หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย

 

มจพ.เตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิชาการชั้นสูงที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้คู่คุณธรรมเพื่อเป็นผู้พัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมอันก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการเตรียมตัวสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม และสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ด้านต่างๆ เช่นการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและบริหารการวิจัย มุ่งเน้นการผลิตวิศวกร นักวิทยาศาสตร์และครูช่างที่มีศักยภาพการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการจริงของภาคอุตสาหกรรมสู่ตลาดอาเซียน เป็นต้น มหาวิทยาลัยดำเนินงานในรูปเครือข่าย ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของการทำงานเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีศักยภาพและความพร้อมอย่างเต็มที่

          มหาวิทยาลัยมีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิต ที่เน้นการบูรณาการด้านการเรียนการสอนและวิจัยตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย"พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และวิชาการชั้นสูงที่เกี่ยวข้องปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ จนถึงระดับปริญญาเอก ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลพระราชทานหน่วยงานดีเด่นของชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวของโลกที่เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยมากที่สุดถึง 5 สมัย
          ศาสตราจารย์ ดร. ธีรวุฒิ บุณยโสภณอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้วางแผนการเตรียมความพร้อมก้าวเข้าไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
ภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) ในการเปิดเสรีการค้าและการศึกษา โดยเร่งบูรณาการการเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เกี่ยวกับตลาดแรงงานในอาเซียน เพราะจะทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยต้องหันมามองสินค้าและการบริการ ความได้เปรียบเสียเปรียบจำนวนลูกค้า กำลังซื้อ การเติบโตของตลาด หรือแม้แต่การรู้จักคู่แข่งจากอาเซียนด้วยกันเอง รวมถึงการสร้างเครือข่ายในอาเซียนกับบุคลากร/มหาวิทยาลัย/วิชาการ/ฐานข้อมูลและการบริการ เพื่อการปรับตัวและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดแก่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้สาขาการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ.2558 ซึ่งจะเกิดการยอมรับในมาตรฐานการศึกษา และปริญญาร่วมกัน การยอมรับคุณสมบัติของบริการวิชาชีพร่วมกัน และการให้บริการการศึกษาโดยเสรี เช่น การศึกษาข้ามพรมแดนและคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับนานาชาติ เป็นต้น

          มจพ. ได้บูรณาการการจัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรกคือ หลักสูตรภาษาอังกฤษทั้งหมดหรือหลักสูตรนานาชาติ จะมีหลายสาขาวิชาส่วนใหญ่จะเน้นทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบที่ 2 หลักสูตร 2 ภาษา จะเน้นในระดับเตรียมวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนระดับปริญญาตรีจะเน้นสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น รูปแบบที่ 3 หลักสูตรภาษาไทย
          ส่วนที่ต้องเตรียมความพร้อมในปี พ.ศ.2558 ที่เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการเปิดเสรีทางการศึกษาและทางธุรกิจการค้า มหาวิทยาลัยพยายามเน้นให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสามารถพูดและใช้ภาษาต่างประเทศได้ควบคู่กับความเป็นเลิศทางอาชีพของเขา เน้นทั้งวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้บัณฑิตเหล่านี้จบแล้วมีศักยภาพสามารถไปทำงานกับประเทศต่างๆ ในเขตเศรษฐกิจอาเซียนหรือประชาคมโลกได้"แทนที่ จะให้ต่างชาติมาทำงานกับเราเพียงฝ่ายเดียว เราก็ส่งคนของเราไปทำงานในต่างประเทศด้วย" รวมถึงการฝึกอบรมผู้ประกอบการด้วยหลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อให้สามารถไปลงทุนในประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ และอีกประการที่จะต้องเตรียมความพร้อม ก็คือ การพัฒนาครู อาจารย์ ให้มีความเข้มแข็งทั้งวิชาการและวิชาชีพและภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ที่เราจะเป็นคู่ค้าหรือคู่สัญญาในเรื่องของความร่วมมือในการทำวิจัย มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการเตรียมตัวสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนปฏิบัติการที่เหมาะสมและสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือกับประเทศเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศในยุโรปเรามีจุดเด่นและข้อได้เปรียบในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก 2 ประเทศนี้โดยประเทศเยอรมนีให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางวิชาการกับเรามายาวนานโดยปีนี้เป็นปีที่ 53
          การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและเครือข่ายความร่วมมือ
          การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ มจพ. ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เช่นมหาวิทยาลัยอาเค่น (RWTH Aachen University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยอรมันในการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แนวอุตสาหกรรม ในระดับปริญญาโทและเอก ดำเนินการสอนด้วยภาษาอังกฤษ เนื้อหาหลักสูตรพัฒนามาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอาเค่น เพื่อมุ่งเน้นผลิตวิศวกรระดับปริญญาโทและเอก ที่มีศักยภาพการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบเยอรมันที่สอดคล้องกับความต้องการจริงของภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศและภูมิภาค โดยให้มีการฝึกงาน (Industrial Internship) ในภาคอุตสาหกรรม อาทิ การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศให้ประเทศมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และยังได้รับความสนับสนุนจากหอการค้าไทย-เยอรมัน (GTCC) และสมาชิกต่างๆในภาคอุตสาหกรรมทั้งไทยและเยอรมัน การลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในโครงการ TGGS กับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมัน(DIHT) และ สภาหอการค้าไทย-เยอรมัน (GTCC) หรือแม้แต่โครงการแลกเปลี่ยนจาก DAAD (German Academic Exchange Service) และ BMBF (Federal Ministry of Education and Research) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
          ในส่วนการประชุมวิชาการระดับชาติ มจพ.ได้จัดการประชุมระดับชาติ"การเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ของไทยสู่การแข่งขันเสรีด้านการค้าและการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : 2015" เช่นเดียวกับการสัมมนา "แนวทางการพัฒนาประชากรของประเทศไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาประชากรของประชาคมอาเซียน"เป็นโครงการวิจัยที่เป็นความร่วมมือ ระหว่าง มจพ.และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการขานรับนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนดังที่กล่าวมา เพื่อผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาแผน 5 ปี ของอาเซียน ( 2554-5558) ให้สอดรับด้านการศึกษาต่อการเป็นประชาคมอาเซียน และเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน มจพ.ร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ใช้สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรเป็นวิทยากรเก็บตัวฝึกซ้อมเยาวชน ในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน และมีเครือข่ายร่วมมือกับ Educational Development, Singapore Polytechnic ร่วมโครงการ SIF Friendship Express เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยให้เป็นที่รู้จักแก่นานาชาติ
          สำหรับจุดแข็งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโยธา หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะเป็นที่ 1 ในเรื่องของเฟอร์นิเจอร์และงานไม้ ซึ่ง มจพ. เปิดสอนอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะเรื่องของระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยจะมีความโดดเด่นและเก่งที่สุดในโลกในเวทีการแข่งขัน เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย 5 สมัยได้อย่างสมศักดิ์ศรีโดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ที่เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน หุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก
(World Robocop Rescue)ที่บอกว่าเก่งที่สุดในโลก เพราะว่านักศึกษาของเรารู้จักนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติไปบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยระบบแมคคาทรอนิกส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกแห่งเดียวในโลกที่เป็นแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยถึง 5 สมัย เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันกับนานาชาติทั่วโลก และนำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยและประเทศชาติหลายสมัยติดต่อกัน

          ด้วยเหตุนี้การกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาประชากรของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 โดยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขยายการลงทุนด้านการวิจัยพื้นฐานและวิทยาศาสตร์รวมทั้งการศึกษาด้านเทคนิควิชาชีพ เทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการศึกษาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคงในอนาคต มีความพร้อมในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนและวิจัย ให้มีมาตรฐานในระดับสากลเพื่อรองรับผู้เรียนที่เข้ามาศึกษาจากต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษากับประชาคมโลกและองค์กรระหว่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับสากล เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชากรของประเทศและของภูมิภาคให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นพัฒนาคุณภาพของครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่การขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและเป็นประเทศชั้นนำทางด้านการผลิตและพัฒนาทรัพยากรที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

 

รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา