หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
10 อันดับเมืองยอดเยี่ยมสำหรับนักเรียนต่างชาติ
    10 อันดับเมืองยอดเยี่ยมสำหรับนักเรียนต่างชาติ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยของคุณถือว่ามีความสำคัญพอๆกับคุณภาพของการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นมอบให้ จากผลสำรวจจากนักเรียนต่างชาติพบว่าสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย มีความสำคัญเป็นอันดับสองต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของพวกเขา ในวันนี้ฮอทคอร์สจะมาเล่าถึงเรื่องนี้ให้ฟังกันค่ะ ว่า QS Best Student Cities ได้ทำการจัดอันดับเมืองที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกสำหรับนักเรียนไว้ว่าอย่างไรบ้าง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกนั้นมีมานานแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสนใจไปที่มาตรฐานการศึกษามากกว่า โดยการจัดอันดับจะมีการวัดค่าอย่างระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสอนและผลงานวิจัยต่างๆที่นักเรียนต่างชาติสนใจ อย่างไรก็ตาม ความต้องการของนักเรียนต่างชาติก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงภาพใหญ่ของการศึกษาด้วย คือ ถึงแม้พวกเขาต้องการการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกแต่พวกเขาก็ต้องการประสบการณ์ที่ดีด้วยเช่นกัน ทั้งประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ชีวิตและจากสาธารณูปโภคที่มหาวิทยาลัยต่างๆเหล่านั้นมอบให้ ดังนั้นการสำรวจเมืองยอดเยี่ยมสำหรับนักเรียนนั้น จึงได้ผลออกมาว่ายุโรปมีคุณภาพในการใช้ชีวิตและสาธารณูปโภคที่ดีกว่าอเมริกา ด้วยค่าเล่าเรียนที่เฉลี่ยอยู่ต่ำกว่าอเมริกาถึง 1000 ดอลล่าร์ต่อปี ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยในยุโรปนั้นได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top20 ของมหาวิทยาลัยโลกเพียงแค่ไม่กี่แห่งเท่านั้น สถานที่แรกที่เอาชนะลอนดอนและเมืองอื่นๆในออสเตรเลียมาได้นั้นคือ ปารีส โดยปารีสได้รับเลือกจากนักเรียนต่างชาติมากมายว่ามีค่าเล่าเรียนที่สมเหตุสมผลและมีการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย ถึงแม้ลอนดอนจะมีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกมากกว่าปารีส แต่ลอนดอนก็ยังถือว่ามีค่าครองชีพที่สูงกว่าปารีสมากนัก นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการสมัครของนักเรียนด้วยก็คือ การได้งานทำหลังจากจบการศึกษานั่นเอง มาดูกันค่ะ ว่าเมืองยอดเยี่ยม 10 อันดับสำหรับนักเรียนนั้น มีอะไรบ้าง อันดับ 1 : ปารีส ปารีสตั้งอยู่ใจกลางของทวีปยุโรป และได้รับการจัดอันดับอยู่เสมอว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่มากที่สุดในยุโรป ปารีสยังเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์, วัฒนธรรมและเต็มไปด้วยความทิวทัศน์ที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อีกทั้งยังได้รับคะแนนสูงในเรื่องการวัดคุณภาพชีวิตของผู้คนที่นี่อีกด้วย จึงเหมาะมากที่คุณจะมาเรียนที่นี่! นอกจากนี้ปารีสยังมีค่าครองชีพที่ถูก และยังเป็นเมืองที่นักเรียนจบใหม่สามารถสร้างสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือพบเจอนายจ้างจากทุกประเทศทั่วทั้งยุโรปได้ง่ายดายอีกด้วย อันดับ 2 : ลอนดอน ลอนดอนเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของโลก เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้มีใจรักในสื่อแขนงต่างๆและศิลปะ อย่างไรก็ตามความสนุกสนานเหล่านี้ก็ย่อมมาพร้อมราคาที่หรูหราด้วย นอกจากนี้ลอนดอนยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก ทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งความหวังสำหรับนักเรียนจบใหม่ที่ต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ๆอีกด้วย มหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ King's College London (KCL) University of Greenwich Brunel University อันดับ 3 : บอสตัน บอสตัน ภาคภูมิใจในความเป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของอเมริกาเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในเรื่องพื้นที่สีเขียวและความสวยงามของธรรมชาติในฤดูใบไม้ร่วงตามแบบฉบับของนิวอิงแลนด์ด้วย โดยข้อเสียของที่นี่ก็คือค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วที่นี่จะมีการช่วยเหลือหรือเงินสนับสนุนมากมาย ทำให้นักเรียนจำนวนมากจ่ายค่าเล่าเรียนน้อยกว่าปกติ ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีนักเรียนจากทั่วโลกมาเรียนที่นี่มากกว่า 250,000 คนเลยทีเดียว มหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ University of Massachussets – Boston อันดับ 4 : เมลเบิร์น เมลเบิร์น เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย และเมื่อเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศด้วย นักเรียนที่มาเรียนที่นี่จะได้ทำสิ่งต่างๆมากมาย ทั้งสำรวจบาร์ชั้นยอดที่ซ่อนตัวอยู่ในที่ที่มีแต่คนท้องถิ่นรู้, ได้นั่งที่ร้านคาเฟ่กลางแจ้งตามท้องถนน, ได้ทานอาหารที่เป็นอันดับต้นๆของเมือง หรือแม้แต่เข้าไปดูการแสดงดีๆในโรงละครของเมือง เมลเบิร์นถือว่าเป็นเมืองที่มีทุกสิ่งอย่างที่น่าถวิลหาของนักเรียนอยู่รอบตัว มหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ CQ University Australia อันดับ 5 : เวียนนา เวียนนามักจะได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก และยังเป็นเมืองที่มีค่าเล่าเรียนถูกที่สุดสำหรับนักเรียนต่างชาติอีกด้วย โดยเวียนนาเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและ Stadtsoper and Volksoper แกลอรี่ และมีระบบคมนาคมที่เป็นเยี่ยม ด้วยความที่นักเรียนที่นี่มีความหลากหลายและเป็นเมืองที่ได้รับการจัดอันดับต้นๆของโลก จึงทำให้เวียนนาเป็นเมืองอันดับสองของยุโรปที่เป็นเมืองยอดเยี่ยมสำหรับนักเรียนต่างชาติ อันดับ 6 : ซิดนีย์ เมืองศูนย์กลางของเศรษฐกิจและการเงินของออสเตรเลียอย่างซิดนีย์ ได้รับรางวัลในฐานะเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกหลายครั้ง และยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความงดงามและถูกใจสำหรับนักเรียนจากทุกระดับและทุกแขนงสาขาวิชาด้วย และด้วยความสวยงามของ Sydney Harbour, Opera house, สวนที่สวยงามและชายหาดที่งดงาม ทำให้ที่นี้สามารถดึงดูดนักเรียนต่างชาติมากมายทุกปี มหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ The University of Sydney University of New South Wales อันดับ 7: ซูริค ซูริคเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรป และมีชื่อเสียงในเรื่องตลาดการเงินที่กระจายไปทั่วโลกผ่านบริษัทของพวกเขา และด้วยความมั่งคั่งนี้ จึงทำให้นักเรียนต่างชาติปลอดภัยและมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามค่าครองชีพที่นี่ก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน อันดับ 8 : เบอร์ลิน เบอร์ลินได้ตั้งตัวเองว่าเป็นเมืองที่เจ๋งที่สุดในโลก ด้วยวัฒนธรรมที่สวยงาม, ศูนย์กลางทางการออกแบบ, แฟชั่น, ดนตรี และศิลปะที่เป็นคู่แข่งของนิวยอร์กและลอนดอนอย่างสูสี นอกจากนี้เบอร์ลินยังเป็นเมืองที่ค่าเล่าเรียนไม่แพงมาก ทั้งๆที่เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางการเงินของโลกสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในบริษัทต่างๆ เบอร์ลินเป็นเมืองที่มีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนต่างชาติและหลักสูตรปกติเข้าไว้ด้วยกัน ในค่าเล่าเรียน เพียง 1,000-2,000 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น อันดับ 8 : ดับลิน ดับลิน มีทั้งบาร์ที่สวยงามหรูหรา, ร้านอาหารและร้านบูติกที่แปลกตา รายล้อมไปด้วยประวัติศาสตร์ที่หลากหลายและชาวเมืองที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตร ทำให้ที่นี่ดึงดูดนักเรียนต่างชาติมานานนับสิบปี ในฐานะที่เป็นนักเรียนต่างชาติในดับลินนั้น คุณจะได้รับโอกาสในการฟังเพลงแบบไอริส, ได้ฟังเรื่องราวและตำนานมากมาย, ได้ทานอาหารที่เต็มไปด้วยไมตรีจิต, ได้รู้จักวัฒนธรรมแบบ Gaelic และเพลิดเพลินไปกับธรรมชาติสีเขียวและทิวทัศน์ที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ European College of Management in Ireland University of Limerick อันดับ 10 : มอนทรีออล มอนทรีออลได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของแคนาดา และเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมลูกผสมอย่างชัดเจน ที่เมืองนี้มีเทศกาลมากมาย ทั้ง the Montreal International Jazz Festival และ the world's largest comedy festival นอกจากนี้มอลทรีออลยังเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับนักเรียนต่างชาติที่รักการผจญภัยมากมาย อะไรคือสิ่งที่นักเรียนต่างชาติต้องการอย่างแท้จริง? ทั้งๆที่ความจริงแล้วมหาวิทยาลัยใน 10 อันดับเมืองยอดเยี่ยมที่กล่าวมานั้น จะเป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอยู่ในการจัดอันดับ world university rankings เพียงแค่ไม่กี่แห่ง แต่ผลสำรวจล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่มีผลอย่างยิ่งต่อการเลือกของนักเรียนก็คือ คุณภาพชีวิต, งานที่คาดหวัง และความหลากหลายของนักเรียน เห็นได้ว่าพวกเขาไม่ได้สนใจแต่เรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น! สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษากับประสบการณ์การทำงาน เป็นหนึ่งในปัจจัยอันดับ 1 ที่มีผลต่อการรับเข้าทำงานและการจ้างงานของบริษัทต่างๆ จึงทำให้นักเรียนชาวต่างชาติต้องกระตือรือร้นมากขึ้น ทั้งการพยายามหาประสบการณ์การใช้ชีวิต และการเลือกสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ การสร้างสมดุลของสถาบันการศึกษา การเมืองและธุรกิจของประเทศต่างๆที่เติบโตขึ้น ได้เพิ่มความสำคัญให้กับการเลือกเมืองของนักเรียนชาวต่างชาติ ในการเลือกเมืองที่มีเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ดี ในขณะที่มหาวิทยาลัยเองก็มุ่งเน้นไปที่ความต้องการชาวต่างชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยและนักเรียนเองก็มองไปที่ความสดใหม่ของนักเรียนที่มีความสามารถ ว่าจะมาสร้างความเจริญให้กับประเทศของพวกเขาได้อย่างไร ท่ามกลางการถกเถียงเหล่านี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการย้ายเข้าเมืองและการทำวีซ่านักเรียนในแต่ละประเทศ และกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกเรียนต่อไป http://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/study-guides/best-student-cities/    
มหาวิทยาลัยของ AUS แข็งแกร่งขึ้นด้วยงานวิจัย
    มหาวิทยาลัยของออสเตรเลีย แข็งแกร่งขึ้นด้วยงานวิจัย เมื่อปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยของออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นว่างานวิจัยต่างๆนั้นส่งผลดีต่อลำดับของมหาวิทยาลัยออสเตรเลียในระดับโลก เห็นได้จากมหาวิทยาลัยต่างๆและองค์กรที่เกี่ยวกับการวิจัยของออสเตรเลีย สามารถสร้างเงินได้ถึง 1.3 พันล้านเหรียญ AUS หรือประมาณ 1.38 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากการนวัตกรรมที่เกิดจากการวิจัยในปี 2010 แล้วคุณที่เป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ได้อย่างไร? ในวันนี้ฮอทคอร์สจะมาอธิบายถึงเรื่องนี้ให้ฟังกันค่ะ เป็นที่น่าทึ่งว่าผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆในออสเตรเลียนั้น ได้รับการจัดอันดับว่าทำเงินถึง 2 ใน 3 ของรายได้ที่มาจากนวัตกรรมจากงานวิจัยทั้งหมดของประเทศในปี 2010 โดยเงินเหล่านี้มาจากสัญญา, บริษัทที่ปรึกษา และ ข้อตกลงต่างๆที่เกิดขึ้น ความแข็งแกร่งของการวิจัยที่เกิดขึ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยของออสเตรเลียกลายเป็นที่สนใจจากนักเรียนทั่วโลก โดยจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย การที่ University of Melbourne ได้อันดับที่ 25 ของโลกและ University of Sydney ได้อันดับที่ 35 ของโลก ก็ทำให้จุดหมายเดิมสำหรับนักวิจัยจากทั่วโลก เช่น อเมริกาและอังกฤษ กำลังมีแนวโน้มเปลี่ยนมาเป็นที่ออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่จำกัดเฉพาะผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยที่มีประสบการณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่เริ่มต้นทำวิจัย, และนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกจากทุกสาขาวิชาและทุกแขนง ที่ต้องการประสบการณ์ที่มีค่าและต้องเพิ่มพูนคุณสมบัติของตนเองสำหรับอาชีพในอนาคตด้วย การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในออสเตรเลียนี้ ไม่ได้เพียงแค่ทำให้คุณได้รับจุดเริ่มต้นที่ดีและมีความก้าวหน้าในอนาคตเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าคุณมีความเป็นทีมเวิร์คและมีความตั้งใจจริงอีกด้วย ดังนั้น ทำอย่างไรคุณถึงจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยนี้ได้? โดยทั่วไปแล้ว มหาวิทยาลัยต่างๆ จะมีกลุ่มที่ทำงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเองและจากบริษัทที่ปรึกษาต่างๆอยู่แล้ว และพวกเขาก็มีหัวข้อในการวิจัยที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณก็สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาได้ถ้าคุณทำงานหนักมากพอ โดยการทำดังนี้ 1. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมว่ากลุ่มวิจัยเหล่านั้นทำอะไร : โดยเข้าไปอ่านจากเว็บไซต์ของคณะ เพราะที่นั่นจะมีชื่อและงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ 2. ถ้าคุณรู้จักว่างานวิจัยของพวกเขาคืองานชิ้นไหน ให้อ่านงานเหล่านั้นอย่างตั้งใจและดูว่าวิธีการหรือแบบแผนของพวกเขาเป็นอย่างไร คุณอาจจะอ่านงานเหล่านั้นผ่านวารสารของมหาวิทยาลัย หรือผ่าน Google Scholar 3. ส่งอีเมล์ไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาของงานวิจัยนั้นๆและไปพบกับเขาโดยตรง เพราะการติดต่อกับอาจารย์ที่เป็นผู้ดูแลนั้น จะทำให้คุณสามารถขอเข้าร่วมงานวิจัยนั้นๆได้ โดยส่งอีเมล์ที่แสดงถึงความต้องการของคุณอย่างชัดเจนว่าต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีม พร้อมแนบ CV ของคุณไปด้วย หรือไม่ก็พยายามไปพบกับเขาโดยตรงไม่ว่ามันจะน่ากลัวแค่ไหนก็ตาม 4. เช่นเดียวกับการสมัครงาน คุณจำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงความสนใจทั้งต่องานวิจัยและและต่อเรื่องการเรียนของคุณเอง เพราะคุณจะต้องทำงานวิจัยไปพร้อมๆกับการเรียนที่มากมายล้นมือ ดังนั้น คุณจำเป็นต้องแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณสามารถจัดการกับมันได้ 5. คุณสามารถมองหาการเข้ารับฝึกงานตามบริษัทต่างๆก็ได้เช่นกัน : นี่ถือว่าเป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับผู้ที่สนใจที่จะทำงานด้านวิจัยทันทีหลังจากจบจากมหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตาม GPA, ประสบการณ์การทำงาน และคนที่คุณรู้จักนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากในการที่จะเข้าทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการวิจัย 6. ถ้าคุณยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย คุณสามารถเข้าไปขอคำแนะนำจาก the career services ในมหาวิทยาลัยของคุณได้ เพราะที่นี่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขอคำแนะนำ http://www.hotcourses.in.th/study-in-australia/study-options/research-strengthens-australian-universities/  
US ต้องการนักเรียนต่างชาติที่มีความสามารถสูง
    US ต้องการนักเรียนต่างชาติที่มีความสามารถสูง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิรูปการเข้าเมืองอย่างครอบคลุม ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ได้ประกาศการสนับสนุนในเรื่องของการออกกฎหมายที่จะดึงดูดนักเรียนต่างชาติ ให้เข้ามาทำงานและสร้างการแข่งขันอย่างเสรีในอเมริกา โดยเฉพาะกับนักเรียนที่จบจากสาขา STEM (science, technology, engineering และ mathematics) ในวันนี้ฮอทคอร์สจะมาให้รายละเอียดในเรื่องนี้ค่ะ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงกฎของการออกวีซ่าแบบ F-1 และ H-1B ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับคนทำงานชาวต่างชาติ จึงทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนต่างชาติและผู้ทำงานที่มีความสามารถสูง โดยหนึ่งในจุดประสงค์หลักก็คือต้องการขยายระยะเวลาเป็น 17 เดือน ในการฝึกงาน (optional practical training หรือ OPT) สำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนแบบ F-1 รวมทั้งนักเรียนที่เรียนในสาขา STEM ด้วย จากเดิมมาตรฐานธรรมดา คือ 12 เดือน การเปลี่ยนแปลงนี้ยังรวมถึงการอนุญาตให้คู่สมรสของนักเรียนที่ถือวีซ่า F-1 สามารถเข้าเรียนในหลักสูตรนอกเวลาด้วย จากเดิมที่สามารถเข้าเรียนในหลักสูตรช่วงวันหยุดเท่านั้น นอกจากนี้ The Department of Homeland Security (DHS) ยังได้มองหาการเพิ่มจำนวนของ Designated School Officials (DSOs) ตามโรงเรียนที่ได้รับการรับรอง เพื่อรับสมัครนักเรียนต่างชาติและสนับสนุนเด็กเหล่านี้ผ่านโครงการแลกเปลี่ยน the Student and Exchange Visitor Information System (SEVIS) ด้วย และจากการสนับสนุนของ the Department of Homeland Security (DHS) นี้ จุดประสงค์ก็เพื่อพัฒนาการแข่งขันของบริษัทในอเมริกาในตลาดโลก และกระตุ้นการสร้างงานในอเมริกาอีกด้วย United States Citizenship and Immigration Services (USCIS) ได้ประกาศการเริ่มออกกฎหมาย Entrepreneurs in Residence กับ Information Summit in Silicon Valley, California ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ในปีนี้ (2555) เพื่อแสดงความเห็นและอภิปรายถึงวิธีการเพิ่มศักยภาพในการเพิ่มการย้ายเข้าของชาวต่างชาติให้ถึงขีดสุด เพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีความสามารถ http://www.hotcourses.in.th/study-in-usa/latest-news/highly-skilled-foreign-students-wanted-in-the-us/  
เรียนทางไกล ดีหรือไม่
    การเรียนทางไกล ใช่สำหรับคุณหรือไม่? “การเรียนทางไกล เปรียบเสมือนยิ่งกว่าเจ้าหญิงของวงการการศึกษา” Della Bradshaw, Business Education editor at Financial Times ทั้งๆที่การเพิ่มขึ้นของการความนิยมในการเรียนออนไลน์มีมากขึ้น แต่การเรียนลักษณะนี้ก็ยังคงถูกมองอย่างมีอคติและมักจะมีคำเตือนเกี่ยวกับการเรียนระบบนี้เสมอ ในวันนี้ฮอทคอร์สจะมาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงหันมานิยมการเรียนออนไลน์มากขึ้น และปล่อยวางอคติที่เคยมีกับการเรียนแบบนี้ไปจนหมดได้อย่างไร การศึกษาออนไลน์เป็นผลที่เกิดจากโลกดิจิตอลที่พวกเรากำลังอยู่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีภาพและเสียงถูกใช้ในห้องเรียน อีกทั้งอุปกรณ์อย่างโซเชี่ยลเนตเวิร์คก็ถูกสร้างขึ้นสำหรับหลักสูตรออนไลน์มากมาย เพื่อเป็นสร้างการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนและการสอนของอาจารย์ผู้สอน การเรียนทางไกลมีข้อดีอยู่หลายประการ เช่น อย่างแรก ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทั่วไป ซึ่งนี่เป็นคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของการเรียนในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ นอกจากนี้การเรียนแบบที่ไม่ต้องเข้าชั้นเรียนยังทำให้คุณสามารถเรียนไปด้วย ทำงานไปด้วยได้ หรือแม้ถ้าคุณยังไม่ได้ทำงาน การมีเวลาว่างในวันธรรมดาก็ยังเป็นโอกาสที่ดีในการมองหาประสบการณ์การฝึกงานได้อีกด้วย การเรียนทางไกลยังสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่สามารถที่จะย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่นได้ ซึ่งเป็นทั้งการประหยัดเวลาและประหยัดเงินไปได้มาก และข้อดีถัดมาก็คือ นักเรียนแต่ละคนสามารถเข้าถึงความรู้หรือสาธาณูปโภคหรือสิ่งต่างๆที่สถาบันการศึกษามีให้ ได้เหมือนกันและอย่างเท่าเทียมกัน มากกว่านักเรียนที่เรียนในโรงเรียนและกลายเป็นเพียงศิษย์เก่าหลังจากเรียนจบจากสถาบันนั้นๆ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงมีปัญหามากมายที่ยังคงเกิดขึ้น อย่างเช่น ปริญญาที่ได้จะได้รับการยอมรับจากนายจ้างหรือไม่? การศึกษาแบบนี้มีคุณภาพเท่ากับการเรียนในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนหรือไม่? แล้วหลักสูตรการเรียนออนไลน์ที่ไหนที่มีชื่อเสียงหรือได้รับการยอมรับ? มีที่ว่างหรือห้องสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์หรือการมีปฏิสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างนักเรียนหรือไม่? Roy Cohen, a career coach in New York คิดว่ามาตรฐานของการคัดเลือกและรับสมัครนักศึกษาของการเรียนทางไกลนั้น มักจะมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการเรียนแบบทั่วไป ที่เป็นแบบเต็มเวลาและนอกเวลา เขาเชื่อว่า การเรียน MBA ออนไลน์นั้นไม่มีคุณค่าที่สามารถวัดค่าได้จริงๆ ทั้งเรื่องการหางานทำและการจัดการทางอาชีพ ความคิดเห็นของเขาเห็นได้รับการสนับสนุนชัดจากผลสำรวจล่าสุดจากนักจัดการทรัพยากรมนุษย์ พบว่า 34% ของผู้ทำงาน 450 คน กล่าวว่าเขามองว่าผู้ที่จบการศึกษาแบบออนไลน์มีค่าเท่ากับผู้ที่จบจากหลักสูตรธรรมดา มี 55% ไม่คิดว่าคนที่จบการศึกษาออนไลน์จะมีประสบการณ์การทำงานเท่ากับผู้สมัครที่จบจากหลักสูตรธรรมดา และมี 15% คิดว่าผู้ที่จบแบบออนไลน์เหมาะสมกับตำแหน่งระดับสูง ณ จุดนี้ ก็จะมองเห็นได้ว่าการเรียนแบบออนไลน์นั้นเป็นเรื่องดี ก็ต่อเมื่อคุณวางแผนที่จะยังคงทำงานในสายงานเดิมต่อไป เพราะเป็นสิ่งที่ดีถ้าคุณต้องการที่จะพัฒนาความรู้และทักษะ เพื่อการก้าวหน้าในตำแหน่งของคุณ แต่ไม่ว่าผู้ที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยจะคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ แต่ความจริงก็คือ “โดยเฉลี่ยแล้ว นักเรียนที่เรียนหลักสูตรออนไลน์ มีคุณภาพหรือศักยภาพที่ดีกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบตัวต่อตัว” นี่เป็นบทสรุปของการเรียนที่ US Department of Education แสดงให้เห็นว่า นักเรียนจะมีศักยภาพได้นั้น ต้องด้วยการยืนด้วยลำแข้งของตัวเองมากกว่า ถึงแม้การเรียนทางไกลสร้างความสงสัยให้เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ไม่ต้องสงสัยว่านี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการศึกษาที่ยอดเยี่ยมในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ และเหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะก้าวหน้าในอาชีพหรือตำแหน่งของตนเอง http://www.hotcourses.in.th/study-in-usa/study-options/advantages-distance-learning/  
The New iPad เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว
The New iPad เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว The New iPad - รายงานข่าวล่าสุดได้จบลงไปแล้วสำหรับงานแถลงข่าวการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ล่าสุดของ Apple ซึ่งตกเป็นข่าวลือมากมายตลอดมา นั่นก็คือ The New iPad ซึ่งงานนี้ผิดคาดอีกเช่นเคย นั้นคือมันไม่ได้ชื่อว่า iPad 3 หรือ iPad HD แต่กลับเปิดตัวด้วยชื่อ The New iPad พร้อมทั้งเปิดเผยถึงกำหนดการวางตลาด ซึ่งจะเป็นวันที่ 16 มีนาคม (ทั่วโลกจะเป็น 23 มีนาคม) โดยราคาของ The New iPad อยู่ที่ ภาพประกอบราคาเปรียบเทียบกันระหว่าง The New iPad กับ iPad 2 จุดเด่นที่เพิ่มเติมเข้ามาใน The new iPad พอสรุปได้คราวๆ ดังนี้ จอแสดงผลรุ่นใหม่ที่มีความละเอียดสูงถึง 2048 x 1536 พิกเซล Retina Display ประมวลผลการทำงานด้วย Dual-Core Cortex-A9 Processor (ชิปเซ็ต Apple A5X ความเร็วในการประมวลผล 1 GHz พร้อมระบบปฏิบัติการ iOS 5 กล้องดิจิตอลตัวหลักที่ด้านหลังของตัวเครื่อง ความละเอียดระดับ 5 ล้าน Pixels (iSight Camera : 2592x1944 Pixels), ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ, ถ่ายภาพวิดีโอ (Full HD : 1080p : 1920x1080 Pixels : 30 fps) 4G LTE และ Personal Hotspot สำหรับ iPad รุ่นใหม่ทีเปิดตัวออกมานี้ โดยรวมไม่น่าตื่นเต้น หรือแอบผิดหวังเล็กน้อย เพราะไม่ได้มีอะไรใหม่มากนัก กั๊ก ดีไซน์ยังคล้าย iPad 2 มาก เพียงแต่หนากว่าเล็กน้อยเท่านั้น ขนาด 241.2x185.7x9.4 มิลลิเมตร น้ำหนัก 662 กรัม   ส่วนสเปกอย่างเป็นทางการ สามารถติดตามอ่านได้จาก Live Blog: รายงานสด Apple’s Next iPad Event เปรียบเทียบสเปค New iPad และ iPad 2 ดีขึ้นอย่างไรต้องไปติดตาม! http://hitech.sanook.com/947824/ipad-เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว/  
Apple จะอัพเกรด iPad3 (ไอแพด 3) ด้วยอะไรบ้าง
Apple จะอัพเกรด iPad3 (ไอแพด 3) ด้วยอะไรบ้าง...มาพนันกับ TechXcite ดูไหมละ! iPad3 (ไอแพด 3) - อัพเดทข่าวล่าสุดกับ ป๋าเอก TechXcite วันนี้เรามีอัตราต่อรองล่าสุดของ iPad3 (ไอแพด 3) จากร้านรับพนันถูกกฏหมาย SkyBet ที่ประเทศอังกฤษมาให้ชมกันครับสำหรับหลายคนที่กำลังสงสัยกันอยู่ว่า iPad3 (ไอแพด 3) จาก Apple จะมาพร้อมกับคุณสมบัติใหม่ๆอะไรกันบ้าง ซึ่งหากพิจารณาจากอัตราต่อรอง iPad3 (ไอแพด 3) ของ SkyBet นี้แล้วน่าจะพอทำให้หลายคนเห็นภาพได้คร่าวๆว่าทางฝั่งเมืองนอกเขากะเก็งกันว่า iPad3 (ไอแพด 3) จะมีอะไรใหม่ๆให้สาวก Apple ได้อึ้งทึ่งเสียวกันบ้าง แต่ขอบอกก่อนนะครับว่างานนี้ TechXcite ไม่ได้สนับสนุนการพนันแต่อย่างใด (ไม่เชื่อมาพนันกับเราดูมั้ยละ!) แล้วเดี๋ยวเราไปรอลุ้นกันว่า iPad3 (ไอแพด 3) ของจริงจะเป็นอย่างไรกันแน่ในวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 7 มีนาคม 2555 นี้เลยครับ! อัตราต่อรองล่าสุด iPad 3 จาก SkyBet iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับหน้าจอ Retina Display - 1/8 (แทง 8 ได้ 1 ไม่รวมทุน) iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับหน้าจอ Retina Display - 9/2 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับหน้าจอ AMOLED ผลิตโดย Samsung - 8/1 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับหน้าจอ AMOLED ผลิตโดย Samsung - 1/25 iPad3 (ไอแพด 3) จะใช้ชื่อเมื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการว่า iPad 2S - 1/8 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้ใช้ชื่อเมื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการว่า iPad 2S - 9/2 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับรุ่นรองรับ 4G LTE - 5/4 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับรุ่นรองรับ 4G LTE - 5/4 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับชิป NFC - 4/1 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับชิป NFC - 1/7 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับรุ่นความจุ 128GB - 6/1 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับรุ่นความจุ 128GB - 1/12 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับพอร์ต Thunderbolt - 5/1 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับพอร์ต Thunderbolt - 1/9 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับสล็อต SD Card - 12/1 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับสล็อต SD Card - 1/50 iPad3 (ไอแพด 3) จะมาพร้อมกับฝาหลังผลิตจาก Carbon Fibre - 6/5 iPad3 (ไอแพด 3) จะไม่ได้มาพร้อมกับฝาหลังผลิตจาก Carbon Fibre - 8/13 ที่มา: 9to5mac ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ บทความโดย: ป๋าเอก TechXcite  
Jailbreak iPhone 4S, iPad 2 ด้วยโปรแกรม Absinthe และตัวคุณเอง
iPhone 4S - 5 ขั้นตอน Jailbreak iPhone 4S, iPad 2 ด้วยโปรแกรม Absinthe และตัวคุณเอง! iPhone 4S - อัพเดทข่าวล่าสุดกับ ป๋าเอก TechXcite ต้อนรับช่วงตรุษจีนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยข่าวดีของสาวก Apple สายมืดอย่างที่หลายท่านพอจะทราบกันมาบ้างแล้วว่าในที่สุดทั้ง iPhone 4S และ iPad 2 ก็สามารถ Untethered Jailbreak ด้วยเครื่องมือตัวใหม่ Greenpois0n Absinthe A5 อันเป็นผลงานความร่วมมือกันของ iPhone Dev Team และ pod2g ได้เป็นผลสำเร็จแล้วหลังจากรอคอยกันมาร่วมๆปีเห็นจะได้ อย่างไรก็ตามสำหรับแฟนๆ TechXcite ที่กำลังงงๆกับการ Jailbreak iPhone 4S และ iPad 2 ว่ามันจะต้องทำอะไรยังไงบ้างไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อนก็ขอให้สบายใจกันได้ เพราะวันนี้ผมจะมานำเสนอ 6 ขั้นตอน Jailbreak iPhone 4S, iPad 2 ด้วยโปรแกรม Absinthe แบบง่ายๆที่คุณเองก็สามารถทำเองได้ที่บ้านโดยไม่ต้องไปเสียเงินทองและเวล่ำ เวลาให้กับร้านลง App ต่างๆอีกต่อไป ส่วนจะเป็นอย่างไรบ้างเชิญรับชมวิธี Jailbreak iPhone 4S และ iPad 2 กันได้ข้างล่างนี้เลยครับ สิ่งที่ต้องเตรียมก่อน Jailbreak iPhone 4S และ iPad 2 - โปรแกรม GreenpoisOn Absinthe v.0.1.2.2 ดาวน์โหลด GreenpoisOn Absinthe v.0.1.2.2 สำหรับ Mac ดาวน์โหลด GreenpoisOn Absinthe v.0.1.2.2 สำหรับ Windows - iTunes 10.5 เวอร์ชั่นล่าสุด - iPhone 4S ระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน iOS 5.0 หรือ iOS 5.0.1 (9A405 และ 9A406) และ iPad 2 Wifi/GSM/CDMA ระบบปฏิบัติการ iOS 5.0.1 - อย่าลืม backup ข้อมูลสำคัญภายในเครื่องก่อน Jailbreak ด้วยครับ!!! 5 ขั้นตอน Jailbreak iPhone 4S, iPad 2 ด้วยโปรแกรม Absinthe และตัวคุณเอง 1. เชื่อมต่อ iPhone 4S หรือ iPad 2 ของคุณเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางสาย USB แล้วเปิดโปรแกรม Absinthe ขึ้นมา 2. กดปุ่ม Jailbreak ทางขวามือของหน้าจอโปรแกรมแล้วปล่อยให้ Absinthe ทำการ Jailbreak เครื่องของคุณ โดยระหว่างนั้นอุปกรณ์ iDevice ของคุณจะขึ้นคำว่า Restoring in Progress ซึ่งคุณห้ามไปยุ่งกับมันโดยเด็ดขาด 3. หลังจากนั้น iPhone 4S หรือ iPad 2 ของคุณจะรีบูตเครื่องหนึ่งรอบ ซึ่งเมื่อ restart เสร็จแล้วจะปรากฏไอคอน Absinthe ภายในเครื่องของคุณ 4. ซึ่งเมื่อคุณแตะที่ไอคอน Absinthe ดังกล่าวก็จะเป็นการเปิดหน้าเว็บไซต์ของ Greenpois0n จากนั้นเครื่องก็จะทำการ restart อีกหนึ่งครั้ง 5. เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาอีกครั้งคุณจะพบว่าไอคอน Absinthe ได้กลายสภาพเป็นแอปฯ Cydia และสามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติแล้วครับ ปล. สำหรับคนที่มีปัญหากดไอคอน Absinthe แล้วเจอข้อความว่า Error establishing a database connections ให้เข้าไปที่ Settings > General > Network > VPN แล้วเปิดเป็น ON นะครับ (พยายามเปิดไปเรื่อยๆจนกว่าเครื่องมันจะ restart นั่นแหละฮะ) บทความโดย: ป๋าเอก TechXcite ที่มา: redmondpie  
เคล็ด(ไม่)ลับ ทำยังไงให้เก่งภาษาอังกฤษ
 "จูน" ปรีชญา ประวีณไว คนเก่งจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช อันดับ 1 ทุนนายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศไทย ได้จัดงานมอบทุนการศึกษา "ทุนนายกรัฐมนตรี" จำนวน 10 ทุน โดยทั้ง 10 ทุน เป็นทุนพิเศษทุนยกเว้นค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน ตลอด 4 ปีการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยส่งมอบให้กับทางรัฐบาล โดยใช้ชื่อทุนว่า "ทุนนายกรัฐมนตรี" ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ได้ทำการคัดเลือกนักศึกษา ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดนคัดเลือกจากนักศึกษาที่มีความสามารถจากทั่วประเทศที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานโลกที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ มีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.5 (5 ภาคการศึกษา) และมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีคะแนน IELTS 550 หรือ TOEFL 6.0 จำนวน 10 คน เข้ารับทุนท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สาวน้อยที่ทำคะแนนได้สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในการรับทุนนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ คือ "น้องจูน" น.ส.ปรีชญา ประวีณไว คนเก่งจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ส่วนเธอจะมีเทคนิคหรือวิธีการเตรียมตัวอย่างไรในการพิชิตทุนนี้ ทีมงาน "การศึกษาวันนี้" จะล้วงเคล็ดลับเด็ดๆของเธอมาฝากกัน "จูนรู้จักทุนนี้จากฝ่ายแนะแนวของโรงเรียน ทราบข่าวว่าเป็นปีแรกของการให้ทุนด้วย ในโอกาสครบ รอบ 10 ปี มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ เอกสารที่ต้องส่งไปสมัครเพื่อให้ทางคณะกรรมการพิจารณามี ผลคะแนนภาษาอังกฤษ IELTS ซึ่งจูนสอบได้คะแนน 590 ค่ะ นอกจากนี้ก็มี Essay ภาษาอังกฤษเรื่องอะไรก็ได้ ประวัติส่วนตัว และหนังสือรับรองจากอาจารย์" "Essay ของจูนเขียนเกี่ยวกับความฝันในอนาคตว่าอยากเป็นอะไร เนื้อหาโดยรวมจะเขียนเกี่ยวกับอนาคตว่าอยากเป็นนักการทูต ได้เดินทางไปในหลายๆประเทศ ได้ศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่างในแต่ละประเทศ ได้ศึกษาเกี่ยวกับผู้คนชนชาติต่างๆ จูนเป็นคนที่ชอบเรื่องของภาษาอยู่แล้ว อยากพูดได้หลายภาษา จูนเขียนไปว่าถ้าได้ทุนนี้ จะช่วยสนับสนุนให้จูนทำความฝันให้สำเร็จได้เร็วขึ้น" "การที่จูนได้รับคัดเลือกให้รับทุนนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ คณะกรรมการน่าจะพิจารณาจากคะแนน IELTS และ Essay เป็นหลักค่ะ เนื่องจากทุนนี้ไม่มีการสอบสัมภาษณ์หรือว่าสอบข้อเขียนแต่อย่างใด ฉะนั้นเรื่องของ Essay จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับจูนการเขียน Essay นั้น ไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาก เพราะที่ผ่านจูนได้ทำกิจกรรมแข่งขันเกี่ยวกับการพูดภาษาอังกฤษอยู่บ่อยๆ มีโอกาสได้เขียนภาษาอังกฤษบ่อยๆ ก็เลยเขียน Essay ได้ง่ายหน่อย ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก ถือว่าโชคดีค่ะ (ยิ้ม)" "สำหรับคนที่อยากได้ทุนนี้ในปีต่อไป แนะนำว่าควรมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีในระดับหนึ่ง ฝึกทำข้อสอบและทักษะภาษาอังกฤษเป็นประจำ ไม่ใช่มาอ่านล่วงหน้าก่อนสอบเท่านั้น อย่างที่ผ่านมาจูนจะทำข้อสอบภาษาอังกฤษเก่าๆย้อนหลังไป 15 ปี ส่วนเรื่องของการพูดนั้น ต้องฝึกพูดบ่อยๆ ใช้ความกล้าในการพูด คนส่วนใหญ่รู้จักภาษาอังกฤษดีในระดับหนึ่ง แต่อายที่จะพูด เลยไม่ได้ฝึกฝนอะไรเลย ถ้าฝึกฝนสม่ำเสมอภาษาอังกฤษของเราจะพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน" "ปัจจุบันจูนเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลังจากที่ได้เข้าเรียนที่นี่แล้ว สิ่งที่ต้องปรับตัวคือเรื่องของภาษา อาจจะต้องมีการปรับตัวบ้างในช่วงแรก เข้าไปเรียนใหม่ๆอาจจะฟังไม่รู้เรื่องสักเท่าไหร่ แต่พอเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ได้ใช้ ได้พูด ก็จะปรับตัวได้เอง ที่ห้องของจูนมีเพื่อนๆชาวต่างชาติจาก 10 ชาติ มาเรียนด้วยกัน นอกจากจะได้พัฒนาในเรื่องของภาษาแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวัฒนธรรมของแต่ละชาติไปในตัวด้วยค่ะ" "สิ่งที่จูนประทับใจเกี่ยวกับที่นี่คือ การที่มหาวิทยาลัยของเรามีนักศึกษาจากหลากหลายเชื้อชาติ ด้วยความที่อยากศึกษาวัฒนธรรมของหลายๆประเทศอยู่แล้ว ตรงกับความชอบของจูนพอดี และนับเป็นโอกาสที่ดีที่จูนจะได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศต่างๆมากขึ้นจากการที่ได้มาเรียนที่นี่ ที่สำคัญอาจารย์บางท่านที่คณะเคยเป็นอัครราชทูตเก่าด้วย ทำให้จูนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้ที่อยู่ในสายงานนี้อย่างแท้จริง" "อนาคตจูนวางแผนเอาไว้ว่าจะเรียนต่อปริญญาโท จูนมองว่าปัจจุบันนี้จบแค่ปริญญาตรีคงไม่พอแล้ว หางานทำยากมาก คิดว่าคงจะสอบชิงทุนเพื่อเรียนต่อปริญญาโทด้านการทูตในต่างประเทศค่ะ อาจจะเป็นทุน ก.พ. ก็ได้" "สำหรับเทคนิคในการฝึกภาษาอังกฤษของจูนคือ ต้องกล้าที่จะพูด อย่าอาย คนต่างชาติเขาไม่สนใจหรอกว่าเราพูดผิดหรือถูก ขอให้พูดออกมาก่อน ถ้าพูดผิดไวยากรณ์เขาจะช่วยแก้ไขให้เราเอง คนไทยส่วนใหญ่ไม่กล้า เลยทำให้ภาษาอังกฤษไม่ค่อยพัฒนาเท่าไหร่ นอกจากนี้จูนยังชอบฟังเพลงภาษาอังกฤษด้วย ทำให้ได้คำศัพท์ ใหม่ๆและสำนวนใหม่ๆอยู่เสมอ ส่วนในเรื่องของการเขียนนั้น ควรฝึกเขียนบ่อยๆ จะช่วยพัฒนาการเขียนของเราให้ก้าวหน้าได้" สุดท้ายนี้อยากฝากถึงเพื่อนๆว่า อยากให้ทุกคนทำในสิ่งที่ตนเองรัก เพราะถ้าเราได้ทำในสิ่งที่รัก ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามก็มักจะประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้เพื่อนๆควรตั้งเป้าหมายในชีวิตของตนเองเอาไว้ หมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ เพื่อก้าวไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองได้ตั้งไว้ ขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ ที่มา "การศึกษาวันนี้" ผู้เขียน : ปิยะนุช zorau123@hotmail.com  
การปฏิรูปวีซ่านักเรียนในออสเตรเลีย
  มีการพิจารณาถึงการเข้าประเทศออสเตรเลียของผู้ถือวีซ่านักเรียน (Student Visa) ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2011 โดยผู้ให้บริการในการทดสอบภาษาอังกฤษระดับชาติ นอกจากการเข้าประเทศด้วยไอเอล หรือ the International English Language Testing System (IELTS) แล้ว มีข้อตกลงของการเข้าเมืองกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองออสเตรเลียว่าจะยอมรับผลการสอบภาษาอังกฤษอื่นๆ ได้แก่ Test of English as a Foreign Language (TOEFL), Pearson's PTE Academic test และ Cambridge English Advanced test อีกด้วย ซึ่งภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน นักเรียนที่ถือวีซ่านักเรียนจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง เช่น จีนและอินเดีย จะต้องแสดงผลการสอบ IELTS เป็นหลักฐานความรู้ภาษาอังกฤษก่อนที่จะเข้าประเทศ   แต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Chris Bowen รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองของออสเตรเลียประกาศยุติการผูกขาดการสอบ IELTS ในการตรวจสอบวีซ่านักเรียน (Student Visa) ซึ่งกรมการตรวจคนเข้าเมืองและพลเมือง (The Department of Immigration and Citizenship) จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการการทดสอบในตารางของคะแนนเทียบเท่าของการทดสอบในแต่ละแบบ การทบทวนเรื่องการผูกขาดการสอบ IELTS เริ่มต้นในปี 2008 โดยกรมการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งพบว่ายังคงมีการผูกขาดกับวีซ่าในบางประเภทอยู่ แต่การผูกขาดไม่ได้มีนัยยะสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งทำให้การเข้าเมืองของนักเรียนต่างชาติยากมากขึ้น แต่เพื่อรักษาความปลอดภัยในเรื่องการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษของผู้ที่จะเข้าออสเตรเลีย ซึ่งยังคงต้องมีการใช้ผลสอบ IELTS อยู่ และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่าของผู้สมัครในต่างประเทศให้มีการใช้ผลการสอบภาษาอังกฤษได้หลากหลายมากขึ้น และเป็นการทบทวนขนาดของตลาดการทดสอบภาษาอังกฤษอีกด้วย อีกทั้งยังรวมถึงการปฏิรูปของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการขอวีซ่า ให้มีความคล่องตัวในปีต่อๆไป ซึ่งหมายความว่านักเรียนจากตลาดที่ใหญ่ที่สุด เช่น จีน อาจไม่จำเป็นต้องแสดงผลการทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อความปลอดภัยของวีซ่า http://campus.sanook.com  
ม.หอการค้าไทยเปิด 10 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ปี 55
  ม.หอการค้าไทยเปิด 10 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ปี 55   มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตรียมเปิด 10หลักสูตรปริญญาโท-เอก ประจำปีการศึกษา 2555มุ่งเตรียมบุคคลากรรับมือการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ชูจุดเด่นเชิญนักธุรกิจชั้นนำของไทยร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตรงบนเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบสู่ธุรกิจหมื่นล้าน ม.หอการค้าไทยเปิด 10 หลักสูตรปริญญาโท-เอกดร.ทรรศนะ บุญขวัญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงแผนรับสมัครนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก ประจำปีการศึกษา 2555ว่า ได้เตรียมเปิดทั้งหมด 7 หลักสูตรสำหรับระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก ทั้งนี้เนื้อหาของหลักสูตรได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับพลวัตรความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเตรียมบุคคลากรให้พร้อมกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558โดยมีหลักสูตรต่างๆ อันได้แก่ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA Online, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต และ International Programs โดยในหลักสูตรนี้เพิ่มความเข้มข้นด้วยการเจาะลึกเป็น 2สาขาย่อย คือ International Business (Global MBA) และ International Business Economics (MBA) ในขณะที่ทางมหาวิทยาลัยเตรียมเปิดหลักสูตรปริญญาเอกไว้ 3หลักสูตร ได้แก่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (PH.D.-M.Econ), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิชาโลจิสติกส์ (Ph.D.-Logistics)และ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (D.B.A)  “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ.ศ. 2558ซึ่งจะมีความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก นักศึกษาไทยจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม วัตถุประสงค์ดังกล่าวสอดคล้องกับปรัชญาของทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในการมุ่งมั่นสร้างนักศึกษาให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืน ทั้งนี้ลักษณะเฉพาะของนักศึกษาหอการค้าไทยคือมีความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับแนวการสอนของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” ดร.ทรรศนะ กล่าวเสริม นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังได้เชิญนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในหลายสาขา อาทิเช่น คุณบุญสิทธิ์ โชควัฒนา เจ้าสัวเครือสหพัฒนพิบูล, คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกิจการเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ และคุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจ โดยการเชิญบุคคลากรชั้นนำของประเทศมาร่วมให้ความรู้ในหลักสูตรลักษณะเช่นนี้ มีเพียงมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเท่านั้นที่ทำได้ ทั้งนี้ เนื่องจากความแข็งแกร่งและศักยภาพของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในการมีเครือข่ายนักธุรกิจทั่วประเทศ และมีนักธุรกิจระดับแนวหน้าครอบคลุมหลายภาคอุตสาหกรรมเป็นสมาชิกของหอการค้าไทย และหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ “อย่างไรก็ดี นอกจากการฝึกฝนนักศึกษาด้วยบทเรียนอันล้ำค่าจากผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยยังได้ตระหนักดีถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม โดยในทุกเทอมก่อนจบการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยจะจัดอบรมเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักศึกษา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ได้รับการริเริ่มจากท่านดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานสภาหอการค้าไทย โดยกิจกรรมนี้ มุ่งหวังเพื่อบ่มเพาะให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นแต่เพียงคนเก่งในแวดวงธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมด้วย” ดร.ทรรศนะ กล่าว ผู้สนใจสามารถสมัครเรียนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ 02-697-6881-5  หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.utcc.ac.th
รายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
  ใกล้จะถึงวันที่น้องๆจะต้องเลือกคณะกันแล้วนะคะ เพราะเราจะทราบผลคะแนน O-NET กัน ใน วันที่10เม.ย.นี้ สำหรับน้องๆ ที่ยังลังเล ว่าจะเลือกคณะอะไรดี มหาวิทยาลัยไหนดี วันนี้ "พี่ชะเอม" เลยรวบรวมรายชื่อมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐ และของเอกชน มาให้น้องๆ เผื่อว่าจะได้เข้าไปดูรายละเอียดของคณะต่างๆ ได้ง่ายขึ้นนะคะ สนใจมหาวิทยาลัยไหนเข้าไปดูกันได้เลยค่ะ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ         สถาบันที่เป็นส่วนราชการ                 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University                 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330                 โทร. 2150871-3, 2153619 โทรสาร. 2153600, 2154804                 http://www.chula.ac.th                 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University                 50 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900                 โทร. 9428200-45, 5790113, 9428491-99 โทรสาร. 9428185                 http://www.ku.ac.th                3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Thammasat University                  2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ 10200                 โทร. 2216111-20, 2216171-80 โทรสาร. 2248099                 ศูนย์รังสิต                  99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121                 โทร. 5160020-39 โทรสาร 5160976                 http://www.tu.ac.th                4. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ Srinakharinwirot University                 114 สุขุมวิท 3 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110                 โทร. 6641000 โทรสาร 2584007                 http://www.swu.ac.th                5. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ National Institute of Development Administration                 ถนนเสรีไทย คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ                 โทร. 3777400-19, 3779660-9                 http://www.nida.ac.th                          6. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok                 1518 ถนนพิบูลสงคราม บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800                 โทร. 5858540-9, 9132500-24 โทรสาร 5874356, 9132618                 http://www.kmitnb.ac.th                7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง   King Mongkut's Institute of Technology Chaokuntaharn Ladkrabang                 ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520                 โทร. 7372500-47, 7373000 โทรสาร 3267333                 http://www.kmitl.ac.th                 8 มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University                 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170                 โทร.0 2849 6000, 0 2354 0999 โทรสาร 0 2849 6211, 0 2849 6222                 http://www.mahidol.ac.th                 9 มหาวิทยาลัยศิลปากร Silpakoen University                 วังท่าพระ ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200                 โทร. 6236115-21 โทรสาร 2257258                 ตลิ่งชัน (สำนักอธิการบดี)                 22 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170                 โทร. 8807336, 8807349 โทรสาร 8807372                 วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์                 ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000                 โทร. (034) 253-840-4 โทรสาร (034) 255099                 http://www.su.ac.th                 10. มหาวิทยาลัยบูรพา Burapha University                 69 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131                 โทร. (038) 745820-40,745900 โทรสาร (038) 390351                 http://www.buu.ac.th                 11. มหาวิทยาลัยนเรศวร Naresuan University                 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000                 โทร. (055) 261000-4 โทรสาร (055) 261005, 261103                 http://www.nu.ac.th                 12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Maejo University                 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290                 โทร. (053) 878038-50 โทรสาร (053) 498861-2                 http://www.mju.ac.th                 13. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Chiang Mai University                 239 ถนนห้วยแก้ว ตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200                 โทร. (053) 21699 โทรสาร (053) 217143                 http://www.cmu.ac.th                 14. มหาวิทยาลัยขอนแก่น Khon Kaen University                 123 ถนนมิตรภาพ อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002                 โทร. (043) 242331-9 โทรสาร. (043) 241216                 http://www.kku.ac.th                 15. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Ubon Ratchathani University                 กม. ที่ 10-11 ถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190                 โทร. (045) 288400-3 โทรสาร (045) 288396                 http://www.ubu.ac.th                 16.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Mahasarakham University                 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150                 โทร. (043) 713011-29 โทรสาร (043) 712030                 http://www.msu.ac.th                 17. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Prince of Songkls University                 71/1 หมู่ 5 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา                 โทร. (074) 211030-49 โทรสาร (074) 212828                 วิทยาเขตปัตตานี                 ตำบลรูสะมิแร อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000                 โทร.(073) 335115-26 โทรสาร (073) 335128                 วิทยาเขตภูเก็ต                 3 หมู่ 1 ถนนวิชิตสงคราม ต.กระทู้ อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120                 โทร.(076) 202551 โทรสาร (076) 202552                 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี                 30 หมู่ 6 ถนน สุราษฎร์ - นาสาร ตําบลมะขามเตี้ย อําเภอเมือง สุราษฎร์ธานี 84100                 โทร. (077) 281540 (01) 9786076 โทรสาร (077) 281541                 โครงการจัดตั้งวิทยาเขตตรัง                 โรงเรียนเทศบาลวัดมัชฌิมภูมิ อําเภอเมือง จังหวัดตรัง 20000                 โทร. (075) 212035 โทรสาร (077) 212036                 http://www.psu.ac.th                 18. มหาวิทยาลัยทักษิณ Thaksin University                 140 หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000                 โทร. (074) 311885-7 โทรสาร (074) 324440, 314801                 http://www.tsu.ac.th                 19. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ Princess of Narathiwat University                 49 ถ.ระแงะมรรคา อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000                 โทร. 0-7351-1174,073-511192 โทรสาร 0-7351-1905                 http://www.pnu.ac.th                 20 มหาวิทยาลัยนครพนม Nakhon Phanom University                 ถนนนิตโย ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม 48000                 โทรศัพท์ 0-4251-1143  โทรสาร 0-4251-1484                 http://www.npu.ac.th                 สถาบันที่ไม่เป็นส่วนราชการ                 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree University of technology                 111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000                 โทร. (044) 216191-8 โทรสาร (044) 224070                 http://www.sut.ac.th                 22.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Walailak University                 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160                 โทร. (075) 384000 โทรสาร (075) 384258                 หน่วยประสานงานกรุงเทพฯ                 อาคาร SM TOWER ชั้น 19 เลขที่ 979/44-45 พญาไท กรุงเทพฯ                 http://www.wu.ac.th                 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  King Mongkut's University of Technology Thonburi                 91 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140                 โทร. 4270039, 4270059, 4270058                 http://www.kmutt.ac.th                 24.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Mae Fah Luang University                 333 หมู่ 1 ตําบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย                 โทร. (053) 916000 โทรสาร (053) 917007                 อาคารฟอร์จูนทาวน์ เลขที่ 1 ชั้น 22 โซน B2                 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10320                 โทร. (02) 6410823โทรสาร (02) 6410824                 http://www.mfu.ac.th                 สถาบันประเภทไม่จํากัดรับนักศึกษา                 25.มหาวิทยาลัยรามคำแหง Ramkhamhaeng University                 ถนนรามคำแหง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240                 โทร. โทร. 3108000 โทรสาร 3180917                 http://www.ru.ac.th                 26. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช Sukhothaihammathirat Open University                 919 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120                 โทร. 0-2503-3550 โทรสาร 0- 25033534                 http://www.stou.ac.th                                 สถาบันที่เป็นส่วนราชการ (มหาวิทยาลัยราชภัฏ)                 27 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Chiangrai Rajabhat University                 ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.เชียงราย 57100                 โทรศัพท์ : (053) 0-5377-6000                 http://www.ricr.ac.th/                 28 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Chiangmai Rajabhat University                 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300                 โทรศัพท์ : 0-5341-2308, 0-5541-2526-45                 http://www.cmru.ac.th/                 29 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง Lampang Rajabhat University                 ถ.ลำปาง-แม่ทะ ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100                 โทรศัพท์ : 054-241012-4, 241016, 241020  โทรสาร : 054-241018, 054-241019                 http://www.lpru.ac.th/                 30 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ Uttaradit Rajabhat University                 27 ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์                 โทรศัพท์ : 0-5541-1096  โทรสาร : 0-5541-1296                 http://www.uru.ac.th/                 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร Kamphaengphet Rajabhat university                 หมู่1 ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000                 โทร. 0-5579-9932  โทรสาร 0-5579-9933                 http://www.rikp.ac.th/                 32 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ Nakhon Sawan Rajabhat university                 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000                 โทรศัพท์ : 0-562341, 221680, 227009  โทรสาร : (056) 221554, 221237                 http://www.nsru.ac.th/                 33 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม Pibulsongkram Rajabhat university                 66 วังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000                 โทรศัพท์ : ส่วนวังจันทน์ โทร. 0-5525-8584, 0-5525-1206, 0-5525-9927  โทรสาร :0-5525-9468                 http://www.psru.ac.th/                 34 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ Phetchaboon Rajabhat University                 83 หมู่ 11 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000                 โทรศัพท์ 0-5671-1396, 0-5672-1583,0-5672-2217,0-5671-1858-62   โทรสาร 0-5672-2217                 http://www.ripb.ac.th/                 35.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย Loei Rajabhat University                 234 หมู่ที่ 11 ถ.เลย – เชียงคาน ต.เมือง จ.เลย 42000                 โทรศัพท์ : 0-4283-5233-8, 0-4281-4669   โทรสาร : 0-4281-1143                 http://www.lru.ac.th/                 36 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร Sakon Nakhon Rajabhat University                 680 หมู่ 11 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000                 โทร. 0-4271-1375   โทรสาร 0-4271-3063                 http://www.snru.ac.th/                 37 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี Udon thani Rajabhat University                 ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000                 โทรศัพท์ : 0-4221-1040-59  โทรสาร : 0-4224-1418                 http://www.riudon.ac.th                 38 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม Rajabhat Maha sarakham University                 80 ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000                 โทร. 0-4372-2118-9  โทรสาร : (043) 722117                 http://www.rmu.ac.th/                 39 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา Nakhon Ratchasima Rajabhat University                 340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000                 โทรศัพท์0 4425 4000,  โทรสาร 0 4424 4739                 http://www.nrru.ac.th/                 40 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ Buriram Rajabhat University                 ถนน จิระ ตำบล ในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000                 โทรศัพท์ 044-611221  โทรสาร 044-612858                 http://www.bru.ac.th                 41 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  Surindra Rajabhat University                 186 ถนน ปราสาท อ.เมือง จังหวัด สุรินทร์ 32000                 โทรศัพท์. 0-4451-1604  โทรสาร 0-4451-1631                 http://www.srru.ac.th                 42 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  Ubon Ratchathani Rajabhat University                 เลขที่ 2 ถ.ราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000                 โทรศัพท์ ( 045 ) 352000-29  โทรสาร ( 045 )311472                 http://www.riubon.ac.th                 43 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  Sisaket Rajabhat University                 ถ.ไทยพันทา ต.โพธิ์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000                 โทรศัพท์ 0-4563-3440,0-4563-3441                 http://www.sskru.ac.th/                        44 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ  Chaiyaphum Rajabhat University                 ถ.ชัยภูมิ-ตาดโตน ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ                 โทรศัพท์ 0- 4485 3083  โทรสาร 0- 4485 3083                
O-NET คืออะไร
  ข้อสอบ O-NET คืออะไร ข้อสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) แปลว่า แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะวัดความรู้ความสามารถทางการศึกษา หลังจากที่เรียนจบระดับชั้นหนึ่ง ๆ ซึ่งในปัจจุบันจะทำการทดสอบนักเรียนในระดับชั้นประุถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้อสอบโอเน็ตสำคัญไฉน ข้อสอบโอเน็ตถือว่ามีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะทุกโรงเรียนและระดับเขตการศึกษา จะวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนจากข้อสอบ O-NET นี่แหละครับ เพราะถือว่าเป็นข้อสอบกลาง  ถ้าโรงเรียนใดหรือเขตการศึกษาใดทำคะแนนได้ดี ก็จะมีหน้ามีตาทีเดียว และเป็นตัวชี้วัดว่าคุณครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียนมีความสนใจในการเรียนเป็นอย่างดี ข้อสอบ O-NET มีมาตรฐานแค่ไหน ข้อสอบโอเน็ตถือว่าค่อนข้างได้มาตรฐาน  เพราะออกข้อสอบตามตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางเป็นสำคัญ  แต่ก็มีหลายข้อที่โดนท้วงติงจากผู้รู้ว่ามีข้อสอบบางข้อที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสำนักทดสอบเองก็ยอมรับในข้อผิดพลาดดังกล่าว ซึ่งจะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาก็ไม่ผิดเท่าไหร่หรอกครับ เพราะว่าคนที่ออกข้อสอบบางครั้งก็อิงความเห็นส่วนตัวบ้าง จึงก่อให้เกิดความผิดพลาดดังกล่าว ข้อสอบโอเน็ตปี 2553 เป็นเช่นไร มีบางวิชาที่แตกต่างจากปีก่อนกล่าวคือ ต้องตอบให้ถูกทั้งสองข้อย่อยจากหนึ่งข้อใหญ่จึงจะได้คะแนน ซึ่งหลายท่านก็แสดงความเห็นว่าคะแนนตกต่ำเป็นแน่แท้ เพราะไม่สามารถที่จะเดาได้เลย ต้องรู้จริง ๆ จึงจะทำได้ และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วการทำข้อสอบทั่วไปแบบข้อละคะแนนก็ยากพออยู่แล้ว พอมาเจอข้อสอบแบบนี้ก็เป็นอันเสร็จกัน ข้อสอบ O-NET ออนไลน์เหล่านี้เพื่อใคร เพื่อเป็นแหล่งฝึกปรือให้กับนักเรียนได้ทดลองทำข้อสอบจริง จากปีก่อน ก่อนที่จะลงสอบสนามจริงครับ  การได้ผ่านหูผ่านตาข้อสอบปีก่อน ๆ จะทำให้เราสามารถรู้แนวข้อสอบ และคุ้นเคยกับข้อสอบว่าส่วนมากจะมาแนวไหน เพื่อจะได้เตรียมตัวอ่านตำหรับตำราได้ถูกทาง และสามารถติวข้อสอบล่วงหน้าด้วนตนเองได้ครั
GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
 GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553 เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้ องค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามาหาวิทยาลัย ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย 1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 % 2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 % 3) GAT 10-50 % 4) PAT 0-40 % รวม 100 % **หมายเหตุ 1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้ 2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป 3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT 1. เนื้อหา - การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50% - การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50% 2. ลักษณะข้อสอบ GATจะเป็นปรนัย และอัตนัย - คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง - ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ 3. สอบปีละหลายครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้) รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT 1.PAT มี 6 ชุด คือ PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์ เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ “อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก”ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง 2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย - คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ 3. การจัดสอบ จะจัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553 สทศ.ต้องเตรียมเรื่องการออกข้อสอบ โดยได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบให้ นอกจากนี้ สทศ. ยังจะจัดสอบ B-NET ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ 5 ภาคเรียนของ ม.ปลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการรับตรง ซึ่งการที่ สทศ. ต้องจัดสอบ B-NET เพราะไม่ต้องการให้เด็กวิ่งรอกสอบหลายที่?ผอ.สทศ. กล่าว. ที่มา : เดลินิวส์ , สยามรัฐ
สิ้นสุดการรอคอย สทอ เริ่มประกาศผล Admissions 2555
  อัพเดท : สทอ นัดหมายให้ทีมงานไปรับผล Admissions 2555 ในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ เวลา 17.00 น. คุณผู้อ่านท่านใด หากได้เป็นขาประจำ MXPhone คงจะทราบดีกว่า ทางเราและพันธมิตรอย่าง Bodinzone.com ได้ร่วมประกาศผล Admissions (หรือการประกาศผล Entrance) มาตั้งแต่ ปี 2546 ซึ่งกว่า 8 ปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมประกาศผลให้น้องๆ ม.6 หรือ น้องๆ ที่ได้เลือกที่เรียนใหม่ ได้ ร่วมลุ้น ผลการคัดเลือก ไปพร้อมกับเรา ดังนั้นในปีนี้ ทีมงาน MXPhone ขอร่วมกับทาง สอท (สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) เป็นกลไกส่วนหนึ่งในการตรวจสอบ ผู้ผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประจำปี 2555 และ MXPhone เรา ขอสัญญาว่า จะพัฒนาระบบ Server ไม่ให้มีปัญหา สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ ได้ตลอดเวลาของช่วงเวลาที่ประกาศผล น้องๆ สามารถติดตามข่าวสารใหม่ๆ และผลการคัดเลือกได้ที่ http://admissions.mxphone.net ซึ่งทีมงานคาดว่าจะมีการประกาศผลในวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 ในเวลา 18.00 น. ซึ่งทาง สอท ได้มีมติให้ทางพันธมิตร 19 เว็บไซต์ ประกาศผลอย่างพร้อมเพรียงกัน
มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ
A University of Aberdeen University of Abertay Dundee Aberystwyth University Anglia Ruskin University Armagh Observatory Arts University College at Bournemouth University of the Arts London Aston University, Birmingham B Bangor University Bath Spa University University of Bath University of Bedfordshire Birkbeck, University of London Birmingham City University University of Birmingham University College Birmingham Bishop Grosseteste University College Lincoln University of Bolton Bournemouth University BPP University College University of Bradford Brighton and Sussex Medical School University of Brighton University of Bristol British Institute in Paris Brunel University University of Buckingham Bucks New University C University of Cambridge Canterbury Christ Church University Cardiff University Cardiff Metropolitan University University of Central Lancashire Central School of Speech & Drama, University of London University of Wales Centre for Advanced Welsh and Celtic Studies University of Chester University of Chichester City University London Conservatoire for Dance and Drama The Courtauld Institute of Art Coventry University Cranfield University University for the Creative Arts University of Cumbria D De Montfort University University of Derby University of Dundee Durham University E University of East Anglia University of East London Edge Hill University Edinburgh College of Art Edinburgh Napier University University of Edinburgh University of Essex University of Exeter F University College Falmouth G University of Glamorgan Glasgow Caledonian University Glasgow School of Art University of Glasgow University of Gloucestershire Glyndŵr University Goldsmiths, University of London University of Greenwich Guildhall School of Music & Drama H Harper Adams University College Harvard University Heriot-Watt University University of Hertfordshire Heythrop College University of the Highlands and Islands University of Huddersfield University of Hull I Imperial College London Institute of Cancer Research Institute of Education Institute of Zoology K Keele University University of Kent King's College London Kingston University L Lancaster University Leeds College of Music Leeds Metropolitan University Leeds Trinity University College University of Leeds University of Leicester University of Lincoln Liverpool Hope University Liverpool Institute for Performing Arts Liverpool John Moores University University of Liverpool University of London London Business School London Metropolitan University London School of Economics and Political Science London School of Hygiene & Tropical Medicine London South Bank University Loughborough University M Manchester Metropolitan University Manchester School of Architecture University of Manchester Middlesex University N New College of the Humanities Newcastle University Newman University College, Birmingham University of Wales, Newport University of Northampton Northumbria University Norwich University College of the Arts Nottingham Trent University University of Nottingham O Open University Oxford Brookes University University of Oxford P Plymouth University University College Plymouth St Mark and St John University of Portsmouth Princeton University Q Queen Margaret University, Edinburgh Queen Mary, University of London Queen's University Belfast R Ravensbourne University of Reading Robert Gordon University Roehampton University Rose Bruford College Royal Academy of Music Royal Agricultural College Royal College of Art Royal College of Music Royal Conservatoire of Scotland Royal Holloway, University of London Royal Northern College of Music Royal Veterinary College Royal Welsh College of Music and Drama S University of Salford School of Oriental and African Studies School of Pharmacy, University of London Scottish Agricultural College Sheffield Hallam University University of Sheffield University of Southampton Southampton Solent University University of St Andrews St George's, University of London St Mary's University College, Belfast St Mary's University College, Twickenham Staffordshire University University of Stirling Stranmillis University College University of Strathclyde University Campus Suffolk University of Sunderland University of Surrey University of Sussex Swansea Metropolitan University Swansea University T Teesside University The College of Law Trinity Laban Conservatoire of Music and Dance University of Wales, Trinity St David U UCL (University College London) University of Ulster University Marine Biological Station, Millport University of London International Programmes W University of Warwick University of West London University of the West of England University of the West of Scotland University of Westminster University of Winchester University of Wolverhampton University of Worcester Writtle College Y Yale University York St John University University of York http://www.guardian.co.uk
London School of Economics and Political Science
History Founded by Fabians, Beatrice and Sidney Webb, Graham Wallas and George Bernard Shaw in 1895 to specialise in the advanced study of the social sciences. Subjects pioneered at LSE include anthropology, criminology, international relations, social psychology and sociology. LSE has produced 34 world leaders and heads of state, and 16 Nobel Prize winners in economics, peace and literature. Location and transport Located in the heart of central London, LSE's departments and institutes are concentrated on one campus. Communication and travel links are excellent, with access to multiple bus routes and tube stations. Entry standards Entry standards are high and LSE encourages applications from all students with the best academic potential, irrespective of background. Excellent grades at A level (including A* for some subjects) are required in traditional academic subjects plus good GCSE grades. There are many widening participation activities including: LSE Choice, Pathways to Law, summer schools and student tutoring, mentoring and shadowing. Student mix There are 4,200 full-time undergraduates and 5,000 full-time postgraduate students, representing around 150 countries and thereby making LSE one of the most international universities in the world. There are roughly equal numbers of male and female students. Around 17,000 applications for 1,200 undergraduate places were received in 2011. Course flexibility There are 38 programmes that often allow the combination of different social science subjects. They cover subjects including economics, politics and government, history, management, law, accounting, finance, international relations, philosophy, geography, social policy and sociology. New areas of study are frequently introduced to keep pace with changes in the social sciences. A new undergraduate exchange programme with Sciences Po allows around 10 LSE students per year to study for a year at one of the Sciences Po campuses in France. Teaching standards Departments have achieved outstanding results in external assessments. A variety of rigorous internal systems help to maintain teaching quality. Student views are important as a measure and are sought by the School each year and are acted upon. Research standards The highest percentage of world leading research of any university in the UK and topped or came close to the top of a number of other rankings of research excellence. LSE came top in the rankings for Economics, Law, Social Policy and European Studies. Over 90% of eligible staff were returned to the Research Assessment Exercise. The School currently has sixteen formal research centres focusing on a broad range of social science activities, including well-known groups such as the Centre for Economic Performance and the Financial Markets Group established in 1987 by Mervyn King, the current Governor of the Bank of England. In addition, the School hosts the Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment, chaired by Professor Lord Nick Stern, author of the influential 2006 Stern Review. In the last three years, the School has established the International Growth Centre, a £100-m programme funded by the Department for International Development to promote economic growth in developing countries. From its foundation, the School has sought to disseminate its research to fellow academics, the media, opinion formers and the general public. Its website, which includes an Experts Directory, invites audiences to join the global debate at LSE. Research Online - the institutional repository - provides access to a diverse range of research produced by the School. Everyone is welcome to attend the LSE's public events, where some of the most influential figures in the social sciences and humanities can be heard for free. Academics are in continual demand as commentators, analysts and advisers to governments, policy makers and charities, both in the UK and internationally. Academic strengths LSE is a specialist university with an international intake and a global reach. Its research and teaching span the full breadth of the social sciences, from economics, politics and law to sociology, anthropology, accounting and finance. The School has one of the largest concentrations of applied economic, financial and social researchers in the world. Close partnerships with other universities include Columbia University in New York, Sciences Po in Paris, Peking University in Beijing, National University of Singapore and the University of Cape Town. LSE attracts some of the most influential figures in the world to give public lectures, including Kofi Annan, Bill Clinton, Nelson Mandela, Mary Robinson and George Soros, with free access for all students. LSE attracts some of the most influential figures in the world to give public lectures, including Kofi Annan, Bill Clinton, Nelson Mandela, Mary Robinson and George Soros, with free access for students. Student facilities, including library and computing The Library is the major international library of the social sciences providing access tounique electronic and print collections. The Library building holds over 4 million printed items, and we have electronic access to around 80,000 ejournals and ebooks. In 2012 our Digital Library was launched, containing outputs from our digitisation programme, unique born-digital archives, institutional records and personal artefacts. The Library has earned 'Designation' status for its pre-eminent collections of national and international importance by the Museums, Libraries and Archives Council (MLA). The Library has achieved user satisfaction ratings in excess of 90% for the past five years. Zoned study areas allow silent study as well as group work in the Library. The 'i-roam' scheme allows students and staff to borrow laptops for use in the Library. Disability services The LSE is committed to promoting equality and diversity in order to deliver the best possible service to its students, staff and the wider community. Find out more about the disability services at LSE on the website. Students' union There are over 190 student societies covering most countries in the world and specialist interest. Students can also get involved in the School's Media Group, student magazine and radio station. Union general meetings are held weekly, where every student can attend and vote. Sport Facilities include a fitness centre, badminton and squash courts and a gymnasium. There are football, rugby and cricket pitches, with tennis during the summer at the sports ground. Students can also access the University of London's sports facilities. Recent/prospective new builds The School purchased the Land Registry building overlooking Lincoln's Inn Fields and took vacant possession in May 2011. It will be used for academic, research and teaching purposes. A new student centre unifying many student services within a single location is due for completion in 2013. Availability of part-time work The 'My Careers Service' function of the LSE Careers Service advertises part-time jobs at LSE and with outside employers. Opportunities are frequently advertised at the LSE for internships and voluntary work experience. The LSE Careers Service provides a varied and comprehensive careers guidance and employment service for students. Notable alumni Loyd Grossman (media). Cherie Booth (law). Shami Chakrabarti (civil liberties). Mark Hoban (politics). Ed Miliband (politics). Jo Swinson (politics). Jeremy Heywood (civil service). Christiana Figueres (UN). Hilary Mantel (writer). Justin Webb (media). Daniel Finkelstein (media). Ross Altmann (campaigning). For further information Web www.lse.ac.uk Email ug-admissions@lse.ac.uk Phone +44 (0)20 7405 7686 Address LSE Houghton Street London WC2A 2AE         UCAS Code L72 London School of Economics and Political Science Tuition Fees 2012 The tuition fees for full-time UK and other EU students beginning their undergraduate studies at English universities in 2012 have been announced. The average fee across all universities will be £8,393 as compared to that for 2011 entry of £3,375. To offset this increase in fee levels, there will be additional financial support for students from lower income families and other groups not well represented in higher education. This will be in the form of fee waivers, grants, bursaries and scholarships, and accommodation discounts. It is a comprehensive package of income and expenditure but most of the media coverage has concentrated on the cost and not enough on the benefits and help. Students resident in Wales will receive a non-repayable Fee Grant equal to the fee amount above £3,465, no matter where in the UK they study. Minimum fee £8500 Average fee £8500 Maximum fee £8500 Average cost to student* £7529 * The estimated average cost per student after allowing for financial support (eg. fee waivers and bursaries) from the institution. London School of Economics and Political Science Tuition Fees to 2011 The table below lists the annual tuition fees that were charged to new students entering the first year of an undergraduate degree or a one-year taught postgraduate course, most recently for those entering in September/October 2011. Note that these are tuition fees only for the full academic year and do not include accommodation, living costs or travel costs, etc. Fees for UK nationals with UK residence (home students) and EU nationals with EU residence (EU students) are the same, whereas fees for other overseas students are typically differentiated by course, usually in two bands: one for arts/classroom based courses and the other, typically higher, for science/laboratory based courses (fees for medicine and dentistry are generally much higher). Postgraduate course fees do not necessarily fit neatly in fee bands and further enquiry should be made to a university (or its website) for the exact fees for a particular course. Year UK and EU Students Overseas - Art Overseas - Science Undergrad Postgrad Undergrad Postgrad Undergrad Postgrad 2006–2007 £3000 £8454-16044 £11418 £12438 £11418 £16044 2007–2008 £3070 £8790* £11880 £12936 £11880 £16686 * PGHEU - basic £8790, most at £12936, some at £16686; PGOS - £12936 - £16686 2008–2009 £3145 £9144* £12160 £13452* £12160 £21600 * PGHEU from £9144 to £17352, PGOS from £13452 to £21600 2009–2010 £3225 £6192* £12840 £13992 £12840 £22464 * PGHEU £6192 - 22464; PGOS £13992 - 22464 2010–2011 £3290 £6432-23928 £13680 £14904 £13680 £23928 2011–2012 £3,375 £6,672–25,499 £14,592 £15,888 £14,592 £25,488 * Taught master’s fee depends on programme. Table of fees at http://www2.lse.ac.uk/intranet/students/tableOfFees/2011-12.aspx We wish to acknowledge and warmly thank the late Mike Reddin for permission to publish extracts from his tables of university and college fees. Bursaries and scholarships In receipt of full Maintenance Grant: bursary of £3,500 or £3,000. In receipt of partial Maintenance Grant: bursary between £2,500 and £500. The LSE Bursary is awarded to UK students from low income backgrounds. The maximum value is £3,500 per year. Students in receipt of a partial Maintenance Grant receive between £2,500 and £500 per year. 'My Careers Service' function of the LSE Careers Service provides part-time employment opportunities for students. Fifty per cent of additional fee income to be earmarked for bursaries, widening access and retention work.
มจพ.เตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิชาการชั้นสูงที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้คู่คุณธรรมเพื่อเป็นผู้พัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมอันก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการเตรียมตัวสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม และสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านต่างๆ เช่นการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและบริหารการวิจัย มุ่งเน้นการผลิตวิศวกร นักวิทยาศาสตร์และครูช่างที่มีศักยภาพการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการจริงของภาคอุตสาหกรรมสู่ตลาดอาเซียน เป็นต้น มหาวิทยาลัยดำเนินงานในรูปเครือข่าย ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของการทำงานเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีศักยภาพและความพร้อมอย่างเต็มที่           มหาวิทยาลัยมีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิต ที่เน้นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนและวิจัยตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย"พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และวิชาการชั้นสูงที่เกี่ยวข้องปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ จนถึงระดับปริญญาเอก ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลพระราชทานหน่วยงานดีเด่นของชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวของโลกที่เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยมากที่สุดถึง 5 สมัย           ศาสตราจารย์ ดร. ธีรวุฒิ บุณยโสภณอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้วางแผนการเตรียมความพร้อมก้าวเข้าไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) ในการเปิดเสรีการค้าและการศึกษา โดยเร่งบูรณาการการเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เกี่ยวกับตลาดแรงงานในอาเซียน เพราะจะทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยต้องหันมามองสินค้าและการบริการ ความได้เปรียบเสียเปรียบจำนวนลูกค้า กำลังซื้อ การเติบโตของตลาด หรือแม้แต่การรู้จักคู่แข่งจากอาเซียนด้วยกันเอง รวมถึงการสร้างเครือข่ายในอาเซียนกับบุคลากร/มหาวิทยาลัย/วิชาการ/ฐานข้อมูลและการบริการ เพื่อการปรับตัวและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดแก่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้สาขาการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ.2558 ซึ่งจะเกิดการยอมรับในมาตรฐานการศึกษา และปริญญาร่วมกัน การยอมรับคุณสมบัติของบริการวิชาชีพร่วมกัน และการให้บริการการศึกษาโดยเสรี เช่น การศึกษาข้ามพรมแดนและคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับนานาชาติ เป็นต้น           มจพ. ได้บูรณาการการจัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรกคือ หลักสูตรภาษาอังกฤษทั้งหมดหรือหลักสูตรนานาชาติ จะมีหลายสาขาวิชาส่วนใหญ่จะเน้นทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบที่ 2 หลักสูตร 2 ภาษา จะเน้นในระดับเตรียมวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนระดับปริญญาตรีจะเน้นสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น รูปแบบที่ 3 หลักสูตรภาษาไทย           ส่วนที่ต้องเตรียมความพร้อมในปี พ.ศ.2558 ที่เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการเปิดเสรีทางการศึกษาและทางธุรกิจการค้า มหาวิทยาลัยพยายามเน้นให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสามารถพูดและใช้ภาษาต่างประเทศได้ควบคู่กับความเป็นเลิศทางอาชีพของเขา เน้นทั้งวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้บัณฑิตเหล่านี้จบแล้วมีศักยภาพสามารถไปทำงานกับประเทศต่างๆ ในเขตเศรษฐกิจอาเซียนหรือประชาคมโลกได้"แทนที่ จะให้ต่างชาติมาทำงานกับเราเพียงฝ่ายเดียว เราก็ส่งคนของเราไปทำงานในต่างประเทศด้วย" รวมถึงการฝึกอบรมผู้ประกอบการด้วยหลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อให้สามารถไปลงทุนในประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ และอีกประการที่จะต้องเตรียมความพร้อม ก็คือ การพัฒนาครู อาจารย์ ให้มีความเข้มแข็งทั้งวิชาการและวิชาชีพและภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ที่เราจะเป็นคู่ค้าหรือคู่สัญญาในเรื่องของความร่วมมือในการทำวิจัย มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการเตรียมตัวสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนปฏิบัติการที่เหมาะสมและสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือกับประเทศเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศในยุโรปเรามีจุดเด่นและข้อได้เปรียบในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก 2 ประเทศนี้โดยประเทศเยอรมนีให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางวิชาการกับเรามายาวนานโดยปีนี้เป็นปีที่ 53           การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและเครือข่ายความร่วมมือ           การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ มจพ. ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เช่นมหาวิทยาลัยอาเค่น (RWTH Aachen University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยอรมันในการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แนวอุตสาหกรรม ในระดับปริญญาโทและเอก ดำเนินการสอนด้วยภาษาอังกฤษ เนื้อหาหลักสูตรพัฒนามาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอาเค่น เพื่อมุ่งเน้นผลิตวิศวกรระดับปริญญาโทและเอก ที่มีศักยภาพการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบเยอรมันที่สอดคล้องกับความต้องการจริงของภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศและภูมิภาค โดยให้มีการฝึกงาน (Industrial Internship) ในภาคอุตสาหกรรม อาทิ การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้ประเทศมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และยังได้รับความสนับสนุนจากหอการค้าไทย-เยอรมัน (GTCC) และสมาชิกต่างๆในภาคอุตสาหกรรมทั้งไทยและเยอรมัน การลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในโครงการ TGGS กับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมัน(DIHT) และ สภาหอการค้าไทย-เยอรมัน (GTCC) หรือแม้แต่โครงการแลกเปลี่ยนจาก DAAD (German Academic Exchange Service) และ BMBF (Federal Ministry of Education and Research) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี           ในส่วนการประชุมวิชาการระดับชาติ มจพ.ได้จัดการประชุมระดับชาติ"การเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ของไทยสู่การแข่งขันเสรีด้านการค้าและการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : 2015" เช่นเดียวกับการสัมมนา "แนวทางการพัฒนาประชากรของประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาประชากรของประชาคมอาเซียน"เป็นโครงการวิจัยที่เป็นความร่วมมือ ระหว่าง มจพ.และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการขานรับนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนดังที่กล่าวมา เพื่อผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาแผน 5 ปี ของอาเซียน ( 2554-5558) ให้สอดรับด้านการศึกษาต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน มจพ.ร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ใช้สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรเป็นวิทยากรเก็บตัวฝึกซ้อมเยาวชน ในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน และมีเครือข่ายร่วมมือกับ Educational Development, Singapore Polytechnic ร่วมโครงการ SIF Friendship Express เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยให้เป็นที่รู้จักแก่นานาชาติ           สำหรับจุดแข็งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะเป็นที่ 1 ในเรื่องของเฟอร์นิเจอร์และงานไม้ ซึ่ง มจพ. เปิดสอนอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะเรื่องของระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยจะมีความโดดเด่นและเก่งที่สุดในโลกในเวทีการแข่งขัน เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย 5 สมัยได้อย่างสมศักดิ์ศรีโดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ที่เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน หุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก (World Robocop Rescue)ที่บอกว่าเก่งที่สุดในโลก เพราะว่านักศึกษาของเรารู้จักนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติไปบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยระบบแมคคาทรอนิกส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกแห่งเดียวในโลกที่เป็นแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยถึง 5 สมัย เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันกับนานาชาติทั่วโลก และนำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยและประเทศชาติหลายสมัยติดต่อกัน           ด้วยเหตุนี้การกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาประชากรของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 โดยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขยายการลงทุนด้านการวิจัยพื้นฐานและวิทยาศาสตร์รวมทั้งการศึกษาด้านเทคนิควิชาชีพ เทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการศึกษาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคงในอนาคต มีความพร้อมในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนและวิจัย ให้มีมาตรฐานในระดับสากลเพื่อรองรับผู้เรียนที่เข้ามาศึกษาจากต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษากับประชาคมโลกและองค์กรระหว่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับสากล เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชากรของประเทศและของภูมิภาคให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นพัฒนาคุณภาพของครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่การขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและเป็นประเทศชั้นนำทางด้านการผลิตและพัฒนาทรัพยากรที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
มารู้จักกับอาเซียนกัน
มารู้จักกับอาเซียนกัน ?         "อาเซียน"หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510      เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ   ทำไมถึงต้องมีอาเซียน?  เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน 1.เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี    - ร่วมกันเผชิญหน้าภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ยาเสพย์ติด การก่อการร้าย การค้ามนุษย์    - ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล 2.เพื่อให้ภูมิภาคมีความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้    - ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว    - ทำให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน และการเงิน    - พัฒนาฝีมือแรงงาน แล้วให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี 3.เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน    - สร้างประชาสังคมที่เอื้ออาทร    - เสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียน    - ส่งเสริมความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อม    - ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า   มารู้จักธงกับสัญลักษณ์อาเซียนกัน ?  คำขวัญ "One Vision, One Identity, One Community" (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)  สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุงจากาตาร์ ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ  สัญลักษณ์อาเซียน      จากรูปสัญลักษณ์ เป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึง การที่ประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง   กฎบัตรอาเซียนคืออะไร?  เป็นการร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกใน "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1.เพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคม’ ภายในปี 2558 2.สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน 3.ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการบังคับใช้ของกฎบัตรฯ จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรทีมีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>              
<< 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา