สำหรับอุปสรรคดังกล่าว ประกอบด้วย การเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบ และอาจมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกระทบต่อขีดความสามารถด้านการผลิตสินค้าเกษตร
นอกจากนั้น สังคมไทยยังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประชากรในวัยแรงงานลดลง และที่สำคัญคือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งต้องหาแนวทางแก้ไข โดยการสร้างความเท่าเทียมกัน ทั้งในเรื่องของรายได้และการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลใหม่เป็นอย่างมาก โดยในอดีตการกระจายรายได้จะใช้วิธีจัดเก็บภาษีจากคนมีรายได้สูง เพื่อนำมาช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย แต่ยังไม่เพียงพอ รวมทั้งปัญหาด้านการเมือง
“ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภายใต้แผนฯ 10 ไทยประสบปัญหาการเมืองอย่างรุนแรง แต่ด้วยความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย จึงผ่านปัญหาเหล่านั้นมาได้ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจทั้งในระยะกลาง และระยะยาว ส่วนในอีก 2 ปีข้างหน้าในการขับเคลื่อนแผนฯ 11 ควรเร่งสร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพของคนโดยการปฏิรูปการศึกษา โดยมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว และผลักดันให้การศึกษาเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างกลมกลืน โดยเน้นพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน”นาย อภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากในช่วง 5 ปีข้างหน้า การเมืองของไทยยังเป็นเหมือนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะส่งผลกระทบให้แผนฯ 11 ไม่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งหลังจากมีกระบวนการทางประชาธิปไตย ผมหวังว่าทุกอย่างจะเข้าสู่ระบบรัฐสภา ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันช่วยให้รัฐบาลใหม่สามารถทำงานได้อย่างมีเอกภาพและมี กำลัง เพื่อให้แผนฯ 11 บรรลุเป้าหมาย”นายอภิสิทธิ์ กล่าว