หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ข้อมูลประเทศที่น่ารู้ สถาบันเอเจนย์ ข่าวและกิจกรรม ทุนการศึกษา บความน่ารู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
เว็บไซต์เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ
บทความการศึกษา
สนใจเรียน IELTS, TOEIC คลิ๊กเลย

 

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

no-glasses3D.jpg

ถือเป็นไฮไลต์ของงาน “นาสด้า อินเวสเตอร์ เดย์ 2011 ที่ผู้จัดอย่าง “ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล” ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอก ว่า ซุ่มทำวิจัย หาข้อมูล และระดมสมองของนักวิจัยระดับหัวกะทิในสาขาต่างๆ จนได้มาซึ่ง 10 เทคโนโลยีที่จะมีผลต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันในอนาคต

ปีนี้นำเสนอถึงเทคโนโลยีใน 4 สาขาที่กำลังได้รับความสนใจ คือ ด้านไอที วัสดุศาสตร์ พลังงานสะอาด และสุขภาพ

โดยเทคโนโลยีอันดับ 1 จากสาขาไอที ก็คือ เทคโนโลยีเว็บเชิงความหมาย (Semantic Web) หรือเว็บ 3.0 ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเว็บ 3.0 นี้ จะหมายถึงเทคโนโลยีที่มีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน เว็บไซต์อยู่ในรูปของการ อ่าน เขียน และการเชื่อมโยง ซึ่งไม่ใช่ในรูปแบบลิงค์เหมือนที่ใช้ในเว็บ 2.0 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถจัดการกับเว็บไซต์ของตนเองได้อย่างอิสระ

ดร.ทวี ศักดิ์ บอกว่า แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเว็บจะมีสูงขึ้น เว็บไซต์จะไม่เป็นเพียงเครื่องมือในการค้นหาข้อมูล แต่ยังเป็นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปบริการเบ็ดเสร็จ และเชื่อมโยงมีเดียในแต่ละแบบเข้าด้วยกัน ซึ่งเว็บ 3.0 จะเป็นตัวช่วยในการบูรณาการสารสนเทศ จัดเก็บ และนำเสนอ สามารถที่จะวิเคราะห์ จำแนกและจัดแบ่งได้ว่าข้อมูลนั้น ๆ มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในระดับอื่น ๆ อย่างไร

สำหรับเทคโนโลยีอันดับที่ 2 ในสาขาเดียวกันนี้ก็คือ จอแสดงภาพ 3 มิติ (3D Display) ปัจจุบัน จอแสดงภาพ 3 มิติมีการเติบโตสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อสามารถดูได้โดยไม่ต้องใช้แว่นตา 3 มิติ หรืออุปกรณ์เสริมจากภายนอก ซึ่งจอ 3 มิติในปัจจุบัน ใช้หลักการมองเห็นภาพสเตอริโอสโคปี และพาราแลกซ์ มาผสมผสานเข้ากับจอแสดงผลแบบผลึกเหลว จอพลาสมาและฉากรับภาพ มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับเมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้มีการทำตลาดกันอย่างกว้างขวาง คาดกันว่าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์โทรทัศน์ 3 มิติจะสูงถึง 64 ล้านเครื่องในปี ค.ศ. 2018 ส่วนจอมือถือแบบ 3 มิติจะเติบโตสูงสุดด้วยจำนวน 71 ล้านเครื่องในปี ค.ศ. 2018

จากการเติบโตของเทคโนโลยีนี้ ผอ.สวทช.บอกว่า ไทยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญา แต่สามารถร่วมเป็นผู้ผลิตได้โดยเฉพาะการผลิตเนื้อหาหรือดิจิทัลคอนเทนต์ที่ จะประยุกต์ใช้งานกับอุปกรณ์ดังกล่าว

เทคโนโลยีที่น่าจับตามองอันดับที่ 3 ซึ่งอยู่ในสาขาวัสดุศาสตร์ก็คือ กราฟีน (graphene) หรือวัสดุมหัศจรรย์ ที่ เป็นชั้นของคาร์บอนอะตอมที่หนาเพียง 1 ชั้น มีโครงสร้างเหมือนตาข่ายรูปหกเหลี่ยม กราฟีนถูกคาดหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมไอที เนื่องจากมีคุณสมบัติน่าทึ่งหลายอย่าง เช่น แข็งกว่าเหล็กกล้าและแม้แต่เพชร แต่ยืดหยุ่นได้ถึงร้อยละ 20 นำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงและยังโปร่งแสงอีกด้วย

จาก คุณสมบัติดังกล่าว จึงสามารถนำกราฟีนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ทั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หมึกนำไฟฟ้า จอภาพแบบสัมผัส ที่สามารถโค้งงอได้ โทรศัพท์มือถือ และชิปคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เซ็นเซอร์ตรวจวัด แบตเตอรี่และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานหรือโซลาร์เซลล์

ส่วนเทคโนโลยีอันดับ 4 และ 5 อยู่ในสาขาวัสดุศาสตร์เช่นกันคือ จีโอพอลิเมอร์ (Geopolymer) และพลาสติกฐานชีวภาพ (Future Bio-based Plastics) โดยจีโอพอลิเมอร์ เป็นวัสดุจำพวกอะลูมิโนซิลิเกต ที่มีสมบัติทางกลดีมาก ทนไฟ และทนทานต่อสารเคมี สามารถนำของเสียและของเหลือใช้ เช่น เถ้าถ่านหิน เถ้าแกลบหรือดินขาวเผา มาเป็นวัตถุดิบ ปัจจุบันมีการนำวัสดุจีโอพอลิเมอร์ มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง งานตกแต่งและอนาคตอาจจะมีการนำไปพัฒนาเป็นเซรามิกส์ที่ไม่จำเป็นต้องเผาที่ อุณหภูมิสูงอีกต่อไป

สำหรับพลาสติกฐานชีวภาพหรือพลาสติกชีวภาพ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากกระบวนผลิตพลาสติกที่ สังเคราะห์จากปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบ โดยเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ มีทั้งแบบทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ หรือใช้สารตั้งต้นที่ไม่ได้มาจากวัตถุดิบที่เป็นปิโตรเลียม

เทคโนโลยีอันดับที่ 6 มาจากสาขา พลังงานสะอาด คือ เซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง ชนิดรอยต่อแบบเฮเทอโร (High efficiencyheterojunction solar cells) ซึ่ง เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเซลล์ผลึก ซิลิคอนทั่วไป มีค่าสัม ประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำ สามารถใช้งานกับที่มีอุณหภูมิสูง ๆได้ดี จึงเหมาะกับประเทศไทย

ส่วนอันดับ 7 จากสาขาเดียวกันนี้คือ การพัฒนาเอทานอลจากวัสดุเซลลูโลส (Cellulosic biofuel) เช่น เศษวัสดุการเกษตร พืช/ไม้โตเร็ว เป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์เรื่องการขาดแคลนพลังงาน ปัญหาโลกร้อน และข้อขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงพืชอาหารเพื่อผลิตพลังงานในปัจจุบันได้

เทคโนโลยี ที่น่าจับตามองอันดับ 8-10 มาจากสาขาด้านสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเกี่ยวข้องและใกล้ตัวเรามากที่สุด โดยอย่างแรกก็คือ จี โนมิกส์ส่วนบุคคล (Personal Genomics) หรือเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ โดยใช้เทคนิคการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรม ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก หลังจากที่มีการหาลำดับสารพันธุกรรมในจีโนมิกส์มมนุษย์สำเร็จ ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการหาลำดับเบสถูกลง จนคาดว่าจะเหลือประมาณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐภายใน1-3 ปีข้างหน้า ทำให้การค้นหายีนส์ความเสี่ยงการเกิดโรคเพื่อการรักษาในระดับบุคคลมีความ เป็นไปได้มากขึ้น

เทคโนโลยีต่อมาก็คือ ระบบส่งยานำวิถีด้วยนาโน (Drug Delivery System หรือ DDS) เนื่อง จากอุตสาหกรรมยาต้องใช้การลงทุนสูงและมีความเสี่ยงทำให้การค้นหาตัวยาใหม่ ๆ มีน้อยลง บริษัทผู้ผลิตจึงหันไปหาเทคนิคใหม่ ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ยาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งระบบส่งยานำวิถีด้วยนาโน จะช่วยให้การนำส่งยานั้นไปสู่ต้นตอของโรคได้ดีขึ้น สามารถควบคุมการปลดปล่อย หรือเพื่อให้นำสู่เป้าหมายที่ต้องการได้เฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะกับการรักษาโรคมะเร็ง ที่จะทำให้เกิดอาการข้างเคียงน้อยที่สุด

และสุดท้ายเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอันดับที่ 10 ก็คือ อวัยวะซ่อมเสริมเติมสร้าง (Artificial Organ) ซึ่ง ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบสุด ๆ ที่ ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้น แต่คนสูงอายุหรือผู้พิการย่อมมีความเสื่อมถอย หรือสูญเสียอวัยวะ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จำเป็นที่จะต้องสร้างอวัยวะเทียมขึ้นมาทดแทน

ทั้ง นี้การสร้างอวัยวะเทียมนั้นมี 3 แนวทางก็คือ 1. การสร้างจากสารอนินทรีย์ เช่น หัวใจเทียม หรือมือเทียมที่สามารถทำงานได้ดี 2. การปลูกเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ บนโครงสร้างที่สามารถสลายตัวได้ภายหลัง ซึ่งล่าสุดคณะแพทย์ในสวีเดนได้ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดนำหลอดลมที่ใช้ สเต็มเซลล์ให้กับผู้ป่วย และ 3. การใช้อุปกรณ์ไฮเทคทดแทนอวัยวะจริง เช่น โครงกระดูกภายนอกที่ใช้ระบบไฮดรอลิกร่วมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้คนสามารถ ยกน้ำหนักที่มาก ๆ ได้อย่างสบาย หรือชุดสูทหุ่นยนต์ที่ออกแบบให้กับผู้พิการแขนขาให้สามารถใช้งานได้เหมือน เป็นของจริงโดยรับคำสั่งตรงจากกล้ามเนื้อของผู้ใช้เอง

และนี่ก็ คือ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ซึ่งเชื่อว่าอนาคตอันใกล้ และก้าวต่อไปของการใช้ชีวิตในปัจจุบันของมนุษย์ คงหลีกหนีเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่พ้นอย่างแน่นอน!!!.

ที่มา http://www.green.in.th/blog/discovery/2651

www.dailynews.co.th

 

รับข่าวสารและโปรโมชั่น
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 


agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

agent ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อนอก ทุนการศึกษา

เอเจนท์ศึกษาต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ทุนการศึกษา