หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย

 

เปิดรายละเอียด อัดฉีด 3.25 แสนล้าน ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม

รัฐบาลทุ่ม 3.2 แสนล้านบาท ช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ผ่านโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ รมว.คลัง บอกทำได้ทันที เชื่อจีดีพี ยังโต...

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 25 ..54 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอมาตรการทางการเงินเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม วงเงิน 3.25 แสนล้านบาท สำหรับ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายใหญ่วงเงิน 6.5 หมื่นล้านบาท ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) 1.7 แสนล้านบาท และ ประชาชน กับผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว (หาบแร่-แผงลอย) 9 หมื่นล้านบาท

รัฐมนตรีคลัง ยืนยันว่า มาตรการทางการเงินที่ ครม.เห็นชอบนั้น สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที โดยพยายามควบคุมให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด แต่ก็ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อไม่ให้รัฐบาลมีภาระเข้าไปชดเชย และจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้เกิน 3%

นายธีระชัย ชี้แจงว่า มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่วงเงิน 6.5 หมื่นล้านบาทนั้น จะเป็นวงเงิน ช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับความเสียหาย แบ่งเป็น วงเงินสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบการป้องกันนิคมอุตสาหกรรม 1.5 หมื่นล้านบาท จากธนาคารออมสิน โดยกำหนดให้เป็นเงินกู้สำหรับนิคมอุตสาหกรรม ในการวางแนวกั้นน้ำให้ทันฤดูฝนปีหน้า

นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อเพื่อธุรกิจต่อเนื่อง วงเงินกู้ 5 หมื่นล้านบาท จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ เจบิก ที่จะปล่อยผ่านสถาบันการเงินในประเทศไทย ให้กับผู้ประกอบการไทย หรือปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่น ที่ต้องการสภาพคล่อง เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยผู้ประกอบการไทยจะต้องมีการทำธุรกิจนำเข้าชิ้นส่วนจากญี่ปุ่นเท่านั้น

ขณะเดียวกันก็ยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุน ที่จะพิจารณาขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการออกวีซ่า ให้กับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

สำหรับมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นั้น แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การปล่อยผ่านสถาบันการเงินต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท โดยให้บรรษัทประกันอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันวงเงินวงเงินสินเชื่อกรณีหนี้สูญ ที่ 30% และปลอดค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปี โดยธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3% ระยะเวลา 3 ปี

อีกส่วนหนึ่งจะเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน 2 หมื่นล้านบาท ที่ต้องทำแมชชิ่งฟันด์กับธนาคารพาณิชย์ ปล่อยกู้ในอัตราเท่ากันอีก 2 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 4 หมื่นล้านบาท โดยส่วนดอกเบี้ยธนาคารออมสิน จะคิดดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี แต่เมื่อปล่อยผ่านธนาคารพาณิชย์จะคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% และ

และส่วนสุดท้ายของกลุ่มนี้ เป็นวงเงินกองทุนประกันสังคมสนับสนุนอีก 1 หมื่นล้านบาท ปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานประกันสังคม

ส่วนมาตรการสินเชื่อ เพื่อผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ที่กำหนดวงเงินไว้ 9 หมื่นล้านบาทนั้น แบ่งเป็นการปล่อยกู้จากธนาคารออมสิน 2 หมื่นล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน 3 หมื่นล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (...) 3 หมื่นล้านบาท และวงเงินจากกองทุนประกันสังคมอีก 1 หมื่นล้านบาท

กำหนดรูปแบบการให้กู้ 2 แนวทาง คือ สถานประกอบการ 2 พันล้านบาท ดอกเบี้ย 3% ไม่เกิน 3ปี และสมาชิกกองทุน 8 พันล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 2.5% 2 ปี เพื่อใช้ซ่อมแซมบ้านเรือน


ด้านผู้ว่าการ ธปท. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กล่าวว่า จากปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย ที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า 1 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงิน และสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟู และเยียวยาภาคอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาน้ำท่วมของนิคมอุตสหกรรม 7 แห่ง และอาจจะมีความเสียหายเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการฟื้นฟูและเยียวยาจำนวนมาก ผ่านระบบธนาคารพาณิชย์

หากสาขาธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นมีสภาพคล่องเงินบาทไม่เพียงพอที่จะปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วม และไม่มีหลักทรัพย์เงินบาท ธปท.ให้นำหลักทรัพย์รัฐบาลญี่ปุ่น เช่นพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมาค้ำประกันได้ โดยกรณีนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะสาขาธนาคารญี่ปุ่น แต่สาขาธนาคารต่างประเทศอื่น รวมทั้งธนาคารพาญิชย์ไทยที่ถือพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นก็ใช้ได้เช่นกัน ธปท.พร้อมที่จะปล่อยเงินกู้ให้ในอัตราดอกเบี้ยตลาดโดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ โดยไม่มีการกำหนดวงเงินสูงสุด"นายประสาร กล่าว

ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น หากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะปล่อยกู้ใหม่เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูกิจการให้ผู้ประกอบการในช่วงหลังน้ำลด ธปท.พร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์ไทยเต็มที่

http://www.springnewstv.tv/

 

รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา