หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย
โครงการรับตรง ปีการศึกษา 2557 ที่จะปิดรับสมัคร ภายในเดือน พฤศจิกายน
 รวม โครงการรับตรง ปีการศึกษา 2557 ที่จะปิดรับสมัคร ภายในเดือน พฤศจิกายน นี้จ้า เข้ามาย้ำกันอีกครั้งว่าจะมีโครงการไหนปิดรับสมัครบ้าง ^__^ มหาวิทยาลัย โครงการ หมดเขต    วลัยลักษณ์ ทุนเรียนฟรีถึงปริญญาเอก โครงการพสวท. 14 พย ศิลปากร รับตรง เภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร 14 พย ลาดกระบัง โควตา คณะวิทยาศาสตร์ 15 พย เกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ 15 พย ศิลปากร รับตรง สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  15 พย เกษตรศาสตร์ รับตรง ผู้มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรม  15 พย เกษตรศาสตร์ สาขาการจัดการการท่องเที่ยว หลักสูตรนานาชาติ  15 พย ศิลปากร โครงการสืบสานภาษาไทย 15 พย กรุงเทพ ทุนนักกีฬาดีเด่น 15 พย พระนครเหนือ โครงการรับนักศึกษาโดยวิธีพิเศษ 20 พย นเรศวร รับตรง และ โควตา 20 พย TNI สอบตรงชิงทุน สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น 22 พย สวนสุนัน รับตรงและ โควตา 22 พย ลาดกระบัง พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร 22 พย มรภ นครปฐม รับตรง ม.ราชภัฏนครปฐม 22 พย บูรพา โครงการช้างเผือก คณะศิลปกรรมศาสตร์ 22 พย มอ  โครงการรับบุคคลที่มีความสามารถด้านกีฬา 24 พย อุุบลราชธานี  โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท  24 พย เกษตรศาสตร์  ผู้มีความสามารถทางกีฬา 25 พย มภร รัตนโกสินทร์ รับตรง โควตา  25 พย พะเยา รับตรง 7 โครงการ  25 พย มอ ทุน วิทยาลัยอิสลาศึกษา 25 พย ศิลปากร รับตรงเพิ่มพิเศษ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร  25 พย ราชมงคลอีสาน  โควตา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  26 พย มหิดล สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ 26 พย มหิดล รับตรง มหาวิทยาลัยมหิดล 26 พย เกษตรศาสตร์ รับตรง ทั่วประเทศ ม.เกษตรศาสตร์ 4854 คน 27 พย มอ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภูเก็ต 29 พย
รับตรง ภาคปกติ 9 โครงการ ม.ธรรมศาสตร์ ปี 57 รับสมัคร 11 พ.ย. - 11 ธ.ค. 56
 มหาวิทยาลัยธรรมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2557 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ถึง 11 ธันวาคม 2556 ประกาศรับสมัคร ปีการศึกษา 2557    โครงการรับตรง  โครงการรับตรง (เพิ่มเติม)  โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง  โครงการนักศึกษาเรียนดีจากชนบท / โครงการนักศึกษาเรียนดีในเขตเมือง  โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท / โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน  โครงการคัดเลือกนักเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกเข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษ (สสวท.)  โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ศึกษาของมูลนิธิ สอวน. (ค่าย 2)  หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการรับตรงจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่น  โครงการรับนักเรียนกิจกรรมจิตอาสาและประชาธิปไตยเข้าศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โครงการนักศึกษาผู้มีความสามารถดีเด่นในการกีฬา  โครงการรับนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง  โครงการนักศึกษาพิการ (สมัครด้วยตนเองที่ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ) ผู้สมัครมีสิทธิสมัครได้เพียง 1 โครงการเท่านั้น  - โครงการรับตรง - โครงการรับนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง  - โครงการนักศึกษาเรียนดีจากชนบท  - โครงการนักศึกษาเรียนดีในเขตเมือง  - โครงการนักศึกษาผู้มีความสามารถดีเด่นในการกีฬา  - โครงการส่งเสริมนักเรียนเรียนดีภาคกลาง  - โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ศึกษาของมูลนิธิสอวน.(ค่าย 2)  - โครงการคัดเลือกนักเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกเข้าศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษ ( สสวท.)  - โครงการรับนักศึกษากิจกรรมจิตอาสาและประชาธิปไตยเข้าศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  - โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท  - โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอ าเภอหนึ่งทุน     ทั้งนี้ หากผู้สมัครต้องการยกเลิกโครงการที่สมัครไว้ และจะสมัครในโครงการใหม่ จะสามารถทำผ่านระบบ รับสมัครออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น โดยดำเนินการ ดังนี้  1. ทำการยกเลิกโครงการเดิมที่สมัครไว้  2. ดำเนินการสมัครใหม่ในโครงการที่ต้องการ ตามขั้นตอนการรับสมัครที่ก าหนด  3. จะดำเนินการยกเลิกโครงการที่สมัครไว้ หรือ สมัครโครงการใหม่ ต้องไม่เกินวันสุดท้ายของการ  รับสมัครของโครงการที่จะขอยกเลิก หรือ โครงการที่ต้องการสมัครใหม่  หากโครงการใดได้มีการปิดรับสมัครไปก่อนแล้ว จะไม่สามารถด าเนินการยกเลิกหรือไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงการสมัคร เช่น โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน   หน้าเว็บไซต์หลัก   http://web.reg.tu.ac.th/registrar/home.asp
อัตราการแข่งขัน จำนวนคนรับสมัคร รับตรง มหิดล ปี 56 , 57
 มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร รับตรง 1-26 พฤศจิกายน นี้นะครับ หลังจากเปิดรับมาไม่นานก็มีคนสมัครเกือบ 1 หมื่นคนแล้วครับ โดยผมมีข้อมูลตัวเลขยอดผู้สมัครของปีการศึกษาก่อนมาเปรียบเทียบ เพื่่อให้น้องได้เห็นว่าอัตราการแข่งขันของแต่ละสาขาสูงแค่ไหน โดยจะมีหลายสาขาที่รับน้อยลงแต่ก็มีอีกหลายสาขารับเพิ่มขึ้นนะครับ  ถ้าใครยังไม่สมัครก็ลองวิเคราะห์ดูนะครับ ว่าสมัครสาขาไหนดี เพราะบางคณะยอดฮิตการแข่งขันสูงเกิน เราจะไหวไหม สุดท้ายน้องๆสามารถเชคยอดคนสมัครล่าสุด ได้จากที่นี่เลยจ้า
ประกาศสถานที่สอบสัมภาษณ์ สอบตรง ระดับปริญญาตรี มศว ปี 57
  ประกาศผลสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี (สอบตรง) ประจำปีการศึกษา 2557 ขั้นที่1 (สอบผ่านข้อเขียน)   ประกาศสถานที่สอบสัมภาษณ์ สอบตรง ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2557 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556     คณะ/วิทยาลัย/สำนัก รายละเอียด  คณะทันตแพทยศาตร์ รายละเอียด คณะพยาบาลศาสตร์ รายละเอียด คณะเภสัชศาสตร์ รายละเอียด คณะสหเวชศาสตร์ รายละเอียด คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร รายละเอียด คณะวิทยาศาสตร์ รายละเอียด คณะวิศวกรรมศาสตร์ รายละเอียด คณะพลศึกษา รายละเอียด คณะมนุษยศาสตร์ รายละเอียด คณะศิลปกรรมศาสตร์ รายละเอียด คณะศึกษาศาสตร์ รายละเอียด คณะสังคมศาสตร์ รายละเอียด สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ รายละเอียด วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม รายละเอียด วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน รายละเอียด คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รายละเอียด ดูทั้งหมด  http://admission.swu.ac.th/   http://unigang.com
ผลสอบแอดมิชชั่น เด็กเตรียมอุดม ได้คะแนนสูงสุด
 ผลการสอบแอดมิชชั่น หรือการสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลางปีนี้ พบว่า 3 อันดับแรกเป็นนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยที่ 1 สอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ดูเหมือนว่าเจ้าตัวจะสละสิทธิ์ เพราะสอบชิงทุนต่างประเทศได้   สำหรับผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดของการสอบคือ นายสุทธิวิชญ์ สร้อยสุวรรณ คะแนนที่ได้ 94.29 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , อันดับ 2 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้คะแนน 90.06 และที่ 3 คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ได้ 80.89 ทั้ง 3 อันดับแรกเป็นนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และใน 11 อันดับแรกยังมีนักเรียนโรงเรียนในต่างจังหวัดด้วย ทั้งสระบุรี, เชียงใหม่, น่าน และนครศรีธรรมราช สำหรับคณะที่มีการแข่งขันสูง 10  อันดับ ได้แก่ 1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อัตราส่วน 1:57 2. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (คศ.บ. 4 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนิครินทรวิโรฒ อัตราส่วน 1:25 3. คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา อัตราส่วน 1:52 4. คณะมนุษศาสตร์ สาขาวิชาปรัญชาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:50 5.คณะมนุษศาสตร์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:47 6. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:45 7. คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยนเรศวร อัตราส่วน 1:45 8.คณะเศรษฐศษสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:43 9. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชถัฎสวนดุสิต อัตราส่วน 1:41 10 คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:41
20 อันดับ คณะ สาขา แข่งขันสูงสุดใน Admissions 56
 เรียกว่ากำลังตื่นเต้นสุดๆ สำหรับน้องๆ ที่รอฟังผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (admissions) โดยในปีนี้ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นประธานแถลงข่าวการประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (admissions) ประจำปีการศึกษา 2556 ระบุว่า ในปีนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 113,410 คน สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยดำเนินการคัดเลือกใน 91 สถาบัน 729 คณะหรือสาขาวิชา รหัสคณะสาขาวิชาให้เลือกทั้งสิ้น 3,812 รหัส และมีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายทั้งสิ้น 83,955คน  ได้เผยแพร่เอกสาร คณะ/สาขา ที่มีการแข่งขันสูงสุด 20 อันดับแรก ผ่านระบบรับกลางในปี 2556 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2556)         1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อัตราส่วน 1:57 2. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (คศ.บ. 4 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนิครินทรวิโรฒ อัตราส่วน 1:52 3. คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา อัตราส่วน 1:52 4. คณะมนุษศาสตร์ สาขาวิชาปรัญชาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:50 5.คณะมนุษศาสตร์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน รูปแบบที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:47 6. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:45 7. คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยนเรศวร อัตราส่วน 1:45 8.คณะเศรษฐศษสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:43 9. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชถัฎสวนดุสิต อัตราส่วน 1:41 10 คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:41 11 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ อัตราส่วน 1:39 12.คณะศึกษาศาสตร์ ปัตตานี (หลักสูตร 5 ปี) วิชาเอกการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อัตราส่วน 1:39 13. คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:35 14. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชถัฎจันทรเกษม อัตราส่วน 1:35   15. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:34 16.คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:33 17. คณะมนุษศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราส่วน 1:33 18. คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยบูรพา อัตราส่วน 1:33 19. คณะแพทยศาสตร์ (รพ.เลิศสิน) มหาวิทยาลัยรังสิต อัตราส่วน 1:33 20. คณะทันตแพทยศาสตร์ หาดใหญ่ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อัตราส่วน 1:33
ผลแอดมิชชั่น admissions ปี 2556
    สิ้นสุดการรอคอยแล้ว สำหรับน้องๆ คนไหนที่รอลุ้น ผลแอดมิชชั่น (admissions) ปี 2556 วันนี้ได้รับการยืนยันจาก สอท. แล้วว่า ในเวลา 18.00 น. จะประกาศผลแอดมิชชั่นแล้วจ้า โดย น้องๆ สามารถเข้ามาเช็กผลได้ที่http://campus.sanook.com/archive/exam/admission/  หรือจะเข้ามาที่หน้าแรกhttp://www.sanook.com/ ก็ได้จ้า ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดีนะ ^^     ทั้งนี้ เวลา 12.00 - 13.00 น. สอท. จะแถลงข่าวเกี่ยวกับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ อาทิ จำนวนนักเรียนที่แอดมิชชั่นติดในปีนี้, คณะ/สาขา ที่ผู้สมัครเลือกมากที่สุด, คะแนนสูงสุดของคณะ/สาขา   ส่องรับตรงหลังAdmission หาที่เรียนให้คนพลาดสอบกลาง    
ประกาศแล้ว ผลสอบ GAT PAT รอบที่ 2 เช็กที่นี่
  เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอมคอม ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล        เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลสอบ ความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) รอบที่ 2เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง โดยเข้าระบบเพื่อตรวจสอบผลคะแนนได้ตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไป            ทั้งนี้ นักเรียน และผู้ที่สนใจ สามารถดูผลสอบได้แล้วที่เว็บไซต์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ            - ระบบประกาศผล สทศ. คลิกที่นี่           - ระบบ E-Score สทศ. คลิกที่นี่
รับตรง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2556
  รับตรง ผู้มีความสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2556 รับจำนวน 36 คน โดยมีคณะที่เปิดรับ 12 คณะ คือ 1. คณะเกษคร 2. คณะเทคนิคการแพทย์ 3. คณะบริหารธุรกิจ 4. คณะประมง 5. คณะมนุษย์ศาสตร์ 6. คณะวนศาสตร์ 7. คณะวิทยาศาสตร์ 8. คณะศึกษาศาสตร์ 9. คณะเศรษฐศาสตร์ 10. คณะสังคมศาสตร์ 11. คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ 12. คณะอุตสาหกรรมเกษตร ประเภทศิลปวัฒนธรรมที่รับเข้าศึกษา - ประเภทดนตรีไทย - ประเภทนาฏศิลป์ไทยและโขน - ประเภทขับร้อง คุณสมบัติ - กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า - GPAX ตามแต่ละสาขากำหนด (รายละเอียดในไฟล์เเนบ) - ใช้คะเเนน GAT/PAT ค่าสมัคร 500 บาท กำหนดการ รับสมัคร                                                         4-8 ก.พ. 2556 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ทดสอบความสามารถ        22 ก.พ. 2556 ทดสอบความสามารถ                                          1 มี.ค. 2556 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์                  22 มี.ค. 2556 สอบสัมภาษณ์                                                  29 มี.ค. 2556 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา                          5 เม.ย. 2556 รายงานตัว                                                 15-16 เม.ย. 2556   ที่มา :  http://www.sa.ku.ac.th/   สามารถ Download รายระเอียดเพิ่มเติม และใบสมัครได้จากไฟล์แนบด้านล่างครับ     เอกสารประกอบข่าว : Quota_Arts.pdf Form_Arts.pdf
การรับสมัครสอบ GAT PAT 2 2556 มีนาคมนี้
การรับสมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2556    (สอบเดือนมีนาคม 2556)       http://blog.eduzones.com/socialdome/100579
ประกาศผล GAT PAT แล้ว ค่าเฉลี่ยทุกวิชาไม่ถึงครึ่ง รับข้อสอบยาก
 ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. แถลงผลการสอบแบบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และแบบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ PAT ครั้งที่ 1/2556ซึ่งจัดสอบเมื่อวันที่ 6-9 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า สทศ.ได้ประกาศผลสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 02.00 น. ทางเว็บไซต์ของสทศ. www.niets.or.th โดยการประกาศผลสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ เมื่อนักเรียนดูคะแนนสอบแล้วหากมีข้อสงสัยสามารถยื่นคำร้อง เพื่อขอดูกระดาษคำตอบได้ที่ สทศ. ตั้งแต่วันที่ 8 -11 พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา 9.00 -16.30 น. โดย สทศ.จะเปิดให้ดูกระดาษคำตอบ วันที่ 17-18 พฤศจิกายน สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อสอบนั้น พบว่า ข้อสอบค่อนข้างยาก เพราะเป็นข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อ จึงต้องยากกว่าข้อสอบปกติ แต่ภาพรวมคะแนน GAT และ PAT ในปีนี้ทุกวิชาคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างกับปีที่ผ่านมา โดยวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู คะแนนเฉลี่ย 127.31 GAT คะแนนเฉลี่ย 114.30 และ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 109.88 เมื่อดูช่วงคะแนนสอบของแต่ละวิชาพบว่า ส่วนใหญ่นักเรียนจะมีคะแนนอยู่ในช่วงคะแนน 60.01-90.00 ได้แก่ PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ และ PAT 7.1-7.6 ความถนัดทางด้านภาษาต่างประเทศ ขณะที่ในส่วนของ GAT 1 มีผู้เข้าสอบได้คะแนนในช่วงคะแนน 0.00-30.00 ถึง 100,512 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากแต่ก็ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุที่เด็กส่วนใหญ่ทำคะแนนได้น้อยอาจเป็นเพราะข้อสอบ GAT 1 เป็นการคิดวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา ดังนั้น สทศ.ก็จะส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อเป็นประโยชน์ในการเร่งพัฒนา และปรับปรุงวิธีการสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็นต่อไป "สทศ.กำลังดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับข้อสอบGAT และ PAT ที่ดำเนินการมาทั้งหมดว่าข้อสอบดังกล่าวสามารถทำนายการเรียนของผู้เรียนในมหาวิทยาลัยได้มากน้อยเพียงใด การวัดผลมีความเหมาะสมหรือไม่ และจะทำให้ผู้เรียนดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็ให้การสนับสนุนการวิจัย นอกจากนี้สทศ.ยังเตรียมจัดทำการทดสอบภาษาอังกฤษและภาษาไทย สำหรับวัดระดับภาษาอังกฤษของคนไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประโยชน์ในการนำเข้าไปศึกษาต่อและคัดบุคคลเข้าทำงานด้วย" นายสัมพันธ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่ายินดีว่าการสอบ GAT และ PAT ในครั้งนี้ไม่มีการทำทุจริต แต่มีนักเรียนทำผิดระเบียบเพียง 9 คน โดยนำโทรศัพท์มือถือเข้าห้องสอบและเกิดเสียงดัง ทาง สทศ.จึงไม่ประกาศผลสอบในวิชานั้นๆ สำหรับคะแนน GAT และPAT มีดังนี้ GAT คะแนนเต็ม 300 คะแนน มีผู้เข้าสอบ จำนวน 323,912 คน คะแนนเฉลี่ย 114.30 ต่ำสุด 2.00 สูงสุด 297.50 ช่วงที่มีผู้ทำคะแนนมากที่สุด 30.01-60.00 จำนวน 70,548 คนแบ่งเป็น GAT1 คะแนนเต็ม 150 คะแนน มีผู้เข้าสอบ จำนวน 323,030 คน คะแนนเฉลี่ย 65.23 ต่ำสุด 2.00 สูงสุด 150.00ช่วงที่มีผู้ทำคะแนนมากที่สุด 0.00-30.00 จำนวน 100,512 คน GAT2 คะแนนเต็ม 150 คะแนน มีผู้เข้าสอบ จำนวน 323,829 คน คะแนนเฉลี่ย 49.07 ต่ำสุด 2.50 สูงสุด 150.00ช่วงที่มีผู้ทำคะแนนมากที่สุด 30.01-60.00 จำนวน 221,245 คน ส่วนคะแนนการสอบ PAT คะแนนเต็มวิชาละ 300 คะแนน แบ่งเป็น PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ สอบ 243,851 คน คะแนนเฉลี่ย 40.61 ต่ำสุด 5.00 สูงสุด 300.00 มากสุด 30.01-60.00 จำนวน 135,864 คน PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สอบ 200,313 คน คะแนนเฉลี่ย 86.20 ต่ำสุด 9.00 สูงสุด 234.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 123,299 คน PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ สอบ 51,238 คน คะแนนเฉลี่ย 91.11 ต่ำสุด 16.00 สูงสุด 276.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 21,101 คน PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สอบ 20,290 คน คะแนนเฉลี่ย 58.07 ต่ำสุด 3.00 สูงสุด 232.00 มากสุด 30.01-60.00 จำนวน 7,147 คน PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู สอบ 211,477 คน คะแนนเฉลี่ย 127.31 ต่ำสุด 2.00 สูงสุด 242.00 มากสุด 120.01-150.00 จำนวน 86,808 คน PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สอบ 32,799 คน คะแนนเฉลี่ย 109.88 ต่ำสุด 10.00 สูงสุด 212.50 มากสุด 90.01-120.00 จำนวน 14,451 คน PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส สอบ 7,781 คน คะแนนเฉลี่ย 84.83 ต่ำสุด 33.00 สูงสุด 267.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 5,087 คน PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน สอบ 2,798 คน คะแนนเฉลี่ย 87.52 ต่ำสุด 39.00 สูงสุด 291.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 1,873 คน PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น สอบ 6,522 คน คะแนนเฉลี่ย 90.84 ต่ำสุด 30.00 สูงสุด 294.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 3,941 คน PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน สอบ 15,341 คน คะแนนเฉลี่ย 81.24 ต่ำสุด 12.00 สูงสุด 291.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 10,340 คน PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ สอบ 2,666 คน คะแนนเฉลี่ย 88.24 ต่ำสุด 30.00 สูงสุด 264.00 มากสุด 60.01-90.00 จำนวน 1,552 คน PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี สอบ 4,071 คน คะแนนเฉลี่ย 97.63 ต่ำสุด 42.00 สูงสุด 291.00 มากสุด 90.01-120.00 จำนวน 2,010 คน - ประกาศผล gat-pat ครั้งที่ 1/2556
ประกาศผล gat pat ครั้งที่ 1 2556
  ประกาศผลแล้วจ้า เข้าไปดูผลสอบได้เลย กดเข้าเช็คผลสอบที่ http://www.onetresult.niets.or.th/gpsregisterweb/ คะแนนสูงสุด-ต่ำสุด GAT/PAT ครั้งที่ 1/2556 และจำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด - ต่ำสุด ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2556 จำนวนคนที่ได้คะแนนสูงสุด-ต่ำสุด แต่ละรายวิชา   - ประกาศผล GAT/PAT แล้ว ค่าเฉลี่ยทุกวิชาไม่ถึงครึ่ง รับข้อสอบยาก เพราะเป็นแนวคิดวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหา ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : http://blog.eduzones.com/socialdome/100568
ทำความเข้าใจระบบ Clearing House
 ยุคนี้นับว่าเป็นยุคแห่งโอกาสของเด็กๆ นักเรียน ม. ปลายที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยกันเลย เพราะมีการจัดสอบตรง รับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยมากมาย ซึ่งปัจจุบันการรับตรงนี้มีสูงถึง 70%เลยทีเดียว และนั่นถือเป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เข้าเรียนในสถาบันที่ตัวเองใฝ่ฝัน...ฉะนั้นแล้ว เรื่องของการเตรียมตัวรับมือกับการรับตรงจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม การรับตรง ซึ่งเป็นการจัดสอบโดยมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดต่างๆ เช่น กำหนดวิชาที่ใช้สอบ วัน เวลา และสถานที่ในการสอบ โดยการรับตรงหรือสอบตรงนี้มี 2แบบ คือผ่านระบบ Clearing House และ ไม่ผ่านระบบ Clearing House...เชื่อว่ายังคงมีหลายๆ คนที่ยังรู้สึกงงกับระบบ Clearing House ซึ่งเราอาจจะเรียกระบบนี้ว่าเป็นศูนย์ประสานการรับตรงของมหาวิทยาลัยก็ว่าได้ 1. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์         ในกลุ่มนี้มหาวิทยาลัยอาจจะจัดสอบเอง ใช้ข้อสอบวิขาสามัญ 7วิชา จาก สทศ. เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละคณะแต่ละมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือ โครงการรับตรงในกลุ่มนี้ จะส่งรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์ประสานการรับตรง หรือ เคลียร์ริ่งเฮาส์ ซึ่งน้องๆ จะต้องยื่นยันสิทธิ์การเข้าศึกษา หรือเลือกคณะที่ตนเองต้องการในช่วงเวลาที่กำหนดพร้อมกัน หมายความว่า ผู้ที่มีรายชื่อผ่านการสอบข้อเขียน หรือการสอบสัมภาษณ์แล้ว ยังไม่ได้มีสิทธ์เป็นนักศึกษาทันที แต่ต้องยื่นยันสิทธิ์เลือกครั้งสุดท้าย ผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ก่อน หากไม่มีการยืนยันสิทธิ์ในช่วงเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์ในทุกๆ โครงการยกตัวอย่างโครงการรับตรงในกลุ่มนี้ เช่น โครงการรับตรง แบบปกติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการรับตรงระบบโควตา  มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฯลฯ 2. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ไม่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์         เป็นโครงการรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเปิดรับเอง โดยการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกแล้ว ต้องดำเนินการยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษากับทางมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะเป็นผู้มีสิทธิ์เป็นนักศึกษาได้จริง แต่อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ สามารถยื่นสละสิทธิ์ได้หากเปลี่ยนใจภายหลัง แต่ต้องยื่นในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพราะ มหาวิทยาลัยจะต้องส่งรายชื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์แล้ว เพื่อทำการตัดสิทธิ์ ในระบบ Admission ต่อไปนั่นเอง สิ่งที่สำคัญของการรับตรงกลุ่มนี้ หลังจากการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องยื่นยันสิทธิ์กับทางมหาวิทยาลัย ภายในกำหนด และหากเปลี่ยนใจก็ต้องยื่นสละสิทธิ์ภายในช่วงเวลาที่กำหนดเช่นกัน ทั้งนี้จะมีบางโครงการที่ตัดสิทธิ์ระบบ Admission ทันทีที่ยืนยันสิทธิ์ ฉะนั้น ต้องระมัดระวังและอ่านทำความเข้าใจในระเบียบของแต่ละโครงการให้รอบคอบ ยกตัวอย่างโครงการที่รับตรงในกลุ่มนี้ ได้แก่ โครงการรับตรงทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โครงการรับตรงมหาวิทยาลัยศรีนครทรวิโรฒ โครงการรับตรงระบบโควตา มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการรับตรงระบบโควตาพื้นที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น สรุปง่ายๆ ระบบ Clearing house ก็คือ ระบบยืนยันสิทธ์รับตรง ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้รู้ว่า แต่ละมหาวิทยาลัยเหลือที่ว่างจริง ๆ เท่าไร เพราะหลังจากเสร็จรับตรงแล้วแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะส่งข้อมูลที่ว่างที่เหลือ เพื่อนำไปคัดเลือกใน ระบบ Admissions กลางต่อไป อีกทั้งระบบนี้ยังช่วยประหยุดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เพราะน้องๆ บางคนติดหลายที่ และต้องไปยืนยันสิทธิ์หลายๆ ที่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เมื่อมีการจัดระบบนี้ขึ้นมาก็ช่วยให้เซฟเงินในกระเป๋าไปได้เยอะเลยทีเดียว...ส่วนรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม Clearing house น้องๆ สามารถเข้าไปดูได้ตามลิงค์ adm55_flowchart.pdf เลยค่ะ มีสำนวนสุภาษิตหนึ่งบอกไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”...ซึ่งหากเรามีการเตรียมพร้อม ศึกษาและทำความเข้าใจอยู่เสมอ ทุกอย่างก็จะสามารถผ่านไปได้อย่างราบรื่น...อย่าลืมนะคะ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกมาสู่สังคมไทยก็คือ น้องๆ ต้องรู้จักตนเอง ชอบอะไร อยากเรียนอะไร และอยากเป็นอะไร จะได้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการรับตรงในคณะที่ไม่ได้ใฝ่ฝัน...เป็นกำลังใจให้ทุกๆ คนค่ะ      ภารดี วงค์เขียว ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย     อ้างอิง: www.cuas.or.th                 www.eduzones.com
เจาะลึกวิธีรับตรง สอบตรง
  เจาะลึกวิธีการรับตรง สอบตรง โอกาสมีไว้สำหรับคนที่พร้อมเสมอ           ระบบ Admissions ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ ทำให้การสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องมีการวางแผนการสอบ เพราะปัจจุบันเส้นทางในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยมีหลากหลาย ทั้งการรับตรง สอบตรง ซึ่งมีมากถึง 70% ส่วนพื้นที่ของการ Admissions เหลือเพียง 30% เท่านั้น...           มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมี 226 แห่ง 2000 สาขาวิชา นักศึกษาปริญญาตรี 1,800,000 คนและบัณฑิตศึกษา 300,000 คน อัตราคนจบปริญญาตรีแล้วว่างงาน มีจำนวนมากถึง 300,000คน และยังมีผู้ที่ได้งาน ทำงานต่ำกว่าวุฒิอีกจำนวนมาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ต้องมีการวางแผน เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของเด็ก ม.6           ดังนั้น การเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการสอบตรง รับตรงที่ปัจจุบันมีพื้นที่สูงถึง 70% นั้น น้องๆ ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับระบบของการรับตรง ซึ่งมี 2 แบบ คือผ่านระบบ Clearing House และ ไม่ผ่านระบบ Clearing House โดย สอท. แบ่งการการคัดเลือกการสอบเข้าของมหาวิทยาลัยออกเป็น  2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮ้าส์  ในกลุ่มนี้มหาวิทยาลัยอาจจะจัดสอบเอง ใช้ข้อสอบวิขาสามัญ 7 วิชา จาก สทศ. เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละคณะแต่ละมหาวิทยาลัย สิ่งสำคัญคือ โครงการรับตรงในกลุ่มนี้ จะส่งรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์ประสานการรับตรง หรือ เคลียร์ริ่งเฮาส์  ซึ่งน้องๆ จะต้องยื่นยันสิทธิ์การเข้าศึกษา หรือเลือกคณะที่ตนเองต้องการในช่วงเวลาที่กำหนดพร้อมกัน หมายความว่า ผู้ที่มีรายชื่อผ่านการสอบข้อเขียน หรือการสอบสัมภาษณ์แล้ว ยังไม่ได้มีสิทธ์เป็นนักศึกษาทันที แต่ต้องยื่นยันสิทธิ์เลือกครั้งสุดท้าย ผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ก่อน หากไม่มีการยืนยันสิทธิ์ในช่วงเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์ในทุกๆ โครงการ  2. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ไม่เข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์  เป็นโครงการรับตรงที่มหาวิทยาลัยดำเนินการเปิดรับเอง โดยการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัย เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกแล้ว ต้องดำเนินการยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษากับทางมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะเป็นผู้มีสิทธิ์เป็นนักศึกษาได้จริง แต่อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ สามารถยื่นสละสิทธิ์ได้หากเปลี่ยนใจภายหลัง แต่ต้องยื่นในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพราะ มหาวิทยาลัยจะต้องส่งรายชื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์แล้ว เพื่อทำการตัดสิทธิ์ ในระบบ Admission ต่อไปนั่นเอง สิ่งที่สำคัญของการรับตรงกลุ่มนี้ หลังจากการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องยื่นยันสิทธิ์กับทางมหาวิทยาลัย ภายในกำหนด และหากเปลี่ยนใจก็ต้องยื่นสละสิทธิ์ภายในช่วงเวลาที่กำหนดเช่นกัน ทั้งนี้จะมีบางโครงการที่ตัดสิทธิ์ระบบAdmission ทันทีที่ยืนยันสิทธิ์ฉะนั้น ต้องระมัดระวังและอ่านทำความเข้าใจในระเบียบของแต่ละโครงการให้รอบคอบ           ทั้งนี้ การรับตรงในแต่ละโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้             วิธีนี้ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดคุณสมบัติของผู้สอบ จากนั้นก็จะดำเนินการออกข้อสอบเอง ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนก็จะถูกเรียกเพื่อสัมภาษณ์รวมทั้งโชว์ผลงาน Portfolio เมื่อผ่านทุกขั้นตอนแล้วจึงจะได้เข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยนั้นๆ ต่อไป เช่น... โครงการรับตรง (แบบพิเศษ) ของ จุฬาฯ ปีการศึกษา 2556 ยกตัวอย่าง รับตรงหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ซึ่งมหาวิทยาลัยทำการจัดสอบเองโดยใช้วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา และจัดสอบโดยใช้วิชาเฉพาะ ได้แก่วิชาความถนัดทางวารสารสนเทศ เมื่อการสอบข้อเขียนเสร็จสิ้นก็จะทำการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมเข้าเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่อไป             วิธีนี้ก็เป็นการกำหนดคุณสมบัติผู้สอบโดยมหาวิทยาลัยเอง แต่ใช้คะแนน GAT, PAT เมื่อผ่านแล้วก็จะเรียกมาสัมภาษณ์พร้อมดูผลงาน Portfolioเพื่อทำการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในโครงการนั้นๆ เช่น... โครงการพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนดีเด่นทางการกีฬา ม.เชียงใหม่ ซึ่งพิจารณาจาก GPAX 4 ภาคเรียนตามที่แต่ละคณะกำหนด และพิจารณาคะแนน GAT, PATเพื่อคัดเลือกผู้เหมาะสมเข้าสอบสัมภาษณ์ และคัดเลือกเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป                         อีกวิธีคือ ทางมหาวิทยาลัยกำหนดคุณสมบัติเอง จากนั้นก็ทำการสอบข้อเขียนโดยข้อสอบที่มหาวิทยาลัยออกเอง บวกกับการใช้คะแนน GAT, PAT, O-NET จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์และดูผลงาน Portfolioต่อไป เช่น... โครงการรับตรงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษฯ (รอบที่1) สาขาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งมหาวิทยาลัยจะกำหนดวิชาที่จะใช้สอบเองและนักเรียนสายวิทย์จะใช้ผลคะแนน O-NET, GAT, PAT ประกอบการพิจารณาเพื่อเข้าสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าศึกษาในโครงการดังกล่าว             ข้อสังเกตก็คือ ทุกๆ วิธีการสอบของมหาวิทยาลัย ต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์และการดูผลงาน Portfolioซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่น้องๆ ต้องเตรียมความพร้อมในขั้นตอนนี้ให้ดีที่สุด...           หากน้องๆ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงแล้ว แน่นอนว่าน้องๆ ย่อมวางแผนและเตรียมความพร้อมได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การติดตามข่าวสารในการสอบอย่างสม่ำเสมอ...เพราะโอกาสดีๆ มีไว้สำหรับคนที่มีความพร้อมอยู่เสมอค่ะ...สู้ๆ นะคะ       ภารดี วงค์เขียว ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย อ้างอิง:   www.cuas.or.th                 www.eduzones.com
เตรียมพร้อมอย่างมืออาชีพพิชิต Admissions
 ช่วงเทศกาล “การสอบแห่งชาติ” ของน้องๆ ม.6 ที่กำลังจะเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย กำลังจะเริ่มต้นขึ้น หลังจากที่ สทศ ได้กำหนดจัดการสอบ GAT/PAT 56 ครั้งที่ 1 สำหรับการ Admissions ออกมาแล้ว ซึ่งจะมีการสอบในช่วงระหว่างวันที่ 6- 9 ตุลาคม 2555 นี้...เชื่อได้เลยว่า...เวลาประมาณ 2 เดือนที่เหลือก่อนการสอบ เป็นเวลาที่ไม่มากนัก และกลายเป็นปัญหาทำให้หลายๆ คนอ่านหนังสือไม่ทันอย่างแน่นอน เพราะในปัจจุบันการสอบของน้องๆ มีมากขึ้นนั่นเอง             จากรูป เป็นช่วงเวลาการสอบที่น้องๆ ต้องผ่าน เริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค. ซึ่งจะมีการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1ตามมาด้วยการสอบกลางภาคในช่วงประมาณเดือน พ.ย.- ธ.ค. หลังจากนั้นน้องๆ ยังต้องเข้าสู่ช่วงของการสอบตรงรับตรง 7 วิชา ของส่วนกลางอีกในช่วงเดือน ม.ค. ต่อด้วยอีกหนึ่งศึกใหญ่คือ การสอบปลายภาค ในเดือน ก.พ. และปิดท้ายเทศกาลสอบในเดือน มี.ค. คือการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ซึ่งในเดือนนี้ยังมีควบการสอบ O-NET 6 วิชาอีกด้วย              นับว่าเป็นศึกหนักมากเลยทีเดียว เพราะน้องๆ ต้องลงสนามสอบแบบติดๆ กันจนแทบจะไม่มีช่องว่างให้ได้พักหายใจก็ว่าได้ และตั้งแต่วันนี้ไป มีเวลาเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น สำหรับการเตรียมตัวเตรียมพร้อมรับมือกับการลงสนามสอบมากมายเหล่านั้น...แต่น้องๆ ก็เพิ่งหวั่นวิตกกังวลไปก่อนนะคะ เพราะจะพาลทำให้เสียสมาธิไปด้วย ปัญหาทุกปัญหาล้วนมีทางออก ถึงแม้ว่าเวลาสำหรับการอ่านหนังสือจะมีเพียงน้อยนิด แต่หากรู้จักใช้เวลาที่มีให้คุ้มค่ามากที่สุดได้นั้น ปัญหาในการอ่านหนังสือไม่ทันก็จะหมดไป...หลายคนได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับองค์ประกอบและค่าน้ำหนัก Admissions 56 ไปแล้ว ซึ่งนั่นถือเป็นการเตรียมความพร้อมด่านแรก ที่จะช่วยให้การวางแผนอ่านหนังสือง่ายขึ้น แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพื่อให้การอ่านหนังสือของน้องๆ เป็นไปอย่างแม่นยำ ตรงจุด และประหยัดเวลามากที่สุด ก็คงต้องอาศัยการอ่านแนวข้อสอบนั่นเอง!           อย่างไรก็ตาม ในการเตรียมความพร้อมเพื่อพิชิต Admissions นั้น น้องๆ ต้องเตรียมรับมือกับข้อสอบ GAT, PAT, O-NET ซึ่งเรามาทบทวนกันอีกครั้งหนึ่งว่าแต่ละอย่างคืออะไรและใช้วิชาอะไรสอบกันบ้าง...            GAT = General Aptitude Test คือ ความถนัดทั่วไป ซึ่งจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ส่วนที่ 2 เป็นการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ PAT = Professional Academic Aptitude Test คือ ความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็นทั้งหมด 7 ชุด PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ และ PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2 ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น บาลี อาหรับ เป็นต้น O-NET (Ordination National Education Test) เป็นการสอบวัดมาตรฐานการศึกษา ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้สมัครให้ คิดสัดส่วน 30 % โดยสอบทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ 6 วิชา คิดสัดส่วนวิชาละ 5% คือ วิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี           การอ่านหนังสือให้ตรงจุดและแม่นยำ ต้องอาศัยแนวข้อสอบย้อนหลังในแต่ละปีมาอ่าน จะได้รู้แนว รู้ทันข้อสอบ...เป็นการเตรียมความพร้อมในขั้นต่อไป และต่อไปนี้คือ ตัวอย่างข้อสอบ GAT, PAT ปี53 และ ปี54 แถมด้วยตัวอย่างข้อสอบ O-NET ปี 52 และปี 53 ให้ไปอ่านกันค่ะ...ไม่ว่าเส้นทางข้างหน้าที่เราต้องเดิน จะยากลำบากและเต็มไปด้วยอุปสรรคมากเพียงใด ขอแค่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่เต็มเปี่ยม สุดท้ายเราจะสามารถก้าวผ่านไปได้ด้วยดีเสมอ แค่พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ เท่านั้นก็มีชัยไปกว่าครึ่ง! เป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกๆ คน ในทุกๆ การสอบนะคะ   ตัวอย่างข้อสอบ GAT, PAT, O-NET ดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ GAT/PAT 53 GAT/PAT 54 ONET 52 ONET 53 สามารถดาวน์โหลดข้อสอบย้อนหลังได้ที่ http://www.niets.or.th/ ภารดี วงค์เขียว ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย อ้างอิง : http://www.niets.or.th/ www.eduzones.com
ปรับปฏิทินสอบแอดมิชชั่น เริ่มปี′57 ขยับสอบเดือน มค. รับ AEC
 มติที่ประชุมอธิการบดีฯ เลื่อนปฏิทินแอดมิชชั่น เริ่มปี 2557 เริ่มสอบวิชาสามัญเป็นเดือน ม.ค. เลื่อนช่วงเปิดเทอมเป็น ส.ค.- ก.ย. เพื่อให้ตรงกับสมาชิกอาเซียน สภาวิชาชีพพร้อมขยับเวลาสอบใบอนุญาตฯ แพทยสภายังติดปัญหาการฝึกงานแพทย์ แต่คาดเคลียร์ปัญหาได้   จากการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่มหาวิทยาลัยบูรพา นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธาน ทปอ. เปิดเผยผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติปรับเปลี่ยนปฏิทินการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง การรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2557 ให้สอดคล้องกับการเลื่อนการเปิดภาคเรียนของสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อสอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยจะเปิดภาคเรียนที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ช่วงระหว่างวันที่ 15 ส.ค.-15 ก.ย. จึงต้องปรับตารางการสอบคัดเลือกต่างๆ ให้สอดคล้องกัน   โดยการสอบวิชาสามัญ 7 วิชา จะสอบวันที่ 25-26 ม.ค.2557, GAT / PAT ครั้งที่ 1/2557 สอบเดือน มี.ค.57 ประกาศผลวันที่ 10 เม.ย.57, GAT/PAT ครั้งที่ 2 สอบ 10-13 พ.ค.57 ประกาศผลวันที่ 7 มิ.ย.57, ยืนยันสิทธิเข้าศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ วันที่ 6-11 พ.ค.57 สอท.แจ้งรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิผ่าน เคลียริงเฮาส์ทั้งตัดสิทธิแอดมิชชั่นกลาง วันที่ 19 พ.ค.57 การจำหน่ายระเบียบการคัดเลือกฯ วันที่ 5-18 มิ.ย.  รับสมัครวันที่ 8-18 มิ.ย. ชำระเงินค่าสมัคร 8-20 มิ.ย. ตรวจสอบคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก 28-30 มิ.ย. ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย 4 ก.ค. สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายระหว่างวันที่ 14-16 ก.ค.   นอกจากนี้ ทปอ.ยังได้หารือสภาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้มีการปรับเวลาการสอบ รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกัน ซึ่งจากการหารือพบว่าสภาวิชาชีพส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและพร้อมจะปรับเวลาสอบใบประกอบวิชาชีพ ส่วนสภาวิชาชีพที่ยังไม่ลงตัว คือ แพทยสภา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการฝึกงานของแพทย์ในสถานพยาบาลต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างไม่มีแพทย์ฝึกหัดในสถานพยาบาลต่างๆ ประมาณ 3 เดือน คือช่วงเดือน พ.ค., มิ.ย. และ ก.ค. ซึ่งคาดว่า แพทยสภา จะสามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้
กำหนดการจัดสอบ GAT-PAT ครั้งที่ 1 ปี 2556 ก็มาจนได้
สำหรับการ Admissions ประจำปีการศึกษา 2556 สมัครสอบ : วันที่ 2 - 30 กรกฎาคม 2555   ชำระเงิน : วันที่ 2 - 31 กรกฎาคม 2555   ประกาศเลขที่นั่งสอบ สถานที่สอบ : วันที่ 20 สิงหาคม 2555   พิมพ์บัตรเข้าห้องสอบ : วันที่ 20 สิงหาคม 2555   วันสอบ : วันที่ 6 - 9 ตุลาคม 2555   ประกาศผลสอบ : วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ขอขอบคุณกำหนดการครั้งนี้ http://www.eduzones.com/ มา ณ ที่นี้ด้วย  
รวมข้อมูลมหาวิทยาลัยเอกชนทั่วประเทศ
ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ Admission 54 หลังจากทราบผลน้องๆหลายคนคงสุขสมหวังได้เข้าไปศึกษาในคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการ แต่น้องๆ คนไหนที่ผิดหวังไม่ต้องเสียใจ เพราะทางเลือกในการศึกษายังมีอีกมากมาย วันนี้ทีมงาน SANOOK!CAMPUS รวบรวม ข้อมูลของมหาวิทยาลัยเอกชน ไว้ให้น้องๆสนใจที่ไหนลองคลิกไปที่เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัย นั้นได้เลย....   1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Bangkok University http://www.bu.ac.th 2. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University http://www.kbu.ac.th 3. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ Dhurakijpundit University http://www.dpu.ac.th 4. มหาวิทยาลัยเกริก Kirk University http://www.krirk.ac.th 5.มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น Saint John's University http://www.stjohn.ac.th 6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร Mahanakorn University of Technology http://www.mut.ac.th 7. มหาวิทยาลัยศรีปทุม Sripatum University http://www.spu.ac.th 8. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย The University of the Thai Chamber of Commerce http://www.utcc.ac.th 9. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Assumption University http://www.au.edu 10. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ South-East Asia University http://www.sau.ac.th 11. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต Rattana Bundit University http://www.rbac.ac.th 12. มหาวิทยาลัยสยาม Saim University http://www.siam.edu 13. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย http://www.eau.ac.th 14. มหาวิทยาลัยปทุมธานี Pathumthani University http://www.ptu.ac.th 15. มหาวิทยาลัยชินวัตร Shinawatra University http://www.shinawatra.ac.th 16. มหาวิทยาลัยรังสิต Rangsit University http://www.rsu.ac.th 17. มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) Webster University (Thailand) http://www.webster.ac.th 18. มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด Stamford International University http://www.stamford.edu 19. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Hua Chiew Chalermprakiet University http://www.hcu.ac.th 20. มหาวิทยาลัยคริสเตียน Christian University http://www.christian.ac.th 21. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น Western University http://www.western.ac.th/ 22. มหาวิทยาลัยภาคกลาง Phakklang University http://www.tuct.ac.th 23. มหาวิทยาลัยพายัพ Payap University http://www.payap.ac.th 24. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา Chaopraya University http://www.cpu.ac.th 25. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ North-Chiang Mai University http://www.northcm.ac.th 26. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ North-Eastern University http://www.neu.ac.th 27.มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล Vongchavalikut University http://www.vu.ac.th 28.มหาวิทยาลัยราชธานี Ratchatani College of Technology http://www.rtu.ac.th 29. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ Hatyai University http://www.hu.ac.th 30 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian University of Science and Technology http://www.asianust.ac.th 31. วิทยาลัยดุสิตธานี Dusitthani College http://www.dtc.ac.th 32. วิทยาลัยทองสุข Thongsuk College http://www.thongsook.ac.th/ 33. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ Saint Louis College http://www.saintlouis.or.th 34. วิทยาลัยมิชชั่น Mission College http://www.missioncollege.edu 35. วิทยาลัยรัชต์ภาคย์ Rajapark College http://www.rajapark.ac.th/ 36. วิทยาลัยราชพฤกษ์ http://www.rc.ac.th/ 37. วิทยาลัยแสงธรรม Saengtham College http://www.saengtham.ac.th 38. วิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี http://www.tct.ac.th/ 39. วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก South-East Bangkok College http://www.sbc.th.edu 40. วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ North Bangkok Collage http://www.northbkk.ac.th 41. วิทยาลัยเซนต์เทเรซา - อินติ http://www.stic.ac.th 42. วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี http://www.bkkthon.ac.th 43. วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานีอุดร Rachathani Udon College of Technology http://www.mua.go.th/~bphe/u_data/RUTC.htm 44. วิทยาลัยสันตพล Suntapol College http://www.santapol.ac.th 45. วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ North-Eastern Polytechnic College http://www.polytechnic.ac.th 46. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย College of Bhandit Asia C.B.A. http://www.cas.ac.th 47. วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ Bundit Borihanturakit College http://www.bbc.ac.th/ 48. วิทยาลัยนครราชสีมา Nakhonratchasima College http://www.nmc.ac.th/ 49. วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา Chalermkarnchana College http://www.ckc.ac.th 50. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ Southern College of Technology http://www.sct.ac.th 51. วิทยาลัยศรีโสภณ Srisophon College http://www.ssc.ac.th 52. วิทยาลัยตาปี Tapee College http://www.tapee.ac.th/ 53. มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา Yala Islamic University http://www.yiu.ac.th/ 54. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ International Buddhist College http://www.ibc.ac.th 55. วิทยาลัยโยนก Yonok College http://www.yonok.ac.th 56. วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง Lumnamping College http://www.lpc.th.edu 57. วิทยาลัยพิษณุโลก http://www.plc.ac.th/ 58. วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น Far Eastern College http://www.fareastern.ac.th 59 วิทยาลัยเชียงราย http://www.crc.ac.th/ 60. วิทยาลัยอินเตอร์เทค-ลำปาง Lampang Inter-Tech College http://www.lit.ac.th/ 61. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม http://www.siamtech.ac.th/     http://campus.sanook.com
1 2 3 4
รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา