หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
สุขุมพันธุ์ประกาศ บางแค อพยพ เฝ้าระวัง จตุจักร-บางบอน-บางกอกน้อย-ภาษีเจริญ
เวลา 11.20 น. วันที่ 3 พ.ย. ที่ศาลาว่าการกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. แถลงสถานการณ์น้ำภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารว่า วันนี้ กทม.จะประกอบอาหารที่ลานคนเมือง เพื่อส่งไปตามพื้นที่เขตต่างๆ ที่ประสบอุทกภัย เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมไม่สามารถออกไปหาอาหารรับประทานเองได้ การขาดแคลนอาหารและน้ำเป็นปัญหาสำคัญ และสำนักงานเขตต่างมีงานล้นมือ ไม่สามารถแจกจ่ายอาหารได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นคณะผู้บริหาร กทม.จึงได้ตั้งครัวกทม.ขึ้นเป็นส่วนกลาง โดยให้สำนักงานเขตมารับ และให้ทางสำนักงานเขตสร้างเครือข่ายของตนเองในพื้นที่ เพื่อแจกจ่ายอาหารและน้ำให้ประชาชน โดยเฉพาะซอยที่น้ำท่วมสูงและอยู่ลึก กทม.พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและเอกชนในการสนับสนุนโครงการนี้ หากองค์กรใดมีจิตศรัทธาทั้งเงินและวัตถุดิบ หรือจะช่วยไปแจกจ่ายในพื้นที่ที่กำหนดร่วมกัน ขอเชิญชวนองค์กรต่างๆ มาเป็นเครือข่าย เพื่อช่วยเหลือประขาชนร่วมกัน สำหรับสถานการณ์น้ำทั่วไปความสูงของแม่น้ำเจ้าพระยาวัดที่ปากคลองตลาดเมื่อวานนี้อยู่ที่ 2.32 ม.รทก. วันนี้ระดับคงใกล้เคียงกัน คาดการณ์ว่าจะขึ้นสูงสุดเวลา 14.05 น. ประมาณ 2.28 ม.รทก. สำหรับระดับน้ำคลองสอง คลองทวีวัฒนา ยังคงทรงตัว ส่วนที่คลองมหาสวัสดิ์ยังสูงอยู่ ส่วนที่คลองรังสิเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย แต่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มลดลง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่ท่วมอยู่แล้วนั้น ส่วนใหญ่ระดับน้ำยังคงเดิมและบางพื้นที่ลดลง เช่น เขตบางพลัดลดลง 5 ซ.ม. ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออกส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เขตมีนบุรีเพิ่มขึ้น 5-20  ซ.ม. เขตคลองสามวาและหนองจอกเพิ่มขึ้น 5 ซ.ม. และเขตบางแคเพิ่มขึ้น 20 ซ.ม. ขณะนี้ฝั่งธนบุรีเป็นพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว น้ำได้ขยายพื้นที่เข้าเขตหนองแขม และภาษีเจริญแล้ว ทั้งนี้ กทม. ได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มวันนี้ คือเขตบางแคทั้งเขตเนื่องจากน้ำขยายไปอย่างรวดเร็ว และประกาศให้เขตจตุจักร บางบอน บางกอกน้อยและภาษีเจริญ เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง โดยที่ผ่านมา กทม.ได้ประกาศให้พื้นที่อพยพทั้งเขตแล้ว 8 เขต ได้แก่ ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ ตลิ่งชัน บางเขนและบางแค ส่วนประกาศอพยพเฉพาะแขวงมี 4 เขต ได้แก่ ลาดพร้าว จตุจักร คลองสามวาและหนองแขม รวมพื้นที่ที่มีปัญหา 12 เขต ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ขอบคุณที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ส่งกำลังตำรวจดูแล้เจ้าหน้าที่กทม.ที่เข้าไปซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองสามวา คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จวันนี้ จึงขอให้ความร่วมมือระหว่าง บชน.,และกทม.จะยังมีอยู่ต่อไป นอกจากนี้ ตนดีใจที่กทม.และศปภ.ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งเมื่อวานชัดเจนว่าถึงแม้จะมีการเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวาที่ 1 เมตร และรวมกับน้ำที่ไหลผ่านจุดที่ชำรุด แต่ระดับน้ำนอกประตูยังเพิ่มขึ้นอีก 6 ซ.ม. จึงชี้ให้เห็นว่า ปัญหาไม่ได้อยู่การเปิดที่ประตูระบายน้ำคลองสามวา แต่อยู่ที่น้ำทีไหลมาจากคลอง 8 คลอง9 คลอง10 ซึ่งศปภ. ได้ดำเนินการปิดประตูระบายน้ำทั้ง 3 เรียบร้อยแล้ว ตนดีใจแทนประชาชนคลองวามวา มีนบุรีและฝั่งตะวันออก เพราะหากมีการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 3 แห่งเต็มที่ พื้นที่เหล่านี้จะมีปัญหา  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่กทม.ร่วมกับศปภ.นำกระสอบทรายยักษ์ หรือบิ๊กแบ๊ก ไปวางตั้งแต่ประตูระบายน้ำคลองเปรมประชากรฝั่งใต้ถึงถนนพหลโยธิน ขณะนี้ระดับน้ำได้ลดลงแล้ว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณน้ำที่จะเข้ามาถนนพหลโยธินและวิภาวดีเพิ่มเติม ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะให้กทม.บริหารจัดการประตูระบายน้ำเองตามความเหมาะสม ซึ่งการระบายน้ำที่คลองสามวา กทม.อยากเปิดประตูที่ความกว้าง 75-80 ซ.ม. ตนยืนยันว่าทุกอย่างเป็นเรื่องทางเทคนิคในการบริหารงาน ตนขอขีดเส้นใต้ว่า ไม่มีเรื่องการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องแม้แต่นิดเดียว อย่างไรก็ตามการคาดการณ์น้ำจะท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ขณะนี้ความเสี่ยงมีน้อยลงตามลำคับ หลังจากที่มีการเสริมแนวป้องกัน บริเวณดังกล่าว และมีการปิดประตูระบายน้ำที่คลอง 8 คลอง 9 และคลอง 10 จ.ปทุมธานีแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ลงนามประกาศ ให้ทั้งเขตจตุจักร เป็นพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติม ให้ประชาชนขนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นที่สูง  เนื่องจากได้รับผลกระทบน้ำเหนือจากพื้นที่ดอนเมือง หลักสี่ และบางเขน http://www.matichon.co.th
ระวังตายจากไฟดูด อาจน่ากลัวกว่าจมน้ำ ขณะจระเข้หลุดฟาร์มยังไม่ได้กัดใครเลย
ทางการไทยได้ออกมาเตือนผู้ประสบภัยน้ำท่วม ถึงความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากไฟดูด โดยยอดผู้เสียชีวิตในกรณีดังกล่าวได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมดในประเทศอยู่ที่ 427 รายแล้ว สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า แม้ในขณะนี้ สาเหตุหลักของการเสียชีวิตจะมาจากการจมน้ำ ทว่า ยังมีอีกหลายกรณีที่มีผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากกระแสไฟฟ้า "ช่วง 10 วันที่ผ่านมา ยอดผู้เสียชีวิตจากไฟดูดได้เพิ่มขึ้นจาก 9 รายไปเป็น 36 ราย และผู้เสียชีวิตจากไฟดูดกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑล" นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าว "ผมมั่นใจว่า ยังมีผู้เสียชีวิตจากไฟดูดอีกหลายที่เรายังไม่ได้รับรายงาน และถ้าประเด็นนี้ยังไม่ได้ถูกให้ความสำคัญ มันก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในภาวะน้ำท่วม" นายพรเทพกล่าว ทั้งนี้  การเสียชีวิตจากไฟดูดส่วนใหญ่เกิดจากการที่ประชาชนกลับเข้าไปยังบ้านที่ถูกน้ำท่วมของตนโดยไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายดังกล่าว   ตัวเลขทางการระบุว่า ยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมในเขตกรุงเทพ และโอกาสเสี่ยงจากการจมน้ำตายในพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากระดับน้ำในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สูงนัก และกระแสน้ำไม่แรง แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่านั้นก็คือ การที่เด็กๆว่ายน้ำหรือเล่นน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน นายพรเทพกล่าวว่า ทางการจำเป็นที่จะต้องจัดการกับขยะทันทีหลังจากน้ำลด เพื่อป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย รายงานระบุด้วยว่า และแม้ว่าจะมีความกลัวเกี่ยวกับจระเข้นับร้อยตัวที่หลุดออกมาจากฟาร์มเลี้ยง แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบว่ามีกรณีการถูกทำร้ายจากจระเข้แต่อย่างใด โดยจระเข้จำนวนแปดตัวได้ถูกจับเป็นแล้ว http://www.matichon.co.th
ปู ลุยชุมชนสรงประภา เจอด่าไร้คนดูแล-ของแจกไม่พอโชว์เปิ่นใส่อีเอ็มบอลในบาตรพระ
“ยิ่งลักษณ์” นำคณะล่องเรือชุมชนสรงประภาแจกของ เจอด่าไร้คนดูแล แถมของไม่พอแจก ปล่อยไก่ใส่ลูกอีเอ็มบอลในบาตรพระ วอนชาวบ้านอดทนเพราะเป็นมหาภัยธรรมชาติ แต่รัฐบาลไม่ย่อท้อ เผย “ประชา” รายงานพนังกั้นน้ำประปาพัง เหตุจากเสื่อมสภาพ ไม่ใช่ฝีมือคนรื้อ เชื่อบ้านพักย่านรามอินทราไม่ท่วม เพราะสูงกว่าถนน 1 เมตร                เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 3 พ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีบางส่วน และสื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในเขตดอนเมือง วัดไผ่เหลือง ตลาดโกสุมรวมใจ ชุมชนสรงประภา 7 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงพักอาศัยอยู่ในบ้านของตัวเอง ขณะที่ระดับน้ำสูงถึง 1.5 เมตร และน้ำเริ่มเน่าส่งกลิ่นแล้ว โดยนายกฯ ได้นำถุงยังชีพ ยารักษาโรค และอาหารปรุงสุกนำไปแจกจ่ายด้วย พร้อมกันนี้ได้นำจุลินทรีย์อีเอ็มบอลไปหย่อนลงน้ำระหว่างที่ล่องเรือท้องแบนเยี่ยมประชาชน เพื่อปรับสภาพน้ำ รวมถึงแจกอีเอ็มบอลให้ประชาชนด้วย                อย่างไรก็ตาม ถุงยังชีพและของที่นำไปแจกจ่ายนั้นกลับไม่เพียงพอต่อจำนวนประชาชนที่มารอรับนับพันคน ซึ่งต่างก็พยายามเข้ามาแย่งของบริจาคจนเกิดความโกหล โดยบางคนถึงกับแสดงความไม่พอใจ ตะโกนด่าว่า ประกาศให้มายืนรอรับถุงยังชีพ แต่กลับไม่ได้รับทั่วถึง เพราะประชาชนที่อยู่พื้นที่ชั้นนำต้องลุยน้ำออกมารอรับสิ่งของ                นอกจากนี้ ระหว่างทางชาวบ้านได้ตะโกนขอความช่วยเหลือจากนายกฯ ซึ่งต่างร้องเรียนนายกฯ ว่ายังไม่มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือ บางส่วนก็ร้องเรียนว่าการเดินทางเข้า-ออกเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้เรืออย่างเดียว แถมค่าเรือก็แพงมาก ขณะที่วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ซึ่งติดป้ายประกาศว่าเป็นศูนย์อพยพ ประชาชนซึ่งอยู่บนชั้นสองของอาคารต่างออกมาตะโกนร้องขอนายกฯ ว่าเข้ามาดูแลหน่อย อยู่ที่นี่กว่า 200 คนแต่ยังไม่ได้รับการดูแลเลย                ระหว่างทางที่นายกฯ ตรวจเยี่ยมประชาชน ได้พบกับพระรูปหนึ่งที่ได้พายเรือบิณฑบาตอยู่ นายกฯ จึงได้นำอาหารทำบุญใส่บาตร ขณะเดียวกันนายกฯ ยังได้หยิบอีเอ็มบอลใส่ไปในบาตร แต่พระรูปดังกล่าวได้ขอให้นายกฯ แยกออกต่างหาก                ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้กล่าวกับประชาชนว่า วันนี้ได้มาเยี่ยมพี่น้องประชาชน และได้นำอีเอ็มบอลมาหย่อนในน้ำด้วย ซึ่ง 1 ลูกจะสามารถรักษาน้ำได้บริเวณกว้างถึง 4 ตารางเมตร วันนี้ที่มาเพื่อให้กำลังใจทุกคน เข้าใจว่าทุกคนเดือดร้อน แต่สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นมหาภัยธรรมชาติ ขอให้ประชาชนอดทน รัฐบาลมาช่วยก็เพื่อมาเสริมการช่วยของ กทม. และปัญหาก็ได้เกิดขึ้นใหม่ๆ ทุกวัน แต่เราไม่เคยย่อท้อ รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่                ระหว่างนั่งเรือกลับจากการเยี่ยมประชาชนที่ดอนเมือง นายกฯ กล่าวว่า แม้การลงพื้นที่ครั้งนี้จะมีประชาชนต่อว่า รวมทั้งให้กำลังใจ แต่ก็ยังยืนยันจะสู้ต่อไป และจะเร่งแก้ปัญหา เพราะทราบดีว่าประชาชนเหนื่อย และยอมรับว่าเครียดบ้าง แต่จะอดทน ซึ่งตนคงยังยืนยันจะแก้ไขให้ประชาชน นอกจากนี้ยังได้เฝ้าระวังมวลน้ำที่ได้ไหลเข้ายังบ้านพักตนที่เลียบทางด่วนรามอินทรานั้น ตนก็ลุ้นอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ได้เตรียมการป้องกันอะไรเป็นพิเศษ เพราะพื้นบ้านของตนสูงกว่าถนน 1 เมตร หากน้ำจะไหลเข้ามาจริงก็เตรียมใจรับไว้แล้ว                ส่วนคันกั้นน้ำบริเวณคลองประปาที่ถูกทำลายเมื่อคืนที่ผ่านมานั้น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ.ได้รายงานต่อนายกฯ ว่า ได้ซ่อมแซมเมื่อเวลา 02.00 น. ส่วนสาเหตุเกิดจากความเสื่อมสภาพของคันกั้นน้ำ ไม่ใช่การพังคันกั้นน้ำของประชาชน และยืนยันว่าไม่กระทบต่อการผลิตน้ำประปา สามารถผลิตได้ตามเดิม                ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายกรัฐมนตรีได้ล่องเรือ โดยใช้เส้นทางถนนวัดเวฬุวนาราม ตัดเข้าถนนโกสุมรวมใจ ผ่านถนนประชาอุทิศ จบที่ถนนสรงประภา โดยใช้เวลาในการตรวจเยี่ยมประชาชนครั้งนี้กว่า 2 ชั่วโมง ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว http://www.manager.co.th
ปลอดย้ำคนฝั่งธนฯ ทำใจอยู่กับน้ำ 2 อาทิตย์ เสนอขุดฟลัดเวย์กันน้ำเข้า กทม.
รมว.วิทย์ ย้ำ กทม.ฝั่งธนฯ เตรียมรับสภาพอยู่กับน้ำนาน 2 สัปดาห์ คาดปริมาณน้ำเมืองปทุมธานี-นนทบุรี จะเริ่มลดหลัง 7 พ.ย.นี้ ขณะมวลน้ำฝั่งตะวันตกจะไหลเข้าพื้นที่ลุ่มอย่างช้าๆ ร่ายยาวแผนจัดการน้ำทั้งระบบ เชื่อธรรมชาติเปลี่ยนต้องปรับปฏิทิน “เกษตรฯ-ท่องเที่ยว” ฝนมาเพิ่ม 25-50 เปอร์เซ็นต์ ชงทำ “ฟลัดเวย์-ขุดแม่น้ำ” ผันน้ำลงทะเลเร็วขึ้น ผุดไอเดีย “บ้านกบ” สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ล้อมกรอบนิคมอุตฯ ใหม่หมด                วันนี้ (3 พ.ย.) ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กระทรวงพลังงาน นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ว่า ประชาชนต้องช่วยกันปล่อยให้น้ำไหลผ่านลงสู่ทะเลโดยไม่ควรไปสร้างเขื่อนกั้น ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับการใช้ชีวิตอยู่กับสภาพน้ำท่วมให้ได้ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งในส่วนของ จ.ปทุมธานี และจ.นนทบุรี น้ำจะลดลงหลังวันที่ 7 พ.ย.เป็นต้นไป เพราะพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม.เป็นที่ลุ่ม และมีสิ่งกีดขวางน้อยกว่าฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำไหลเข้ามาในพื้นที่ฝั่งตะวันตกเป็นจำนวนมาก และน้ำเหนือที่ลงมาจะไม่เป็นก้อนใหญ่เหมือนที่ผ่าน จ.นนทบุรี กับ จ.ปทุมธานีอีก แต่จะเป็นลักษณะของน้ำที่ไหลลงมาอย่างช้าๆ                นายปลอดประสพกล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลเตรียมตั้งคณะกรรมการดูแลภาพรวมเรื่องการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งจะมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และจะพิจารณากรอบการทำงานตามแผนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ทำหน้าที่ศึกษาและจัดทำแผนฟื้นฟู อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าจากนี้ไปประชาชนในประเทศไทยจะใช้ชีวิตแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เพราะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้ฤดูฝนจะมาเร็วขึ้น 1-2 เดือน เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้มีไอน้ำลอยขึ้นสู่อากาศมากทำให้เกิดกลุ่มเมฆฝนจึงตกลงมามากตามไปด้วย                “จากนี้ต่อไปประเทศไทยจึงจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นประมาณ 25-50 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นปริมาณน้ำฝนประมาณ 50,000-100,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งเพิ่มจากเดิมที่มีปริมาณน้ำฝนปีละ 200,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี จึงต้องมีการแก้ปฏิทินการเกษตร โดยต้องทำการเกษตรให้เร็วกว่าเดิม เช่น การปลูกข้าวให้เร็วขึ้น และอาจต้องมีการคิดค้นข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป” นายปลอดประสพระบุ                นายปลอดประสพกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ต้องมีการปรับเรื่องของการเก็บน้ำ เนื่องจากมีการประเมินว่าฝนจะตกใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เขื่อนขนาดใหญ่มีน้ำใต้เขื่อนมากขึ้น จึงต้องใช้ระบบการดูดน้ำจากใต้เขื่อนเข้ามาเก็บเหนือเขื่อน ทั้งนี้ ตนคิดว่าต่อไปต้องมีการสร้างเขื่อนเพื่อใช้ควบคุมน้ำเป็นหลัก ลุ่มน้ำใดที่อุ้มน้ำไม่ได้จะต้องมีการสร้างเขื่อนดังกล่าว อีกทั้งจะต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ กทม.ด้วยการทำเส้นทางเร่งระบายน้ำออกสู่อ่าวไทย หรือที่เรียกว่าฟลัดเวย์ ในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ที่สามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่แพงที่สุด คือ การทำขุดแม่น้ำขนาดใหญ่ ขณะที่วิธีที่ถูกที่สุด คือ การเช่าที่ดินของประชาชน ตั้งแต่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ยาวไปจนถึงบริเวณคลองด่าน จ.สมุทรปราการ โดยมีการไถที่ดินและมีการจัดทำลักษณะทางน้ำไหลผ่าน ซึ่งในช่วงหน้าแล้งประชาชนก็มาทำกิจกรรมหรือพักผ่อนในพื้นที่ได้ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นก็ใช้รูปแบบนี้                นายปลอดประสพกล่าวอีกว่า รวมทั้งด้านการท่องเที่ยวก็ต้องมีการปรับปฏิทินด้วย เพื่อให้กิจการการท่องเที่ยวสอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ส่วนรูปแบบการสร้างบ้านของประชาชนให้สร้างบ้านในลักษณะยกสูงเป็นชั้นครึ่ง หรือสร้างบ้านแบบใหม่มีเสา 4 เสา ใต้บ้านเป็นโฟมอย่างดีโดยในช่วงหน้าแล้งบ้านก็อยู่บนพื้นดินตามปกติแต่เมื่อถึงหน้าน้ำมีน้ำท่วมตัวบ้านจะยกขึ้น โดยที่ยังมีเสายึดตัวบ้านไว้ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯได้จัดทำแปลนบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เรียกว่าบ้านสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกหรือบ้านกบ เตรียมที่จะนำเสนอออกมาเร็วๆ นี้ ขณะที่การถมที่ดินอาจต้องมีการออกกฎหมายว่าด้วยการถมที่ดิน โดยกำหนดให้ผู้ที่จะถมที่ดินต้องขออนุญาต และต้องควบคุมความสูงการถมที่ดินในแต่ละเขตให้มีความเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่ให้สูงต่ำสลับไปมา ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ส่วนการขุดลอกคูคลองอาจต้องมีการตั้งบริษัทขึ้นมาดูแลเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งถนนฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกของ กทม.จะต้องยกสูงขึ้นให้น้ำลอดผ่านลงทะเลได้เร็ว                ส่วนกรณีนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้อย่างหนัก นายปลอดประสพกล่าวว่า จะต้องมีการปรับแนวป้องกันรอบนิคมฯให้เป็นสี่เหลี่ยม และให้มีจำนวนมากกว่า 1 ชั้น เพื่อให้ป้องกันน้ำทำได้ง่ายและได้ผลขึ้น ทั้งนี้ ส่วนตัวคิดว่าวิธีที่คุ้มค่าในระยะยาวคือย้ายนิคมฯออกไปจากพื้นที่ลุ่มในภาคกลางไปอยู่ในพื้นที่สูงในภาคอื่นๆ โดยรัฐต้องสร้างระบบสาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมเข้าไป และใช้พื้นที่ลุ่มดังกล่าวไปทำการเกษตรแทน ด้านชลประทาน ประเทศไทยต้องสร้างระบบระบายน้ำขึ้นใหม่ ซึ่งปัจจุบันเรานำระบบส่งน้ำมาใช้ระบายน้ำปล่อยน้ำจากคลองใหญ่ลงสู่คลองเล็กเพื่อลงทะเล ทำให้การระบายน้ำช้าและเอ่อล้นท่วมชุมชน จึงต้องเปลี่ยนมาจัดทำระบบระบายน้ำด้วยการให้น้ำไหลจากท่อเล็กไปยังท่อใหญ่ ซึ่งตนเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมาซึ่งจะมีกรมที่ดูแลเป็นการเฉพาะแต่ละด้านในการบริหารจัดการน้ำ เช่น กรมส่งน้ำ กรมระบายน้ำ กรมคูคลอง กรมประปา และกรมน้ำเพื่ออุตสาหกรรม                “แนวคิดทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะต้องทำ เพราะธรรมชาติได้เปลี่ยนไปแล้ว คนจึงต้องปรับตัวตามธรรมชาติเช่นเดียวกัน” นายปลอดประสพกล่าว http://www.manager.co.th
เสริมคันกั้นศิริราชเพิ่มอีก 50 ซม. ทหารพร้อมเฝ้าระวัง 24 ชม.
       ทหารเสริมแนวกระสอบทรายใน รพ.ศิริราชเพิ่มอีก 50 ซม. พร้อมจัดเวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันแนวป้องกันน้ำท่วมชำรุด                ความคืบหน้าสถานการณ์การป้องกันน้ำท่วม บริเวณโรงพยาบาลศิริราช วันนี้ (3 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการเสริมแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร จากแนวกระสอบทรายเดิมที่ 3.50 เมตร โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารคอยเฝ้าระวังตลอดเวลา เพื่อป้องกันแนวคันกั้นน้ำชำรุด                                                                      ทหารเสริมแนวกระสอบทรายใน รพ.ศิริราชเพิ่มอีก 50 ซม. พร้อมจัดเวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันแนวป้องกันน้ำท่วมชำรุด                ความคืบหน้าสถานการณ์การป้องกันน้ำท่วม บริเวณโรงพยาบาลศิริราช วันนี้ (3 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการเสริมแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร จากแนวกระสอบทรายเดิมที่ 3.50 เมตร โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารคอยเฝ้าระวังตลอดเวลา เพื่อป้องกันแนวคันกั้นน้ำชำรุด                                                               http://www.manager.co.th
อมน้ำ-บริหารผิด สื่อเผยหลักฐานน้ำเขื่อนมัดคอ รบ.เพื่อไทย
  โพสต์ทูเดย์ชี้แกนนำรัฐบาล-ส.ส.เพื่อไทยพยายามหาแพะน้ำท่วมใหญ่ ไล่ตั้งแต่ภัยธรรมชาติ กฟผ. กรมชลประทาน พุ่งเป้า “ธีระ-บรรหาร” ปกปิดข้อมูล ส่วน “สุขุมพันธุ์” เจอข้อกล่าวหาขวางไม่ให้น้ำไหลลงทะเล “จตุพร” ปราศรัยโทษ ปชป.-ทหารกักน้ำจนต้องตอบโต้ เชื่อสุดท้ายเป็นบูเมอแรงกลับมาทิ่มรัฐบาล เผยตารางลำดับเวลาชี้ชัด “รบ.ปู” บริหารพลาด-พายุซ้ำ ทำให้น้ำเต็มเขื่อน                จากกรณีที่มีสื่อของกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำในเขื่อนภูมิพล-เขื่อนสิริกิติ์ โดยโทษว่าเป็นต้นเหตุของเหตุอุทกภัยใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพ วานนี้ (2 พ.ย.)โพสต์ทูเดย์ตีพิมพ์รายงานพิเศษในหัวข้อ “พท.โยนบาปหาแพะบูเมอแรงฆ่าตัวเอง” โดยเห็นว่ายิ่งนานวันยิ่งเห็นการบริหารงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เป็นปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)ที่มีทีมงานมากให้ข้อมูลผิด ประชาชนสับสน ศปภ.หมดความเชื่อถือ ขณะที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ไร้อำนาจแก้ปัญหาและพูดไม่ตรงกับที่ประเมินไว้                ทั้งนี้ สิ่งที่นางสาวยิ่งลักษณ์จะเผชิญหลังน้ำลดคือ การทวงถามความรับผิดชอบจากการแก้ปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนเกิดความเสียหายมหาศาล ซึ่งคนเป็นผู้นำรัฐบาลไม่สามารถอยู่เฉยได้หรือกล่าวโทษให้เป็นเรื่องภัยธรรมชาติอย่างเดียว หากย้อนไปดูก่อนสถานการณ์เริ่มวิกฤต พลพรรคเพื่อไทยพยายามหาแพะ เพื่อชี้นำให้ประชาชนเห็นว่า ความเสียหายครั้งนี้ไม่ใช่เพราะรัฐบาล หากแต่เป็นเรื่องภัยธรรมชาติ ถือเป็น แพะตัวที่ 1                ต่อมารัฐบาลยังมีข้อแก้ตัวว่าปัญหาน้ำท่วมมาจาก กฟผ. หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในฐานะดูแลเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ที่ไม่ยอมปล่อยน้ำออกมาก่อนจะมีพายุเข้าหลายลูก รอจนน้ำเข้ามาในเขื่อนให้มากแล้วค่อยระบายน้ำออก กลายเป็นมวลน้ำก้อนใหญ่ถล่มกรุง กฟผ.จึงเป็น แพะตัวที่ 2                แพะตัวที่ 3 คือ กรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมกับ แพะตัวที่ 4 คือนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ ที่ดูแลกรมชลประทาน ซึ่งพรรคเพื่อไทย แกนนำ 111 ไทยรักไทย ที่มาช่วยรัฐบาล กล่าวหาว่ากั๊กข้อมูล บอกข้อเท็จจริงแต่น้ำท่า ซึ่งเป็นน้ำที่มากับแม่น้ำ แต่ไม่บอกข้อมูล น้ำทุ่ง ซึ่งเป็นน้ำที่หลากตามท้องทุ่ง ทำให้รัฐบา ประเมินสถานการณ์ผิด เป็นผลให้นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งจมมิด และไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ ขณะนี้ ข้อกล่าวหาอีกกรณี คือ การที่กรมชลประทาน ซึ่งคุมประตูระบายน้ำ (ปตร.) ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น ปตร.หนองจอก ปตร.คลองประเวศบุรีรมย์ ไม่ยอมเปิดประตู ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่เต็มที่                แพะตัวที่ 5 คือนายบรรหาร ศิลปอาชา เจ้าของพรรคชาติไทยพัฒนาซึ่งควบคุมนายธีระ และกรมชลประทานอีกทอด ถูกกล่าวโทษจากพรรคเพื่อไทยว่าเป็นขาใหญ่ สั่งปิดการระบายน้ำ ปตร.พลเทพ ที่ จ.ชัยนาท กันไม่ให้น้ำเข้า จ.สุพรรณบุรี ฐานเสียงของนายบรรหาร ทำให้การแก้ปัญหาของรัฐบาลผิดแผน น้ำระบายลงฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ไม่ได้                แพะตัวที่ 6 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถูกกกล่าวหาจาก ศปภ. นางสาวยิ่งลักษณ์ และ สส.พรรคเพื่อไทย ว่าไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ด้วยการยอมให้น้ำเหนือไหลลงสู่คลองแสนแสบในกรุงเทพฯ จนนางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องประกาศใช้มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยึดอำนาจจากกรุงเทพมหานคร ใครฝ่าฝืนคำสั่งมีบทลงโทษตามกฎหมาย แม้กระชับอำนาจได้ แต่สถานการณ์กลับหนักกว่าเดิม น้ำมีโอกาสเข้าท่วมกรุงเทพฯ ทุกเขต จากที่ สส.พรรคเพื่อไทย ไม่ห้ามม็อบคลองสามวา จนทำลาย ปตร.คลองสามวา ซึ่งเป็นด่านหน้ากรุงเทพฯ ไปบางส่วน                นอกจากนี้ กลุ่ม สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย นำโดยนายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ออกมากล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ว่า ขวางกระแสน้ำไม่ให้ไหลผ่านกรุงเทพฯ ลง จ.สมุทรปราการ เพื่อระบายสู่อ่าวไทยเร็วๆ ทั้งที่ จ.สมุทรปราการ พร้อมรับน้ำ แต่น้ำจากเมืองกรุงไม่ยอมมาเสียที ขณะที่การปราศรัยของ จตุพร พรหมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ในเวที “ไพร่แดง ลมหายใจที่ไม่แพ้” ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย กล่าวว่า เหตุที่น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้มาจากยุคพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งกักน้ำเอาไว้เต็มเขื่อนหลายแห่ง ส่วนทหารที่ขอเข้ามาช่วยแก้น้ำท่วม ถ้าล้มเหลวทหารต้องรับไปด้วย 50% นอกจากนี้ รัฐบาลนี้มีแต่คนจ้องล้มให้ได้ภายในเดือน ธ.ค. แต่โชคดีมีน้ำท่วมใหญ่ก่อน ทำให้ล้มไม่ได้ ซึ่งความหมายของนายจตุพร แพะตัวที่ 7 คือ พรรคประชาธิปัตย์ แพะตัวที่ 8 คือ กองทัพ                ในรายงานพิเศษชิ้นนี้กล่าวว่า การที่น้ำท่วมคือโชคดีของรัฐบาลที่ป้องกันไม่ให้ใครมาล้มได้ แต่เป็นโชคร้ายของประชาชนที่เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ซึ่งเหตุผลของนายจตุพรครั้งนี้ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตอบโต้ว่า ถ้าอย่างนั้นประชาธิปัตย์ก็แกล้งแพ้เลือกตั้ง เพื่อต้องแกล้งวางยาให้น้ำท่วมหรือไม่ ส่วนกองทัพก็นึกไม่ถึงว่าจะกลายเป็นแพะกับเกมโยนบาปครั้งนี้ เพราะเป็นฝ่ายปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนอย่างแข็งขันตามที่รัฐบาลสั่ง และกองทัพก็ได้รับคำชื่นชมสูงว่าเป็นพระเอกตัวจริง                ขณะเดียวกัน แพะตัวที่ 9 คือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์แสดงความเสียใจปัญหาน้ำท่วมว่า ช่วงเขาเป็นรัฐบาล เคยคิดทำโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมีเรื่องน้ำรวมอยู่ด้วย แต่ถูกปฏิวัติเสียก่อน ทำให้แก้ไม่ได้ ซึ่งกลยุทธ์โยนบาป ปัดพ้นตัว ไม่ยอมรับว่ากลไกการสั่งการในรัฐบาลเองมีความผิดพลาด เพราะแม้แต่คนในรัฐบาล หรือ ศปภ.เองก็ออกมาแฉกันเองว่าทำงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่ทันกู้วิกฤต ยังเอาของบริจาคแปะชื่อเป็นของตัวเอง ไม่กระจายของ ปล่อยให้ของบริจาคจมน้ำ แต่รัฐบาลลืมไปว่าแพะที่แกนนำรัฐบาลกล่าวโทษนั้น คือกลไกแขนขาของรัฐบาล มีนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด และเห็นว่าทุกอย่างเป็นบูเมอแรงกลับมาทิ่มใส่รัฐบาลเอง                หลักฐานมัด รบ.ปูละเลย ปล่อยน้ำเต็มเขื่อน                ขณะที่วันนี้ (3 พ.ย.) หน้าหนึ่งของ นสพ.โพสต์ทูเดย์ได้เผยแพร่ตาราง “อมน้ำ-บริหารผิด” ซึ่งเป็นตารางที่ระบุถึงลำดับเวลาของเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่วันยุบสภา 10 พ.ค. 2554 จนถึง 31 ต.ค. 2554 เปรียบเทียบกับระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เป็นเปอร์เซ็นต์ พร้อมกับแสดงให้เห็นถึงผลกระทบ                ตารางเวลาชี้ให้เห็นว่า ณ วันที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์อยู่ที่ระดับ ร้อยละ 46 และ 51 ตามลำดับ ขณะที่เมื่อถึงวันเลือกตั้ง 3 ก.ค. ระดับน้ำในเขื่อนทั้งสองได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 58 และ 65                อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่คณะรัฐมนตรีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถวายสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 10 ส.ค. ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 69 และ 85 จากน้ำเหนือที่ไหลบ่าและอิทธิพลของพายุนกเตน อย่างไรก็ตามหลังจากที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินแล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลับไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับอิทธิพลจากพายุไห่ถาง, เนสาด และ นาลแก ส่งผลให้น้ำในเขื่อนทั้ง 2 แห่งเพิ่มขึ้นเต็มความจุในช่วงต้นเดือน ตุลาคม 2554 และในที่สุดก็กลายเป็นมหาอุทกภัยที่ก่อความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมิอาจประเมินค่าได้ วันนี้ (3 พ.ย.) หน้าหนึ่งของ นสพ.โพสต์ทูเดย์ได้เผยแพร่ตาราง “อมน้ำ-บริหารผิด” เปรียบเทียบเหตุการณ์ทางการเมืองกับระดับน้ำในเขื่อน http://www.manager.co.th
สำนักระบายน้ำ กทม.เปิดเว็บเช็กสดๆ ระดับน้ำในคลอง-ถนนทั่วกรุง
       สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับบริษัท AMR Asia เปิดเว็บไซต์ให้ประชาชนทั่วไปตรวจสอบระดับน้ำในคลอง และระดับน้ำบนถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร แบบสดๆ ทันสถานการณ์ โดย “ระดับน้ำในคลอง” ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/Canal 'ระดับน้ำบนถนน' ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/Floodmon   http://www.manager.co.th
สื่อนอกเชิดชูพระอัจฉริยภาพ ในหลวง วางโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
       เอเจนซี - สำนักข่าวระดับโลกเผยแพร่รายงานเชิดชูพระอัจฉริยภาพ “ในหลวง” ที่ทรงวางโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เรื่องที่ประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก จนกระทั่งต้องเผชิญมหาอุทกภัยครั้งเลวร้าย                บทความเรื่อง In Thailand, a battle royal with water ระบุว่า อุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดของไทย คือสิ่งที่พระองค์พยายามอย่างหนักสำหรับหาทางปกป้องมาตลอด พระองค์ทรงเคยเตือนแต่ไม่มีใครใส่ใจต่อการถึงการพัฒนารวดเร็วเกินไป และทรงมีแนวคิดต่างๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหนุนของน้ำทะเลในแต่ละปี นอกเหนือจากการรับมือกับฤดูน้ำหลาก                วิกฤตของประเทศไทยจากน้ำท่วมใหญ่เวลานี้ ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนเกือบ 400 ราย และ พลเมืองนับแสนต้องกลายเป็นผู้อพยพ เป็นทั้งบทเรียนที่แสนแพงจากการละเลยคำเตือนของพระองค์และการฝืนควบคุมพลังธรรมชาติที่มีศักยภาพเหนือกว่ากำลังของมนุษย์                ในบทความของเอพียังอ้างนักวิเคราะห์จากต่างประเทศตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่มีความสามารถในการประสานงาน และวางแผนการจัดการน้ำให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ทัดเทียมพระองค์ บางสิ่งที่หลายคนวิจารณ์ว่าไทยขาดแคลนโดยสิ้นเชิง                แม้ในเวลานี้ที่เมืองหลวงของไทยกำลังดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อต่อสู้กับมวลน้ำที่ไหลหลั่งมา พระองค์ก็ยังทรงแนะนำถึงแนวทางการผันน้ำจากทางตอนเหนือลงสู่ทะเลโดยตรง ซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่ไม่เหมือนกับในอดีตเพราะพระสุรเสียงของพระองค์ก็ไม่อาจดลใจให้ภาครัฐดำเนินการตามที่พระองค์มีรับสั่งได้                เอพีระบุว่า ในหลวงทรงมีผลงานด้านการจัดการน้ำโครงการแรกเมื่อปี 1963 โดยทรงสร้างเขื่อนกั้นน้ำจืดเพื่อป้องกันน้ำทะเลปนเปื้อนในแหล่งน้ำจืดที่อำเภอหัวหิน และจนถึงวันนี้ทรงมีโครงการในพระราชดำริมากกว่า 4,300 โครงการ โดยร้อยละ 40 ของโครงการเหล่านั้นเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ                เดวิด เบลค ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำแห่งมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการจัดการน้ำในประเทศไทย กล่าวว่า “นโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ และการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ ที่พระองค์ทรงทุ่มเทเวลากว่า 40 ปี ในการดำเนินการ”                “แม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเอเชียเฟื่องฟู พระองค์ก็ทรงเฝ้าเตือนประชาชนเกี่ยวกับอุทกภัย การจราจรติดขัดและความทุกข์ยากต่างๆ” นายโดมินิก เฟาล์เดอร์ บรรณาธิการอาวุโสหนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กำลังจะตีพิมพ์กล่าว “แต่น่าเสียดายที่คำเตือนนั้นเป็นเรื่องที่ผู้คนจำนวนมากไม่อยากได้ยิน เปรียบได้ดั่งยาขมที่ทุกคนไม่ต้องการรับประทาน”                เขาบอกต่อว่า “พระองค์ทรงมุ่งหวังพยายามคลี่คลายปัญหา ทว่าก็ถูกโต้เถียงจากนักการเมือง และข้อเท็จจริงก็คือสิ่งที่เรากำลังได้เห็นในตอนนี้”                บทความของเอพีระบุว่า พระองค์ทรงตั้งชื่อโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่า “แก้มลิง” โดยอธิบายจากพฤติกรรมของลิงที่พระองค์ทรงเลี้ยงครั้งยังทรงพระเยาว์ ที่เก็บอาหารไว้ที่กระพุ้งแก้มให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะกลืนลงคอในภายหลัง                ทั้งนี้ น้ำทางเหนือที่กำลังมุ่งสู่กรุงเทพฯ จะถูกเปลี่ยนทิศไปยังแก้มลิง ก่อนจะไหลลงทะเลหรือเข้าสู่ระบบชลประทานอย่างรวดเร็ว โดยโครงการนี้ยังรวมไปถึงการสร้างแหล่งเก็บน้ำต่างๆเช่น บ่อ ลำคลอง และประตูน้ำ พร้อมๆ กับการปรับปรุงระบบการระบายน้ำในกรุงเทพฯ จนทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ไม่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วมนานกว่าทศวรรษ                เบลคกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในโครงการนี้จะมีชุมชนบางส่วนรอบกรุงเทพฯต้องเสียสละเพื่อปกป้องใจกลางเมืองหลวง และบางครั้งหน่วยราชการก็ผันน้ำเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรแทนที่จะเป็นแหล่งเก็บน้ำ อย่างไรก็ตามเวลานี้พื้นที่ที่สามารถเป็นแก้มลิงทั้งทางตะวันตก ตะวันออกและทางเหนือของเมือง กลายสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรม บ้านเรือนราษฎร สนามกอล์ฟและสนามบินนานาชาติไปเสียแล้ว                ในช่วงต้นปี 1971 พระองค์ทรงเคยเตือนว่า การตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าทางเหนือของประเทศอาจจุดนวนอุทกกภัยในอนาคต เนื่องจากจะไปลดประสิทธิภาพของดินในการดูดซับน้ำ และวันนี้ก็เป็นที่ยอมรับแล้วว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุทกภัยครั้งนี้ด้วย                ขณะที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน พระองค์ที่ทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ ส่งเสริมให้เรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นวาระแห่งชาติ http://www.manager.co.th
พิชัย มั่นใจ ศปภ.ใหม่ไม่ท่วม ชง ครม.ชะลอขึ้นเอฟที-ฟรีค่าไฟ 50 หน่วย
รมว.พลังงานมั่นใจน้ำมัน-ก๊าซไม่ขาดแคลน ยัน กฟผ.ไม่เกี่ยวปล่อยน้ำในเขื่อนช้า เชื่อ ศปภ.ใหม่พ้นน้ำแน่ หลังเสริมกำแพงกั้น ทั้งยังสูงกว่าพื้นที่โดยรอบถึง 2.20 เมตร เตรียมชง ครม.เคาะมาตรการช่วยเหลือหลังน้ำลด ชะลอขึ้นค่าเอฟที ให้ใช้ไฟฟ้าพรี 50 หน่วย                วันที่ 3 พ.ย. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นายพิชัย นริพทะพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลได้เตรียมแผนฟื้นฟูสำหรับจังหวัดที่มีระดับน้ำลดลงแล้ว โดยจังหวัดแรกที่รัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือ คือ พิษณุโลก ซึ่งกระทรวงพลังงานถือเป็นหน่วยงานแรกที่พยายามจะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ขณะที่เรื่องของพลังงานน้ำมันต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ยืนยันว่าจะไม่ขาดแคลน ส่วนเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่จะมีการนำเข้าจากประเทศจีนนั้น คาดว่าจะได้รับไม่เกินวันที่ 10 พ.ย.นี้ แต่คงจะต้องมาคิดหาวิธีการขนส่ง เนื่องจากปั้มสูบน้ำดังกล่าวมีจำนวนมาก และแต่ละตัวก็มีน้ำหนักหลายตัน ส่วนวิธีการขนส่งเข้าไปยังพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ถ้าน้ำลดเร็วก็จะส่งทางเครื่องบิน แต่ถ้าน้ำยังไม่ลดก็จะขนส่งทางเรือ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30 ล้านบาท โดยทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฝภ.) เป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณ                ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีวิพากษ์วิจารณ์ว่าสาเหตุของน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้มาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายพิชัยกล่าวว่า เรื่องนี้ กฟผ.ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งหากจำกันได้ในช่วงก่อนการเลือกตั้งจะเห็นว่าปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลมีอยู่เกือบเต็มเขื่อนแล้ว นอกจากนี้ ในการปล่อยน้ำจะต้องผ่านคณะกรรมการพิจารณาโดยจะมีประมาณ 8-9 คนที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะมีตัวแทนจากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มากที่สุด จึงอยากขอเรียกร้องให้ตัวแทนจากกระทรวงเกษตรฯ ได้ออกมาชี้แจงความจริงให้ประชาชนรับทราบ                เมื่อถามว่า ขณะนี้ได้มีการประเมินสถานการณ์น้ำที่กำลังเข้าใกล้บริเวณกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศปภ. นายพิชัยกล่าวว่า ขอให้มั่นใจเพราะบริเวณที่ตั้งปัจจุบันมีความสูงกว่าพื้นที่โดยรอบถึง 2.20 เมตร ดังนั้น ถ้าบริเวณนี้ถูกน้ำท่วม หมายความว่าทั้ง กทม.ก็ต้องท่วมหมด หากย้ายไปที่อื่นก็ไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตามเวลานี้เราป้องกันพื้นที่โดยรอบเป็นในลักษณะพื้นที่ไข่แดง                “ขอยืนยัน 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าน้ำจะไม่เข้าท่วม ศปภ.อย่างแน่นอน เพราะก่อนย้ายมาเราพิจารณาไว้ดีแล้ว เราคิดไว้ครบทุกกรอบ ขออย่าได้มีความกังวล ไม่เช่นนั้นคงไม่กล้าเสนอให้มาอยู่ที่กระทรวงพลังงาน แต่เพื่อความไม่ประมาท เบื้องต้นคงต้องติดตามสถานการณ์ต่ออย่างใกล้ชิด โดยในระยะสั้นๆ จะมีการนำถุงทรายขนาดใหญ่ไปกั้น ซึ่งสามารถรองน้ำได้ในระดับหนึ่ง” นายพิชัยระบุ                เมื่อถามว่า หากโดยรอบที่ทำการ ศปภ.ถูกน้ำท่วมจนกลายเป็นพื้นที่ไข่แดง จะทำให้การคมนาคมมีปัญหาหรือไม่ นายพิชัยกล่าวว่า เราจะมีการเชื่อมต่อทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงดินแดงเข้ามายัง ศปภ.แห่งนี้ โดยกระทรวงคมนาคมได้ออกแบบทางเข้าทางออกไว้เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะสร้างให้เสร็จภายใน 2 วัน ขณะเดียวกัน นายกฯ ได้กำชับว่าอย่าใช้งบประมาณในการจัดทำมากเกินไป เพราะประชาชนกำลังเดือดร้อน ต้องนำเงินไปช่วยเหลือประชาชน                นายพิชัยยังได้กล่าวอีกว่า กระทรวงพลังงานยังได้เตรียมเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในหลายเรื่อง เช่น การชะลอการปรับขึ้นค่าเอฟที ที่ขณะนี้กำลังพิจารณากันอยู่ โดยมีการประชุมตัวเลขคร่าวๆ ได้แก่ ช่วง 4 เดือนแรก จะอยู่ที่ 7,000 กว่าล้าน ช่วง 8 เดือน อยู่ที่ 10,000 กว่าล้าน และ 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้าน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการสรุปตัวเลขที่ชัดเจน โดยจะมาการเสนอตัวเลขให้นายกฯ พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ยังมีการปรับลดอัตราการใช้ไฟฟ้าฟรีจาก 90 หน่วย เป็น 50 หน่วย ซึ่งคาดว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือครั้งนี้ประมาณ 3-4 ล้านคน เราก็จะสรุปข้อมูลเป็นแผนเสนอนายกฯ พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าชุมชุน 1 ชุมชน 1 เมกะวัตต์ ก็จะดูว่าชุมชนไหนเป็นชุมชนประสบภัยน้ำท่วม เราจะเริ่มช่วยเหลือ โดยกระทรวงจะพยายามรวบรวมข้อมูลให้นายกฯ พิจารณา และเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า                ก่อนหน้านั้น นายพิชัยได้เป็นประธานในการปล่อยรถคาราวาน “กลุ่ม ปตท.รวมพลังไทย ฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เพื่อเดินทางไปจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูในพื้นที่ จ.พิษณุโลก ซึ่งถือเป็นการเปิดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระยะที่ 3 ของกลุ่มบริษัท ปตท. โดยมีเป้าหมายจะดำเนินการใน 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูง และน้ำเริ่มลดลงแล้วบางพื้นที่ ได้แก่ จ.พิษณุโลก จ.นครสวรรค์ จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สระบุรี และ จ.ลพบุรี โดยในคาราวานจะมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยตรวจซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบเครื่องยนต์ที่ลุยน้ำ ตรวจสอบและเปลี่ยนสายถังก๊าซหูงต้ม หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ซึ่งแต่ละแห่งจะเปิดจะทยอยเปิดศูนย์ตามสถานการณ์น้ำที่ลดในแต่ละพื้นที่ สำหรับ จ.พิษณุโลก เริ่มเปิดให้บริการแห่งแรก ตั้งแต่วันที่ 3-8 พ.ย.นี้ และคาดว่า จ.นครสวรรค์ จะเริ่มเปิดได้ในวันที่ 10-16 พ.ย.นี้ และในภาคของประชาสังคมนั้น ปตท.ยังได้เปิดบริการตรวจเครื่องยนต์ที่ลุยน้ำฟรีในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.อีก 120 จุดกระจายใน 21 จังหวัดที่ถูกน้ำท่วม พร้อมจำหน่ายน้ำมันในราคาพิเศษ ลด 50 เปอร์เซนต์อีกด้วย                นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานยังได้มอบก้อนจุลินทรีย์ (EM Ball) จำนวน 200,000 ลูก ให้แก่ 12 หน่วยงานที่น้ำท่วมขังและเริ่มเน่าเสีย อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อบต.บางบัวทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลอง 6 เพื่อนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียในชุมชนต่อไป http://www.manager.co.th
ลือสะพัดชายแดนไทย-ลาว น้ำท่วมกรุงเทพฯ เหตุผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต
นครพนม - ใบปลิวว่อนชายแดนไทย-ลาวด้านจังหวัดนครพนม ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาลาว ระบุเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 1-2 วันนี้ที่ จ.นครพนม ได้มีใบปลิวเนื้อหาเป็นภาษาลาว ระบุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะคำสาบานในอดีต แจกจ่ายแพร่สะพัดในตลาดโต้รุ่ง ร้านคาเฟ่อินเทอร์เน็ต และยังแปลข้อความในใบปลิวจากภาษาลาวเป็นภาษาไทยโพสต์ข้อความเฟซบุ๊กต่อๆ กัน                สำหรับข้อความในใบปลิวดังกล่าว ระบุหัวข้อตั้งคำถามน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นเพราะคำสาบานในสมัยอดีตจริงหรือไม่ ด้วยเหตุใดพระแก้วมรกรตของลาวจึงไปอยู่ในประเทศไทย                ข้อความเล่าย้อนไปในอดีตว่า ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ได้เสียชัยให้กับสยาม (กรุงเทพฯ) แล้ว ศักดินาสยามก็พยายามจะเอาพระแก้วมรกตไปสถิตไว้อยู่ประเทศไทย พวกเขาได้ใช้ความพยายามหลายวิธี แต่ไม่สามารถยกพระแก้วมรกตขึ้นได้ ฉะนั้น ศักดินาสยามจึงให้หมอดูลาว 5 คนเพื่อไปอ้อนวอนช่วย โดยมีเหตุผลอ้างอิงว่า ปัจจุบันนั้นเมืองลาวเกิดความวุ่นวายไม่สงบ ฉะนั้น จึงขออัญเชิญพระแก้วมรกตนี้ย้ายไปสถิตที่กรุงเทพฯ ถ้าหากว่าวันใดเมืองลาวมีความสงบ จะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปสถิตสถานไว้ที่เมืองลาวเหมือนเดิม                ข้อความยังระบุต่อไปว่า เพื่อเป็นการยืนยันศักดิ์ศรีของศักดินาสยามในเวลานั้น พวกเขาได้สาบานไว้ว่า “ถ้าหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามคำสาบานดังกล่าวนี้ ขอให้มีมหันตภัย 5 อย่างเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยดังนี้”                ขอให้น้ำท่วมบ้านท่วมเมือง, ขอให้ประเทศไทยไม่มีความสงบ เจริญรุ่งเรือง การเมืองให้มีความสับสนวุ่นวาย, อาณาจักรเดียวขอให้แบ่งเป็นหลายชาติ ความเป็นเอกราชขอให้พังทลาย, ราชบัลลังก์ขอให้ถูกโค่นล้ม, ดินส่วนหนึ่งขอให้จมลงทะเล                เมื่อศักดินาสยามได้ยืนยันคำสาบานดังกล่าวแล้ว หมอดูลาวทั้ง 5 คนจึงพร้อมกันอัญเชิญพระแก้วมรกตตามจุดประสงค์ของไทย จากนั้นศักดินาสยามจึงสามารถยกเอาพระแก้วมรกตของลาวไปประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพฯจนถึงปัจจุบันนี้                นอกจากนี้ ในท้ายข้อความในใบปลิวยังอ้างว่า หนังสือฉบับนี้เอามาจากหอสมุดของแขวงหลวงพระบาง ต้นฉบับเป็นภาษาลาว ลงวันที่ 12/2/2010                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดต่อเนื่องว่า มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทย อาจเกี่ยวข้องกับคำสาปหรือคำสาบานของไทยและลาว แต่ยังไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันที่อ้างว่ามีบันทึกอยู่ในหอสมุดแห่งชาติลาว                กระทั่งมีผู้นำใบปลิวจากฝั่งลาวมาเผยแพร่ดังกล่าว ผู้นำใบปลิวมาเผยแพร่ยังระบุว่าชาวลาวมีใบปลิวข้อความเนื้อหาข้างต้นแทบทุกครัวเรือน http://www.manager.co.th
ปู งัดบางระกำโมเดล รับมือน้ำท่วม กทม
อุแม่เจ้าเอาแล้ว นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ประกาศลั่นกลางทุ่งดอนเมือง ศูนย์กลางสร้าง...เอ๊ย...แก้ปัญหาน้ำท่วมประเทศว่าจะใช้บางระกำโมเดลที่เคยเห็นผลจากจังหวัดพิษณุโลกมาแล้ว มารับมือน้ำท่วม กทม. หลังได้ยินชาว กทม.ทั่วกรุงแห่อพยพหนีตายกันจ้าละหวั่น                หลังอุทกภัยและภัยจากผู้นำหน่อมแน้มครั้งที่หนักที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ครั้งเสียกรุงเป็นต้นมาได้ดำเนินมาจนเกือบเข้าไครฯ เพราะฝ่ายบุกคือน้ำก้อนมหึมานับหลายพันล้านลูกบาศก์เมตร ลำเลียงลูกมาเตรียมทำประตูที่กรอบเขตโทษของประเทศที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและคมนาคม คือที่สถานดอนเมือง สร้างความอึดอัดคับข้องแก่นายกฯ หญิงผู้ละอ่อนทั้งวัยและทั้งความสามารถจนสุดจะอดกลั้น เจ้าหล่อนจึงประกาศกร้าวกลาง ศปภ.ว่า ถึงเวลาแล้วที่จะใช้บางระกำโมเดลที่เคยใช้ที่พิษณุโลกมารับมือกับน้ำท่วมกรุงครั้งนี้                ป๋าบัญ นักข่าวหัวเห็ดประจำ ศปภ.ดอนเมือง รายงานมายังกองบรรณาธิการว่า “มาตรการบางระกำโมเดลที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ประกาศใช้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ ศปภ. ทั้ง พล.ต.อ.ประชา นายวิม และตัวนายกฯ ปูเองว่าน่าจะจัดการปัญหาน้ำท่วมอย่างได้ผลแน่นอน แต่ไม่ทราบว่าผลจะเป็นน้ำแห้ง หรือชาวบ้านตายเกลี้ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง” ป๋าบัญพูดอย่างทดท้อ                “บรรยากาศดอนเมืองตอนนี้นะยอด ยาหยี หลังนายกฯ แกประกาศใช้บางระกำโมเดล ทั่วดอนเมืองสรรพเสียงต่างๆ ล้วนเงียบเป็นตึกร้าง พี่ดูแววตานักข่าวด้วยกันเองมันประจุไว้ด้วยความหวาดกลัวปนสยดสยอง ทุกอย่างเย็นเยียบยังกับทุกคนถูกพาไปโรงเชือด เหมือนวินาทีนั้นพี่ได้กลิ่นความตายตลบอบอวลอยู่ในอากาศ...สักพักเมื่อทุกคนตั้งสติได้ ทั้งนักข่าว อาสาสมัครและอื่นๆ ต่างฮือเพื่อเอาชีวิตรอดจากกรุงเทพฯ แบบเอาหนังเรื่อง เดย์ อาฟเตอร์ ทูมอร์โรว มาผสมกับเรื่อง 2112 คือแบบตายแน่ ตายแน่ๆ ตู” ป๋าบัญเสริม                อาสาสมัครท่านหนึ่งให้ความเห็นกับป๋าบัญด้วยความเศร้าใจว่า “จริงๆ นายกฯ ไม่ต้องประกาศใช้บางระกำโมเดลก็ได้ เพราะปัจจุบันที่ ศปภ.นี่ก็เหมือนบางระกำอยู่แล้ว เช่น การฮุบของบริจาคไปติดป้าย ส.ส.เพื่อไทยแล้วแจกให้พวกเสื้อแดงด้วยกันเอง การทำกร่างข่มชาวบ้านนักข่าวของ ส.ส.เพื่อไทยจอมถ่อย อาทิ การจะยึดเรือของส่วนกลางไปใช้ของนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ดังที่ปรากฏเป็นข่าว หรือการยึดของบริจาคและเบิกเงินบริจาคไปถลุงเล่นของเด็กเอาแต่ใจอย่างนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้หลงตัวว่าเป็นหนึ่งในศาสดาของฝูงสาวกผู้เต็มไปด้วยมิจฉาทิฐิว่าข้าฯถูกเสมอ ถึงแม้เรื่องน่ารังเกียจเหล่านี้จะถูกเซ็นเซอร์และปิดบังข่าวจากหนังสือพิมพ์ในกลุ่มมติชินที่ร่ำรวยจากการเลียและงบโฆษณาหน่วยงานรัฐที่เหล่าอำมาตย์เสื้อแดงประเคนให้ แต่ก็ไม่อาจปิดบังไปจากโลกไซเบอร์ได้หรอกพี่ แค่ชาวบ้านได้มาเห็นของจริงที่นี่ก็ระกำสุดๆ แล้วพี่”                อนึ่ง หลังทราบข่าวชาวบางระกำท่านนึงได้ต่อสายมายังสำนักข่าวผู้จัดกวน แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ชาวกรุงเทพฯ เพื่อรับบางระกำโมเดลว่า “พยายามอพยพจากกรุงเทพฯ ให้เร็วที่สุด ถ้าไม่ทันให้รีบทำประกันชีวิตและพินัยกรรมให้เรียบร้อย รับรองชาวกรุงเทพฯ จะได้ระกำเหมือนชาวบางระกำแน่...เพราะมันหนักหนาและโหดร้ายกว่าน้ำหลฃยพันล้านลูกบาศก์เมตรที่จะได้เจอะเจอหลายเท่านัก...น่าสงสาร” สายจากบางระกำทิ้งท้าย http://www.manager.co.th
วงเวียนบางเขน น้ำท่วมสูงเกิน 1 เมตร
แยกวงเวียนบางเขน น้ำท่วมสูง เกิน 1 เมตร รถเล็กผ่านไม่ได้แล้ว ขณะหน้า ม.ราชภัฏพระนคร น้ำสูง 60 ซ.ม. ถึง 1 เมตร สถานการณ์น้ำ บริเวณแยกวงเวียนบางเขน ขณะนี้ได้มีน้ำท่วมสูงเกิน 1 เมตร ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านบริเวณดังกล่าวได้แล้ว ผู้ที่สัญจรผ่านตรงจุดนี้ต้องอาศัยรถของเจ้าหน้าที่ทหารที่มาคอยให้บริการรับส่งประชาชน ขณะที่ บริเวณอุโมงค์ลอดแยกอนุสาวรีย์วงเวียนบางเขน ได้ถูกน้ำท่วมสูง จนระดับน้ำเสมอกับพื้นผิวจราจรด้านบนแล้ว ส่วนด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่ได้เปิดเป็น ศูนย์พักพิงที่ประสบอุทกภัยก่อนหน้านี้ขณะนี้ ก็มีน้ำท่วมสูง 60 ซ.ม.- 1 เมตร ด้วยเช่นกัน และในวันนี้ ศูนย์วิทยุร่วมด้วยช่วยกันได้นำอาหารและน้ำดื่ม มาบริจาคให้กับประชาชนที่อยู่ในชุมชนข้างคลองวัดบางบัวด้วย http://news.sanook.com/1068824/วงเวียนบางเขน-น้ำท่วมสูงเกิน-1-เมตร/
ข้อเท็จจริงการระบายน้ำ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์
1. การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ.ทำอย่างไร เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ทุกเขื่อนเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ตามหลักการจะควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ "เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ" (Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ 2 เกณฑ์ คือ "เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง" (Lower Rule Curve) และ "เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน" (Upper Rule Curve) โดยในการจัดทำเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำนั้น ได้นำปัจจัยและข้อมูลของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบกว่า 30 ปีมาประกอบการจัดทำ ทั้งนี้ยังได้ทำการปรับปรุงตามสภาวการณ์เป็นระยะๆ ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง(Lower Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน(Upper Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway) ในสภาวการณ์ปกติ เขื่อนจะควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่างในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน ดังนั้นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำจึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมตามสภาวการณ์ของปริมาณน้ำทั้งเหนือเขื่อนและสภาพน้ำในลุ่มน้ำท้ายเขื่อน เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำเขื่อนภูมิพลโดยเกณฑ์ระดับน้ำควบคุม (Rule Curve) ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีน้ำมาก สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ที่มีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน และอีก 8 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. โดยคณะอนุกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและร่วมกันพิจารณาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่จะต้องระบายออกจากเขื่อนทุกสัปดาห์หรือทุกวัน ซึ่ง กฟผ.ก็ได้ปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการฯ มาโดยตลอด 2. ทำไมเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จึงไม่ระบายน้ำออกมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ ช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ ณ วันที่ 1 พ.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกัก 6,076 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.1 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,784 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 50.3 ของความจุ ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ (Rule Curve) ที่ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ซึ่งตามแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการน้ำตามสถิติข้อมูลที่ใช้อ้างอิง จะต้องเก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนี้จึงเป็นไปตามความต้องการใช้เพื่อการเกษตรกรรมและสาธารณูปโภคเป็นหลัก ต่อมามีพายุเข้ามาหลายลูกได้แก่ "ไหหม่า" (ปลาย มิ.ย.-ก.ค.) "นกเตน"(ปลาย ก.ค.-ส.ค.) พายุโซนร้อน "ไหถ่าง" และ "เนสาด" (เดือน ก.ย.) และ "นาลแก" (เดือน ต.ค.) ทำให้มีฝนตกทั้งบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนรวมทั้งพื้นที่ในภาคกลาง เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง นอกจากนั้นในลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำยมไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่รองรับน้ำ ดังนั้นแม้จะพยายามระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ก็มีข้อจำกัดในการระมัดระวังผลกระทบต่อพื้นที่น้ำท่วมท้ายเขื่อน 3. ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น (Spillway) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า ในปีนี้เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 5 - 13 ต.ค. และ 18 - 20 ต.ค. ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 25 ส.ค. - 11 ก.ย. 2554 การที่ทั้ง 2 เขื่อนจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นผ่านประตูระบายน้ำล้น นอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากขณะนั้นมีปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ และจากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ยังมีแนวโน้มที่มีปริมาณสูงอยู่ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับเก็บกักน้ำเกินความจุของอ่าง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ ทั้งนี้ในระหว่างการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ก็ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ อย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่ามีแนวโน้มลดลงก็ให้ลดปริมาณการระบายน้ำ จนปัจจุบันไม่มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นจากเขื่อนทั้งสอง 4. เขื่อนต้องการเก็บน้ำไว้มากเพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการเรื่องปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออก ในช่วงเวลาใดๆ ในรอบปี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจบริหารน้ำร่วมกันอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อ กฟผ. แต่ประการใด ทั้งนี้เนื่องจากในระบบโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนดให้ กฟผ.ได้รับอัตราค่าไฟฟ้าในรูปแบบ "ผลตอบแทนเงินลงทุน" (ROIC) จึงไม่มีแรงจูงใจให้ กฟผ.จะต้องเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมากๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ปัจจุบันการระบายน้ำจากเขื่อนจึงเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และสาธารณูปโภคเป็นหลัก 5. ปัจจุบันเขื่อนลดปริมาณการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่ ปัจจุบัน(29 ต.ค. 54) เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำออกรวมกันวันละ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์เพียงประมาณ 610 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ราว 3,650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นการระบายน้ำจากทั้งสองเขื่อนจึงไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วม ซึ่งน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาจากแม่น้ำหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน ขณะที่มีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นอยู่เพียง 2 สาย คือ แม่น้ำปิงและน่าน ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจึงมาจากแม่น้ำยมและวัง รวมทั้งน้ำที่ค้างอยู่ตามทุ่งไหลลงมา ซึ่งมีปริมาณรวมถึงร้อยละ 83.3 ของน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรวมกับมวลน้ำที่ยังค้างอยู่ตามไร่นา จากสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย. ทำให้มวลน้ำที่หลากเข้าสู่กรุงเทพฯ ยังคงมีปริมาณมาก นอกจากนี้แล้ว เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังช่วยเก็บกักน้ำปริมาณจำนวนมากไว้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. เพื่อบรรเทาสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งสองเขื่อนมากถึง 10,940 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายน้ำออกรวมกันเพียง 4,915 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้เก็บกักน้ำไว้รวมทั้งสิ้น 6,025 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากปริมาณน้ำจำนวนนี้ไม่ได้ถูกเก็บกักไว้ในเขื่อนทั้งสอง จะส่งผลกระทบต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางมากขึ้น อย่างไรก็ดี มวลน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนทั้งสองจะใช้เวลาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงไม่ส่งผลต่อมวลน้ำก้อนใหญ่ที่โอบล้อมกรุงเทพฯอยู่ขณะนี้ ประกอบกับน้ำจากพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนก็กำลังมีปริมาณที่ลดลงเป็นลำดับ http://news.sanook.com/1068701/ข้อเท็จจริงการระบายน้ำ-เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์/
ทหารใช้รถไฟขนบิ๊กแบ็ก คืบไปว่า 2.5 กม.แล้ว
สถานการณ์น้ำท่วม วันนี้ (3 พ.ย.) เจ้าหน้าที่ทหารเร่งทำบิ๊กแบ็กกั้นประตูระบายน้ำจุฬาใกล้เมืองเอก เพื่อลดปริมาณน้ำเข้าย่านพหลโยธิน วิภาวดีฯ  พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การขนนำบิ๊กแบ็ก (ถุงทรายขนาดใหญ่) ไปอุดยังบริเวณใกล้ประตูน้ำจุฬา ใกล้เมืองเอก รังสิตนั้น เจ้าหน้า่ที่ทหารต้องขนทางรถไฟ โดยจะบรรทุกใส่รถไฟ 3 ขบวน ๆ ละ 10 โบกี้ ขนบิ๊กแบ็กจำนวน 440 ลูก นอกจากนี้ยังเผยว่าจะเร่งวางบิ๊กแบ็ก 440 ลูกให้เสร็จภายในศุกร์นี้ โดยจะเร่งวางแนวเชื่อมคันเดิม ทางด้านทิศเหนือของกทม. ขณะนี้การดำเนินการดังกล่าวได้คืบหน้าไปแล้ว 2.5 กิโลเมตร หลังจากวางบิ๊กแบ็กแล้ว เราต้องใช้กระสอบทรายอีก 6 แสนถุงวางอุดช่องว่างระหว่างบิ๊กแบ็ก หากแล้วเสร็จจะทำให้ไม่มีน้ำจากทางเหนือมาเติมทาง ถ.พหลโยธินและ ถ.วิภาวดีฯ  http://news.sanook.com/1068747/ทหารใช้รถไฟขนบิ๊กแบ็ก-คืบไปว่า-2.5-กม.แล้ว/
ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วม บางเส้นรถเล็กผ่านไม่ได้ 3 พย
วันนี้ (3 พ.ย.) บก.จร.รายงานเส้นทางการจราจรมีพื้นที่น้ำท่วมหลายจุด บางพื้นที่รถเล็กไม่สามารผ่านได้ น้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ สน.ทุ่งสองห้อง (รถเล็กผ่านไม่ได้) ซอย แจ้งวัฒนะ 14 มีระดับน้ำท่วมสูง 115 ซม. หมู่บ้านเมืองทอง-เกษตรนิเวศน์ มีระดับน้ำท่วมสูง 115 ซม. ถนนแจ้งวัฒนะซอย 5 มีระดับน้ำท่วมสูง 85 ซม. หมู่บ้านชวนชื่น บางเขน มีระดับน้ำท่วมสูง 80 ซม. การเคหะทุ่งสองห้อง มีระดับน้ำท่วมสูง 85 ซม. น้ำในคลองเปรม น้ำท่วมสูง 105 ซม. ซอยแจ้งวัฒนะ 10 โกสุมนิเวศน์ มีระดับน้ำท่วมสูง 85 ซม. ทางเข้าแฟลตส่วนกลางทุ่งสองท้อง น้ำท่วมสูง 80 ซม. บริเวณสน.ทุ่งสองห้อง มีระดับน้ำท่วมสูง 60 ซม. หมู่บ้านชินเขต ซอย2 น้ำท่วมสูง 50 ซม. เคหะบางบัว น้ำท่วมสูง 50 ซม. ถนนแจ้งวัฒนะ เข้า-ออก น้ำท่วมสูง 110 ซม. ถนนงามวงศ์วาน เข้าพงษ์เพชร-ชินเขต2 น้ำท่วมสูง 90 ซม.  ถนนงามวงศ์วาน ขาออก ปั้มเชลล์-พงษ์เพชร น้ำท่วมสูง 90 ซม. ถนนกำแพงเพชร6 ช่วง โรงแรมมิราเคิล ถึง แยกหลักสี่ น้ำท่วมสูง 50 ซม. http://news.sanook.com/1068752/ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วม-บางเส้นรถเล็กผ่านไม่ได้/
สยอง พบขามนุษย์ลอยในคลองประปา 1 ข้าง
ผกก.สน.เตาปูน เผย เจอขามนุษย์ลอยน้ำคลองประปา ที่ สถานีสูบน้ำบางซื่อ 1 ข้าง ส่วนนิติเวช พิสูจน์ คาดตายนานแล้ว พ.ต.อ.วีระ จิรวีระ ผกก.สน.เตาปูน เปิดเผย ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า เจ้าหน้าที่ได้พบชิ้นส่วนมนุษย์ ซึ่งเป็นขามนุษย์ไม่ทราบเพศ 1 ข้าง ลอยน้ำในคลองประปา ที่สถานีสูบน้ำบางซื่อ บริเวณวัดแก้วฟ้าจุฬามณี โดยเบื้องต้นได้นำเอาขามนุษย์ไปส่งตรวจพิสูจน์ ที่สถาบันนิติเวชวิทยา ร.พ.ตำรวจแล้ว ว่าเป็นชิ้นส่วนมนุษย์ของใคร คาดว่าน่าจะเป็นศพที่ถูกชำแหละนานแล้ว เมื่อน้ำท่วมจึงลอยมาดังกล่าว http://news.sanook.com
น้ำท่วมเขตจตุจักรแล้ว50 เปอร์เซ็นต์ วอนปปช.อพยพ
ผอ.เขตจตุจักร เผย น้ำท่วมแล้ว 50 % ระบุ ทำหนังสือขอให้แขวงลาดยาว เสนานิคม ชุมชนริมคลองเปรมฯ และริมคลองลาดพร้าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว วอนประชาชนอพยพ (3 พ.ย.) นายอิศราเมศร์ คชานุกูลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตจตุจักร เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่ของเขตจตุจักรมากกว่า 50 % แล้ว โดยน้ำได้ไหลเข้าท่วม และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ส่วนการอพยพประชาชนมายังศูนย์พักพิงทั้ง 7 แห่ง ในเขตจตุจักรนั้น ขณะนี้มีผู้ประสบภัยเข้ารับการช่วยเหลือแล้วกว่า 300 คน ทั้งนี้ จึงอยากแนะนำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และยังไม่ยอมอพยพให้ออกมายังศูนย์พักพิง เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตจตุจักร บอกว่า ขณะนี้ทำหนังสือของให้แขวงลาดยาว แขวงเสนามิคม ชุมชนริมคลองลาดพร้าว และชุมชนริมคลองเปรมประชากร ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว http://news.sanook.com
ซาฟารีเวิลด์อ่วมน้ำทะลักท่วมสูง 1 เมตร
สถานการณ์น้ำล่าสุดขณะนี้ที่บริเวณสวนสัตว์เปิดซาฟารีเวิลด์ ระดับน้ำได้ไหลเข้าท่วมบางส่วน ในพื้นที่ของสวนสัตว์ เป็นเวลานาน 2 วันแล้ว โดยบริเวณสวนสัตว์นั้นได้แบ่งเป็นโซนใหญ่ด้วยกันคือ บริเวณ OPEN ZOO เป็นจุดให้นักท่องเที่ยวขับรถชมสัตว์อย่างใกล้ชิด มีเนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ โดยมีสัตว์หลายชนิด อาทิ กวาง กระทิง ม้าลาย ยีราฟ เสือ และสิงโต ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำในตอนนี้บางจุดมีความสูงถึง 1 เมตร ทางสวนสัตว์ได้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ใหญ่ขึ้นไปไว้ในจุดที่มีความสูงที่สุดแล้ว ส่วนสัตว์ที่มีความดุร้าย อาทิ เสือ สิงโต ได้จับไว้ในกรง และนำไปไว้ที่สูงแล้วเช่นเดียวกัน ซึ่งในโซนนี้ก็ได้ปิดให้บริการไปแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ ส่วนอีกจุดซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของสวนสัตว์เปิดซาฟารีเวิลด์ นั่นก็คือ จุดแสดงสัตว์ มารีนปาร์ค (Marine Park) ซึ่งมีการจัดแสดงโชว์ให้นักท่องเที่ยวได้ชม อาทิ โชว์โลมา โชว์หมีขาว ซึ่งจุดนี้ก็ยังไม่มีน้ำท่วมขังแต่อย่างใด โดย นายฤทธิ์ คิ้วคชา รองกรรมการผู้จัดการ ระบุว่า คาดว่าในวันพรุ่งนี้สวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์จะปิดให้บริการประชาชนเข้าชม เนื่องจากบริเวณทางเข้ามีน้ำท่วมสูงมาก ทั้งนี้ยังยืนยันอีกว่า ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาถือว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่มีน้ำท่วมสูงที่สุด ซึ่งสร้างความเสียหายในการประเมินเบื้องต้นหากระดับน้ำยังคงท่วมขังเป็นเวลา 1 เดือน จะมีความสูญเสียประมาณ 150 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากสวนสัตว์อย่างแน่นอน http://news.sanook.com
<< 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา