หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
Update กฎวีซ่า เรียนต่ออังกฤษ
กฎวีซ่าอังกฤษ     *****เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎวีซ่าใหม่ สำหรับประเทศอังกฤษ ****** สำหรับน้องๆที่ ทำการยื่นวีซ่า ตั้งแต่วันที่  4 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป เกี่ยวกับการจำกัดเรื่องการทำงาน Part time ดังนี้    สำหรับน้องๆที่เรียนหลักสูตรปริญญาตรี/ ปริญญาโท/ ปริญญาเอก หรือในระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป (เรียนที่ UK Higher Education Institution) น้องๆสามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ สามารถทำงานเต็มเวลาในช่วงปิดภาคเรียน   ส่วนน้องๆ ที่เรียนหลักสูตรต่ำกว่าปริญญา แต่ ศึกษาที่ UK Higher Education Institution จะสามารถทำงานได้ 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทำงานเต็มเวลาในช่วงปิดเทอม     และน้องๆที่เรียนหลักสูตรอื่นๆ กับ ทางโรงเรียน / วิทยาลัยของรัฐบาล สามารถทำงานได้ 10 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และทำงาน เต็มเวลาในช่วงปิดเทอม     ส่วนน้องๆ ที่เรียนหลักสูตรนอกเหนือจากนี้ไม่สามารถทำงาน  Part time ได้ค่ะ   ****สำหรับน้องๆ ที่อยากรู้ว่าสถาบันที่ตัวเองกำลังจะไปเรียน หรือกำลังสนใจอยู่สามารถทำงานได้หรือไม่ น้องๆสามารถสอบถามพี่ๆ ที่ Key Education ได้เลยค่ะ Tel : 02 6567130 http://www.keyeducation.co.th
แนะนำ วิธีการเตรียมตัวสอบเข้า แพทย์ กสพท 2555
สวัสดีค่ะ แนะนำตัวก่อนนะคะ ชื่อ อ้อย^^ น้องๆเรียกพี่อ้อยก็ได้ ที่เขียนบทความเพราะโดนเว็บมาสเตอร์โหดบังคับ TOT /me ถูกตบหัวจากมือมืด ล้อเล่นก๊าบบบบบ>/\<" พี่ก็จะมาแนะนำเรื่องการเตรียมตัวสอบของปี55 นะคะ โดยเน้นหนักที่คณะแพทย์นะ แล้วก็ของภาคเหนือจะเยอะหน่อย เพราะพี่ไม่ค่อยรู้เรื่องคณะ+ภาคอื่นเท่าไร=_= เดี๋ยวเล่าความเป็นมาของตัวเองก่อน พี่อยู่จังหวัดเชียงราย โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม(โปรโมตโรงเรียนตัวเองนิดหนึ่ง 555+) เลยมีสิทธิ์สอบโควตาภาคเหนือ แต่ออกตัวก่อนเลยว่า คะแนนพี่ไม่ได้ดีเลิศ แต่คะแนนพี่ผ่านครึ่งทุกวิชา มาอย่างละนิดอย่างละหน่อย ทำให้พี่มีวันนี้ได้ พี่ติดโควตาภาคเหนือค่ะ โครงการไม่ได้เลือก พูดง่ายๆก็คือ พี่ติดแพทย์001 มช. 001เป็นรหัสคณะตอนเลือกค่ะ มช.จะแบ่งเด็กที่ติดแพทย์ออกแบบนี้                                               สถานที่เรียนตอนปี1-3    สถานที่เรียนตอนปี4-6 1.โครงการเรียนดี                               มช.                           มช. 2.โควตาภาคเหนือ(001)                     มช.                           มช. 3.กสพท.                                            มช.                           มช. 4.โครงการแพทย์ชนบท(CPIRD)          มช.                  โรงพยาบาลจังหวัดลำปาง     5.โครงการเมกะโปรเจ็ค(Mega Project)มช.                 โรงพยาบาลจังหวัดลำปางหรือเชียงราย 6.โครงการโอดอท(ODOD)                  มช.                โรงพยาบาลตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน (เครดิต : เพื่อนๆในคณะแพทย์ มช. ปี1'54)    การเป็นหมอเนี่ย จะมีวิธีรับ 2 ทาง คือ 1.รับตรง ก็คือ โควตาพื้นที่นั่นเองเป็นของแต่ละมหาลัยที่จะจัดสอบ(เพื่อให้ง่ายพี่จะเรียกว่ารับตรงนะ) 2.กสพท.[กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย] (พี่เรียกว่ารับกลางเพราะมันรวมทั่วประเทศ) >>การรับต่างกันอย่างไร? 1.รับตรง อย่างที่พี่บอกไปคือ ข้อสอบจะเป็นของแต่ละมหาลัยออกเอง อย่างพี่เป็นเด็กเหนือพี่ก็จะได้โควตาภาคเหนือ ซึ่งมหาลัยที่รองรับคณะแพทย์ ก็จะเป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ความจริงเนี่ย ตอนที่สมัครโควตาภาคเหนือ น้องก็สามารถเลือกมหาลัยอื่นได้นะ     การเลือกในระบบรับตรงโควตาจะต่างจากแอดกลาง(Admission) คือรับตรงจะเลือกได้สูงสุด 2 คณะในแต่ละมหาวิทยาลัยแต่มีสิทธิ์เลือกได้ 4 อันดับ แต่แอดกลางจะเลือกได้ 4 อันดับ มหาวิทลัยใดก็ได้คณะใดก็ได้     อ่านแล้วงงมั้ย? ถ้างงพี่จะให้ตัวอย่าง ในโควตาภาคเหนือเนี่ย จะมีมหาลัยรัฐให้เลือกคือ มช. มน. มข. มอ. เอกชนก็มี หอการค้า พายัพ ฯลฯ จำไม่ได้ละประมาณนี้ คณะก็แล้วแต่น้องๆ  แต่เวลาเลือก! พี่มีสิทธิ์เลือกคณะของมช.ได้แค่สองคณะ และมหาลัยอื่นอีกสองคณะ เช่น     อันดับ1 : แพทย์ ม.เชียงใหม่     อันดับ2 : เภสัช ม.เชียงใหม่     อันดับ3 : วิศวะฯ ม.ขอนแก่น     อันดับ4 : วิศวะ ม.สงขลา (พี่ไม่แนะนำให้เลือกตามนี้นะ เป็นแค่ตัวอย่างสมมุติเฉยๆ ถ้าน้องเลือกอับดับ1กับอันดับ2แบบพี่ โอกาสหลุดสูงมาก=_=) อย่างที่เห็นคือเลือกของมหาลัยเดียวกันได้แค่สองอันดับเท่านั้น พี่เลือกของมช.มากกว่านี้ไม่ได้ แล้วก็น้องสามารถเลือกโครงการเพิ่มได้อีก อาจจะเป็นโครงการ ของหมอ หรือหมอฟันก็ได้ โอเค จบของส่วนรับตรงไป ทีนี้เรามาดูของกสพท.กันบ้าง 2.กสพท. จะเริ่มต้นรับสมัครประมาณเดือนสิงหาคม คะแนนที่ใช้ก็แบ่งออกเป็น สัดส่วน 70 : 30 คือวิชาสามัญ 70% และวิชาความถนัดแพทย์30% วิชาสามัญ70 % ก็เอามาแบ่งน้ำหนักให้แต่ละวิชาอีกทีเป็น วิทย์ 40% คณิต 20% อังกฤษ 20% ไทย 10 % สังคม 10% แล้ววิชาที่สอบวิชาแรกเนี่ย คือความถนัดแพทย์ จะสอบตอนประมาณสิ้นเดือนตุลาคม (เห็นงี้มาสองปีละ) ส่วนวิชาสามัญสอบเดือนมกราคม ประกาศผลก็ กุมภาพันธ์ วิธีเลือกคณะของกสพท.เนื่องจากความขี้เกียจส่วนตัว~ พี่แนะนำให้อ่านหนังสือความถนัดแพทย์เพราะสอนอยู่แล้ว~ (โป๊กก!!) เจ็บอ้ะTOT ทำเค้าทำไม!!     กสพท.จะมีสถาบันแพทย์ให้เลือกอยู่ 12สถาบัน และ ทันตะฯ 5 สถาบัน วิธีเลือกง่ายๆ... น้องก็เอาตารางคะแนนปีก่อนๆมากาง แล้วก็นั่งดู แล้วก็หยิบออกมา 4 มหาลัยที่ชอบก่อน จากนั้นก็เรียงคะแนน อ้ะๆ ดูที่คะแนนต่ำสุดของปีก่อนนะ ไม่ใช่สูงสุดนะน้อง- -* แต่บางคนอาจจะเกิดปัญหาว่า.... เดินช๊อปปิ้ง หยิบมา 4 มหาลัย เป็นคณะแพทย์หมด เลือก จุฬา รามา ศิริราช วชิระ ^^~ จากนั้นเพิ่งมาแหกตาว่าO_O! เฮ้ยทำไมคะแนนติดกันหมด....เสี่ยงหลุดโคตร ยิ่งจุฬาฯ กับ ศิริราช บร๊ะเจ้าจ๊อดดด!! น้องไม่ต้องตกใจไป- - คะแนนมันติดๆกันหมดอยู่แล้ว เพราะงั้น อันดับ 1 : เลือกมหาลัยและคณะที่ชอบที่สุด ไม่ต้องสนคะแนนมัน อันดับ 2 : เลือกมหาลัยที่อยากเรียนรองลงมาจากอันดับ1 และคะแนนต่ำกว่าอันดับ1 อันดับ 3 : เลือกมหาลัยที่อยากเรียนรองลงมาจากอันดับ2 และคะแนนต่ำกว่าอันดับ2 อันดับ 4 : เลือกมหาลัยที่อยากเรียนรองลงมาจากอันดับ3 และคะแนนต่ำกว่าอันดับ3     แต่จริงๆ ถ้าอยากเรียนเนี่ย ไม่ควรเลือกที่คะแนนติดกันมากเกินไปนะคะ อย่างเช่น อันดับ 1 : คณะแพทย์ จุฬาฯ อันดับ 2 : คณะแพทย์ รามา อันดับ 3 : คณะแพทย์ มช. อันดับ 4 : คณะแพทย์ มน. อะไรแบบนี้ก็ได้ คือถ้าน้องไม่ยึดติดกับสถาบันนะ ควรเลือกคะแนนห่างๆหน่อยก็ดี ปัญหาของหลายๆคนอาจจะมีว่า.....ก็เค้าอยากอยู่มน.อ่ะ มน.ใกล้บ้านเค้า!! แต่ที่หยิบมาก็มี จุฬา พระมงกุฎ มช. มน. อยากเอามน.ไว้อันดับหนึ่งอ่ะ แต่เผอิญว่า....มน.มันคะแนนต่ำสุดน่ะสิน้องเอ๊ย=_=" ถ้าอยากได้มน.จริงๆ น้องต้องตัด3มหาลัยแรกออก แล้วเลือกเป็นทันตะแทน เพราะคะแนนต่ำกว่า (แต่พูดให้เข้าใจก่อนนะ พี่ไม่ได้มีเจตนาดูถูกมหาลัยนะคะ แต่อ้างอิงจากคะแนนต่ำสุดสูงสุดของปี53แล้วที่พี่ยกเป็นมหาวิทยาลัยรัฐมาพูดเพราะน้องส่วนใหญ่ก็มองแต่มหาลัยรัฐก่อนอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะ?) >>อาจจะมีคำถามว่า.....พี่คะ ถ้าหนูเลือกไม่ครบ4อันดับได้ไหมคะ ได้ค่ะ พี่ก็เลือกไม่ครบ แต่ไม่ว่าน้องจะเลือกครบหรือไม่ครบ น้องก็เสีย 1,215 บาทอยู่ดี /O\ 1200ค่าสมัคร อีก15บาทค่าธรรมเนียมธนาคาร แต่ถ้าน้องไม่มีมหาลัยที่อยากได้จริงๆ ก็ไม่ต้องเลือกให้ครบนะคะ มันก็แล้วแต่น้อง ว่าน้องอยากเสี่ยงดวงแค่ไหน เพราะมันไม่ได้ประกาศรอบเดียว แต่บางทีกสพท.ก็มีประกาศรอบสอง รอบสามออกมา ซึ่งคะแนนจะลดลง น้องก็มีสิทธิ์ได้ สมมุติ ประกาศคะแนนรอบที่1 คะแนนต่ำสุดจุฬาฯ 66.5436 คะแนน คะแนนต่ำสุดมช. 63.1549 คะแนน ประกาศคะแนนรอบที่2 คะแนนต่ำสุดจุฬาฯ 64.9832 คะแนน น้องมีคะแนนในมือ 65.0000 คะแนน และน้องเลือกไว้สองมหาลัยคือจุฬาอันดับ1 มช.อันดับ2 ถ้าน้องเลือกแบบนี้ น้องจะติดมช.แทนที่จะติดจุฬา แต่ถ้าน้องเลือกจุฬาฯอันดับ1เดี่ยวๆ รักเดียวใจเดียวกล้าเสี่ยง! รอประกาศรอบ2 น้องจะติดจุฬาฯสมใจ.... >>แล้วพวกโครงการคืออะไร? เราเลือกมันได้ตอนไหน? โครงการจะแบ่งออกเป็น 3 โครงการเฉพาะของแพทย์(เท่าที่พี่รู้ตอนนี้) ถามว่าโครงการนี้มีที่ไหนบ้าง มีทั่วประเทศที่รับคณะแพทย์เลย แล้วแต่พื้นที่จังหวัดที่น้องอยู่ว่า ไปสังกัดมหาวิทยาลัยไหน อย่างภาคเหนือก็ขึ้นกับคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ ภาคกลางบางจังหวัดก็ขึ้นกับจุฬาฯบ้าง มหิดลบ้าง น้องต้องไปดูว่าตัวเองมีสิทธิ์สอบของที่ไหนบ้าง เราเลือกโครงการได้ ตอนที่สมัครสอบโควตา.... 1.โครงการ One District One Doctor [ODOD] เรียกง่ายๆว่า โอดอท สำหรับภาคเหนือ คนที่มีสิทธิ์เลือกโครงการนี้ได้ ชื่อ>ตัวเอง< ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ ต้องไม่ใช่อำเภอเมือง [หรือ] ชื่อพ่อแม่น้อง ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นต่างอำเภอ และอยู่มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี 2.โครงการ Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor [CPIRD] เรียกว่า แพทย์ชนบท หรือเรียกเป็นชื่อโครงการไปเลยว่า ซี-เพริท แต่ส่วนมากก็เรียกกันย่อๆว่า แพทย์ชนฯ เป็นอันรู้กัน 3.โครงการ Mega Projects เรียกเลยว่า แพทย์เมกะฯ หรือ โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม แม้จะเป็นการผลิตแพทย์เพิ่มเหมือนกัน แต่ว่าต่างจาก CPIRD นะ >>แต่ละโครงการต่างกันอย่างไร? 1.ODOD : เรียน 3 ปีแรก(ชั้นพรีคลินิก) ในมหาวิทยาลัย และ 3 ปีหลัง(ชั้นคลินิก)ที่จังหวัดบ้านเกิดตามทะเบียนบ้านตอนแรก ระยะเวลาการใช้ทุน 12 ปี ถ้าอยากเรียนต่อเฉพาะทาง มันจะเหมือนกับเล่นเกมส์ ปกติเราเล่นเกมส์เนี่ย โผล่มาตอนแรกก็อาจจะให้เลือกได้แค่สนามเดียวหรือเซิฟเวอร์เดียวก็คือพวก beginner หรือ practise ทำนองนั้น ยิ่งเลเวลสูงยิ่งปลดด่านยากๆ ให้เลือกเล่นได้ใช่ไหม นั่นแหละเหมือนกัน ยิ่งเราใช้ทุนนานไปเรื่อยๆ สาขาที่เราอยากเลือกเรียนต่อก็จะค่อยๆปลดออกมาให้เราได้เลือก มันแล้วแต่ว่าน้องจะเจอกี่ปี สมมุติ ใช้ทุนไป 3 ปี เฉพาะทางเด็กเปิดให้เรียนแล้ว ใช้ไปอีก 2 ปี ศัลยกรรมกับอายุรกรรมเปิดให้เรียนแล้ว ประมาณนี้ 2.CPIRD : เรียน 3 ปีแรก(ชั้นพรีคลินิก) ในมหาวิทยาลัย และ 3 ปีหลัง(ชั้นคลินิก) ในจังหวัดที่แต่ละมหาลัยกำหนด อาจจะเป็นบ้านเกิดตัวเองหรือไม่ก็ได้ ระยะเวลาใช้ทุนเหมือนปกติ 3 ปี^^ 3.Mega projects :  เรียน 3 ปีแรก(ชั้นพรีคลินิก) ในมหาวิทยาลัย และ 3 ปีหลัง(ชั้นคลินิก) จะเลือกลงได้แต่ก็แค่ในจังหวัดที่มหาลัยกำหนดเหมือนกัน  ระยะเวลาใช้ทุนเหมือนปกติ 3 ปี^^ >>แล้วโครงการต่างกับโควตารับตรงและกสพท.อย่างไร? มันก็ไม่ได้ต่างกันมากหรอกค่ะ ต่างกันตรงที่ความหน้าตาดี ใครเลือกโควตา ก็หน้าตาดีหน่อย55+(/me เผ่น) ล้อเล่น!~ ก็ต่างกันเรื่องสถานที่เรียนตอนปี4-6นั่นเอง ถ้าติดโควตาหรือกสพท.ก็จะได้เรียนที่เดิม6ปีเต็ม! แต่ถ้าเป็นโครงการ ก็อย่างที่บอกคือ ต้องไปเรียนในโรงพยาบาลพื้นที่ที่มหาลัยกำหนดไว้ ส่วนที่ต่างอีกเรื่อง(เรื่องนี้พี่ไม่ค่อยแน่ใจแต่เท่าที่ได้ยินมานะ)ก็คือการเลือกสถานที่ใช้ทุน ถ้าน้องๆ เป็นโควตาหรือกสพท. น้องจะมีสิทธิ์เลือกก่อน แต่ถ้าคนเลือกจังหวัดนั้นเยอะ ก็ต้องจับฉลากเอาเหมือนกัน คนที่ได้เลือกรองลงมาก็คือ โครงการเมกะโปรเจ็ค สุดท้ายคือแพทย์ชนฯ ส่วนโอดอท ไม่มีสิทธิ์เลือก เพราะต้องกลับไปใช้ทุนอำเภอตัวเองอยู่แล้ว และใช้มากกว่าคนอื่น 12 ปี(กะว่าแก่อยู่กับที่เลยทีเดียว= =) >>ถ้าเราไม่ใช้ทุนได้ไหม? ได้ค่ะ  แต่ด้วยสามัญสำนึกแล้ว ควรจะใช้อย่างต่ำก็ 1 ปีนะพี่ว่า = =a พวกใช้ทุน 3 ปีเนี่ย ตอนทำสัญญาพี่เซ็นไปรับรองว่าถ้าไม่ใช้ก็จ่าย4แสนบาท แต่สมมุติพี่ใช้ทุนไป1ปี จำนวนเงินก็ลดลงตามเวลาที่เหลือนั่นแหละค่ะ แต่โอดอทรู้สึกจะเสียมากกว่านั้น เพราะเป็นโครงการที่ล็อกตัวแพทย์ไว้เลย ต้องการในพื้นที่ชนบทมาก   แนะนำเรื่องการสมัครสอบ+วิธีเลือกไปแล้ว.... เรื่องต่อมาที่(โดนบังคับให้)แนะนำก็คือ...เรื่องการอ่านหนังสือ      จุดเริ่มต้นในการเริ่มอ่านหนังสือ : อันนี้ไม่เกี่ยง ใครเริ่มเร็วก็ได้เปรียบ เริ่มช้าก็เสียเปรียบหน่อย พี่เริ่มอ่านเหยาะแหยะ(ประมาณพลิกๆไม่กี่หน้าแล้วก็วางไปเล่น~)ตั้งแต่ปิดเทอมใหญ่ม.5ขึ้นม.6 แต่พี่ก็เรียนเนื้อหายังไม่จบนะ แต่ปิดเทอมเนี้ยพี่ตั้งใจเรียนมากขึ้น เวลาไปเรียนพิเศษก็ไปก่อนเวลานิดหน่อย การบ้านที่อ.สั่งก็ทำทุกครั้ง เวลาที่เริ่มอ่านพี่ไม่ได้เน้นอย่างจัดตารางอ่านหนังสือ(เพราะเป็นคนที่ชอบแหกกฎ^^") พี่รู้ตัวว่าพี่ทำตามตารางไม่ได้หรอก เสียเวลาทำด้วย แต่พี่มีวินัยกับตัวเองที่ว่า ถ้าอ่านแล้วต้องอ่านจริงๆนะ พี่กำหนดรางวัลและบทลงโทษให้ตัวเอง บนโต๊ะพี่เขียนติดโพสอิทแปะไว้ ด่าตัวเอง "อย่าให้มันเป็นแค่เพียงคำพูดที่สวยหรูสิ...พูดแล้วต้องทำให้ได้" หรือให้กำลังใจ "เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย ดังนั้นลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"อันหลังเป็นคำพูดของขงเบ้ง(สามก๊ก) พี่ค่อนข้างเชื่อนะ เพราะพี่เป็นคนที่ไม่ค่อยมีดวงเท่าไร แบบไม่อ่านหนังสือเลย คะแนนมันก็ออกมาตามผลการกระทำนั่นแหละ แต่ถ้าอ่านไปบ้าง เหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เห็นใจ ถึงมั่วบ้างคะแนนก็ออกมาใช้ได้     แล้วถามว่าพี่ใช้เวลาช่วงไหนอ่านบ้าง...อันที่จริงก็ไม่มีตายตัวนะ วันไปเรียนปกติก่อนละกัน พี่ลองทำไอ้ที่รุ่นพี่เขาบอกว่าดีมาหมดแล้ว อย่างบางคนก็บอกว่า หลับ4ทุ่ม ตื่นมาตี4อ่านหนังสือ(สำหรับเด็กตจว.แล้วเป็นปกติที่จะตื่น7โมงน้องที่อยู่กรุงเทพไม่ต้องแปลกใจ- -)พี่ทำอยู่ช่วงหนึ่ง จนเริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย มันไม่ใช่ละ อ่านตอนเช้าหิวก็หิว แถมสมองยังตื่นไม่เต็มที่อีกด้วย พี่ก็เปลี่ยน กินข้าวเย็น+แปรงฟันเสร็จประมาณ6โมงก็เริ่มอ่าน จน2ทุ่มอาบน้ำ+พัก 3ทุ่มอ่านต่อถึงเที่ยงคืน แล้วก็หลับ ตื่นเช้ามา 6โมง อาบน้ำแต่งตัวไรเสร็จ6ครึ่ง อ่านต่อ 7โมง15ทานข้าวแล้วไปโรงเรียน ส่วนวันหยุด...ตื่นมาทำไรเสร็จก็อ่านเลย มีพักกินข้าวเที่ยง พักเล่นบ้าง15-30นาที แล้วแต่ เรียกได้ว่าอ่านทั้งวัน ถ้าไม่มีงาน น้องจะเห็นว่า ตารางเวลาพี่ มันจะไม่เหมาะกับน้องเลย ถ้าน้องเป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่ต้องตื่นแต่ตี4เป็นปกติอยู่แล้วเพื่ออาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน เพราะฉะนั้นพี่ถึงบอกแล้วว่า เราต้องปรับตัวเอง ต้องรู้ตัวเอง ต้องสอนตัวเองทุกวัน เราโตขึ้นทุกวัน เราต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองในอนาคต ระเบียบวินัยการอ่านหนังสือแค่นี้เราวางเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช สำหรับเด็กตจว.อยากลองแบบพี่ก็ได้ แต่เด็กกรุงเทพ ในเมื่อน้องเสียเปรียบตรงที่ว่า เสียเวลาในการเดินทางไปเรียนนาน ดังนั้นน้องควรอ่านหนังสือในรถไปด้วยตอนที่รถติดไฟแดงหรือเคลือนไปช้าๆ จะได้ดึงส่วนของเวลาที่เสียไปกลับมา แต่ต้องระวังถ้ารถสั่นมากหรือแสงน้อยอย่าอ่านเพราะสายตาเสีย     อีกเรื่องที่น้องมักจะประสบปัญหากันคือเรื่องการบ้านและกิจกรรมที่โรงเรียน แล้วมันจะมีเด็กอยู่สองประเภทคือ 1.พวกที่ไม่อ่านหนังสือทำงานให้เสร็จก่อน 2.พวกที่อ่านแต่หนังสือไม่ทำงาน     พี่บอกได้เลยว่าพี่เป็นประเภทที่1 คือพี่คิดว่าเวลาเราทำการบ้านเนี่ย ไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ความรู้ เราก็ได้ความรู้แต่อยู่ในรูปแบบงานที่ต่างออกไปเท่านั้นเอง คือพี่ไม่ได้ว่าประเภทที่2นะ พี่ก็เข้าใจอยู่ว่า ไหนๆก็จะจบม.6แล้ว ถ้าติดรับตรงไป เกรดก็ไม่เห็นต้องไปแคร์เลย ซึ่งจริงๆพี่เองก็เห็นด้วย แต่พี่ก็ดันแคร์=_=" เพราะพี่คิดว่า ไหนๆก็ปีสุดท้ายของม.ปลายแล้ว ทำอะไรให้มันสุดๆของชีวิตสักครั้ง งานก็เอา กิจกรรมก็เอาบ้าง หนังสือก็อ่าน บางกิจกรรมเราเลี่ยงไม่ได้ เราก็จำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะงานห้องเนี่ย ม.6มักจะไม่ค่อยสนใจกัน มักจะคิดว่าเออ งานห้องเดี๋ยวก็มีคนทำเอง หารู้ไม่ว่าทุกคนดันคิดแบบเดียวกันหมด....เพราะงั้นไม่ใช่แค่ตัวเองจะเอนท์ คนอื่นก็เอนท์ด้วย พี่เชื่อว่าคนทำดียังไงก็ต้องได้ดี มันไม่ใช่แค่ว่าเราเครียดคนเดียว คนอื่นเขาก็เป็น เห็นใจกันให้มากๆ แล้วน้องจะพบว่าความเห็นแก่ตัวของเราจะลดลง งานมีถ้าช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ เดี๋ยวมันก็เสร็จ งานเสร็จทุกคนก็ไปรับผิดชอบตัวเองต่อแล้ว     น้องอยากเป็นแบบไหนน้องก็เลือกเอาละกันนะ....  โดยส่วนตัวพี่เป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัยในการอ่านหนังสือเท่าไร=_=// เลยแนะนำไม่ค่อยจะถูก แต่พี่จะบอกวิธีทำของพี่ละกัน 1.เอาหนังสือ ชีท ทุกอย่าง ที่เรียนพิเศษหรือในโรงเรียนที่ดูมีประโยชน์ต่อการเพิ่มความรู้อันน้อยนิดในหัวให้มากขึ้น ออกมาจัดเรียงเป็นวิชา แล้วก็เรียงตั้งแต่ ม.4-ม.6 2.รื้อตู้หนังสือจัดใหม่ l ไทย+สังคม l เคมี l ชีวะ l ข้อสอบ  l          อังกฤษ l คณิต                 l 3.ส่วนตัวพี่ชอบชีวะ พี่เริ่มอ่านชีวะก่อน เพราะพื้นฐานชีวะพี่แน่นกว่าวิชาอื่น แนะนำน้องที่กำลังหัวปั่น วิชานั้นก็ต้องอ่าน วิชานี้ก็ต้องอ่าน พี่อยากให้น้องสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วค่อยมองว่าน้องพิจารณาว่าชอบวิชาอะไร แต่! มันจะมีประเภทที่ว่า พี่เค๊อะ~ หนูถนัดวิชางานบ้านอ่ะค่ะ....~ หรือ พี่ครับ ผมไม่ถนัดซักวิชาอ่ะ << =_= งี้พี่ก็ช่วยน้องไม่ได้นะคะ ตัวใครตัวมันละ ยังไงก็ต้องเริ่มอ่านซักวิชา เอาที่เกลียดน้อยที่สุดก็ได้ 4.อ่านทุกวัน ให้มันสม่ำเสมอ แรกๆ น้องจะขี้เกียจ โอ๊ย!~ อ่านตั้ง 15 นาทีแล้ว ไปพักเล่นเฟซบุ๊คดีกว่า << แบบนี้ห้ามนะน้อง- - วันแรกพยายามเริ่มต้นให้มันนานหน่อย สัก 1 ชม. แล้วน้องก็ตั้งรางวัลกับตัวเอง ถ้าฉันตั้งใจอ่านครบ1ชม.นี้ เดี๋ยวจะให้พักเล่นครึ่งชม. (โคตรคุ้ม^^~) แต่น้องต้องตั้งใจจริงๆนะ ไม่ใช่มัวแต่ไปมองเวลา เมื่อไรจะ1ชม.ว้า~ หรือนั่งคิดว่า เดี๋ยวตอนพักจะเล่นไรดี คุยโทรศัพท์กับแฟน ไรงี้ ห้ามทำเด็ดขาด- - แน่นอนว่ามีรางวัล.....เราต้องมีบทลงโทษ หึหึหึ -,.....,-+ ถ้าพี่ว่อกแว่ก ไม่ยอมอ่านหนังสือ พี่จะลงโทษตัวเองโดยการอดเล่นคอมไปในวันนั้น ห้ามมีข้ออ้างใดๆ ไม่ว่าจะมีงานหรือไม่ ยกเว้นงานกลุ่มที่มันทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนด้วย หลังๆน้องจะอ่านจนติดไปเอง ชนิดที่ว่า ไม่ได้อ่านแล้วรู้สึกอะไรมันขาดๆไป.... >>ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะอ่านหนังสือ 1.ยอดฮิตมาก! อ่านแล้วหลับ.... : ถามว่าพี่เป็นรึเปล่า? พี่ก็เป็น วันไปโรงเรียนปกติ พี่อ่านตั้งแต่อาบน้ำเสร็จก็2ทุ่ม - เที่ยงคืน อาบน้ำตอนแรกมันยังไม่ง่วงหรอก ผ่านไปสักพักจะเริ่มง่วง วิธีแรก ตบหน้าตัวเองเบาๆ พอเรียกสติ ไปสักพักเริ่มไม่ไหว ลุกเดินไปล้างหน้า กลับมาอ่านต่อ ขั้นสุดท้ายรู้สึกสมองล้าไม่ไหวแล้ว ใช้งานมันหนักทั้งวัน ให้หลับตา ในขณะที่นั่งอ่านหนังสือ ให้เอาแขนมาเท้าคางไว้ ห้ามฟุบกับโต๊ะเด็ดขาด เพราะมันจะหลับไปจริงๆ=_= แล้วน้องก็ปล่อยให้ตัวเองเคลิ้มๆสะลึมสะลือ จนถึงจุดที่คิดว่าตัวเองใกล้จะหลับแล้ว ให้กระชากตัวเองออกมาจากภวังค์อย่างเร็วๆ อาจจะเอาแขนลงทันที (ระวังหน้าอย่ากระแทกกับโต๊ะก่อนล่ะ) น้องจะงงๆก๊งๆนิดหน่อย แต่จะรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะสมองน้องได้หลับไปนิดหนึ่งแล้ว เริ่มอ่านต่อได้ 2.อ่านแล้วไม่เข้าหัว : ไม่ใช่อ่านแล้วไม่เข้าใจนะ แต่อ่านแล้วไม่เข้าหัวคือเกิดอาการที่ว่า...ขณะนั้นในหัวกำลังคิดฟุ้งซ่านอยู่ หลายๆเรื่องผสมปนเปกัน เช่น กังวลว่าจะอ่านทันไหม? เมื่อกี้ข่าวสึนามิว่าไงบ้างมันจะบอกข้อสอบสังคมไหมว้า? แฟนทำตัวห่างเหินหรือว่ามีกิ๊ก? นี่แหละเป็นสาเหตุที่ทำให้น้องอ่านไม่เข้าหัว ก็เล่นให้สมองคิดเรื่องแบบนี้อยู่แล้วเอาจะส่วนไหนมาทำความเข้าใจเนื้อหา เพราะงั้นขณะอ่าน ให้ตัดความคิดเรื่องพวกนี้ออกไปให้หมด โฟกัสสายตาไปที่ตัวหนังสือ ไม่ใช่ว่าเพ่งนะ แต่โฟกัสจ้องไปที่มันเฉยๆ ถ้ายังไม่เลิกคิดให้อ่านเนื้อหาดังๆ สักพักจะดึงตัวเองกลับมาสนใจเนื้อหาได้ พอดึงได้ปุ๊ป รีบฉวยโอกาสนี้ อ่านแล้วตั้งคำถามว่า เมื่อกี้เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน คิดคำถามให้ตัวเอง (สมมุติตัวเองเป็นครูแล้วจะออกข้อสอบให้นักเรียน)เหมือนเก็งข้อสอบไปในตัวว่า น่าจะออกแนวนี้ 3.อ่านแล้วไม่เข้าใจ : สูตรนี้มันมาจากไหน? พิสูจน์ยังไง เหตุผลคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ขั้นแรกของพี่คือ เปิดอินเตอร์เน็ต เสิร์ชเลย แต่ข้อมูลมันจะกระจายเป็นวงกว้าง บางทีไม่มีคนย่อยข้อมูลให้เราเหมือนที่เรียนพิเศษ เราต้องนั่งเก็บรายละเอียดเอง ซึ่งจะช้า แต่ถ้าน้องเก็บรายละเอียดไปเรื่อยๆ น้องจะพบว่า น้องลิ้งเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้าหากันได้หมด ถ้ามีความรู้ตัวนี้ พอคิดลิ้งได้ ก็จะเริ่มสนุกกับการคิดแล้วทีนี้     แต่ถ้าพี่หายังไงก็ไม่เจอ หรือเริ่มอารมณ์เสียกับข้อมูลที่มากและไม่ตรงคำถามพี่ พี่ก็จะจดใส่กระดาษไว้ แล้วไปถามครูที่โรงเรียน ครูที่โรงเรียนน้องอย่าไปดูถูกว่าไม่เก่งเท่าครูที่เรียนพิเศษนะ บางทีท่านแค่ถ่ายทอดให้คนส่วนมากฟังไม่ค่อยดีเท่านั้นเอง แต่ท่านก็เก่ง เพราะจบจากสาขาวิชาที่ท่านถนัด น้องเข้าไปหาท่านเถอะ แม้ว่าท่านจะดุ แต่สำหรับถ้าเป็นครู พี่ชอบนะ เด็กที่ตั้งใจใฝ่หาความรู้นอกห้องเรียน      แต่ถ้าน้องบังเอิญเจอครูที่ยกอารมณ์เหนือเหตุผล น้องก็พยายามเลียงไปหาครูท่านอื่นละกัน อย่าไปหาเรื่องอะไรเลย เพราะคนที่เสียเปรียบมีแต่เรา ถ้าน้องเจอแบบนี้ พี่อยากให้น้องเก็บไว้เป็นบทเรียนชีวิตมากกว่าว่า เออ นี่นะ เราไม่ชอบผู้ใหญ่แบบนี้ โตขึ้นเราจะไม่เป็นแบบนี้นะ เราจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กๆรุ่นต่อไป ให้เขานับถือเราด้วยความรู้และความสามารถที่เรามี ไม่ใช่เคารพเพียงเพราะอาวุโสของเราเท่านั้น >>>หนังสือแต่ละวิชาที่พี่อ่าน ชีวะ : พี่อ่านหนังสือของหมอพิชญ์ทั้งหมด (^^โปรโมตๆ แต่ไม่เห็นจะได้แคมเบลเลยอ่ะ555+) ตอนพี่เรียนมันยังเป็น5เล่มจบอยู่ เดี๋ยวนี้เป็น6เล่มจบแล้วนี่นะ พี่เรียน5เล่มนี้ก็ไม่เรียนคอร์สเอนฯแล้ว แล้วก็ไปตั้งใจเรียนในห้อง + ทำแบบฝึกหัดมากๆ นอกจากเรียนพิเศษกับหมอพิชญ์ พี่ยังเรียนพิเศษกับอาจารย์ในโรงเรียนพี่อีกด้วย ซึ่งอาจารย์เป็นคนที่ความรู้แน่นปึกมากๆ ฮาร์ดคอดีพี่ชอบ(ซาดิสม์555+ล้อเล่นๆ) ด้วยความชอบบวกกับทบทวนเยอะ ทำให้พื้นฐานพี่แน่น ตอนทำข้อสอบอ่านแล้วกาได้เลย แทบไม่เสียเวลา จะได้เก็บเวลาไปทำฟิสิกส์กับเคมีเยอะๆ ถามว่าพี่ทวนมากแค่ไหน....ชีวะพี่เริ่มตั้งแต่ม.4แล้ว อ่านทวน รวมทั้งจดสรุปย่อดึงเนื้อหาออกจากหนังสือ ถามว่าเปิดหนังสือมั้ย เปิดนะ=_=a เพราะพี่ไม่เก่งขนาดที่ว่าปิดหนังสือเขียนได้ ถ้าให้ปิดก็ได้ แต่พี่ไม่มั่นใจว่ามันจะถูกชัวร์รึเปล่า พี่จดออกมารอบหนึ่ง แล้วมานั่งอ่านที่ตัวเองจดอีกรอบ หนังสือที่พี่ลอกออกมาก็คือหนังสือ 5 เล่มของหมอพิชญ์ เสริมส่วนที่หมอพิชญ์ขาดไปแต่อาจารย์พี่สอน ทำให้มันดูสมบูรณ์ขึ้น เคมี :   ตอนนั้นพี่โง่เคมีมาก ชนิดที่ว่า คำนวณปริมาณสารไม่เป็นอ่ะน้อง - - สูตรอะไรพี่ไม่รู้เรื่องเลย เพราะพี่แอนตี้เคมีตั้งม.4 ปิดเทอมซัมเมอร์พี่ทุ่มให้คอร์สเดียวเลยคือคอร์สเอนฯ อ.อุ๊ ตอนที่ทำการบ้านนะน้องเอ๊ยยย ไม่อยากจะบอก น้ำตาพี่งี้แทบไหล ทำไม่ได้เลยอ่ะ โมโหตัวเองด้วยที่ว่าตอนนั้นทำไมไม่ตั้งใจเรียน แต่พี่ก็ทำจนเสร็จนะ ทำไม่ได้ก็มั่วไป พยายามทำนั่นแหละ จนมันเสร็จ ตอนนั้นจำได้เลยว่า การบ้านปริมาณสารนั่งทำตั้งแต่5โมงเย็น-ตี1 =_=" เป็นอะไรที่พี่เข็ดมาก พอจบคอร์ส เหมือนกับว่า เคมีมันก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะ เพียงแค่เราทุ่มเทและตั้งใจกับมันมากแค่ไหน พอพี่เริ่มคิดบวกกับวิชาที่แอนตี้ ตอนที่พี่ท้อในการเรียนพี่ก็คิดแบบนี้ เรายังตั้งใจไม่พอ แค่นี้เอง เราต้องทำได้สิ นอกจากอ่านของอ.อุ๊แล้ว พี่ก็ทำข้อสอบ15พศ.ด้วย แต่ทำไม่หมด =_=" แบบว่าไม่ทัน แหะๆ คณิต(เลข) : พี่ก็ชอบคำนวณนะ แต่ไม่ชอบแบบพวกโคนิคอ่ะ วงกลม วงรีไรเงี้ย เกลียดมาก แต่พี่ชอบพวก แคลฯ ฟังก์ชัน ตรีโกณ แบบนี้มากกว่า มันก็แล้วแต่คนนะน้อง แต่พี่ศิษย์สำนักเดอะเบรน 55+ แต่ไม่ว่าน้องจะเรียนที่ไหน น้องเก็บความรู้ได้เท่าไร มันขึ้นอยู่กับว่าน้องตั้งใจกับมันแค่ไหน ฟังเสียงมันแค่ไหน บทที่พี่ไม่ชอบพี่ก็พอทำให้เอาตัวรอดไปได้ เลขพี่อ่าน 5 เล่ม คอร์สเอนฯเดอะเบรนเช่นกัน + ทำโจทย์ที่พี่ๆให้เป็นการบ้าน อังกฤษ : พี่เรียนenconceptงับ เนื่องจากครูสมศรีไม่เคยมาเปิดเชียงราย เลยไม่เคยเรียน=_= อย่าถามว่าเรียนที่ไหนดีกว่า เพราะพี่ก็ตอบไม่ได้ นอกจากอ่านของพี่แนนแล้วพี่ก็ทำ Ax22 ทำไม่หมดเหมือนกัน แต่ทำไปได้เยอะอยู่นะ ก็ถึงเอนท์ของปี48อ่ะ ตอนทำ ไม่ใช่แค่ทำแล้วตรวจตามเฉลยนะ เฉลยแล้วก็เขียนศัพท์ที่เราไม่รู้ลงในเทสด้วย (หนังสือเรานี่ อยากเขียนไรก็ได้ ใครจะทำไม! 555+<< เดี๋ยวๆ อย่าเพิ่งหมั่นไส้พี่55+) ความถี่ในการทำข้อสอบก็แล้วแต่อารมณ์=_=  (นิสัยไม่ดีเลยเนอะ อย่าเอาเป็นตัวอย่างนะ^^") แต่ก่อนทำบทถัดไป กี่ก็นั่งอ่านที่ตัวเองจดไว้ พวกศัพท์ พลิกตั้งแต่หน้าแรก-หน้าที่จะทำอ่ะ ฟิสิกส์ : เอ่อ....เรื่องนี้น่าอายมาก 555+ เพราะพี่อ่านไม่ทันT^T พี่เลยจำเป็นต้องทิ้ง แต่พี่ตั้งใจเรียนในห้องอยู่แล้วนะ!! เลยได้ตั้งบทหนึ่ง ><" บทการเคลื่อนที่ง่ะ 55+ แต่พี่ไม่แนะนำให้น้องทิ้งนะคะ ถึงแม้ว่าหมอจะไม่ต้องใช้ฟิสิกส์ แต่น้องก็ต้องเรียนตอนปี1อยู่นะ แถมตอนสอบเข้า คะแนนฟิสิกส์จะเป็นตัวช่วยดึงวิชาอื่นๆด้วย เพราะงั้นตั้งใจอ่านนะ แล้วก็ต้องตั้งใจเรียนในห้องด้วย ไทย : ปกติพี่ไม่เรียนพิเศษไทย เพราะพี่ถือว่าเป็นคนไทย ภาษาบ้านเกิดเราเองแท้ๆ ยังเรียนให้ดีไม่ได้ แล้วจะไปเรียนภาษาอะไรได้ดี - - ภาษาไทยไม่ได้ยากเลย ถ้าน้องตั้งใจเรียนในห้อง ทำโจทย์บ่อยๆ เรื่องที่พี่แนะนำให้เก็บอย่างแรง และทำความเข้าใจกับมันให้เยอะๆคือ พวกรสในวรรณคดี ถ้าน้องมองตัวนี้ทะลุปรุโปร่งน้องจะสบายขึ้นเป็นกอง แต่แน่นอนพี่เริ่มด้วยคำว่าปกติไม่เรียน....แปลว่าพี่ก็เรียนไงสุดท้าย5555+ พี่ไปติวโควตาภาษาไทยกับอาจารย์ธตรฐ(ชื่ออาจารย์อ่านว่า ทะ-ตะ-รด) ซึ่งถ้าไม่เรียนพี่คงไม่ได้มากกว่านี้=_=" พวกคำ ครุ ลหุ พี่ไม่รู้เรื่องเลย แต่พอไปจำเทคนิคของอาจารย์ ทำให้ทำพวกนี้ได้ทันที ครุ = เสียงหนัก มีตัวสะกด สระเสียงยาว เช่น คุณครู ลหุ = เสียงเบา ไม่มีตัวสะกด สระเสียงสั้น  เช่น  คะ ค่ะ อ้อ! มีอีกเรื่องที่น้องๆมักจะใช้ผิดกันเยอะ สมัยนี้=_= เรื่อง ค่ะ กับ คะ ง่ายมากวิธีแก้ น้องลองออกเสียงตามสิ ค่ะ น้องจะรู้สึกเสียงมันต่ำใช่ไหม ลองนึกดู เวลาเราพูดเสียงต่ำเราพูดตอนไหน? ปิ๊งป่อง! ตอนที่ใช้รับคำใช่ป่ะ อย่างเช่น พี่ถามว่า ทำอะไรอยู่ น้องตอบ ทำใจค่ะ ส่วนคำว่าคะ ลองออกเสียงดู เสียงมันจะสูง เวลาน้องใช้เสียงสูงเนี่ย น้องลงท้ายตอนไหน? น้องจะใช้ตอนที่เป็นคำถามถูกไหม? เช่น ทำอะไรอยู่คะ ช่วยไหมคะ ถ้าไม่อยากให้ผิด เวลาพิมพ์หรือเวลาเขียน ให้ลองออกเสียงในใจก่อน แล้วสื่อออกมามันจะไม่ผิดเพี้ยน สังคม : พี่ก็โง่สังคมเช่นกัน= =" แต่...ม.6พี่ตั้งใจเรียนในห้องเพราะชอบประวัติศาสตร์ ม.6น้องจะได้เรียนประวัติศาสตร์สากล ใครอ่านมาเยอะก่อน ได้เปรียบก็โชคดีไป แต่จริงๆแล้วพี่ต้องขอบคุณอาจารย์สุนิดามากๆ เพราะถ้าพี่ไม่ได้ท่านสอนเนี่ย พี่คงคะแนนไม่ผ่านครึ่งแน่นอน น่าเสียดายที่พี่มาเรียนช้าไปหน่อย คือเรียนตอนม.6เทอมสอง ถ้าเรียนตั้งแต่เทอม1คะแนนคงจะดีกว่านี้ พี่ก็อ่านชีทที่อ.ให้ แล้วก็ตั้งใจเรียนในห้อง http://www.unigang.com/Article/6426
หลักสูตรลัดในสาขา Business เพื่อเรียนต่อตรีปี 2 ในมหาวิทยาลัย Top ของอังกฤษ
Diploma in Business and Management Programme สำหรับนักเรียนที่เรียนมหาวิทยาลัยปีหนึ่งไปแล้วแต่เปลี่ยนใจ อยากไปเมืองนอก และไม่อยากเสียเวลาเตรียมตัวใหม่อีกรอบ ที่ Bellerbys College (แคมปัส Brighton และ London) มีตัวเลือกดีๆ ให้กับน้องนักเรียน นักเรียนที่จบปีหนึ่ง (ระดับปริญญาตรี) สามารถมาลงเรียนคอร์ส “Diploma in Business Management”  ซึ่งเท่ากับการเรียนปี 1 ในมหาวิทยาลัยเมื่อจบแล้วสามารถเข้าปี 2 ได้ที่มหาวิทยาลัยที่เป็นพาร์ตเนอร์กับ Bellerbys ได้ทันที เช่น Lancaster, Sussex, Leeds, Brightonเท่ากับว่าเรียน ปริญญาตรีที่อังกฤษในเวลา 3 ปีเท่านั้นค่ะ (ไม่ต้องไปเรียน Foundation ซ้ำ) คอร์สนี้มีข้อแม้อีกนิดนึงคือภาษาอังกฤษ IELTS (ต้องได้คะแนนหรือระดับ) 5.5 (ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์ นักเรียนสามารถมาลงเรียน English Language Preparation กับทางโรงเรียนก่อนได้ค่ะ) โรงเรียนเปิดสอน 2 ครั้งต่อปี คือเดือนกันยายน และเดือนมกราคมค่ะ!สำหรับปีนี้เท่านั้น Bellerbys College มีส่วนลดพิเศษให้ถึง 1650 GBP ต่อเทอม!!!   ส่วนลดพิเศษสำหรับDiploma in Business Management ส่วนลดพิเศษ เริ่มเรียนเทอม ค่าเล่าเรียนต่อเทอม ส่วนลด (ต่อเทอม) ค่าเล่าเรียนคงเหลือ (ต่อเทอม) ค่าเล่าเรียนทั้งคอร์ส (3 เทอม) ส่วนลดทั้งหมด Special Bursary กันยายน 11, มกราคม 12 £5,640 £1,650 £3,990 £11,970 £4,950 ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลคอร์ส ระยะเวลาเรียน: 3 เทอม จำนวนชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์ 16-22ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับเข้าเรียนในคลาส และ 20+ ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับ self-study แคมปัส: Brighton หรือ London เริ่มเรียน: 14 กันยายน 2011 9 มกราคม 2012 เกณฑ์พื้นฐาน อายุ: 17.5+ ปี ระดับภาษาอังกฤษ: IELTS 5.5 ระดับการศึกษา: จบปี 1 ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย   หรือจบ High School จากโรงเรียนนานาชาติ (IB หรือ A Level) Diploma in Business and Management Programme หลักสูตรเรียนเร่งรัด เพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น จบแล้วสามารถเข้าศึกษาต่อปี 2 ในมหาวิทยาลัยพาร์ตเนอร์ดังๆ เทียบเท่ากับปี 1 (ในอังกฤษปริญาตรีเรียนเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น) มีการดูแลใกล้ชิด จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนน้อยมาก สามารถเรียนเพิ่มตัววิชา IT และภาษาอังกฤษ สามารถลงเรียนเพื่อสอบIELTS เพิ่มเติมได้อีกด้วย นักเรียนสามารถพัฒนา study skills เพื่อใช้ในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป รับรองโดย University of Sussex การันตีเข้าเรียนระดับปี 2 ได้ในมหาวิทยาลัยพาร์ตเนอร์ เหมาะกับนักเรียนที่ อายุ 17.5+ ต้องการศึกษาต่อสาขาด้าน Business ในมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร มีความพร้อมในการเรียนหนักในระยะเวลา 1 ปีเพื่อประหยัดเวลา ชอบเรียนในคลาสเล็กๆ ที่มีความดูแลใกล้ชิดเหมือนอยู่โรงเรียน ผลงานของนักเรียนปี 2010 ชื่อ มาจากประเทศ สาขา มหาวิทยาลัย ShuWun Kwok Hong Kong, China Business & Retail Management Surrey Oksana Khizhnyak Russia Business & Management Westminster Priyo PrasetyoPramono Indonesia Management Studies St Mary’s DmitroKostyuk Ukraine Business & Management St Mary’s หน่วยกิตวิชาการ Organisational Behaviour, Learning Skills (Quantitative Methods, Research skills, IT), Marketing, Introduction to Economics, Financial Accounting, Business Law, Academic English Double Module), Introduction to Business and Management   มหาวิทยาลัยพันธมิตรที่สามารถเข้าเรียนต่อในปี 2 หลังจากจบหลักสูตร Diploma แล้ว นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อปี 2 ในสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยดังนี้ (ขึ้นอยู่กับผลสอบและผลภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัย คอร์สปี 2 Lancaster BSc (Hons) Business Studies BBA (Hons) Management BA/BSc (Hons) Accounting & Finance Leeds BA Business Economics BSc Business and Financial Economics BA Accounting and Finance BA Economics Sussex BSc Business (Finance) BSc Business (International Business) BSc Business (Marketing) BSc Accounting and Finance (from 2012) BSc Business and Management Studies (from 2012) BSc Business with Human Resource Management (from 2012) BSc International Business (from 2012) BSc Marketing and Management (from 2012) Henley Business School, Reading BA Accounting and Management BA Business and Management Bournemouth Account and Business, BA (Hons) Accounting and Finance, BA (Hons) Accounting and Law, BA (Hons) Finance and Business, BA (Hons) Finance and Economics, BA (Hons) Brighton BA (Hons) Business Management BA (Hons) Business Management with Marketing BA (Hons) International Business Oxford Brookes BSC Accounting and Finance BSc Business BA/BSc Business Management BA Business and Management BA Management Bangor Accounting and Economics BA/BSc (Joint Hons) Accounting and Finance BA/BSc (Hons) Administration and Management Degree BA (Hons) Business and Social Administration BA (Hons) Business Economics BA/BSc (Hons) Business Studies and Finance BA/BSc (Hons) Business Studies and Marketing BA/BSc (Hons) Business Studies BA/BSc (Hons) Management with Accounting BA/BSc (Hons) Marketing BA/BSc (Hons) Kingston Business Administration BBA(Hons) Business Management BA(Hons) single honours Business Studies BA(Hons) single honours Business Operations Management BSc(Hons) Human Resource Management BA(Hons) single honours Marketing Communications and Advertising BA(Hons) Marketing Management BA(Hons) single honours Essex BSc Business Management BA Accounting BA Accounting and Finance BA Accounting and Management BA Accounting with Economics BSc Finance BSc Banking and Finance Anglia Ruskin BA (Hons) Business Management BA (Hons) International Management BA (Hons) Marketing BA (Hons) Business Economics BA (Hons) International Business Strategy BA (Hons) Human Resource Management *BA (Hons) Accounting & Finance *BA (Hons) Tourism *As long as students are strong academically, they can take 75 credits in one semester (rather than the usual 60 credits) and therefore complete their degrees in two years. แนะนำโรงเรียน Bellerbys College Bellerbys College เป็นโรงเรียนนานาชาติสอนหลักสูตรวิชาการในสหราชอาณาจักรมีทั้งหมด 4 แคมปัส: Brighton, Cambridge, London, Oxford สอนหลักสูตร GCSEs, A Level and Foundation เพื่อเตรียมตัวนักเรียนนานาชาติเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร พร้อมกับเตรียมตัวนักเรียนนานาชาติศึกษาต่อระดับปริญญาโท: MQP และ Pre-Masters นักเรียนกว่า 800 คนต่อปีจบจาก Bellerbys College เพื่อเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร มีนักเรียนมาจากกว่า 69 ประเทศ จำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 คนต่อชั้นเรียน เปิดสอนตั้งแต่ปี 1959 http://www.learningcurve-th.com
University of Wollongong : ปริญญาโท 1 ปี โดยไม่ต้องสอบ IELTS /TOEFL
University of Wollongong : เรียนเร็ว จบเร็วกับหลักสูตรปริญญาโท 1 ปี โดยไม่ต้องสอบ IELTS /TOEFL มหาวิทยาลัยวูลลองกอง (University of Wollongong) ออสเตรเลีย รับน้องๆบัณฑิตที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่เป็นหลักสูตร International Program ไม่เกิน 2 ปี มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.8 ขึ้นไป เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาโทด้าน Business, IT และ Engineering 1 ปีจบ โดยไม่ต้องยื่นผลภาษาอังกฤษ IELTS / TOEFL ได้แก่ - Master of International Business - Master of Management - Master of Project Management - Master of Retail management - Master of Science (Logistics) - Master of Accountancy - Master of Applied Finance - Master of Commerce - Master of Strategic Marketing - Master of Strategic Management - Master of Strategic Human Resource Management - Master of Engineering Management - Master of Engineering Practice - Master of Engineering Studies - Master of Information System - Master of Information & Communication Technology - Master of Information Technology Management - Master of Information Technology Studies สำหรับน้องๆที่เกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 2.8 ต้องยื่นผลภาษาอังกฤษ IELTS (Academic) Overall 6.5 หรือ TOEFL Internet: 88 หรือเกรดเฉลี่ย 2.20-2.79 – หากไม่ยื่นผลภาษาอังกฤษ จะต้องเข้าเรียนภาษาคอร์ส Direct Entry 12 สัปดาห์ และเกรดเฉลี่ย 2.00-2.19 – เรียนภาษา 18 สัปดาห์ University of Wollongong เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองวูลลองกอง รัฐนิวเซาท์เวลส์ ห่างจากเมืองซิดนีย์ไปทางตอนใต้ ประมาณ 1 ชั่วโมง มีชื่อเสียงทางด้านการวิจัย และการเรียนการสอนในระดับสูง ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งหมดประมาณ 22,000 คน ประกอบด้วยนักศึกษานานาชาติ ประมาณ 3,600 คน จาก 70 ประเทศทั่วโลก รวมนักศึกษาไทย กว่า 200 คน มหาวิทยาลัยเปิดสอนทั้งหมด 9 คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ, คณะศิลปศาสตร์, คณะศิลปกรรม, คณะวิศวกรรม, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะศึกษาศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ และคณะสาธารณสุข ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญา University of Wollongong ได้รับรางวัล University of the Year จาก Good Universities Guide 2ปี ต่อเนื่อง (ปี ค.ศ.2000 และ 2001) สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Learning Curve http://www.learningcurve-th.com/
ฟรี ค่าสมัคร 7 มหาวิทยาลัยดังของออสเตรเลีย
    http://www.cpinter.co.th ฟรี ค่าสมัครกับ 7 มหาวิทยาลัยดังของออสเตรเลีย* หนึ่งสิทธิพิเศษดีๆที่ CP INTER THE UNIVERSITY OF QUEENSLAND THE UNIVERSITY OF SYDNEY MACQUARIE UNIVERSITY UNIVERSITY OF CANBERRA MONASH UNIVERSITY RMIT UNIVERSITY UTS - UNIVERSITY OF TECHNOLOGY SYDNEY *สมัครภายในปี 2011  
การจัดอันดับสถาบันในสหรัฐอเมริกา
  การจัดอันดับสถาบันการศึกษาของสหรัฐอเมริกา เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่านักเรียนต่างชาติให้ความสนใจในการไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ก็เพราะสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานสูงและคุณภาพของการศึกษาที่ดี  และก็เหมือนเช่นเคย ที่การจัดอันดับ “US News Best Graduates Schools Ranking” จะมาทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดความเปลี่ยนแปลงของการเลือกอาชีพในอนาคตของนักเรียนต่างชาติ หากคุณกำลังต้องการจะเรียนต่อในสหรัฐอเมริกา  จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณจะมองหาสถาบันที่ตรงกับความต้องการของคุณ และเป็นสถานที่ที่สามารถช่วยผลักดันให้คุณประสบความสำเร็จเมื่อคุณจบการศึกษา อย่างไรก็ตาม นักเรียนจะต้องตระหนักและสนใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหลักสูตรการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากของนโยบายของรัฐ รวมไปถึงวิธีการที่รัฐบาลอเมริกาวางรูปแบบอนาคตของประเทศตัวเองด้วย รายงานนี้ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่ปี 1983 โดย U.S. News & World Report และได้กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่ออันดับสถาบันในสหรัฐอเมริกาอย่างมาก โดยรายงานล่าสุดนั้น ได้ให้ความสนใจไปยัง 4 สาขาที่สำคัญดังนี้   สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจโดยทั่วไปต้องการที่จะเตรียมความพร้อมแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและสร้างผู้เชี่ยวชาญทางอาชีพนี้โดยเฉพาะ  ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีสามารถในการเป็นผู้นำสองแบบ คือ การเตรียมพร้อมสำหรับประกอบกิจการของตัวเอง และ บทบาทของพนักงานในบริษัทใหญ่ นอกจากนี้พวกเขายังต้องมีความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์ และทันสมัยควบคู่ไปกับมีจริยธรรม เพื่อใช้ในการเอาชนะคู่แข่งของตน สถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจหลายแห่งกำลังเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้กลายเป็นหลักสูตรธุรกิจและการจัดการในระดับนานาชาติ  และสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ได้แก่ ·       Stanford University                                    ·       Harvard University สถาบันสอน MBA หลักสูตร Part time อันดับต้นๆได้แก่            ·       Northwestern University ·       University of Chicago ·       University of California-Berkeley ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรบริหารธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ดูที่นี่ และหลักสูตร MBA ดูที่นี่   สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์นั้น เป็นหนึ่งในสาขาที่ดั้งเดิมที่สุดที่มีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ในอัตราสูง  และดูเหมือนว่าจะกลายเป็นสาขาที่เป็นหัวใจของการพัฒนาในช่วงปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา  ประธานาธิบดีโอบามา ได้จ้างครูวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์มากกว่า 10,000 คน ในช่วงเวลา 2 ปีนี้ และจะจ้างอีก 100,000 คน ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักของผู้สำเร็จการศึกษาสาขานี้ คือ พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงของในหลายๆเมืองว่า ความยากจนและปริมาณของเด็กนักเรียนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน นั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเด็นนี้ ทำให้มีการออกแบบหลักสูตรการศึกษาใหม่สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง เพื่อที่จะมุ่งเน้นการให้คำปรึกษาและการเตรียมตัวในชั้นเรียนให้มากขึ้น สถาบันการศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ 3 อันดับแรก ได้แก่ ·       Vanderbilt University ·       Harvard University ·       University of Texas-Austin สำหรับการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาในสาขาศึกษาศาสตร์ เข้าไปดูที่นี่   สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เติบโตเร็วตามไปด้วย  สาขาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมศาสตร์จึงได้กลายเป็นสาขาที่มีอนาคตสดใสและดีที่สุดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางเทคโนโลยีในอนาคต ปัจจุบันนี้ หนึ่งในสาขาที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ วิศวกรรมนิวเคลียร์  ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของความรู้ในหลากหลายสาขา เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือ ยารักษาโรค เป็นต้น และอีกทางหนึ่งก็มีการคาดเดาว่าความต้องการของผู้เชี่ยวชาญด้านชีวการแพทย์ (biomedical) นั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 72% ในปี 2018 สถาบันการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 3 อันดับแรก ·       Massachusetts institute of technology ·       Stanford University ·       University of California-Berkeley สำหรับการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรบัณฑิตศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าไปดูที่นี่   สาขานิติศาสตร์ ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำขณะนี้ ส่งผลให้โรงเรียนสอนกฎหมายต้องประเมินระเบียบวิธีการใหม่และเตรียมพร้อมผู้สำเร็จการศึกษาสำหรับความท้าทายที่จะตอบสนองความคาดหวังของลูกความได้สำเร็จ ลูกค้าหรือลูกความนั้นจะคาดหวังทนายที่มีความสามารถและมีการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการฝึกฝนก่อนการเรียนจบจึงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับความสำเร็จในอาชีพนี้ ในปีแรกของการจ้างงานนั้น บริษัทจะต้องการผู้ที่ผ่านการการฝึกฝนมามากกว่าผู้ที่ทำวิจัยมาเพียงอย่างเดียว และจะสนับสนุนคนเหล่านั้นให้ปรับตัวให้เข้ากับโลกของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โรงเรียนสอนกฎหมายมองหานักเรียนที่มีประสบการณ์การทำงานและมีพื้นฐานในสาขาที่หลากหลายมากขึ้น สถาบันการศึกษาสาขากฎหมาย 3 อันดับแรก ·       Yale University ·       Harvard University ·       Stanford University   สถาบันที่สอนนิติศาสตร์หลักสูตร Part time ที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา ·       Georgetown university ·       Forham University ·       Geeorge Washington university ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาขานิติศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา เข้าไปดูที่นี่   สาขาแพทยศาสตร์ การปฏิวัติในอนาคตทางสาขาแพทยศาสตร์ คือ ความท้าทายใหม่ที่มีผลต่อการวิจัยทางการแพทย์, วิธีการรักษาโรคร้ายแรงและนวัตกรรมใหม่ในยารักษาโรค  อย่างไรก็ตามมีการระบุออกมาว่าความต้องการแพทย์ที่สามารถรักษาโรคทั่วไปจะมากขึ้น โดยเฉพาะการรักษาคนไข้ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน ดังนั้น สถาบันที่เปิดสอนการแพทย์ทั่วประเทศ ก็จะเน้นหนักไปที่การรักษาเบื้องต้นเพิ่มขึ้น เพื่อลดความขาดแคลนของอายุรแพทย์ในประเทศ   สถาบันการศึกษาชั้นนำในเรื่องแพทยศาสตร์ คือ ·       Harvard University ·       University of Pennsilvania ·       Johns Hopkins University ·       Best Schools on Primary Care: ·       Washington University in St. Louis ·       Duke University ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาขาแพทยศาสตร์และสุขภาพ เข้าไปดูที่นี่
เรียนต่อสหรัฐอเมริกา
  เรียนต่อสหรัฐอเมริกา       มีนักเรียนราวๆ 671,616 คนเลือกเรียนต่อที่อเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมา  การเพิ่มขึ้นอย่างเข้มแข็งของจำนวนสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานทำให้ที่นี่กลายเป็นจุดหมายที่สำคัญของนักเรียนจากทั่วโลก  Hotcourses จะบอกให้ฟังค่ะ ว่าทำไมอเมริกาถึงได้เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก       สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศจุดหมายอันดับหนึ่งของนักเรียนต่างชาติ อีกทั้งในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก  มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับต้นๆ ก็ล้วนแต่เป็นมหาวิทยาลัยของที่นี่ทั้งสิ้น  อย่างเช่น มหาวิทยาลัยในเครือไอวี่ลีก, MIT , University of California และ Stanford  เป็นต้น ชื่อเสียง :       การจบการศึกษาจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยในอเมริกา เป็นเหมือนความฝันของนักเรียนหลายต่อหลายคน  เพราะทั่วโลกต่างยอมรับคุณสมบัติและการรับรองของสถาบันการศึกษาของที่นี่  ดังนั้นการเรียนต่ออเมริกาจึงเป็นการเปิดประตูสู่เส้นทางอาชีพในอนาคตที่ทุกคนต้องการ การเรียนการสอน :       สถาบันการศึกษาของสหรัฐอเมริกาจะสอนทั้งวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  โดยวิชาภาคทฤษฎีจะสอนเกี่ยวกับเนื้อหาสำคัญของการทำงานในระดับสากล และให้นักเรียนได้ฝึกฝนเท่าที่เป็นไปได้อยู่ตลอดเวลา  คุณสามารถเลือกสาขาเอกที่คุณต้องการเรียนได้ตามต้องการ เพราะที่นี่มีสาขาและวิชาที่เปิดสอนมากมาย ดังนั้น ตลอดเวลาที่คุณเรียนที่อเมริกา คุณจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพบเจอกับสิ่งท้าทายอยู่เสมอ ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย :       สหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยที่ดีและสวยที่สุดในโลกอยู่หลายต่อหลายแห่ง  ซึ่งนอกจากจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันแล้ว นักเรียนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ยังมีความสุขไปกับอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีมาตรฐานสูงอีกด้วย   และด้วยสิ่งนี้เอง จึงทำให้นักเรียนจากทั่วโลกเข้ามาเรียนยังที่นี่มากมาย  เกิดการสรรค์สร้างสังคมที่อุดมความรู้และเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลาย    โดยภายในมหาวิทยาลัยจะมีทั้งสถานที่ทำงาน ตลาด พิพิธภัณฑ์ คาเฟ่ โรงภาพยนตร์ ศูนย์ศิลปะ ไปจนถึงร้านทำผม  เรียกได้ว่ามหาวิทยาลัยของอเมริกาเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับแถวหน้าของโลกที่แท้จริง โอกาสในการทำงาน       สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้ชื่อว่า “a land of opportunity”  เมื่อคุณมาอยู่ที่นี่ คุณย่อมได้ยินคำว่า 'the American dream'  ซึ่งคำนี้กล่าวถึงความคิดของคนอเมริกันผู้ต้องการพิสูจน์จุดมุ่งหมายชีวิตของพวกเขา  ผ่านการทำงานหนักและการพยายามอย่างแข็งขัน   และด้วยเหตุนี้จึงทำให้อเมริกาเต็มไปด้วยโอกาสในการทำงานมากมาย   ระหว่างที่คุณเรียน คุณจึงสามารถหาประสบการณ์ผ่านการทำงานไปพร้อมกันได้  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักเรียนมักจะทำงานที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยของตัวเอง   นอกจากนี้คุณสามารถขอไปฝึกงานตามที่ต่างๆได้เช่นกัน  เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทต่างๆก่อนที่คุณจะจบการศึกษา การทำวิจัย :      มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาอุทิศตัวให้กับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และการทำวิจัยเป็นอย่างมาก  ที่นี่ติดอันดับในการเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนทางด้านการวิจัย  ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักเรียนระดับบัณฑิตศึกษาเลือกที่จะมาเรียนที่นี่เป็นจำนวนมากนั่นเอง
ทำไมต้องเรียนอินเตอร์
ทำไมต้องเรียนอินเตอร์? หลังจากปัญหาน้ำท่วมได้ผ่านพ้นไป ช่วงนี้ก็เป็นช่วงเปิดเทอมใหม่ของน้องๆ นักเรียนทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม.6 ที่ต่างหาที่เรียนต่อกันในระดับมหาวิทยาลัยอย่างขะมักเขม้น ซึ่งปัจจุบันนี้มีหลักสูตรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทั้งทางภาครัฐและเอกชนเปิดกันเป็นจำนวนมาก โดยกระแสความนิยมของนักเรียนไทยปัจจุบันเน้นหลักสูตรอินเตอร์(หลักสูตรนานา ชาติ) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมไทยซึ่งมีการแข่งขันสูงขึ้น ตลาดงานต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะภาษาอังกฤษถือเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างยิ่งยวดในการทำงานในโลกธุรกิจไร้พรมแดนปัจจุบัน ดังนั้นผู้ปกครองรวมถึงนักเรียนจึงสนใจที่จะเรียนในหลักสูตรอินเตอร์หรือ หลักสูตรนานาชาติกันมากยิ่งขึ้น โดยตัวเลขสถิติของ OECD, British Council และ IDP Education Australia ชี้ว่าแนวโน้มนักเรียนในระดับอุดมศึกษาที่เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศจะ เพิ่มขึ้นจาก 2.12 ล้านคน ในปี 2546 เป็น 8 ล้านคน ในปี 2568 และมีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่เรียนหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศไทย อีกเหตุผลที่ทำให้การเรียนอินเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้น คือการเข้ามามีบทบาทของสมาคม ASEAN โดยมีแนวคิดว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือที่เรียกว่า Single Market and Production Base ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาซึ่ง มุ่งเน้นพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพรองรับการเข้ามาของอาเซียนในเรื่องของภาษา ซึ่งกำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในประชาคมอาเซียน และบทบาทของประเทศไทยในด้านธุรกิจการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต ทั้งยังมีความร่วมมือกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่เรียกว่า ASEAN + 3 และ ASEAN + 6 ที่รวมทั้งประเทศอินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แน่นอนว่าประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนต้องพร้อมรับผลกระทบจากการ เปิดเสรีทางการผลิต การค้า การทำงาน ซึ่งไม่มีพรมแดนมากั้นอีกต่อไป นั่นหมายความว่าแรงงานจากต่างประเทศสามารถเข้ามาทำงานได้อย่างเสรี รวมทั้งประเทศไทยที่สามารถไปทำงานในต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ไม่ยาก ประเทศจีน เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จึงเป็นประเทศมหาอำนาจที่กำลังเป็นที่จับตามองว่าจะเป็นประเทศผู้นำเศรษฐกิจ โลกต่อไป ดังนั้น ภาษาจีน จึงกลายเป็นภาษาที่คนให้ความสนใจนอกจากภาษาอังกฤษซึ่งถือเป็นภาษาที่ทุกคน ต้องพูดได้ นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่คนสนใจเรียนภาษาจีนกันมากยิ่งขึ้นไม่น้อยกว่าภาษา อังกฤษ และจึงเป็นเหตุผลที่หลักสูตรจีนศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ เป็นอีกทางเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและเป็นการระลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งองค์การยูเนสโก้ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญระดับนานาชาติ โดยวิทยาลัยมุ่งเน้นจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติในลักษณะผสมผสานสาขา วิชาต่างๆ โดยในปัจจุบันได้เปิดสอนในสองหลักสูตร คือ หลักสูตรไทยศึกษา (Thai Studies Program) หลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี โดยสอนวิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นที่นิยมของนักศึกษาชาวต่างชาติ หลักสูตรจีนศึกษา (Chinese Studies Program) หลักสูตรนานาชาติ ปริญญาตรีศิลปศาสตร-บัณฑิต สาขาจีนศึกษา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับ School of International Studies แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) ประเทศจีน ดังนั้น นักศึกษาต้องไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษาโดยวิชาด้านจีนศึกษาหลายวิชาของวิทยาลัยตรงกับวิชาที่เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อาทิ Global Political Economy in the 21st Century of China, Investment and Trade of China และ Chinese Overseas Society เป็นต้น ดังนั้นนักศึกษานอกจากจะได้รับประสบการณ์จริงในการใช้ชีวิตและศึกษาในประเทศ จีน ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศจีน นักศึกษายังสามารถโอนหน่วยกิตวิชาที่ลงทะเบียนกลับมาได้อีกด้วย สำหรับน้องๆ ที่สนใจหลักสูตรจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ สามารถซื้อใบสมัครสอบได้ที่ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หรือศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสยาม ศาลาพระเกี้ยว และสาขาจัตุรัสจามจุรี หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย์ โดยดาว์นโหลดใบสั่งซื้อได้ที่ www.pbic.tu.ac.th หรือโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-6133701-4 อีเมล์ pbic@tu.ac.th ได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2555 Credit : http://www.unigang.com/Article/9468
การขอวีซ่านักเรียนมาเลเซีย
  การขอวีซ่านักศึกษามาเลเซีย การขอวีซ่านักศึกษาเป็นเรื่องง่ายและไม่ยุ่งยาก โดยมีข้อกำหนดวีซ่าที่ควรทราบดังนี้ ก่อนขอวีซ่า มีข้อกำหนดคุณสมบัติที่นักศึกษาต่างชาติต้องมีดังนี้: • คุณต้องการได้รับเข้าเรียนหลักสูตรเต็มเวลาที่สถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนแล้ว • คุณต้องมีฐานะทางการเงินที่เพียงพอสำหรับค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ/เดินทาง • คุณต้องมีสุขภาพและคุณลักษณะที่ดี • คุณต้องเดินทางเข้าประเทศด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนเท่านั้น นักศึกษานานาชาติควรตรวจสอบกับสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อยืนยันว่าหลักสูตรที่ต้องการเข้าเรียนได้รับการรับรองโดยสำนักงานวุฒิการศึกษาแห่งประเทศมาเลเซีย (MQA): www.mqa.gov.my    วิธีการสมัคร ใบสมัครทั้งหมดสำหรับใบผ่านเข้าประเทศของนักศึกษานานาชาติจะดำเนินการผ่านทางสถาบันการศึกษาของมาเลเซีย ขั้นตอนต่อไปคือการอนุมัติและออกใบผ่านเข้าประเทศและวีซ่าโดยแผนกตรวจคนเข้าเมืองในประเทศมาเลเซีย ยกเว้นนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) นักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องขอวีซ่าจากสถานทูตมาเลเซียหรือคณะกรรมการของมาเลเซียในประเทศจีน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและใบผ่านเข้าประเทศ กรุณาดูที่เว็บไซต์ของรัฐบาลที่: www.imi.gov.my  หรือติดต่อแผนกตรวจคนเข้าเมืองในประเทศมาเลเซีย: ผู้อำนวยการ ฝ่ายวีซ่า ใบผ่านเข้าประเทศและใบอนุญาต สำนักงานใหญ่ของแผนกตรวจคนเข้าเมืองของประเทศมาเลเซีย ชั้น 1 - ชั้น 7 (โพเดียม) บล็อค 2G4 ศูนย์บริหารงานรัฐบาลกลาง เขต 2 62550 ปุตราจาย่า ประเทศมาเลเซีย http://www.hotcourses.in.th/study-in-malaysia/study-guides/malaysia-visa/
การเปลี่ยนกฏหมายสำหรับวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย
  คุณวางแผนที่จะขอวีซ่านักเรียนออสเตรเลียเพื่อที่จะศึกษาต่อในออสเตรเลียหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณอาจจะสนใจที่จะรู้ว่ารัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลียได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบบการตรวจคนเข้าเมืองเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเป็นความพยายามในการลดข้อกำหนดที่นักศึกษาต่างชาติต้องมีเพื่อให้มีคุณสมบัติเพียงพอกับข้อกำหนดสำหรับการเรียนต่อในออสเตรเลีย การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ถูกประกาศใช้ตามแถลงการของอดีตนักการเมืองและผู้จัดงานโอลิมปิคที่ซิดนีย์ในปี 2000 Michael Knight ผู้ที่แนะนำว่าอุตสาหกรรมการส่งออกการศึกษา ถือเป็นอุตสาหกรรมการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดอุตสาหกรรมนึงของออสเตรเลีย ดังนั้นควรที่จะมีการปรับปรุงเพื่อที่สามารถแข่งขันกับตลาดการศึกษาในประเทศเขตอเมริกาเหนือได้และจะเป็นการเปิดประตูให้กับนักศึกษาต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถ ภายใต้ข้อกำหนดใหม่นี้ นักศึกษาจากประเทศที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงสูง เช่น ประเทศจีนนั้น ก็จะต้องแสดงหลักฐานทางการเงินในธนาคารโดยมีเงินไม่น้อยกว่า $75,000 เพื่อที่จะได้รับวีซ่า ข้อกำหนดทางการเงินที่มากขึ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นการกีดกั้นนักศึกษาต่างชาติหลายคนในการเดินทางมาเรียนยังต่างประเทศ ตั้งแต่กลางปี 2012 นักศึกษาต่างชาติผู้ที่ขอวีซ่าเพื่อมาเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับข้อกำหนดทางการเงิน (เช่น การกำหนดจำนวนเงินในธนาคาร) เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับค่าเทอมและค่าครองชีพ ดังนั้นนักศึกษาจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น อเมริกา นักศึกษาเพียงแค่ประกาศว่าพวกเขามีวิธีการที่จะจ่ายเงินค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพได้ด้วยตัวเองนั้นก็นับว่าเพียงพอ นอกจากนี้ นักศึกษาต่างชาติผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (Undergraduate level) สามารถมีสิทธิทำงานได้เป็นเวลา 2 ปี รวมถึงในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณวุฒิที่ได้รับมาก็ตาม อย่างไรก็ตาม Knigh ได้กล่าวว่าหากนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาต้องการที่จะอาศัยอยู่อย่างถาวรในออสเตรเลีย พวกเขาก็จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการขอวีซ่าแบบมีทักษะซึ่งไม่เหมือนกับวีซ่านักเรียนที่ได้มีการลดหย่อนลงมา อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการตรวจคนเข้าเมืองและพลเมือง Chris Bowen ได้กล่าวว่าความรับผิดชอบที่เหลือนั้นเป็นภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะจัดการกับนักศึกษาต่างชาติ โดยจะเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติในการรับเข้าเรียนก่อนที่นักศึกษาเหล่านี้จะเตรียมยื่นขอวีซ่า “ความรับผิดชอบที่มหาวิทยาลัยต้องทำนั้นคือต้องแน่ใจว่านักศึกษาที่จะเข้ามาเรียนนั้นจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งรวมถึงนักศึกษาที่ได้รับเลือกให้เข้าเรียนนั้นจะต้องมีความสามารถในการจ่ายค่าเล่าเรียนและดูแลตัวเองได้ในขณะที่เรียน” กล่าวโดยโฆษกประจำของมิสเตอร์โบเวน ข้อมูลเพิ่มเติม -สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองในปัจจุบัน คลิกที่นี่ -อ่านรายงานจาก International Student Barometer Report (2010) ที่รายงานว่า 86% ของนักศึกษาต่างชาติที่ได้จากการสำรวจมีความพอใจในประสบการณ์การศึกษาที่ได้รับจากประเทศออสเตรเลีย คลิกเพื่ออ่านต่อได้ที่นี่ http://www.hotcourses.in.th/study-in-australia/latest-news/changes-in-australian-student-visa/
ค่าใช้จ่ายและการใช้ชีวิตในออสเตรเลีย
  นักศึกษาที่พักอาศัยในออสเตรเลีย ค่าครองชีพ ข้อบังคับของออสเตรเลียกำหนดให้นักศึกษานานาชาติต้องแสดงหลักฐานว่าพวกเขามีเงินทุนเพียงพอสำหรับตนเอง เพื่อต้องการให้แน่ใจว่านักศึกษาจากต่างประเทศจะสามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ปลอดภัยและมีความสุขในออสเตรเลีย นักศึกษานานาชาติสามารถหารายได้เพื่อเพิ่มรูปแบบการใช้ชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นได้โดยการทำงานนอกเวลา อย่างไรก็ตามข้อกำหนดในด้าน "ค่าครองชีพ" จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่านักศึกษาจะสามารถสำเร็จการศึกษาโดยไม่ต้องพึ่งพาการทำงานเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ นับจากวันที่ 1 มกราคม 2010 ผู้ที่สมัครขอวีซ่านักศึกษาและสมาชิกครอบครัวต้องมีเงินทุนตามข้อกำหนดค่าครองชีพดังต่อไปนี้: • A$18,000 ต่อปีสำหรับตัวนักศึกษา • A$6,300 ต่อปีสำหรับคู่สมรสของนักศึกษา • A$3,600 ต่อปีสำหรับบุตรคนแรกของนักศึกษาและ • A$2,700 ต่อปีสำหรับบุตรแต่ละคนและที่ตามมา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.immi.gov.au ด้านล่างคือค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับของอุปโภคบริโภคประจำบ้านและค่าใช้จ่ายอื่นๆ • ขนมปังหนึ่งแถว - A$2.50 ถึง A$4.00 • นมสองลิตร - A$2.20 ถึง A$3.60 • หนังสือพิมพ์ - A$1.50 ถึง A$3.00; • อาหารเช้าธัญพืชหนึ่งกล่อง - A$3.00 ถึง A$5.60 • ชาถุง 100 ถุง - A$3.50 ถึง A$5.00 • น้ำอัดลมหนึ่งขวด - A$1.50 ถึง A$3.00; • แชมพูหนึ่งขวด - A$2.50 ถึง A$6.50; • เนื้อวัวสับ (500 กรัม) - A$3.00 ถึง A$7.50 • น่องไก่ไม่ติดกระดูก (500 กรัม) - A$5.50 ถึง A$7.00 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดงบประมาณ กรุณาดูที่ http://www.understandingmoney.gov.au/ ความบันเทิงในงบประมาณจำกัด ประเทศออสเตรเลียมีสิ่งต่างๆมากมายสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด เมื่อคุณมีความงามตามธรรมชาติอันน่าทึ่งใกล้บ้าน สภาพภูมิอากาศสบายๆตลอดปีและอุทยานแห่งชาติและชายหาดมากมายให้เดินเล่น วิ่งหรือขี่จักรยานเพื่อความเพลิดเพลิน คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมายเพื่อช่วงเวลาแห่งความสุข กิจกรรมฟรีอื่นๆในออสเตรเลีย อาทิเช่น การไปตลาดนัดสุดสัปดาห์อันมีสีสันและคึกคักที่มีอยู่มากมาย เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะและประวัติศาสตร์ของประเทศออสเตรเลียที่หอศิลปะและพิพิธภัณท์มากมาย หรือร่วมงานเทศกาลของชาวออสเตรเลียที่จัดขึ้นในเมืองและที่ชายหาดทั่วประเทศ ในแต่ละปีครอบครัวชาวออสเตรเลียจะรวมตัวกันกลางแจ้งเพื่อร่วมงานเทศกาลอาหาร ไวน์และการแสดงดนตรีฟรี รวมถึงการแข่งขันกระดานโต้คลื่นช่วยชีวิตที่ชายหาดอันเป็นงานที่สำคัญในช่วงฤดูร้อน ชาวออสเตรเลียชื่นชอบชีวิตกลางแจ้ง ด้วยเหตุนี้จึงมีกิจกรรมสนุกๆฟรีมากมาย ตรวจสอบหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของคุณเพื่อดูว่ามีกิจกรรมอะไรใกล้บ้านคุณ วิธีเปิดบัญชีธนาคาร การเปิดบัญชีธนาคารของออสเตรเลียค่อนข้างง่ายสำหรับนักศึกษาต่างชาติ โดยคุณควรดำเนินการทันทีเมื่อเดินทางมาถึง สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยคือหนังสือเดินทางและหลักฐานที่อยู่ ทางธนาคารจะเปิดบัญชีให้คุณและส่งบัตรเอทีเอ็มมาให้ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็มที่มีอยู่มากมายในเมืองต่างๆ ธนาคารบางแห่งจะยกเว้นค่าธรรมเนียมรายเดือนหากคุณแสดงหลักฐานการลงทะเบียนเรียนในฐานะนักศึกษาเต็มเวลา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จากเว็บไซต์ของธนาคารที่คุณต้องการเปิดบัญชี อาหาร การรับประทานอาหารนอกบ้าน กล่าวกันว่าชาวออสเตรเลียเป็นชนชาติที่ชื่นชอบกีฬา เรื่องอาหารก็เช่นกัน ออสเตรเลียมีพ่อครัวที่ดีที่สุดของโลกและร้านอาหารที่ได้รับรางวัลมากมาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินมากเพียงใด ต้องยกประโยชน์ให้กับอิทธิพลทางวัฒนธรรมนานาชาติทุกเชื้อชาติในออสเตรเลีย คุณจะสามารถลิ้มรสชาติอาหารได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารเวียดนาม เวเนซุเอลา โมร็อกโก จนถึงอาหารเม็กซิกัน ตุรกี ทาปาซ ญี่ปุ่น เยอรมันและอื่นๆอีกมากมาย ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันตั้งแต่ภาคเหนือจรดใต้ทำให้มีผลิตภัณท์อาหารมากมายหลากหลายประเภท และด้วยแนวชายฝั่งทะเลอันกว้างใหญ่ ประเทศออสเตรเลียจึงมีอาหารทะเลสดอร่อยอันอุดมสมบูรณ์ การรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นวิถีชีวิตของชาวออสเตรเลียและการรับประทานในภัตตาคารเป็นกิจกรรมแบบสบายๆ อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงด้วย โดยภัตตาคารเล็กๆในท้องถิ่นบางแห่งคิดราคาค่าอาหารจานหลักเพียง 5$ เท่านั้น อย่างไรก็ดีก็มีภัตตาคารระดับกลางและสูงมากมายเช่นกัน (สำหรับผู้ที่ชอบความหรูหรา) และในเมืองใหญ่ต่างๆไม่ใช่เรื่องยากเลยที่คุณจะพบกับร้านอาหารดีๆ ภัตตาคารมากมายในออสเตรเลียเป็นแบบ 'BYO' (นำเหล้ามาเอง) ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถประหยัดเงินค่าบริการได้ หากภัตตาคารนั้นเป็นแบบ BYO คุณสามารถนำเครื่องดื่มแอลกอฮอลของคุณมาดื่มในร้านได้ โดยมีค่าเปิดขวดเล็กน้อยในบิลค่าบริการ คุณควรตรวจสอบค่าเปิดขวดล่วงหน้าเนื่องจากแต่ละร้านจะมีค่าบริการแตกต่างกัน การรับประทานอาหารที่บ้าน การรับประทานอาหารที่บ้านเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชาวออสเตรเลียชื่นชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนที่พวกเขาจะจุดไฟเพื่อ "บาร์บี้" (บาร์บีคิว) และย่างกุ้งสดๆหรือ "สแน๊กส์" (ไส้กรอก) บาร์บีคิวในวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นที่นิยมอย่างมากเพื่อการสังสรรค์กับเพื่อนฝูงที่บ้าน โดยสามารถซื้ออาหารได้ในราคาถูกที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในท้องถิ่น ตลาดเกษตรกรหรือตลาดจำหน่ายอาหาร สำหรับการซื้อหาอาหารประจำวันก็มีซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่สองแห่งให้บริการในประเทศออสเตรเลียคือ Woolworths และ Coles ซึ่งคุณจะพบเห็นทั่วไปในเมืองใหญ่ๆ ส่วน IGA ก็เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตอิสระซึ่งจะช่วยประหยัดเงินค่าของใช้ในบ้าน ซุปเปอร์มาร์เก็ตเชนอีกแห่งคือ ALDI ซึ่งให้บริการในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (NSW, QLD, ACT, VIC) โดยจำหน่ายสินค้าที่มีราคาประหยัดกว่า การทำงานในออสเตรเลีย งานนอกเวลา นักศึกษาที่ได้รับวีซ่าหลังจากวันที่ 26 เมษายน 2008 จะได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อช่วยเหลือด้านการเรียนขณะที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย หากคุณเดินทางมาพร้อมกับครอบครัว สมาชิกครอบครัวของคุณสามารถทำงานได้สูงสุด 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หลังจากที่คุณได้เริ่มต้นการเรียนในออสเตรเลียแล้ว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จากเว็บไซต์ DIAC นักศึกษาจำนวนมากทำงานเพื่อหารายได้เสริมเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวหรือเพื่อการออมเงิน หลายๆคนทำงานเพื่อหาประสบการณ์ ทำความรู้จักผู้คนในท้องถิ่นและพบปะเพื่อนใหม่ นักศึกษาสามารถเลือกทำงานในบาร์ ภัตตาคารและร้านกาแฟ หรือทำงานนอกเวลาในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเรียน โอกาสการทำงานนอกเวลาสามารถค้นหาได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและทางออนไลน์ที่ www.seek.com.au หรือ www.careerone.com.au นักศึกษาที่ต้องการทำงาน (หรือเปิดบัญชีธนาคาร) ต้องมี Tax File ซึ่งสามารถสมัครได้อย่างง่ายดายที่โฮมเพจของกรมสรรพากรออสเตรเลีย โดยทำตามคำแนะนำเพื่อกรอกแบบฟอร์ม โดยปกติขั้นตอนอนุมัติจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ การทำงานอาสาสมัคร การทำงานอาสาสมัครเป็นวิธีการอันยอดเยี่ยมที่จะได้ทำความรู้จักกับผู้คนในสังคมออสเตรเลียและพบปะเพื่อนใหม่ นอกจากนี้นักศึกษาจำนวนมากอาสาสมัครทำงานเพื่อที่พวกเขาจะได้รับทักษะความชำนาญนอกหลักสูตรหรือขยายขอบเขตประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม โอกาสงานอาสาสมัครอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรหรือช่วยงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเรียน อาสาสมัครในออสเตรเลียสามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่การปลูกต้นไม้ การทำความสะอาดชายหาด เล่นกระดานโต้คลื่นช่วยชีวิตจนถึงการทำงานที่งานกิจกรรมสำคัญๆด้านกีฬาหรือดนตรีหรือให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนผู้สูงอายุ โดยอาจเป็นงานเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือนานกว่านั้น อย่างไรก็ตามก็เป็นโอกาสที่จะสร้างความโดดเด่นเหนือผู้อื่น นักศึกษาที่มีทักษะและประสบการณ์เสริมมักจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้จ้างงานในอนาคต นอกจากนี้สถาบันการศึกษาของคุณอาจมีประกาศรับสมัครงานอาสาสมัครเช่นกัน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานอาสาสมัครได้ที่: www.govolunteer.com.au การดูแลสุขภาพ เมื่อคุณเดินทางมาถึงประเทศออสเตรเลีย คุณควรลงทะเบียนกับหมอ/แพทย์รักษาโรคทั่วไปในท้องถิ่น ประเทศออสเตรเลียมีระบบสุขภาพที่ครอบคลุมเป็นการเฉพาะสำหรับนักศึกษานานาชาติที่เรียกว่า Overseas Student Health Cover (OSHC) โดยคุณต้องซื้อบริการ OSHC ก่อนที่จะเดินทางมายังออสเตรเลียเพื่อคุ้มครองคุณเมื่อเดินทางมาถึง คุณต้องรักษาสถานะของ OSHC ตลอดอายุวีซ่านักศึกษาในประเทศออสเตรเลีย OSHC ของคุณจะช่วยรับผิดชอบค่าบริการรักษาหรือโรงพยาบาลที่จำเป็นในขณะที่คุณเรียนอยู่ในออสเตรเลียและยังครอบคลุมถึงค่ายาส่วนใหญ่และบริการฉุกเฉินต่างๆ มีผู้ให้บริการ OSHC ห้ารายในประเทศออสเตรเลีย ดูลิงค์ด้านล่างสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละราย: • Australian Health Management OSHC • BUPA Australia • Medibank Private • OSHC Worldcare • NIB OSHC OSHC ไม่ครอบคลุมค่ารักษาด้านทันตกรรม สายตาหรือกายภาพบำบัด แต่คุณยังสามารถใช้บริการสุขภาพเหล่านี้ อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการครอบคลุมค่ารักษาคุณจำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคลเพิ่มเติม บริการฉุกเฉิน ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน กดหมายเลข 000 ข้อมูลเพิ่มเติม ค้นหาข้อมูลหลักสูตรและสถาบันการศึกษาในออสเตรเลียได้ที่นี่ http://www.hotcourses.in.th/study-in-australia/study-guides/living-in-australia/
ที่พักในออสเตรเลีย
  ที่พัก มีทางเลือกที่พักหลากหลายประเภทสำหรับนักศึกษาที่พักอาศัยในออสเตรเลียเพื่อการเรียน โฮมสเตย์ โฮมสเตย์เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งนักศึกษานานาชาติจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวออสเตรเลีย ที่พักประเภทนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาที่มีอายุน้อยเนื่องจากพวกเขาจะได้รับการดูแลจากผู้ใหญ่ โดยได้รวมค่าอาหารไว้ในค่าเช่าแล้ว โฮมสเตย์แบบไม่รวมอาหารก็มีให้บริการเช่นกัน และมีห้องพักทั้งแบบห้องพักเดี่ยวหรือห้องพักรวมให้เลือก สถาบันการศึกษาต่างๆได้มีการขึ้นทะเบียนครอบครัวที่รับนักศึกษาเข้าพักในช่วงของปีการศึกษา โดยจะมีการตรวจสอบครอบครัวเหล่านี้ถึงความน่าเชื่อถือและมีสภาพที่พักที่ได้มาตรฐานเพียงพอ ที่พักภายในวิทยาเขต มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่และสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาบางแห่งมีบริการที่พักหลากหลายประเภทภายในหรือใกล้กับวิทยาเขต โดยอาจะเป็นที่พักแบบอพาร์ทเม้นต์ อาคารหอพักหรือหอพักนักศึกษา โดยมีค่าเช่าที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของที่พัก อาคารหอพักจะมีค่าเช่าแพงกว่าเล็กน้อยและเป็นบริการที่พักพร้อมอาหาร นอกจากนี้ยังอาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัฒนธรรม กีฬาและสังคม บริการกวดวิชา ห้องสมุดและสิ่งอำนวยความสะดวกทางคอมพิวเตอร์ หอพักนักศึกษาจะตั้งอยู่ภายในหรือใกล้กับวิทยาเขตของสถาบันการศึกษา นักศึกษาจะได้รับบริการมื้ออาหารและบริการทำความสะอาด คุณควรสมัครขอใช้บริการแต่เนิ่นๆเนื่องจากเป็นที่พักที่มีผู้ต้องการใช้บริการจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ: A$80-250 ต่อสัปดาห์ ที่พักให้เช่าและการพักอาศัยในชุมชน การใช้ที่พักร่วมกันหรือเช่าที่พักเอกชนนอกวิทยาเขตเป็นที่นิยมมากในหมู่นักศึกษานานาชาติ คุณสามารถดูที่พักว่างได้จากกระดานประกาศภายในวิทยาเขต ทางออนไลน์ (ดูลิงค์ด้านล่าง) และจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โดยปกติแล้วคุณจะต้องจัดหาเฟอร์นิเจอร์ของตนเอง โดยสามารถเช่าหรือซื้อของมือสองได้ในราคาที่ค่อนข้างถูก เมื่อทำการเช่าบ้านพัก อพาร์ทเม้นต์หรือสตูดิโออพาร์ทเม้นต์ เจ้าของที่พักจะขอให้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและต้องมีเงินวางประกันการเช่าเท่ากับค่าเช่าหนึ่งเดือน นักศึกษาอาจตัดสินใจเลือกเช่าห้องพักหรือบ้านพัก/อพาร์ทเม้นต์ร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่มหรืออาจมีกลุ่มนักศึกษาที่ประกาศรับเพื่อนร่วมที่พักเพิ่มเติม นอกจากนี้คุณอาจเลือกพักคนเดียว (หรือเป็นครอบครัว)ด้วยการเช่าห้องสตูดิโอหรืออพาร์ทเม้นต์ขนาดเล็ก โดยค่าใช้จ่ายในการเช่าที่พักคนเดียวจะสูงกว่าเช่าห้องพักในสถานที่พักขนาดใหญ่เล็กน้อย ข้อดีของการพักอาศัยในที่พักให้เช่า คือคุณจะมีอิสระมากกว่าทั้งทางด้านสังคมและการเงิน นอกจากนี้นักศึกษาจะได้รับประโยชน์ด้านวัฒนธรรมจากการได้พักอาศัยในชุมชนท้องถิ่น คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ข้างล่างนี้ Domain Real Estate Gum Tree ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ: A$70-250 ต่อสัปดาห์ต่อคน   อ่านเพิ่มเติม ค้นหาข้อมูลหลักสูตรและสถาบันการศึกษาในออสเตรเลียได้ที่นี่ ค่าใช้จ่ายและการใช้ชีวิตในออสเตรเลีย http://www.hotcourses.in.th/study-in-australia/study-guides/accommodation-in-australia/
การขอวีซ่านักเรียนสวีเดน
  การขอวีซ่านักเรียนสวีเดน การสมัครเรียนในประเทศสวีเดนเป็นเรื่องไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ผ่านทางเว็บไซต์ Studera.nu คุณสามารถสมัครเรียนหลักสูตรเฉพาะด้านหรือหลักสูตรเต็มรูปแบบผ่านทางเว็บไซต์ได้ โดยการค้นหาหลักสูตรระดับที่หนึ่ง สองและสาม (ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก) และเลือกหลักสูตรที่คุณต้องการสมัครเรียน โดยคุณสามารถสมัครได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตรในใบสมัครเดียวกัน ในกรณีที่คุณมีสัญชาติของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) และสวิสเซอร์แลนด์ คุณไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตพำนักเพื่อการเรียนในประเทศสวีเดน แต่หากไม่ใช่ คุณต้องสมัครขอใบอนุญาตพำนัก ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จากเว็บไซต์ Studera.nu ผู้สมัครที่ไม่ได้มีสัญชาติของประเทศในเขต EU/EEA หรือสวิสต้องชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร SEK 900 วันปิดรับสมัครจะแตกต่างกัน ดังนั้นคุณควรตรวจสอบจากเว็บไซต์ studera.nu แต่วันปิดรับสมัครสำหรับภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วงปกติจะอยู่ในช่วงกลางเดือนมกราคม และในช่วงกลางเดือนสิงหาคมสำหรับการเริ่มต้นเรียนในภาคเรียนฤดูใบไม้ผลิ คุณควรตรวจสอบรหัสหลักสูตรสำหรับหลักสูตรที่เลือกสมัคร ไม่ว่าจะจากเว็บไซต์รับสมัครหรือจากเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษานั้นๆเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้สมัครเรียนในหลักสูตรที่ถูกต้อง หลังจากได้รับเข้าเรียนในหลักสูตรแล้ว ทันทีที่สถาบันการศึกษาที่คุณเลือกตอบรับคุณเข้าเรียนแล้ว คุณต้องยืนยันการเข้าเรียน ในกรณีที่คุณไม่ใช่นักศึกษาจากประเทศในเขต EU/EEA หรือสวิส คุณต้องชำระค่าเล่าเรียนและสมัครขอวีซ่า/ใบอนุญาตพำนัก คุณต้องแสดงหลักฐานว่าคุณได้รับเข้าเรียนหลักสูตรเต็มเวลา และคุณมีเงินทุนเพียงพอสำหรับค่าเล่าเรียน (และมีเงินทุนเพียงพอสำหรับค่าครองชีพตลอดทั้งปี) ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จากเว็บไซต์ของ Swedish Migration Board   ข้อมูลเพิ่มเติม อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจเกี่ยวกับสวีเดนได้ที่นี่ ค้นหาหลักสูตรและสถาบันการศึกษาในสวีเดน การเดินทางในสวีเดน http://www.hotcourses.in.th/study-in-sweden/study-guides/applying-for-a-swedish-student-visa/
ขั้นตอนการยื่นวีซ่าสหราชอาณาจักร
    คำถามที่มักจะถูกถามบ่อยเกี่ยวกับ “ขั้นตอนการยื่นวีซ่า”       ก่อนที่จะมาเรียนต่อที่สหราชอาณาจักร คุณจำเป็นต้องเตรียมเอกสารของคุณให้พร้อมก่อน ซึ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมานั้น มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกี่ยวกับกฎหมายของการขอเข้าเมืองเพื่อการเรียนต่อรวมทั้งกฎในการขอวีซ่าด้วย  และทำให้นักเรียนต่างชาติเกิดความไม่เข้าใจเพิ่มขึ้น   ในวันนี้ Hotcourses ได้พูดคุยและถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ กับ Hateem Ali ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายการขอเข้าเมือง และเข้าร่วมงาน International Student Fair ของเราเมื่อครั้งล่าสุด ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาเรื่องวีซ่าแก่นักเรียนต่างชาติ Q:ประเภทของวีซ่ามีอะไรบ้าง และประเภทไหนที่เราต้องใช้? A:จะมีประเภทของวีซ่าหลักๆอยู่ 4 แบบ สำหรับนักเรียนโดยทั่วไป  โดยแต่ละประเภทก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน โดยวีซ่าที่ใช้กันโดยส่วนใหญ่ คือ The Adult Student category under Tier 4 of the Points Based System  ซึ่งเป็นวีซ่าสำหรับนักเรียนอายุมากกว่า 18 ปีที่ต้องการเข้ามาศึกษาที่สหราชอาณาจักรแบบเต็มเวลา  ซึ่งคำถามและข้อสงสัยต่างๆที่ถามก็จะเกี่ยวกับวีซ่าประเภทนี สำหรับนักเรียนที่อายุน้อยกว่า 18 ปีนั้น ก็มีวีซ่าประเภท Child Student ที่ถูกออกแบบขึ้นสำหรับนักเรียนที่เข้าสอบ GCSE และ A-level หรือการสอบอื่นๆที่เทียบเท่า นอกเหนือจากประเภทแบบ Tier 4 แล้ว ยังมีแบบ Prospective Student ด้วย  ซึ่งจะอนุญาตให้นักเรียนเข้ามายังสหราชอาณาจักรด้วยเหตุผลคือ เข้ามาทำวิจัยกับมหาวิทยาลัย  เข้ามาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย และเข้ามาสัมภาษณ์เพื่อการเข้าเรียน  ซึ่งวีซ่าประเภทนี้ไม่ได้อนุญาตให้คุณเข้ามาเรียนได้   โดยข้อดีของการเข้ามายังสหราชอาณาจักรด้วยวีซ่าประเภทนี้ คือ คุณจะสะดวกใจกับการมาดูที่เรียน หรือมาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาก่อนการเข้าเรียนสถาบันเหล่านั้น และเมื่อคุณพบหลักสูตรที่คุณต้องการและคุณได้รับเลือกให้เข้าเรียนที่สถาบันเหล่านั้นแล้ว  คุณก็สามารถเปลี่ยนวีซ่าไปเป็นแบบ normal Adult Student Tier 4 Visa  ได้เลยทันทีในขณะที่คุณอยู่ที่สหราชอาณาจักร  โดยไม่ต้องกลับมายังประเทศไทย สำหรับนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรที่ใช้เวลาน้อยกว่า 6 เดือนนั้น ยังมีวีซ่าอีกประเภทหนึ่ง คือ Student Visitor  ซึ่งจะอนุญาตให้นักเรียนเข้าประเทศในฐานะเดียวกับนักท่องเที่ยว แต่จะมีการเขียนลงไปบนวีซ่าว่าเข้าประเทศมาเพื่อการเรียนที่น้อยกว่า 6 เดือน   โดยข้อเสียของวีซ่าประเภทนี้ก็คือคุณไม่สามารถต่ออายุได้ในระหว่างที่อยู่ที่สหราชอาณาจักร  คุณจำเป็นต้องกลับมายังประเทศไทยก่อน แล้วถึงจะสามารถยื่นเปลี่ยนเป็นวีซ่าใหม่เพื่อขอเรียนต่อไปได้   Q:เนื่องจากค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนอังกฤษเองก็เพิ่งขึ้นไปเมื่อไม่นานมานี้  แล้วสำหรับนักเรียนต่างชาตินั้นจะสูงขึ้นตามมาในอนาคตหรือไม่? A:ในเรื่องค่าใช้จ่ายของนักเรียนในประเทศก็กำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ซึ่งมีนักเรียนออกมาประท้วงตามท้องถนนในกรุงลอนดอนถึงเรื่องนี้มากมาย   ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้นะ  แต่ผมก็สงสัยเหมือนกันว่า เด็กที่ออกมาประท้วงจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขารู้ว่าเพื่อนต่างชาติที่นั่งเรียนข้างๆเขาในห้องเรียน ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนมากกว่าเขาถึงสามเท่าในการเรียนวิชาเดียวกัน แต่แน่นอน ว่าเป็นการยากที่จะคาดเดาว่าราคาของค่าเล่าเรียนจะเป็นอย่างไร  เพราะมีการโต้แย้งกันว่ามหาวิทยาลัยควรจะใช้อัตราเดิมที่ทั้งนักเรียนในประเทศและต่างประเทศจ่ายในราคาที่เท่ากันหรือไม่  เพราะนักเรียนในประเทศ  มีรัฐบาลคอยช่วยเหลือในการจ่ายเงินส่วนนี้ด้วย ผู้ที่ให้ความเห็นต่างก็แนะนำว่า  เนื่องจากมหาวิทยาลัยใช้วิธีการเก็บเงินจากนักเรียนเองโดยตรงมาโดยตลอด   จึงทำให้มหาวิทยาลัยคุ้นเคยไปกับโครงสร้างของราคาแบบนั้น  หลักสูตรไหนที่มีความต้องการมากก็จะมีแนวโน้มที่ค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้นตาม  หรือแม้แต่ค่าตอบแทนของผู้สอนหรือการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากร ก็มีผลต่อค่าเล่าเรียนด้วยเช่นกัน   นอกจากนี้ก็ควรคาดเดาด้วยว่าหลักสูตรใดที่เป็นที่นิยมของนายจ้าง แล้วจะเห็นว่าค่าเล่าเรียนก็จะสูงเช่นกัน   Q:ข้อมูลทางการเงินแบบไหนที่มีความจำเป็นการในเรียนที่สหราชอาณาจักร? ในการขอทำวีซ่า จำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นหรือไม่ว่าสามารถที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายต่างๆได้? A:สำหรับผู้ที่จะขอเข้ามาสหราชอาณาจักร หรือผู้ที่ต้องการต่ออายุวีซ่านักเรียน  The UK Border Agency จะขอดูว่าคุณมีเงินจำนวนเท่าไหร่ในธนาคารของคุณ ก่อนที่จะได้รับการยินยอมให้ทำวีซ่า  ตัวเลขที่คุณต้องชี้แจงมาจากการรวมค่าใช้จ่าย 2 ประการ คือ หนึ่ง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเรียนหลักสูตรปีแรก  และสองคือจำนวนเงินที่ the UK Border Agency ต้องการจะดู โดยจำนวนเงินจะตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าคุณสามารถใช้เงินจำนวนเท่าใดถึงจะพอในการใช้ชีวิตอยู่ที่สหราชอาณาจักร (เรียกว่า maintenance ) จำนวนเงินรวมที่แสดงถึงค่าใช้จ่ายในปีแรกนั้น เป็นเงินทั้งหมดที่หักเงินที่จ่ายค่าเล่าเรียนแก่สถาบันการศึกษาออกไปแล้ว  ซึ่งตัวเลขจะต้องได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษาและเขียนลงไปในใบสมัคร ส่วนจำนวนเงินรวมที่แสดงในส่วนที่ใช้ในการคงสภาพ (maintenance) ตามที่ the UK Border Agency นั้น  จำนวนเงินขึ้นอยู่กับความยาวของหลักสูตร สถานที่ตั้งของสถานศึกษาและนักเรียนเคยมาเรียนที่สหราชอาณาจักรมาก่อนหรือไม่  ซึ่งตัวเลขในส่วนนี้จะมีความซับซ้อน ดังนั้น จึงควรเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ the UK Border Agency เกี่ยวกับตารางของจำนวนเงิน   Q:อะไรคือเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้การขอวีซ่าของเราถูกปฏิเสธ A:โดยทั่วไปแล้ว ก็คือ นักเรียนที่ไม่แสดงหลักฐานทางการเงินที่ถูกต้อง  พวกเขาจะมีจำนวนตัวเลขรวมที่ถูกต้อง แต่ว่ากลับไม่เขียนมาในรูปแบบหรือการรับรองอย่างถูกต้อง ซึ่งการแสดงหลักฐานนี้ไม่ได้ผลเสมอไป  เพราะบางครั้งนักเรียนก็เชื่อว่าถ้าพวกเขาแสดงหลักฐานทางการเงินจากญาติที่มีความร่ำรวยก็เพียงพอแล้ว  ซึ่งจึงๆแล้วไม่ใช่  ดังนั้น จึงจำเป็นมากในการดูว่าหลักฐานประเภทไหนที่เขารับรองและควรแสดงเฉพาะหลักฐานเหล่านั้นเท่านั้น   Q:ผู้ที่ต้องการยื่นวีซ่าในการเข้าสหราชอาณาจักร จำเป็นต้องผ่านการทดสอบทางภาษาอังกฤษหรือไม่? แล้วถ้าผู้ยื่นมาจากประเทศในเครือจักรภพที่พูดภาษาอังกฤษกันอยู่แล้วจะเป็นอย่างไร? A:ถ้าคุณผ่านการศึกษาขั้นต้นมาก่อนหรือคุณเป็นนักเรียนทุนของรัฐบาลที่เรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ  การทดสอบทางภาษาอังกฤษก็ไม่จำเป็นสำหรับคุณ นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่สามารถเข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักรโดยไม่ต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ  โดยต้องมาจากประเทศเหล่านี้ คือ Antigua and Barbuda Australia; The Bahamas; Barbados; Belize; Canada; Dominica; Grenada; Guyana; Jamaica; New Zealand; St Kitts and Nevis; St Lucia; St Vincent and the Grenadines; Trinidad and Tobago; United States of America และอย่างที่คุณเห็น ประเทศข้างต้นเหล่านี้ไม่ได้เป็นประเทศในเครือจักรภพทั้งหมด   แต่เป็นเพราะ the UK Border Agency เชื่อว่าประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่พูดภาษาอังกฤษกันแพร่หลาย ดังนั้นพวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ  แต่ถึงอย่างนั้นประเทศ South Africa ก็ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในรายชื่อนี้ ถ้าคุณมาจากประเทศที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ  คุณจำเป็นต้องมีผลการทดสอบทางภาษาอังกฤษ (ประมาณ 5 ของการทดสอบ IELTS)  อย่างไรก็ตาม สถาบันการศึกษาต่างๆ ก็อาจจะขอผลคะแนนของคุณที่สูงกว่านี้  ดังนั้นคุณควรสอบถามไปยังสถาบันที่คุณสนใจก่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้   Q:เป็นไปได้หรือไม่ที่จะออกจากสหราชอาณาจักรแล้วกลับมาก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ? แล้ววีซ่าสหราชอาณาจักรสามารถใช้ในการท่องเที่ยวไปที่อื่นๆในยุโรปได้หรือไม่? A:วีซ่านักเรียนจะอนุญาตให้คุณออกจากประเทศโดยไม่มีข้อกำหนด  แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณไปท่องเที่ยวแบบที่ไม่เกี่ยวข้องการกับการเรียนของคุณ  ก็อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสงสัยว่าคุณเข้ามาเรียนที่นั่นจริงๆหรือไม่   ซึ่งในกรณีนี้  คุณจะต้องขอการรับรองจากสถาบันการศึกษาของคุณด้วย  เพื่อแสดงว่าคุณเรียนอยู่ที่ใด   และนักเรียนจะต้องมั่นใจด้วยว่าคุณดูปฏิทินการศึกษาของคุณก่อนที่จะวางแผนท่องเที่ยวใดๆก็ตาม วีซ่าของสหราชอาณาจักร ไม่สามารถใช้ในการท่องเที่ยวรอบๆยุโรปได้  คุณจำเป็นต้องมี Schengen Visa  ซึ่งคุณสามารถทำได้ที่สถานทูตของประเทศที่คุณต้องการจะไป  โดยคุณเพียงนำวีซ่าสหราชอาณาจักรไปยื่นที่สถานทูตเพื่อยืนยันว่าคุณไม่ได้จะไปอยู่ที่ประเทศเหล่านั้น แต่เพียงแค่ไปท่องเที่ยวเท่านั้น   Q:มีการจำกัดจำนวนของนักเรียนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักรหรือไม่?  แล้วมันจะมีผลต่อกระบวนการรับสมัครหรือความเป็นไปได้ในการรับเข้าเรียนหรือไม่? A:ถึงแม้ว่าจุดประสงค์ของรัฐบาลจะไม่ได้เขียนออกมาในรูปของกฎหมาย  แต่พวกเราไม่เชื่อว่ามีการกำหนดจำนวนตายตัวในเรื่องนี้  มันเหมือนกับว่ารัฐบาลมองหาวิธีการลดจำนวนด้วยการทำให้การเข้ามามันยากขึ้นมากกว่า    เช่น พวกเขาลดจำนวนวิทยาลัยลง  ลดหลักสูตรที่นักเรียนต่างชาติสามารถเรียนได้  และเพิ่มผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษให้มากขึ้น เป็นต้น แต่ถ้าคุณเป็นนักเรียนที่มีความสามารถและมีความเก่งพอที่จะเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง  คุณก็ไม่มีอะไรที่ต้องกลัว   Q:ถ้าต้องการที่เปลี่ยนหลักสูตรหรือเปลี่ยนสถานศึกษาระหว่างเรียนในสหราชอาณาจักร จำเป็นต้องไปทำวีซ่าใหม่หรือไม่? A:ถ้าคุณมี Tier 4 visa หรือได้รับ Tier 4 visa หลังจากเดือนตุลาคมปี 2009  คุณสามารถที่จะเปลี่ยนหลักสูตรหรือสถาบันการศึกษาได้  โดยคุณจะต้องขอยื่นเรื่องการขอเข้าเมืองใหม่ที่ the UK Border Agency ในการขอเปลี่ยนสถานศึกษา  ซึ่งสามารถทำได้ที่นั่นเลยโดยไม่ต้องกลับมาประเทศไทย  แต่ว่าขั้นตอนในการเปลี่ยนนั้นจะค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น ในการขอเปลี่ยน คุณควรติดต่อไปที่หน่วยงาน University International Student Department ของมหาวิทยาลัยของคุณ หรือ บริษัทกฎหมายที่มีชื่อเสียงพอสมควร ในการจัดการในเรื่องนี้จะดีกว่า   Q:เราสามารถขอต่ออายุวีซ่าได้ทั้งหมดกี่ครั้ง? แล้วการต่ออายุครั้งใหม่จำเป็นต้องให้วันที่ที่ทำเหลื่อมทับกับวันที่เก่าหรือไม่  แล้วจะมีผลต่อสิทธิในการทำงานหรือเรียนในช่วงรอยต่อของเวลาหรือไม่? A:วีซ่านักเรียนสามารถต่ออายุได้ทั้งหมด 3 ครั้งสำหรับหลักสูตรต่ำกว่าปริญญาตรี  และไม่จำกัดสำหรับการเรียนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ถ้าคุณต้องการที่ต่อวีซ่าในสหราชอาณาจักรเลย คุณต้องทำก่อนที่วีซ่าเก่าจะหมดอายุ  เพื่อที่วีซ่าจะได้เสร็จทันในระหว่างช่วงรอยต่อ คุณจะได้สามารถเรียนหรือทำงานได้เหมือนเดิม แต่ถ้าคุณยื่นเรื่องช้า คุณก็ต้องหยุดทำงานในระหว่างที่วีซ่ากำลังต่ออายุ  แต่คุณยังสามารถเรียนได้ในระหว่างนั้น ควรยื่นใบขอต่ออายุให้ตรงกำหนดเวลา  เพราะไม่อย่างนั้น the UK Border Agency อาจจะปฏิเสธคำขอของคุณโดยไม่มีการให้ร้องขอ   Q:จะเป็นอย่างไรถ้าใบขอต่ออายุของเราถูกปฏิเสธ  หมายความว่าเราไม่สามารถเรียนต่อไปใช่หรือไม่? แล้วเป็นไปได้ไหมในการได้วีซ่าที่มีอายุครอบคลุมตลอดระยะเวลาการเรียนของเรา ไม่ใช่ต้องต่ออายุปีละครั้งแบบนี้? A:ถ้าคุณถูกปฏิเสธในการขอทำวีซ่าใหม่ แต่คุณก็ยังมีสิทธิในการทำเรื่องร้องขอ (ในกรณีที่คุณยื่นเรื่องก่อนที่จะหมดอายุ)   โดยเมื่อคุณทำเรื่องร้องขอแล้ว คุณก็จะสามารถทำงานหรือเรียนได้จนกระทั่งการร้องขอเสร็จสิ้น ตั้งแต่มีวีซ่าแบบ Tier 4 ขึ้นมานั้น The UK Border Agency ก็มีนโยบายในการอนุมัติวีซ่าที่มีอายุครอบคลุมตลอดหลักสูตร (รวมจำนวนเดือนเพิ่มเข้าไปด้วย ขึ้นอยู่กับความยาวและประเภทของหลักสูตร)   เพื่อลดปริมาณการยื่นใบขอวีซ่าที่มีหลากหลายแบบจนก่อให้เกิดความวุ่นวายออกไป   Q:มีข่าวลือว่า the Post Study Work Visa (PSW) ถูกปรับเปลี่ยน  แล้วจะมีผลต่อจำนวนเวลาสำหรับผู้เรียนจบในการทำงานหรือไม่?  แล้วราคาของวีซ่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่? A:ในช่วงที่เขียนบทความนี้  the Post Study Work Visa  ยังคงเหมือนเดิม  ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีการทบทวนระบบของวีซ่าประเภทนี้ก็ตาม  มันเหมือนกับวีซ่าอื่นๆ คือ the Post Study Work visa จะมีการเปลี่ยนแปลงทางราคาต่อไป  ทั้งๆที่มีการทบทวนเกิดขึ้น  The Post Study work visa อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือ ถูกยกเลิกไป   ซึ่งถ้ามันยังเป็นเช่นนั้น  ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนหรือลดปริมาณของเวลาในการทำงานของผู้ที่เรียนจบ    Q:สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ใด? A:เข้าไปที่เว็บไซต์ของ the UK Border Agency  Hateem Ali เป็นหัวหน้าของ the Specialist Student Team ที่ London-based immigration lawyers, Westkin Associates  โดย Hateem เป็นที่รู้จักในเรื่องของการวางมาตรฐานทางอุตสาหกรรมและให้คำแนะนำกับนักเรียนโดยทั่วไป    เขาสอนนักเรียนเกี่ยวกับ points-based system cases และ developments in Immigration Law http://www.hotcourses.in.th/study-in-the-uk/study-guides/visa-application-process/
เลือกเรียนอะไรในมหาวิทยาลัยไหน ถึงจะไม่ผิดหวัง สกอ.
เลือกเรียนอะไร..ในมหาวิทยาลัยไหน..ถึงจะไม่ผิดหวังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)               ขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งเตรียมดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1ปีการศึกษา2555โดยวิธีรับตรงซึ่งการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาและเปิดสอนหลักสูตรต่างๆเป็นอำนาจของสภาสถาบันและการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมจะเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง           การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาถือเป็นการจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชนดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการในฐานะองค์กรกำกับดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาประสงค์จะให้ประชาชนผู้รับบริการอุดมศึกษาได้รับการคุ้มครองจากรัฐสามารถรับบริการด้านการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานได้ตามกฎหมายนิสิตนักศึกษาได้รับการบริการจากสถาบันอุดมศึกษาอย่างครบถ้วนตามมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของกระทรวงศึกษาธิการ จึงขอให้ผู้ปกครองและนักเรียนตรวจสอบข้อมูลและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกเรียนในหลักสูตรหรือสถาบันใดดังนี้ ตรวจสอบหลักสูตรก่อนตัดสินใจที่ www.mua.go.th  เมนู 1. หลักสูตรทุกสาขาวิชาต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและผ่านการรับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา2. หลักสูตรทุกสาขาวิชาที่ต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องผ่านการรับรองจากองค์กรวิชาชีพนั้นๆ (ได้แก่แพทย์เภสัชกรรม,ทันตแพทย์,พยาบาล,สัตวแพทย์,เทคนิคการแพทย์,กายภาพบำบัด,ทนายความ,วิศวกร,สถาปนิก,ครูและบัญชี)  3. หลักสูตรที่จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันต้องผ่านการรับทราบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) 4. สถาบันอุดมศึกษาที่เลือกควรผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 5. สถาบันอุดมศึกษาที่เลือกควรผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)    การตรวจสอบการให้บริการของสถาบันอุดมศึกษา           1. ข้อมูลระบบการลงทะเบียนที่ถูกต้อง 2. รายชื่อและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่างๆจากเอกสารหลักสูตรที่ผ่านการรับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3. การให้บริการต่างๆตามสิทธิที่นิสิตนักศึกษาพึงจะได้รับตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายที่สถาบันอุดมศึกษาพึงปฏิบัติต่อนิสิตนักศึกษาพบปัญหาการจัดการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถแจ้งสภาสถาบันอุดมศึกษานั้นๆซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายในการกำกับมาตรฐานการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและหากมีความเสียหายเกิดขึ้นประชาชนผู้ได้รับความเสียหายสามารถดำเนินการเรียกร้องได้ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหมายเลขโทรศัพท์02-6105380,02-6105374, 02-6105378, 02-6105454, 02-6105379  หมายเลขโทรสาร 02-3545530, 02-3545491   ขอขอบคุณ มติชน 
ผุด7หลักสูตรพื้นฐานแก้เด็กเครียด
 "มศว"รับผิดชอบความคิดสร้างสรรค์-ช่วยค้นอาชีพ น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ให้แต่ละมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ. ในการวางกรอบหลักสูตรและช่วยกำหนดเนื้อหาบางส่วน เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ 3 ส่วนคือ 1.ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยได้เด็กนักเรียนในระดับ ม.ปลาย ที่มีความพร้อมมากขึ้น ตรงตามความต้องการ 2.เกิดประโยชน์กับนักเรียน เพราะกรอบหลักสูตรวางเพื่อเด็กที่อาจจะต้องออกไปสู่การทำงาน หรือเรียนต่อในระดับอนุปริญญา 3.เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพราะมีสถาบันอุดมศึกษาเข้ามาช่วย     "รมว.ศธ.ได้นัดประชุมกับมหาวิทยาลัย ได้ข้อสรุป กรอบหลักสูตร 7 กลุ่ม ดังนี้ 1.กรอบหลักสูตรด้านเกษตร ให้ ม.เกษตรศาสตร์รับผิดชอบ 2.กรอบหลักสูตรด้านอุตสาหกรรม ให้ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรับผิดชอบ 3.กรอบหลักสูตรบริหารจัดการ ให้ม.ธรรมศาสตร์รับผิดชอบ 4.กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ 5.กรอบหลักสูตรโภชนาการอาหาร อุตสาหกรรมอาหาร ให้ มรภ.สวนดุสิตรับผิดชอบ 6.กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐานและความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมให้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี รับผิดชอบ 7.กรอบหลักสูตรด้านความคิดสร้างสรรค์ ให้มศว และม.พะเยารับผิดชอบ"   น.พ.เฉลิมชัยกล่าวว่า กรอบหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์จะครอบคลุมความรู้ด้านนาฏศิลป์ ดนตรี การแสดง การออกแบบ แอนิเมชั่น โลกไซเบอร์ โดยเราจะชวนเพื่อนสถาบันอื่นๆ เข้ามาร่วมวางทิศทางกรอบหลักสูตรด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย เมื่อได้กรอบหลักสูตรแล้ว มศว จะทำเครื่องมือวัดแววนักเรียนชั้น ม.4 และวางเนื้อหาว่าหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ ในระดับ ม.4-ม.6 ต้องเรียนเรื่องใดบ้าง แบ่งระดับหน่วยกิตในแต่ละช่วงชั้นจำนวนเท่าใด โดยนักเรียนม.ปลายทุกคนก็ยังต้องเรียนวิชาต่างๆ ใน 8 กลุ่ม สาระเหมือนเดิม และในกรอบหลักสูตร 7 กลุ่มนี้ นักเรียน สามารถเปลี่ยนได้หากเรียนไปแล้วรู้ว่าไม่ใช่ตัวเอง เด็ก จะไม่เครียด กรอบหลักสูตรนี้จะทำให้เด็กค้นหาตัวเอง เพื่อเข้าสู่วิชาชีพในอนาคตได้ดีมากขึ้น ภาพประกอบข่าวจากอินเตอร์เน็ท ขอขอบคุณ ข่าวสด
นายกฯมอบคำขวัญวันเด็ก ปี2555
         นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็ก เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555            สำนักงานโฆษกรัฐบาลแจ้งว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันเด็ก เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555ดังนี้           “สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”  
2012 World University Web Ranking
2012 World University Web Ranking Top 100 Universities and Colleges in North America  http://www.4icu.org/topNorth-America/ 1  Massachusetts Institute of Technology United States 2  Stanford University United States 3  Harvard University United States 4  University of California, Berkeley United States 5  The University of Texas at Austin United States 6  Cornell University United States 7  University of Michigan United States 8  University of Pennsylvania United States 9  University of Washington United States 10  Penn State University United States 11  Columbia University in the City of New York United States 12  University of Wisconsin-Madison United States 13  University of Minnesota United States 14  University of California, Los Angeles United States 15  Yale University United States 16  Purdue University United States 17  Carnegie Mellon University United States 18  New York University United States 19  University of Virginia United States 20  Rutgers, The State University of New Jersey United States 21  Indiana University United States 22  University of Florida United States 23  Michigan State University United States 24  University of Arizona United States 25  University of Southern California United States 26  Princeton University United States 27  University of California, San Diego United States 28  University of North Carolina at Chapel Hill United States 29  University of Maryland United States 30  University of Chicago United States 31  California Institute of Technology United States 32  University of Toronto Canada 33  Duke University United States 34  Texas A&M University United States 35  Virginia Polytechnic Institute and State University United States 36  University of California, Davis United States 37  Arizona State University United States 38  The Ohio State University United States 39  The University of British Columbia Canada 40  University of Illinois at Urbana-Champaign United States 41  Johns Hopkins University United States 42  University of Colorado at Boulder United States 43  North Carolina State University United States 44  University of California, Irvine United States 45  CUNY System United States 46  Washington University in St. Louis United States 47  Northwestern University United States 48  University of Pittsburgh United States 49  Georgia Institute of Technology United States 50  University of Georgia United States 51  University of California, Santa Barbara United States 52  Boston University United States 53  University of Iowa United States 54  Iowa State University of Science and Technology United States 55  Brigham Young University United States 56  University of Utah United States 57  Florida State University United States 58  University of Hawaii System United States 59  McGill University Canada 60  Washington State University United States 61  University of South Florida United States 62  Georgetown University United States 63  Rice University United States 64  Dartmouth College United States 65  Brown University United States 66  University of California, Santa Cruz United States 67  University of Oregon United States 68  University of Alberta Canada 69  University of California, Riverside United States 70  Colorado State University United States 71  Simon Fraser University Canada 72  University of Nebraska-Lincoln United States 73  University at Buffalo, State University of New York United States 74  University of Calgary Canada 75  Vanderbilt University United States 76  The University of Tennessee United States 77  York University Canada 78  University of Missouri United States 79  San Francisco State University United States 80  University of Massachusetts Amherst United States 81  George Mason University United States 82  University of California, San Francisco United States 83  Tufts University United States 84  University of Victoria Canada 85  University of Waterloo Canada 86  Oregon State University United States 87  Rensselaer Polytechnic Institute United States 88  University of Kentucky United States 89  Emory University United States 90  San Diego State University United States 91  University of Illinois at Chicago United States 92  University of Houston United States 93  University of Delaware United States 94  University of Kansas United States 95  George Washington University United States 96  Syracuse University United States 97  Queen's University Canada 98  Louisiana State University United States 99  University of Miami United States 100  Utah State University United States  
<< 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา