์กลางของ “ระบบระหว่างประเทศ” จะอยู่ที่สหรัฐฯ และมีตัวแปรอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น ยุโรป รัสเซีย เป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากมองในแง่เศรษฐกิจแล้ว ประเทศไทยมีความสำคัญมากในเวทีโลก เหตุเพราะประเทศไทยมีฐานะเป็นทั้ง ฐานอุตสาหกรรม (Industrial Base), ฐานเกษตรกรรม (Agricultural Base) และฐานการค้า (Trade Base) แถมเป็นประเทศที่ถือเงินทุนสำรองสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางเป็นทางผ่านสำคัญของภูมิภาค ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยย่อมส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้างตามมาด้วย ฉะนั้นอย่าแปลกใจที่จะเห็นมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯกับจีนเข้ามาประชันแข่งขันกันในชั้นเชิงการทูตเพื่อแย่งชิง “ความเป็นผู้นำในการช่วยเหลือประเทศไทยในยามวิกฤต” ด้วยเหตุผลด้านการต่างประเทศและความมั่นคงดังที่กล่าวมานี้ มองในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ประเทศไทยถือเป็นชาติการค้าที่สำคัญของโลก เป็นฟันเฟืองที่แม้จะไม่ใหญ่ในระบบเศรษฐกิจโลก แต่กลับเป็นชิ้นส่วนที่ขาดไม่ได้และใช่ว่าจะทดแทนได้ง่ายด้วย เพราะประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นแหล่งผลิต Hard Disk Drive ป้อนตลาดกว่า 60% ของทั้งโลก ทำให้ไทยมีความสำคัญด้านอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์มาก ผลจากการที่น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้ส่งผลให้ระบบ Supply Chain ของบริษัทญี่ปุ่นในภูมิภาค ASEAN และอินเดียสะเทือนไปทั่ว ขณะที่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ก็เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว เช่น บริษัทแอปเปิลออกมาแสดงความกังวลเรื่องการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช การที่ไทย ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศในภูมิภาค ASEAN และเอเชีย เชื่อมต่อกันผ่านการค้าและการผลิต ผลกระทบจากอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในไทยหยุดสายผลิต ย่อมค่อยๆ กระเพื่อมไปทั่วทั้งระบบ Supply Chain ในภูมิภาค เฉกเช่นเดียวกับก้อนหินที่ถูกโยนลงน้ำ จับตา ‘ค่าเงินบาทอ่อน’ กระทบทั้งเอเชีย เราต้องไม่ลืมว่าประเทศญี่ปุ่นยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่-สึนามิ-วิกฤตการณ์นิวเคลียร์ ลากญี่ปุ่นสู่ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ส่งผลสะเทือนตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินทรัพย์จำนวนมากจากการที่เงินเยนแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยยืดเยื้อมาก ก็ย่อมสร้างความเสียหายโดยตรงทั้งต่อไทยและญี่ปุ่นแน่นอน ค่าเงินบาทย่อมมีโอกาสอ่อนค่าลงจากการที่ประเทศไทยต้องระดมทรัพยากรเพื่อฟื้นฟูประเทศ ทั้งจากการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จำนวนมาก การเร่งการส่งออก แม้แต่การเทขายเงินดอลลาร์ในทุนสำรองออกมาเพื่อขนเงินกลับไปซ่อมประเทศก็มีความเป็นไปได้ ถ้าหากเหตุการณ์นี้นำไปสู่การลดค่าเงินระดับที่สูงมาก และเกิดขึ้นพร้อมกับการที่ญี่ปุ่นตัดสินใจเริ่มขนเงินที่มีอยู่ทั่วโลกกลับไปฟื้นฟูความเสียหายของประเทศตัวเอง ย่อมจะส่งผลสะเทือนมากต่อตลาดการเงินโลก และการลดค่าเงินของไทยอาจจุดชนวนให้ประเทศอื่นๆ ในเอเชียมีการปรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนขนานใหญ่ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกเอาไว้ และย่อมทำให้ “สงครามค่าเงินระหว่างประเทศ” (International Currency War) กลับมาคุกรุ่นอีกครั้ง วิกฤตอาหารและสินค้าเกษตร แต่สิ่งอื่นที่น่ากังวล และมีโอกาสความเป็นไปได้มากกว่าผลกระทบในระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงิน คือ ความปั่นป่วนและความเสี่ยงในภาคเกษตร เพราะไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 30% ของตลาดโลก ความเสียหายของผลผลิตในประเทศ และการเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย ย่อมเป็นแรงกดดันให้ราคาข้าวสูงขึ้นซึ่งนั่นย่อมกระทบชีวิตคนมากกว่า 2,000 ล้านคนทั่วเอเชียและประเทศยากจนอื่นๆ ทั้งนี้หากเอาบทเรียนในอดีตมาไล่เรียงดูจะพบว่าในปี 2008 ภาวะของการเก็งกำไรและการห้ามการส่งออกข้าวในประเทศใหญ่ๆ เช่น อินเดีย ส่งผลให้ราคาข้าวทะยานมากกว่า 200% ขณะที่สินค้าเกษตรตัวอื่นก็พุ่งในหลักหลายร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกันในช่วงเวลาสั้นๆ ส่งผลให้เกิดจลาจลอาหารกว่า 30 ประเทศทั่วโลกไล่ตั้งแต่เฮติไปจนถึงประเทศอิยิปต์ ปี 2010 ภาวะที่คลื่นความร้อนพาดผ่านแถบทะเลดำจนส่งผลให้เกิดภาวะแล้งจัด ผลผลิตข้าวสาลีในประเทศรัสเซียและยูเครนเสียหายหนัก จนทั้ง 2 ประเทศสูญเสียความสามารถในการส่งออก ต้องประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี ส่งผลให้ราคาข้าวสาลีพุ่งทะยานขึ้นจนเกิดจลาจลเผาเมืองในโมซัมบิก แอลจีเรีย และเรื่อยมาจนถึงประเทศตูนิเซีย ที่เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่วัยรุ่นเจ้าของแผงขายผักจุดไฟประท้วงฆ่าตัวตาย และนำไปสู่การประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีเบน อาลีเป็นผลสำเร็จ เหตุการณ์นี้ยังแพร่ไปยังอิยิปต์ ลิเบีย เยเมน ตะวันออกกลาง และซีเรีย ซึ่งในกรณีประเทศอิยิปต์นั้นปัญหาส่วนหนึ่งก็มาจากค่าครองชีพที่แพงจากการที่อาหารราคาสูงด้วย ทำให้ผลจากอิยิปต์สะเทือนไปทั่วโลกอาหรับจนกลายเป็นเหตุการณ์ Arab Spring เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยนั้นย่อมซ้ำเติมสถานการณ์อาหารโลกอย่างเลี่ยงไม่ได้ และข้าวนั้นมีจำนวนผู้บริโภคสูงกว่าข้าวสาลีมาก แถมยังเป็นอาหารหลักของคนจนทั่วโลก การที่เกิดภาวะขาดแคลนข้าวและราคาข้าวที่สูงขึ้น ย่อมทำให้รัฐบาลทั่วโลกต้องกักตุนสินค้า และเป็นเชื้อไฟอย่างดีที่จะดึงดูดนักเก็งกำไรในตลาดโภคภัณฑ์ให้โจมตีตลาดสินค้าเกษตร ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงไปอีก ดังนั้นในปี 2012 โอกาสที่จะเกิดเหตุซ้ำรอย Arab Spring อันมีเหตุจากวิกฤตอาหารในประเทศไทย แล้วกระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ นอกเหนือจากโลกอาหรับย่อมมีโอกาสไม่น้อย และถ้าหากเกิดวิกฤตอาหารในประเทศอาหรับที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วยแล้ว วิกฤตอาหารในประเทศไทยย่อมลามไปสู่การเกิดวิกฤตพลังงานโลกได้ ซึ่งนั่นเท่ากับว่าในปีหน้าราคาอาหารจะเป็นตัวดันราคาพลังงานจากการเชื่อมโยงทางปัจจัยการเมือง ซึ่งต่างจากปี 2008 ที่ปัจจัยจากพลังงานดันราคาอาหาร เนื่องจากความเชื่อมโยงของโครงสร้างต้นทุนและการเก็งกำไรในภาคการเงิน เพราะเหตุนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยย่อมเป็นที่สนใจจากต่างประเทศ ตัวแปรจากการควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทยย่อมมีผลสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโลกอันเปราะบางอยู่ก่อนแล้ว ให้เผชิญกับความผันผวนและความเสี่ยงให้สูงขึ้นไปอีกขั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ http://www.siamintelligence.com/
บทเรียนวิกฤติน้ำท่วม 2554 และสิ่งที่ควรแก้ไขในอนาคต
ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่เผชิญปัญหาน้ำท่วม 54 ไปแล้ว เพราะมีที่พักอยู่บริเวณซอยท่าอิฐ ตำบลบางรักน้อย อ.เมืองของจังหวัดนนทบุรี ผมคิดว่าควรจะหาบทเรียนจากวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งมีดังนี้ 1) บทเรียนนี้มีราคาแพงมากและน่าจะสร้างความเสียหายสูงสุดแก่ประเทศไทยเป็นประวัติการณ์ จากการประเมินโดยเบื้องต้นของผมซึ่งรวมผลกระทบทั้งทางตรง ซึ่งก็คือความเสียหายต่อภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ทางอ้อม คือกำลังซื้อของประเทศหดหายไปมหาศาล เพราะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมตกงานหรือไม่ได้รับค่าจ้างและอาจจะรวมถึงโบนัสในไตรมาส 4 เพราะช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาที่ภาคอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อสูงที่สุด ในขณะที่กำลังซื้อภาคเกษตรลดลงเพราะเทือกสวน ไร่นา จมน้ำเสียหาย ผมประเมินความเสียหายประมาณ 5.5-6.5 แสนล้านบาท และส่งผลกระทบต่อจีดีพีให้หายไปประมาณ 2-2.5 % เพราะกว่าน้ำจะลดและไร่นาจะกลับมาเพาะปลูก กว่าที่เครื่องจักรจะมาเดินการผลิต อาจจะต้องใช้เวลา 3-4 เดือนขึ้นไป น้ำท่วมคือเรื่องที่พวกเราต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ 2) ต้องเร่งหาสาเหตุของวิกฤติน้ำท่วม 2554 ให้ได้ เพราะสาเหตุที่ถูกต้อง จะนำไปสู่การแก้ปัญหาวิกฤติน้ำท่วมที่ถูกต้อง โดยควรใช้คณะกรรมการอิสระในรูปแบบเดียวกับที่ประเทศไทยหลังเผชิญวิกฤติการเงินปี 2540 เคยจัดตั้ง คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) โดยรัฐบาลควรตั้งคณะกรรมอิสระที่เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ฝน ภูมิอากาศ เศรษฐกิจ การเกษตร เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางจัดการบริหารน้ำอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับภูมิประเทศและเศรษฐกิจไทย เพราะข้อมูล ข่าวสารในขณะนี้จากองค์การสหประชาชาติ ผู้เชี่ยวชาญของไทย สื่อชั้นนำของต่างประเทศ และรัฐมนตรีของรัฐบาล (คุณปลอดประสพ) ได้ให้ความเห็นไปในทางว่าความเสียหายจากวิกฤติน้ำท่วมส่วนหนึ่งอาจมาจากการจัดการบริหารน้ำที่ผิดพลาด ส่งผลให้นักลงทุนจากต่างประเทศเกิดการขาดความเชื่อมั่นในการบริหารน้ำของรัฐบาล เพราะไม่มีใครในรัฐบาลรับประกันได้ว่าในปีหน้าถ้ามีปัญหาน้ำท่วมและมีการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบนี้อีก จะไม่เกิดผลเสียต่อนิคมอุตสาหกรรม ถ้าไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ การย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยจะเป็นเรื่องที่ตามมา เพราะการลงทุนในมูลค่า 1 พันล้านบาทขึ้นไปนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความมั่นใจและรับประกันถึงความปลอดภัยในการลงทุนโดยเฉพาะจากความบกพร่องในฝีมือมนุษย์ เพราะเรื่องธรรมชาตินั้น นักลงทุนเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องสุดวิสัยและไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าเป็นจากความบกพร่องในเรื่องของการบริหารจัดการและยังไม่ได้มีการจัดการแก้ไข ความจำเป็นในการย้ายฐานการผลิตจะเป็นเรื่องตามมา เพราะความเสียหายขณะนี้ ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตโลกของชิ้นส่วนอีเลกทรอนิกส์และยานยนตร์ ให้เกิดการชะงักขึ้น สร้างความเสียหายในการผลิตไปทั่วโลก 3) การบริการสถานการณ์ในภาวะวิกฤติ ( Crisis Management) เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงอย่างมากโดยเฉพาะในเรื่องความสอดคล้องและความถูกต้องของข้อมูล รวมทั้งแผนรองรับ เพราะประชาชนไม่น่าจะต้องการทราบว่าจะมีมวลน้ำก้อนใหญ่ ไหลมาด้วยความเร็วกี่ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือมีพื้นที่รองรับปริมาณน้ำได้กี่ลูกบาศก์เมตร แต่ประชาชนน่าจะต้องการทราบว่ามีถนนสายไหนบ้างที่น้ำจะท่วมและจะท่วมสูงแคไหน กี่เซนติเมตร กี่เมตรและจะท่วมขังอยู่นานแค่ไหน เพื่อที่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆจะได้วางแผนถูก เพราะข้อมูลความเร็วน้ำและปริมาตรน้ำนั้น เอาไปใช้ในการวางแผนรับน้ำท่วมไม่ได้เพราะประชาชนไม่ใช่นักอุทกศาสตร์ที่วิเคราะห์ข้อมูลพวกนี้ได้ด้วยตนเอง ประการสำคัญ วิกฤติน้ำท่วมมิใช่ภัยแผ่นดินไหว สึนามิ หรือภูเขาไฟระเบิดที่รู้ตัวล่วงหน้าในเวลาไม่นาน หากแต่น้ำท่วมครั้งนี้ รัฐบาลได้รู้ล่วงหน้ามากกว่า 1 เดือน เพราะนายกรัฐมนตรี ได้ไปเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วม แต่ทำไมจึงไม่มีการเตรียมตัวรับมือวิกฤติตั้งแต่แรก ต้องรอให้อยุธยาจมน้ำจนมิดเสียก่อน รัฐบาลจึงพึ่งตื่นและตระหนักว่านี่คือวิกฤติ ดังนั้น เกิดอะไรขึ้นกับระบบประมวลข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลในการคาดการณ์วิกฤติ ความเสียหายในวงกว้าง บทเรียนราคาแพง ในวิกฤติครั้งนี้ ผมเห็นถึงพลังขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ. อบต. ที่เข้ามาทำหน้าที่อย่างแข็งขันในยามที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติน้ำท่วมนี้ได้ นอกจากนี้ ผมขอบคุณภาคประชาชนที่ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยเฉพาะเครือข่ายสังคม (Social Network) ใน Face Book ที่ชื่อว่า “น้ำขึ้น ให้รีบบอก” ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องน้ำขึ้นตามสถานที่ต่างๆระหว่างภาคประชาชนในอินเตอร์เน็ต และข้อมูลนี้มีส่วนช่วยผมมากในประเมินระดับวิกฤติของปัญหาน้ำท่วมเป็นรายนาที สุดท้าย ผมขอขอบคุณ คณะกรรมการหมู่บ้านและอาสาสมัครของหมู่บ้านนันทนาการ์เด้น ซอยท่าอิฐ ที่มีจิตอาสาร่วมมือในการต้านภัยน้ำท่วมครั้งนี้ หมายเหตุ- บทความนี้ มุมมองส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่สังกัดอยู่ และผู้เขียนขอขอบคุณคำแนะนำของ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ที่ให้ความเห็นว่าจริงๆแล้ว ประชาชนที่กังวลเรื่องน้ำท่วมอยากรู้ข้อมูลประเภทใดทั้งนี้ บทความนี้ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ฉบับวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554 http://www.siamintelligence.com
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งเรื่อง การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2538
ได้มีผู้ใช้งาน youtube ใน account “somkiatonwimon” ซึ่งเป็นของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ทำการอัพโหลดวิดิโอคลิป การแพร่ภาพการถ่ายทอดเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งเรื่อง การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2538 โดย นายสมเกียรติ ได้ทำการทวิตข้อความ ในทวิตเตอร์ส่วนตัวด้วย I uploaded a @YouTube video http://youtu.be/Uv5HO7nA5EQ?a พระเจ้าอยู่หัว.ป้องกันน้ำท่วม.2538 สำหรับคำบรรยายใต้วิดิโอคลิปนั้น มีดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเรื่อง การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2538 ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เวลา 20:40-22:45 วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2538 ——————————————————————————–­—— วันที่ 18 กันยายน 2538 ฝนตกหนักในกรุงเทพฯ พายุดีเปรสชั่น Ryan ทำให้ฝนตกมากเหนือประเทศไทยและกรุงเทพฯ น้ำเหนือไหลบ่าลงมาจะเข้าท่วมกรุงเทพฯ การระบายน้ำออกจากเขื่อนสิริกิติ์ทำมากกว่าเขื่อนภูมิพล สร้างปัญหาน้ำจะเข้าท่วมกรุงเทพฯปี 2538 ทันทีในวันรุ่งขึ้น วันที่ 19 กันยายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกประชุมข้าราชการที่เกี่ยวข้­องเป็นการด่วน ทรงอธิบายต่อที่ประชุมฉุกเฉินข้าราชการกรมชลประทาน (อธิบดี และ รองอธิบดี ปราโมทย์ ไม้กลัด, สวัสดิ์ วัฒนายากร, รุ่งเรือง จุลชาต), ผู้ว่าฯกทม. (กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา), ปลัด กทม. (ประเสริฐ สมะลาภา) และองคมนตรี ที่มีความชำนาญเรื่องน้ำและวิศวกรรม รวมทั้งข้าราชการผู้ชำนาญเรื่องน้ำอีกหลายท่าน ทุกคนนั่งร่วมโต๊ะประชุมแบบล้อมวงรีร่วมกับพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับสั่งให้เร่งแก้ปัญหาพร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดทาง­วิชาการ วิธีการทำงานป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ให้นำ้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ตำ่ตามธรรมชาติของน้ำ ทรงให้ขุดตัดถนนที่ขวางทางน้ำ ขุดใต้ทางรถไฟ หาทางให้น้ำไหลลอดออกลงคลองระบายน้ำ เพื่อให้ลงทะเลไปโดยเร็ว ทรงรับสั่งทำให้เสร็จในสามวัน ส่วนโครงการใหญ่ระยาวก็ทรงให้เตรียมการขุดขยายคูคลองระบบประตูระบายน้ำและสูบน้ำต่าง ๆ การทำความเข้าใจกับประชาชนที่อาจต้องเสียสละและอาจต้องโยกย้ายออกจากที่สาธารณะริมคลองต่างๆ ทรงประสงค์จะให้เร่งทำความเข้าใจกับประชนชนถึงความสำคัญของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นของกรมชลประทาน และโครงการอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำต่างๆในภาคเหนือ ฯลฯ ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในเว็บไซต์ของมูลนิธิชัยพัฒนา ได้มีการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)” ซึ่งประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เช่น 1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน 2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป 3. การปรับปรุงตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีแนวทางเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ แก้มลิง ซึ่งเป็นการสร้างที่พักน้ำขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล โดยเมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในแก้มลิงก็ให้ทำการระบายน้ำออกไป ซึ่งจะทำให้น้ำตอนบนไหลเข้ามาเติมในแก้มลิงตามธรรมชาติ เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในแก้มลิงก็ให้ปิดประตูระบายน้ำเพื่อมิให้น้ำไหลย้อนกลับ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชอรรถาธิบายว่า …ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้มลิงจะเอากล้วยเข้า ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง… อนึ่ง ในตอนหนึ่งของวิดิโอคลิป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับสั่งเรื่อง การขุดถนนเพื่อให้มีทางระบายน้ำไหลรอดผ่านถนน โดยจะต้องคำนึงถึง “ความกว้าง” และ “ความเท” ของคู โดยความลึกนั้นมิใช่ปัจจัยสำคัญ  http://www.siamintelligence.com
กทม.เผย 19 เขตใน กทม.รอดน้ำท่วม
กทม.เผย19เขตในกทม.รอดน้ำท่วม (ไอเอ็นเอ็น)           รองผู้ว่าฯกทม. ระบุ มีพื้นที่ 19 เขต รอดจากวิกฤติน้ำท่วม ส่วน "คลองสามวา-มีนบุรี-ลาดกระบัง-หนองจอก-บางแค" รับน้ำเต็ม ๆ เตือน 11 เขตริมน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้น-ลง           นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึง การดำเนินการผันน้ำ โดยระบุว่า ที่ผ่านมาไม่ได้คิดเรื่องมวลชนที่คัดค้านไว้ แต่หากยังมีปัญหาเรื่องมวลชน เกรงว่า อาจกระทบ 19 เขต ที่เคยประกาศว่าจะรอด จากน้ำท่วมก่อนหน้านี้ อาทิ บางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ จอมทอง ภาษีเจริญ วัฒนา ดินแดง สาทร ราชเทวี พญาไท ปทุมวัน ป้อมปราบฯ สวนหลวง ประเวศ ห้วยขวาง วังทองหลาง บางซื่อ บางกอกน้อย             3 เขตเสี่ยง สะพานสูง บางกะปิ บึงกุ่ม ที่อยู่ริมคลองแสนแสบ จากเปิดคลองสามวา ที่อยู่ตามแนวริมคลองจะโดนมากกว่า             ส่วน 11 เขตริมน้ำ ได้รับผลน้ำขึ้น-ลง คือ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางรัก บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย พระโขนง คลองสาน บางกอกใหญ่ บางนา             5 เขต กทม. ที่ต้องรับน้ำเต็ม ๆ ไป คือ คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก บางแค             7 เขต ที่ต้องได้รับผล กระทบรุนแรง ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ บางเขน ตลิ่งชัน ซึ่ง กทม. จะยันพื้นที่ เขตห้วยขวาง วังทองหลางให้มากที่สุด           ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยังกล่าวด้วยว่า ปัญหาเรื่องมวลชนนั้น ต้องรีบแก้ปัญหาร่วมกัน ให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้แล้วหามาตรการมาช่วยเหลือเยียวยาช่วงหลังน้ำลด ส่วนกรณีน้ำท่วมที่ฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะธนบุรีนั้น เนื่องจากพนังกั้นน้ำ 14 จุด ใน จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี ได้พังลง ซึ่งจำเป็นต้องเร่งแก้ไขก่อนในจุดนั้น 
จตุพร โบ้ยประชาธิปัตย์ วางยารับบาล ทำน้ำท่วมทั่วกรุง
  รายงานข่าวแจ้งว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง ได้กล่าวตอนหนึ่งในงาน “ไพร่แดง ลมหายใจที่ไม่แพ้”ที่จ.เชียงราย ถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่หนักที่สุดในรอบหลายปีว่า สาเหตุที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่กทม.ในครั้งนี้นั้น เป็นเพราะรัฐบาลยุคพรรคประชาธิปัตย์ ได้วางยากักน้ำเอาไว้เต็มเขื่อนหลายแห่งนั่นเอง ส่วนการที่ทหารขอเข้ามาช่วยเหลือน้ำท่วม น.ส.ยิ่งลักษณ์ รู้ทันจึงให้ดูแลพื้นที่เพียง 5จังหวัด แต่ถ้าการช่วยเหลือน้ำท่วมล้มเหลวทหารต้องรับไป ถึง50% นอกจากนี้นายจตุพร ยังได้กล่าวต่ออีกว่า ในเดือน ธ.ค.นี้มีขบวนการที่เตรียมล้มรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วย แต่มาเกิดน้ำท่วมเสียก่อนจึงทำไม่ได้และเลื่อนไปเป็นกลางปี 2555 แทน ดังนั้นหลังน้ำลด ตั้งแต่ต้นปีหน้าจะมีการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พรบ.กลาโหม อย่างจริงจัง ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครจะมาขวางได้ เพราะ เอเอสทีวีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก็จอดับไปแล้ว อีกทั้งนายอภิสิทธิ์ก็เห็นแล้วว่าทอดทิ้งประเทศไปมัลดิฟช่วงที่มีปัญหาน้ำท่วมด้วย นายจตุพรกล่าว  Mthai News
เจ้าฟ้าหญิงฯ ตรัส ยอมจมน้ำเหมือนประชาชน
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยี่ยมราษฏรโดยรอบที่อาศัยอยูรอบตำหนักพระจักรีบงกช จากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ จ.ปทุมธานี พร้อมทรงตรัส ห่วงใยพสกนิกรที่ประสบอุทกภัยใหญ่ดังนี้ “ข้าพเจ้าเข้าใจคนที่ลำบากน้ำท่วม บ้านข้าพเจ้าก็น้ำท่วม แต่ยังคิดว่า มีแรงเหลือมาช่วยพี่น้องประชาชน ส่งหน่วยแพทย์ดูแลสุขภาพประชาชน และสัตว์เลี้ยง ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะไม่ปั๊มน้ำออกจากบ้าน เพื่อให้บ้านน้ำแห้ง ข้าพเจ้ายอมจมน้ำเหมือนประชาชนทุกคน และเราจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนี้ไปด้วยกัน” “ข้าพเจ้าได้สั่งแม่บ้านของข้าพเจ้าแล้ว ให้ทำอาหารส่งหมู่บ้านที่ห่างไกล ได้ทราบว่า แม่บ้านได้ทำอาหารแจกชาวบ้านโดยรอบ 1,000 กล่อง/วัน ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ทุกสัปดาห์ จนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ขอใจทุกคนสู้อดทน และพวกเราจะฝ่าวิกฤติการณ์นี้ไปด้วยกัน” Mthai News
ชูวิทย์ สับเละ นายกฯ แก้น้ำท่วมเหลว
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานแก้น้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมของนายกรัฐมมนตรีและรัฐบาลชุดนี้ถือว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการบริหารจัดการคน-สิ่งของ และแผนการรองรับหลังการประกาศให้หยุดยาว ซึ่งการบริหารจัดการคน รัฐบาลเลือกคนที่ไม่มีประสบการณ์มาทำงานที่ศปภ.จนป่านนี้ชาวบ้านต่างหมดความเชื่อถือไปแล้ว ส่วนการบริหารจัดการสิ่งของบริจาคของประชาชนที่ถือว่าทำได้ง่ายที่สุดแล้วนั้นกลับพบว่า มีข่าวและคลิปต่างๆ ที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการนำป้ายใส่ชื่อของนักการเมืองไปติดไว้ที่ของบริจาค อีกทั้งทิ้งให้ของบริจาคต้องจมน้ำเสียหาย แทนที่จะได้เอาไปช่วยผู้ประสบภัย เป็นต้น ขณะที่วันหยุดยาวตนขอตั้งคำถามกลับไปว่า ทำไมไม่ประกาศการขยายวันหยุดเพิ่ม รัฐบาลมีการเตรียมการรองรับคนที่จะแห่กลับเข้ากทม.มาทำงานหรือยัง เพราะว่าพอน้ำท่วมมีปัญหาเรื่องการเดินทาง ถนนสายหลักหลายเส้นต้องปิดลง ลำพังจะหวังพึ่งรถบริการของตำรวจก็คงไม่พอ รอเป็นชั่วโมง อีกทั้งก็ไม่ได้ส่งถึงบ้าน ชาวบ้านก็ต้องเดินลุยน้ำท่วมเข้าบ้านอีก ดังนั้นถ้ามีการปิดถนนตนอยากให้มีศูนย์อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนประจำถนนสายนั้นๆ ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ชาวบ้านเผชิญชะตากรรมเอง นี่หรือคือวิธีดูแลชาวบ้านเป็นอย่างดีของนายกฯ ที่เขียนในเฟซบุ๊ก “ ผมไม่รู้ว่า ครม.ของรัฐบาลคุณปูจ๋า ปูนิ่มคิดยังไง ที่ยังอุตส่าห์เอาสมองส่วนไหนไปคิดหมกเม็ด ออกมติครม.มาได้ เมื่อสัปดาห์ก่อนที่ให้อำนาจ ผบ.ตร.สามารถพิจารณาเปิดบ่อนการพนันได้  มันก็กาสิโนที่เขาเคยประกาศว่าจะปิดให้หมด แต่มันแปลกที่ครม.ชุดนี้ให้อำนาจ ผบ.ตร.อนุมัติให้เปิดเองได้ เท่านั้นยังไม่พอยังให้อำนาจผบ.ตร. สามารถสั่งปิดสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีก แนะนำนายกฯ ว่า อย่าคิดประดิษฐ์คำพูดที่ฟังแล้วดูดี แต่ขอให้ทำงานแล้วดูดี แก้ไขปัญหาของชาวบ้านได้จะดีกว่า ออกมาฟังความคิดเห็นของชาวบ้านบ้างว่า วันนี้ เขาด่ารัฐบาลกันอย่างไร แม้จะไม่มีในสื่อกระแสหลัก เขาก็เชื่อว่า เมื่อน้ำลดตอมันจะผุด ดังนั้น ขอให้เร่งไขปัญหาโดยลงมาดูความจริงซะที” นายชูวิทย์กล่าว Mthai News
ธีระชน ห่วง เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา กระทบทั่วกทม
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผย ถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้เปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาเพื่อระบายน้ำลงสู่คลองแสนแสบ ว่า อาจจะมีปัญหา เพราะหากมองทางกายภาพอาจจะไม่มีอะไร แต่ขอยกตัวอย่าง เราเห็นว่าน้ำที่ถ.วิภาวดีรังสิตนิ่ง แต่กลับมาโผล่ที่ ถ. เกษตร- นวมินทร์ หรือ ถ.รามอินทรา กม. 8 เพราะน้ำนั้นจะไหลจากถนนลงสู่ท่อ และจากท่อสู่คลอง สุดท้ายจากคลองก็จะไหลกลับเข้าท่อ ที่เป็นเครือข่ายใยแมงมุม หากตรงไหนต่ำก็จะมุดออก หากน้ำเข้าคลองแสนแสบจากการเปิดประตูคลองสามวา ก็จะเข้าสู่พื้นที่ในคันพระราชดำริ และเข้าระบบคลอง อีกทั้งพื้นที่ของกรุงเทพสูงต่ำไม่เท่ากัน การปล่อยที่ 1.5 เมตร เข้ามา เท่ากับว่าน้ำจะค่อยๆเริ่มย้อนศร และมุดเข้ามาในคลองย่อยและผุดตามผิวถนน หากคุมไม่ได้จะลามไปพื้นที่เศรษฐกิจ จุดที่หนักสุดคือ นิคมอุตสาหกรรมบางชันที่จะกระทบรุนแรง โดยนายธีระชนมองหากยังคุมมวลชนไม่ได้ น้ำอาจท่วมทั้ง 50 เขต แต่หากปกป้องพื้นที่ในคันพระราชดำริ แล้วระบายน้ำออกตามสามาแม่น้ำหลักคือท่าจีน เจ้าพระยา บางปะกงได้ กรุงเทพก็จะรอด นายธีระชนยังกล่าวอีกว่า เราต้องจัดการมวลน้ำและควบคุมมวลชนอย่างที่ควรจะเป็น ส.ส. ส.ก. ต้องช่วยกันพูด อย่าเอามวลชนกดดัน ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน วันนี้ไม่มีรัฐบาลไม่มี กทม. ทุกคนต้องมาช่วยกันกู้บ้านกู้เมือง อย่างไรก็ตาม การสั่งเปิประตูระบายน้ำคลองสามวานั้น ผู้ว่าฯต้องใช้ดุลพินิจ หากเปิดและเสียหายท่านคงสั่งการในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งขณะนี้ผู้ว่าฯ ยังไม่ยอมให้เปิดขนาดหนึ่งเมตร Mthai News
กรมการกงศุลย้ายสถานที่บริการชั่วคราว
หลังจากที่ทำการบริเวณถนนแจ้งวัฒนะถูกน้ำท่วม กรมการกงสุลได้ไปเปิดบริการ งานด้านการรับรองและนิติกรณ์เอกสาร และงานคุ้มครองคนไทยในต่างแดนที่กระทรวงการต่าง... ตามที่ได้เกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมสูงในพื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ  ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมการกงสุล ทำให้ประชาชนไม่สะดวกในการเดินทางไปรับบริการด้านต่างๆ ของกรมการกงสุลนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และบริการประชาชนในวิกฤตการณ์น้ำท่วม  กรมการกงสุลจะเปิดให้บริการสำหรับงานรับรองและนิติกรณ์เอกสาร (ไม่มีบริการเร่งด่วน) พร้อมทั้งงานคุ้มครองคนไทยในต่างแดนเป็นการชั่วคราวที่ศูนย์ข่าว กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยาด้วย สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกหรือไม่สามารถเดินทางไปที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐  - ๑๕.๓๐ น. และในวันทำการถัดไป จะเปิดบริการระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ทุกวันราชการ สำหรับผู้ที่ประสงค์จะรับบริการด้านหนังสือเดินทาง โดยเฉพาะการทำหนังสือเดินทางนั้น สามารถขอรับการบริการได้ที่สำนักงานหนังสือเดินทางบางนาตามปกติ (สำนักงานหนังสือเดินทางเซ็ลทรัล ปิ่นเกล้า ได้ปิดบริการชั่วคราว เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วม) สำหรับสำนักงานหนังสือเดินทางในภูมิภาค ๑๑ จังหวัด เปิดทำการตามปกติ (ยกเว้น สำนักงานหนังสือเดินทาง จังหวัดนครสวรรค์ ได้ปิดบริการชั่วคราว เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วม)   http://www.springnewstv.tv/news/social/10078.html
ญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือไทยกว่า 12 ล้านเหรียญ
สำนักข่าวเอ็นเอชเค รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้เงินช่วยเหลือไทย 12 ล้าน 8 แสนเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 390 ล้านบาทเพื่อฟื้นฟูประเทศจากน้ำท่วม นอกจากให้เงินช่วยเหลือจำนวนดังกล่าวแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้เสนอให้แรงงานไทยที่ทำงานให้กับบริษัทญี่ปุ่นและต้องหยุดงานเนื่องจากน้ำท่วมให้เข้าไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นด้วย และยังจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยไทยในเรื่องการระบายน้ำออกจากพื้นที่เขตเมือง ญี่ปุ่นยังบอกด้วยว่า ไทยจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน ในขณะที่น้ำกำลังแผ่ขยายวงกว้างออกไป อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นในไทยทำให้โรงงานหลายแห่งของญี่ปุ่นต้องหยุดการทำงานเป็นระยะยาว ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ไทย หลังจากที่ได้มีการประเมินความต้องการแล้ว
ปชป.แนะ ยิ่งลักษณ์ รับความจริงหยุดฉุนสื่อ-ซัด ตู่ เลือดเย็นบอกโชคดีที่น้ำท่วม
โฆษก ปชป.เตือนนายกฯ ตั้งสติ อย่าเกรี้ยวกราดสื่อ แนะรับความจริง กทม.ไม่ปลอดภัย 100% ติงแก้ปัญหาสินค้าขาดแคลนไม่ตรงจุด เอะอะก็นำเข้า อัด “ไอ้ตู่” เลือดเย็น บอกรัฐบาลโชคดีน้ำท่วมช่วยขวางขบวนการจ้องล้ม ดักคอประธานสภาอย่าปิดประชุมหนีญัตติน้ำท่วม เตรียมอัดปมรัฐล้มเหลว ด้าน “เจ๊ะอามิง” หอบข้อมูลแฉรัฐบาลปูบริหารน้ำผิดพลาด กักน้ำจนเขื่อนวิกฤต                วันที่ 1 พ.ย. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า ขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตั้งสติเพื่อเป็นหลักในการนำประชาชนฝ่าวิกฤติอุทกภัยครั้งนี้ไปให้ได้ เพราะถ้าคนเป็นผู้นำประเทศยังไม่สามารถระงับอารมณ์ตัวเองจนแสดงอาการกราดเกรี้ยวผ่านสื่อมวลชน ย่อมกระทบต่อขวัญกำลังใจของประชาชนที่กำลังทุกข์ยากจนเกิดความท้อแท้หมดหวัง จึงอยากให้นายกรัฐมนตรี มุ่งมั่นอยู่กับการแก้ปัญหาให้กับประชาชน ใน 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้                1.การประเมินสถานการณ์น้ำจะต้องมีความเป็นเอกภาพและให้ความจริงต่อประชาชน ไม่ใช่พูดไปคนละทาง สะท้อนความขัดแย้งใน ศปภ.รัฐมนตรีพูดไม่ตรงกันในเรื่องตัวเลข จนประชาชนเกิดความสับสน รวมทั้งมาตรการของรัฐบาลต้องสอดรับกับสถานการณ์ด้วย ไม่ใช่ประกาศให้คนอพยพแต่กลับไม่มีการขยายวันหยุดราชการ นอกจากนี้ยังต้องติดตามการระบายน้ำลงทะเลในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด                2.ต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ไม่มีพื้นที่ไหนในกรุงเทพมหานครปลอดภัย 100% การวางแผนเพื่ออพยพคนจึงต้องทำความเข้าใจต่อประชาชนในจุดนี้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องไปอยู่ในต่างจังหวัดชั่วคราว ดีกว่าเสี่ยงอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพราะหากเส้นทางเข้า-ออกกรุงเทพฯ ถูกตัดขาดจนเมืองหลวงกลายเป็นอัมพาต แม้แต่รัฐบาลก็จะไม่สามารถดูแลประชาชนได้ เช่น ประชาชนที่อยู่ที่ดอนเมืองขาดแคลนทั้งน้ำ อาหาร ไฟฟ้าและน้ำประปา โดยเฉพาะอาหารสำหรับเด็กอ่อน รัฐบาลต้องเข้าไปแก้ไข                3.ต้องเร่งแก้ปัญหาสินค้าจำเป็นขาดแคลนให้ตรงจุด ไม่ใช่สินค้าขาดแล้วใช้วิธีนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการผลิตแต่เป็นปัญหาการกระจายสินค้า เช่น ไข่ไก่ในยุครัฐบาลปูแพงถึงฟองละ 10 บาท รวมถึงการกักตุนสินค้า อีกทั้งการนำสินค้าราคาถูกไปวางขายที่ตลาด อตก.ของกระทรวงพาณิชย์ ก็ไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอย่างแท้จริง เนื่องจากคนที่จมน้ำไม่สามารถเดินทางมาซื้อไข่ไก่ราคาถูกที่ อ.ต.ก.ได้ แนวทางของกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นเพียงการสร้างภาพว่าได้แก้ปัญหา แต่ความจริงแล้วสินค้าจำเป็นราคาถูกเหล่านั้นจะไปอยู่ในมือของประชาชนที่ไม่ใช่ผู้ประสบอุทกภัยแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ต้องแก้ปัญหาไม่ใช่แค่ปัดสวะให้พ้นตัวบริหารเหมือนไม่ได้บริหารควรจะมีฝีมือมากกว่านี้                นอกจากนี้ ต้องบริหารจัดการของบริจาคอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระจายให้ถึงมือผู้ประสบอุทกภัยอย่างทันท่วงทีด้วย รวมถึงจัดหน่วยแพทย์ไปดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้อพยพอย่างทั่วถึง ซึ่งจากหลักฐานภาพถ่ายที่ปรากฎกรณีสุขาลอยน้ำที่ค้างอยูใน ศปภ.โดยไม่มีการขนย้ายไปให้ผู้ประสบอุทกภัยมา เป็นตัวอย่างการบริหารที่ล้มเหลวของ ศปภ. เพราะนายกรัฐมนตรียืนยันไม่ย้ายออก ทำให้ประมาทไม่มีการขนของบริจาคออกไป ทำให้เกิดภาพทิ้งประชาชน ทิ้งสาธารณูปโภคที่จำเป็นไป จึงแสดงให้เห้นว่าของบริจาคที่ทิ้งไว้ไม่ใช่ของไม่มีคุณภาพแต่คนบริหารต่างหากที่ไม่มีคุณภาพ                4.รัฐบาลต้องแบ่งพื้นที่รับผิดชอบอย่างละเอียด ประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นให้เป็นผู้บริการประชาชนในจุดที่เจ้าหน้าที่รัฐอาจเข้าไม่ถึง โดยส่วนกลางตั้งศูนย์บริการ อาหาร น้ำดื่ม ในจุดที่ใกล้ที่สุด มอบเรือให้ท้องถิ่นไปบริหารเพื่อการนำอาหารไปให้ชาวบ้าน รวมทั้งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในยามที่จำเป็น เพราะลำพังการทำงานของรัฐบาลกลางย่อมไม่เพียงพอต่อการดูแลประชาชนในขณะที่ปัญหากระจายตัวเป็นวงกว้างครอบคลุมในหลายพื้นที่ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องกระจายกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย หากยังไม่มีระบบการบริหารที่ดีการขาดแคลนอาหารของประชาชนที่ประสบอุทกภัยอาจกลายเป็นการจลาจลกลางเมืองได้ในเวลาไม่ช้านี้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เรื่องคนสู้กับน้ำ แต่เป็นเรื่องระหว่างคนกับคนแล้ว                5.รัฐบาลต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนที่อยู่ใกล้กับประตูระบายน้ำ หรือพนังกั้นน้ำ เพื่อชี้แจงถึงการบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และกำหนดให้ชัดเจนถึงมาตรการเยียวยาประชาชนในพื้นที่ที่อาจต้องเสียสละรับน้ำ มิเช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งเหมือนที่คลองสามวาจะเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นตามมา จนรัฐบาลอาจอยู่ในสภาพมีอำนาจแต่บริหารไม่ได้ กลายเป็นรัฐล้มเหลวที่ประชาชนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการบริหารประเทศ ทั้งนี้พรรคยังยืนยันว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเพื่อบริหารบ้านเมืองในภาวะไม่ปกติ                นอกจากนี้ การแก้ปัญหามวลชนคลองสามวาโดยให้เปิดประตูระบายน้ำ 100 เซนติเมตร โดยไม่มีการแจ้งเตือนประชาชนปลายน้ำ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรม จะเกิดผลกระทบตามมา ถือเป็นการบริหารงานที่ล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง หากทำเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลและรัฐบาลไม่ควรบริหารแบบลอยตัว เพราะกลายเป็นว่าน้ำคือผู้บริหารแผ่นดินในขณะนี้ไปแล้ว                โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมองความอยู่รอดของประชาชนและบ้านเมืองเหนือความอยู่รอดทางการเมืองของตัวเอง โดยต้องสั่งให้คนของตัวเองหยุดการใส่ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกให้สังคม เช่น กรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.เพื่อไทย ออกมาระบุว่าเป็นโชคดีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ไม่เช่นนั้นจะมีขบวนการจ้องล้มรัฐบาลภายในเดือนธันวาคม แต่ไม่สามารถทำได้เพราะน้ำท่วมเสียก่อน                “ผมคิดว่าเป็นคำพูดที่เลือดเย็น ใจดำและโหดเหี้ยมกับคนไทยอย่างที่สุด ท่านพูดได้ยังไงครับว่าเป็นโชคดีที่น้ำท่วม ทำให้คนล้มรัฐบาลไม่ได้ มันแสดงชัดเจนว่าท่านเห็นความอยู่รอดของรัฐบาลสำคัญกว่าความทุกข์ยากของชาวบ้าน ถ้าท่านยังมีอำนาจอยู่ประชาชนจะจมน้ำตายช่างหัวมัน นี่คือผู้แทนปวงชนหรือครับ นายจตุพรอ้างถึงนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำว่า ท่านมอบให้กองทัพดู 5 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยเพราะถ้าล้มเหลวจะได้เฉลี่ยความรับผิดชอบไป 50 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่าท่านคิดทุกอย่างเป็นการเมืองหมด หวังโยนบาปให้กองทัพ เป็นที่มาของความล้มเหลวในทุกด้านของรัฐบาล ผมคิดว่าพี่น้องเสื้อแดงคงตาสว่างมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะที่พะเยาเท่านั้น เพราะหลายพื้นที่พี่น้องเสื้อแดงน้ำท่วมแต่นายจตุพรกลับขึ้นรถแห่หาเสียง” นายชวนนท์กล่าว                นายชวนนท์ยังตอบโต้นายจตุพรที่กล่าวหาว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กักน้ำในเขื่อนภูมิพลมากจนเป็นสาเหตุน้ำท่วมใหญ่ในขณะนี้ โดยยืนยันสถิติน้ำในเขื่อนซึ่งในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ระดับน้ำ 55 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้สูงผิดปกติ แต่เมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารประเทศระดับน้ำสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยไม่มีการพร่องน้ำอย่างที่ควรจะเป็น สิ่งนี้ต่างหากที่รัฐบาลต้องตอบว่าทำไมจึงไม่มีการบริหารจัดการน้ำจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่มีคนเสียชีวิตแล้วเกือบ 400 ราย ถ้าหากกล่าวหาว่าประชาธิปัตย์วางยา หมายถึงว่าประชาธิปัตย์แกล้งแพ้เลือกตั้งด้วยใช่หรือไม่                “นายจตุพรควรไปอ่านคำสัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็จะทราบว่าใครต้องรับผิดชอบกับความเสียหายของชาติในเวลานี้ ผมทบทวนคำพูดของนายกรัฐมนตรีให้ฟังก็ได้ครับ น.ส.ยิ่งลักษณ์พูดว่า เราดูแลมา 3-4 เดือนแล้ว บางส่วนเข้ามาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และเจอพายุ 4 ลูกติดต่อกัน โดยปกติแล้วเจอพายุลูกหนึ่งก็จะถูกระบายผ่านเขื่อน และมีช่วงพักในการระบายน้ำ แต่วันนี้ไม่ใช่ เจอลูกหนึ่งก็เก็บไว้ๆ และเจออีกหลายลูก ก็ยังเก็บต่ออีก จึงกลายเป็นปริมาณน้ำที่สะสมมาถึง 4 ลูก ชัดเจนไหมครับว่ารัฐบาลไหนที่บริหารจัดการน้ำล้มเหลว เรื่องนี้อย่าโยนบาปให้อธิบดีกรมชลประทาน หรือหาแพะหลังสถานการณ์น้ำท่วม ควรสอบสวนเรื่องนี้อย่างจริงจังว่าใครทำให้การบริหารน้ำล้มเหลว อย่าให้มีการกล่าวอ้างว่าไม่บริหารน้ำไปบางพื้นที่เพราะมีเศรษฐีตะวันออกไปซื้อที่นาไว้ หรือท่านไปตกลงลับๆ กับนิคมอุตสาหกรรม หรือมีนักการเมืองเอาปืนไปจ่อหัวเจ้าหน้าที่กรมชลประทานทำให้ระบายน้ำไม่ได้ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องทำทันทีหลังน้ำลด และประธานสภาไม่ควรเบี้ยวการเปิดประชุมอีก ไม่ต้องกลัวประชาธิปัตย์ขยี้รัฐบาลเพราะประชาชนเตรียมขยี้รัฐบาลอยู่แล้ว หากไม่ยอมเปิดสภาหรือปิดสภานี้ก็คือเผด็จการใช้กลไกรัฐสภาพื่ดตัวเอง แต่ประชาธิปัตย์ใช้เวทีนี้เพื่อประชาชน ยืนยันสองวันนี้คือวันที่ 2 และ 3 นี้จัดหนักแน่นอน” นายชวนนท์กล่าว                ด้าน นายเจ๊ะอามิง โต๊ะตาหยง รมช.มหาดไทยเงาพรรคประชาธิปัตย์ นำสถิติระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลมาแสดงต่อสื่อมวลชน เพื่อให้ห็นว่าระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลยุคที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บริหารงานสูงถึง 9 พันล้านลูกกบาศก์เมตรในวันที่ 3 สิงหาคม แต่ปล่อยให้น้ำสูงถึง 1.3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรจึงค่อยปล่อยน้ำออกมา แตกต่างจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่จะพร่องน้ำจากเขื่อนเมื่อระดับน้ำสูงไม่เกิน 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร แต่ทำไมรัฐบาลชุดนี้กับปล่อยให้ระดบน้ำสูง 1.3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรค่อยปล่อยน้ำ ถือว่าเกินระดับที่เขื่อนจะรับไหว เท่ากับตั้งใจให้เกิดน้ำท่วมใช่หรือ ไม่ สิ่งที่พูดไม่ใช่การโยนความผิดไปมา เพราะข้อมูลนำมาจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้ที่ http//tiwrm.haii.or.th แต่ก็ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะปิดข้อมูลน้ำที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวหรือยัง http://www.manager.co.th
คนกรุงหนีน้ำท่วมไปพัทยาทำรถติดหนัก - กทพ.ขยายวันงดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
       ชาวกรุงลี้ภัยน้ำท่วม ขึ้นรถออกจาก กทม.มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองชลบุรี ส่งผลการจราจรในพัทยาติดขัดอย่างหนัก ด้าน ศปภ.แจ้งขยายเวลาเว้นค่าผ่านทางพิเศษถึงวันที่ 14 พ.ย.นี้ วอน ปชช.งดจอดรถบนทางพิเศษ เหตุเป็นเส้นทางหลักเส้นสุดท้ายในการขนส่งความช่วยเหลือต่างๆ                วันนี้ (1 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพการจราจรภายในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ว่าการจราจรอยู่สภาวะค่อนข้างติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากประชาชนจำนวนมากได้เดินทางหนีภัยน้ำท่วมจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดชลบุรี                นอกจากนี้ ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ได้แจ้งว่า ตามที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของ ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนพิเศษ (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ตั้งแต่วันที่ 23-31 ต.ค.นั้น ทั้งนี้ เนื่องจากขนาดนี้ได้เกิดภาวะน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอีกหลายพื้นที่ กทพ.จึงขอขยายเวลาการงดเว้นค่าผ่านทางของทางพิเศษทั้ง 3 สาย จนถึงวันที่ 14 พ.ย.เวลา 24.00 น. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้สามารถสัญจรในช่วงที่เกิดอุทกภัยได้สะดวก                ทั้งนี้ กทพ.ยังขอสงวนเส้นทางบนทางพิเศษทุกสาย เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงวัสดุอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังมีความรุนแรง จนทำให้การจราจรขนส่งอาจต้องหยุดชะงัก ทางพิเศษจึงเป็นเส้นทางหลักสุดท้ายในการขนส่งความช่วยเหลือต่างๆ ไปยังพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน จึงห้ามจอดรถทุกชนิดบริเวณทางพิเศษ                                 http://www.manager.co.th
กทม.แจงศปภ.เร่งยุติปัญหามวลชนก่อนน้ำท่วมพื้นที่
(1 พ.ย.54) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เวลา 11.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงภายหลังการประชุมสรุปสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ประเมิณสถานการณ์น้ำรายวัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หวั่นพื้นที่นิคมฯ ด้านตะวันออกได้รับผลกระทบ หลังเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาเพิ่มอีก 1 ม.            สำหรับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้ยังสูงอยู่ ที่ระดับประมาณ 2.48 ม.รทก. แต่ไม่สูงเช่นวันอื่นก่อนหน้านี้ ส่วนน้ำในคลองสองและคลองทวีวัฒนายังทรงตัว น้ำในคลองมหาสวัสด์ยังมีปริมาณมาก และล้นคันกั้นน้ำอยู่ประมาณ 10-15 ซม.           ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนใหญ่พบว่ายังมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และเริ่มขยายวงกว้างออกไป โดยเมื่อคืนนี้ กทม.ได้ออกประกาศให้แขวงบางไผ่ เขตบางแค ให้เป็นพื้นที่อพยพเพิ่มเติม เนื่องจากน้ำได้ขยายตัวเข้าไปในพื้นที่เขต และทุกชุมชนได้รับผลกระทบแล้ว นอกจากนี้ยังประกาศให้แขวงบางชัน เขตคลองสามวาเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ทั้งนี้เนื่องจากกทม.ได้รับคำสั่งให้เปิดประตูน้ำที่คลองสามวากว้างเพิ่มขึ้นอีก 1 ม. ทำให้แขวงบางชันกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงทันที รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชันด้วย           นอกจากนี้ ยังได้รับการรายงานอย่างไม่เป็นทางการอีกว่า ศปภ.ไม่สามารถปิดประตูน้ำที่คลองแปด และคลองสิบได้ เนื่องจากประชาชนจำนวนหนึ่งไม่ยอม ซึ่งหากเป็นจริงจะส่งผลต่อพื้นที่ด้านหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บริเวณคลองแสนแสบ และคลองลำประทิว มีระดับน้ำสูงขึ้นมาก ประกอบกับการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา 1 ม. จะส่งผลโดยตรงต่อกรุงเทพฯ ตะวันออก รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังด้วย เฝ้าระวังกรุงเทพฯ ตะวันตกเป็นพิเศษ เนื่องจากระบบระบายน้ำยังไม่ดี           สำหรับพื้นที่ด้านตะวันตก พบปริมาณน้ำเริ่มขยายตัวออกเป็นวงกว้าง และมีมวลน้ำจากจ.นครปฐมเพิ่มมากขึ้น  อีกทั้งระบบระบายน้ำกรุงเทพฯ ตะวันตก ไม่ดีเท่ากรุงเทพฯตะวันออก กทม.จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยเร่งระบายน้ำทั้งการใช้เครื่องสูบน้ำและเปิดประตูระบายน้ำทั้งในส่วนของกทม.และศปภ. ไปลงด้านคลองมหาชัย ทั้งนี้จำเป็นต้องขอทุกหน่วยงานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำให้เพียงพอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยกทม.จะเร่งประสานไปยังศปภ.และหน่วยงานอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือต่อไป   ผู้ว่าฯ กทม. ขอผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง ยืนยันตามข้อสรุปที่ได้หารือร่วมกัน           ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า หากมีการหารือระหว่างหน่วยงาน และมีข้อสรุปร่วมกันแล้ว จำเป็นที่จะต้องยืนยันและปฏิบัติไปตามนั้น  โดยขอให้ผู้ที่ดำเนินการที่เกี่ยวข้องใจแข็งต่อข้อเรียกร้องของประชาชนจำนวนน้อย หากมีข้อสรุปใดแล้วต้องยืนยันตามนั้น นอกจากว่าข้อสรุปนั้นเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิคเท่านั้นจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่าได้เปลี่ยนแปลงตามความต้องการของประชาชนส่วนน้อยเพียงเท่านั้น           ทั้งนี้ขอยืนยันว่าตนเองก็เป็นนักการเมืองที่รักประชาชนเช่นเดียวกับนักการเมืองท่านอื่น แต่ก็ดูผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลักด้วย แต่ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้กทม. มีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงาน   สำนักระบายน้ำช่วยฝั่งธนฯ เร่งระบายน้ำเต็มที่           นายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า น้ำในคลองมหาสวัสดิ์ส่วนหนึ่งล้นผ่านเข้ามาในด้านกรุงเทพฯตะวันตกแล้ว ระบบระบายน้ำหลักในขณะนี้คือคลองภาษีเจริญ โดยได้เร่งระบายออกไปยังคลองอื่นๆ เพื่อลงแม่น้ำเจ้าพระยา และกทม.ได้ประสานขอให้ศปภ.เพิ่มระบบระบายน้ำที่กระทุ่มแบนเพื่อระบายน้ำออกไปยังพื้นที่อื่นให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามมวลน้ำที่มาจากทางเหนือค่อนข้างมาก ทางฝั่งธนบุรีจึงต้องเร่งป้องกัน ทั้งนี้กทม.ได้เร่งดำเนินการเสริมแนวป้องกันแล้ว แต่รถบรรทุกเข้าไปได้ยากมาก จึงได้เปลี่ยนมาใช้เรือแทน   และเร่งดำเนินการสูบน้ำโดยใช้ปั๊มน้ำ 4 ตัว สามารถระบายได้ 100 กว่าลบ.ม.ต่อวินาที และที่จ.นครปฐมก็สามารถเร่งระบายได้ 100 กว่าลบ.ม.ต่อวินาทีเช่นเดียวกัน           ในส่วนกรุงเทพฯ ตะวันออก จากการที่ศปภ.ไม่สามารถปิดประตูระบายน้ำด้านบนได้ เนื่องจากประชาชนไม่ยอม ทำให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านล่าง และหากน้ำล้นคันเข้ามาจะทำให้พื้นที่ทั้งหมดมีปัญหา ทั้งนี้มีหลายตัวแปรทั้งที่ประตูน้ำมีนบุรี ประเวศ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องดูตัวแปรทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันด้วย http://www.bangkokgis.com
สรุปสถานการณ์น้ำและการแก้ไขในพื้นที่กรุงเทพฯ 1 พ.ย.2554
 กทม.แจงศปภ.เร่งยุติปัญหามวลชนก่อนน้ำท่วมทั้งพื้นที่  วันนี้ 13.15 น. ผว.ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำย่านสัมพันธวงศ์ จุดนัดพบ เขตสัมพันธวงศ์  ผู้ว่ากทม.แถลงเป็นห่วงตะวันออกที่สุด หลังเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาขึ้น๑ เมตรตามคำสั่งศปภ.ทำให้น้ำเข้าพื้นที่เร็วขึ้น ส่งผลให้แขวงบางชัน เป็นพื้นที่เสี่ยงแล้ว โดยส่งผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ชี้แจงศปภ. ถึงการเปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และ คลอง๑๐ ที่ปทุมฯ รววมกับการเปิดประตูที่คลองสามวา มีความเสี่ยงสุูงที่น้ำจะท่วมนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังและนิคมฯบางชัน รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออกทั้งหมด  ผู้ว่าฯ กทม.หวังให้ ศปภ.ดำเนินการตามข้อสรุปที่ได้หารือร่วมกัน ไม่หวั่นไหวไปตามข้อเรียกร้องของกลุ่มคน เพื่อแก้ไขปัญหาส่วนรวมได้อย่างแท้จริง โดยชี้แจงว่าปัญหาน้ำด้านตะวันออกแก้ได้โดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่ แต่รัฐบาลต้องใจแข็งกับปชช.ที่มาเรียกร้องเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม  ส.ก.กิจพล เขตประเวศประสานเทคโนฯลาดกระบังมอบเป็ดน้อยเตือนภัยให้เจ้าหน้าที่กทม.ใช้ตรวจวัดไฟรั่วก่อนเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย  เจ้าพระยาวันนี้ระดับน้ำ๒.๔๘เมตรลดลง ๑ซม.มีแนวโน้มระดับน้ำลดลงอีก น้ำทะเลหนุนสูงสุด ๑๒.๓๐น. ที่ระดับ+๑.๒๓เมตร  กรุงเทพฯตะวันตกน้ำเริ่มขยายตัว มวลน้ำใหญ่จากนครปฐมยังมีมาก ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระดมเครื่องสุูบน้ำจากหลายหน่วยงานช่วยกทม.เร่งระบายน้ำ http://www.bangkokgis.com
เกาะติดอุทกภัย ลุ้นระทึกกรุงเทพ
1/11/2011 15:16 น. หน้าศาลอาญา ถ.รัชดาฯ ทั้ง2ฝั่งยังไม่มีน้ำท่วมขัง ตร.จราจรแจ้งเวลา15.00น. บริเวณ ถ.รัชดาฯ หน้าศาลอาญาทั้ง2ฝั่งยังไม่มีน้ำท่วมขัง/ม.เสนานิเวศน์2 น้ำท่วมสูงรถผ่านไม่ได้   1/11/2011 14:58 น. คลองลาดพร้าวเอ่อล้นท่วมซอยรัชดา31 คลองลาดพร้าวเอ่อล้นท่วมซอยรัชดา31 แยก9-11 ชุมชนหลัง ม.ราชภัฏจันทรเกษมอ่วม ชาวบ้านยันไม่ย้าย   1/11/2011 14:56 น. เร่งอพยพคนชราบ้านบางแค หวั่นน้ำทะลัก หวั่นน้ำทะลัก เร่งอพยพคนชราบ้านบางแคไปศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักฯ จ.ราชบุรี วันนี้ไปได้เพียง 80 คน รออพยพต่อพรุ่งนี้ พร้อมรับบริจาคผ้าอ้อมสำเร็จรูป,น้ำดื่ม,อาหารกึ่งสำเร็จรูป โทร.0-2413-1141   1/11/2011 14:46 น. ลอกคูคลองสันดอนปากแม่น้ำ ระบายเจ้าพระยา-ท่าจีน กรมเจ้าท่า สนับสนุนเรือกว่า 56 ลำ ช่วยเป็นทัพหลังช่วยขนคน-สิ่งของ น้ำท่วมรอบกรุงเทพฯ และนำเรือตรวจการณ์กว่า 13 ลำ เข้ามาให้บริการ พร้อมเร่งขุดลอกคูคลองสันดอนปากแม่น้ำช่วยระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน   1/11/2011 14:44 น. หน้าเรือนจำคลองเปรมน้ำเริ่มสูง รถวิ่งได้เลนขวา 14.40น. ถ.งามวงศ์วาน หน้าเรือนจำคลองเปรมมีน้ำท่วม รถวิ่งได้เลนขวา/ถ.วิภาวดีรังสิตขาเข้า น้ำมาถึงบริเวณรพ.วิภาวดี   1/11/2011 14:40 น. แฉแก๊งตุ๋นปลอมเป็น อสม.ซ้ำเติมน้ำท่วม รมว.วัฒนธรรม เผยแก๊งตุ๋นปลอมตัวเป็น อสม.เบิกของบริจาคและฉกทรัพย์สิน หนุนฟื้นฟูโบราณสถาน และจิตใจผู้ประสบภัย   1/11/2011 14:40 น. ส่งทีมแพทย์เคลื่อนที่ ช่วย 6 เขต กทม. รมว.สธ. ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ลงบริการผู้ประสบภัยน้ำท่วม 6 เขต กทม. ขณะที่ย้ายผู้ป่วยออกจาก กทม.แล้ว 395 ราย ด้าน รพ.ศิริราช งดรับผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน   1/11/2011 14:40 น. อย.เปิด Fast Track แก้ปัญหาอาหารขาดแคลน อย.เปิดให้บริการ Fast Track อำนวยความสะดวกผู้ผลิต แก้ปัญหาขาดแคลนอาหารช่วงน้ำท่วม   1/11/2011 14:38 น. รมว.อุตสาหกรรม ลงพื้นที่กรุงเก่า หาทางกู้นิคมฯจมน้ำ "วรรณรัตน์"เตรียมลงพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เย็นนี้ หาแนวทางกู้นิคมอุตสาหกรรม ชี้หากน้ำลดต่ำกว่าแนวกั้นสามารถเริ่มกระบวนการสูบน้ำกู้ได้   1/11/2011 13:45 น. ขสมก.จัดรถเวียนฟรี อนุสาวรีย์-ศูนย์ราชการ ตั้งแต่ 1 พ.ย. ขสมก.จัดรถเวียนฟรี เส้นทางอนุสาวรีย์ชัยฯ-สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร-ศูนย์ราชการ ตั้งแต่06.00-20.00น. ขึ้นรถฝั่งหลฯขาออก สอบถาม โทร.184   1/11/2011 13:00 น. ให้กำลังใจสู้ๆ ครม.รุมโอ๋ปู รีเทิร์นดอนเมือง นายกรัฐมนตรีมอบ 4 นโยบายข้อเร่งกู้น้ำท่วม ด้านปลอดประสพ นำทีม ครม. โอ๋ "ปู" สู้ๆ น้ำท่วม เล็งอาจกลับไปใช้สนามบินดอนเมืองเป็นศูนย์ ศปภ.อีกครั้ง   1/11/2011 12:24 น. ครม.ตั้ง เฉลิม เป็นประธานศูนย์ดูแลความปลอดภัยประชาชน ครม.ตั้ง “เฉลิม” เป็นประธานศูนย์ดูแลความปลอดภัยประชาชนช่วงน้ำท่วม ระดมกำลังตำรวจทุกภาคส่วนลงพื้นที่ตรวจพื้นที่ ย้ำใช้การเจรจาประชาชนทำลายพนังกั้นน้ำ ยันไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษสกัดวิกฤติน้ำท่วม   1/11/2011 12:17 น. ปราโมทย์ชี้30ปี 'ฟลัดเวย์'ไม่โต เหตุรัฐไม่ทำจริงจัง ปราโมทย์ ไม้กลัด ระบุ กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐเดินหน้าแนวพระราชดำริ "ฟลัดเวย์" ไม่ต่อเนื่อง ขนาดชุมชนโตขึ้นการจัดการลำบาก   1/11/2011 12:05 น. เฟซบุ๊กนายกฯ แจงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย เฟซบุ๊กนายกรัฐมนตรี รายงานข้อมูลความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย   1/11/2011 12:03 น. ซอยคู้บอนน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่มีแนวโน้มลดลง ซอยคู้บอนน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่มีแนวโน้มลดลง/จากปากซอยเสือใหญ่ไปโลตัสวังหิน น้ำสูงเกือบ20ซม.รถเล็กยังผ่านได้   1/11/2011 11:56 น. ถ.พหลโยธิน น้ำเอ่อถึงซ.34 รถเล็กยังผ่านได้ ถนนพหลโยธิน น้ำทะลักถึง ซ.พหลฯ34 หรือเสนานิคม2 ระดับน้ำสูงประมาณ 15 ซม. รถเล็กยังผ่านได้ แนะตามสถานการณ์ใกล้ชิด   1/11/2011 11:51 น. อิมแพค ขยายเวลาจอดรถถึงวันที่ 11 พ.ย. อิมแพค ขยายเวลาจอดรถจากเดิมวันที่ 4พ.ย. ออกไปเป็นวันที่ 11พ.ย. สอบถามเพิ่มเติม โทร.0-2833-5777-8   1/11/2011 11:35 น. วิภาวดีขาเข้าน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า ตั้งแต่สโมสรตำรวจ ผ่านหน้าเดลินิวส์ ถึงโรงพยาบาลวิภาวดี ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ภาพจาก : Thai PBS   1/11/2011 11:34 น. ปชป.จี้รัฐเร่งจ่ายชดเชยพื้นที่รับน้ำท่วมก่อนจลาจล รองโฆษก ปชป.แนะรัฐเร่งจ่ายชดเชยพื้นที่รับน้ำท่วมก่อนบานปลายกลายเป็นจลาจล เหน็บพร้อมช่วยรัฐทุกทาง แต่ไร้การตอบรับ ยันไม่เห็นด้วยไม่ขยายวันหยุดเพิ่ม   1/11/2011 11:33 น. เมืองปทุมฯยังกรุ่น ชาวบ้านระแวงการรื้อคันกั้นน้ำ เจ้าหน้าที่ตำรวจคุมเข้ม หลังชาวปทุมธานีหลายชุมชนต่างระแวงการรื้อคันกั้นน้ำ ขณะข่าวลือทหารถอนกำลังจากพื้นที่ส่งผลชาวบ้านระส่ำ   1/11/2011 11:32 น. ปภ.เตือนชาวบ้านย่านเพชรเกษมเก็บของขึ้นที่สูง พุทธมณฑลท่วมสูงกว่าเมตร น้ำหลากไปทางเพชรเกษม ปภ.นครปฐมเตือนประชาชนเก็บของขึ้นที่สูง   1/11/2011 10:56 น. หน้าเมเจอร์รัชโยธิน ยังไม่มีน้ำท่วมขังทั้ง2ฝั่ง ตร.จราจรแจ้ง ถ.พหลฯช่วงหน้าเมเจอร์รัชโยธิน ทั้ง2ฝั่งยังไม่มีน้ำท่วมขัง แต่ให้ตรวจสอบข้อมูลเป็นระยะ   1/11/2011 10:55 น. พิษน้ำท่วม1พย. ตร.แจ้งปิดถนน25สายในกทม. พิษน้ำท่วม1พย. ตร.แจ้งปิดถนน25สายในกทม. อาทิ ถ.วิภาวดีฯตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถานถึงหลักสี่,ถ.จรัญฯตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ถึงสะพานพระราม7   1/11/2011 10:52 น. "ปลอดประสพ" รับน้ำเหนือยังค้างอยู่ตอนเหนือกรุงเทพฯ "ปลอดประสพ" รับน้ำเหนือยังค้างอยู่ตอนเหนือกรุงเทพฯ แต่ไม่ใช่8,000ลบ.ม. เลี่ยงตอบถล่มกรุงหรือไม่   1/11/2011 10:32 น. 'วิชาญ'จ่อชงรัฐเปิดประตูฯบางชันหวั่นนิคมจมน้ำ "วิชาญ" จ่อขอรัฐเปิดประตูระบายน้ำบางชันเพิ่ม รับน้ำจากคลองสามวาต่อ ชี้สภาพคลองรับน้ำเป็นคอขวดหวั่นกระทบนิคมอุตสาหกรรมบางชัน   1/11/2011 10:30 น. น้ำคลองแสนแสบเพิ่มเล็กน้อย ยังไม่เข้านิคมฯบางชัน หลังเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาเพิ่มเป็น1ม. น้ำคลองแสนแสบหลังนิคมฯบางชันเพิ่มเล็กน้อย-ยังไม่เข้านิคมฯ ต้องประเมินวันต่อวัน   1/11/2011 10:21 น. น้ำท่วมสิงห์บุรี ชาวบ้านผวาจระเข้วนเวียน ชาวบ้านสิงห์บุรีพายเรือไปทำงาน สะดุ้งเจอจระเข้ยาว 2 เมตร นอนผึ่งแดดกลางพงหญ้า ด้านผู้ว่าฯ สิงห์บุรี จัดทีมออกติตตามล่าแต่ไร้วี่แวว เตือนประชาชนอย่าปล่อยเด็กมาเล่นน้ำ ส่วนท่ีย่านเศรษฐกิจ ตลาดปากบาง (หมื่นหาญ 150 ปี) อ.พรหมบุรี น้ำยังสูง 2.5 เมตร   1/11/2011 10:09 น. ปภ.สรุป 26 จ.ยังจมบาดาล ตายสะสม 384 ศพ ปภ.ระบุ ยังมีน้ำท่วมใน 26 จ. รวมทั้งกรุงเทพฯ แต่ยังไม่มีจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ มีผู้เดือดร้อนกว่า 2.1 ล้านคน จากกว่า 7.1 แสนครอบครัว ส่วนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 ราย รวมเป็น 384 ราย   1/11/2011 10:00 น. รองผู้ว่าฯกทม.ระบุเปิด'คลองสามวา'กระทบกรุงแน่ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครชี้เปิดประตู "คลองสามวา" กทม.โดนแน่ พร้อมระบุวันนี้ต้องจับตา "รัชดาภิเษก" ด้าน ม.เกษตร หวั่นน้ำคืบถึงสะพานควายขอ กทม.เร่งระบายน้ำวิภาวดี  http://www.thairath.co.th
รองผู้ว่ากนอ.เผย 50ซม.น้ำเข้านิคมฯบางชัน
รองผู้ว่ากนอ. เผย 50 ซ.ม. น้ำท่วมถึง ถ.นิคมอุตสาหกรรมบางชัน สร้างแนวคันกั้นออก 6 บล็อก ชี้ หากน้ำท่วมกระทบอุตสาหกรรมอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์ มูลค่ารวมเกือบ 2 หมื่นล้าน นายสมคิด แท่นวัฒนกุล รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึง แผนรับมือน้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางชันว่า ขณะนี้ได้มีการทำแนวกระสอบทรายเป็นแนวคันกั้นน้ำ โดยมีการแบ่งพื้นที่ภายในนิคมฯ ออกเป็น 6 บล๊อค เพื่อป้องกันน้ำเข้าในโรงงานภายในนิคมฯ โดยที่ปัจจุบันแนวคันกั้นของนิคมฯ สูงกว่าระดับน้ำประมาณ 50 ซ.ม. หากระดับน้ำสูงเกินแนวคันกั้นจะทำให้น้ำท่วมพื้นผิวถนนที่สูง 1.25 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ภายในนิคมฯได้ และหากปริมาณน้ำเยอะกว่า 50 ซ.ม. อาจจะเข้าสู่ภายในโรงงานในนิคมฯ ได้ ที่มีโรงงานอยู่ 93 โรง แบ่งเป็น 3 อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์และอาหาร มีลูกจ้างกว่า 1.3 หมื่นคน มูลค่าการลงทุน 19,848 ล้านบาท http://news.sanook.com/
สี่แยกพงษ์เพชรน้ำท่วมสูง จราจรอัมพาต
สถานการณน้ำท่วมพื้นที่ กทม. น้ำได้ไหลเข้าท่วมหลายจุด เตือนประชาชน ให้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมบนถนนสายต่างๆ อย่างใกล้ชิด จากระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นบริเวณสี่แยกพงษ์เพชร ล่าสุดรถทุกชนิดไม่สามารถใช้เส้นทางบน ถ.งามวงศ์วาน ได้ ผู้ที่ต้องการจะสัญจรผ่านต้องใช้ทางยกระดับเท่านั้น โดย ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า บริเวณด้านหน้าซอยชินเขต ระดับน้ำสูง มีเจ้าหน้าที่ทหารคอยให้บริการประชาชน และจัดการจราจรให้รถสามารถผ่านเส้นทางไปได้ ส่วนฝั่งขาออก ถ.งามวงศ์วาน บริเวณด้านหน้าตลาดพงษ์เพชร น้ำจากคลองประปายังคงท่วมสูงบริเวณสี่แยกพงษ์เพชร รถทุกชนิดต้องใช้สะพานข้ามแยก ทำให้การจราจรติดขัดมาก ตั้งแต่บริเวณแยกบางเขน มุ่งหน้าสี่แยกพงษ์เพชร ไปจนตลอด ถ.งามวงศ์วาน ด้าน กองบังคับการตำรวจจราจร หรือ บก.จร. ประกาศเตือนประชาชน ให้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมบนถนนสายต่างๆ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากขณะนี้น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำจากคลองระบายน้ำต่างๆ ในพื้นที่ กทม. หลายจุด ไหลเอ่อเข้าท่วมถนนสายหลักสำคัญ ทำให้รถไม่สามารถผ่านไปมาได้ และให้หลีกเลี่ยงเส้นทางแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งหมด เพราะจะมีปัญหาน้ำท่วมจาก น้ำทะเลหนุน ต่อเนื่องในระยะนี้ พร้อมแจ้งเตือนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่จำเป็นต้องปิด จำนวน 24 เส้นทาง ที่ปิดไปก่อนหนัานี้ ขณะที่ในวันนี้ อาจะมีการปิดการจราจรในอีก 3- 4 เส้นทาง อาทิ ถนนเพชรเกษมช่วงตลาดบางแค เส้นทางถนนพุทธมณฑลสาย 1 ถนนเลียบคลองประปา จากแยกพงษ์เพชรถึงแยกประชานุกูล มีน้ำทะลักออกมาจากคลองประปา ท่วมผิวการจราจรแล้ว และเส้นทางถนนพหลโยธินหน้าเมเจอร์ รัชโยธิน เริ่มมีเอ่อออกมาจากท่อระบายน้ำแล้ว รวมถึง ถนนกัลปพฤกษ์ต่อเนื่องถนนบรมราชชนี และราชพฤกษ์ เป็นบางจุด เนื่องจากมีน้ำไหลเข้าท่วม http://news.sanook.com/1068147/สี่แยกพงษ์เพชรน้ำท่วมสูง-จราจรอัมพาต/
<< 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา