หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
รศ.ดร.เสรี เตือน กทม.น้ำอาจสูงถึงเอว นาน 1 เดือน
รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวทางไทยพีบีเอสว่า น้ำที่ล้นมาจากปัญหาที่ประตูคลองหนึ่งไม่สามารถปิดได้ จนทำให้น้ำจากคลองระพีพัฒน์ไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตดอนเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธินนั้น มีแนวโน้มว่า ภายใน 2-3 วันนี้จะไหลเข้าไปถึงเขตจตุจักร และเขตดินแดง ทั้งนี้น้ำจะสูงประมาณ 20-30 ซ.ม. ประชาชนยังไม่ต้องถึงขั้นอพยพออก จากนั้นคาดว่าน้ำจะไหลเข้าสู่ระบบอุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9 เพื่อลงสู่ทะเลต่อไป โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งแก้ไขปัญหาบริเวณช่องระบายน้ำประตูดำ เขตดอนเมือง น้ำยังคงไหลแรงและเร็วมาก หากปล่อยไว้จะทำให้น้ำจากจุดนี้ไหลเข้าสู่แขวงสีกัน เขตดอนเมือง และไหลเข้าสู่คลองประปาได้ นอกจากนี้ ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ น้ำที่ไหลมาจาก จ.ปทุมธานี และอ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จะไหลเข้าสู่พื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ และคลองทวีวัฒนา คาดว่าน้ำจะล้นคันกั้นเข้าท่วมพื้นที่ภายใน 7-8 วัน โดยระดับน้ำจะสูงประมาณ 1 เมตร ซึ่งจะเป็นลักษณะน้ำเอ่อล้นคลองเข้าท่วม ส่วนจุดที่น่าเป็นห่วงคือพนังกั้นกระสอบทรายริมแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ของกรุงเทพฯ ซึ่งต้องดูแลให้แข็งแรง เพราะหากเกิดพังเสียหายจะทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทันที และระดับน้ำจะเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระดับน้ำเจ้าพระยาสูงมาก ขณะที่ฝั่งตะวันออก คาดว่าน้ำจะเอ่อล้นคันกั้นของคลองหกวาสายล่างเข้าท่วมพื้นที่ย่านเขตสายไหมภายใน 4-5 วันนี้ โดยระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร จากนั้นน้ำจะไหลไปคลองแสนแสบ คลองสามวา หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง ประเวศ ออกไปทางสำโรงภายใน 10 วัน ทั้งนี้ รศ.ดร. เสรียังระบุอีกว่า ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ปทุมวัน สีลม บางรัก สาทร ราชเทวี ห้วยขวาง วัฒนา น้ำจะท่วมระดับเอว และท่วมนาน 1 เดือน Mthai News
ในหลวง รับสั่งให้กองทัพไม่ต้องดูแลเขตพระราชฐานเป็นพิเศษ
Mthai News :ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ว่า เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก โดยเปิดเผยขณะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมย่านจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัดว่า กองทัพบกยังส่งกำลังดูแลทุกพื้นที่ ทั้งการจัดกำลังซ่อมพนังกั้นน้ำจุดที่เสียหายและมีน้ำทะลักเข้ามาจากแม่น้ำ และการสนับสนุนการอพยพประชาชนในจุดเสี่ยง รวมทั้งจุดวิกฤติต่างๆ ส่วนภารกิจในการป้องกันพระบรมมหาราชวังและเขตพระราชฐาน เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมได้รับมอบภารกิจ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ทรงเป็นห่วงสถานการณ์และมีพระราชประสงค์โปรดให้ทุกฝ่ายดูแลพื้นที่ต่างๆ ให้ทั่วถึง ขณะที่กองทัพบก สนับสนุนการดูแลทุกส่วนอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำจากทางเหนือ และน้ำทะเลหนุนสูง พื้นที่ตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงประชาชนมาโดยตลอด มีรับสั่งให้กองทัพไม่ต้องดูแลเขตพระราชฐานอะไรเป็นพิเศษ ขอให้เป็นไปตามธรรมชาติ ขณะที่กองทัพได้ประสานไปยังสำนักพระราชวัง ในการทำทางลาดโค้งหลังเต่าบริเวณรอบนอก ซึ่งพื้นที่ภายในเจ้าหน้าที่ได้มีการเตรียมรับมือไว้แล้ว แต่ยอมรับพื้นที่ภายในดำเนินการค่อนข้างลำบาก ซึ่งขณะนี้แม้ยังจะไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวังอย่างเป็นทางการ แต่ก็ได้เตรียมแผนไว้แล้ว Mthai News
ศปภ.แนะปชช.ออกตจว.เพื่อความปลอดภัย
ฟังคลิปเสียงข่าว ศปภ. แถลงเตือน ปชช. เตรียมพร้อมรับมือน้ำเหนือ แนะใช้วันหยุดยาว เดินทางออกไปต่างจังหวัดเพื่อความปลอดภัย ย้ำ เร่งสร้างศูนย์พักพิงเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัย หรือ ศปภ. แถลงข่าว สรุปภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมในต่างจังหวัดที่ค่อยๆ ทยอยดีขึ้น อาทิ นครสวรรค์ ที่ประชาชนบางส่วนเริ่มกลับเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือนแล้ว แต่ในส่วนของกรุงเทพฯ ยังก็มีการเตือนให้ประชาชน เตรียมพร้อมรับมือ และแนะนำให้ใช้โอกาส ที่รัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดราชการ เดินทางออกต่างจังหวัด ไปพักกับญาติ ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีความปลอดภัยก่อน เพราะหวั่นเกรงในปริมาณน้ำเหนือที่จะมาสมทบ ประกอบกับ น้ำทะเลหนุนสูง ในวันที่ 28 - 31 ต.ค.นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในการแถลงของ ศปภ. ครั้งนี้ ยืนยันว่า ได้มีการพยายามที่จะเตรียมจัดตั้งศูนย์พักพิง เพื่อช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทั่วถึงด้วย Link : http://www.innnews.co.th/ศปภ-แนะปชช-ออกตจว-เพื่อความปลอดภัย--317177_01.html
'สุวรรณภูมิ'กันน้ำท่วม-ให้บริการปกติ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยืนยัน ให้บริการผู้โดยสารด้วยเที่ยวบินตามปกติ เผย มีความพร้อมของระบบป้องกันน้ำท่วม อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตั้งศูนย์เฝ้าระวังระดับน้ำ โดยรอบพื้นที่อย่างใกล้ชิด           เมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 ต.ค.54 ผู้สื่อข่าวได้ขับรถสำรวจพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อสำรวจการป้องกันน้ำท่วมของสนามบิน ได้พบว่า พื้นที่โดยรอบสนามบินมีการกั้นเขื่อนดินอันแน่นสูงเกือบ 4 เมตรโดยรอบสนามบินซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 23 กิโลเมตร           นอกจากนี้ สองฝากถนนซึ่งเป็นเส้นทางเข้าออกสนามบินทางด้านถนนบางนา-ตราด ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ได้นำดินจำนวนมากมาทำการถมปิดร่องระบายน้ำและใช้แผ่นปูนที่สูงจากพื้นถนนประมาณ 1 เมตร มาทำการปิดกั้นทำเป็นกล่องสองฟากถนน เส้นทางเข้าออกสนามบิน ก่อนที่นำดินถมลงไปอัดแน่น และนำกระสอบบรรจุทรายปิดทับด้านบน ทำให้มีความสูงจากพื้นที่ถนประมาณ 150 เซนติเมตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต่างเร่งกันดำเนินการอยู่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเย็นวันเดียวกัน           ด้าน นางสาววิไลวรรณ นัดวิไล โฆษกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้จัดสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วยเขื่อนดินที่มีความสูง 350 เซนติเมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีฐานกว้าง 370 เซนติเมตร โดยรอบพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีระยะทางยาว 23.5 กิโลเมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากภายนอกรวม           นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งสถานีสูบน้ำอีก 2 สถานี ซึ่งมีเครื่องสูบน้ำรวมกันจำนวน 8 เครื่อง สามารถสูบน้ำออกจากสนามบินได้ปริมาณ 12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง และประสานกับงานกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวในการระบายน้ำ           "ขอยืนยันว่า ทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังให้บริการผู้โดยสารและเที่ยวบินได้ตามปกติ และในขณะนี้มีประชาชนได้นำรถมาจอดในพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวภายในสนามบินสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ขอความร่วมมือผู้โดยสารที่จะเดินทางมาสนามบินสุวรรณภูมิให้เผื่อเวลาในการเดินทางล่วงหน้า และขอแนะนำให้ใช้บริการรถสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ รถแท็กซี่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-132-1888 http://www.komchadluek.net/detail/20111026/113069/สุวรรณภูมิกันน้ำท่วมให้บริการปกติ.html
เตือน26-31ต.ค.ทะเลหนุนเกือบ4ม.
"ยิ่งลักษณ์" ควงเหล่าทัพตรวจเขตพระราชฐาน "กรมวัง" มั่นใจน้ำไม่ท่วมพระบรมมหาราชวัง ทหารเร่งดูแลพื้นที่ เตรียมแผนอพยพผู้ป่วยศิริราช นายกฯสั่งทำฟาสท์แทร็กสต๊อกยา หลังโรงงานกระทบ กรมอุทกศาสตร์เตือนระวัง 26-31 ต.ค. น้ำทะเลหนุนสูงเกือบ 4 เมตร              เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 26 ต.ค.2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปที่ท่าราชวรดิฐ เพื่อตรวจสถานการณ์และปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการป้องกันน้ำท่วมบริเวณพระบรมมหาราชวังและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 ร่วมตรวจเยี่ยม ขณะที่นายรัตนาวุธ วัชโรทัย กรมวัง เป็นผู้กล่าวบรรยายถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว            นายรัตนาวุธ กล่าวว่า เรื่องของระบบไฟฟ้าในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ไม่น่าเป็นห่วง ซึ่งมีการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ดูแลเป็นพิเศษอยู่แล้ว โดยตามปกติเมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าสะดุดก็มีไฟสำรองอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ผบ.ทบ.ได้เตรียมกำลังสารวัตรทหาร(สห.)เข้าไปตรวจดูบริเวณลานไฟฟ้าและประปาที่จะใช้ในวัง อย่างไรก็ตามการที่น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงขึ้นมากนั้นเกิดทุกปี เป็นเรื่องปกติของเรา เพียงแต่ปีนี้สูงกว่าเล็กน้อย และต้องเข้าใจว่าพื้นที่วังเป็นพื้นที่ต่ำ เมื่อเกิดปัญหาฝนตกน้ำก็จะท่วมเข้ามากลางลานพิธี แต่เรามีการติดต่อและปิดท่ออยู่แล้ว จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา นอกจากนี้ได้มีการเตรียมกระสอบทรายไว้ที่กรมการรักษาดินแดนซึ่งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง โดยมีความพร้อมทั้งเรื่องของกำลังคนและสิ่งของ และเมื่อน้ำล้นขึ้นเข้ามาก็พร้อมปิดประตูได้ทันที มีการติดต่อประสานงานกับฝ่ายทหารอยู่ตลอด            ด้านพล.อ.ประยุทธ์  กล่าวว่า มีการเตรียมการรับสถานการณ์บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ในภาพรวม และเราพร้อมส่งกำลังพลมาช่วยในเขตพระราชฐาน รวมถึงมีการเตรียมพร้อมเรื่องการจัดวางแนวกระสอบทราย            จากนั้น พ.อ.ธรรมนูญ วิถี ผู้อำนวยการกองยุทธการ กองทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า สำหรับพระตำหนักในพื้นที่กทม.และปริมณฑล รวม 12 แห่ง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก 9 แห่ง และกองทัพเรือ 2 แห่ง โดยในส่วนของกองทัพเรือนั้น กองทัพบกได้ส่งกำลังพลไปสมทบด้วย ซึ่งผบ.ทบ.ให้นโยบายในการดูแลพระตำหนัก เป็น 4 ขั้นตอน คือ 1.ขั้นการปฏิบัติ 2.ขั้นตอนเมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมเข้ามา 3.ขั้นตอนเมื่อจำเป็นต้องอพยพ และ4.ขั้นตอนการฟื้นฟูหลังน้ำลด ซึ่งในส่วนของพระบรมมหาราชวังก็มีการเตรียมขั้นตอนเหล่านี้ด้วย โดยขั้นแรก มีการเตรียมกระสอบทรายไว้ด้านในสำหรับกั้นประตู 7 ประตู และกองทัพภาคที่ 1 เตรียมกระสอบทรายไว้ที่กรมการรักษาดินแดน 20,000 กระสอบ เพื่อสำนักพระราชวังร้องขอเราจะจัดส่งไปได้ทันที ส่วนพื้นที่โดยรอบริมแม่น้ำนั้น มีกำลังของกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ลาดตระเวน ตรวจเสริมกระสอบทราย และมีเครื่องสูบน้ำอยู่ที่บริเวณท้ายวัง 2 เครื่อง และที่ท่าราชวรดิฐ 2 เครื่อง สำหรับกรณีที่เกิดน้ำท่วม ได้เตรียมเก็บสิ่งของในสำนักพระราชวังขึ้นไว้บนที่สูง เตรียมเคลื่อนย้ายรถต่างๆและผู้คน ส่วนขั้นตอนการอพยพคนนั้นขึ้นอยู่กับสำนักพระราชวัง ซึ่งเราได้จัดเตรียมรถและสถานที่สำหรับรองรับคน รวมถึงสิ่งที่เขาร้องขอ ส่วนขั้นสุดท้ายเราเตรียมจัดกำลังพลเข้าไปขนย้ายออกมาแล้วทำการซ่อมแซมและทำความสะอาด                       จากนั้นนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการที่ตนได้พูดคุยกับ กฟน. ทราบว่าเขามีตัวจ่ายไฟอยู่ด้านนอก จึงสบายใจได้ว่าอย่างน้อยเรื่องนี้จะไม่เกิดการติดขัด และตนกำลังดูเรื่องความคืบหน้าในการติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับน้ำแบบออนไลน์ เพื่อให้มีข้อมูลที่จะทำให้เราเข้าไปช่วยเหลือได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดปัญหา ทั้งนี้ ช่วงการฟื้นฟูนั้นทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องต้องมีการมาหารือกันอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม และจุดต่างๆที่เป็นจุดสำคัญ รวมถึงแนวคันกั้นน้ำ เตรียมแผนอพยพผู้ป่วย            ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นเวลา 14.45 น. นายกรัฐมนตรีเดินทางไปที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อตรวจดูสถานการณ์และปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน โดยมี ศ.คลีนิค น.พ.ธีระวัฒน์ กุลทนันทน์  คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และพล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. รายงานสถานการณ์และการเตรียมแผนการรับมือสถานการณ์อุทกภัย ทั้งนี้ ศ.คลีนิค น.พ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้การเตรียมการอยู่ในขั้นที่ 2 วันนี้ประมาณการปริมาณน้ำจะสูงอยู่ที่ 2.46 เมตร คือบริเวณชั้นใต้ดินปัจจุบันลงไม่ได้ โรงพยาบาลจะปิด-เปิดประตูเพียง 3 ประตู คือประตูทางเข้าบริเวณตึกอุบัติเหตุ ประตูทางสถานีรถไฟ และออกตรงวัดอรุณอัมรินทร์ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาทางกองทัพเรือโดยผบ.ทร.ได้เข้ามาดูแลโดยนำหน่วย เคลื่อนที่เร็วของทหารเรือเข้ามาทันที เวลาที่มีน้ำเอ่อท่วมเข้ามาภายใน 10 นาที ก็ช่วยกันวางกระสอบทราย ส่วนแผนการลำเลียงผู้ป่วยของโรงพยาบาลนั้น ปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราชมีผู้ป่วยที่ต้องช่วยหายใจจำนวน 127 คน ผู้ป่วยหนัก 500 คน และมีผู้ป่วยทั้งหมดประมาณ 2,000 คน เพราะฉะนั้นการลำเลียงผู้ป่วยกรณีหากเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะมีการลำเลียงทางน้ำ โดยทางโรงพยาบาลร่วมมือกับทางกองทัพเรือไปยังโรงพยาบาล 4 แห่ง ที่มีการประสานความร่วมมือกันอยู่ ประกอบด้วยโรงพยาบาลสิริกิติ์ของกองทัพเรือ โรงพยาบาลหัวหิน โรงพยาบาลกาญจนบุรี และโรงพยาบาลราชบุรี            นอกจากนั้นทางศิริราชก็ได้ประสานงานในการช่วยเหลือแพทย์ฉุกเฉินด้วยมีอาสา สมัครวันละประมาณ 40-50 คน ในส่วนของโรงพยาบาลศิริราชมีประมาณ 70 กว่าตึก แต่ตึกที่มีความสำคัญมีจำนวน 12 ตึก ตรงนี้ได้มีการวางแผนดูแลป้องกันเรียบร้อย โดยเฉพาะอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ตึกเครื่องมืออุปกรณ์สำคัญทางการเมืองที่มีเครื่องเอ็มอาร์ไอตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังมีระบบแก๊สทางการแพทย์ ระบบไฟฟ้าทาง กฟน.ได้เข้ามาดูแลและป้องกันไว้หมดแล้ว และทางกองทัพเรือก็ได้นำเครื่องผลิตไฟฟ้าสำรองมาเตรียมไว้ด้วยเช่นกัน สำหรับเรื่องของน้ำประปา ทาง กปน.ก็ยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาติดขัด แจงถวายรายงานแล้ว            “หลังจากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมหารือถึงแผนการป้องกันและ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมของโรงพยาลบาล ผมก็ได้กราบทูลฯถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเย็นวันจันทร์ที่ 24 ต.ค.ผ่านมาในรายละเอียดและแผนงานต่างๆ รวมทั้งผู้ที่รับผิดชอบ ซึ่งพระองค์ก็ทรงพอพระทัย ซึ่งทุกอย่างเราได้เตรียมพร้อมทั้งหมดแล้ว”ศ.คลีนิค น.พ.ธีระวัฒน์ กล่าวกับนายกรัฐมนตรี            พร้อมรายงานต่อว่า เนื่องจากโรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่จึงมีผู้ป่วยเข้ารับรักษา เป็นจำนวนมากแม้ปัจจุบันโรงพยาบาลจะสต๊อกยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ไว้จำนวน มากก็ตาม แต่เนื่องจากโรงงานผลิตได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันทางโรงพยาบาล จึงไม่แน่ใจว่าจะหาเวชภัณฑ์ได้ทันกับความจำเป็นหรือไม่ แม้เราจะสต๊อกยาไว้มาแล้วก็ตามแต่คิดว่าจะอยู่ได้แค่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น เร่งหาสต็อกยา ใช้ฟาสท์แทร็ค            ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้รับปากว่าจะเร่งดำเนินการโดยจะมอบหมายให้ทางกระทรวงสาธารณสุขประสานในการ จัดหาโดยจะใช้วิธีฟาสท์แทร็คเพื่อย่นระยะเวลาในการจัดซื้อ อีกทั้งได้ประสานกับทางกองทัพเพื่อส่งเครื่องบินชีนุกส์ไปขนย้ายตู่คอน เทรนเนอร์ที่จมน้ำอยู่ขึ้นมา เนื่องจากภายในยังมีอุปกรณ์หลายอย่างที่ยังใช้ได้อยู่            ขณะที่ ผบ.ทร. กล่าวว่า กองทัพเรือ กองทัพบก และกทม.ประสานกำลังในการดูแลพื้นที่ แต่โดยรอบโรงพยาบาลจะขึ้นกับทางโรงพยาบาลและกทม.ในการดูแลด้านหลังและด้าน ที่ติดกับบางกองน้อย จึงสามารถวางแนวป้องกันในความสูงระดับ 3 เมตร จากน้ำทะเล เป็นแนวตั้งรับขั้นที่ 1 ในส่วนแผนขั้นที่ 2 นั้น หากเมื่อน้ำพังทะลายเข้ามาภายในอาคาร กองทัพเรือจะรับผิดชอบในการทำแนวป้องกันโดยใช้การก่ออิฐและวางแนวกระสอบทราย สูง 3.50 เมตรเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามายังอาคารของโรงพยาบาล โดยทั้งหมดจะมีเครื่องสูบน้ำของกทม.กองทัพเรือร่วมกันในการผลักดันน้ำกรณี น้ำล้นเข้ามาบริเวณพื้นจากด้านข้างและด้านหน้าของอาคารทั้งหมดสามารถรรองรับ และป้องกันน้ำท่วมได้ 100 % ส่วนแผนขั้นที่ 3 คือการอพยพผู้ป่วยซึ่งได้มีการเตรียมการไว้เรียบร้อยแล้ว            ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่ได้ตรวจสภาพน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว นายกรัฐมนตรีพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโรงพยาบาลศิริราช ที่ห้องประชุมตึกอำนวยการ ชั้น 2 โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือและช่วยกันปก ป้องดูแลพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งการดำเนินงานมีแผนงานอย่างชัดเจน ซึ่งหลังจากที่ตนได้มาดูแล้วก็ดีใจและรู้สึกสบายใจ ซึ่งหากมีอะไรที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนขอให้แจ้งมาจดำเนินการให้โดยเร็ว และจะใช้การดำเนินงานที่โรงพยาบาลศิริราชนี่เป็นต้นแบบกับที่อื่นๆ            ด้านพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แม้เราจะผ่านพ้นสถานการณ์ในวันที่ 31 ต.ค.ไปได้ แต่เรายังคงต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมขังต่ออีกประมาณเดือน เพราะฉะนั้นจะต้องเตรียมแผนในการรับมือไว้ ย้ำทุกกระทรวงดูแลพื้นที่ตัวเอง            ต่อจากนั้นเวลา 16.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์เดินทางกลับมาที่ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และให้สัมภาษณ์ถึงการตรวจแนวป้องกันโรงพยาบาลศิริราชว่า ค่อนข้างมีความพร้อม เพราะมีแนวระดับน้ำทะเลไว้ให้ ว่าถ้ามีระดับนี้แผนขั้นที่หนึ่งจะทำอย่างไรแผนขั้นที่สองจะทำอย่างไร ก็ถือว่าเป็นโมเดลที่ดี ก็อาจจะให้ไปประยุกต์ใช้กับส่วนอื่นๆด้วย เชื่อว่าถ้าดูจากแนวแล้วมีการป้องกันจากข้างนอกสัก 3 เมตร กองทัพเรือมีการป้องกันชั้นในจุดที่สำคัญอีกสัก 3 เมตร 50เซนติเมตร ก็น่าจะสบายใจ และคงจะไปดูขยายผลเหตุผลอื่นอีกต่อไป ว่าในแต่ละจุดมีการดูแลอย่างไรแข็งแรงหรือไม่            ผู้สื่อข่าวถามว่า มีจุดไหนที่น่าเป็นห่วงอีกหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คงจะเป็นจุดหลักมากว่าที่เหลือ คือจุดสถานที่สำคัญก็พยายามให้ทุกกระทรวงรักษาในส่วนของตัวเอง และวันนี้ทุกกระทรวงก็ได้ติดตามดูแลกำกับอีกชั้นหนึ่ง และหากต้องการความช่วยเหลืออะไรทางศปภ.ก็จะให้ความช่วยเหลือไป แต่ในส่วนการดูแลที่เป็นห่วงคือผลกระทบกับพี่น้องประชาชน เพราะตามประตูน้ำต่างๆที่เป็นจุดหลักฝั่งที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา และฝั่งกรุงเทพฯที่ไหลมาใต้แนวคันพระราชดำริ ก็คือทางประตูน้ำจุฬาลงกรณ์และสายไหม ซึ่งทางสายไหมก็มีน้ำรั่วซึม แต่ขณะเดียวกันก็เช็คทุกพื้นที่แล้วได้พยายามป้องกันดูแลแนวคันกั้นน้ำนั้น อยู่ เตือนกทม.ตะวันออกหนักสุด            เมื่อถามว่า ในกทม.หากน้ำท่วมหนักสุดจะท่วมในบริเวณไหน นายกฯ กล่าวว่า จุดหนักสุดน่าจะอยู่ทางฝั่งขวามือ คือฝั่งตะวันออก เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและน้ำจากคลองรังสิตก็ค่อนข้างมีปริมาณสูง            เมื่อถามถึงในส่วนของพื้นที่รามคำแหง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รามคำแหงก็เป็นพื้นที่ต่ำแต่ว่าในส่วนของการระบายน้ำจะอยู่ใกล้กับส่วนของ กทม. คิดว่าถ้าทำทางกทม.ก็สามารถสูบน้ำบรรเทาทุเลาลงไปได้            ผู้สื่อข่าวถามว่า พื้นที่กทม.จะกินบริเวณกว้างแค่ไหน นายกฯ กล่าวว่า อยากให้ดูในส่วนที่ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของ เปลือกโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชี้แจงไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. ว่าจะมีพื้นที่เป็นบางส่วนที่มีการประกาศไป ก็จะเป็นบริเวณนั้นมากกว่า บริเวณอื่นคงนิดหน่อยไม่เยอะ ชี้ป้องกันทุกส่วน            เมื่อถามว่าบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจ เช่นสีลม จะได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ยังหรอก เราก็พยายามป้องกันทุกส่วน ในส่วนชั้นในก็เป็นส่วนที่ติดอยู่ตามขอบแนวที่เป็นรอยต่อของแม่น้ำ และตามแนวของประตูระบายน้ำที่มีการกั้นไว้ เราอยากให้สังเกตุดูตามแนวคันกั้นน้ำว่าเป็นอย่างไร หากระดับน้ำทะเลหนุนสูงใกล้กับแนวคันกั้นน้ำตรงนั้นจะมีปัญหา ขอความกรุณาพี่น้องประชาชนว่าตามแนวพนังกั้นน้ำนั้นขอให้ช่วยดูแลตรวจตรา รักษา ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งรั่วแตกสลายหรือพัง หรือมีการถูกดึงออกไปอาจจะทำให้น้ำไหลทะลักแรง ชาาวกรุงอาจต้องใช้เรือ            ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า จะแนะนำให้ประชาชนออกต่างจังหวัดในช่วงวันหยุดยาวหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คาดหวังว่าพี่น้องประชาชนที่อยู่พื้นที่ลุ่มต่ำ อยากให้ใช้ชีวิตพักผ่อนช่วงวันหยุดที่ต่างจังหวัด จะทำให้การดูแลต่างๆ ปลอดภัย เพราะอยู่ในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ส่วนประชาชนที่อยากอยู่ในกรุงเทพฯนั้น จะมีการจัดการยกของมีค่าขึ้นสู่ที่สูง แต่ไม่แนะนำบริเวณที่น้ำท่วมขังสูง โดยเฉพาะบ้านชั้นเดียว หากน้ำเข้าอาจจะเกิดเรื่องระบบไฟฟ้าที่ตัด เข้าไปดูแลลำบาก รวมทั้งเรื่องอาหารที่ต้องเข้าไปดูแล ถ้ามีบ้าน 2 ชั้น สามารถแยกระบบไฟไปอยู่ชั้น 2 ได้ แต่การเดินทางอาจใช้ทางเรือ            เมื่อถามว่า กทม.ระบุว่าคนที่น้ำท่วมสูงและอยู่ชั้นเดียวอยากให้ออกนอกพื้นที่ซึ่งอาจมี การตัดน้ำตัดไฟ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อันนี้ไม่ทราบ จริงๆ แล้ว แผนอพยพต่างๆ กทม.เป็นหลัก เรามีส่วนในการทำงานร่วมและให้การสนับสนุน อันนี้ยังไม่ทราบนโยบายของกทม. เมื่อถามว่าคิดว่าวิธีการนี้เหมาะสมหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อันนี้ก็แล้วแต่วิธี ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ถ้าพื้นที่ที่สูงเมตรกว่าและมีผู้สูงอายุก็จะทำให้เป็นห่วง แต่ก็ขึ้นอยู่กับระบบการดูแลการบริการประชาชน เพราะข้อเท็จจริงอย่างต่างจังหวัด วันนี้ที่เราประสบคือพี่น้องจำนวนมาก ที่ไม่ยอมออกจากพื้นที่ แต่วิถีชีวิตคนต่างจังหวัด อาจต่างกับคนกรุงเทพฯ เพราะต่างจังหวัดอาจชินกับการใช้เรือสัญจรไปมา ถ้าเราดูแลเรื่องเรือ อาหารเครื่องดื่มที่จำเป็นก็อยู่ได้ กรมอุทกศาสตร์เตือนระวัง26-31 ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูงเกือบ 4 เมตร            ที่หอประชุมกองทัพเรือ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณะภัยกองทัพเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยม และให้โอวาทแก่กำลังพลของกองทัพเรือ ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่กำลังพลของกองทัพเรือ            พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า รู้สึกห่วงใยต่อผู้ประสบอุทกภัยในทุกพื้นที่จึงได้ระดมสรรพกำลัง และยุทโธปกรณ์ เข้าให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง และสามารถระดมกำลังเพิ่มเติมได้อีกตามความจำเป็นของพื้นที่ โดยให้หน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ เตรียมความพร้อมของกำลังพล เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ได้ทันท่วงที โดยในวันนี้กองทัพเรือได้จัดรถยนต์บรรทุกจากฐานทัพเรือกรุงเทพ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เรือท้องแบนจากกรมการขนส่งทหารเรือ พร้อมด้วยกำลังพล ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้นสูงบริเวณ สะพานอรุณอมรินทร์ ห้างพาต้าปิ่นเกล้า สะพานพระราม 8 ที่ต้องสัญจรไปมายัง โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งจะดำเนินการจนกว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ            ขณะที่มีรายงานข่าวแจ้งว่า กองทัพเรือได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ ว่า ระดับน้ำทะเลจะหนุนสูงช่วงปลายเดือนตั้งแต่วันที่ 26-31 ต.ค.นี้ โดยในวันที่ 26 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงในเวลา 16.30 น. โดยจะมีน้ำขึ้นถึง 3.50 เมตร ในวันที่ 27 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงในเวลา 17.00 น. โดยจะมีน้ำขึ้นถึง 3.63 เมตร ในวันที่ 28 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงในเวลา 17.35 น. โดยจะมีน้ำขึ้นถึง 3.60 เมตร ในวันที่ 29 ตค. น้ำทะเลจะหนุนสูงในเวลา 18.20 น. โดยจะมีน้ำขึ้นถึง3.66 เมตร ในวันที่ 30 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงในเวลา 19.00 น. โดยจะมีน้ำขึ้นถึง 3.63 เมตร และในวันที่ 31 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงในเวลา 19.30 น. โดยจะมีน้ำขึ้นถึง 3.58 เมตร            ด้าน พล.ร.ท.นิรุทธ์ หงส์ประสิทธิ์ เจ้ากรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ เปิดเผยว่า จากการวัดระดบน้ำเมื่อเวลา 04.50 น. น้ำขึ้นสูงสุดอยู่ 2.43 เมตร และน้ำลดระดับอยู่ที่ 1.65 เมตร และคาดการณ์ว่าน้ำจะขึ้นสองรอบ โดยในเวลา 07.30 น. น้ำจะอยู่ที่ระดับ 2.49 เมตร และขึ้นอีกในเวลา 17.30 น. ระดับน้ำจะอยู่ที่ 2.53 เมตร และนำจะขั้นสูงสุดในวันที่ 29 ต.ค. ที่ 2.65 เมตร http://www.komchadluek.net/detail/20111026/113061/เตือน2631ต.ค.ทะเลหนุนเกือบ4ม..html
ผู้ว่าฯกทม.สั่งอพยพคน บางพลัด - ดอนเมือง เฝ้าระวัง ลาดพร้าว - วังทองหลาง
สั่งอพยพคน'บางพลัด-ดอนเมือง' ผู้ว่าฯกทม.สั่งอพยพคน "บางพลัด - ดอนเมือง" เฝ้าระวัง "ลาดพร้าว - วังทองหลาง" วอนประชาชนอย่าพังคันกั้นน้ำ ศปภ.วอนเร่งอพยพแต่เนิ่นๆเพื่อความปลอดภัย เปิดศูนย์อพยพเขตดอนเมือง-บางพลัด-ทวีวัฒนา              เมื่อเวลา 20.40 น. วันที่ 26 ต.ค ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  บริพัตร  ผู้ว่าราชการ กทม  แถลงภายหลังประชุมกับคณะผู้บริหารถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า ขณะนี้  กทม. กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤติ โดยวันที่ 26 ต.ค.นี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 2.38 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง  และจากนี้จะสูงขึ้นตามลำดับจึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสองฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองที่เชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหากระดับน้ำสูงเท่าใดให้บวกอีก  1.30 เมตรก็จะได้ค่าระดับน้ำเจ้าพระยาหนุนสูงในวันนั้น             สำหรับน้ำในคลองทวีวัฒนาวันที่ 26 ต.ค.นี้ สูงขึ้น 11 ซม.  ส่วนน้ำที่คลองสอง เห็นชัดเจนว่าในวันที่ 26 ต.ค.นี้ มวลน้ำได้ข้ามแนวประตูระบายน้ำคลองสองไปแล้ว ทำให้มีผลกับเขตสายไหม ลาดพร้าวและวังทองหลางได้ ขณะที่คลองหกวายังมีปริมาณน้ำสูงมาก แต่คันกั้นน้ำยังรับไหว ซึ่ง กทม. จะเร่งเสริมแนวให้สูงขึ้นเป็น 3 เมตร และเพิ่มความหนาของฐานให้เป็น 4 กระสอบทราย            ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีสิ่งต่างๆบ่งชี้ว่า มวลน้ำกำลังเข้ามาใน กทม.เป็นจำนวนมาก หลังจากคืนวันที่ 26 ต.ค.นี้เป็นต้นไปตนต้องถือว่า ภาพรวมกำลังก้าวไปสู่ภาวะวกฤติ ซึ่งคืนวันที่ 26 ต.ค.นี้นี้ กทม. ห่วง 2 เขต คือ ดอนเมือง และ บางพลัด โดยเฉพาะ เขตบางพลัด  กทม. ได้พยายามกู้สถานการณ์มา 2 วันสองคืน แต่ก็ยังมีน้ำเข้ามาตลบหลังที่ อ.บางกรวย นนทบุรี   ทำให้กทม. ยังไม่กู้สถานการณ์ได้  ซึ่งประชาชนจำนวนมากยังเดือดร้อนจนอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนเขตดอนเมือง ขณะนี้น้ำท่วมกว่า 90 % แล้ว  ซึ่ง กทม. จะประกาศให้ประชาชน ในเขตดอนเมืองและบางพลัดอพยพไปศูนย์พักพิงทันที ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ตนขอให้มีการอพยพประชาชน  ส่วนที่ตั้ง ศปภ. ในเขตดอนเมือง กทม. ยังยืนยันจะปกป้องเพื่อให้สัญจรได้ซึ่งจะทำอย่างเต็มที่            ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า  ขณะนี้น้ำในคลองสองจังหวัดปทุมธานีสูงขึ้นมาก และยังไม่มีท่าทีน้อยลง ตนเกรงว่าจะไม่กระทบเฉพาะเขตสายไหมเพียงเขตเดียวเท่านั้น แต่รวมถึงเขตลาดพร้าวและวังทองหลาง คืนวันที่ 26 ต.ค.นี้  กทม. จึงประกาศให้ 2 เขตดัวกล่าว เป็นพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมเป็นพิเศษ ซึ่ง กทม. ยังไม่สามาถรประเมินได้ว่า น้ำที่คลองสองจะกระทบเหตุอื่นด้วยหรือไม่ แต่ขอให้อย่าเพิ่งตระหนก เพราะมวลน้ำจะไหลไม่รวดเร็วเหมือนต่างจังหวัด แต่หากวิกฤติจะแจ้งให้รับทราบทันที            ผู้สื่อข่าวถามว่าระดับวิกฤติ ที่ กทม. ประเมินสถานการณ์เลวร้ายที่าสุดเป็นอย่างไร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า น้ำคงไม่ท่วมทั่วทั้ง 50 เขต เพราะ  พื้นที่ กทม. ถือว่ากว้างใหญ่มาก อีกทั้งยังอยู่ปลายน้ำที่จะไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีระบบระบายน้ำของตนเอง ที่ถือว่ามีมากพอที่จะใช้ระบายน้ำออกไปได้   อย่างไรก็ตามจะเฝ้าระวังสถานการณ์เพิ่มเติมจนกว่าน้ำทะเลจะลดลง แต่ในช่วงกลางเดือน พ.ย. คาดว่าจะหนุนสูงอีกครั้ง แต่ในขณะนั้นมวลน้ำตอนเหนือน่าจะลดลงแล้ว จึงขอให้คน กทม.ตื่นตัวในการเฝ้าระวังสถานการณ์                       "ขอให้ประชาชนไม่ไปพังคันกั้นน้ำเนื่องจากเป็นแนวที่ กทม. ได้สร้างไว้ หากมีความเสียหาย ประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นก็จะได้รับผลกระทบโดยตรงเอง" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว                    นอกจากนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  ยังกล่าวขอบคุณ ศปภ.ที่ช่วยประสานให้กรมชลประทานเปิดเครื่องสูบน้ำที่ประตูระบายน้ำ  แล้วทั้งหมด 41 ตัว จาก 49 ตัว  แต่กทม.ยังคงต้องกรให้กรมชลประทานเปิดเครื่องสูบน้ำให้ครบทั้งหมด            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเครื่องสูบน้ำที่ประตูระบายน้ำของกรมชลประทาน แยกเป็น 3 แห่งได้ แก่ 1.คลอง 13 เชื่อมกับคลองหกวาสายล่าง มีเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 12 ตัว เปิดใช้งาน 12 ตัว 2.ปตร.หนองจอก ที่ระบายน้ำสู่คลองแสนแสบมีเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 20 ตัว เสีย 3 ตัว ใช้งานได้ทั้งหมด 17 ตัว และ 3.ปตร.น้ำคลองประเวศบุรีรมย์ มีทั้งหมด 20 ตัว เปิดใช้ 10 ตัว            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 27 ต.ค.เวลา 13.45 น.  ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์จะประชุม ร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรมหอการค้าไทยและหอการค้าต่างประเทศ เพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำและแผนรับมือหากได้รับผลกระทบที่ ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ออกประกาศวอนชาวริมเจ้าพระยารักษาเขื่อนกั้นน้ำ           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทม. ได้ออกกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัยกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 7/2554 โดยมีเนื้อหาสรุปว่า กรุงเทพมหานคร ขอความร่วมมือให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยกันดูแล ซ่อมบำรุง หรือเสริมความแข็งแรงของรั้วเขื่อน และกำแพงตามแนวเขื่อนที่ใช้งานมานานปี อาจมีสภาพทรุดโทรม หรือมีจุดรั่วซึมและมีการไหลย้อนกลับของน้ำตามท่อระบายน้ำของบ้านเรือน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในชิวิตและทรัพย์สินของท่าน และเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าบ้านเรือน ถนน และพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วย ประชาชนสามารถแจ้งขอคำปรึกษา ความช่วยเหลือ หรือขอรับการสนับสนุนได้ที่สำนักงานเขต และศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครหมายเลขโทรศัพท์ 1555 และ 022211212  หรือที่เว็บไซต์  www.bangkok.go.th  ศปภ.วอนเร่งอพยพแต่เนิ่นๆเพื่อความสะดวกปลอดภัย            นายธงทอง จันทรางศุ แถลงในฐานะโฆษก ศปภ. ถึงภาพรวมสถานการณ์น้ำว่าในส่วนของภาคเหนือดดยเฉพาะ จ.นครสวรรค์เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ประชาชนสามารถกลับที่พักอาศัยได้  ขณะที่น้ำเจ้าพระยาก็ลดลงเล็กน้อย  ส่วนที่ จ.สิงห์บุรี  จงอ่างทอง ยังทรงตัวส่วน  จ.อยุธยา ยังใกล้เคียงและลดลงเล็กน้อย  สำหรับพื้นที่ กทม. ตอนเหนือ และใกล้เคียงก็ยังทรงตัว  ส่วน กทม. น้ำทะเลจะหนุนและมีน้ำไหลมาจากทางเหนือเหมือนมีสองน้ำบรรจบและไหลเข้า กทม. และทำให้จะมีน้ำท่วม  กทม. โดยแต่ละพื้นที่จะมีระดับน้ำต่างกัน ตั้งแต่ 10 ซม. - 1.50 ม. และจะมีน้ำท่วมขัง 15 วัน - 1 เดือน  โดยขณะนี้น้ำก็ได้ท่วม ถ.วิภาวดีรังสิต ตั้งแต่ หลักสี่ ย้อนไปถึงรังสิต  ขณะที่การจราจรรถเล็กไม่สามารถใช้การได้            นายธงทองกล่าวว่า ส่วนรันเวย์ ของสนามบินดอนเมืองก็มีน้ำท่วมขัง ทำให้ใช้การไม่ได้ และต้องไปใช้ที่สุวรรณภูมิแทน ส่วน 2-3 วันที่ผ่านมา                        "ขอให้พื้นที่ที่ยังไม่ประสบภัย แต่มีแนวโน้มที่จะถูกน้ำท่วม โปรดพิจาารณาอพยพหรือเดินทางไปยังต่างจังหวัด  เเพราะการเดินทางจะสะดวกและปลอดภัยมากกว่าเพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดเหตุการณ์อะไร จึงอยากให้ตัดสินใจก่อนที่น้ำจะหลาก" นายธงทองกล่าว   เปิดศูนย์อพยพเขตดอนเมือง-บางพลัด-ทวีวัฒนา ศูนย์พักพิงชั่วคราว เขตดอนเมือง รับได้ทั้งหมด 2,000 คน มีผู้พักแล้ว 1,936 คน ได้แก่     1.ร.ร.วัดดอนเมือง 0-2566-2862 , 081-869-3464 รับได้ 500 มีผู้เข้าพักแล้ว 764 คน     2.ร.ร.ประชาอุทิศ 0-2929-2172 , 084-427-3676 รับได้ 800 มีผู้เข้าพักแล้ว 629 คน     3.ร.ร.บำรุงรวิวรรณวิทยา 0-2536-2196 , 084-459-4774 รับได้ 500 มีผู้เข้าพักแล้ว 543 คน     4.ร.ร.เปรมประชา 0-2573-4956 , 081-692-0232 รับได้ 200 คน ยังไม่มีผู้เข้าพัก ศูนย์พักพิงชั่วคราว เขตบางพลัด รับได้ทั้งหมด 550 คน ได้แก่     1.ร.ร.วัดฉัตรแก้วจงกลณี 0-2424-3321 , 089-498-7085 รับได้ 50 คน     2.ร.ร.วัดสามัคคีสุทธาวาส 0-2424-0200 , 086-392-8899 รับได้ 50 คน     3.ร.ร.วัดบางพลัด (ป.สุวณโณ) 0-2434-3268 , 081-930-8824 รับได้ 50 คน     4.ร.ร.วัดเทพากร 0-2424-4089 , 089-990-0641 รับได้ 50 คน     5.ร.ร.วัดรวก 0-2424-2461 , 081-685-3834 รับได้ 50 คน     6.ร.ร.วัดคฤหบดี 0-2424-4046 , 087-980-1551 รับได้ 50 คน     7.ร.ร.วัดพระยาศิริไอยสวรรค์ 0-2424-0417 , 086-991-6020 รับได้ 50 คน     8.ร.ร.บางยี่ขันวิทยาคม 0-2424-1208 , 081-825-3733 รับได้ 50 คน     9.ร.ร.วัดเปาโรหิตย์ 0-2424-1374 , 081-401-4072 รับได้ 50 คน     10.ร.ร.วัดวิมุตยาราม 0-2424-1025 , 081-804-7422 รับได้ 50 คน     11.ร.ร.วัดอาวุธวิกสิตาราม 0-2424-1249 , 089-141-3448 รับได้ 50 คน ศูนย์พักพิงชั่วคราว เขตทวีวัฒนา รับได้ทั้งหมด 3,800 คน มีผู้พักแล้ว 128 คน     1.ร.ร.วัดปุรณาวาส 0-2441-9584 , 081-318-8311 รับได้ 500 คน เข้าพักแล้ว 40 คน     2.ร.ร.มัธยมปุรณาวาส 0-2441-9584 , 081-700-6968 รับได้ 500 คน เข้าพักแล้ว 2 คน     3.ร.ร.ตั้งพิรุฬห์ธรรม 0-2441-3073-4 , 081-334-9561 รับได้ 500 คน ยังไม่มีผู้เข้าพัก     4.ร.ร.คลองทวีวัฒนา 0-2441-9449 , 085-813-8017 รับได้ 500 คน ยังไม่มีผู้เข้าพัก     5.ร.ร.คลองมหาสวัสดิ์ 0-2447-7430 , 081-345-7489 รับได้ 500 คน เข้าพักแล้ว 71 คน     6.ร.ร.คลองบางพรหม 0-2441-3157 , 081-834-2548 รับได้ 500 คน ยังไม่มีผู้เข้าพัก     7.ร.ร.คลองต้นไทร 0-2448-1539 , 081-009-9421 รับได้ 800 คน เข้าพักแล้ว 15 คน http://www.komchadluek.net/detail/20111026/113070/สั่งอพยพคนบางพลัดดอนเมือง.html
ชาวราม21ตื่น-จนท.ประกาศน้ำมาเที่ยงคืน
ประชาชนใน ซ.รามคำแหง 21 เขตวังทองหลาง ต่างยกของขึ้นที่สูง หลังมีเจ้าหน้าที่จากเขต ประกาศให้เฝ้าะวังมวลน้ำอาจจะเข้าท่วมพื้นที่เวลาประมาณเที่ยงคืนนี้ หลังจากที่มีรถกระจายเสียง ของเขตวังหลาง ได้วิ่งเข้าประกาศให้ประชาชนยกของขึ้นที่สูงในพื้นที่ วังทองหลาง บริเวณ ทาวน์อินทาวน์ , ชุมชนพลับพลา ,ซอยรามคำแหง39 และหมู่บ้านศรีวรา ภายในซอยรามคำแหง 21 ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.00น. ที่ผ่านมา รถโมบายของเจ้าหน้าที่เขตวังหลาง ได้ประกาศว่า ให้ประชาชนขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและให้ชาวบ้านเตรียมตัดไฟฟ้าบริเวณพื้นที่ต่ำ เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากอาจมีน้ำทะลักเข้าพื้นที่ในเวลาประมาณ เที่ยงคืนนี้ทำให้สถานการณ์หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ออกประกาศ บรรดาชาวบ้านภายในซอยรามคำแหง 21 ต่างพากันจับกลุ่มคุยกันถึงความเป็นได้เรื่องน้ำที่จะเข้าท่วมภายในพื้นที่ ซึ่งหลายรายรู้สึกตกใจกับสิ่งทีกำลังจะเกิดขึ้น พากันขนของขึ้นที่สูง หลายรายนำรถไปจอดบริเวณสะพานข้ามคลองแสนแสบ ภายในซอยรามคำแหง21 เนื่องจากเป็นจุดสูงที่สุดทำให้ล่าสุดพื้นที่บนสะพานเต็มไปด้วยรถของประชาชน แม้ว่าพื้นที่ที่สามารถจอดได้จะมีขนาดเล็กก็ตาม ส่วนร้านค้าเซเว่นอีเลฟเว่น ภายในซอยรามคำแหง 21 ซึ่งเป็นมินิมาร์ท ร้านหลักและร้านเดียวภายในซอยที่ให้บริการขายสินค้าชาวซอยรามคำแหง21 มีการสร้างแนวกันน้ำด้วยปูนและถุงทรายสูงราว1เมตร รอบร้าน และประชาชนต่างรีบเข้าไปซื้อของกักตุน ทำให้สินค้าภายในเซเว่นอีเลฟเว่นแทบจะไม่มีเหลือในส่วนที่เป็นอาหารสำหรับรับประทาน ทำให้ภายในร้านเซเว่นดูจากด้วยตาแทบโล่งไปทั้งร้าน ด้านสถานการณ์บริเวณหน้ารามคำแหง ห้างบิ๊กซีได้ปิดทำการตั้งแต่เวลาประมาณ19.30น.โดยเป็นการทยอยปิดทีละชั้นและไฟหน้าห้างบิ๊กซี ก็ปิดดับหมด ร้านค้าเสื้อผ้าแผงลอยหน้าถนนรามคำแหง ก็เริ่มทยอยเก็บทีละร้านทำให้สถานการณ์บริเวณถนนหน้ารามคำแหง และหน้าห้างบิ๊กซี ค่อนข้างโล่งไปตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00น.สินค้าที่เป็นของรับประทานภายในบิ๊กซีก็เริ่มหมดแทบไม่เหลือไม่ว่าจะเป็น มาม่า ข้าวสาร ไข่ไก่ หรือแม้แต่น้ำเปล่าสักขวดบนบิ๊กซีก็ไม่มี รวมถึงสินค้าที่เป็นของกินในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น หน้ารามฯหลายสาขา ก็แทบไม่มีเหลือ Link : http://www.innnews.co.th/ชาวราม21ตื่น-จนท-ประกาศน้ำมาเที่ยงคืน--317180_03.html
เริ่มทั่วถึง น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นถึง วัดพระแก้ว-สนามหลวง
 วันที่ 26 ต.ค. ประมวลภาพบรรยากาศน้ำท่วม ในกรุงเทพมหานคร บริเวณสนามหลวง วัดพระแก้ว รวมถึงถนนโดยรอบริมฟั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ตามที่ทาง กทม. ประกาศเตือนระดับน้ำจะขึ้นสูง ในช่วงเช้าเริ่มมีน้ำเอ่อล้นแนวกั้นเข้ามาบ้างแต่ไม่มาก โดยน้ำได้ไหลไปรวมตัวในพื้นที่ต่ำ บริเวณอยู่หัวถนนเยาวราช แถววงเวียนโอเดียน ซึ่งบางจุดรถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้ ทั้งนี้เมื่อน้ำเหนือไหลสมทบเจ้าพระยามากขึ้นประกอบกับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ช่วงเย็น พื้นที่บริเวณวัดพระแก้ว ไล่ลงไปตาม ถนนเจริญกรุง จนถึงปลายทางเยาวราช น้ำท่วมถึงโดยทั่วกัน                ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกมาเตือนว่า ปลายเดือนนี้ระดับน้ำเจ้าพระยา สูงสุดที่ 2.60 เซนติเมตร สูงกว่าคันที่ทำไว้ 10 เซนติเมตร พร้อมขอให้ประชาชนอพยพ ไปอยู่ต่างจังหวัดหรือศูนย์อพยพที่ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดไว้ สำหรับศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มเติมแห่งใหม่อีก 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งสามารถรับผู้ประสบภัยมากถึง 12,000 คน       ที่มา manager.co.th
บก.จรประกาศปิด25เส้นทางจราจรกทม.
กองบังคับการตำรวจจราจรหรือบก.จร ประกาศปิดการจราจรจากน้ำท่วมขังและมวลน้ำที่เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งทิศเหนือและทิศตะวันตก ดังนี้ ด้านทิศเหนือ 13 สาย 1) ถนนวิภาวดีรังสิต ขาเข้า ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถานถึงแยกหลักสี่ ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกหลักสี่เป็นต้นไป 2) ถนนพหลโยธิน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอนุสรณ์สถาน ถึง พหลโยธิน 48 3) ถนนกำแพงเพชร 6 (ถนนโลคัลโรด) ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงแยกการเคหะทุ่งสองห้อง 4) ถนนสรงประภา ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ. 5) ถนนเชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย 6) ถนนโกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย 7) ถนนเดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย 8) ถนนเวฬุวนาราม (วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย 9) ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย 10) ถนนเลียบคลองสอง ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน 11) ถนนจันทรุเบกษา ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยก ร.ร.นายเรืออากาศ (คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา 12) ถนนวัชรพล ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงหน้าโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช 13) ถนนเพิ่มสิน (ถนนเชื่อมพหลโยธิน 54/1 กับถนนสุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย ด้านทิศตะวันตก 12 สาย 1) ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ แยกบางขุนนนท์ถึงสะพานพระราม 7 2) ถนนจรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงแยกบางขุนนนท์ 3) ถนนสิรินธร ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกบางพลัดถึงทางต่างระดับสิรินธร 4) ถนนอรุณอมรินทร์ ตั้งแต่ เชิงสะพานอรุณอัมรินทร์ถึงแยกอรุณอัมรินทร์ 5) ถนนบรมราชชนนี ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าถึงทางต่างระดับสิรินธร (สายใต้เก่า) 6) ถนนทางคู่ขนานลอยฟ้า ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่ทางขึ้น-ลงตลิ่งชัน ถึงทางขึ้น-ลงพุทธมณฑลสาย 3 7) ถนนบรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ต่างระดับฉิมพลีถึงแยกพุทธมณพลสาย 4 (วันที่ 30 ต.ค. เวลา 20.08 น.) 8) ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกตัดถนนบรมราชชนนี ถึงแยกอุทยาน 9) ถนนอุทยาน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่แยกอุทยานถึงแยกตัดถนนพุทธมณฑลสาย 3 10) ถนนศาลาธรรมสพน์ ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจรตลอดสาย 11) ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนบรมราชชนนี ถึงแยกทศกัณฐ์ 12) ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า จากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าถึงแยกบรมราชชนนี http://www.springnewstv.tv/news/timely/10076.html
ม.เกษตรฯน้ำท่วมเต็มพื้นที่ร้อยเปอร์เซ็นต์
ม.เกษตรฯน้ำท่วมเต็มพื้นที่100% มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศ หยุดทำการหลังน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ จนกระทบการสัญจรไปมา สถานการณ์น้ำท่วมกินวงกว้างมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ต้องออกประกาศให้ทุกหน่วยงานในวิทยาเขตบางเขน   หยุดปฎิบัติภารกิจจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย    หลังจากมีน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ในบริเวณวิทยาเขตบางเขน  จนกระทบต่อการสัญจรของบุคลากร และการปฏิบัติงานการให้บริการต่างๆ  เช่น ตึกอธิการบดี , คณะอุตสาหกรรมเกษตร , คณะศึกษาศาสตร์ , คณะประมง, คณะสังคมศาสตร์ , คณะวิทยาศาสตร์ , คณะมนุษย์ศาสตร์ และอาคารจักพันธ์เพ็ญศิริ สำหรับหน่วยงานในวิทยาเขตอื่นและหน่วยงานในพื้นที่อื่น ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้ปฎิบัติงานตามปกติ ด้าน นางวัชราภรณ์ กวยะปาณิก ผู้อำนวยการเขตบางเขน เปิดเผยว่า น้ำได้เอ่อเข้าท่วมเขตบางเขนเต็มพื้นที่แล้ว  ตั้งแต่ตลาดสะพานใหม่ วงเวียนบางเขน และด้านถนนรามอินทรา  โดยการระบายน้ำจากคลอง 2 รังสิต ลงมายังคลองถนน คลองบางเขน และคลองบางบัว  ทำให้พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมกินบริเวณกว้างออกไป ระดับน้ำสูง 50-60 เซนติเมตร และมีทีท่าว่าจะท่วมสูงขึ้นอีก         http://www.springnewstv.tv/news/timely/10075.html
น้ำหนุนสูงสุดวันนี้11.31น.ที่2.50 ม.
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ รายงานว่า น้ำทะเลหนุนแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดวันนี้ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ เวลา 11.31น.อยู่ที่ระดับ 2.5เมตร ขณะที่ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 04.30น. น้ำลงเต็มที่อยู่ที่ 1.53 เมตร เวลา 15.23น.  น้ำลงเต็มที่ 2.20 เมตร และเวลา 19.53น. น้ำขึ้นเต็มที่ 2.30 เมตร           สำหรับความคืบหน้าเทศกิจ ทหาร สำนักระบายน้ำ เฝ้าระวังจุดเสี่ยง ซอยสามเสน 21 ซอย 23  หลังจากที่กระสอบทรายพนังกั้นน้ำได้พังลงมา  และได้ซ่อมแซมเสร็จไปแล้ว  แต่ต้องเฝ้าระวังในช่วงทะเลหนุนสูง กระสอบทรายอาจจะรับแรงอัดไม่ได้  ทั้งนี้ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ระบุน้ำทะเลหนุนสูงในเวลา 11.31 น. ในระดับ 2.50 เมตร และในเวลา 19.53 น. ในระดับ 2.30 เมตร  ขณะที่ไฟฟ้าภายในชุมชนสามเสน 23 ถูกตัดไฟมา 2 วันแล้ว  ด้านสถานการณ์น้ำที่ท่าพระอาทิตย์ หลังจากที่ระดับน้ำลดลงแล้ว แต่ปรากฎว่าเช้าวันนี้ น้ำเริ่มเอ่อล้นขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ http://www.springnewstv.tv/news/local/10065.html
เตือนเฝ้าระวังระดับน้ำในคลองกทม.8เขต
ระดับน้ำในคลองของกทม.ส่วนใหญ่มีระดับสูงและเอ่อล้นตลิ่ง โดยเฉพาะคลองเปรมประชากร คลองมหาสวัสดิ์ คลองบางซื่อ และคลองลาดพร้าว สถานการณ์ระดับน้ำในคลอง กรุงเทพมหานครทั้ง 40 แห่ง ยังอยู่ในระดับสูงและได้เอ่อล้นตลิ่งหลายคลอง โดยมีคลองต่างๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง ดังนี้ เขตจตุจักร : คลองบางเขน ช่วงถนนประชาชื่น ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.755 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 0.87 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง   คลองบางซื่อ ช่วงถนนพหลโยธิน ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.242 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ละดับน้ำในคลองสูง 0.55 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง   คลองเปรมประชากร ช่วงวัดเทวสุนทร ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.627 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 1.04 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขตดอนเมือง : คลองเปรมประชากร ช่วงสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.827 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 1.55 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขตลาดพร้าว : คลองลาดพร้าว ช่วงวัดลาดพร้าว ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.429 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 0.62 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขตวัฒนา : คลองแสนแสบ ช่วงอโศก ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.528 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง วานนี้วัดระดับน้ำในคลองสูง 3.15 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่วันนี้ไม่สามารถวัดระดับน้ำจากจุดนี้ได้ เนื่องจากระบบวัดน้ำขัดข้อง    เขตทวีวัฒนา : ที่คลองมหาสวัสดิ์ ช่วงพุทธมณฑลสาย 2 คลองบางเขน ช่วงถนนประชาชื่น วานนี้ ระดับน้ำเตือนภัยที่ 2.30 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง วัดระดับน้ำในคลองสูง -99.00 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่วันนี้ระบบวัดน้ำ ขัดข้องเช่นกัน  ส่วนคลองบางพรม ช่วงถนนกาญจนาภิเษก ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.844 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 1.20 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง   คลองบางพรม ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระดับน้ำเตือนภัยที่ 1.18 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ละดับน้ำในคลองสูง 1.38 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขตตลิ่งชัน : คลองบางพรม  คลองฉิมพลี ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.74 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 0.75 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขตบางแค : คลองบางแวก ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 1 ระดับน้ำเตือนภัยที่ 0.722 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 0.94 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เขตหนองแขม : คลองบางแวก  คลองทวีวัฒนา ระดับน้ำเตือนภัยที่ 1.25 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ระดับน้ำในคลองสูง 1.52 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง http://www.springnewstv.tv/news/local/10072.html
แขวงบางไผ่ เขตบางแคเป็นพื้นที่อพยพ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผุ้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมในเขตบางแคมีน้ำท่วมสูงมาก กทม.จึงตัดสินใจประกาศให้แขวงบางไผ่ เขตบางแ... ทั้งนี้ยอมรับว่า กทม.เกรงว่า น้ำจะเข้ามาถึงถนนเพชรเกษม  เขตหนองแขมอย่างช้าภายในวันนี้ ทำให้ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตกมีความไม่แน่นอนสูงมาก  สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ซึ่งในเขตตลิ่งชันน้ำยังไม่นิ่ง   หากน้ำไม่มาเพิ่มจะสามารถเข้าระบบการระบายน้ำของ กทม.  โดยคาดว่าน้ำจะลดอย่างเห็นได้ชัดใน 3-4 วัน  และจะแห้งภายใน 1 สัปดาห์   ซึ่ง กทม. ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ช่วยเร่งระบายน้ำออกจากแม่น้ำท่าจีน http://www.springnewstv.tv/news/timely/10074.html
ครม.ถกสถานการณ์น้ำท่วม ขยายวันหยุดราชการเพิ่ม
ประชุม ครม.วันนี้ ประเมินภาพรวมของสถานการณ์อุทกภัยทั้ง 26 จังหวัด พร้อมพิจารณาขยายวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษหลังจากสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ต.ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้(1 ต.ค.) ซึ่งย้ายสถานที่ประชุมจากท่าอากาศยานดอนเมืองกลับมาประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลตามเดิม โดยรอบรั้วทำเนียบฯได้วางกระสอบทรายจำนวนมากป้องกันน้ำท่วม  สำหรับวาระสำคัญ คือ การประเมินภาพรวมของสถานการณ์อุทกภัยทั้ง 26 จังหวัด นอกจากนี้จะพิจารณาขยายวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ หลังจากสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข เสนอขออนุมัตินำเข้ายา และเวชภัณฑ์ จากต่างประเทศบางรายการ เพื่อป้องกันการขาดแคลน นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอโครงการพักชำระหนี้ผู้มีรายได้น้อย วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ภายในระยะเวลา 3 ปี ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยมีสถาบันการเงินของรัฐ 6 แห่ง คือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) เข้าร่วม โดยเบื้องต้นผู้มีรายได้น้อยที่จะได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ นี้มีจำนวน 9.3 แสนราย ส่วนวงเงินที่รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันการเงินในช่วงการพักชำระหนี้ 3 ปี คาดว่าจะใช้ไม่เกิน 20,000 ล้านบาท http://www.krobkruakao.com/ข่าว/46914/ครม-ถกสถานการณ์น้ำท่วม-ขยายวันหยุดราชการเพิ่ม.html
รมว.กห.สั่งเคลียร์น้ำสนามบินดอนเมืองเสร็จภายในศุกร์นี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ เร่งสูบน้ำออกจากสนามบินดอนเมืองโดยเฉพาะบริเวณรันเวย์และแท็กซี่เวย์ให้เสร็จก่อนวันศุกร์นี้ พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่าได้สั่งการทหารเข้าไปดูแลในพื้นที่น้ำเน่าเสียด้วยการใช้อีเอ็มบำบัด โดยเริ่มในบางพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี อยุธยา ที่น้ำเริ่มลดและจะดำเนินการในกรุงเทพมหานครต่อไป และให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าไปอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสบภัย รวมทั้งให้กำลังทหารช่างช่วยกรุงเทพมหานครขุดลอกคูคลองเพื่อขจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยเฉพาะได้สั่งการให้ผู้บัญชาการทหารอากาศเร่งสูบน้ำออกจากรันเวย์และแท็กซี่เวย์ สนามบินดอนเมือง ให้แล้วเสร็จภายในวันศุกร์ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะขอให้นายกรัฐมนตรีแบ่งงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนมากขึ้น เพราะขณะนี้มีพื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้างมากขึ้น แต่บุคลากรในการทำงานมีเท่าเดิม รวมทั้งจะขอสนับสนุนเต็นท์ และอาหาร ช่วยประชาชนที่อพยพและไม่มีที่พักบริเวณทวีวัฒนา และคลองมหาสวัสดิ์ด้วย http://www.krobkruakao.com/
ชาวบางน้ำเปรี้ยวฮือขวางชลประทานปิดประตูระบายน้ำ
ชาวบ้านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมตัวขวางไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ชลประทานปิดประตูระบายน้ำคลองหลวงแพร่ง หวั่นทำให้น้ำท่วมขังยาวนาน ผู้ว่าฯ ต้องจัดชุดควบคุมฝูงชนกว่า 200 นาย เข้าคุมพื้นที่ก่อนเข้าเจรจา สุดท้ายตกลงเปิดครึ่งเดียว เมื่อเวลา 07.00 น.วันนี้ ( 1 ต.ค.) ที่บริเวณประตูระบายน้ำคลองหลวงแพร่ง ม.13 ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีชาวบ้านประมาณ 200 คน มารวมตัวกันคัดค้านเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานไม่ให้ปิดประตูน้ำระบายน้ำคลองหลวงแพร่ง ซึ่งเป็นประตูกั้นทางน้ำที่ไหลงมาจากประตูระบายน้ำหนองจอก และ ประตูน้ำโยทะกา ลงมาตามคลอง 16 และ 17 ไหลผ่านไปยังคลองประเวศบุรีรมย์   นายวิรัตน์ หลำแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ม.10 ตำบลศาลาแดง  เปิดเผยว่าการปิดประตูระบายน้ำดังกล่าว จะทำให้พื้นที่ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยวเดือดร้อน เนื่องจากระดับน้ำจะเอ่อล้นเข้าท่วมขังในระดับสูง เนื่องจากทางน้ำที่จะระบายไปลงคลองพระองค์เจ้าไชยยานุชิต และ สูบออกแม่น้ำบางปะกงเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำบางปะกงมีระดับสูงกว่าน้ำในคลอง และทุกวันนี้ชาวบ้านในอำเภอบางน้ำเปรี้ยวเดือดร้อนจากน้ำที่ท่วมขังมายาวนานมากแล้ว นายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนจำนวน 200 นาย เข้าควบคุมพื้นที่ ก่อนเดินทางเข้าเจรจากับชาวบ้านหาข้อตกลงร่วมกัน โดยให้เปิดการระบายน้ำเพียงครึ่งเดียว และให้ตัวแทนของชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ชลประทานลงชื่อร่วมกันในข้อตกลงหากมีการเปิดหรือปิดประตูระบานน้ำ ต้องสอบถามความคิดเห็น และได้รับการยินยอมจากชาวบ้านก่อน ส่วนสาเหตุที่ต้องปิดประตูระบายน้ำเนื่องจากต้องการผันน้ำออกลงแม่น้ำบางปะกง เพราะเกรงว่าหากระบายน้ำลงไปทางคลองประเวศบุรีรมย์ จะทำให้ชาวบ้านในตำบลคลองหลวงแพร่ง และ ตำบลเปร็งเดือดร้อนจากน้ำท่วมสูง เนื่องจากประตูระบายน้ำชลหารพิจิตรได้สูบน้ำลงคลองประเวศบุรีรมย์จำนวนมากอยู่แล้วและน้ำอาจจะขึ้นสูงจนทำความเสียหายให้กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในละแวกดังกล่าวได้ http://www.krobkruakao.com/ข่าว/46917/ชาวบางน้ำเปรี้ยวฮือขวางชลประทานปิดประตูระบายน้ำ.html
สื่อนอกจับกระแส: คนนับหมื่นอพยพหนีน้ำท่วม งดเข้ากรุงเทพ
วิกฤตน้ำท่วมไทย น้ำท่วมกรุงเทพฯ สื่อนอกจับตา เตือนภัยนักท่องเที่ยวห้ามเดินทางมายังกรุงเทพฯ เพราะยังอยู่ในเขตภัยพิบัติ สำนักข่าว CNN นำเสนอข่าวสำหรับเป็นข้อมูลเพื่อเตือนภัยนักท่องเที่ยวให้จับตาสถานการณ์กรุงเทพฯ จากวิกฤตน้ำท่วมของไทยอย่างใกล้ชิด ผ่านการรวบรวมข่าวจาก Nation Multimedia ที่มีนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ฯ เตือนภัยว่ามีโอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน และ Bangkok Post มวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะขึ้นสูงมากในสัปดาห์นี้และจะไหลเข้าสู่อ่าวไทยต่อไป นอกจากนี้ CNN ยังรายงานว่า น้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างมาก โดยเฉพาะแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างตรอกข้าวสารและบริเวณพระราชวัง แม้ในส่วนของสุขุมวิท สยาม สีลม หรือแหล่งช็อปปิ้งจะยังไม่ได้รับผลกระทบแต่นักท่องเที่ยวควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อความมั่นใจ การให้บริการของขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้า BTS และรถไฟใต้ดิน MRT ยังคงวิ่งตามปกติ แต่เรือให้บริการผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาหยุดให้บริการจนถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน คนขับรถแท็กซี่หลายรายตัดสินใจจอดรถทิ้งไว้ตามทางด่วนและกลับบ้านตัวเองที่อยู่นอกตัวเมือง และอ้างถึงข่าวจาก MCOT เรื่องการปฏิบัติการของทุกสายการบินยังเป็นไปตามปรกติที่สนามบินสุวรรณภูมิยกเว้นสนามบินดอนเมือง และอ้างถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่า เส้นทางสายหลักที่จะไปเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง สุโขทัย กาญจนบุรี ราชบุรี พัทยา เกาะช้าง ระยอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และเกาะสมุย ยังใช้ได้ตามปกติ ยกเว้นเมืองโบราณอย่างอยุธยาที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักและถูกปิดบริการชั่วคราว เส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปยังภาคเหนือถูกระงับชั่วคราวในบางพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สามารถขอคืนตั๋วเดินทางได้ในราคาเต็มจำนวนโดยสามารถติดต่อผ่าน call center 1690 เพื่ออัพเดตข้อมูลเพิ่มเติม ภาพจาก The Washington Post ขณะที่สำนักข่าว Washington Post ได้นำเสนอข่าวชุดเดียวกับของสำนักข่าว AP โดยระบุว่า ชาวกรุงเทพฯ กว่า 9 ล้านรายยังคงอยู่ในบ้านของตัวเองเพื่อรักษาบ้านไว้ในบริเวณที่ยังไม่ท่วม จนกระทั่งรัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ 5 วัน ยิ่งลักษณ์ฯ กล่าว “มวลน้ำขนาดใหญ่ไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ เราไม่สามารถต้านทานได้ทั้งหมด” น้ำท่วมครั้งนี้เป็นอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของไทยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตเกือบ 400 ราย และมีการอพยพไปอยู่ที่อื่นกว่า 110,000 ราย น้ำท่วมรอบเมืองไหลบ่ามาจากน้ำในลำคลองและแม่น้ำ วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาน้ำท่วมกว่า 7 เขต จากทั้งหมด 50 เขตในกรุงเทพฯ ส่วนมากจะเป็นทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ บ้านเรือนและอุตสาหกรรมทางธุรกิจถูกน้ำท่วม หลายเส้นทางหลักที่น้ำท่วมทำให้รถขนาดเล็กไม่สามารถขับผ่านได้ ด้านรัฐบาลแสดงความกังวลอย่างมากถึงระดับน้ำที่สูงมากกว่าปกติ และคาดหวังว่าช่วงวันหยุดยาวนี้น้ำจะขึ้นสูงสุดในวันเสาร์ ยิ่งลักษณ์ฯ กล่าวเตือนในตัวเมืองทั้งหมดอาจโดนน้ำท่วมได้ ถ้าพนังกั้นน้ำแตก หรือ หากมวลน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มระดับขึ้นสูงสุดอาจไหลเข้าสู่เมืองและท่วมได้ ขณะที่นักท่องเที่ยวกล่าวหลังเยี่ยมชมพระราชวังว่า “เรารู้สึกกังวลนิดหน่อยเมื่อเราเห็นกระสอบทรายกั้นอยู่รอบโรงแรมที่เราพักอยู่ แต่สภาพการณ์ไม่น่าจะกลับสู่ปกติได้เร็วนัก แม้จะดูว่าเหตุการณ์ยังคงปรกติอยู่ แต่อะไรๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้” อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต่างประเทศหลายแห่งออกคำเตือนไม่ให้พลเมืองของเขาเดินทางมายังกรุงเทพฯ หากไม่จำเป็น ภาพจาก Voice of America ทางการของอังกฤษกล่าวว่า “สถานการณ์น้ำท่วมนี้ ดูเหมือนจะทำให้ระบบการขนส่งสับสนวุ่นวาย สถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวอาจส่งผลกระทบต่อการไฟฟ้าและการประปา” ด้านสถานทูตสหรัฐอเมริกา เตือนชาวอเมริกันหากเดินทางมาไทยอาจต้องประสบกับสถานการณ์วุ่นวาย ควรจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รถโดยสารประจำทาง เครื่องบิน และรถไฟ ศูนย์การขนส่งในเมืองหลวงกำลังคลาคล่ำไปด้วยผู้คนเพื่อเตรียมเดินทางออกนอกตัวเมือง เหลือแต่เพียงบางแห่งที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักเช่นในทางตอนใต้และทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ทาง ศปภ. ประกาศแผนอพยพคนออกจากเมืองหลวงอย่างเร่งด่วน เพื่อไปยังจังหวัดใกล้เคียงที่ยังไม่ได้รับผลกระทบในกรณีที่น้ำท่วมกระจายไปยังหลายพื้นที่ในตัวเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐและทหารอาจจะขนส่งคนเพื่ออพยพจากจุดเสี่ยงภัยไปยังโรงเรียนหรือศูนย์อพยพที่จัดเตรียมไว้ ขณะนี้มีผู้อพยพแล้ว 7,500 ราย ชาวกรุงเทพกำลังกักตุนสินค้า ที่มีผู้ซื้อบางรายกำลังตื่นตระหนกและกักตุนอาหารเพราะหวั่นเกรงสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบจนทำให้ขาดแคลนอาหาร ด้านสำนักข่าว Voice of America ระบุ น้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้คนอพยพนับหมื่นราย และมีการก่อกระสอบทรายเพื่อกั้นน้ำสูงราวครึ่งเมตรโดยคาดว่าจะป้องกันน้ำหรือทำให้น้ำไหลช้าลงได้ ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำและบริเวณที่อยู่ริมคลองระบายน้ำได้ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว ขณะที่ส่วนกลางของกรุงเทพฯ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากนัก หลายแห่งในตัวเมืองและตามท้องถนนและหน้าร้านขนาดเล็กได้ก่ออิฐบล็อกเป็นกำแพงกั้นน้ำที่อยู่ในระดับสูงถึงเอว การใช้กระสอบทรายและการก่ออิฐบล็อกเพื่อกั้นน้ำยังคงมีทั่วตัวเมือง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวว่า นั่นคือสิ่งเดียวที่สามารถป้องกันได้ก่อนที่น้ำจะท่วมกรุงเทพส่วนกลาง และยังไม่แน่ชัดว่าน้ำจะท่วมเท่าไหร่หรือมีระดับความลึกขนาดไหน ภาพจาก Al Jazeera ส่วนสำนักข่าว Al Jazeera รายงานโดยอ้างอิงจากสำนักข่าว AP และระบุเพิ่มเติมว่า มีคำสั่งให้อพยพคนออกเพิ่มขึ้น และอ้างคำพูดของ มรว.สุขุมพันธ์ฯ ว่า ให้มีการประกาศเตือนให้ผู้คนอพยพออกจากเขตสายไหม ขณะที่ดอนเมืองและบางพลัดมีน้ำท่วมแล้วในบางพื้นที่ ควรย้ายออกเพื่อไปอยู่ที่ศูนย์อพยพก่อน เขากล่าวว่า “นี่เป็นครั้งแรก ที่ผมใช้คำว่า “อพยพ” ครั้งแรกที่ผมขอให้อพยพออกไปก่อนนะครับ” อย่างไรก็ตาม Al Jazeera รายงานว่า กรุงเทพฯ ที่มีคนอาศัยถึง 9 ล้านคน ได้เสียชีวิตไปแล้ว 373 รายจากน้ำท่วมตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา เป็นเหตุให้เสียหายไปแล้วเป็นมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้ต้องปิดสนามบินไปแล้ว 1 แห่ง หลังจากรัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ 5 วัน นับตั้งแต่วันพฤหัสบดีถึงวันจันทร์ ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรวมทั้งกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมรับมือกับน้ำท่วมและอพยพคนออกไป น้ำเหนือที่มีมวลน้ำขนาดใหญ่เท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก 480,000 แห่งรวมกัน ถูกคาดหวังว่าจะเพิ่มระดับสูงขึ้นในช่วงวันหยุดยาวนี้ องค์การสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือด้านมนุษยธรรมกล่าว ภาพจาก Al Jazeera ขณะที่ ศปภ. ระบุเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่าต้องมีการเตรียมการเพื่อรองรับการอพยพของผู้ประสบภัยราว 12 ล้านราย ในรอบนอกของตัวเมือง โดยโฆษกประจำ ศปภ. ระบุว่า ผมอยากขอให้ชาวกรุงเทพที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว หรือที่กำลังจะได้รับผลกระทบในเร็ววัน ควรพิจารณาที่จะอพยพไปอยู่ที่อื่นก่อน” ขณะที่ยิ่งลักษณ์ฯ กล่าวว่า “มวลน้ำขนาดใหญ่มาก อาจจะไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ ในบางพื้นที่ แต่เราจะพยายามทำให้น้ำไหลผ่านไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” และคาดว่าน้ำจะขึ้นสูงถึง 1.5 เมตรในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ผู้คนนับหมื่นมุ่งสู่หมอชิต ขนส่งมวลชนกรุงเทพ เพื่อเดินทางโดยรถบัสออกขึ้นสู่ภาคเหนือของไทย และบางส่วนมุ่งสู่สนามบินสุวรรณภูมิ ภัยพิบัติจากน้ำท่วมนี้เกิดขึ้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย ส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 2.5 ล้านราย และอีก 720,000 รายต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและคนงานกว่า 650,000 ราย ภาพจาก Reuters ขณะที่สำนักข่าว Reuters ระบุว่า นายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวว่า กรุงเทพฯ กำลังฝืนธรรมชาติ น้ำท่วมที่กำลังเผชิญอยู่นั้นไม่เคยเกิดขึ้นร้ายแรงขนาดนี้นับครึ่งศตวรรษแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพิ่งเริ่มเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา “ดูเหมือนว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติที่เป็นสาเหตุทำลายหลายสิ่งอย่างของเรา ถ้ามีสิ่งใดที่เราสามารถจัดการได้ในเวลานี้ เราจะทำ เพื่อให้น้ำไหลช้าที่สุด และทำให้ทุกคนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด” ขณะที่นักข่าวสอบถามนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ก็ได้ยินเสียงสั่นเครือของเธอ และย้ำถามเพราะคิดว่าเธอกำลังร้องไห้ “ไม่ ฉันไม่ได้ร้องไห้ และฉันจะไม่ร้องไห้ ฉันจะเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้แก่ชาวไทย เราจำเป็นต้องปล่อยน้ำท่วมให้ไหลสู่ทะเลไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเราต้องวางแผนเพื่อให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด” ขณะที่ มรว.สุขุมพันธ์ฯ ระบุว่า “ผมเชื่อว่าน้ำอาจจะไม่ท่วมทุกเขต อาจมีบางแห่งที่ไม่ท่วม” อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อื้ออึงถึงการทำงานที่ขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายของ กทม. ที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ภาพจาก Reuters การนำเสนอข่าวทางทีวีสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่ามีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลสู่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่ออพยพออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่สนามบินดอนเมืองประกาศปิดการให้บริการไปแล้ว ผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ได้ปิดทำการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางกำลังประเมินว่า เศรษฐกิจของไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โตขึ้นถึง 3.1-4% ในปีนี้ ได้ลดลง 2% แล้ว (รัฐมนตรีคลังกล่าว) ด้านรองนายกรัฐมนตรี กิตติรัตน์ ณ ระนอง กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา “คาดว่าจะทำให้มีคนตกงานถึง 10% เพราะอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกปิดตัวลง รัฐบาลต้องจัดหางานให้ผู้คนอีกนับหมื่นราย” อย่างไรก็ตาม กระทรวงกลาโหมกล่าวว่า มีกำลังทหารอีก 50,000 นายที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งเรืออีก 1,000 ลำ และรถบรรทุกสำหรับให้การช่วยเหลือเพื่ออพยพคนอีก 1,000 คัน ภาพจาก Reuters นอกจากนี้ ธนาคารจะดำเนินงานตามปกติในช่วงวันหยุดตั้งแต่พฤหัสบดีถึงวันจันทร์นี้ ขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย ที่จ้างคนกว่า 2 ล้านราย หรือเทียบสัดส่วน 6% ของ GDP ก็โดนโจมตีขนาดหนัก นอกจากนี้ ประเทศจีนได้เตือนพลเมืองไม่ให้เดินทางมายังกรุงเทพฯ และบอกนักท่องเที่ยวว่า “เป็นเขตภัยพิบัติ” ต้องออกจากกรุงเทพฯ โดยทันที ขณะที่ไทยเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ เช่น จระเข้ที่หลุดออกมาจากฟาร์มในขณะน้ำท่วม ซึ่งมีบางตัวที่ถูกฆ่าและจับได้ในบ้านพักของผู้คนในอยุธยา http://www.siamintelligence.com
จับตาแผน นิวไทยแลนด์ ฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม
  กลายเป็นประเด็นตามหน้าสื่อทุกฉบับทันที เมื่อนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ในวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554 ว่าคณะรัฐมนตรีได้หยิบโครงการ “นิวไทยแลนด์” มาฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม ขณะนี้ รายละเอียดของแผน “นิวไทยแลนด์” ยังไม่ชัดเจนนัก และยังมีเฉพาะเท่าที่นายพิชัยเปิดเผยต่อสื่อมวลชนเท่านั้น เราทราบเพียงแต่ว่าแผนทั้งหมดจะใช้เงิน 6-8 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการฟื้นฟูประเทศระยะสั้นภายในปีแรก 1 แสนล้านบาท และที่เหลือจะเป็นแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจากหลายกระทรวง ว่า  ที่ประชุมเห็นว่าแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะหากประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตลักษณะนี้อีก จะเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นต้องมีการแก้ไขปัญหาระบบน้ำของประเทศทั้งหมด เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยเป็นการวางแผนประเทศไทยใหม่ หรือ “New Thailand” โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 6 – 8 แสนล้านบาท “ขณะนี้มีประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ได้เสนอแผนฟื้นฟูประเทศไทยเป็นแบบแพ็คเกจมาแล้ว ทั้งเงินทุนและวิทยาการ แต่รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้แผนใด เนื่องจากจะต้องประชุมหารือกันอีกครั้ง เพื่อได้แผนรวมทั้งหมดเสียก่อน ส่วนความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ยังไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ ต้องรอให้น้ำลดก่อน”นายพิชัยกล่าว สำหรับการฟื้นฟูระยะแรกภายใน 1 ปีหลังน้ำลดจะใช้งบประมาณ 1 แสนล้านบาทเข้าไปฟื้นฟู เช่น การฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเรื่องเศรษฐกิจและอัตราการว่างงาน ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานได้สั่งซื้อเครื่องสูบน้ำอีก 140 เครื่องมาเตรียมการไว้แล้วที่จะมาถึงภายใน 20 วันรวมทั้งการฟื้นฟูรถยนต์ที่เสียหายจากน้ำท่วม พร้อมพิจารณาลดค่าน้ำมันเครื่อง และอาจจะพิจารณาลดค่าไฟฟ้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพลังงาน ที่มา – โพสต์ทูเดย์ จากข้อมูลของนายพิชัยได้อธิบายว่าแผนการฟื้นฟูระยะสั้นมีประเทศต่างๆ เข้ามาให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ ส่วนแผนการระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจนนัก และยังไม่มีคำยืนยันว่าจะเห็น “เมกะโปรเจคต์” อย่างการสร้างเขื่อนรอบปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตามไอเดียของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในช่วงการหาเสียงหรือไม่ นายพิชัยให้ข้อมูลเพียงว่า เงินทุนสำรองของประเทศไทยมีมาก จึงไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุน รวมถึงได้รับข้อเสนอให้เงินฟื้นฟูจากต่างประเทศอีกด้วย ด้านพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาวิจารณ์แผนการ “นิวไทยแลนด์” ในประเด็นด้านแหล่งที่มาของเงินทุนเป็นหลัก รวมถึงวิจารณ์ความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอ ซึ่งตอนนี้ควรเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยมากเป็นอันดับแรก นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังเตรียมจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติในประเด็นเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนอีกด้วย นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา กล่าวว่าจากแนวคิดของโปรเจค “นิวไทยแลนด์” เพื่อฟื้นฟูประเทศนั้น ตนเห็นด้วย แต่ตนมีข้อกังวลว่ารัฐบาลจะนำเงินจากแหล่งใดมาดำเนินการ ดังนั้นรัฐบาลต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่า เป็นงบตาม ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2555 หรือ ออกเป็นพระราชกำหนด หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงิน นอกจากนั้นแล้วในส่วนของรายละเอียดโครงการตามเม็ดเงินที่ใช้จ่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องชี้แจงให้เกิดความชัดเจน “เบื้องต้นผมมองว่าเรื่องการแก้ไขปัญหาระบบน้ำทั้งประเทศ รัฐบาลควรยกให้เป็นวาระแห่งชาติ รัฐบาลเป็นเจ้าภาพและมีรูปแบบการทำงานแบบคณะกรรมการ มีการศึกษาข้อมูล แผน การปฏิบัติ และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน อาทิ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ, สมาชิกรัฐสภา และ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะผมมองว่าการแก้ไขปัญหาระบบน้ำทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อน หรือ ฟลัดเวย์ นั้นอาจสร้างผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง เป็นระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นจำเป็นที่ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่” นายอนุรักษ์ กล่าว นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่าก่อนที่จะปิดสมัยประชุมสามัญ ของวุฒิสภา ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ทางสมาชิกวุฒิสภา เตรียมยื่นญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่ลงมติ ต่อประธานวุฒิสภา ตามมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐบาลได้ชี้แจงต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมถึงมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัย และการฟื้นฟูภาพรวมของประเทศ ด้านนายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขงบประมาณที่รัฐบาลจะใช้ในโครงการนิวไทยแลนด์ ที่ระบุผ่านสื่อจำนวน 8 แสนล้านบาท นั้น รัฐบาลจะนำงบมาจากไหน เพราะขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดวงเงินที่จะใช้ชดเชย ฟื้นฟู และเยียวยาเรื่องน้ำท่วม เพียง 1.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ซึ่งในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ไม่ได้ระบุถึงส่วนโครงการนิวไทยแลนด์แต่อย่างใด หากรัฐบาลเลือกที่จะกู้เงินเข้ามาใช้จ่าย ควรคำนึงถึงภาระหนี้ที่จะเกิดกับคนทั้งประเทศด้วย คมชัดลึก ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวในวันที่ 31 ตุลาคม 2554 ว่า งบประมาณที่จะนำมาเยียวยาจำนวน 800,000 ล้านบาท นั้น ไม่ได้นำมาจัดทำโครงการนิวไทยแลนด์ แต่จะนำมาแก้ไขปัญหาน้ำอย่างถาวร และฟื้นฟูเยียวยาทุกภาคส่วน – INN http://www.siamintelligence.com
<< 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา