หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ  
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
หลักฐานการสมัครวีซ่าท่องเที่ยวนิวซีแลนด์
วันนี้เอาข้อมูลการขอวีซ่านักท่องนิวซีแลนด์มาฝากเพื่อนๆค่ะ ข้อมูลการบูทสถานทูตนิวซีแลนด์งานเรียนต่อนิวซีเเลนด์ สามารถโหลดแบบฟอร์มต่างๆได้จาก www.immigration.govt.nz เอกสารประกอบการขอวีซ่าท่องเที่ยวประเทศนิวซีเเลนด์ มีดังต่อไปนี้ ใบสมัครวีซ่านักเรียน (INZ1017)ที่ได้กรอกรายละเอียด พร้อมกับติดรูปถ่าย ขนาด 2นิ้ว จำนวน 2 รูป โปรดระบุเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก เเละหากมีอีเมลล์ กรุณาระบุในใบสมัครด้วย ค่าธรรมเนียมวีซ่าท่องเที่ยว 3,300 บาท ท่านสามารถชำระค่าธรรมเนียมด้วย บัตรเครดิตวีซ่า/มาสเตอร์ ตั๋วเเลกเงิน เเคมเชียร์เช็ค หรือเช็คที่ออกโดยธนาคารสั่งจ่าย “สถานทูตนิวซีแลนด์(สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)” จะไม่มีการคืนค่าวีซ่าไม่ว่าผลการพิจารณรจะได้รัการอนุมัติหรือไม่ หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 1 ชุด หลักฐานการจองตั๋ว หรือตั๋วเครื่องบิน หลักฐานการเงิน (สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากย้อนหลังติดต่อกัน6 เดือน หรือ Bank Statement) ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางอย่างน้อยคนละ 1,000 เหรียญนิวซีแลนด์ ต่อเดือนจำนวน 1 ชุด ในกรณีที่ชาวนิวซีแลนด์เป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางของท่าน กรุณายื่นแบบฟอร์ม “Sponsorship form for Temporary Entry (INZ 1025)” ที่ได้กรอกรายละเอียด พร้อมทั้งได้รับการรับรองจากกองตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศนิวซีแลนด์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษจิกายน 2553 ภายใต้พระราชบัญญัติการเข้าเมืองนิวซีแลนด์ 2552 (Immigration Act 2009) สปอนเซอร์จะต้องรับผิดชอบผู้ที่ถูกสปอนเซอร์ ในเรื่องของที่พักอาศัย ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับประเทศ รวมถึงหนี้สินที่ติดค้างกับหน่วยงานใดๆของรัฐบาลนิวซีแลนด์ สปอนเซอร์ไม่สามารถถอดถอนหรือยกเลิก เมื่อได้รับการอนุมัติวีซ่า สปอนเซอร์จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นจนกระทั่งหนี้สินเหล่านั้นได้ถูกชำระจนหมด สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนิวซีแลนด์จะรับแบบฟอร์มสปอนเซอร์ ” Sponsorship form for Temporary Entry (INZ 1025)” วอร์ชั่นล่าสุดเท่านั้น ท่านสามารถรับแบบฟอร์มใหม่ได้ที่เคาน์เตอร์ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนิวซีเเลนด์ หรือทาง www.immigration.govt.nz ถ้าสมัครแบบครอบครัว จะต้องเตรียมใบทะเบียนสมรส ใบสูติบัตรของบุตร พร้อมทั้งสำเนามาให้พร้อม ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีเดินทางโดยลำพัง หรือไม่ได้เดินทางพร้อมกับบิดาและมารดา จะต้องมีหนังสือขากบิดาและมารดาระบุว่าอนุญาตให้บุตรเดินทางได้ ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติ โปรดยื่นใบต่างด้าว ใบอนุญาตทำงาน ใบถิ่นที่อยู่ กรณีผู้สมัครที่ตองการเดินทางไปประเทศนิวซีแลนด์นานกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน จะต้องยื่นตรวจวัณโรค(INZ 1096) กรณีผู้สมัครต้องการเดินทางไปประเทศนิวซีแลนด์เกิน 12 เดือน จะต้องยื่นใบตรวจสุขภาพและเอ็กซเรย์ (INZ 1007)   ผู้สมัครต้องตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานตรวจคนเข้า   เมืองเท่านั้น ซึ่งใบตรวจร่างกายจะต้องอายุไม่เิกิน 3 เดือน กรุงเทพ : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , สมิติเวช (สุขุมวิท 38), บางกอกเนิสซิ่งโฮม และโกลบอล ด็อกเตอร์ เชียงใหม่ : วัฒนา-นิรมล คลีนิค , คลีนิคหมอวรรณจันทร์-จรัส, สถานบริการสุขภาพพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลขอนแก่นราม   กรณีที่เดินทางระหว่างวันหยุดพักร้อน หรือวันหยุดทั่วไป โปรดยื่นเอกสารรับรองสถานภาพการงานที่ระบุรายได้ต่อปี (รวมโบนัส ถ้ามี) ตำแหน่ง และอายุการทำงาน หากเป็นนักเรียน/นักศึกษา จะต้องมีจดหมายรับรองจากสถานศึกษาที่ระบุระดับ ชั้นการศึกษาอย่างชัดเจน เอกสารที่กล่าวมาจะต้องได้รับการลงนามโดยผู้มีอำนาจจากหน่วยงาน/บริษัท/โรงเรียนเท่านั้น เป็นเจ้าของกิจการ/บริษัท/ห้างร้าน  จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทหรือหลักฐาน การจดทะเบียนที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเจ้าของกิจการ พร้อมทั้งหลักฐานการเงินของบริษัท ซึ่งได้แก่บัญชีเงินฝากของกิจการ/บริษัท/ห้างร้านนั้นๆ   กรณีที่เดินทางเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ หรือการทำงาน โปรดยื่นหนังสือที่ออกโดยองค์กร/บริษัท เพื่อยืนยันวัตถุประสงค์ของการเดินทาง และหากการเดินทางเกี่ยวเนื่องกับองค์กร/บริษัทที่ประเทศนิวซีแลนด์ กรุณายื่นจดหมายเชิญหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้ิอง   กรณีที่การเดินทางมานานกว่า 24 เดือน อันเนื่องมาจากผู้สมัครติดตามสามี หรือ ภรรยา หรือบุตร ที่ได้รับวีซ่าทำงาน หรือวีซ่านักเรียนระยะยาว โปรดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้ หลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระห่างท่านกับผู้ที่ได้รับวีซ่าระยะยาว เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบสูติบัตร หลักฐานการได้รับวีซ่าระยะยาวของคู่สมรส หรือบุตร จดหมายรับรอง/จดหมายยืนยันจากสมาชิกในครอบครัว ผู้สมัครที่มีอายุเกิน 17 ปี โปรดยื่นประวัติการตรวจอาชญากรรมจากประเทศไทย หรือประเทศที่ท่านเคยพำนักนานกว่า 12 เดือน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รายงานการสอบประวัติจะต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน หมายเหตุ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนิวซีแลนด์อาจขอเอกสารอื่นเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาใบสมัคร สำเนาเอกสารต้องประทับ หรือมีลายเซ็นจากบุคคลผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ลงนาม หรือทำการยืนยันได้   ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2554 ป็นต้นไป สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนิวซีแลนด์ สาขากรุงเทพ สามารถรับเอกสารประกอบการพิจารณาวีซ่าฉบับภาษาไทย โดยมิต้องแนบเอกสารฉบับแปล (ภาษาอังกฤษ) ประกอบ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อาจขอห้ผู้สมัครยื่นเอกสารฉบับแปล (ภาษาอังกฤษ)ในบางกรณีที่เห็นสมควร   การยื่นใบสมัคร ท่านสามารถยื่นขอวีซ่าด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรณีย์ได้ที่ แผนกวีซ่า สถานทูตนิวซีแลนด์ ชั้น 15 อาคารเอ็มไทยทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส เลขที่ 87 ถนนวิทยุ ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 โทรศัพท์ (66) 2 654 3444       แฟกซ์ (66) 2 654 3445 อีีเมลล์ nzisbangkok@dol.govt.nz เวลาทำการ 09.00-12.00 และ 13.00-15.00 (วันจันทร์ ถึง วันศุกร์) ยกเว้นวันพุธ ปิดเวลา 14.00 ระยะเวลาการพิจารณา ใบสมัครส่วนใหญ่จะได้รับการพิจารณาภายใน 7 วัน ในบางกรณีเจ้าหน้าที่อาจขอเอกสารเพิ่มเติม หรือขอสัมภาษณ์ซึ่งทำให้ระยะเวลาพิจารณาเพิ่มขึ้น หรืออาจถึง 30 วัน โดยเจ้าหน้าที่จะติดต่อ และแจ้งให้ท่าทราบ ค่าไปรณีย์ในการจัดส่งหนังสือเดินทาง ส่งแบบลงทะเบียนภายในประเทศ 50 บาท ข้อมูลจาก เอกสารจากสถานทูตนิวซีแลนด์ในงานศึกษาต่อนิวซีแลนด์
1.5 ปี ในออสเตรเลีย ประสบการณ์และข้อคิดๆดีๆจากคุณแอร์
    สวัสดีค่ะ ขื่อ แอร์ค่ะ ก็อยู่ที่ออสเตรเลียมาได้ 1 ปี กับอีก 6 เดือนละค่ะ วันนี้ครบ 6 เดือนพอดีเลยค่ะปัจจุบันก็ทำงานเป็น IT Officer อยู่บริษัท Work Coใน Horsham ค่ะ  ชื่อเมืองที่อยู่ ณ ปัจจุบัน หลายคนอาจจะไม่รู้จักนะคะ ขออนุญาตอธิบายนิดนึงละกันนะคะ Horsham เป็นเมืองที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Victoria ค่ะใช้เวลาขับรถประมาณ 4 ชม. จาก Melbourne ค่ะ   สาเหตุที่ย้ายเมืองจาก Melbourne มาเป็น Horshamก็เพราะว่ามีโอกาสได้งานที่ตรงตามสายงานที่ทำงาน และเรียนมาค่ะ  เมื่อปืที่แล้ว (ปี 2010) มีโอกาสได้มา Work and Holiday เป็นเวลา 1 ปีเต็มได้ทำงานใน Melbourne และท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆใน Australia รวมถึง New Zealand ด้วยค่ะและก่อนหน้าที่จะมาด้วย Work and Holidayก็ทำงานเป็น Programmer อยู่ที่ไทยได้ประมาณ 7 ปีกว่าๆ ค่ะ  เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการก็คือก่อนหน้านั้น ได้ตั้งใจจะสมัครเป็น Permanent Resident ของ Australia โดยใช้ Skill Migrant ค่ะ แต่ภาษาไม่ดีค่ะ สอบ IELTS ไม่ได้ตามเกณฑ์ของ Immigration สักทีคือต้อง ได้ไม่ต่ำกว่า 6 ในทุก part ทำให้ท้อ และคิดว่าคงจะไม่มีโอกาสได้ไปแล้ว ระหว่างคิดว่าจะทำอะไรต่อไปดีในชีวิตก็เผอิญได้ยินการประชาสัมพันธ์ของ โครงการ Work and Holiday ผ่านทางวิทยุ เลยคิดว่า น่าจะลองไปใช้ชีวิตแบบทำงาน และท่องเที่ยวดู น่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีให้กับตัวเอง เลยตัดสินใจมาด้วย Work and Holiday Visa ค่ะ ส่วนที่เลือก Melbourne เป็นเป้าหมายในการเดินทาง เพราะว่าจากการศึกษาหาข้อมูลว่า ควรจะไปเมืองไหนดี โดยดูจาก การใช้ชีวิตของผู้คนในเมือง กิจกรรมต่างๆที่เค้าทำกัน รวมถึงการเดินทาง ก็คิดว่าตัวเองน่าจะเหมาะกับ Melbourne ที่สุดค่ะMelbourne ก็เป็นเมืองน่าอยู่เมืองนึงนะคะ มีคมนาคมที่ดี เดินทางไปไหนก็ค่อนข้างสะดวก ที่พักอาศัยไม่แออัดเท่า Sydney อาหารเอเชียก็หาได้ง่าย แต่ข้อเสียคือ อากาศค่อนข้างหนาว ไม่เหมาะกับคนขี้หนาวค่ะระหว่างที่มา Work and Holiday งานที่มีโอกาสได้ทำก็มีหลากหลายนะคะ ตั้งแต่ เด็กเสริฟ์, พนักงานนวด,Receptionist และ Kitchen Hand งานที่ตัวเองทำส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยพ้นงานยอดฮิตที่เด็กไทยนิยมทำเท่าไหร่ค่ะ แต่งานสบายสุดที่อยากแนะนำก็คือ Receptionist ค่ะ รายได้ก็ปานกลางค่ะ แต่งานไม่หนักมาก ภาษาก็แค่พอสื่อสารได้ค่ะ สำหรับตัวเองรายได้ที่ได้ก็ไม่เยอะเท่าไหร่นะคะ ถ้าเทียบกับงานอื่นๆทั่วไป ประมาณวันละ 100 เหรียญ เพราะมีเพื่อนที่มีโอกาสได้ทำงานกับเจ้าของธุรกิจที่เป็นฝรั่ง เค้าจะได้เยอะกว่านี้ค่ะ เพราะเค้าจะจ่ายเป็นชั่วโมงของการที่เราไปทำงาน แต่ข้อเสียก็คือต้องเสียภาษีด้วยนะคะ ซึ่งถ้าทำตามกฎหมายจริงๆ Work and Holiday ต้องเสียภาษีถึง 40% เลยนะคะ เพราะว่า Visa ของเรามีข้อจำกัดว่า สามารถทำงานกับนายจ้างคนเดิมได้ไม่เกิน 6 เดือน ดังนั้นจึงทำให้ Visa ของเรากลายเป็น Non-resident Type และ Non-resident Type ต้องเสียภาษีตั้งแต่ 1 เหรียญแรกที่ได้เลยทีเดียว ข้อแนะนำสำหรับคนที่จะกลับมา ไม่ว่าจะเรียนต่อ หรือะไรก็ตาม ก็ควรยอมเสียภาษีในส่วนนี้สักนิดหน่อยนะคะเพื่อเปิดทางให้กับวีซ่าตัวต่อไปของเราค่ะ สำหรับการมาที่นี่ ตัวเองถือว่าเป็นโอกาสที่ดีโอกาสในหนึ่งในชีวิตเลย แม้จะไม่ได้สบายเหมือนอยู่บ้านเรา แต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้ และเป็นประสบการณ์ที่เราไม่สามารถหาได้จากที่ไทยค่ะ และเรื่องที่ประทับใจเป็นพิเศษจากการทำงานและใช้ชีวิตที่นี่ ก็คือการได้รู้จัก และได้ทำงานกับผู้คนหลากหลายค่ะ มีตั้งแต่น้องๆเพิ่งจบมัธยมมาจนกระทั่งพี่เจ้าของร้านที่โตกว่าเรามากๆ ถึงตอนนี้แม้จะไม่ค่อยได้เจอกัน ก็ยังประทับใจกับมิตรภาพที่ได้รับมาจากการทำงานใน Melbourne อยู่เลยค่ะ หลังจากจบโครงการ Work and Holiday ใหม่ๆบอกตรงๆว่า ตอนนั้นตัวเองยังไม่มีแผนอะไรในชีวิตที่ชัดเจนสักเท่าไหร่ ลังเลว่าจะกลับมาเรียนต่อดี หรือจะทำงานต่อที่ไทยดี จนกระทั่งได้ Permanent Resident Visa ก็ทำให้วางแผนได้ง่ายขึ้นเลยค่ะตัวเองเลือกกลับมาออสเตรเลียทันที หลังจากรู้ผลวีซ่า  สุดท้ายสิ่งที่อยากจะฝากให้น้องๆที่สนใจโครงการก็คือ อยากให้ลองมาชีวิตในรูปแบบของ Work and Holiday ดู จริงๆการใช้ชีวิตที่นี่ แม้จะลำบากบ้าง แต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆมากขึ้นค่ะ และสำหรับน้องๆที่วางแผนจะมาในเร็วๆนี้ ก็อยากให้น้องพยายามอดทน มั่นใจในตัวเอง และอย่าไปกลัวที่จะเดินเข้าไปสมัครงานค่ะ ไม่มีทางที่งานจะวิ่งเข้ามาหาเรา Connection เป็นสิ่งสำคัญค่ะ พยายามเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ จะได้รู้จักคนมากขึ้นค่ะเอาใจช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จค่ะ สู้ๆนะคะ Written by : http://www.thaiwahclub.com/
รู้จักกับ eHealth (ตรวจสุขภาพวีซ่าออสเตรเลีย)
 รู้จักกับ eHealth (ตรวจสุขภาพวีซ่าออสเตรเลีย) อย่างที่เล่าไปในบทความนี้ เตรียมตัวก่อนยื่น WAH 2011 ว่า eHealth ถูกนำมาใช้กับการตรวจสุขภาพวีซ่าออสเตรเลีย เพื่อให้ process ในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นการดีกับผู้ขอวีซ่าทุกคนเพราะสะดวกดี ไม่ต้องกรอกฟอร์มนู่นนี่ให้วุ่นวายใจ :> สมัยก่อนจะมีสองฟอร์มที่ต้องกรอกคือ Form 26 และ 126 เวลาไปตรวจสุขภาพ แต่ตอนนี้ไม่ต้องแล้วครับสบายแฮ  สำหรับการตรวจ eHealth นี่หลักๆก็คือเราไม่ต้องไปตรวจสุขภาพก่อนยื่นวีซ่า แต่ต้องยื่นวีซ่าไปก่อนถึงจะไปตรวจได้ครับ เกิดอะไรขึ้นหลังจากยื่นวีซ่าแล้ว หลังจากสถานทูตได้รับเรื่องวีซ่าเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือภายในเวลา 3-5 วันทำการ ทางสถานทูตจะส่งอีเมลล์หรือโทรมาบอกรายละเอียดให้กับเรา : โดยทั่วไปก็จะอีเมลล์ถ้าเรา nominate วิธีติดต่อไว้เป็น email อยู่แล้วครับ (ซึ่งแนะนำให้ทำเพราะสะดวกที่สุดแล้ว) โดยอีเมลล์ที่สถานทูตส่งมาจะมีรายละเอียดสำคัญๆประมาณนี้ครับ  หัวข้อ : Health Letter of XXX YYYY (ชื่อนามและนามสกุลผู้สมัคร) **เมื่อได้รับอีเมลล์จากสถานทูตเราสามารถไปตรวจสุขภาพได้เลย โดยจะลองโทรถามแต่ละรพ.ก่อนก็ได้ว่า ต้องนัดก่อนมั้ย (อย่างเมื่อก็ผมโทรถาม BNH เค้าบอก walk-in ได้เลย) สำหรับรพ.ที่สถานทูตรองรับ สามารถดูได้ในนี้ครับ Panel Doctor Thailand สำหรับในกทม.นะครับ ตอนนี้มีสองที่ที่สามารถไปตรวจได้ ได้แก่ 1. BNH Hospital  9/1, Convent Road, Silom Bangkok 10500, Thailand  Tel : (+662) 686-2700 Fax : (+662) 632-0577-79 Website : http://www.BNHhospital.com ราคาโดยประมาณ 2100 บาท (updated 01 July 2011) เวลาทำการ M-F 8am-4pm , Sat 8am-11am, Sun closed 2.Bangkok Hospital 2 Soi Soonvijai 7, New Petchaburi Rd., Bangkok, Thailand 10310  Tel.(+66) 2310-3000 ราคาโดยประมาณ 2000 บาท (updated 01 July 2011) *กรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้า อย่างน้อย 1 วันสำหรับ ร พ กรุงเทพ Website : http://www.bangkokhospital.com/ เวลาทำการ M-F 8am-3pm , Sat-Sun 8am-11am สิ่งที่ต้องนำไปด้วยเวลาไปตรวจสุขภาพ เวลาไปตรวจสุขภาพ ให้นำเอกสารดังนี้ไป 1. Copy of Passport ควร copy ให้ชัดเจน เห็นรูป เเละตัวหนังสือชัดเจน (เอาตัวจริงไปด้วยก็ได้) 2. I D Card ตัวจริง สำหรับ ร พ กรุงเทพเท่านั้น  3. เอกสารในไฟล์แนบในอีเมลล์ที่สถานทูตส่งให้ ที่มีชื่อ นามสกุลของผู้สมัคร เเละ HAP ID (อันเดียวกับที่ได้อีเมลล์จากสถานทูตด้านบนแหละครับ เป็น pdf) คำแนะนำในการตรวจสุขภาพ 1. หากมีประจำเดือน ไม่ควรตรวจในช่วงที่มีประจำเดือนหรือหลังมีประจำเดือน ควนเว้นไว้ 7 วันค่อยตรวจ 2. สิ่งที่ตรวจคือ ตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น สายตา  ตรวจปัสสาวะ ตรวจ X-Ray ปอด  3.ควรดื่มน้ำเยอะๆ ไม่ควรอั้น ปัสสาวะ  4.ไม่ควรดื่มชา หรือกาแฟก่อนไปตรวจ 5.ดื่มน้ำได้ตามปกติ 6. หากตั้งครรภ์แจ้งคุณหมอทราบด้วย  7. หากสายตาสั้นให้นำ contact lense หรือ แว่นที่ใส่ประจำไปด้วย 8. หากไม่สบายควรรอให้หายขาดก่อน ค่อยไปตรวจ  9. หากเป็น ร พ กรุงเทพ ควรจะโทรไปนัดก่อนครับ หลังจากตรวจสุขภาพเสร็จ ก็กลับไปนอนตีพุงรอผลวีซ่าต่อที่บ้านได้เลยครับ เย้  โชคดีทุกคนนะครับ :> http://www.thaiwahclub.com/article-wah/australia/205-e-health-australia.html
Work and Holiday FAQ
  Work and Holiday คืออะไร? Work and Holiday Visa หรือที่เรียกกันย่อๆว่า WAH คืออะไร?  คิดว่าหลายๆคนที่เข้ามาในเวปนี้คงจะทราบกันแล้ว แต่ขออธิบายได้สักนิดเผื่อคนที่หลงเข้ามาเป็นครั้งแรกครับ   Work and holiday เป็นโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรเลีย โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดย ณ ตอนนั้นมีโควต้าให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 100 คน อีกสองปีต่อมาเพิ่มเป็น 200 คนและล่าสุดในปี 2552 ได้เพิ่มเป็น 500 คน ( และยังคง 500 คน มาถึงปัจจุบัน) โครงการเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 18-30 ปีได้ไปลองใช้ชีวิตในออสเตรเลียเป็นเวลาหนึ่งปี โดยเยาวชนเหล่านี้ต้องมีผลภาษาอังกฤษอยู่ในระดับพอใช้และจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีครับ สำหรับระดับภาษาอังกฤษวัดกันโดยใช้ผลสอบ IELTS = 4.5 คำว่าลองใช้ชีวิตเป็นคำศัพท์ที่ผมเขียนขึ้นมาเองเพราะรู้สึกว่าวีซ่านี้เหมาะกับคนที่จะมาเป็นครั้งแรกครับ คือให้เรามาลองดูว่าเราชอบประเทศนี้รึเปล่า ชอบอยู่มั้ย อยากอยู่ต่อมั้ย ทีนี้มาดูรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับวีซ่ากันดีกว่าว่าเค้าอนุญาตให้เราทำอะไรได้บ้าง ระหว่างหนึ่งปีที่ถือวีซ่านี้เราสามารถทำได้ทั้งทำงาน เรียน หรือแค่เที่ยวเล่นเฉยๆ โดยจะมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้  • ทำงาน สามารถทำงานกับนายจ้างคนเดียวกันได้ไม่เกิน 6 เดือน  • เรียน สามารถลงเรียนในออสเตรเลียได้ไม่เกิน 17 สัปดาห์ • ท่องเที่ยว ไม่มีข้อกำหนดในการท่องเที่ยวครับ สามารถเที่ยวได้ตลอดเวลา 1 ปีถ้ามีเงินเพียงพอจะมาเที่ยวอย่างเดียวก็ไม่ว่ากัน วีซ่านี้ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศเราครับ แต่สำหรับประเทศที่เค้าเศรษฐกิจดีๆกันในยุโรปและเอเชีย เช่น อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น เค้ามีวีซ่าคล้ายๆกันที่เรียกว่า Working Holiday Visa ซึ่งจะต่างกันตรงที่เค้าสมัครได้ง่ายกว่าและจะต่อวีซ่ารอบสองได้ด้วยเรียกว่า 2nd Working Holiday Visa ซึ่งจะต่อได้โดยการไปทำงานที่เค้ากำหนดไว้สามเดือนครับ รู้จักกันไปคร่าวๆแล้ว ทีนี้มาดูคำถามที่ถูกถามบ่อยๆหรือข้อเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับวีซ่า Work and Holiday กันดีกว่าครับ   1โครงการ Work and Holiday กับ โครงการ Work and Travel เหมือนกันมั้ยคะ?  ส่วนตัวผมไม่มีประสบการณ์ Work and Travel ครับ แต่จากที่ทราบจากเพื่อนๆที่ไปมาก็เป็นโครงการที่ไปทำงานในต่างประเทศเป็นเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปก็จะได้งาน ได้สัมภาษณ์งานเรียบร้อยก่อนไปซึ่งตรงนี้จะมีเอเจนต์ดำเนินการให้และเราก็เสียค่าดำเนินการให้เค้าไป ขณะที่ Work and Holiday จะเป็นโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โดยผู้ที่ได้รับวีซ่าในปีนั้นๆจะมีสิทธิ์ทำงาน เรียน และท่องเที่ยวเป็นเวลาหนึ่งปีอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว อย่างไรก็ตามโครงการนี้ไม่มีการหางานให้ครับ   2มีเอเจ้นต์รับทำเรื่องวีซ่านี้มั้ยคะ ทำยากมั้ย เสียเงินเยอะมั้ย? ถ้าถามว่ามีมั้ยตอบว่ามีครับ แต่จริงๆแล้วมันผิดกติกาและวัตถุประสงค์ของวีซ่านี้ ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับการปฏิเสธวีซ่าได้ครับถ้าโดนจับได้ ดังนั้นแนะนำว่าให้ยื่นด้วยตัวเองจะดีกว่า เพราะไม่ได้ยากอะไรครับ  ค่าใช้จ่ายในการสมัครวีซ่านี้รวมถึงค่าตั๋วเครื่องบินและพอกเกตมันนี่ผมเขียนไว้ในบทความนี้ครับ ค่าใช้จ่ายในการไปออสเตรเลีย 3เวลาสมัครโครงการต้องใช้ผล IELTS ใช่มั้ยคะ ต้องใช้ General หรือ Academic คะ? สามารถใช้ได้ทั้งสองแบบครับ แต่โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่พบว่าแบบ general ง่ายกกว่า  ดังนั้นถ้าจะสอบมาโครงการนี้เฉยๆ ก็สอบ general training ก็พอครับ อย่างไรก็ตามถ้ามีแผนตั้งใจมาเรียนต่อหลังจากหมดวีซ่านี้สอบแบบ Academic ไว้ก็สะดวกดีครับ 4แล้วถ้าไม่มีผลสอบ IELTS ได้มั้ยครับ? ถ้าไม่มีผลสอบไอเอลท์มาและจบปริญญาตรีในไทย ก็ต้องเรียนจบปริญญาตรีที่สอนเป็นภาษาอังกฤษมาครับ 5ผมอ่อนภาษาอังกฤษมากๆเลยครับ สอบแล้วได้ไม่ถึง 4.5 แน่นอน ทำยังไงดีครับ ? ถ้าภาษาอ่อนมากๆคิดว่าสอบยังไงก็ได้ไม่ถึงจริงๆผมก็ยังอยากแนะนำให้ไปลองสอบดูก่อนครับ เพราะถ้าไม่ลองจริงๆ เราก็จะไม่รู้ จริงๆแล้วเราอาจจะได้ถึงก็ได้ แต่ถ้าลองแล้วยังไงๆก็ไม่ได้ แล้วอยากมาจริงๆมีสองทางเลือกครับ คือ ไปเรียนกวดวิชาสักพักแล้วค่อยไปลองสอบดูใหม่ ผมเชื่อว่ายังไงมันก็ต้องดีขึ้น ส่วนอีกทางเลือกสำหรับคนที่พร้อมทางด้านการเงินก็คือมาด้วยวีซ่านักเรียนแทนครับ 6สมัครได้เมื่อไหร่คะ โครงการนี้ ? โดยทั่วไปแล้ว โครงการจะเปิดรับในช่วงต้นเดือนกรกฏาคม อย่างไรก็ตามปีที่ผ่านมาก็เปิดช้ากว่าปกติ ดังนั้นให้ติดตามข่าวดีๆครับ  โดยติดตามได้ใน  http://www.opp.go.th เวปของสท. http://www.thaiwahclub.com เวปนี้เอง http://www.aussiethai.com และเวปออสซี่ไทยครับ นอกจากนั้นอาจสามารถเห็นการอัพเดทข่าวสารได้ในพันทิปห้องไกลบ้านเช่นกันครับ 7ใช้เวลานานมั้ยครับกว่าจะได้วีซ่า? ถ้าหลักฐานครบก็ไม่นานครับ แล้วแต่ความยุ่งของเจ้าหน้าที่ด้วยว่าช่วงนั้นมีเคสเยอะมั้ย อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็ไม่น่าเกิน 2 สัปดาห์ครับ บางคน 2วันได้ก็มี 8คนสมัครเยอะมั้ยครับปีนึง ต้องสอบแข่งกันมั้ย แล้วเค้าให้เราไปได้ปีละกี่คนครับ? คนสมัครเยอะมั้ย ถ้าเทียบกับจำนวนนักเรียนที่มาในแต่ละปีอาจถือว่าไม่เยอะนะครับ  แต่ก็เห็นมาสมัครกันเต็มโควต้าทุกปีกัน ยิ่งปีหลังๆ เพราะโครงการเป็นที่รู้จักมากขึ้นครับ ไม่ต้องสอบแข่งกันครับ เอกสารครบ ยื่นทัน ก็สามารถมาได้เลย พูดถึงจำนวนโควต้าในแต่ละปี โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 มาถึงตอนนี้ (2552) ก็เป็นปีที่ 5แล้วครับ 2 ปีแรกให้มาปีละ 100 คน 2 ปีถัดมาให้มาอีกปีละ 200 คน และล่าสุดในปี 2552 ก็ได้โควต้าเพิ่มเป็น 500 คนครับ 9ได้ยินมาว่าถือวีซ่านี้ต้องไปทำงานฟาร์มอย่างเดียวจริงมั้ยคะ? ไม่จริงอย่างจริงจังครับ เราสามารถทำงานอะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่เกินหกเดือนต่อหนึ่งนายจ้าง (จริงๆก็มีอาชีพที่เค้าห้ามอยู่เหมือนกัน แต่ว่ามักจะเป็นอาชีพที่เรามักจะไม่ทำกันอยู่แล้ว เช่น ช่างทำตุ๊กตา เป็นต้น) 10เราถือวีซ่านี้แล้วจะให้แฟนติดตามเราได้มั้ยคะ? ไม่สามารถทำได้ครับ เพราะว่าวีซ่านี้กำหนดให้เราเดินทางคนเดียว ไม่มีผู้ติดตาม อนึ่ง คำว่าเดินทางคนเดียวไม่ได้แปลว่ามากับเพื่อนไม่ได้นะครับ จะมากับแฟนก็ได้เหมือนกันเพียงแต่ต้องขอวีซ่าของตัวเองมาแยกกันครับ สำหรับผู้ที่มากับแฟน ไม่ว่าแฟนจะเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ก่อนแล้ว หรือแฟนจะถือ Work and Holiday Visa มาด้วยกัน และยังไม่แน่ใจว่าจะกลับมาด้วยกันมั้ย ผมแนะนำว่าให้เก็บหลักฐานร่วมกันเอาไว้ก่อนครับ เผื่อวันหน้าเราจะกลับมาออสเตรเลียด้วยกันอีกก็จะได้มีหลักฐานพร้อมครับ หลักฐานและขั้นตอนต่างๆสามารถดูได้จาก การยื่น visa ติดตามนักเรียนด้วยตัวเอง ครับ 11เราถือวีซ่านี้แล้วสามารถเรียนภาษาได้มั้ยคะ ? ตามกำหนดว่าเค้าให้เราเรียนได้ไม่เกิน 17 สัปดาห์ เราสามารถเรียนอะไรก็ได้รวมถึงภาษาด้วย สำหรับคนที่เค้าวางแผนว่าจะเรียนโทกัน อาจจะลงเรียนภาษาแบบที่เรียกว่า EAP หรือ Direct Entry ก่อน ซึ่งทำให้ไม่ต้องสอบ IELTS แล้วเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยได้เลย อย่างไรก็ตามต้องเลือกมหาลัยและสถาบันภาษากันอีกทีนะครับ ไม่ใช่เลือกเรียนภาษาที่ไหนก็เข้ายูได้ พอเรียนจบก็สมัครเรียนโท จ่ายเงินไว้ บินกลับไทยต่อวีซ่าแปบเดียวผ่านครับ เพราะถ้ามาเรียนตรีขึ้นไปจะขอวีซ่าง่ายกว่าเยอะครับ ที่ว่าง่ายกว่าเยอะคือไม่ต้องยื่นเสตทเม้นท์ และถ้าไม่อยากกลับเราอาจจะขอโดยบินไปประเทศใกล้เคียงก็ได้ครับ อ่านเกี่ยวกับระบบการศึกษาและและคอร์สเรียนต่างๆได้ใน เรียนต่อ Australia ครับ 12คนที่ถือวีซ่านี้ไปเรียนภาษากันเยอะมั้ยครับ? ถ้าสำหรับเด็กไทยผมว่า ณ ตอนนี้ยังไม่เยอะครับ เพราะวีซ่านี้ยังใหม่สำหรับเราอยู่ แล้วเราค่อนข้างรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นวีซ่าที่น่าจะเก็บเงินได้เยอะถ้ามาด้วยวีซ่านี้ แต่สำหรับหลายๆประเทศที่เค้าถือมีกันมานานแล้ว เค้าก็จะมาเรียนแล้วหางานกันครับ  โดยทั่วไปเด็กเกาหลี ญี่ปุ่น อาจจะเริ่มจากโรงเรียนภาษาก่อนจากนั้นก็ค่อยๆไปหางานทำในภายหลังหลังจากได้ภาษาแล้ว เด็กยุโรปก็มีมาเรียนภาษาก่อนครับ เด็กจากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็จะไม่มีความจำเป็นต้องเรียนภาษาแต่อย่างใด เค้าก็อาจจะทำงานไปเที่ยวไปครับ ถ้าถามว่าเรียนดีมั้ย มันก็ต้องดีแหละครับ ถ้าเราพร้อมทางด้านการเงิน แต่ถ้าไม่พร้อมก็ไว้เก็บเงินแล้วค่อยเรียนทีหลังก็ได้ครับ ถ้าอยากเรียน สำหรับข้อดีของการเรียนภาษาตั้งแต่ไปถึงใหม่ๆก็คือ - ได้เพื่อน ได้ภาษา ทำให้มีโอกาสในการหางานมากขึ้น มีโอกาสได้งานที่ดีกว่าไปใหม่ๆ - รร.หลายๆที่มีบริการหางานให้นักเรียนด้วยซึ่งก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมว่ากันไป   13ผมอยากไปเก็บเงินเรียนโทครับ จะเก็บเงินได้พอค่าเรียนโททั้งหมดมั้ยครับ? ถามว่าจะเก็บเงินพอค่าเรียนโททั้งหมดเลยมั้ยผมว่าคงต้องทำงานหนักกันจริงจังเหมือนกันครับ คิดกันคร่าวๆว่าค่าเทอมเรียนมหาวิทยาลัยที่นี่เทอมละประมาณ 10,000 เหรียญต่อเทอม (ในบางมหาลัยอาจจะถูกกว่านี้หรือแพงกว่านี้ก็มีครับ ถูกที่สุดราวๆ 8,000 AUD แต่ผมยกตัวอย่างกลางๆให้) สมมติคอร์สเรียนโท 1 ปี ค่าเรียนประมาณ 20,000 เหรียญ สมมติคิดกันว่ามาเดือนแรกยังไม่ได้งานจริงจัง เราจะคิดเงินเก็บจาก 11 เดือน ซึ่งก็คือ 44 สัปดาห์ หารมาเป็นต่อสัปดาห์จะต้องเก็บได้ 454 เหรียญเป็นอย่างน้อย อันนี้ยังไม่รวมค่ากินอยู่ นั่นแปลว่าจะต้องมีรายได้ไม่น่าจะต่ำกว่า 600 เหรียญต่อสัปดาห์ครับ ซึ่งถ้าขยันทำงานก็เป็นไปได้ครับผมถ้าขยัน อย่างไรก็ตามเมือมาถึงจริงๆแล้วความไม่แน่นอนมันจะเยอะครับ ไม่ได้เป็นไปตามแผนทุกอย่าง สมมติว่าเราว่างงานเพิ่มไปอีกเดือนนึงเราก็จะต้องมาเก็บเพิ่มอีก เกือบ 2000 เหรียญแล้วครับ  ดังนั้นส่วนตัวผมแนะนำวิธีที่ไม่กดดันมากจะดีกว่า โดยให้เก็บเงินให้พอเรียนค่าเทอมแรก กับค่าเรียนภาษาในกรณีที่ไอเอลท์ยังไม่ถึง 6.0-6.5 แล้วก็มาลุยต่อดีกว่าครับ 14ไปครั้งแรก ภาษาไม่ดีเท่าไหร่ ไม่มีเพื่อน ไม่มีญาติ ไปเมืองไหนดีคะ? ไปเมืองไหนอันนี้แล้วแต่ชอบเลยครับ ถ้าชอบเงียบๆ ชอบธรรมชาติก็ไปเมืองเล็กๆหน่อย ชอบแสงสีก็อาจจะมา Sydney เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ว่าภาษาไม่ดีมี 2 ทางเลือกครับ  14.1) เลือกไปเมืองใหญ่ๆ เพราะคนไทยเยอะมีอะไรก็อาจจะช่วยเหลือกันได้ 14.2) เลือกเมืองเล็กๆแบบคนไทยน้อยๆไปเลย แล้วไปฝึกตัวเองเอา บังคับให้ได้ภาษาไปในตัวครับ ข้อดีข้อเสียต่างกันไปครับแต่ละเมือง ไม่มีที่ไหนดีกว่ากันแล้วแต่ชอบมากกว่าครับ อย่างไรก็ตามการรู้จักเพื่อนๆไว้มีข้อดีเสมอ เพราะส่วนมากการที่เราจะได้งานก็มักจะมาจากคอนเนคชันนี่แหละครับ ยังไงก็พยายามหาเพื่อนๆพี่ๆในเวปนี้ไว้ครับ 15ถือ Student Visa อยู่ อยากเปลี่ยนเป็น Work and Holiday Visa ทำเรื่องที่ออสเตรเลียเลยได้มั้ยคะ? ไม่ได้ครับ ต้องกลับไปทำที่ไทย ผมเองก็ถือวีซ่านักเรียนก่อนสมัคร Work and Holiday ครับ ถ้าจะสมัครก็ทำเรื่องลาออกให้เรียบร้อยซะก่อน เวลาสมัคร Work and Holiday เค้าจะไม่ได้สงสัยว่าเราจะเปลี่ยนวีซ่าทำไมครับ 16มาอยู่ที่ออสแล้ว เราสามารถทำงานกับนายจ้างเดียวเกินหกเดือนได้มั้ยครับ ไม่อยากเปลี่ยนงานเลย? เราสามารถขออนุญาตทำงานเกิน 6 เดือนได้ โดยเขียนจม.ไปขอที่ Global Accessing Unit ครับ Global Processing Unit Global Processing Unit 3 Lonsdale Street or PO Box 717 Braddon ACT 2612 Canberra City ACT 2601 โดยให้ส่งไปก่อนที่จะครบ 6 เดือน อย่างน้อย 2 สัปดาห์  อย่างไรก็ตามการที่เค้าจะต่อให้เรามักจะต้องมีเหตุผลสำคัญจริงๆ เช่นเค้าหาคนแทนไม่ได้จริงๆ และต้องใช้ skill ที่เรามีด้วย และเค้ามักจะให้เราทำต่อแค่ไม่นานครับเป็นวันหรือสัปดาห์เท่านั้น ไม่ได้ให้ทำอีกหกเดือนต่อไป 17เห็นเพื่อนญี่ปุ่นถือเวิร์คกิ้งฮอลิเดย์ไปทำงานฟาร์มกันแล้วต่อวีซ่าได้ อยากต่อบ้างทำยังไงคะ? วีซ่าของเด็กญี่ปุ่นจะเป็นอีกซับคลาสนึงครับ เรียกว่า Working Holiday (Subclass 417) ขณะที่ของเราคือ Work and Holiday (Subclass 462) จะมีข้อแตกต่างกันเล็กๆน้อยๆ (ซึ่งเราอยากให้เหมือนกันมากกว่า) เช่น 17.1 ) เวลาสมัคร Working Holiday สามารถสมัครออนไลน์ได้ ไม่ต้องใช้ IELTS และปริญญาบัตรแต่อย่างใด ในขณะที่ของเราต้องผ่านสท. ต้องมี IELTS และต้องจบปริญญาตรี จากนั้นถึงไปยื่นวีซ่าได้ครับ (น่าอิจฉาจริงๆ) 17.2 ) หลังจากทำงานในแอเรียที่กำหนดครบ 3 เดือน ผู้ถือ Working Holiday Visa สามารถต่อ Visa เป็น 2nd Working Holiday Visa ได้ ขณะที่ Work and Holiday ไม่สามารถทำได้ครับ 18อยู่มาจะครบปีแล้วเราสามารถสมัครเรียนโทแล้วต่อวีซ่าที่นี่เลยได้มั้ยคะ? ถ้ามีผล IELTS พร้อมสามารถสมัครได้เลยครับ โดยขั้นตอนการขอวีซ่านักเรียนทั่วไปคือ หนึ่งทำการสมัครโดยยื่นหลักฐานไปยังมหาวิทยาลัย (ผ่านเอเจนต์หรือไม่ผ่านก็ได้ แต่ผ่านจะสะดวกกว่าและจ่ายเงินเท่ากัน –อย่างไรก็ตามต้องเลือกเอเจนต์ดีๆนะครับ) ขั้นตอนที่สองคือ หลังจากได้รับการตอบรับจากทางมหาวิทยาลัยแล้ว เราจะได้ Letter Of Offer มา จากนั้นจะต้องชำระเงินเพื่อขอ CoE (Confirmation of Enrollment) เพื่อนำไปใช้การยื่นวีซ่าต่อไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากทุกคนที่ถือวีซ่านี้จะติด condition 8503 – No Further Stay ทำให้ไม่สามารถสมัครวีซ่านักเรียนที่ออสเตรเลียได้ครับ ต้องออกนอกประเทศไปสมัครมาอีกทีนึง 19ไม่อยากกลับไทย มีทางต่อวีซ่ามั้ยครับ ? มีหลายทางที่จะต่อวีซ่าได้ เช่น เรียน หรือหานายจ้างสปอนเซอร์ได้ แต่เนื่องจาก condition 8503 ทำให้ไม่สามารถต่อวีซ่าในออสเตรเลียได้ครับ มี 2 วิธีหลักๆที่จะไม่ต้องกลับไทย (แต่ก็ต้องออกนอกประเทศอยู่ดี อาจจะบินไปนิวซีแลนด์แทน) คือ  ขอวีซ่านักเรียน subclass 573 (higher education) – หมายถึง คอร์สเรียนตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป หรือหานายจ้างสปอนเซอร์ให้ได้แล้วขอ Business Long Stay Visa (subclass 457) 20ขอเวิร์คฮอลิเดย์ออสเตรเลียแล้วปีหน้าขอของนิวซีแลนด์บ้างได้มั้ยครับ? ได้ครับ ไม่ได้ห้ามไว้แต่อย่างใด มีแผนการขอวีซ่าทั้งสองมาให้ดูกันด้วยครับ คลิกที่นี่เลย เรื่องของ"แป๋ม" **[update]อนึ่ง ในปี 2553 เป็นปีแรกที่สท. เปิดรับสมัครผู้สนใจโครงการ Work and Holiday Australia และ Working Holiday New Zealand คนละวันกัน ทำให้หลายๆคนสมัครได้ทั้งสองที่โดยไม่ต้องวางแผนอะไรเยอะครับ แค่ไปเช้าๆสองวันและหลักฐานครบก็โอเคแล้ว Written by : http://www.thaiwahclub.com/article-wah/australia/40-Wah-FAQ.html
คุยกันเรื่อง Internship in Australia
    Internship in Australia โปรแกรม Internships คือโปรแกรมสำหรับผู้ที่ต้องการมาฝึก skills ของตนเองในสายงานต่างๆ ทั้งบริษัท องค์กร และโรงแรม  Internships ในต่างประเทศเป็นที่นิยมมากเนื่องจากในการรับสมัครทำงานเน้นจากประสบการณ์จริง นักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่จึงต้องไปฝึกงานในลักษณะนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของวิชาที่เรียนอยู่ หรือฝึกเพื่อเอาประสบการณ์ สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการมา Internships ที่ออสเตรเลีย เค้าแบ่งโปรแกรมไว้หลักๆ 2 แบบคือ paid และ unpaid ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบ unpaid ซะด้วย เหตุผลที่ส่วนใหญ่เป็น unpaid (อันนี้พวก Aussie เค้าบอกมา) ก็คือในเมื่อเราฝึกให้คุณเป็นงาน ได้ประสบการณ์ที่ดีแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแรง งานในลักษณะ unpaid คืองานทั่วไปใน office ทั่วไปเกือบทุกสายงาน เช่น Marketing, Finance, Account , Management, Human resource, Multimedia, Computer, Engineering, Social Science, Research ต่างๆ เป็นต้น ส่วนงานที่เป็นแบบ paid นั้นน้อยมากอีกทั้งยัง require ประสบการณ์ทำงานมาแล้ว 2 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานบริการในลักษณะ Hospitality หรืองานโรงแรม จะมีบ้างที่เป็นลักษณะ Child care, Aged Care, Account หรือ IT แต่จะน้อยมาก โดยเฉพาะ Account และ IT ที่เป็น paid นั้นบางบริษัทได้รับ resume เป็นพันๆ ต่อหนึ่งตำแหน่งเลยทีเดียว เพื่อนๆอาจจะสงสัยว่าในเมื่อมีประสบการณ์แล้วทำไมจึงต้องมา Internships อีก อันนี้อาจจะเป็นไปได้ว่า ประสบการณ์ 2 ปีจากบ้านเรา หรือประเทศอื่นอาจจะยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในออสเตรเลีย อีกทั้งการ Internships ยังเป็นใบเบิกทางในการทำงานในอนาคตทั้งที่ออสเตรเลีย และในประเทศธุรกิจทั่วไป ข้อดีและข้อเสียของโปรแกรม Internships ข้อดีคือ  1ได้ประสบการณ์ทำงานในระดับสากล สามารถใช้เป็น reference ในการสมัครงานในอนาคต ซึ่งส่งผลดีต่อการหางานของเราเป็นอย่างมาก 2ได้เพื่อนต่างชาติต่างภาษา เนื่องจากออสเตรเลียเป็นประเทศ Multicultural ค่ะ จึงมีชาวต่างชาติมากมายที่นี่ สามารถเรียนรู้การผสมผสานวัฒนธรรม และการปรับตัวต่างๆได้มากมาย 3มีโอกาสได้ sponsor ในการทำงานที่ออสเตรเลีย ในกรณีที่เราทำงานดีถูกใจเจ้านาย เค้าสามารถจ้างเราต่อได้เลยค่ะ ข้อเสียคือ 1ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงหากสมัครกับเอเจ่น จะคิดราคาตามระยะเวลาการฝึกงาน ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 26 สัปดาห์ หากเป็นงานลักษณะ unpaid เพื่อนๆต้องเตรียมค่าใช้จ่ายมาให้ครอบคลุมระยะเวลาการฝึกงานทั้งหมดค่ะ ทั้งค่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าอาหาร  ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการมา Internships ที่ออสเตรเลีย 1ขั้นตอนการสมัคร เพื่อนๆต้องเตรียม resume ฉบับภาษาอังกฤษสวยงาม และ introductory letter ฉบับสวยงามในการสมัคร หากต้องการใช้บริการเอเจ่น สามารถหาข้อมูลได้ทั่วไปทาง Internet หากเป็นเอเจ่นที่ไทยการ Internships ส่วนใหญ่จะบวกคอร์สเรียนภาษาด้วย เนื่องจากเงื่อนไขการมา Internships ที่นี่จำเป็นต้องมีระดับภาษาอังกฤษที่ IELTS 6.0 หากเพื่อนๆใช้เอเจ่นของออสเตรเลีย ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นที่น่าเชื่อถือก่อนสมัครเนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงแต่จะถูกกว่าของไทยเนื่องจากไม่ต้องบวกคอร์สเรียนภาษา เพื่อนๆสามารถยื่นหลักฐาน IELTS ในการสมัครได้เลยค่ะ หรือหากเพื่อนๆลอง search ตาม internet ดูจะพบว่าบางบริษัทเปิดรับ Volunteers ก็สามารถลองสมัครดูได้ค่ะ วิธีหลังนี้จะประหยัดสุด 2ในการฝึกงานนั้น การสื่อสารถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากเราไม่เข้าใจจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขอคำอธิบาย ที่ออสเตรเลียถือว่าการแสดงความคิดเห็นในบริษัทเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ถึงแม้เราเป็นเพียง intern หากเรามีความคิดเห็นที่ต่างออกไป หรือมีข้อเสนอแนะดีๆก็สามารถแนะนำได้เลยค่ะ ในขณะเดียวกันเราสามารถขอลักษณะงานที่เราต้องการฝึกได้ หรือปฏิเสธงานที่เราไม่ต้องการได้ (เช่น เค้าใช้เราไปซื้อกาแฟ แบบฝึกงานที่ไทย ก็บอกไปว่าฝึกมาเยอะแล้ว) การฝึกงานที่นี่ค่อนข้างดีค่ะ เนื่องจากเค้าสามารถแยกแยะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน หากเราเกิดผิดพลาดเรื่องงาน โดนตำหนิติเตียน หลังจากนั้นก็ถือว่าจบค่ะ ไม่ได้เอามาเป็นเรื่องส่วนตัวต่อ 3เสื้อผ้าสำหรับมาใส่มาฝึกงาน ควรดูตามความเหมาะสม จึงควรเตรียมมาให้เหมาะสมกับลักษณะงานและสภาพภูมิอากาศค่ะ สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะ 4เรื่องอาหาร ส่วนใหญ่ตามบริษัทจะมี ชา กาแฟ และนมให้ฟรีค่ะ และทุกบริษัทจะมีตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องปิ้งขนมปัง สำหรับผู้ที่ต้องการมาอุ่นอาหารหรือทำแซนวิชทานตอนกลางวัน พวกฝรั่งเค้าทานกลางวันกันง่ายๆค่ะ แซนวิชคู่เดียวก็อิ่มแล้ว ข้อควรระวังคือ เมื่อเราเก็บอาหารเราไว้ในตู้เย็น ควรเขียนชื่อกำกับไว้ค่ะ บางครั้งมีผู้แกล้งไม่รู้หยิบไปทานได้ Internships บางประเภทเช่นด้าน Hospitality จำเป็นต้องใช้ใบประกอบการเสริฟแอลกอฮอลล์ หรือ RSA และ RCG ค่ะ หากยังไม่มีใบนี้ก็ต้องไปเค้าคอร์สก่อนค่ะ Internships ก็เหมือนการทำงานทั่วไปค่ะ คือเราต้องรับผิดชอบต่อตนเอง ต่องานที่ทำ และต่อบุคคลรอบข้างค่ะ http://www.thaiwahclub.com/article-wah/australia/49-Internship-Australia.html
ค่าใช้จ่ายในการไปออสเตรเลีย
  คำถามหนึ่งเกี่ยวกับออสเตรเลียที่ผมพบบ่อยที่สุดได้แก่ คำถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการไปออสเตรเลีย ซึ่งโดยส่วนมากทุกคนก็อยากไปโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด มีสองวีซ่าหลักๆที่ขอไม่ยากและอนุญาตให้คนไทยมาใช้ชีิวิต ทำงาน หรือเรียนหนังสือในออสเตรเลียได้ สองวีซ่านี้ได้แก่ วีซ่านักเรียน และ Work and Holiday ซึ่งวีซ่าทั้งสองประเภทมีค่าใช้จ่ายต่างกันพอสมควร มาดูกันครับว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างหลักๆในการมาออสเตรเลียและการมาด้วยวีซ่าต่างกันมีค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร   ค่าใช้จ่ายหลักๆที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน ได้แก่ ค่าวีซ่า ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าประกันสุขภาพ พอกเกตมันนี่ และ ค่าเรียนสำหรับผู้ถือวีซ่านักเรียนครับ จากนี้ผมจะเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของทั้งสองวีซ่าให้ฟังครับ ค่าใช้จ่ายสำหรับ Student Visa รวมค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทางและพอกเกตมันนี่ เพื่อ ให้ได้วีซ่ายาวๆ เรามักจะขอวีซ่าเรียนภาษาหกเดือน และดิปโพลมาอีกปีครึ่ง สองปี ว่ากันไป ในกรณีนี้จะเทียบให้เป็นหนึ่งปีเท่ากัน ดังนั้นสมมติว่าจ่ายค่าเรียน certificate III สักหกเดือนครับ (ซึ่งคอร์สเรียนแบบแพกเกจส่วนมากจะหกเดือน ปีครึ่ง สองปี ก็จ่ายก้อนแรกเท่าๆกันครับ) ค่าเรียนมีหลายระดับ ตั้งแต่ 160-290 AUD ต่อสัปดาห์แตกต่างกันไปตามคุณภาพของโรงเรียนและคอร์สที่เรียน                                                                     คิดกันโดยเฉลี่ยที่ราคา 200AUD/wk x 24 week จะเป็น 4800 AUD  ค่าเรียนดิปโพลมาเทอมแรก 1200 AUD  ค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน 100-200 คิดคร่าวๆที่ 150 AUD  ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน 540 AUD  ค่าตรวจสุขภาพ ราวๆ 2000 THB หรือ 67 AUD  ค่าประกันสุขภาพ ราวๆ 354 AUD ต่อปี  ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับราวๆ 800 AUD  Pocket money 1500 AUD รวมเป็น 9411 AUD หรือประมาณ 282,330 THB – ไม่รวมค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้ VFS และซื้อของจิปาถะ อนึ่งราคาเรียนภาษาและค่าเทอมดิปโพลมานี้เป็นค่าเรียนสมมติครับ สามารถหาถูกหรือแพงกกว่านี้ได้ครับ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโรงเรียนที่ต้องการ ค่าใช้จ่ายสำหรับการขอ Work and Holiday Visa รวมค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทางและพอกเกตมันนี่ (ระยะเวลาวีซ่ายาวหนึ่งปี) ค่าธรรมเนียมวีซ่า 230 AUD ค่าตรวจสุขภาพ ราวๆ 67 AUD ค่าประกันสุขภาพราวๆ 150 AUD ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับปีนึงสมมติว่า 1,000 AUD Pocket money 1,500 AUD รวมเป็นเงิน 2,947 AUD หรือ 88,410 THB (ไม่รวมค่าบริการ VFS และซื้อของใช้จิปาถะ) สำหรับตัวของ Work and Holiday Visa เองมีข้อดีที่เห็นชัดกว่าวีซ่าอื่นๆคือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเยอะครับ น้อยที่ว่านี่คือน้อยกว่า โดยเปรียบเทียบกับอายุของวีซ่า ความยืดหยุ่นในการหางานทำ และโอกาสในการท่องเที่ยว เทียบกับวีซ่าชั่วคราวชนิดอื่นๆนะครับ อย่างไรก็ตามต้นทุนในการขอ Work and Holiday Visa ไม่รวมถึงต้นทุนในการศึกษาด้วยครับ ทำให้ได้ราคาถูกกว่าเยอะ โดยสรุปคือถ้าเป้าหมายหลักคือการไปท่องเที่ยว ทำงาน หรือ หาโอกาสให้ชีวิต โดยที่ยังไม่อยากเรียน ผมว่าวีซ่านี้น่าจะเหมาะที่สุดครับ ในขณะที่ถ้าเป้าหมายหลักคือการเรียนต่อ วีซ่านักเรียนก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าครับ Written by : http://www.thaiwahclub.com/article-wah/australia/27-initial-budget-australia.html
การยื่น visa ติดตามนักเรียนด้วยตัวเอง
การเตรียมเอกสารและการยื่น visa ติดตามด้วยตัวเอง  การเตรียมตัวยื่น visa ติดตามนักเรียนเป็นบทความหนึ่งที่ผมกะว่าจะเขียนนานมากแล้วครับ แต่เนื่องจากติดภารกิจต่างๆเลยได้แต่ผลัดไปผลัดมาอยู่นั่น วันนี้เคลียร์งานเสร็จไปแวปหนึ่ง เลยมานั่งเขียนบททความนี้ด้วยซะเลยเพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่ยื่นเองและคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งๆเพื่อนๆ WAH และเพื่อนๆที่ถือ visa นักเรียนที่เข้ามาอ่านกันครับ Student Dependent Visa หรือ visa ติดตามนักเรียนเป็น visa ที่ให้สิทธิ์ผู้ถือในการอยู่ Australiaเป็นระยะเวลายาวของ visa นักเรียนของผู้สมัครหลัก โดยผู้ติดตามไม่ต้องลงเรียน และสามารถทำงานได้เท่ากับผู้ถือ visa นักเรียน (20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ยกเว้นกรณีติดตามนักเรียนป.โท หรือ เอก สามารถทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง) ทั้งนี้ผู้จะติดตามอาจจะแบ่งได้เป็นสองกรณีหลักๆได้แก่ 1) แต่งงานแล้ว ในกรณีทั้งสองจะต้อง มีหลักฐานความสัมพันธ์เช่น ใบจดทะเบียนสมรส หรือรูปถ่ายงานแต่งงานและหลักฐานอื่นๆที่แสดงให้เห็นว่าเราได้รู้จักกันมา เป็นระยะเวลาหนึ่งและมีความสัมพันธ์ที่เป็นจริง ที่จะทำให้เค้าเชื่อได้ว่าไม่ได้จะมาติดตามกันหลอกๆเพราะว่าไม่อยากเสียค่า เทอมเฉยๆ 2) De Facto Relationship หรือการกินอยู่กันฉันท์สามีภรรยา กรณีนี้ ณ ปัจจุบัน (May 2010) ทั้งสองจะต้องมีหลักฐานในการใช้ชิวิตร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีจึงจะสามารถยื่นได้ครับ (บางครั้งได้ยินว่าบางคนไม่ครบปียื่น visa นี้ผ่านได้ก็มี แต่พร้อมไว้ดีกว่าเค้าจะได้ไม่มีเหตุผลมาปฎิเสธ visa เราครับ) บทความเรื่องการเตรียมตัวยื่นเอกสาร visa ติดตามบทความนี้จะเน้นไปที่แบบที่สองครับแต่ผู้ที่ยื่นแบบที่หนึ่งก็สามารถอ่านได้เอกสารก็จะไม่ต่างกันมาก   การเตรียมตัว ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ติดตามและผู้ถือ visa หลักจะต้องมีหลักฐานว่าได้ใช้ชิวิตร่วมกันมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปี ดังนั้นเราควรจะวางแผนให้ดีครับว่าต้องทำอะไรบ้างในวันนี้เพื่อให้แฟนเรามาถือ visa ติดตามได้ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า (การยื่นแบบ Defacto นี่จะเหมาะกับคู่ที่คบกันมาระยะหนึ่ง มีหลักฐานอยุ่บ้างแล้ว หรือยังไม่มีหลักฐานเลยแต่อาจจะยังไม่พร้อมที่จะจดทะเบียนแต่พร้อมจะเก็บหลักฐานครับ) ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ยื่น visa ไม่พร้อมกันครับ ในกรณีผู้สมัครหลักกำลังจะยื่น visa นักเรียน (แต่ยังมีหลักฐานอยู่ด้วยกันไม่ครบหนึ่งปี) ก็ให้ declare ความสัมพันธ์ไปด้วยเลยในการสมัคร visa นักเรียนว่าเป็น defacto กับคนนี้ passport number นี้ จะได้สอดคล้องกันกับหลักฐานต่างๆที่เราจะเก็บให้ครบปีนึงครับ ระหว่างนี้หลักฐานที่เราควรเริ่มเก็บ ได้แก่ • การเปิดบัญชีร่วมกัน ที่เค้าเรียกว่า Joint Account ครับ หลักฐานชิ้นนี้เก็บไม่ยากและค่อนข้างสำคัญ แค่ไปแจ้งความจำนงค์กับธนาคารว่าเราอยากเปิดบัญชีคู่กัน ยิ่งเปิดเร็วยิ่งดีครับ เพราะเค้าจะนับวันที่เราเริ่มมีหลักฐานเป็นสำคัญ  • การ sign contract เช่าบ้านร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะทำสัญญาเช่นบ้านร่วมกันครับ ถ้าไม่ได้จริงๆก็ควรจะมีหลักฐานจากเจ้าของบ้านว่าเราเช่าบ้านเค้าอยู่ด้วยกันจริงๆ • Utility Bills ต่างๆ เช่นค่ามือถือ ค่าไฟ ค่าแก๊ซ บิลเหล่านี้จะต้องถูกส่งไปยังที่อยุ่เดียวกันในชื่อของทั้งสองคน เช่นบิลค่าไฟเป็นชื่อของผู้สมัครหลัก และบิลค่าอินเทอเนทเป็นชื่อของผู้ที่จะสมัครติดตาม และควรเก็บบิลเหล่านี้ไว้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งปีครับ โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้แสดงถึงการที่เราอยู่ด้วยกันจริงๆ และการแชร์ค่าใช้จ่ายกัน • Overseas Student Health Cover (Family Unit) เป็นข้อกำหนดของ visa นักเรียนอยู่แล้วว่าจะต้องมีประกันสุขภาพตลอดเวลาที่อาศัยอยู่ใน Australia แต่ก่อนจะยื่น visa ควรจะไปเปลี่ยนจากประกันของตัวเองให้เป็น Family Unit ครับ • รูปถ่ายต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่นไปเที่ยวกัน อ้วนขึ้น ผอมลง ผมเปลี่ยนทรง ไม่ใช่ถ่ายมาร้อยรูปวิวเดิมหมดเลย เปลี่ยนชุด หน้าเดิม ผมเดิม อันนี้ก็จะดูไม่น่าเชื่อไปโดยปริยาย • หลักฐานทางการเงิน ให้แน่ใจว่าผู้สนับสนุนทางการเงินของเรามีหลักฐานทางการเงินที่เพียงพอสำหรับทั้งสองคน โดยค่าใช้จ่ายที่ทางรัฐบาลต้องการให้ครอบคลุมได้แก่ สำหรับผู้สมัครหลัก ค่าตั๋วไปกลับ :2000 AUD ค่าเรียน; จะนับส่วนที่ยังไม่ได้จ่ายในปีแรก ค่าครองชีพ ;1500 AUD ต่อเดือนได้ visa กี่เดือนก็คูณไป ถ้าขอ visa ปีนึงขึ้นไปจะคิดแค่ปีแรกครับ สำหรับผู้ติดตาม ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ  2000 AUD ต่อคน ค่าครองชีพ ;6800AUD ต่อเดือนปี อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักฐานการเงินได้ที่นี่ครับ http://www.immi.gov.au/students/students/573-1/financial.htm   ตรวจสอบเอกสาร   หลักจากนั้นก็เป็นเรื่องของระยะเวลา เก็บหลักฐานเหล่านี้อย่างต่อเนื่องให้ครบปีนึงก็จะถึงเวลายื่น visa ครบปีนึงที่ว่าอาจจะเอาเวลาที่ปรากฎอยู่ในวันเริ่มต้นใช้ Joint Account หรือวันที่มีสัญญาบ้านร่วมกันเป็นสำคัญครับ (โดยมากใช้วันที่เปิด Joint Account นั่นแหละเพราะเริ่มได้เร็วสุด) จากนั้นก่อนยื่น visa ให้เตรียมเอกสารดังนี้ครับ  ขอใบรับรองจากธนาคาร ว่าเราเปิดบัญชีร่วมกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ (ถ้าจำไม่ผิดจะเสียประมาณ 15 AUD ที่Commonwealth Bank) หลักฐานการตรวจสุขภาพของผู้ติดตาม (ในกรณีตรวจสุขภาพล่าสุดเกินหนึ่งปีแล้ว ถ้าไม่เกินหนึ่งปีก็ไม่ต้องไปตรวจซ้ำ) และให้เก็บใบเสร็จไว้ด้วยเพื่อใช้ในการยื่น visa รับรองเอกสารโดย JP นำ Passport ไปถ่ายเอกสารและนำสำเนาไปให้ Justice of The Peace (JP) รับรอง (หลักฐานทางราชการของที่นี่ต้องให้ผู้ที่ได้รับการยอมรับทางกฎหมายรับรองครับ ไม่ได้เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องได้เองเลยเหมือนที่ไทย)คลิกเพื่อหา JP ตามรัฐต่างๆใน Australia เขียนจดหมาย Relationship Summary โดยระบุถึงว่าพบกันเมื่อไหร่ อย่างไร (จดหมายนี้ผมได้ต้นแบบมาจากคุณดอส ออสซี่ไทยครับ ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ) CoE (Confirmation of Enrollment) และ Visa ของผู้สมัครหลัก เตรียมหลักฐานการเงินไว้ให้พร้อม หมายเหตุ visa นักเรียนของนักเรียนจะถูกแบ่งออกเป็นหลาย sub class ตามวัตถุประสงค์ของคอร์สเรียนหลัก เช่น เรียนภาษา sub class 570 เรียนโท sub class 573 เป็นต้น และจะถูกแบ่งย่อยด้วย Assessment Level 1-4 (เลขยิ่งน้อยจะของ่ายกว่า) ถ้าเป็น Assessment Level 1 และยื่น visa ออนไลน์จะไม่ต้องยื่นหลักฐานทางการเงินครับ (แต่ยื่นที่ไทยเค้าบอกให้ยื่นหลักฐานการเงินด้วยอยู่ดี ถ้ายื่นแบบ paper based) visa ที่เป็น Assessment Level 1 ขอพูดแค่ตัวหลักๆ 573 – higher education (เรียน ตรี โท) และ 574 (เรียนโทหรือเอกแบบรีเสริช)ครับ กรอกForm 157a และ Form 919  ให้เรียบร้อย สำเนาของบิลต่างๆที่ส่งมาที่ที่อยู่เดียวกัน สำเนาของสัญญาเช่าบ้าน (Lease Agreement) สำเนาของ Ledger แสดงให้เห็นว่าเราจ่ายเงินค่าบ้านอย่างไร เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ สำเนาจม.หรือใบเสร็จจาก Insurance Service Provider ทีแสดงว่าเราใช้ประกันแบบ Family Unit เขียนจดหมายสรุปหลักฐานที่มีทั้งหมดแปะหน้าไปให้เค้าซักหน่อย ดาวน์โหลด ตัวอย่าง Proof of Relationship Evidence Clarification   เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะได้ visa กันครับ การยื่นเอกสาร (ที่ไทย) ถ้ายื่นที่ไทยสามารถยื่นได้ด้วยตัวเองหรือทางไปรษณีย์ครับ  การยื่นเอกสาร (ที่ Australia) ยื่นด้วยตัวเอง เตรียมเอกสารให้ครบ ไปยื่นเอกสารด้วยตัวเองที่สำนักงานของ อิมมิเกรชันใกล้บ้าน ยื่นทางไปรษณีย์  คลิกเพื่อหา ออฟฟิซของอิมมิเกรชัน  ให้สังเกตดีๆว่าที่อยู่ Street Address และ Postal Address จะไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าจะยื่นด้วยตัวเองให้ใช้ที่อยู่ Street Address ถ้ายื่นทางไปรษณีย์ให้ใช้ Postal Address ครับ อ้อ สำหรับคนที่จะยื่นทางไปรษณีย์อย่าลืมไปซื้อ Money Order (from Australian Post) หรือ Bank Cheque (from any bank) สั่งจ่าย DIAC นะครับ หรือจะเซ็นรายละเอียดฟอร์มที่ให้หักบัตรเครดิตแล้วแนบไปก็ได้  เมื่อทางอิมมิเกรชันได้รับเอกสารแล้วจะใช้เวลาดำเนินการพิจารณาราวๆสิบวันทำการได้ครับ ยังไงเก็บหลักฐานกันให้ดีและก็ขอให้ visa ผ่านกันทุกคนครับ   ข้อควรรู้เพิ่มเติมสำหรับ visa ติดตามนักเรียน ถ้ายื่น visa พร้อมกันเลยจะเสียค่ายื่นเท่ากับผู้สมัครเดียว (540 AUD) ถ้ามายื่นแยกกันทีหลังผู้สมัคร visa ติดตามจะต้องเสียค่าสมัครอีกทีเป็นจำนวนเงิน 540 AUD ถ้ายื่นที่ออสเตรเลีย และยื่นติดตามทีหลัง ไม่สามารถยื่นออนไลน์ได้ ถ้าส่งไปรษณีย์หรือยื่นด้วยตัวเองเท่านั้น ผู้ติดตามทำงานดียี่สิบชั่วโมง ยกเว้นกรณีว่าผู้ถือ visa หลักเรียนโทหรือเอก ผู้ถือ visa ติดตามสามารถทำงานได้เต็มเวลา หลังจากคอร์สหลักเริ่มเรียนแล้ว การยกเลิกวีซ่าติดตาม ผุ้ติดตามจะต้องหาวีซ่าใหม่ให้ได้ภายในยี่สิบแปดวัน หลังจากที่ฝ่ายแรกแจ้งว่าความสัมพันธ์จบสิ้น มีข่าวลือว่าทำวีซ่าติดตามแล้วจะต้องเรียนด้วย ยังไม่มีการยืนยัน อย่าเพิ่งไปเชื่อครับ อีกอย่างมันไม่สมเหตุสมผลว่าจะไปให้คนที่ติดตามไปเรียนยังไงเพราะเค้าก็มีคอนดิชันบอกชัดเจนว่าไม่ให้เรียนเกินสามเดือน เกิดบังคับให้เรียนจริงๆ แล้วเรียนฟรี รร. คงไม่ยอม หรือบังคับให้จ่ายเงิน ก็น่าจะเรียกว่าเป็นวีซ่านักเรียนมากกว่าที่จะเป็นวีซ่าติดตาม http://www.thaiwahclub.com/article-wah/further-study-in-Australia/72-how-to-lodge-student-dependent.html    
การเปลี่ยนจาก Student เป็น WAH Visa
 ข้อแนะนำในการเปลี่ยนวีซ่านักเรียนเป็น Work and Holiday  คำถามที่ว่าสามารถเปลี่ยนจาก “วีซ่านักเรียนเป็น Work and Holiday วีซ่าได้หรือเปล่า?” เป็นหนึ่งในคำถามผมโดนถามบ่อยครับ และคำตอบก็ง่ายๆว่า ได้ครับ ถ้าเราไม่ได้มีปัญหาอะไรกับวีซ่านักเรียนอยู่ก่อนแล้ว เช่น โดนแคนเซิลวีซ่าหรือมีประวัติไม่ดี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามต้องกลับไปเปลี่ยนวีซ่านี้ที่ไทยครับ เพราะการขอ WAH ไม่สามารถขอจาก Australia ได้และยังมีใบรับรองจากสท.อีกด้วย (ซึ่งต้องไปขอที่ไทยอยู่แล้ว) สิ่งที่แนะนำให้ทำคือจัดการเรื่องต่างๆกับโรงเรียนให้เรียบร้อยครับ คือ ให้มั่นใจว่า  • ยังมีสถานะของวีซ่าที่ใช้ได้อยู่ ไม่ได้โดนแคนเซิลไปแล้ว เพราะหลายๆคนขาดเรียนแล้วไม่รู้สถานะของวีซ่าของตนเอง เราสามารถเชคสถานะวีซ่าของเราได้ที่นี่ครับ เชคสถานะวีซ่า   โดยการจะเชคสถานะวีซ่าได้เราต้องมีเลข TRN ครับ โดยอาจจะขอจากเอเจนต์ที่ใช้บริการอยู่ หรือสามารถกรอกรายละเอียดการยื่นวีซ่าที่ยื่นไปที่นี่แล้วขอเลข TRN จากทาง Immigration ได้ที่นี่ครับ ฟอร์มขอ TRN • ไม่มีปัญหาเรื่องผลการเรียนหรือ Attendance ไม่ได้โดนรายงานไปที่ immigration โดยอาจจะเชคกับทางโรงเรียนได้ครับ ซึ่งโดยปกติทางโรงเรียนจะแจ้งไปที่นักเรียนก่อนที่จะทำการรายงานไปยัง immigration แต่หลายๆคนก็ย้ายบ้านกันบ่อย ถ้าไม่ไปโรงเรียนอีกก็อาจจะไม่ได้รับข่าวสารของตัวเองครับ หลังจากมั่นใจแล้วว่าไม่มีปัญหาแน่นอนก็ให้ทำการลาออกจากรร. ให้เรียบร้อยจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลังครับ (อาจจะเป็นปัญญาเรื่องค่าเทอมที่ค้างชำระหรืออะไรก็ตามที่เค้าจะมาไล่กับเราทีหลังได้หากเราไม่ทำเรื่องให้เรียบร้อย) การลาออกจากรร. เราอาจจะลาออกด้วยตนเองหรือให้เอเจนต์ช่วยลาออกให้ โดยไม่ว่าจะทำเองหรือให้เอเจนต์ทำ ซึ่งต้องคุยกันดีๆนะครับ เพราะว่าหลายๆคนเอเจนต์เห็นว่ากลับไทยไปถาวรแล้วก็ไม่ได้ลาออกก็ปล่อยไว้ รร.ก็ทำตามหน้าที่ว่าเด็กหายไปไหน มารู้ตัวตอนจะมาใหม่ก็ติดแบลคลิสต์ไปก็มีให้เห็นกัน) ดังนั้นเราควรจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางโรงเรียนครับว่าเราได้ลาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลักฐานจะมีหน้าตามดังภาพครับ     การลาออกก่อนหรือหลังจากกลับไทย มีข้อแตกต่างกันดังนี้ครับ  การลาที่ออสเตรเลีย ถ้าลาออกให้เรียบร้อยตั้งแต่ที่ออสเตรเลียก่อนกลับก็ได้ ก็จะทำเรื่องง่าย ตามเรื่องง่ายกับทางโรงเรียนเพราะเราหรือเอเจนต์ไปเร่งเรื่องให้เองได้ แต่วีซ่าก็จะโดนตัดไปเลย ถ้าวีซ่า Work and Holiday ไม่ผ่านก็ต้องขอวีซ่านักเรียนกลับมาใหม่อีกทีอีกซึ่งปกติก็ผ่านแหละครับ ยกเว้นว่าจะหลักฐานไม่ครบ ยื่นเอกสารไม่ทัน หรือมีประวัติน่าสงสัยในตอนเป็นนักเรียน การลาออกภายหลังให้ผลว่า ถ้ายื่นไม่ทันจริงๆ ก็ยังกลับมาเรียนต่อได้ แต่ว่าจะลาออกแบบยุ่งยากหน่อยเพราะอยู่ไกล เอเจนต์(บางแห่ง)และโรงเรียน(บางที่)ก็อาจจะไม่อยากยุ่งอะไรมากแล้ว ดังนั้นก็ต้องพยายามไล่ตามเรื่องกันหน่อยครับ  แม้ว่าปกติแล้วการยื่นวีซ่าตัวใหม่จะไปทับวีซ่าตัวเก่าในทันทีที่ผ่าน แต่ผมก็แนะนำให้ลาออกให้เรียบร้อยก็จะดีกว่าครับ อย่างไรก็ตามจะลาออกหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของตัวเองนะครับ เพราะถ้าต้องกลับไทยไปของ WAH ซึ่งขั้นตอนอาจนานราวๆหนึ่งเดือน เราจะหาเหตุผลกับโรงเรียนได้ว่าอะไร ถ้่าลามาเฉยๆจะโดน report กัน ดังนั้นต้องตัดสินใจดีๆครับ http://www.thaiwahclub.com/article-wah/australia/73-student-wah-advice.html
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ TOEFL,IELTS,GMAT,GRE
IELTS คืออะไร IELTS (International English Language Testing System) คือ การวัดระดับ ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไป ศึกษาต่อ หรือรับการฝึกอบรมใน ต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายถิ่นฐาน ไปยังประเทศออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์  IELTS ทดสอบอะไรบ้าง IELTS เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและ การเขียน ผู้สอบจะได้รับใบรายงานผลการสอบโดยแยกเป็น แต่ละส่วนทั้ง 4 ทักษะ ลักษณะของคะแนนในการสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ระดับ โดยเริ่มต้นที่ ตั้งแต่ระดับที่หนึ่งไปจนถึงระดับที่เก้า ซึ่งสามารถวัดระดับความรู้ความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สอบได้อย่างถูกต้อง เช่น ระดับที่ 1 ผู้เข้ารับการทดสอบที่ได้คะแนนในระดับนี้จะหมายถึงผู้ที่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เลย  ระดับที่ 9 ผู้เข้ารับการทดสอบที่ได้คะแนนในระดับนี้จะหมายถึงผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ  ในการสอบ IELTS ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สำหรับผู้ที่ต้องการ จะสอบเพื่อนำผลไปสมัครเรียนต่อ และ สำหรับการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการทดสอบ ทั้งสองแบบจะได้รับข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบการฟังและการพูดฉบับเดียวกัน ส่วนการ ทดสอบการเขียนและการอ่านจะใช้ข้อสอบคนละแบบ แยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้า รับการทดสอบ รูปแบบของการทดสอบแยกตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้ารับการทดสอบ 1. เพื่อการศึกษาต่อ (ACADEMIC modules) เพื่อเป็นการทดสอบความพร้อมในการศึกษาต่อในต่างประเทศ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี และปริญญาโท 2. เพื่อการฝึกอบรม (GENERAL TRAINING modules) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวัดความพร้อมเพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยม การฝึกอบรมหรือ ทำงานในต่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ข้อสอบจะใช้วัดความรู้ภาษาอังกฤษ ในระดับพื้นฐาน และจะไม่ซับซ้อนเหมือนกับผู้ที่ต้องการวัดระดับความรู้เพื่อศึกษาต่อ และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศนิวซีแลนด์ หรือ ออสเตรเลีย iBT TOEFL คืออะไร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 การสอบ TOEFL หรือ The Test of English as a Foreign Language ได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งรูปแบบการสอบ การคิดคะแนน และวิธีการสอบ   การสอบ TOEFL เป็นการสอบวัดความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับคนต่างชาติที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เพื่อนำผลคะแนนไปยื่นกับสถาบันการศึกษาที่หมายตาเอาไว้   โดยใช้เป็นส่วนหนึ่งในคุณสมบัติที่ใช้สมัครเรียนระดับต่างๆ  ผลคะแนน TOEFL นั้น ไม่เฉพาะใช้สมัครเรียนในสถาบันการศึกษาที่เป็นระบบอเมริกันเท่านั้น ปัจจุบันประเทศต่างๆ กว่า 110 ประเทศ และสถาบันการศึกษากว่า 6,000 แห่งทั่วโลก ยอมรับผลคะแนน TOEFL    การสอบ TOEFL ในอดีตประกอบด้วย 2 แบบ คือ สอบแบบที่ใช้กระดาษในการทำข้อสอบ (Paper-based Testing) และการสอบที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำข้อสอบ (Computer-based Testing) กระทั่งปี 2005 ได้เปลี่ยนแปลงการสอบให้สอบผ่านอินเตอร์เน็ต (iBT TOEFL: Internet Base Test) โดยเลิกใช้การสอบทั้ง 2 แบบ  การสอบแบบ iBT TOEFL  เป็นการสอบทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เป็นการสอบที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียนในการสอบ โดยการสอบแต่ละส่วนจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ผู้สอบต้องตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูดทั้งหมด เพราะหมายความว่าเราจะตอบ พูด หรือเขียนไม่ได้เลย ถ้าไม่ตั้งใจฟังตั้งแต่แรก  สำหรับการสอบ TOEFL iBT จะใช้เวลาสอบประมาณ 4 ชั่วโมง โดยเน้นการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษในเชิงวิชาการ เพื่อใช้ความรู้ทางภาษาไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับสูง โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ทักษะ ดังนี้ 1. Reading เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจของการอ่านในเชิงวิชาการของผู้สอบ โดยผู้สอบต้องตอบคำถามจากบทความ 3 บทความ ในแต่ละบทจะต้องตอบคำถาม 12-15 ข้อ ส่วนนี้ต้องทำข้อสอบรวมประมาณ 39-40 ข้อ 2. Listening เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ผู้สอบต้องฟังบทสนทนาในประเด็นทั่วไป 2 เรื่อง และการบรรยายในห้องเรียน 4 เรื่อง ต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยินแต่ละบทบรรยายและเรื่องที่ได้ฟัง โดยส่วนนี้ต้องทำข้อสอบ 34-35 ข้อ 3. Speaking เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการพูดภาษาอังกฤษเนื้อหาเชิงวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามด้วยการพูด รวม 6 ข้อ หลังจากอ่านบทความ และการฟังบรรยายในแต่ละประเด็น โดยแบ่งประเภทของคำถาม ดังนี้ -  คำถามที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องราวที่ผู้สอบคุ้นเคย อาจเป็นประสบการณ์ หรือทัศนะส่วนตัว มีเวลาในการ เตรียมตอบคำถาม 15 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 45 วินาทีตในแต่ละข้อ - คำถามที่ 3 และ 4 ผู้สอบจะได้อ่านข้อความสั้นๆ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากนั้นจะได้ฟังบทสนทนา หรือการบรรยายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นนั้น ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตอบคำถาม 30 วินาที และตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ - คำถามที่ 5 และ 6 ผู้สอบจะได้ฟังบทสนทนาเพื่อการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ หรือฟังบรรยายทางวิชาการ ผู้สอบต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน และฟัง โดยการวิเคราะห์ สรุปข้อมูลที่ได้มา และตอบคำถามที่เหมาะสม มีเวลาเตรียมตัวตอบคำถาม 20 วินาที และมีเวลาตอบคำถาม 60 วินาทีในแต่ละข้อ 4.Writing เป็นทักษะที่ใช้วัดความเข้าใจในการเขียนในเชิงวิชาการ โดยผู้สอบต้องแสดงความสามารถในการใช้ภาษา และการคิดวิเคราะห์ การพัฒนาความคิดในประเด็นที่ได้อ่านจากข้อสอบ 2 ข้อ - คำถามที่ 1 ผู้สอบจะได้อ่านบทความทางวิชาการในเวลาประมาณ 3 นาที และฟังการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ได้อ่าน จากนั้นผู้สอบต้องสรุปบรรยาย หรือแสดงทรรศนะจากสิ่งที่ได้อ่าน และฟัง โดยต้องเขียน 150-220 คำ ในเวลา 20 นาที - คำถามที่ 2 ผู้สอบจะได้อ่านประโยคสั้นๆ และตอบคำถามโดยการบรรยาย หรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลจากสิ่งที่ได้อ่าน โดยต้องเขียนอย่างน้อย 300 คำ ในเวลา 30 นาที สำหรับการสมัคร TOEFL iBT แบบออนไลน์ เป็นการสมัครสอบที่รวดเร็ว และประหยัดที่สุด ค่าสอบ TOEFL ประมาณ140 เหรียญ หรือ ห้าพันกว่าบาท  สมัครสอบได้ที่ www.est.org/toefl  ตารางเทียบผล TOEFL และ IELTS   IBT TOEFL CBT TOEFL TOEFL  Paper based IELTS  0 - 8 0 - 30 0 - 310 0 - 1 9 - 18 33 - 60 310 - 343 1 - 1.5 19 - 29 63 - 90 347 - 393 2 - 2.5 30 - 40 93 - 120 397 - 433 3 - 3.5 41 - 52 123 - 150 437 - 473 4 53 - 64 153 - 180 477 - 510 4.5 - 5 65 - 78 183 - 210 513 - 547 5.5 - 6 79 - 95 213 - 240 550 - 587 6.5 - 7 96 - 110 243 - 270 590 - 637 7.5 - 8 111 - 120 273 - 300 640 - 677 8.5 - 9 คะแนนเต็ม คะแนนเต็ม คะแนนเต็ม คะแนนเต็ม 120 300 677 9   GMAT คืออะไร The Graduate Management Admission Test หรือ GMAT คือ การประเมินผลทางด้านภาษาอังกฤษที่ช่วยให้ทางสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับทางด้านธุรกิจ ในการประเมินคุณสมบัติของผู้สมัครเรียนในสาขาธุรกิจและการจัดการ (Business & Management) สถาบันการศึกษาใช้ผลสอบนี้เป็นเกณฑ์วัดเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรทางด้าน MBA หรือในหลักสูตรระดับสูงกว่าปริญญาตรี ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการ (Management) เกณฑ์การวัดผลสอบ GMAT เกณฑ์การสอบ GMAT จะเน้นความรู้พื้นฐานทางด้านภาษา (Basic Verbal), คณิตศาสตร์ (Mathematical) และทักษะด้านการเขียนวิเคราะห์ (Analytical Writing) โครงสร้างและระยะเวลา การสอบ GMAT ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ - Analytical Writing Assessment หรือ ทักษะการเขียนวิเคราะห์ข้อสอบ GMAT จะเริ่มจาก Analytical Writing Assessment (AWA) แบ่งออกป็น 2 หัวข้อคือ Analysis of Issue (การเขียนวิเคราะห์ประเด็น) และ Analysis of Argument (การเขียนวิเคราะห์การตอบโต้) เวลาสอบ 30 นาทีต่อ 1 หัวข้อ - Quantitative Section หรือ การทดสอบทักษะในการวิเคราะห์เชิงเหตุผล ในส่วนนี้ประกอบด้วย ข้อสอบปรนัย (multiple-choices) จำนวน 37 ข้อ ซึ่งแบ่งออกเป็นคำถาม 2 แบบคือ Data Sufficiency (การวิเคราะห์ความเพียงพอของข้อมูล) และ Problem Solving (การแก้ไขปัญหาโจทย์) ใช้เวลาสอบ 75 นาที ในส่วนนี้ - Verbal Section หรือ การทดสอบความสามารถทางภาษา ส่วนนี้ประกอบด้วย ข้อสอบปรนัย จำนวน 41 ข้อ แบ่งออกเป็นคำถาม 3 แบบคือ Reading Comprehension (การอ่านสรุปใจความ), Critical Reasoning (การวิเคราะห์เหตุผล), Sentence Correction (การแก้ไขประโยค) ใช้เวลาสอบ 75 นาที (แปลและอ้างอิงข้อมูลจาก http://www.gmat.org ) GRE คืออะไร Graduate Record Examination หรือ GRE แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ GRE General Test และ GRE Subject Test GRE General Test เป็นการสอบ เพื่อวัดทักษะของผู้สอบที่มีอยู่ โดยวัดออกมา ในรูปของคะแนนของความสามารถทางภาษา (Verbal Reasoning) การคำนวณ (Quantitative Reasoning), ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) และการเขียนในเชิงวิเคราะห์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สาขาวิชาใดๆเป็นพิเศษ เนื้อหาการสอบประกอบด้วย  Verbal Reasoning – ทดสอบทักษะและความสามารถผู้สอบในด้าน - วิเคราะห์และประเมินบทความ ความสามารถในการหาข้อสรุป - วิเคราะห์ความสัมพันธ์ส่วนต่างๆของประโยค - เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำและความคิด Quantitative Reasoning – ทดสอบทักษะและความสามารถผู้สอบในด้าน - เข้าใจแนวคิดพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ พีชคณิต เรขาคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูล - การวิเคราะห์เหตุผล - การแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ Analytical Writing – ทดสอบทักษะและความสามารถผู้สอบในด้าน - แสดงความคิดได้ชัดเจนและมีประสิทธิผล - พินิจพิจารณาข้ออ้างและหลักฐานประกอบ - การสนับสนุนความคิดโดยการใช้เหุตผลและตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง - โต้ตอบโดยการเหตุผลอย่างสอดคล้อง - สามารถใช้องค์ประกอบต่างๆของภาษาอย่างถูกต้อง สำหรับผู้ต้องการเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ต้องสอบ General Test คะแนนจะใช้ในการพิจารณาการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพร้อมกับผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คะแนนจะเป็นถูกใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัครและช่วยในการประเมินผลการศึกษาและหนังสือรับรอง GRE Subject Test เป็นการวัดผลความรู้ระดับปริญญาตรีใน วิชาเฉพาะด้านจำนวน 8 สาขาวิชา และสามารถช่วยประเมินความสามารถของผู้สมัครว่ามีคุณสมบัติเพียงพอในการเรียนระดับปริญญาโท และปริญญาเอก (Graduate School) ในส่วนของข้อสอบ GRE Subject Test เหมาะสำหรับนักเรียนที่จบหรือมีพื้นฐานความรู้เฉพาะด้านได้แก่ Biochemistry, Cell Molecular Biology Biology Chemistry Computer Science Literature in English Mathematics Physics Psychology การสอบเฉพาะวิชาสาขา (Subject Test) เป็นการสอบ เพื่อวัดความรู้ของผู้สอบที่มีอยู่ในวิชาต่างๆ 8 สาขา และสามารถการคาดการณ์ความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาโทระดับระดับปริญญาเอก สำหรับผู้ต้องการเรียนต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ต้องสอบ Subject Test คะแนนจะใช้ในการพิจารณาการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพร้อมกับผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คะแนนจะเป็นถูกใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัครและช่วยในการประเมินผลการศึกษาและหนังสือรับรอง และสามารถประเมินจุดอ่อนและจุดแข็งของนักเรียนซึ่งอาจยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดหาที่เรียนในอนาคต ข้อสอบ Subject Test จะมีศูนย์สอบ Paper-based test ทั่วโลก และเปิดสอบ 3 ครั้งต่อปี คือ พฤศจิกายน ธันวาคม และ พฤษภาคม  (แปลอ้างอิงข้อมูลจาก http://www.gre.org )
สถานทูตและกงสุลไทยในประเทศต่างๆ
สถานทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย : 37 ถนนสาธรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทร: +66 2 287 2680 โทรสาร: +66 2 2131177 สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย 111 Empire Circuit, Yarralumla, ACT 2600 Tel: (02) 6272 3084 สถานกงสุลไทยประจำรัฐควีนส์แลนด์ 87 Annerley Rd., South Brisbane, QLD 4102 Tel: (07) 3846 7771 สถานกงสุลไทยประจำรัฐวิคตอเรีย Suite 301, 556 St Kilda Road, Melbourne, VIC 3004 Tel: (03) 9533 9100 สถานกงสุลไทยประจำรัฐเซาท์ออสเตรเลีย Level 1, 72 Flinders Street, Adelaide, SA 5000 Tel: (08) 8232 7474 สถานกงสุลไทยประจำรัฐนิวเซาท์เวลส์ Level 8, 131 Macquaire St., Sydney, NSW 2000 Tel: (02) 9247 8312 สถานกงสุลไทยประจำรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย 135 Victoria Ave, Dalkeith, WA 6009 Tel: (08) 9386 8092 กองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อต่อวีซ่า NEW SOUTH WALES Bankstown: 36-38 Raymond St., Bankstown, NSW 2200 The Rocks: Level 4, 88 Cumberland St., Sydney, NSW 2000 Rockdale: 81 Railway St., Rockdale, NSW 2216 Parramatta: Commonwealth Government Centre 2-12 Macquire St., Parramatta, NSW 2150 Onshore Protection: Level 22, 477 Pitt St., Sydney, NSW 2000 VICTORIA Melbourne Office: Casseldon Place, 2 Lonsdale St., Melbourne, VIC 3000 Box Hill: 43-45 Prospect St., Box Hill, VIC 3128 Dandenong: 51 Princess Highway, Dandedong, VIC 3175 Preston: cnr Bell St., and Plenty Rd., Preston, VIC 3072 QUEENSLAND Brisbane Office: 313 Adelaide, Brisbane, QLD 4000 Southport: Level 1, 72 Nerang St., Southport QLD 4215 Cairns: 19 Aplin St., Cairns, QLD 4870 SOUTH AUSTRALIA Adelaide Office: Commonwealth Centre, Level 4, 55 Curie St., Adelaide, SA 5000 WESTERN AUSTRALIA Perth Office: Australia Taxation Office Building, 45 Francis St., Northbridge, WA 6003 AUSTRALIAN CAPITAL TERRITORY Canberra Office: Level 3 and 4, 1 Farrel Place, Canberra City, ACT 2601 TASMANIA Hobart Office: Level 13, Australia Government Centre, 188 Collins St., Hobart, TAS 7000   สถานฑูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย : ตึกเอ็มไทยทาวเวอร์ ชั้น 15 ออลซีซั่นเพลส 87 ถนนวิทยุ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร: +66 2 654 3444 โทรสาร: +66 2 654 3445 E-mail: nzisbkk@ksc.th.com Website: สถานกงสุลไทยประจำประเทศนิวซีแลนด์ Royal Thai Embassy 2 Cook Street Karori P.O. Box 17226 Wellington New Zealand Tel. (644) 476-8618, 476-8619 Fax. (644) 476-3677 E-mail: thaiembassynz@xtra.co.nz Website: http://www.thaiembassynz.org.nzwww.immigration.govt.nz   สถานทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย : 1031 ถนนวิทยุ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร: +66 2 3058333 โทรสาร: +66 2 2549579 สถานกงสุลไทยประจำประเทศอังกฤษ 29-30 Queen's Gate, London SW7 5JB Tel: 020 75890173 Fax: 020 75892944   สถานฑูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย : 95 ถนนวิทยุ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร: +66 2 2055048 โทรสาร: +66 2 2541171 สถานเอกอัครราชทูตไทยและสถานกงสุลไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา สถานเอกอัครราชทูตฯ : The Royal Thai Embassy 1024 Wisconsin Avenue, N.W., Suite 401 Washington, D.C. 20007 Tel : (202) 944-3600 Fax : (202) 944-3611 URL : http://www.thaiembdc.org E-mail : งานกงสุลconsular@thaiembdc.org สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก : The Royal Thai Consulate-General 700 North Rush Street Chicago, IL 60611 Tel : (312) 664-3129 Fax : (312) 664-3230 E-mail : thaichicago@aol.com สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส : The Royal Thai Consulate-General 611 North Larchmont Boulevard, 2nd Floor Los Angeles, CA 90004 Tel : (323) 962-9574-77 Fax : (323) 962-2128 URL : http://www.thai-la.net E-mail : thai-la@mindspring.com สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก : The Royal Thai Consulate-General 351 East 52nd Street New York, NY 10022 Tel : (212) 754-1770, 754-2536-8, 754-1896 Fax: (212) 754-1907 E-mail : thainycg@aol.comthai.wsn@thaiembdc.org : Consular Office 1024 Wisconsin Avenue, N.W., Suite 101 Washington, D.C. 20007 Tel : (202) 944-3608 Fax : (202) 944-3641 E-mail :   สถานทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย : ชั้น 15 อาคารอับดุลราฮิม 990 ถนนพระราม 4 บางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรฯ: 662-636-0540 โทรสาร: 662-636-0565 อีเมล์: bngkk@dfait-maeci.gc.ca สถานกงสุลไทยประจำประเทศแคนาดา Royal Thai Embassy, Ottawa, Canada 180 Island Park Drive Ottawa, Ontario K1Y OA2 CANADA Tel : (613) 722-4444 Fax : (613) 722-6624   http://www.studyoverseas.co.th/customize-สถานทูตและกงสุลไทยในประเทศต่างๆ-18010-1.html
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการสมัครเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
           ในการเดินทางไปศึกษาต่อ  ณ ต่างประเทศนั้น เราจะต้องเตรียมการจัดทำหนังสือเดินทางและการขอวีซ่าเพื่อเข้าไปพำนักอยู่ในประเทศต่างๆที่เราจะศึกษา แต่ก่อนที่เราจะถึงขั้นตอนการขอวีซ่านั้น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา ซึ่งเราจะต้องมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยนั้นๆกำหนด อย่างไรก็ตามไม่ว่ามหาวิทยาลัยไหนก็ตามจะมีเงื่อนไขในการสมัครที่ใกล้เคียงกัน โดยแต่ละขั้นตอนจะมีเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นแตกต่างกันไป ดังนี้ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอื่นๆ 1. ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) หลักสูตรที่จบล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษ 2. ผลสอบ IELTS หรือ TOEFL (ถ้ามี)* 3. หนังสือรับรองการทำงาน (บางคณะต้องการประสบการณ์ทำงานด้วย) 4. หนังสือรับรอง (Letters of Recommendation) จากอาจารย์หรือที่ทำงานอย่างน้อย 2 ฉบับ 5. ประวัติย่อหรือ เรียงความ (Resume’ / Essay) หัวข้อ” ทำไมถึงสนใจไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่สมัคร” 6. เอกสารการเรียนหรือฝึกงานอื่นๆ (ถ้ามี) 7. รูปถ่าย ประเทศสหรัฐอเมริกา 1. ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) หลักสูตรที่จบล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษ 2. ผลสอบ IELTS หรือ TOEFL (ถ้ามี)* 3. ผลสอบ GMAT สำหรับผู้สมัคร MBA หรือ Business Program บางสาขา หรือ GRE สำหรับผู้สมัครสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), ทางด้านการสื่อสาร (Communication) หรือในสาขาอื่นบางคณะ* 4. ผลสอบ SAT สำหรับผู้สมัครปริญญาตรี  5. หนังสือรับรองการทำงาน (บางคณะต้องการประสบการณ์ทำงานด้วย) 6. หนังสือรับรอง (Letters of Recommendation) จากอาจารย์หรือที่ทำงานอย่างน้อย 2-3 ฉบับ 7. ประวัติย่อหรือ เรียงความ (Resume’ / Essay) หัวข้อ” ทำไมถึงสนใจไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่สมัคร” 8. เอกสารการเรียนหรือฝึกงานอื่นๆ (ถ้ามี) 9. รูปถ่าย 10. สำเนาหน้าพาสปอร์ต 11. หนังสือรับรองฐานะทางการเงิน (Bank Statement) * สำหรับผู้ที่ไม่มีผลสอบ IELTS/TOEFL บางมหาวิทยาลัยสามารถสมัครเข้าได้เลยโดยไปเรียนภาษากับมหาวิทยาลัยนั้นๆ และสามามารถเข้าศึกต่อในระดับปริญญาตรีหรือโทได้ทันทีเมื่อจบภาษาอังกฤษระดับสูงของมหาวิทยาลัย ** สำหรับผู้ไม่มีผลสอบ GMAT/ หรือ GRE ก็สามารถสมัครเข้าเรียนได้เช่นกัน ในบางมหาวิทยาลัยไม่ต้องผลเหล่านี้ในการสมัครเข้าศึกษา  ผู้ที่สมัครเข้าศึกษาต่อไม่ว่าประเทศใดก็ตาม ควรเตรียมเอกสารทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ และบางสถาบันจะมีค่าธรรมเนียมในการสมัครก่อนที่จะดำเนินการพิจารณา ดังนั้นผู้สมัครต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเรียนในระดับปริญญาเอก นอกจากเอกสารที่จะต้องเตรียมข้างต้นแล้ว ผู้สมัครจะต้องเขียนบทวิจัย หรือ Research Proposal เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย  http://www.studyoverseas.co.th/customize-เอกสารที่จำเป็นในการสมัครเรียน-18014-1.html
ค่าครองชีพในประเทศอังกฤษ
สำนักษานักศึกษาค่าครองชีพที่ประเทศอังกฤษนั้นถือว่าค่อนข้างสูง และค่อนข้างสูงมากสำหรับเมืองลอนดอน สำหรับเมืองหลัก ๆ ต่าง ๆ คุณอาจจะต้องสำรองเงินประมาณ 25-30 ยูโรต่อวัน(ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง ฯลฯ) แต่นี่ก็จะเป็นบทเรียนสำคัญบทหนึ่งสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้าไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษในการหาวิธีที่จะประหยัดเงินและคุมค่าของเงินมากที่สุดในการใช้จ่ายแต่ล่ะครั้ง เช่นการปรุงอาหารรับประทานเองแทนการออกไปทานที่ร้านอาหาร การแสวงหาแหล่งชื้อของกินของใช้ราคาถูก ส่วนมากไม่เกินหนึ่งเดือนศึกษาก็จะทราบวิธีใช้เงินอย่างคุมค่าแล้วครับ      อย่างไรก็ตาม เมืองอื่น ๆ ของประเทศ ก็มีค่าใช้จ่ายที่ย่อมเยากว่า(โดยเฉพาะค่าเดินทาง) หากคุณมีที่พัก พร้อมอาหารเช้า และทานในร้านอาหารวันล่ะหนึ่งมื้อ เราขอแนะนำให้คุณสำรองเงินอย่างน้อย20ยูโรต่อวัน วิธีในการลดค่าใช้จ่าย (เทคนิคที่มีประโยชน์) ไม่ว่าคุณจะเป็นนักท่องเที่ยว คนทำงานหรือนักศึกษา มีวิธีที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของคุณ คือ การแบ่งบ้านหรืออพาร์ตเม้นต์ (การเช่าห้องในบ้านหรืออพาร์ตเม้นต์) ใช้การขนส่งสาธารณะให้เป็นประโยชน์ซึ่งทั้งมีประสิทธิภาพและมีทั่วประเทศ จองล่วงหน้าในเทศกาลต่างๆ หาการลดราคาหรือข้อเสนอพิเศษของสินค้าและบริการ หากเป็นไปได้ให้ซื้อของจากร้านขายของชำและทำอาหารด้วยตัวเองแทนที่จะทานนอกบ้านทุกวัน    ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินและขนส่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหนในประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามบริการของรัฐจัดว่ามีราคาถูก รถประจำทางสาธารณะ-VisitBritain รถด่วน National Express Brit Xplorer รถไฟ National Rail-VisitBritain การขนส่งลอนดอน-VisitBritain ค่าโดยสารแท๊กซีและมินิแค๊ป-VisitBritain  รถเช่าในอังกฤษ-VisitBritain จักรยานเช่า-VisitBritain  รถไฟยูโรสตาร์-VisitBritain เที่ยวบินในประเทศ-VisitBritain ค่าครองชีพในฐานะนักเรียนต่างชาติ หากคุณต้องการศึกษาที่อังกฤษ ค่าครองชีพค่อนข้างจะสูงโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในอุปกรณ์การเรียน บริติช เคานซิลได้จัดทำตัวเลขบัญชีค่าใช้จ่ายโดยประมาณในฐานะนักเรียนต่างชาติไว้แล้ว   เช็คเดินทาง และสกุลเงิน   การใช้เช็คเดินทางเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับธนาคารที่ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เราขอแนะนำให้คุณแลกเป็นเงินปอนต์ที่ธนาคาร เนื่องจากค่าธรรมเนียม และค่าคอมมิสชั่นที่สนามบินค่อนข้างสูง ธนาคาร และ ATM ตู้เอทีเอ็มที่ประเทศอังกฤษ สามารถนำเครดิตการ์ดมาใช้ได้ เราขอแนะนำบัตรที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไป เช่น บัตรวีซ่า, มาสเตอร์, พลุส, เซอรัส การทิป เราแนะนำให้วางค่าทิปไว้ 10% ของบิลเป็นอย่างน้อย เมื่อคุณใช้บริการที่ร้านอาหาร ยกเว้นกรณีพิเศษ เป็นที่ทราบกันว่างานบริการที่โรงแรมเป็นงานที่รายได้ไม่สูง จึงเป็นสาเหตุให้เราต้องวางทิปไว้อย่างน้อย 10% แต่หากร้านอาหารได้รวมค่าทิปไปกับค่าอาหารแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องทิปก็ได้ แม้แต่การใช้บริการแท็กซี่ก็ตาม การให้ทิปอย่างน้อย 10% ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ http://www.educationaus.com
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอังกฤษ
นักศึกษาต่างชาติที่ทำงานนอกเวลาในขณะที่เรียนอยู่ในสหราชอาณาจักรนั้นถือเป็นลู่ทางที่ดีที่คุณจะมีเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนของคุณ ทำให้คุณมีประสบการณ์ในการทำงานและยังเป็นเส้นทางในการปรับตัวให้เข้ากับชุมชนในท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณควรมีเอกสารที่ถูกต้องก่อนที่จะสมัครงาน ซึ่งหน่วยงาน UK Border Agency (UKBA) จะเข้มงวดเกี่ยวกับสถานภาพการทำงานของนักเรียนต่างชาติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจกฎระเบียบ ซึ่งถ้าถูกจับได้คุณอาจถูกยกเลิกวีซ่านักเรียนก็เป็นได้ บทความนี้ บรรณาธิการนักเรียนของฮอทคอร์สจากประเทศญี่ปุ่น Kanako Ishihara ได้ข้อมูลที่จำเป็นในการทำงานมานำเสนอ กฎหมายการทำงานของวีซ่านักเรียน (Tier 4 Adult student) กฎหมายการจ้างงานสำหรับนักเรียนนั้นขึ้นกับระดับของหลักสูตรและเวลาเรียน • นักเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาหรือพื้นฐานปริญญา สามารถทำงานได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในช่วงเปิดเทอม • นักเรียนในหลักสูตรที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (ไม่รวมพื้นฐานปริญญา) สามารถทำงานได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในช่วงเปิดเทอม ดังนั้น คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าวีซ่านักเรียนนั้นสามารถอนุญาตให้คุณทำงานได้กี่ชั่วโมง National Insurance Number (NI Number) ขั้นตอนถัดไปคือขอเลข National Insurance การทำงานในสหราชอาณาจักรนั้น ทุกคนที่นี่จะต้องมีรหัสซึ่งเป็นเลขบัญชีส่วนบุคคลโดยเฉพาะ เลขเลข National Insurance นี้จะใช้ในการเรียกเก็บภาษีเงินได้และถือเป็นความผิดหากคุณไม่มีเลขเลข National Insurance ในการทำงานในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้เลข National Insurance ยังเป็นตัวเลขอ้างอิงเมื่อคุณทำการติดต่อกับ Department of Work and Pensions (DWP) และ Her Majesty's Revenue and Customs (HMRC) การขอเลข National Insurance คุณสามารถทำได้โดยโทรศัพท์ไปยัง Jobcentre Plus ที่หมายเลข 0845 600 0643 ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.00-18.00 วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ โดย Jobcentre Plus จะทำการสัมภาษณ์และตรวจสอบหลักฐานที่แสดงตัวคุณ หรือส่งใบสมัครไปให้คุณ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งวัน เวลาและสถานที่สำหรับการสัมภาษณ์ พร้อมรายการเอกสารที่จำเป็นสำหรับการขอเลข National Insurance การสัมภาษณ์โดยปกติจะเป็นแบบตัวต่อตัว (ยกเว้นหากคุณต้องการล่าม) คุณจะถูกถามคำถามเกี่ยวกับตัวคุณ สาเหตุที่คุณต้องการเลข National Insurance ประวัติส่วนตัวและสถานภาพ ในขณะการสัมภาษณ์เพื่อขอเลข National Insurance แบบฟอร์มจะถูกกรอกข้อความโดยสมบูรณ์และคุณจะต้องเซ็นชื่อลงบนแบบฟอร์ม หากคุณถูกให้แสดงหลักฐาน เอกสารเพิ่มเติม คุณจะต้องตกลงวันเวลาใหม่ Jobcentre Plus จะส่งจดหมายหาคุณเพื่อแจ้งให้คุณทราบว่าการขอเลข National Insurance ของคุณสำเร็จหรือไม่ และจะส่งเลข National Insurance มาให้กับคุณ เมื่อคุณได้รับเลข National Insurance คุณควรแจ้งกับผู้จ้างงานของคุณให้เร็วที่สุด โดยคุณจะได้รับบัตรพลาสติกแสดงเลข National Insurance ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 12 สัปดาห์นับจากวันที่คุณยื่นสมัคร ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเพิ่มโอกาสการได้งานทำของนักศึกษา การทดสอบทางจิตก่อนรับเข้าทำงาน และการฝึกงานและสิทธิของนักศึกษาฝึกงานในสหราชอาณาจักรและประโยชน์ที่คุณจะได้รับ คุณสามารถหาอ่านได้ในบทความล่าสุดของเรา http://www.hotcourses.in.th http://www.facebook.com/HotcoursesThailand
Internship Program in USA
      Internship Program in USA เป็นโครงการที่ให้น้อง ๆ นิสิต / นักศึกษา หรือผู้ที่จบปริญญาตรี หรือบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสไปฝึกงานเพื่อพัฒนาทักษะในการทำงาน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลาอย่างน้อยตั้งแต่ 6 เดือนขี้นไป แต่ไม่เกิน 18 เดือน ตามแต่สาขาวิชาที่เรียนมา หรือมีประสบการณ์มา ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการยังจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมและสังคมการทำงานของชาวอเมริกัน ประกอบกับพัฒนาระดับการใช้ภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วย โครงการนี้ เป็นโครงการที่ได้รับการรับรองจากทางรัฐบาลอเมริกัน (DOS) เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ทั่วไปที่นิสิต หรือนักศึกษา รู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น Work & Travel หรือ Au Pair in USA ภายใต้เงื่อนไขของวีซ่าประเภท J-1 (Cultural Exchange Visa) ลักษณะของโครงการและคุณสมบัติ มี ด้วยกัน 3 แบบ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนี้ โครงการ รายละเอียด คุณสมบัติ ค่าใช้จ่าย Student Intern       Internship เป็นโครงการที่ให้โอกาสสำหรับ นิสิต/นักศึกษา ที่จบในระดับปริญญาตรี / โทมาไม่เกิน 1 ปี และยังไม่มีประสบการณืทำงาน สามารถไปฝึกงานในต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาในการทำงานหลังจากกลับมาแล้วต่อไป 1. อายุระหว่าง 18-28 ปี 2. จบการศึกษาในระดับปริญญา ตรี/โท ไม่เกิน 1 ปี 3. ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ทำงาน 4. สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีพอควร 12 เดือน = 114,000 บาท Career Training เป็นโครงการที่ให้โอกาสสำหรับ บุคคลทั่วไป ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี/โทมาเกิน 1 ปี แล้ว และต้องการจะไปพัฒนาทักษะในการทำงานจากงานที่ทำอยู่ หรือในสาขาวิชาเที่เรียนมา 1. อายุระหว่าง 23-28 ปี 2. จบการศึกษาในระดับปริญญา ตรี/โท เกิน 1 ปี 3. ต้องมีประสบการณ์ทำงานใน สาขาวิชาที่เรียนมาอย่างน้อย 1 ปี หรือในสาขาที่เกี่ยวกับที่ ทำงานมา 2 ปี 4. สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี 12 เดือน = 114,000 บาท ** อัตรานี้ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า + ค่าจองคิว   ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ กับเจ้าของภาษาโดยตรง ทั้งในที่ทำงาน และนอกเวลางาน เรียนรู้ประสบการณ์ทำงานจริง พร้อมพัฒนาทักษะ และเสริมสร้างความรู้ในการทำงาน กับชาวอเมริกัน และมีโอกาสได้เรียนรู้ระบบการทำงานของหน่วยงาน เพื่อนำมาปรับใช้ในอนาคตการทำงานของผู้เข้าร่วมโครงการต่อไป สามารถทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดของโครงการ และได้รับผลตอบแทนเป็นรายชั่วโมงเฉลี่ยอยู่ที่ 8 – 10 USD โอกาสในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างที่เข้าร่วมโครงกร หรือหลังจากสำเร็จโครงการแล้ว 30 วัน ได้เรียนรู้วัฒนธรรม การปรับตัว ในระหว่างที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อจบโครงการ ลักษณะงานที่ฝึกได้ สำหรับผู้ที่จบมาในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ Hospitality & Hotel Management Management, Business Commerce and Finance Food & Nutrition หรือ Home Economics ขั้นตอนการสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติ สอบสัมภาษณ์เพื่อวัดระดับภาษากับเจ้าหน้าที่บริษัท อเมริกัน เลิร์นนิ่ง จำกัด ชำระค่าสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 15,000 บาท สัมภาษณ์งานกับทางนายจ้าง ยื่นเรื่องขอวีซ่า J-1 (Cultural Exchange Program) ชำระค่าโครงการส่วนที่เหลือ 99,000 บาท บริษัทอเมริกัน เลิร์นนิ่ง จำกัด อาคารวิภาวดีทาวเวอร์ ชั้น 12 (ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในรั้วเดียวกับโรงพยาบาลวิภาวดี) เลขที่ 51/3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 (เวลาทำการ จันทร์ - เสาร์ 9.30 - 17.30 น.) เบอร์โทรศัพท์ โทร.0-2941-0044-5, 0-1831-5332 แฟกซ์.0-2941-0045 E-Mail info@american-learning.com  http://www.american-learning.com/ver2/internship.php  
8 วิธีอ่านหนังสือสอบได้อย่างเซียน
เมื่อ ลองย้อนเวลากลับไปในสมัยที่เรียนอยู่ ช่วงเวลาที่น่าเบื่อที่สุดคือ ช่วงเวลาแห่งการท่องตำราสอบ ไม่ว่าจะเรียนอยู่ในระดับไหนก็หลีกเลี่ยงการท่องตำราสอบกันไม่ได้ทั้งนั้น เคยเป็นไหมที่รู้สึกว่า อยากให้มีเวลาเยอะกว่านี้ เพื่อจะได้อ่านหนังสือสอบให้ทัน วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคการอ่านให้ได้ประสิทธิภาพ ที่คิดว่าพอจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านมานำเสนอ ดังนี้ 1. หัดให้ตัวเองมีวินัยให้ได้ คือ ถ้าเราวางแผนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้เท่านี้สำหรับวันนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ วิธีฝึกเริ่มแรกให้กำหนดง่ายๆ ก่อนว่า วันนี้เราจะอ่านตำราแค่ 1 บท หรือ 10 หน้า เป็นต้น เอาแค่นี้ให้ได้ ถ้าอ่านจบเร็วก็ไปทำอย่างอื่น พอวันต่อๆ ไปก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามสมควร แล้วก็ต้องอ่านให้ได้ตามเป้าหมาย เมื่อเราอ่านได้ตามเป้าแล้วในแต่ละครั้งก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วยทุก ครั้ง โดยรางวัลก็อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ได้ดูละครหนึ่งเรื่องตอนกลางคืน เป็นต้น 2. วางแผนการอ่านหนังสือ เมื่อเรามีวินัยและเคารพการวางแผนของตัวเองแล้ว ต่อไปก็ต้อง วางแผนการอ่านหนังสือ การวางแผนที่ดีนั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเดินไปถูกทิศทาง การวางแผนไม่ถือเป็นการเสียเวลา แต่เป็นการประหยัดเวลาในระยะยาว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาเดินผิดทาง 3. อย่าตะบี้ตะบันอ่านเกินควร อย่าคิดว่าตัวเองเป็น superman คือ สามารถอ่านหนังสือได้เยอะเกินกำลังภายในเวลาอันสั้น อย่าวางตารางการอ่านให้แน่นเกินไป เพราะนอกจากจะทำไม่ได้ตามแผนอยู่แล้ว ยังทำให้ตัวเองเครียดเพราะแผนนั้นโดยไม่จำเป็นด้วย แรกๆ อาจจะกะความสามารถตัวเองยากหน่อย หรือการอ่านตำราภาษาอังกฤษกับภาษาไทยก็ใช้ระยะเวลาการอ่านไม่เท่ากัน ก็ใช้เก็บสถิติจากการอ่านในรอบแรกๆ เช่น การอ่านภาษาอังกฤษ 1 หน้า เราใช้เวลา 10 นาที เราก็จะประมาณถูกว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะอ่านจบบทหรือจบวิชา เป็นต้น 4. หาที่อ่านที่สงบเงียบและนั่งสบาย ส่วนบรรยากาศก็แล้วแต่คนชอบ บางคนชอบอ่านที่บ้าน ในห้องสมุด ในสวนมีต้นไม้เขียวๆ หรือในร้านกาแฟ หรือบางทีเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ควรไม่อยู่ใกล้ทีวี หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเสียสมาธิ เพราะทำให้เราเสียเวลาในการอ่าน และทำให้จำได้ไม่ดีด้วย แต่ก็ทราบมาว่าบางคนจะชอบให้มีเสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆ เวลาอ่านหนังสือด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ 5. อย่าให้สิ่งใดมารบกวนการอ่าน เวลาอ่านหนังสือ เราควรกำหนดว่า เวลานี้เราจะตั้งใจ และไม่ปล่อยให้อะไรมาขัดโดยไม่จำเป็น เช่น อาจจะปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น คนอื่นก็จะไม่มารบกวนโดยไม่จำเป็น การได้ทำงานหรืออ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาติดต่อกันอย่างนี้มีประสิทธิภาพกว่า การอ่านที่ถูกหยุดด้วยสิ่งต่างๆ 6. พักผ่อนสมองบ้าง เมื่ออ่านหนังสือไปนานๆ เราก็จะเริ่มล้า ทั้งสมองที่ต้องคิด ทั้งร่างกายที่ไม่ได้ขยับ ทั้งสายตาที่ต้องจ้องอยู่นาน เราก็ควรกำหนดเวลาพัก อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ อาจจะพักอ่านหนังสือทุกๆ ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง โดยออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ ทานขนม หรือไปมองต้นไม้เขียวๆ เวลาพักก็ต้องกำหนดด้วยว่า 5 นาที หรือ 15 นาที เป็นต้น 7. ชอบขีดเส้นหรือเน้นข้อความที่สำคัญในหนังสือโดยไม่หวงหนังสือ ว่าจะดูเลอะเทอะเลย เพราะชอบเวลากลับมาอ่านทวน เราก็จะรู้ว่าจุดไหนเป็นข้อมูลสำคัญ เรายังสามารถใช้ทบทวนก่อนสอบได้ด้วย สำหรับคนที่ชอบหนังสือใหม่ๆ เกลี้ยงๆ ก็อาจจะต้องหาสมุดกับปากกามาจดสิ่งที่สำคัญจากหนังสือนั้นๆ เพื่อการอ่านทบทวนได้ 8. พยายามจัดเวลาอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวที่สุด อันนี้แตกต่างกันไป บางคนจะจำได้ดีถ้าอ่านตอนเช้า บางคนเป็นตอนเย็น ก็ต้องสังเกตตัวเองดู ถ้าทราบแล้วอาจจะกำหนดเป็นเวลาประจำทุกวัน เช่น ทุกวันเวลา 2 ทุ่ม - 5 ทุ่ม เราต้องอ่านตำราทบทวนที่เรียนมา เป็นต้น อย่าลืมทบทวนตำราเรียนทุกวันนะคะ แล้วเอาเทคนิคทั้ง 8 ไปใช้ดู เผื่อประสิทธิภาพในการอ่านจะทำให้เกรดภาคเรียนต่อไปดีขึ้นทันตาก็ได้ Credit บทความ  http://fahsai26.myfri3nd.com/blog/2011/01/17/entry-2 และภาพสวยๆ จาก สสส
7 วิธีคิดอย่างคนเก่ง
    คนจะเก่งได้นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์เพียงอย่าง เดียว แต่ต้องมีพรแสวงด้วย คือหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม หมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง สิ่งเหล่านี้แหละที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนเก่งด้านการ ปฎิบัติ การฝึกฝนทุกคนคงจะพอทำกันได้ แต่ในด้านความคิดล่ะ คนเก่งเขาคิดกันอย่างไร แล้วคิดอย่างไรถึงจะเป็นคนเก่งมาลองดู 7 วิธีนี้ดู เราว่ามันให้อะไรมากกว่าการเป็นคนเก่งอีกนะ 1. คิดในทางมองโลกในแง่ดี และทำทุกสิ่งอย่างเต็มกำลังด้วยรอยยิ้มและความเบิกบา น ทำตัวให้สดชื่นมีชีวิตชีวาและกระตือรือร้นอยู่เสมอ พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามา ได้อย่างอยู่มือ 2. มีศรัทธาในตัวเอง ถ้าแม้แต่คุณเองยังไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวเอง แล้วจะมีมนุษย์หน้าไหนล่ะ จะเชื่อมั่นในความเก่งของคุณ อยากให้ใครๆ เขาชื่นชอบ และทึ่งในตัวคุณ คุณก็ต้องมั่นใจในตัวคุณก่อน 3. ขอท้าคว้าฝัน ไม่มีอะไรที่จะทรงพลังมากเท่ากับความตั้งใจจริงและทุ ่มสุดตัว จะเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้คุณสานฝันสู่ความจริงได้ 4. ค้นหาบุคคลต้นแบบ ใครก็ได้ที่คุณชื่นชมเพื่อเป็นมาตรฐานที่ดีในการดำเน ินรอยตาม ศึกษาแนวคิด วิธีการทำงาน จุดเด่นในตัวเขา แล้วอาจนำมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตได้บ้าง 5. เริ่มต้นงานใหม่ทุกวันด้วยรอยยิ้มสดใส คนที่มีรอยยิ้มระบายไว้บนใบหน้า เสมือนประตูที่เปิดกว้าง ให้ใคร ๆ อยากเข้ามาคบหาด้วย การเจรจา ติดต่องานก็มักจะลงเอยด้วยความสำเร็จ 6. เรียนรู้จากความผิดพลาด สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง จะเป็นอะไรเชียวถ้าเราจะทำอะไร แล้วจะยังไม่สำเร็จอย่างที่หวังไว้ เพียงแต่ขอให้ทำเต็มที่ และเปิดใจให้กว้าง ยอมรับความจริง หันมาทบทวนดูว่ามีขั้นตอนไหนที่ผิดพลาดไป เพื่อที่จะเริ่มต้นใหม่ให้ดีกว่าเดิม 7. ทนุถนอมมิตรสัมพันธ์เก่าๆ คงไม่มีใครที่จะอยู่อย่างมีความสุขโดยปราศจากเพื่อนห รือมิตรที่รู้ใจหรอกนะ แม้ว่าชีวิตของคุณในแต่ละวันจะวุ่นวายแค่ไหนก็ตาม คุณควรจะมีเวลาให้กับเพื่อนซี้ที่รู้จักมักจี่กันมาน านซะบ้าง แวะไปหากัน เมื่อโอกาสอำนวย ชวนกันออกมาทานข้าวในช่วงวันหยุด ส่งการ์ดปีใหม่ หรือร่อนการ์ดวันเกิดไปให้ เผื่อในยามที่คุณเปล่าเปลี่ยวหงอยเหงา เศร้าทุกข์ใจ ก็ยังมีเพื่อนซี้ไว้ พึ่งพาและให้กำลังใจกันได้นะ นอกจากนี้ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ยังสร้างความเบิกบานและคลายทุกข์ แถมยังเป็นยาอายุวัฒนะชั้นดีอีกด้วย Credit : 7 Thinking method to be genius
วิธีเดาขั้นเทพให้ได้คะเเนนสอบเข้ามหาลัย 60 เปอร์เซ็นต์ (เป็นอยางน้อย)
 ในการทำข้อสอบจริงๆ เเม้ว่าเราจะเตรียมตัวไปดีเพียงใดก็ตาม มันย่อมมีการทำไม่ได้เกิดขึ้นบ้างเป็นเรื่องธรรมดา เเต่เนื่องด้วยข้อสอบเข้าสถาบันดังๆนั้น มักจะเป็นข้อสอบเเบบปรนัย(ให้กาเลือกข้อถูก) นั่นทำให้เป็นความโชคดีของเราเเล้วครับ เพราะไม่ว่าเราจะทำได้ หรือเดาถูก มันก็ได้คะเเนนเท่าๆกัน   ในการเดาทั่วไป กับข้อสอบที่มี 4 ช็อยส์เเล้ว หากเดาเเบบไม่มีหลักการใดๆเลย เช่นการตั้งดินสอแล้วปล่อยให้มันตก, การนั่งเล่นจั้มจี้มะเขือเปาะแปะ ฯลฯ เราจะมีโอกาสถูก 1 ใน 4 หรือ 25% เเต่ถ้าเราเดาเเบบมีหลักการเเบบที่พี่หงวนทำตอนสอบนั้น เราจะมีโอกาสถูกมากกว่านั้นครับ ++!   วิธีการเดาประกอบการทำเเบบเหนือเทพฯมีดังนี้ครับ  1. ให้ทำข้อที่ทำได้ไปก่อนเเล้วเว้นข้อที่ยังทำไม่ได้เอาไว้ก่อน ให้กาเฉพาะข้อที่มั่นใจว่าทำถูกเท่านั้น เเละถ้าข้อไหนยังทำไม่ได้เเต่สามารถตัดช็อยที่มั่นใจว่าไม่ใช่เเน่ๆทิ้งได้ ก็ให้ตัดทิ้งไปก่อนเลย โดยการมาร์คหรือขีดฆ่าลงไปในชีสข้อสอบเพื่อเเสดงว่าข้อไหนไม่เอาเเน่ๆ(ไม่ ใช่กระดาษคำตอบนะครับ) เเละก่อนหมดเวลาประมาณ 5 นาที่ ให้เริ่มทำข้อ 2 ต่อครับ  2. ให้จัดการกับข้อที่ตัดเหลือ 2 ช็อยส์ก่อน เดาหรือทำให้เสร็จซะเเล้วกาลงไปเลย (เอาข้อที่คิดว่าใช่ที่สุดเเหละครับ กาไปเลย)  3. ให้นับว่ากาช็อยไหนไปเเล้วน้อยที่สุด เเล้วให้ดิ่งช็อยส์นั้นทั้งหมดไปเลย   ถ้าเราทำได้จริงๆเเค่ 40% ของข้อสอบทั้งหมด(ซึ่งได้แน่ๆถ้าเราเตรียมตัวแบบที่พี่หงวนเขียนในบทก่อนหน้านี้ทั้งหมดจนคล่องครับ)เมื่อ รวมกับการเดาวิธีนี้ ซึ่งจะทำให้เราเดาถูกอย่างน้อย 1 ใน 3 ของ 60% ที่เหลือ ซึ่งคิดเป็นคะเเนนสอบอีก 20% เเล้ว จะทำให้เราสอบได้คะเเนน 60% พอดิบพอดีครับ   ข้อเเนะนำเเละข้อควรระวัง 1. อย่าโลภ คิดว่าถ้าเรากาสุ่มๆ มีโอกาสได้มากกว่าที่พี่หงวนบอก เพราะการเดาข้อสอบที่มี 4 ช็อยส์นั้น เรามีโอกาสเเค่ 1 ใน 4 การกาผิดมันง่ายกว่ากาให้ถูกนะครับ ยังไงก็น้อยกว่าวิธีของพี่หงวนอยู่ดีครับ 2. ถ้าเราทำผิดเยอะ การเดาวิธีนี้จะทำให้เราผิดเเบบทับซ้อน เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเเบบที่บรรยายในบทก่อนหน้านี้ทั้งหมด ยังเป็นสิ่งจำเป็นต้องฝึกทำเเบบฝึกหัดเยอะๆก่อนเข้าห้องสอบด้วยครับ 3. ในทางกลับกัน ถ้าเรายิ่งทำของเดิมถูกมากเท่าไร เราก็จะได้คะเเนนที่เพิ่มจากการเดาเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นครับ 4. เราสามารถเพิ่มโอกาสในการเดาถูกได้โดยการไปหาข้อสอบของปีก่อนๆมานับ และให้ลองนับย้อนหลังสัก 4-5 ปี ว่าคนออกข้อสอบเค้าชอบออกช็อยส์ไหน เเละในกรณีที่เรานับเเล้วได้ 2 ช็อยส์ที่เรากาไปน้อยที่สุด เราก็เลือกดิ่งในช็อยส์ที่คนออกข้อสอบเค้าชอบดีกว่านะครับ  *(เเม้ว่า โดยเฉลี่ยเเล้วคือ 25% เท่ากันทุกช็อยส์ เเต่ในความเป็นจริงมักจะมีเหลื่อมๆกันบ้าง เช่นข้อสอบที่มี 28 ข้อ อาจไม่ได้เเบ่ง ก-ข-ค-ง เป็น 7-7-7-7 (25% เท่ากันทั้งหมด) เเต่อาจจะเป็น 6-6-8-8 หรือ 5-7-7-9 ก็ได้ครับ) 5. การจะทำข้อสอบเข้ามหาลัยหรือข้อสอบเเข่งขันให้้ได้คะเเนนมากกว่า 40% ไม่ใช่เรื่องง่ายๆนะครับ ต้องฝึกทำโจทย์ตามที่อธิบายในบทก่อนหนานี้เยอะๆๆๆด้วย   สรุป: ให้เราเตรียมตัวตามเนื้อหาในบทก่อนหน้าทั้งหมด เมื่อเราเตรียมตัวแบบที่พี่หงวนบอกแล้ว เชื่อว่าเราจะทำข้อสอบได้อย่างต่ำๆ 40% เมื่อรวมกับการเดาแบบมีหลักการคือการดิ่งช็อยส์ที่กาไปแล้วน้อยที่สุดจะทำ ให้เราได้คะแนนรวมเป็น 60% เป็นอย่างน้อยครับ http://www.unigang.com
Update การต่อวีซ่าในประเทศอังกฤษนักเรียน
 รายละเอียด การต่อวีซ่าในประเทศอังกฤษ    **ในการต่อวีซ่าได้ข่าวมาว่าจะต้องใช้ผลไอเอลด้วย ซึ่งถ้าน้องๆ คนไหนไม่อยากสอบไอเอล..ให้ apply เป็น Student Visitor Visa ก็ได้นะคะ แล้วค่อยกลับมาต่อที่เมืองไทยค่ะ เพราะ ตอนนี้ Tier 4 Visa น้องๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นกันค่ะ ต่างกันแค่การต่อวีซ่าที่อังกฤษค่ะ                    *******ซึ่ง อันนี้แล้วแต่น้องๆเลยค่ะ ว่าอยากต่อประเภทไหนนะจ้ะ****              ส่วนการต่อวีซ่าในอังกฤษ สำหรับคนที่วีซ่าไม่ครอบคลุมจนจบปริญญาโท (เรียน Pre-Session) หรือจะต่อวีซ่าค่ะ หลังจากเดินทางถึงอังกฤษแล้ว **รีบเปิดธนาคาร โดยขอหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาจามหาวิทยาลัยเพื่อไปเปิดบัญชีค่ะ พร้อมนำ Passport ไปด้วยนะคะจากนั้นก็ใส่เงินไว้ ให้ครอบคลุมค่าเรียน บวกค่าครองชีพ ให้เพียงพอ                คือ ค่าเรียนถ้าจ่ายให้มหาวิทยาลัยแล้ว ก็จะเป็นศูนย์ ค่าครองชีพในลอนดอน 800 ปอนด์ต่อเดือน และนอกลอนดอน 600 ปอนด์ต่อเดือน     นำค่าเทอม + กับค่าครองชีพ = เท่าไหร่ ก็ต้องมีเงินเท่านั้น และเงินอยู่ในบัญชีมา 28 วันก่อนขอวีซ่า ยกตัวอย่าง ค่าเทอม 9000 ปอนด์  จ่ายมัดจำ ไป 4000 ปอนด์  คงเหลือ 5000 ปอนด์  บวกค่าครองชีพ 1 ปี นอกลอนดอน 5400 ปอนด์          ดังนั้น ต้องมีเงินเพื่อต่อวีซ่า 10,400 ปอนด์ (แต่น้องๆที่ลอนดอน บอกพี่เป้มาว่ามีเงินแค่ 1600 pounds ก็พอ และให้คงอยู่ในบัญชีเรา อย่างน้อย 28 วันก่อนขอวีซ่าค่ะ) ซึ่งสามารถโทรนัดยื่นวีซ่า กับทาง Home office ที่นั่นได้เลยค่ะ        จะ extend visa จะเรียนโทหรือเรียนภาษาต่อค่ะ เอกสารหลักๆที่ต้องใช้นะค่ะ 1. เอกสาร Attendance จากโรงเรียนเก่า (ถ้ามี) 2. CAS Number จากโรงเรียนใหม่ 3. เอกสารเกี่ยวกับการเงิน Bank Letter, Bank Statement โดยต้องมีเงินในบัญชี รวมค่าเรียนและ Cost of Living อยู่ในบัญชีไม่น้อยกว่า 28 วันค่ะ (saving account)   ต้องขอจากธนาคารดังนั้นดูเวลาเผื่อด้วยนะคะไม่รู้ว่ากี่วันได้ 4. ผลสอบภาษาอังกฤษ – IELTS หรือใบ Certificate จากมหาวิทยาลัย 5. Form กรอกขอวีซ่า Download จาก http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/applicationforms/pbs/tier4applicationform1.pdf  ค่ะ 6. Passport  7. ค่าวีซ่า 8. ถ้าไปต่อวีซ่าแบบวันเดียวได้ก็ต้อง make appointment แต่ถ้าต่อ by post ก็ส่งเอกสารไปได้เลยค่ะ –Paey  - แนะนำให้ต่อแบบที่ได้วันเดียวค่ะ จะได้สบายใจค่ะ 9. รูป   ดูค่าวีซ่าจากที่นี่ค่ะ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/studyingintheuk/adult-students/visa-fees/#  Walk in: £702 Post: £386 Those wishing to make an application in person should contact our Public Enquiry Office on the number below. Croydon Public Enquiry Office Lunar House 40 Wellesley Road Croydon CR9 2BY  Telephone: 0870 606 7766 (Lines are open Mon to Thurs 9:00am - 4:45pm; Friday 9:00am - 4:30pm) http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/contact/applyinginperson/sameday/  http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/contact/applyinginperson/beforeyouarrive/  โทรนัดเสร็จ ก็เตรียมตัวไปขอวีซ่าได้เลยทันทีค่ะ               บางคนที่ใช้เอกสารรับรองสถานะการเงินจากเมืองไทย ต้องขอใกล้ ๆ ณ เวลาที่จะขอวีซ่า และให้ที่บ้านส่งมาให้ที่อังกฤษค่ะ เพราะต้องใช้เอกสารตัวจริง แต่โดยมากนักเรียนจะใช้บัญชีที่เปิดใหม่ที่อังกฤษมากกว่าค่ะ คนที่ใช้ bank statement ในอังกฤษ ต้องขอเอกสารตัวจริงจากธนาคารมาด้วยนะคะ เค้าไม่มีเป็นสมุดบัญชีแบบบ้านเราค่ะ ดังนั้นให้รีบขอ ดูว่าเงินที่ครอบคลุมนี้(Statement) อยู่มา 28 วันหรือมากกว่าด้วยนะคะ    หลังจบคอร์ส pre-sessional แล้ว จะได้ใบประกาศ หรือ Certificate ยืนยันว่าผ่านแล้ว และได้ CAS มาใหม่อีกใบ คราวหน้าเมื่อต่อวีซ่าจะได้ยาวเลยค่ะ จนจบโท ให้สังเกตใน CAS อันใหม่ด้วยค่ะว่า ข้อมูลของเราถูกต้องไหม เอกสารตัวจริงที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง จะอยู่ตรง Evidence used to obtain offer นะคะ   จะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยดูแลเรื่องการต่อวีซ่าของแต่ละมหาวิทยาลัยนะคะ เอกสารทางมหาวิทยาลัยจะรวบรวมและส่งไปให้ทางไปรษณีย์ค่ะ (หรือให้ถามการกรอกเอกสารจากที่โรงเรียนเก่าก็ได้ค่ะ)   พยายามดูข่าวอัพเดท ทางเว็บนี้นะคะ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/  เผื่อแบบฟอร์มเปลี่ยนหรือเงื่อนไขอัพเดท จะได้ต่อวีซ่าได้อย่างไม่มีปัญหาค่ะ         Extending a student visa in the United Kingdom  The process of extending a student visa inside the United Kingdom is: Step    Find out more 1. Choose the course you want to study, and check that it is at a level we accept.    See Your course of study for more information on the acceptable levels and types of courses.  2. Check that the provider of the course is a licensed Tier 4 sponsor.    See Your education provider  for more information.   3. Work out how much money you will need to have to cover your course fees and living costs when you submit your application.    See Your money to find out how to calculate the amount that you will need.  4. Get a confirmation of acceptance for studies (CAS) from your education provider, and gather all the documents you used to obtain your CAS. (You get 30 points for having a valid CAS.)    See Evidence used to obtain your CAS  for more information.  5. Gather all the documents you need to prove that you meet the money requirement. (You get 10 points for showing that you can cover your course fees and living costs).    See Evidence of your money for details of the documents we accept.   6. Complete the application form, and add your supporting evidence and your visa application fee.    See How to complete the application form  and Visa fees  for more information.  8. Arrange to enrol your biometric information (fingerprints and photograph) at one of our enrolment centres, if you have not done so before. We will then send you an identity card for foreign nationals.    See ID cards and biometrics for more information on what you will need to provide.  8. Submit your application by post or in person.     See When and where to apply to find out how you can submit your application.  How to fill application form http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/applicationforms/pbs/tier4applicationform1.pdf   http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/studyingintheuk/adult-students/applying-inside-uk/ ** กรุณา Alert ตัวเองนิดนึง นะจ๊ะ..เรื่องเอกสารและการต่อวีซ่า อย่าให้พลาดนะจ๊ะ...   With Love, http://www.keyeducation.co.th/
<< 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 >>
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา